เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2567 นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายบัลลังก์ ไวทย์ศิริ ปลัดจังหวัด นายวุฒิกร คำมา นายอำเภอพาน จ.เชียงราย นำกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองร่วมกับ พ.ต.อ.จิตรกร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผกก.สภ.พาน และทหารมณฑลทหารบกที่ 37 เจ้าหน้าที่ทหาร มทบ.37 ชุดชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดหรือ E.O.D ภ.จว.เชียงราย นำหมายค้นของศาลแขวง จ.เชียงราย เข้าตรวจค้นที่อาคารพาณิชย์สูง 2 ชั้นครึ่ง 2 คูหา พื้นที่หมู่ 1 ต.เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย ภายหลังได้รับแจ้งว่ามีการเก็บสะสมวัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เพราะตั้งอยู่หลังตลาด อ.พาน ซึ่งเป็นชุมชนหนาแน่น

จากการตรวจสอบเจ้าหน้าที่พบเจ้าของร้านเป็นชายวัยกว่า 84 ปี เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งหมายค้นให้ทราบและเข้าไปตรวจสอบภายในพบว่าภายในพื้นที่บ้านเป็นอาคารคอนกรีตสูง 2 ชั้นครึ่ง จำนวน 2 คูหา ตรงชั้นล่างเป็นเหมือนที่เก็บของพบดอกไม้เพลิงหลายชนิดจำนวนมากคาดว่าใส่รถกระบะได้ 4 คัน สารตั้งต้นที่ใช้ประกอบการทำวัตถุดอกไม้เพลิง เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์ โพแทสเซียมคลอเรต ดินประสิว กำมะถัน โซดาไฟ ฯลฯ จำนวนประมาณ 1 คันรถบรรทุก ทั้งหมดถูกวางกองกันไว้โดยไม่มีการแยกประเภท
 
 
จากการสอบถามเจ้าของบอกว่า เก็บวัตถุทั้งหมดไว้เพื่อจะขายให้กับลูกค้า เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการตรวจยึดไว้ตรวจสอบและนำของกลางส่ง พนักงานสอบสวน สภ.พาน เบื้องต้นดำเนินคดีในข้อหาหน่ายดอกไม้เพลิงโดยไม่ได้รับอนุญาต และอยู่ระหว่างตรวจสอบหลักฐานว่ามีความผิดอื่นหรือไม่ต่อไป
สีของพลุมาจากไหนจากข้อมูลอ้างอิง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
 

ไส้พลุเดินทางขึ้นสู่ท้องฟ้า ชนวนควบคุมเวลาการระเบิดจะเกิดการเผาไหม้ เมื่อสัมผัสกับส่วนผสมต่าง ๆ ภายในไส้พลุ และระเบิดออก ทำให้เม็ดดาวแตกกระจายให้สีสันอย่างที่เห็นบนท้องฟ้า

สารเคมีแต่ละชนิดจะให้สีสันต่าง ๆ กัน เช่น

– สตรอนเชียมคาร์บอเนต (SrCO3) ให้ สีแดง

– ลิเทียมคาร์บอเนต (Li2CO3) ให้ สีแดง

– แบเรียมคลอเรต (BaClO3) ให้ สีเขียว

– คอปเปอร์ซัลเฟต (CuSO4) ให้ สีฟ้า

– แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ให้ สีเหลือง

– โซเดียมออกซาเลต (Na2C2O4) ให้ สีเหลือง

– แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) ให้ สีส้ม

ขณะที่ สีสันจากดอกไม้ไฟเกิดจากสารเคมีที่อยู่ในส่วนให้สี โดยสารประกอบโลหะแต่ละชนิดจะมีการปลดปล่อยแสงสีที่แตกต่างกันเมื่อได้รับความร้อน ดังนี้

 

 

สีเหลือง – โซเดียม การเผาไหม้ของโซเดียมจากความร้อนจะทำให้เกิดการระเบิดสีเหลืองที่สดใส

แสงสีแดง – โลหะสตรอนเชียม สตรอนเซียมถูกนำมาใช้ในหน้าจอแก้วของโทรทัศน์สีรุ่นเก่า เพราะมันจะช่วยป้องกันรังสีเอกซ์ที่จะมากระทบคนดู ถึงแม้ว่าตัวของสารจะเป็นสีเหลือง แต่เวลาเผาไหม้มันกลับให้สีแดงแทน

สีเขียว – โลหะแบเรียม พลุดอกไม้ไฟสีเขียวส่วนใหญ่ทำมาจากแบเรียมไนเตรทซึ่งเป็นพิษต่อการสูดดมดังนั้นสารนี้จึงไม่นิยมใช้สำหรับสิ่งอื่น ๆ

สีน้ำเงิน – ทองแดง เฉดสีน้ำเงินถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของการผลิตพลุดอกไม้ไฟ เพราะมันมีข้อจำกัดด้านฟิสิกส์และเคมี และต้องมีอุณหภูมิที่แม่นยำจึงจะทำให้เกิดเฉดสีน้ำเงินบนท้องฟ้า

สีขาว – อะลูมิเนียม หรือแมกนีเซียม องค์ประกอบทางเคมีเหล่านี้มีอุณหภูมิการเผาไหม้ที่สูงที่สุด และการเพิ่มสารที่สร้างสีขาวนี้กับสีอื่น ๆ ก็จะทำให้เกิดเฉดสีที่อ่อนลง

 

 

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME