มีชื่อว่า “วัฒนธรรมชาติ” หรือ
อ่านว่า “วัด-ทะ-นะ-ทำ-มะ-ชาด”
ออกแบบโดย นายวีระพงษ์ อมรสิน
ที่สื่อแสดงถึงความสมดุลแห่งความมั่งคั่งทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม เป็นต้นทุนสร้างสรรค์ ที่จะขับเคลื่อนเชียงราย
สู่เมืองแห่งการออกแบบที่ยั่งยืน ทั้งนี้ การออกแบบได้ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ธรรมชาติ วัฒนธรรม และธรรม ดังนี้
ส่วนที่ 1 ธรรมชาติ เชียงรายเป็นเมืองที่ “รายรอบด้วยขุนเขาและสายน้ำ” ประกอบไปด้วย
ต้นทุนแห่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
ต้นน้ำแห่งกายภาพหัวเมืองเหนือของประเทศ
ต้นกำเนิดแห่งวิถีชีวิตและภูมิปัญญาแห่งชาติพันธุ์
สู่การสร้างคุณค่าและมูลค่าจากผลิตผลแห่งการสร้างสรรค์ รวมถึงแรงบันดาลใจแห่งศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 2 วัฒนธรรม เชียงรายเป็นเมืองที่ “รายล้อมด้วยผู้คนและศิลปะ” ประกอบไปด้วย
– ลวดลายแห่งเชียงราย อัตลักษณ์ใหม่จากศิลปะล้านนาร่วมสมัย ฝีมือจากการรังสรรค์ของศิลปินแห่งชาติ ผู้เป็นตัวแทนแห่งจิตวิญญาณและสุนทรียะทางศิลปะ อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ที่เป็นต้นแบบของแรงบันดาลใจให้กับนักสร้างสรรค์ จนถูกขนานเชียงรายว่าเป็น “เมืองแห่งศิลปิน” ที่มากที่สุดในประเทศ เมืองแห่งศิลปะและศิลปินที่มากมาย
– ลายล้านนาเชียงแสน ตัวแทนแห่งประวัติศาสตร์และความหลากหลายทางชาติพันธ์ุที่มาพร้อมกับศิลปวัฒนธรรมเฉพาะตัว
– ตุงที่เชื่อมโยงถึงโครงการดอยตุง ตัวแทนของแนวคิดในการปรับตัวและการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและยั่งยืน
หอคำไร่แม่ฟ้าหลวง สถาปัตยกรรมล้านนาประยุกต์ ตัวแทนของความงดงามที่เรียบง่ายความกลมกลืนระหว่างศิลปวัฒนธรรมกับธรรมชาติ และการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากบ้านไม้เก่าของการก่อสร้าง ไร่แม่ฟ้าหลวง ยังเป็นหนึ่งในคลื่นศิลปะที่ผลักดันเชียงรายสู่เมืองออกแบบ เพราะเป็นบ้านของศิลปินนักสร้างสรรค์ ที่พร้อมบริการการออกแบบเพื่อสังคม
– อาคารลดทอน หรือ วัตถุ Simplified ตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงบนต้นทุนเดิม สะท้อนความเป็น “นีโอล้านนา” และความร่วมสมัยบนพื้นที่แห่งโอกาสและความท้าท้ายของคนรุ่นใหม่ ที่จะมาร่วมขับเคลื่อนพลังและความสามารถให้เป็นเมืองแห่งการออกแบบที่ยั่งยืน
ส่วนที่ 3 ธรรม เชียงรายเป็นเมืองที่ “รายเรียงพื้นที่แห่งศาสนาและประวัติศาสตร์” ด้วยความศรัทธาแห่งวิถีพุทธสู่การเป็นศาสนาประจำจังหวัดก่อเกิดงาน “พุทธศิลป์” หลายแขนงที่สานต่อจากอดีตของเมือง
ที่มั่งคั่งด้วย “อารยธรรม”