Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

“กฤษนันท์” จัดกิจกรรมพัฒนา ศักยภาพผู้ประกอบการ นโยบาย BCG ไทย

 

เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2567   ที่ห้องประชุมสัมมนา โรงแรมแสน จังหวัดเชียงราย นางกฤษนันท์ ทะวิชัย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา เรื่อง “นโยบาย BCG ของประเทศไทยกับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงในระดับนานาชาติ” ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภูมิภาคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยกรอบแนวคิด BCG โดยมีนางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัด ว่าที่ร้อยตรี ดุจเดี่ยว วงศ์ภักดิ์ เกษตรจังหวัดเชียงรายเชียงราย ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด

 

ทั้งนี้ตามที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และเห็นชอบให้ BCG Economy Model เป็นวาระแห่งชาติที่จะใช้พัฒนาประเทศ โดยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์และสร้างการเติบโตบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุล สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ กับการเติบโตอย่างยั่งยืน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2566 – 2570 ) ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ โดยมีเป้าหมายไปสู่การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว มุ่งหมายพัฒนาให้การบริโภค และการผลิตของประเทศมีความยั่งยืนสูง ขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการเพิ่มมูลค่าจากเศรษฐกิจหมุนเวียน
และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนให้มีการลงทุนด้านการใช้พลังงานสะอาด เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า และบริการตามแนวทางเศรษฐกิจ หมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อตอบสนองต่อการบังคับใช้กฎหมายเรื่องสิ่งแวดล้อม และการผลิตที่ยั่งยืนที่นานาชาติให้ความสำคัญ
 
 
ปัจจุบันผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมยังประสบปัญหาหลายประการ อาทิปัญหาด้านการผลิตที่ยังมีต้นทุนสูง ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาด และสามารถแข่งขันได้ในตลาดจะเป็นกลไกสำคัญ ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการธุรกิจแบบใหม่ เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบ ลดต้นทุน ลดของเสีย และเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น เพื่อยกระดับสถานประกอบการ ให้มีผลิตภาพการผลิตและลดต้นทุนการประกอบการอย่างคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบและความเสี่ยงจากการประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สังคมหรือวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วม ระหว่างชุมชนและโรงงาน SMEs ด้วยเศรษฐกิจ BCG อย่างสมดุลและยั่งยืน
 
 
กระทรวงอุตสาหกรรมโดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย จึงได้จัดการสันมนาเรือง “นโยบาย BCG ของประเทศไทยกับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงในระดับนานาชาติ” ขึ้นในครั้งนี้ ซึ่งกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการหรือวิสาหกิจด้วยเศรษฐกิจ BCG ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภูมิภาคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยกรอบแนวคิด BCG เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม SMEs มีการนำองค์ความรู้ และเทคโนโลยีภายใต้นโยบายเศรษฐกิจ BCG มาประยุกต์ใช้ในการยกระดับการผลิตที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และมีการใช้ทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจ BCG และเพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ตระหนักถึงความสำคัญของ BCG สู่การยกระดับกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ความยั่งยืนในการผลิตและบริโภค (Sustainable Production and Consumption) อีกทั้ง สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ อย่างมีส่วนร่วมระหว่าง สถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และชุมชน โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรม ที่ประกอบกิจการในอุตสาหกรรม S – Curve หรือผู้ที่เกี่ยวข้องรวมถึงบุคลากรในสถานประกอบการ
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
ECONOMY

“พล.อ.ประยุทธ์”หนุนอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกเติบโตก้าวกระโดด

 

วันที่ 19 สิงหาคม 2566 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญและเร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ หรือ ไบโอพลาสติก ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ภายใต้แนวคิด BCG โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า มุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนมีรายได้ เกิดคามมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน และเป็นไปตามเป้าหมายกรุงเทพฯ คือโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่กำหนดไว้ในการประชุมเอเปค 2022 


ทั้งนี้  นับตั้งแต่ปี 2561 จนถึงเดือนมิถุนายน 2566คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์เป็นประธาน ได้ส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตพลาสติกชีวภาพ จำนวน 24 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 37,000 ล้านบาทแล้ว โดยปัจจุบันบีโอไอได้ให้การส่งเสริมการลงทุนผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพรายใหญ่ระดับโลกหลายรายแล้ว อาทิ บริษัท เนเชอร์เวิร์คส์ เอเชียแปซิฟิก จำกัด และบริษัท โททาล คอร์เบียน พีแอลเอ จำกัด ผู้ผลิตพอลิเมอร์ ชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ ชนิดโพลีแลคติด แอซิค (Polylactic Acid: PLA) บริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม จำกัด ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด PBS (Polybutylene Succinate) บริษัท ดูปองท์ นิวทริชั่น จำกัด ผู้ผลิตไมโครคริสตัลไลน์เซลลูโลสสำหรับผลิตฟิล์มเคลือบอาหารที่สามารถย่อยสลายได้และบริษัท เอ็นวิคโค จำกัด ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลชนิด rPET (Food Grade) ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท Alpla ประเทศออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกรายใหญ่ของยุโรป และล่าสุด บริษัท ไทยโพลิเอทิลีน จำกัด บริษัทย่อยของบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้ร่วมทุนกับ Braskem ผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพรายใหญ่ของโลก จัดตั้งโรงงานผลิตไบโอ-เอทิลีน สำหรับผลิตเม็ดพลาสติกไบโอ-พอลิเอทิลีน (Green-Polyethylene) ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

“ส่งผลให้อุตสาหกรรมไบโอพลาสติกไทย เติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกอันดับ 2 ของโลกแล้ว และก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกได้ในไม่ช้า สะท้อนความสำเร็จของพล.อ.ประยุทธ์ ในการพลิกโฉมประเทศไทยสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”น.ส.ทิพานัน กล่าว

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : การส่งเสริมการลงทุน

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

พลาสติกชีวภาพ (Bio Plastic) ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

 

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง เสนอให้สามารถนำเอทานอลไปผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ นอกเหนือการเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและการผลิตสุรา สอดรับหลักการ BCG Model ด้านกรมสรรพสามิตขานรับนโยบายหนุนอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bio Plastic) รองรับการขยายตัวตามเทรนด์โลกในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาษีสรรพสามิต มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) สร้างมาตรฐานสากล  เดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 รับทราบแนวทางส่งเสริมการนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากการเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและการผลิตสุรา ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG อันจะเป็นการสร้างระบบนิเวศน์เพื่อกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสำหรับผู้ผลิตเอทานอลในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608 กระทรวงการคลังจึงกำหนดแนวทางการส่งเสริม   การนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ซึ่งจะทำให้เกิดการผลิตเม็ดพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในชั้นบรรยากาศ รวมถึงลดการใช้ปิโตรเคมีจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตเม็ดพลาสติก

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร พร้อมดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลัง โดยจะสนับสนุนให้นำเอทานอลไปผลิตพลาสติกชีวภาพได้ โดยกำหนดให้ผู้ใช้เอทานอลจะต้องใช้เอทานอลที่ผลิตในประเทศก่อนเป็นลำดับแรก

สำหรับแนวทางในการนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ สามารถสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. จัดทำมาตรฐานการผลิตเอทานอลภายในประเทศ ซึ่งมีสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำมาตรฐานการผลิตเอทานอลร่วมกับผู้เชี่ยวชาญภายในประเทศ ผู้ผลิตเอทานอลและผู้ใช้เอทานอล รวมถึงสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานทางเทคนิคและการพัฒนาบุคลากรให้สามารถเป็นผู้ตรวจประเมินตามมาตรฐานที่กำหนด


2. กระทรวงการคลังจะแต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาปริมาณการผลิตเอทานอลที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับร่วมกันระหว่างผู้ผลิตเอทานอลและผู้ใช้เอทานอลจากผู้ผลิตในประเทศล่วงหน้าในแต่ละปี ในกรณีที่ผู้ผลิตในประเทศไม่สามารถผลิตเอทานอลได้ตรงตามมาตรฐานและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้เอทานอล จะกำหนดปริมาณการนำเข้าเอทานอลที่จะได้รับสิทธิอากรขาเข้าในอัตราพิเศษเพื่อนำมาใช้ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ


3. ภาครัฐให้การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรและผู้ผลิตเอทานอลในประเทศให้สามารถจำหน่าย เอทานอลในราคาที่สามารถแข่งขันกับเอทานอลนำเข้าได้อย่างยั่งยืน


4. กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรจะพิจารณาดำเนินการออกมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการนำเอทานอลไปใช้ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ

โดยคาดว่าในเบื้องต้นจะมีความต้องการใช้เอทานอลประมาณ 450 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งแนวทางการส่งเสริมเอทานอลชีวภาพในครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรและผู้ผลิตเอทานอลในการลงทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเอทานอลในประเทศไทย รวมถึงเป็นการเพิ่มตลาดใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านการใช้เอทานอลในภาคการขนส่งจากนโยบายการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า” นายเอกนิติกล่าว  

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการผลิตพลาสติกจากวัตถุดิบปิโตรเลียม ประมาณ 5 ล้านตันต่อปี เพื่อใช้ในประเทศและส่งออก ซึ่งหากเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นเอทานอลที่มาจากพืช เช่น อ้อย หรือมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบชีวภาพ (Bio-based) จะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จำนวนมาก โดยกระบวนการปลูกพืช  เพื่อนำมาผลิตเอทานอลและนำไปใช้ในการผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพเป็นกระบวนการผลิตที่มี Carbon Footprint ต่ำ สามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 15 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้ ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมไม่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร จึงเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยบนเวทีโลก และหากประเทศไทยสามารถปรับกระบวนการผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพได้ทั้งหมด 5 ล้านตัน จะช่วยสนับสนุนความต้องการเอทานอลมากกว่า 10,000 ล้านลิตรต่อปี ทำให้เกษตรกรและผู้ผลิตมีความมั่นใจในการลงทุนพัฒนาคุณภาพเอทานอลในประเทศให้มีมาตรฐานระดับสากล ส่งเสริมและสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งส่งผลดีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศจากโอกาสดังกล่าว ที่สำคัญยังเป็นการตอบสนองต่อฉันทามติสากลในการลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ และส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG อย่างแท้จริง

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

อุตสาหกรรมไทยรับแนวคิด BCG สร้างมูลค่าเพิ่มจากปลาทูน่า ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

อุตสาหกรรมไทยรับแนวคิด BCG สร้างมูลค่าเพิ่มจากปลาทูน่า ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบความคืบหน้าและพัฒนาการของภาคอุตสาหกรรมอาหารไทย ทั้งนี้ สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย (Thai Tuna Industry Association : TTIA) และสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย (Thai Pet food Trade Association : TPFA) ได้นำสินค้าไปจัดแสดงในงาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 พฤษภาคม 2566 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ยืนยันความเป็นผู้นำอันดับ 1 ของโลกด้านอุตสาหกรรมปลาทูน่าของไทยที่มีคุณภาพ มาตรฐานระดับสากล ทั้งนี้ ในงานต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มจากส่วนสูญเสียและขยะอาหาร (Food loss food waste) ที่ได้จากปลาทูน่า นำไปผลิตเป็นสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงเกรดพรีเมี่ยมเพื่อส่งออกเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับสุนัขและแมว โดยใช้แนวคิด BCG ควบคู่การผลิต เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้ในหลายประเภท

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยเข้าร่วมงาน THAIFEX – ANUGA ASIA เป็นประจำทุกปี เพื่อนำเสนอศักยภาพของประเทศไทยในเป็นผู้นำการผลิตและส่งออกสินค้าทูน่าให้แก่นักธุรกิจและประชาชนที่เข้าร่วมงาน ซึ่งในปี 2566 นี้ เน้นการนำแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจหมุนเวียน – เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมปลาทูน่าและอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงเพื่อให้เกิดผลผลิตที่คุ้มค่ามากที่สุด ด้วยการใช้ประโยชน์สูงสุดจากปลาทูน่าทั้งตัว ซึ่งมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ดังนี้
– ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) นำส่วนสูญเสียไปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นสินค้าอื่น ๆ เช่น น้ำนึ่งปลาทูน่า นำมาสกัดเข้มข้นใช้เป็นส่วนผสมเพิ่มโปรตีนและความน่ากินในสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยง
– ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) นำส่วนของเนื้อปลาทูน่าไปผลิตเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงได้โดยตรง หรือนำส่วนของเครื่องใน เช่น ซากกระดูก ก้างของปลาทูน่า ไปเป็นวัตถุดิบผสมในอาหารสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงการสกัดน้ำมันปลาทูน่า
– ด้านเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มีการลงทุนในกลุ่มพลังงานทดแทน พลังงานสะอาด และเทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงาน เช่น ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ (Solar roof top) การเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังความร้อนใช้ในระบบทำความเย็นและไอน้ำ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycled) และการใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล เช่น กล่องกระดาษ รวมถึงการศึกษาและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไบโอพลาสติกด้วย

ซึ่งจากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ ภาพรวมปี 2565 ที่ผ่านมา (เดือนมกราคม – ธันวาคม 2565) ไทยส่งออกปลาทูน่าไปจำนวน 514,071 ตัน สร้างมูลค่าได้กว่า 79,409 ล้านบาท ขณะที่อาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับสุนัขและแมว (TPFA Wet petfood) ส่งออกไปจำนวน 336,309 ตัน สร้างมูลค่าได้กว่า 52,024 ล้านบาท 

นอกจากนี้ ในงานมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ในด้านกฎหมาย กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม หลักการและแนวคิด BCG แนวทางการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมและห่วงโซ่การผลิต การศึกษางานวิจัยปัญหาโลกร้อนที่จะส่งผลกระทบต่อวัตถุดิบในอุตสาหกรรมทูน่าและอาหารสัตว์เลี้ยง เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและปรับตัวเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ  

“นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นในศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารของไทย ซึ่งปลาทูน่าเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ โดยการนำแนวคิด BCG ที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาประยุกต์ใช้จะเป็นอีกโอกาสของการพัฒนา ในการใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ครอบคลุมทุกกระบวนการการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมทั้งยังสามารถใช้องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) ให้กับสินค้ามีจุดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

รองปลัดฯ ณัฏฐิญา ขานรับนโยบาย BCG เร่งปั้นผู้ประกอบการกว่า 80 ราย

รองปลัดฯ ณัฏฐิญา ขานรับนโยบาย BCG เร่งปั้นผู้ประกอบการกว่า 80 ราย

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดสัมมนาชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการและถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนตามแนวคิด BCG ภายใต้โครงการการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนตามแนวคิด BCG ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมีนายจักรพันธ์ เด่นดวงบริพันธ์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน และ ดร.ศรวณีย์ สิงห์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ดร.ชนิดา แสนสะอาด ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย ฝ่ายนโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน จากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมเป็นวิทยากร

รองปลัดฯ กล่าวว่า BCG Model เป็นนโยบายที่รัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งมั่นผลักดันให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาหรือยกระดับปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเข้าสู่วิถีใหม่ ช่วยติดปีกภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และเป็นไปตามประชาคมโลก พร้อมส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการใน 4 มิติประกอบด้วย ความสำเร็จทางธุรกิจ การดูแลสังคมและชุมชนโดยรอบ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการกระจายรายได้และสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชน

สำหรับกิจกรรมดังกล่าว มีเป้าหมายให้คำปรึกษาผู้ประกอบการ จำนวน 80 กิจการทั่วประเทศ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อช่วยเสริมสร้างให้สถานประกอบการมีการประกอบการที่ดีตามนโยบาย MIND 4 มิติ พัฒนาสถานประกอบการให้มีกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และมีการใช้ทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม ด้วยการปรับปรุงผลิตภาพการผลิต ลดต้นทุน หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด BCG ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวต่อยุคสมัยและยกระดับสถานประกอบการให้มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงาน คปภ. 

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE