Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

กฟก.จังหวัดเชียงราย ประสาน บสก. งดขายทอดตลาดที่ดินสิ่งปลูกสร้างของเกษตรกร

 

 

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) เปิดเผยว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.)ได้รับหนังสือขอความช่วยเหลือจากเกษตรกร อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นลูกหนี้ของ บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จังหวัดเชียงราย เงินต้นคงค้าง จำนวน 1,876,592.20 บาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยสำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงราย กำหนดการขายทอดตลาด นัดที่ 1-6 ในวันที่ 24 มกราคม /24 กุมภาพันธ์ /6 มีนาคม /27 มีนาคม /17 เมษายน และ 8 พฤษภาคม 2567 นั้น

 

“สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ได้รับเรื่องและตรวจสอบแล้วพบว่าเกษตรกรรายดังกล่าว เป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร และได้ขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร กับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) โดยผ่านการอนุมัติให้จัดการหนี้ได้ตามกฎหมาย จากคณะกรรมการกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อขอรับสิทธิการจัดการหนี้ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563”
 
 
นายนิยม กล่าวว่า เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาของเกษตรกรสมาชิกได้สำเร็จ ตามเจตนารมณ์แห่งมติคณะรัฐมนตรี ที่ต้องการรักษาที่ดินทำกินของเกษตรกรและพื้นที่เกษตรกรรม สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) จึงประสานขอความอนุเคราะห์ไปยัง บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จังหวัดเชียงราย เพื่อพิจารณาชะลอการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของเกษตรกร ทั้ง 6 นัด ออกไปเป็นการชั่วคราว ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกยังไม่แล้วเสร็จ โดยล่าสุดได้มีการงดการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ทั้ง 6 นัดออกไปเป็นการชั่วคราว ในช่วงระหว่างการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้ในระบบ โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ต่อไป ทั้งนี้เกษตรกรสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ชั้น 1 โทรศัพท์ 053-150156 ในวันและเวลาราชการ
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

คณะสว.พบชาวเชียงราย ติดตามเมืองสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหา PM 2.5

 

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 ที่ห้องประชุมสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ รองประธานกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน) คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุมและรับฟังการบรรยายสรุป 0kdองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในประเด็น การเป็นเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโกด้านการออกแบบ (City Of Design) กิจกรรมสภาเด็กและเยาวชนเชียงราย การสนับสนุนการจัดการแหล่งน้ำ และการดำเนินงาน “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” ต้นแบบการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อย่างเป็นรูปธรรม โดยมี ว่าที่ ร.ต. ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายกฤศ โพธสุธน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ให้การต้อนรับ และมีคณะกรรมการวุฒิสภา ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

 

โดยที่ประชุมมีการบรรยายสรุปเรื่องแผนงานภายหลังจากการได้รับคัดเลือกเป็นเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโกด้านการออกแบบ (City Of Design) ที่มีโครงข่ายพื้นที่สุขภาพดี 118 รพ.สต. จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐาน ถนน แหล่งน้ำ จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัด สร้างแหล่งเรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงราย และการเป็น Thinking/Design School ของโรงเรียน อบจ.เชียงราย โดยจัดทำหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของยุคสมัย ในส่วนของกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนในระดับอำเภอ ในการจัดตั้งสภาเยาวชน อบจ.เชียงราย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น 
 
 
เสริมนโยบายการพัฒนา “3 พี่น้องท้องถิ่นร่วมใจ ชุมชนและการมีส่วนร่วม” และจัดตั้งศูนย์เยาวชน อบจ.เชียงราย ในระดับอำเภอทั้ง 18 อำเภอ เพิ่มพื้นที่สร้างสรรค์แก่เยาวชน การสนับสนุนการจัดการแหล่งน้ำ (ฝายชะลอน้ำ) มีการทำ MOU กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการแหล่งน้ำต่าง ๆ รวมทั้งได้ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และในปี 2562 ที่ผ่านมา ได้ร่วมกันสร้างฝายมีชีวิต ที่ ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ขึ้นเป็นฝายแรก 
 
 
โดยในปี 2567 นี้มีเป้าหมายที่จะสร้างฝายมีชีวิตให้ได้ทั้งหมด 140 ฝาย เพื่อลดการพังทลายของดิน กักเก็บน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง และได้รายงานถึงความคืบหน้าของการดำเนินงานโครงการ “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” ซึ่งเป็นต้นแบบของการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 อย่างเป็นรูปธรรม โดยทางคณะแพทย์ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของฝุ่นแก่เด็กนักเรียน มีการปักธงสุขภาพในแต่ละพื้นที่ซึ่งสีของธงก็จะขึ้นอยู่กับคุณภาพอากาศในแต่ละพื้นที่นั้น ๆ มีการเดินรณรงค์ลดการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่น เพื่อสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของฝุ่น PM2.5
 
 
พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ รองประธานกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน) คนที่หนึ่ง กล่าวว่า การที่จังหวัดเชียงรายได้รับการยกระดับเป็นเมืองสร้างสรรค์นั้น อยู่ที่ความร่วมมือของประชาชนและทุภาคส่วนที่มีความรักความสามัคคี พูกพันธ์จากรุ่นสู่รุ่น อยู่ด้วยความสงบสุข และขอชื่นชมยกย่องจังหวัดเชียงรายว่าทำได้ยอดเยี่ยมมากที่สุดในประเทศไทย เพราะผู้บริหารระดับสูงของจังหวัดให้ความสำคัญและให้โอกาสเด็กๆ เยาวชนได้แสดงออกอย่างเต็มที่เต็มความสามารถในทุกๆ ด้าน จึงนำไปสู่ความสำเร็จ
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เป็นสัญชาติไทยอย่างเต็มตัว ชาติพันธุ์ 27 คน แปลงสัญชาติ

 

เมื่อวันที่ 23 ม.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย คณะทำงานด้านสิทธิสถานะบุคคล มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) นำโดย นางเตือนใจ ดีเทศน์ (ครูแดง) กรรมการที่ปรึกษามูลนิธิฯ และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จ.เชียงราย ได้พาผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผู้เฒ่ากลุ่มชาติพันธุ์อาข่า จากหมู่บ้านป่าคาสุขใจ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จำนวน 6 คน กลุ่มชาติพันธุ์จีนยูนนานจากหมู่บ้านใหม่สันติ ต.แม่สลองนอก และบ้านห้วยไร่สามัคคี ต.แม่ฟ้าหลวง อีก 21 คน รวมจำนวน 27 คน ไปทำการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทยอย่างเต็มตัว

 

โดยแต่ละคนมีอายุมาก เช่น นายอายู แย่แบวกู่ อายุถึง 93 ปี เข้ามาในประเทศไทยในปี 2508 นางหมี่นะ เบเชอกู่ อายุ 80 ปี เข้ามาเมื่อปี 2509 ฯลฯ นอกจากนี้บางคนมีประวัติที่น่าสนใจ เช่น นายเล่าเอ้อ แซ่เว่ย อายุ 86 ปี เกิดในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน และเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยพร้อมกับทหารจีนคณะชาติกองพล 93 เมื่อ 48 ปีก่อน แต่ตกสำรวจไม่ได้รับสัญชาติไทย หลังสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งนายปฤษฎางค์ สามัคคีนิชย์ นายอำเภอแม่ฟ้าหลวง ได้ให้เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการทำประจำตัวประชาชนสร้างความดีใจให้กับทุกคนอย่างมาก
นายอาเจอะ หม่อปอกู่ ผู้ใหญ่บ้านป่าคาสุขใจ กล่าวว่า ในหมู่บ้านยังมีผู้อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปอีก 35 คนซึ่งได้ยื่นเรื่องให้ทางจังหวัดพิจารณาเรื่องสัญชาติเพิ่มเติม และยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาอีกหลายราย ซึ่งผู้เฒ่าเหล่านี้ถือว่าอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานาน บางคนนานเกือบ 60 ปี แต่เนื่องจากอยู่ตามป่าเขาและสูงวัยจึงเดินทางไปไหนไม่สะดวกทำให้ไม่ได้รับสิทธิเหมือนคนไทย ดังนั้นการได้สัญชาติจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เช่น ได้เบี่้ยยังชีพผู้สูงอายุ บัตรคนพิการ มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น
 
 
ทางด้านนางเตือนใจ กล่าวว่า ผู้เฒ่ากลุ่มเหล่านี้ไม่ได้เกิดในประเทศไทยแต่อาศัยอยู่มานานแล้วซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดว่าผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศเกิน 5 ปี และถือบัตรต่างด้าวและใบสำคัญที่อยู่ มีอาชีพมั่นคงพึ่งตัวเองได้ มีความรู้ภาษาไทย มีความประพฤติดีผ่านการตรวจสอบจากหลายหน่วยงาน เช่น ตำรวจ ป.ป.ส.ฯลฯ สามารถขอแปลงสัญชาติไทยได้ กระทั่งยุคของ พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา อดีต รมว.กระทรวงมหาดไทย ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงยกเลิก 3 ข้อหลังออกและให้รู้ภาษาถิ่นส่วนความประพฤติก็มีผู้รับรอง จากนั้นให้ปลัดกระทรวงทำหนังสือเวียนไปทั่วประเทศทำให้ผู้เฒ่าเหล่านี้เได้ยื่นขอแปลงสัญชาติตามมาตรา 10 พ.ร.บ.สัญชาติฯ ส่วน จ.เชียงราย มีความร่วมมือเป็นอย่างดีกับภาคประชาสังคมจึงดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและถือเป็นกลุ่มกรณีศึกษาที่ได้รับสัญชาติไทย
 
 
น.ส.เตือนใจ กล่าวด้วยว่า ตนจึงได้ตามเรื่องโดยเข้าพบกับนายบรรจบ จันทรัตน์ รองอธิบดีกรมการปกครอง พร้อมแจ้งว่า ผู้เฒ่าเหล่านี้ได้มีการปฏิญานตนจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์แล้วในดือน เม.ย.2566 และได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่าได้มีการพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทยได้แล้วเมื่อปี 2566 ทำให้เมื่อวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา กรมการปกครองได้มีหนังสือถึง จ.เชียงราย มีผู้ได้รับสัญชาติไทยตามรายชื่อดังกล่าวในจังหวัด 45 คน ซึ่งใช้เวลาเพียง 7 วันก็มีการลดขั้นตอนและดำเนินการในครั้งนี้ดังกล่าว ทำให้แต่ละคนดีใจเพราะอยู่ในประเทศไทยนาน 30-60 ปี
 
 
โดยบางคนเป็นอดีตและครอบครัวของทหารจีนคณะชาติ จึงถือได้ว่า จ.เชียงราย มีการตั้งคณะทำงานที่มีประสิทธิภาพ ตนจึงคาดหวังว่านายอนุทิน ชาญวีระกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จะให้ความสำคัญเพราะหากไม่ลดขั้นตอนเช่นนี้แต่ละรายจะใช้เวลามากกว่า 3 ปี จึงจะแล้วเสร็จ และตัวเลขเมื่อปี 2563 ก็พบมีผู้เฒ่าไร้สัญชาติทั่วประเทศมากถึงกว่า 110,000 คน
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงราย ดันการศึกษาท้องถิ่น จัดประชุมสุดยอดผู้นำเยาวชนนานาชาติ 2024

 

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 เวลา 09.00 น. นายกฤศ โพธสุธน รองนายก อบจ.เชียงรายเป็นประธานเปิดโครงการประชุมสุดยอดผู้นำเยาวชนนานาชาติ The 5′” Lead Youth Conference 2024 ณ ห้องประชุมปลูกปัญญา โรงเรียน อบจ.เชียงราย โดยมีดร.ศราวุธ สุตะวงค์

ผู้อำนวยการ รร.อบจ.เชียงราย พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการ รร.อบจ.เชียงรสย นางพัฒนา สวยงาม นายวีระยุทธ คีลาวงค์ และดร.อรพิน สุภาวงศ์ ทั้งนี้มีโรงเรียนที่เข้าร่วมประกอบด้วย SSA Japan ประเทศญี่ปุ่น, Men 2 Indonesia ประเทศอินโดนีเซีย, โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม จ.เชียงใหม่, โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.เชียงราย, โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม จ.เชียงราย, โรงเรียนแม่จันวิทยาคม จ.เชียงราย และโรงเรียน อบจ.เชียงราย
.
การจัดโครงการในครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา ตลอดจนสัมผัสวัฒนธรรม ทุกโรงเรียนที่เข้าร่วมเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนสังคมและการพัฒนาโลก ในฐานะตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้นี้ บทบาทของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในวันนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้กับกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่จาก 4 ประเทศ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดซึ่งกันและกัน อีกทั้งหาแนวทางแก้ไขที่เป็นนวัตกรรมเพื่อพัฒนาและเปลี่ยนแปลงโลกอย่างยั่งยืน
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เชียงราย ระดมทุนถวายผ้าป่า ช่วยผู้ได้รับความเดือดร้อนไฟป่าและ PM 2.5

 

เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 67 นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานพิธีถวายผ้าป่า “บวร.บรม.ครบ. เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าให้ประเทศชาติและโลกใบนี้” และเป็นการระดมทุนสำหรับใช้ในการช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันไฟป่า และ PM 2.5 ณ วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง ตำบล้วียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยมี พระพุทธิญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย รอง ผอ.รมน.จังหวัดเชียงราย ปลัดจังหวัดเชียงราย นายอำเภอทุกอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานรํบวิสาหกิจ หอการค้าจังหวัดเชียงราย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย ชมรมธนาคารจังหวัดเชียงราย และหน่วนงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชนชาวจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมพิธีถวายผ้าป่าในครั้งนี้ด้วย

 

นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงราย และคณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย จัดพิธีทอดผ้าป่าเพื่อระดมทุนสำหรับใช้ในการช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันไฟป่า และ PM 2.5 ภายใต้ชื่อว่า “บวร. หมายถึง บ้าน วัด ราชการ โรงเรียน บรม. หมายถึง บ้าน ราชการ มัสยิด ครบ. หมายถึง คริสต์ ราชการ บ้าน และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างคณะสงฆ์ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการปัญหาหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 
 
 
โดยมีหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และประชาชน ได้ร่วมสมทบทุนถอดผ้าป่าในครั้งนี้ ยอดรวม 772,428.50 บาท และยังได้รับความเมตตาจาก พระไพศาลประชาทร (วิ) (พบโชค ติสสวังโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง ร่วมสมทบผ้าป่าจำนวน 100,000 บาท และวัดเจ็ดยอด จำนวน 10,000 บาท รวมยอดทั้งสิ้น 882,428.50 บาท
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TRAVEL

เชียงราย เตรียมจัดงานอย่างยิ่งใหญ่รำลึกถึงพ่อขุนเม็งรายมหาราช สร้างเมือง 762 ปี

 

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567  ที่ห้องประชุม ชั้น 2 โรงแรมไชยนารายณ์ริเวอร์ไซด์ อ.เมืองเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงรายและประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และนางชญาณ์นันท์ เชื้อศิริถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงราย ร่วมกันแถลงข่าว งานพ่อขุนเม็งรายมหาราชและงานกาชาด ประจำปี 2567 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 มกราคม ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567 รวม 10 วัน 10 คืน ณ สนามบินฝูงบิน 416 (สนามบินเก่า) อำเภอเมืองเชียงราย เพื่อเป็นการรำลึกถึงพ่อขุนเม็งรายมหาราชที่ทรงสร้างเมืองเชียงราย (เมื่อวันที่ 26 มกราคม 1805 ครบรอบ 762 ปี) โดยมีหน่วยงานราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชนเข้าร่วม

โดยจังหวัดเชียงราย กำหนดจัดงานพ่อขุนเม็งรายมหาราชและงานกาชาด ประจำปี 2567 เพื่อเป็นการรำลึกถึงพ่อขุนเม็งรายมหาราชที่ทรงสร้างเมืองเชียงราย เมื่อวันที่ 26 มกราคม 1805 ครบรอบ 762 ปี และเพื่อเป็นการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ประกอบด้วยพิธีทางศาสนา พิธีกรรมตามจารีตประเพณี และกิจกรรมที่แสดงออกถึงความร่วมมือของชาวเชียงราย และการนำเสนอผลงานการให้บริการประชาชน ร้านนิทรรศการของส่วนราชการ หน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา สมาคม/มูลนิธิ และสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัด นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับเด็กและเยาวชนได้แสดงความสามารถด้านการแสดง ดนตรี และกีฬา

ในปีนี้ จังหวัดเชียงราย เตรียมจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ที่ทรงสร้างเมืองเชียงราย และเป็นการเฉลิมฉลองเมืองเชียงรายครบรอบ 762 ปี ด้วยการประดับไฟ ตกแต่งบริเวณอาคารสถานที่ จุดสำคัญที่สอดคล้องหรือเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์การสร้างเมืองเชียงราย ทั้งวัด โรงเรียน สถานที่ราชการและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญต่างๆ ในเขตเมืองเชียงราย เป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีของชาวเชียงรายทุกภาคส่วน ที่พร้อมใจกันจัดขึ้น ซึ่งจะมีการกดปุ่มเปิดไฟให้สว่างไสวสวยงามทุกมุมเมือง ในวันที่ 26 มกราคม 2567 (ช่วงเวลาเปิดงานฯ ณ เวทีกลาง) เป็นการเฉลิมฉลองพร้อมกัน 3 จุด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กดปุ่มเปิดไฟ ณ บริเวณเวทีกลางงานพ่อขุนฯ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กดปุ่ม เปิดไฟ ณ วัดร่องเสือเต้น และนายกเทศมนตรีนครเชียงราย จะกดปุ่มเปิดไฟ ณ สวนตุงและโคมจังหวัดเชียงราย

โดยในวันที่ 26 มกราคม 2567 

เวลา 07.30 น. พิธีสักการะพระบรมอัฐิพญามังรายมหาราช และพิธีห่มผ้าพระสถูปพ่อขุนเม็งรายมหาราช ณ วัดดอยงำเมือง
เวลา 09.00 น. พิธีบวงสรวง และทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงราย ณ อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช (ห้าแยกพ่อขุนฯ) พร้อมกันกับอีก 6 อำเภอ ได้แก่อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเทิง อำเภอพาน และอำเภอแม่สรวย ซึ่งหลังเสร็จพิธี จะมีการ”ฟ้อนเมืองปูจาไหว้สาพญามังราย” ณ อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช (ห้าแยกพ่อขุน) โดยช่างฟ้อนมากกว่า 762 คน
เวลา 14.30 น. พิธีไหว้สาพญามังราย โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และนายอำเภอทั้ง 18 อำเภอถวายเครื่องสักการะ ณ อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช (ห้าแยกพ่อขุน)
เวลา 16.00 น. พิธีปล่อยขบวนงานเฉลิมฉลองครบรอบ 762 ปี เมืองเชียงราย ของกลุ่มอําเภอ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เทศบาลนครเชียงราย และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จํานวน 11 ขบวน เริ่มเคลื่อนขบวนจากอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ไปตามเส้นทางผ่านสวนตุงและโคม เลี้ยวซ้ายแยกศาล เข้าสู่แยกประตูสลี เลี้ยวขวาผ่านหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ และเลี้ยวซ้ายแยกบรรพปราการ (แยกวัดมิ่งเมือง) มุ่งหน้าสู่ฝูงบิน 416 (สนามบินเก่า)

เวลา 18.30 น. พิธีเปิดงานพ่อขุนเม็งรายมหาราช และงานกาชาด ประจำปี 2567 ณ เวทีกลางงานพ่อขุนเม็งรายมหาราชฯ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายจะกดปุ่มเปิดไฟให้สว่างไสวทั่วทุกมุมเมืองและสถานที่สำคัญของจังหวัด พร้อมกับอีก 2 จุด คือ ณ วัดร่องเสือเต้น โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และ ณ สวนตุงและโคมจังหวัดเชียงราย โดยนายกเทศมนตรีนครเชียงราย

กิจกรรมการแสดงเวทีกลางงานพ่อขุนเม็งรายมหาราชและงานกาชาด ประจำปี 2567 ดังนี้
1. กิจกรรมการเดินแบบผ้าไทยเพื่อการกุศล วันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2567
2. กิจกรรมการประกวดดนตรีแสงสี To Be Number 1 Contest วันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2567
3. กิจกรรมการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ประเภทกำนันผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ และภริยา
– ระหว่างวันที่ 28 – 30 มกราคม 2567 (รอบแรก) และ วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 (รอบตัดสิน)
4. กิจกรรมการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ประเภทผู้บริหาร สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการ และพนักงาน
– ระหว่างวันที่ 28 – 30 มกราคม 2567 (รอบแรก) และ วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 (รอบตัดสิน)
5. กิจกรรมการประกวดธิดาดอย วันพุธที่ 31 มกราคม 2567 และ วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567
6. กิจกรรมการประกวดรำวงย้อนยุค วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567
7. กิจกรรมการประกวดดนตรีนักเรียน/นักศึกษา วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567

 

ร้านนิทรรศการของ 18 อำเภอ ส่วนราชการ และภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งการจําหน่ายสินค้ามือสองและสลากกาชาดจากเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงรายและชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย

 

การแข่งขันกีฬา Sports Festival 2024 มหกรรมแข่งขันกีฬางานพ่อขุนเม็งรายมหาราชและงานกาชาดจังหวัดเชียงราย ประจำปี 2567 วันที่ 26 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 ประเภทการแข่งขันสตรีทฟุตบอล 3 คน การแข่งขันบาสเก็ตบอล 3 คน การแข่งขันเซปักตะกร้อ และการแข่งขันเปตอง

ไฮไลท์ของงาน คือ การออกสลากกาชาดการกุศล ในคืนวันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567
สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงรายได้ออกสลากกาชาดการกุศล จำนวน 100,000 ฉบับๆ ละ 100 บาท โดยกำหนดการออกสลากวันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567 ดังนี้
รางวัลที่ 1 บ้านเดี่ยว 2 ชั้น พร้อมที่ดิน จำนวน 1 รางวัล
รางวัลที่ 2 รถยนต์ TOYOTA YARIS ATIV สีเงิน จำนวน 1 รางวัล
รางวัลที่ 3 รถจักรยานยนต์ HONDA WAVE 110i จำนวน 3 รางวัล
รางวัลที่ 4 สร้อยคอทองคำ น้ำหนัก 1 บาท จำนวน 5 รางวัล
รางวัลที่ 5 สร้อยคอทองคำ น้ำหนัก 2 สลึง จำนวน 10 รางวัล
รางวัลที่ 6 แหวนทองคำ น้ำหนัก 0.6 กรัม จำนวน 50 รางวัล
รางวัลเลขท้าย 3 ตัว หม้อทอดไร้น้ำมัน จำนวน 100 รางวัล

 

นอกจากนี้ ยังมีการแสดงมหรสพ ความบันเทิง และคอนเสิร์ต ตลอดทั้ง 10 วัน 10 คืน

วันศุกร์ที่ 26 ม.ค. 67 – – > แบงค์ ปรีติ
วันเสาร์ที่ 27 ม.ค. 67 – – > Silly Fools
วันอาทิตย์ที่ 28 ม.ค. 67 – – > วง L.กฮ.
วันจันทร์ที่ 29 ม.ค. 67 – – > Retrospectและเก้า จิรายุ
วันอังคารที่ 30 ม.ค. 67 – – > 1 Mill & Fixed
วันพุธที่ 31 ม.ค. 67 – – > เสก LOSO
วันพฤหัสบดีที่ 1 ก.พ. 67 – – > LOMOSONIC
วันศุกร์ที่ 2 ก.พ. 67 – – > RACHYO
วันเสาร์ที่ 3 ก.พ. 67 – – > วงมหาหิงค์
วันอาทิตย์ที่ 4 ก.พ. 67 – – > วงกางเกง
 
Highlight งานพ่อขุนเม็งรายมหาราช และงานกาชาดประจำปี 2567

1. พิธีบวงสรวงและทำบุญเมืองเชียงราย
1.1 จัดพิธีพร้อมกันระหว่างจังหวัด และ 6 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน
อำเภอเชียงของ อำเภอเทิง อำเภอพาน และอำเภอแม่สรวย จังหวัดจัดพิธี ณ อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช
ทั้งช่วงเช้าและบ่าย โดยมีการแสดง “ฟ้อนเมืองปูจาไหว้สาพญามังราย”
1.2 รถขบวนแห่ของจังหวัดเชียงรายเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 762 ปี เมืองเชียงราย ของกลุ่มอำเภอ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เทศบาลนครเชียงราย และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จำนวน 11 ขบวน
โดยมีเส้นทางในการเดินขบวนพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 762 ปี เมืองเชียงราย และงานพ่อขุนเม็งรายมหาราชและงานกาชาด
ประจำปี 2567 เริ่มเคลื่อนขบวนจากอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราชตามเส้นทางผ่านหน้าสวนตุงและโคมเลี้ยวซ้ายแยกศาล
เข้าสู่แยกประตูสลี เลี้ยวขวาเข้าสู่หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติเชียงรายและเลี้ยวซ้ายแยกบรรพปราการ (แยกวัดมิ่งเมือง)
มุ่งหน้าสู่ฝูงบิน 416 (สนามบินก่า ระยะทางประมาณ 3.2 กิโลเมตร (กำหนดให้มีการแสดง 3 จุดๆ ละ 35 นาที ได้แก่
1) ก่อนเคลื่อนขบวน ณ บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช 
2) ระหว่างทาง ณ บริเวณหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ
3) ทางเข้าฝูงบิน 416 (สนามบินเก่า))
 

2. การประดับไฟเฉลิมฉลองครบรอบ 762 ปี เมืองเชียงราย
โดยมีพิธีการกดปุ่มเปิดไฟ ให้ความสว่างไสวสวยงามพร้อมกันทั่วทุกมุมเมืองและสถานที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย
พร้อมกัน 3 จุด ดังนี้ 1) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กดปุ้มเปิดไฟ ณ บริเวณเวทีกลาง งานพ่อขุนเม็งรายมหาราช
2) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กดปุ่มเปิดไฟ ณ วัดร่องเสือเต้น
3) นายกเทศมนตรีนครเชียงราย กดปุ่มเปิดไฟ ณ สวนตุงและโคมจังหวัดเชียงราย
 

3. กิจกรรมงานพ่อขุนเม็งรายมหาราช และงานกาชาด ประจำปี 2567 โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการออกบูธจากส่วนราชการและภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งการจำหน่ายสินค้ามือสองและสลากกาชาด จากเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงรายและชมรมแม่ข้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย ซึ่งมีรางวัลใหญ่เป็นบ้านพร้อมที่ดิน และรถยนต์
 

4. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน ภายในงานมีการจัดกิจกรรมให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความสามารถ ทั้งการแข่งขันกีฬา การวาดภาพศิลปะและการประกวดวงดนตรีของเด็กและเยาวชนในจังหวัดเชียงราย
 

5. มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ครั้งที่ 3 ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 (Thailand
Biennale, Chiang Rai 2023), เชียงรายเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang Rai Wellness City)
และการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย
5.1 การจัดแสดงนิทรรศการออกบูธศิลปะจากขัวศิลปะ
5.2 การจัดแสดงนิทรรศการออกบูธศิลปวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์
5.3 การจัดแสดงนิทรรศการออกบูธผลิตภัณฑ์ชา กาแฟ
5.4 การจัดแสดงนิทรรศการออกบูธด้านสุขภาพและอุตสาหกรรม Wellness จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

“วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน” เชียงรายจัดกิจกรรมถนนอย่างปลอดภัย

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2567 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์เนื่องใน “วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน” ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ภาคประชาสังคม เครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ ภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิ และคณะครู นักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย เข้าร่วม พร้อมถ่ายทอดสดการจัดกิจกรรมรณรงค์ฯ ร่วมกับส่วนกลาง ผ่านระบบ Zoom Meeting พร้อมกันทั่วประเทศ

ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 กำหนดให้วันที่ 21 มกราคมของทุกปีเป็นวันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดเชียงราย จึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน ประจำปี พ.ศ. 2567 ของจังหวัดเชียงรายขึ้น เพื่อเป็นการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน
 
 
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อลดการบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางถนน โดยการสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัย เมื่อถึงทางข้าม ทางม้าลาย และสื่อสารวันความปลอดภัย ของผู้ใช้ถนนไปยังประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน ให้ระลึกถึงความสูญเสียจากอุบัติเหตุ และร่วมกันสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ใช้ถนน เพื่อไปถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนไม่เกิน 12 คน ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ. 2570
 
 
รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า อุบัติเหตุทางถนนยังคงเป็นประเด็นที่น่ากังวล ซึ่งสร้างความสูญเสียในทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน สังคม และเศรษฐกิจของประเทศ การขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน จึงจำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม อีกทั้งจำเป็นต้องเร่งสร้างการร่วมแรง ร่วมใจให้เกิดความตระหนักรู้สู่สาธารณชน
 
 
การที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ใช้รถใช้ถนนนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการผลักดัน ประชาสัมพันธ์ และกำหนดมาตรการให้กับประชาชนทุกช่วงวัย ให้มีองค์ความรู้ในด้านการใช้รถ ใช้ถนนที่ปลอดภัยควบคู่กันไป และขอให้หน่วยงาน และภาคีเครือข่าย ได้กำหนดมาตรการให้กับบุคลากรในสังกัดปฏิบัติตามกฎจราจรเพื่อสร้างกระแสให้เกิดเป็นวัฒนธรรม ในการใช้รถ ใช้ถนนอย่างปลอดภัย และเพื่อประชาชนจะได้นำไปเป็นแบบอย่างที่ดี ต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

ผู้ว่าฯ เชียงรายหวั่นเกิดเหตุซ้ำรอยสั่งเจ้าหน้าที่ยึดสารตั้งต้นทำดอกไม้ไฟ อ.พาน

 

เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2567 นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายบัลลังก์ ไวทย์ศิริ ปลัดจังหวัด นายวุฒิกร คำมา นายอำเภอพาน จ.เชียงราย นำกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองร่วมกับ พ.ต.อ.จิตรกร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผกก.สภ.พาน และทหารมณฑลทหารบกที่ 37 เจ้าหน้าที่ทหาร มทบ.37 ชุดชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดหรือ E.O.D ภ.จว.เชียงราย นำหมายค้นของศาลแขวง จ.เชียงราย เข้าตรวจค้นที่อาคารพาณิชย์สูง 2 ชั้นครึ่ง 2 คูหา พื้นที่หมู่ 1 ต.เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย ภายหลังได้รับแจ้งว่ามีการเก็บสะสมวัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เพราะตั้งอยู่หลังตลาด อ.พาน ซึ่งเป็นชุมชนหนาแน่น

จากการตรวจสอบเจ้าหน้าที่พบเจ้าของร้านเป็นชายวัยกว่า 84 ปี เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งหมายค้นให้ทราบและเข้าไปตรวจสอบภายในพบว่าภายในพื้นที่บ้านเป็นอาคารคอนกรีตสูง 2 ชั้นครึ่ง จำนวน 2 คูหา ตรงชั้นล่างเป็นเหมือนที่เก็บของพบดอกไม้เพลิงหลายชนิดจำนวนมากคาดว่าใส่รถกระบะได้ 4 คัน สารตั้งต้นที่ใช้ประกอบการทำวัตถุดอกไม้เพลิง เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์ โพแทสเซียมคลอเรต ดินประสิว กำมะถัน โซดาไฟ ฯลฯ จำนวนประมาณ 1 คันรถบรรทุก ทั้งหมดถูกวางกองกันไว้โดยไม่มีการแยกประเภท
 
 
จากการสอบถามเจ้าของบอกว่า เก็บวัตถุทั้งหมดไว้เพื่อจะขายให้กับลูกค้า เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการตรวจยึดไว้ตรวจสอบและนำของกลางส่ง พนักงานสอบสวน สภ.พาน เบื้องต้นดำเนินคดีในข้อหาหน่ายดอกไม้เพลิงโดยไม่ได้รับอนุญาต และอยู่ระหว่างตรวจสอบหลักฐานว่ามีความผิดอื่นหรือไม่ต่อไป
สีของพลุมาจากไหนจากข้อมูลอ้างอิง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
 

ไส้พลุเดินทางขึ้นสู่ท้องฟ้า ชนวนควบคุมเวลาการระเบิดจะเกิดการเผาไหม้ เมื่อสัมผัสกับส่วนผสมต่าง ๆ ภายในไส้พลุ และระเบิดออก ทำให้เม็ดดาวแตกกระจายให้สีสันอย่างที่เห็นบนท้องฟ้า

สารเคมีแต่ละชนิดจะให้สีสันต่าง ๆ กัน เช่น

– สตรอนเชียมคาร์บอเนต (SrCO3) ให้ สีแดง

– ลิเทียมคาร์บอเนต (Li2CO3) ให้ สีแดง

– แบเรียมคลอเรต (BaClO3) ให้ สีเขียว

– คอปเปอร์ซัลเฟต (CuSO4) ให้ สีฟ้า

– แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ให้ สีเหลือง

– โซเดียมออกซาเลต (Na2C2O4) ให้ สีเหลือง

– แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) ให้ สีส้ม

ขณะที่ สีสันจากดอกไม้ไฟเกิดจากสารเคมีที่อยู่ในส่วนให้สี โดยสารประกอบโลหะแต่ละชนิดจะมีการปลดปล่อยแสงสีที่แตกต่างกันเมื่อได้รับความร้อน ดังนี้

 

 

สีเหลือง – โซเดียม การเผาไหม้ของโซเดียมจากความร้อนจะทำให้เกิดการระเบิดสีเหลืองที่สดใส

แสงสีแดง – โลหะสตรอนเชียม สตรอนเซียมถูกนำมาใช้ในหน้าจอแก้วของโทรทัศน์สีรุ่นเก่า เพราะมันจะช่วยป้องกันรังสีเอกซ์ที่จะมากระทบคนดู ถึงแม้ว่าตัวของสารจะเป็นสีเหลือง แต่เวลาเผาไหม้มันกลับให้สีแดงแทน

สีเขียว – โลหะแบเรียม พลุดอกไม้ไฟสีเขียวส่วนใหญ่ทำมาจากแบเรียมไนเตรทซึ่งเป็นพิษต่อการสูดดมดังนั้นสารนี้จึงไม่นิยมใช้สำหรับสิ่งอื่น ๆ

สีน้ำเงิน – ทองแดง เฉดสีน้ำเงินถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของการผลิตพลุดอกไม้ไฟ เพราะมันมีข้อจำกัดด้านฟิสิกส์และเคมี และต้องมีอุณหภูมิที่แม่นยำจึงจะทำให้เกิดเฉดสีน้ำเงินบนท้องฟ้า

สีขาว – อะลูมิเนียม หรือแมกนีเซียม องค์ประกอบทางเคมีเหล่านี้มีอุณหภูมิการเผาไหม้ที่สูงที่สุด และการเพิ่มสารที่สร้างสีขาวนี้กับสีอื่น ๆ ก็จะทำให้เกิดเฉดสีที่อ่อนลง

 

 

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

‘พิสันต์’ เยือน “เฉลิมทัศน์” จุดฉายภาพยนตร์ รถโรงหนังคันแรกในทวีปเอเชีย

 

เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2567 เวลา 14.00 น. นายพิสันต์  จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพรทิวา  ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม และเจ้าหน้าที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เดินทางไปเยี่ยมเยือนจุดฉายภาพยนตร์ ณ วัดจอเจริญสุขุมวาท อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เพื่อร่วมสนับสนุนรถโรงหนังและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)ที่ลงพื้นที่เตรียมงานฉายภาพยนตร์ให้กับประชาชนในจังหวัดเชียงรายได้รับชมเป็นจุดแรก ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากเด็กนักเรียน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมรับชมภาพยนตร์ทุกรอบเป็นจำนวนมาก

 

 กระทรวงวัฒนธรรม โดย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)ได้จัดซื้อรถโรงหนัง ซึ่งเป็นรถโรงหนังคันแรกในทวีปเอเชีย เพื่อร่วมฉลองวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีฯ อีกทั้งทรงพระราชทานนามรถโรงหนังว่า “เฉลิมทัศน์” เป็นหนึ่งในโครงการของหอภาพยนตร์ ที่มีแนวคิดให้โรงภาพยนตร์รูปโฉมทันสมัย ยาว 23 เมตร สูง 4.35 เมตร กว้างเมื่อจอดและกางออก 11 เมตร ความจุ 100 ที่นั่ง มีระบบภาพและเสียงสมบูรณ์แบบ รองรับระบบ 2 มิติ และ 3 มิติ พร้อมจะเคลื่อนที่ไปในทุกหนทุกแห่งในประเทศไทย โดยเฉพาะเด็กนักเรียนและชาวบ้านชุมชนที่อยู่ห่างไกลไม่มีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมพิเศษทางสังคมที่ชุมชน เด็กและเยาวชนทุกคนจะรอคอยการมาของรถโรงหนังซึ่งจะสร้างจินตนาการและบอกต่อกันไปทำให้เกิดความทรงจำที่ดี เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

พรทิวา ขันธมาลา, สุพิชชา ชุ่มมะโน : รายงาน 

เอกณัฎฐ์ กาศโอสถ : ภาพ 

อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SPORT

“ครูเชียงรายเกมส์ ครั้งที่ 15” กีฬาเชื่อมความสามัคคี ‘สหพันธ์ครูเชียงราย’“ครูเชียงรายเกมส์ ครั้งที่ 15”

 

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2567  นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬาสหพันธ์ “ครูเชียงรายเกมส์ ครั้งที่ 15” ณ สนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย

 

โอกาสนี้ นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ ได้กล่าวในพิธีเปิด “การแข่งขันกีฬา ครูเชียงรายเกมส์ ครั้งที่ 15 ว่า “การแข่งขันกีฬาของสหพันธ์ครูเชียงราย เป็นการรวมพลังกลุ่มของข้าราชกาครูในจังหวัดเชียงรายให้เป็นหนึ่งเดียว ครู ซึ่งเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนการจัดการศึกษา ยกระดับคุณภาพการศึกษาที่มีตัวนักเรียนเป็นตัวขับเคลื่อน ด้วยร่างกายที่มีความพร้อมสมบูรณ์แข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี มีน้ำใจ รู้รัก สามัคคี จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง จึงขอให้สหพันธ์ครูเชียงราย ดำเนินกิจกรรมนี้ให้ลุล่วงและประสบความสำเร็จไปด้วยนี้ทั้งครั้งที่ 15 และครั้งต่อๆ ไป
ทางด้าน ดร.อนวัช อุ่นกอง ประธานสหพันธ์ครูเชียงราย เปิดเผยว่า “การจัดการแข่งขันกีฬาสหพันธ์ “ครูเชียงราย เกมส์ ครั้งที่ 15” วัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง มีระเบียบวินัย ระเบียบ ตามข้อปฏิบัติของข้าราชการครูแบะบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงเชื่อมความรัก ความสามัคคี สร้างขวัญกำลังใจ รวมถึงได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รวมถึงขับเคลื่อนภารกิจของสหพันธ์ครูเชียงราย ภายใต้สโลแกนที่ว่า “เรื่องของครูเราดูแล”
 
 
การจัดการแข่งขันกีฬาครูเชียงรายเกมส์ ครั้งที่ 15 ได้รับเงินสนับสนุนจ่ก สหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงราย จำกัด เป็นเงิน จำนวน 250,000 บาท นักกีฬาเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จากเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1-4, สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเชียงราย, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมการแข่งขันกว่า 500 คน แบ่งเป็น 4 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล เซปักตระกร้อ และ เปตอง โดยได้รับความร่วมมือจากสมาพันธ์ครูจาก สพป.เชียงราย เขต 1-4 ในการฝึกซ้อมและคัดเลือกตัวแทนนักกีฬาทั้ง 4 ประเภทเข้าร่วมการแข่งขัน และร่วมชมร่วมเชียร์ ใช้สนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย และสนามโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย เป็นสนามแข่งขัน
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News