Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

ปศุสัตว์เชียงราย ประกาศเขตโรคระบาด “บ้านดอยสะโง้” หลังหมูดำตายระนาว

 
วันที่ 30 กันยายน 2566 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย นำโดย นายพืชผล น้อยนาฝาย ปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายพร้อมด้วย ปศุสัตว์อำเภอเชียงแสน ด่านกักกันสัตว์เชียงราย สำนักงานปศุสัตว์เขต 5 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือตอนบน จ.ลำปาง
 
ลงพื้นที่จัดเวทีหารือร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำตำบล และชาวบ้านในพื้นที่บ้านดอยสะโง้ หมู่ที่ 7 ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยดำเนินการประชาสัมพันธ์ประกาศเขตโรคระบาดสัตว์ชั่วคราว ชนิดโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร ชนิดสุกร และหมูป่า ในพื้นที่บ้านดอยสะโง้ หมู่ที่ 7 ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และพื้นที่ในรัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุด เกิดโรค
 
โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 แห่งพรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ให้ประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่ทราบ และแจ้งมาตรการดำเนินการลดความเสี่ยงของการระบาดโดยการทำลายสุกรที่เหลือในพื้นที่ทั้งหมด โดยอาศัยอำนาจสัตวแพทย์ตามมาตรา 13 (4) แห่ง พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 
 
เนื่องจากสงสัยว่าสุกรอาจป่วยด้วยโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกรซึ่งเป็นโรคที่ไม่มียารักษาและไม่มีวัคซีนป้องกันโรค และจะดำเนินการชดใช้การทำลายสุกรตามระเบียบของกรมปศุสัตว์ นอกจากนี้ และด่านกักกันสัตว์เชียงราย ตั้งด่านสกัดกั้นการเคลื่อนย้าย เพื่อป้องปรามการลักลอบเคลื่อนย้ายในพื้นที่อีกด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
BREAKING NEWS

ข่าวเด่นน่าติดตามวันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2566

คลิกที่ภาพ

 

ข่าวเด่นน่าติดตามวันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2566

1. สรุปเหรียญเอเชียนเกมส์ 30 ก.ย. จีนอันดับ 1 มี 111 ทอง, ไทยอันดับ 6 มี 8 ทอง

2. ‘อนันต์ชัย’ ไม่ถอยคดีเว็บพนัน ‘มินนี่’ โยง ‘บิ๊กโจ๊ก’ ยันเปิดศึกแล้วรบเต็มเหนี่ยว

3. “ชัยวุฒิ” ยก “บิ๊กต่อ”ผบ.ตร.คนที่ 14 คนตรงแห่งสีกากี ทำงานซื่อสัตย์ ไม่เกรงใจใคร

4.ทางหลวง แจ้งเหตุ ‘น้ำท่วม-ดินสไลด์’ 7 แห่ง สุโขทัย-ลำปาง-ลำพูน-กำแพงเพชร อ่วม!

5. พิธายืนยันขับปดิพัทธ์ ออกจากก้าวไกล ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง

6.เป็นธรรม พร้อมรับ ‘หมออ๋อง’ แต่ย้ำต้องมาด้วยอุดมการณ์ ไม่ใช่ฝากเลี้ยง

7. “เทพบิว ภูริพล” คว้าเหรีญเงิน กรีฑา 100 เมตรชายเอเชียนเกมส์


8.สิงโตทะเลหลุดจากสวนสัตว์เซ็นทรัลพาร์ค เนื่องจากน้ำท่วมนิวยอร์ก

9.ครูในประเทศจีน สั่งลงโทษนักเรียนชายลุกนั่ง 200 ครั้ง เหตุคุยกับเพื่อน เกิด “ภาวะกล้ามเนื้อสลาย” อาการสาหัส

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
TOP STORIES

สะพานวังสะแกงข้ามลำน้ำปิงถล่มรถทุกชนิดไม่สามารถสัญจรได้

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2566 เพจข่าวด่วนจอมทอง รักคุณ โพสต์ภาพสะพานเชื่อมเส้นทางระหว่าง อ.จอมทอง (จ.เชียงใหม่)กับ อ.เวียงหนองล่อง (จ.ลำพูน) หรือ สะพานวังสะแกงที่ให้ข้ามลำน้ำปิงพังถล่มลงแม่น้ำปิงเรียบร้อยแล้ว หลังทนต่อกระแสน้ำที่ไหลแรงเชี่ยวพัดถล่มลงมา เมื่อเวลา 17.31น.ที่ผ่านมา
 
ซึ่งจุดเกิดเหตุสะพานวังสะแกง-ท่าศาลาทรุดตัว ยังพบว่ามีแม่น้ำปิงที่ไหลเชี่ยวซัดตอม่อสะพาน ซึ่งมีความยาวประมาณ 20 เมตร ความกว้างรวมฟุตบาทประมาณ 8 เมตร โดยสะพานดังกล่าวก่อสร้างเมื่อปี 2563 ปัจจุบันใช้งานมาแล้ว 35 ปี และมีรอยร้าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากมองจากระยะไกลจะเห็นว่าสะพานทรุดตัวเป็นลักษณะลูกคลื่น ทำให้ผู้ใช้เส้นทางต้องเลี่ยงไปใช้สะพานอื่นที่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบซ่อมแซม แก้ไข
 
ทางทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์ได้สืบทราบมาจากทางประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูนพบว่าย้อนกับไปเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 ที่สะพานวังสะแกง-ท่าศาลา เชื่อมต่อจังหวัดลำพูน-เชียงใหม่ ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พร้อมด้วย นายโยธิน ประสงค์ความดี ปลัดจังหวัดลำพูน นายบุญส่ง ไชยมณี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำพูน นายจักรี สโมสร นายอำเภอเวียงหนองล่อง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบถนนสาย ลพ 3003 ช่วงสะพานวังสะแกง-ท่าศาลา เชื่อมต่อจังหวัดลำพูน-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นสะพานที่เชื่อมต่อ อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน กับอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีสภาพชำรุด เกิดการทรุดตัวของสะพานอย่างเห็นได้ชัด และมีรอยร้าวขนาดใหญ่ ปัจจุบันได้นำป้ายมาปิดกั้นห้ามรถยนต์ หรือรถบรรทุกผ่าน เพราะอาจเกิดอันตรายแก่ประชาชน ผู้ใช้รถใช้ถนนเส้นทางดังกล่าวได้
 
และเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 65 ก็มีข่าวสะพานที่หน่วยงานองค์กรท้องถิ่น ทั้งของ อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน และ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ แจ้งว่า สะพานเชื่อมทั้งสองจังหวัด มีสภาพทรุดตัวอย่างเห็นได้ชัดรอยร้าวขนาดใหญ่บนสะพาน ทางหน่วยงานองค์กรท้องถิ่นทั้งสองจังหวัดได้นำป้ายมาปิดกันห้ามผ่านแล้วคนละฝั่ง
.
จนวันนี้เมื่อเวลา 17.31น.ที่ผ่านมา สะพานวังสะแกงถล่มลงแม่น้ำปิง สร้างความตกตะลึงให้ชาวบ้านที่รอดูเหตุการณ์ ส่งเสียงร้องด้วยความตกใจและเศร้าใจ
โดยสะพานดังกล่าวเชื่อมเส้นทางระหว่าง อ.จอมทอง (จ.เชียงใหม่) กับ อ.เวียงหนองล่อง (จ.ลำพูน)เนื่องจากถูกกระแสแม่น้ำปิงที่มีน้ำหลากไหลเชี่ยวพัดถล่มลงมา
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ข่าวด่วนจอมทอง รักคุณ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ในหลวง โปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์เชิญเครื่องสังฆทาน ผ้าไตร และเครื่องไทยธรรมพระราชทานแด่พระสงฆ์ พระครูบาบุญชุ่ม

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทานไปถวายแด่เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ต.สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง(5) เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทาน และเครื่องเขียนพระราชทาน ไปถวายแด่ พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร ในวันศุกร์ ที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 10.30 น. ณ วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

   พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร เป็นประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ และเมตตากล่าวสัมโมทนียกถา

   นายคฑาสิทธิ์ เนื่องหล้า นายอำเภอเชียงแสน พร้อมด้วย นางมัทนา เนื่องหล้า ภริยา หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น ศิษยานุศิษย์ เข้าร่วมพิธีฯ ในครั้งนี้

   ในโอกาสมงคลนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายพิพัฒน์ สุ่มมาตย์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายวิชชากรณ์ กาศโอสถ นายสานุพงศ์ สันทราย นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมพิธี อำนวยความสะดวกแด่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมพิธีฯ ทั้งนี้ การดำเนินงานพิธีฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุผลสำเร็จทุกประการ

     ประวัติ พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร เกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2508 เวลา 09.00 น. ที่หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนโตของนายคำหล้าและนางแสงหล้า ทาแกง แม้ครอบครัวจะยากจนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่โยมมารดาก็ปลูกฝังท่านให้ทำบุญ สวดมนต์ ทำสมาธิอยู่เสมอ ทำให้ท่านสนใจออกบวช หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ขณะอายุได้ 11 ปี ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2526 ต่อมาได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เวลา 919 น. ณ อุโบสถวัดพระเจ้าเก้าตื้อ (ปัจจุบันรวมกับวัดสวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่) โดยมีพระราชพรหมาจารย์ (ดวงคำ ธมฺมทินฺโน) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเวฬุวันพิทักษ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระครูศรีปริยัตินุรักษ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ นับแต่ออกบวช ครูบาบุญชุ่มมุ่งเน้นเรียนกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายองค์ ได้จาริกไปหลายท้องที่ทั้งภาคเหนือของไทย พม่า เนปาล อินเดีย ภูฏาน ฯลฯ เมื่อพบเห็นวัดใดทรุดโทรมก็เป็นผู้นำในการบูรณะ และได้สร้างพระธาตุเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป ไว้หลายแห่งในภาคเหนือ รัฐชาน สิบสองปันนา และประเทศลาว

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ในหลวง โปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์เชิญเครื่องสังฆทาน ผ้าไตร และเครื่องไทยธรรมพระราชทานแด่พระสงฆ์ สำนักศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทานไปถวายแด่เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

 

   พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ต.สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง (5) เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทาน และเครื่องเขียนพระราชทาน ไปถวายแด่ พระทวีวัฒน์ จารุวณฺโณ ประธานสำนักศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา ในวันศุกร์ ที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 13.30 น ณ สำนักศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

   พระทวีวัฒน์ จารุวณฺโณ ประธานสำนักศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา เป็นประธานในพิธีสงฆ์ โดยมี พล.อ.ต.สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง (5) เป็นประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส

 

   นายบุญธรรมทองพิจิตร นายอำเภอเมืองเชียงราย พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชน และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมพิธีฯ อย่างพร้อมเพรียง

 

   ในโอกาสมงคลนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายพิพัฒน์ สุ่มมาตย์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสานุพงศ์ สันทราย นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายวิชชากรณ์ กาศโอสถ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมพิธี อำนวยความสะดวกแด่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ทั้งนี้ การดำเนินงานพิธีฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุผลสำเร็จทุกประการ

 

     ประวัติ พระทวีวัฒน์ จารุวณฺโณ (จารุวณฺโณ ภิกขุ) หรือเรียกกันในกลุ่มลูกศิษย์ว่า พระอาตารย์ต้น อดีตได้รับการอุปสทบทเมื่ออายุ 24 ปี ณ พระอุโบสถวัดสุมังคลาราม ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ได้รับฉายาว่า จารุวณฺโณ ปี 2543 ได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข วัดซับคำกอง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ (หลวงปู่คำสุข เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล) ระยะเวลาอุปสมบทถึงปีปัจจุบัน 2566 จำนวน 23 พรรษา ในปัจจุบันพระคุณเจ้าเป็นประธานสงฆ์ 4 สำนัก ประกอบด้วย พุทธอุทยานดอยเวียงเกี๋ยงวนา อำเภอเชียงของ สถานศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ที่พักสงฆ์ป่านาโสกฮัง และที่พักสงฆ์ป่านาหนองพี่ อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ ได้รับรางวัล ปี 2564 “คุณสัมปันโน” มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) และมีผลงานการจัดตั้งกลุ่มพุทธยุวชนและกลุ่มพุทธรัตตัญญชน นอกจากนี้ยังมีผลงานการเขียนหนังสือราชการ ได้แก่ อริยสัจภาวนา, ธรรมนาวา, ชีวิต จิต มนุษย์ ภาวนา, รู้อัตตาเพื่อละอัตตา, อริยสัจ 4 ในชีวิตจริง, เข้าใจอริยสัจ 4 เพื่อความหลุดพ้น, การพิจารณากายเพื่อความรู้แจ้ง,        ปฏิจจสมุปบาท, ทาน ศีล ภาวนา, อุปาทานในอุปาทานขันธ์, แก้ที่จิต, เอ่ยถ้อย วลีธรรม, อยู่อย่างไม่ประมาท, สร้างปัญญาเพื่อดับทุกข์ และความสำคัญของวิสาขปูรณมี เป็นต้น

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ในหลวง โปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์เชิญเครื่องสังฆทาน ผ้าไตร และเครื่องไทยธรรมพระราชทานแด่พระสงฆ์ เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทานไปถวายแด่เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ต.สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง (5) เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทาน และเครื่องเขียนพระราชทาน ไปถวายแด่ พระไพศาลประชาทร วิ. (พบโชค ติสฺสวํโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง ในวันศุกร์ ที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 14.30 น. ณ วัดห้วยปลากั้ง ตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

พระไพศาลประชาทร วิ. (พบโชค ติสฺสวํโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง เป็นประธานในพิธีสงฆ์ และเมตตากล่าวสัมโมทนียกถานายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายบุญธรรม ทองพิจิตร นายอำเภอเมืองเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมพิธีฯ อย่างพร้อมเพรียง

 

ในโอกาสมงคลนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายพิพัฒน์ สุ่มมาตย์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายยุทธนา สุทธิสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายนิติกร ปันแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายสานุพงศ์ สันทราย นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และ นายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมพิธี อำนวยความสะดวกแด่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ทั้งนี้ การดำเนินงานพิธีฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุผลสำเร็จทุกประการ

 

 

ประวัติ พระไพศาลประชาทร วิ. มีนามเดิมว่า พบโชค มาไพศาลกิจ เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 บ้านตลาดสำรอง ตำบลพังตรุ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี พระคุณท่านได้สมณศักดิ์ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ สำหรับการจัดตั้งวัดได้เริ่มก่อตั้งสำนักสงฆ์ห้วยปลากั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 และจนกระทั้งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 พระคุณท่านได้เดินทางมาปฏิบัติธรรมและเริ่มมีการก่อตั้งศาสนวัตถุ เริ่มแต่กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ หอฉัน เจดีย์และเมื่อ วันที่ 24 กรกฎาคม 2552 ทางสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มีประกาศแต่งตั้งให้เป็นวัดโดยชื่อว่า วัดห้วยปลากั้ง ปัจจุบันวัดห้วยปลากั้งเป็นวัดที่มีศรัทธา จากต่างจังหวัด ต่างประเทศ เข้ามากราบไหว้นมัสการ และปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ถือเป็นจุดกำเนิดพุทธศาสนาในเชียงรายแห่งหนึ่งที่สำคัญ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย และพระคุณท่านได้จัดสร้างโรงพยาบาลห้วยปลากั้ง ขึ้นเพื่อเป็นโรงพยาบาลเพื่อประชาชน และนอกจากนี้ยังบำเพ็ญประโชยน์ต่อชุมชนด้านสังคมสงเคราะห์อีกด้วย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TRAVEL

เตรียมเปิดสกายสกายวอล์คคีรีชัยยาม ชมธรรมชาติป่าดอยสะเก็น เชียงราย

 
 
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2566 นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย นายสมศักดิ์ เวียงโอสถ ประธานสภาเทศบาลนครเชียงราย นายภาธร์ รังษีกุลพิพัฒน์ เลขานุการนายกเทศมนตรีนคร พร้อมด้วยสมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงราย และ ผู้อำนวยการกอง ที่เกี่ยวข้องสำนักงานเทศบาลนครเชียงราย ตรวจความคืบหน้าในการก่อสร้าง สกายวอล์คดอยสะเก็น (คีรีชัยยามะ) ชุมชนดอยสะเก็น โดยเป็นการสร้างต่อจากจุดชมวิวเดิม ที่มีความสูงจากพื้นที่ก่อสร้าง 18 เมตร
โดย สกายวอล์คดอยสะเก็น (คีรีชัยยามะ) ชุมชนดอยสะเก็น แบ่งทางเดินออกเป็น 2 ช่องทางเดิน ซึ่งมีแบบพื้นปกติ และทางเดินพื้นกระจกพิเศษ พร้อมจุดชมวิว ตัวเมืองเชียงราย ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างแล้วเสร็จไปเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว เหลืออีกไม่กี่ขั้นตอนและการส่งมอบงาน
 
นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย กล่าวว่า สกายวอล์คดอยสะเก็น (คีรีชัยยามะ) ชุมชนดอยสะเก็น ถือว่าจุดเช็คอินใหม่ ในเขตเทศบาลนครเชียงราย โดยเมื่อวัดระดับความสูงจากระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 400เมตร จึงทำให้มองเห็นวิวตัวเมืองเชียงรายอย่างสวยงาม และยังสามารถชมธรรมชาติของป่าดอยสะเก็น ดูรังผึ้งหลวง ที่ทำรังบนต้นหยวนผึ้ง หลายรัง
 
ทั้งนี้ การดำเนินการสร้าง สกายวอล์คดอยสะเก็น (คีรีชัยยามะ) ชุมชนดอยสะเก็น เพื่อต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวของชุมชนดอยสะเก็น และจังหวัดเชียงราย เมื่อแล้วเสร็จสมบูรณ์ จะมีการบริหารจัดการโดยชุมชน และทางเทศบาลนครเชียงราย จะเป็นพี่เลี้ยงในการจัดการด้านอื่น ๆ ไปพร้อมกัน
 
ซึ่ง “ป่าดอยสะเก็น” ป่าใจกลางเมือง จังหวัดเชียงราย ที่เกิดจากความร่วมมือของทุกคนในชุมชน ยังมีความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายของพันธุ์ไม้ขึ้นกระจายอยู่อย่างหนาแน่น มีมากกว่า 100 ชนิด ยังรวมความมหัศจรรย์ไว้อีกมากมาย ซึ่งรวมถึงต้นฆ้อง ที่มีอายุหลายร้อยปี แต่ชาวบ้านที่นี่เรียกกันว่า ต้นผึ้ง จะมีผึ้งผลัดเปลี่ยนกันมาอาศัย บางปีมีประมาณ 70 รัง และบางปีมีมากถึง 120 รัง
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : เทศบาลนครเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงราย สนับสนุนเครื่องจักรกลฯ ซ่อมแซมถนนเลียบลำน้ำสรวย

 
วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 15.30 น.
นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายจิราวุฒิ แก้วเขื่อน ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย นายศรายุทธ ฟูวงศ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ลงบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สนับสนุนเครื่องจักรกลฯ เพื่อเข้าดำเนินการซ่อมแซมถนนลูกรัง สายทางบ้านดู่ภูเวียง (เรียบลำน้ำสรวยเขื่อนแม่สรวยแพเปียกแม่สรวย) หมู่ที่ 14 ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กับ เทศบาลตำบลเวียงสรวย โดยมี นายสมพงษ์ เจาะเส็น นายกเทศมนตรีตำบลเวียงสรวย และ นายสิทธินนท์ กำนันตำบลแม่สรวย ร่วมลงนาม ทั้งนี้มีผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ผอ.รพ.สต.แม่สรวย อสม. และ ประชาชนในพื้น ร่วมเป็นสักขีพยาน
การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ และพัฒนาเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวล่องแพเปียกลำน้ำแม่สรวย เพื่ออำนวยความสะดวก และเตรียมความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ในฤดูกาลท่องเที่ยว เป็นการสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนให้ยั่งยืนในอนาคต
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
BREAKING NEWS

ข่าวเด่นน่าติดตามวันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566

คลิกที่ภาพ

 

ข่าวเด่นน่าติดตามวันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566

1.สรุปเหรียญเอเชียนเกมส์ 29 ก.ย. จีนอันดับ 1 มี 95 ทอง, ไทยอันดับ 5  มี 7 ทอง 3 เงิน 9 เหรีญทองแดง

 

2.ศาลอาญาชี้แจง ออกหมายค้น “บ้านบิ๊กโจ๊ก” โดยชอบ ไม่ต้องคำนึงว่าเป็นบ้านข้าราชการระดับสูง

 

  1. สองหนุ่มขอใส่หน้ากากอุลตร้าแมนให้สัมภาษณ์ หลังอายถูกจับขโมยไก่ชนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ คู่ละ 5 หมื่น

 

  1. “อัจฉริยะ” ชี้ “มินนี่” ท่องสคริปต์มาพูดทำให้ทุกอย่างดูแย่ ขัดแย้งคำให้สัมภาษณ์ของ “บิ๊กโจ๊ก”

 

5.ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีคำสั่งให้ประกัน “อานนท์นำภา” หลังถูกขังไปแล้ว 4 วัน

 

6.บิ๊กต่อ ยืนยัน สัมพันธ์แน่นแฟ้น บิ๊กโจ๊ก ไม่มีเกาเหลาตามข่าวลือ หลังมีถ่ายภาพร่วมกัน

 

7.โฆษก รทสช. ตกใจพรรคก้าวไกลขับ “ปดิพัทธ์” พ้นพรรค ใช้ช่องว่างเพื่อให้อยู่ในตำแหน่ง

 

8.ไมเคิล แกมบอน ผู้รับบทศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์ ในภาพยนตร์แฮร์รี่ เสียชีวิตแล้ว

 

9. เกิดเหตุระเบิดใกล้กับมัสยิดในประเทศปากีสถาน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE VIDEO

ชุดการแสดง “ดนตรีเทพเจ้า”

จุดเริ่มต้นของ “พิณ เปี๊ยะ” เครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนา อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้ยินเสียง  “พิณ เปี๊ยะ”  ที่โรงละครโอเปรา ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี พ.ศ.2513 เป็นครั้งแรกของการได้ยิน ได้ฟังดนตรีชิ้นนี้ เป็นความประทับใจ หลังจากได้กลับมาที่ประเทศไทยอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้ตามหาคนที่เล่น “พิณ เปี๊ยะ” ในครั้งนั้น แต่ทราบมาว่าท่านนั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว ต่อมาได้พยายามค้นหาจึงพบว่ามีอีกท่านที่เล่นได้ดีมากๆ คือ พ่ออุ๊ย เปียโนจัง หรือ อุ๊ยคำแปง เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2444 ซึ่งอาศัยอยู่ที่เวียงเชียงราย และเลิกเล่น “พิณ เปี๊ยะ” กว่า 70 ปีแล้ว โดยหัว “พิณ เปี๊ยะ” ก็เอาไปเก็บไว้ใต้เตียง ส่วนตัวของ “พิณ เปี๊ยะ” ตัวลูกเองก็เอาไปทำเป็นด้ามมีด

               อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ยื่นข้อเสนอจะตอบแทนค่าเสียเวลาให้ พร้อมจะดูแล อุ๊ยคำแปง ถ้ากลับมาเล่น “พิณ เปี๊ยะ”

ให้เสียงกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง หลังจากพ่ออุ๊ย เปียโนจัง หรือ อุ๊ยคำแปง กลับมาสืบสาน กระทรวงวัฒนธรรมได้ให้ความสำคัญยกย่องพ่ออุ๊ย เปียโนจัง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงดนตรีพื้นบ้าน “พิณ เปี๊ยะ”  

               ไม่แปลกที่เราจะเห็นเครื่องดนตรี “พิณ เปี๊ยะ”  ในพิพิธภัณฑ์บ้านดำ ถือเป็นของรักของหวงของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ถือเป็นงานศิลปะที่ทรงคุณค่า โดยหัว “พิณ เปี๊ยะ”  นิยมทำมาจาก งาช้าง เขาสัตว์ หรือโลหะเป็นรูปหัวสัตว์ พิณเปี๊ยะมีคันทวนยาวประมาณ 1 เมตรเศษ ตอนปลายคันทวนทำด้วยเหล็กทองเหลืองเรียกว่าหัวพิณเปี๊ยะ สำหรับใช้เป็นที่พาดสาย ใช้สายทองเหลืองเป็นพื้น สายทองเหลืองนี้จะพาดผ่านสลักตรงกะลาแล้วต่อไปผูกกับสลักตรงด้านซ้าย สายของพิณเปี๊ยะมีทั้ง 2 สายและ 4 สาย กะโหลกของพิณเปี๊ยะทำด้วยเปลือกน้ำเต้าตัดครึ่งหรือกะลามะพร้าว ก็ได้เวลาดีด

ซึ่งชุดการแสดงนี้ทาง ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดอนลาว ผู้มากความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองเหนือ ทั้งดนตรีพื้นเมือง ลีลาชั้นเชิง “เจิง” และอักขระภาษาล้านนา ได้นำเสนอผลงานบรรเลงพิณเปี๊ยะ พร้อมประกอบด้วยการแสดงจากศิลปินกลุ่มเดอะไทยส์ และได้รับเกียรติจากพิชญ์ บุษเนียร ศิลปินการแสดง จ.เชียงราย ควบคุมการแสดง

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News