Categories
ECONOMY

ยกระดับมาตรฐานจัดการสิ่งปฏิกูลและกากอุตสาหกรรม

 

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อปรับปรุง “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566” มีผลบังคับใช้ 1 พฤศจิกายน 2566 มุ่งยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูล ที่เกิดจากการประกอบกิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งสำหรับผู้ก่อกำเนิดของเสีย และ ผู้รับบำบัดกำจัดของเสียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และปราบปรามการทิ้งกากอุตสาหกรรมอย่างผิดกฎหมาย สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566” ฉบับปรับปรุงล่าสุด ได้อ้างอิงตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายหรือเป็นผู้รับผิดชอบ (Polluter Pays Principle: PPP) โดยติดตามความรับผิดชอบของโรงงานอุตสาหกรรมผู้ผลิตของเสีย ไปจนกว่าของเสียหรือสิ่งปฏิกูลจะถูกกำจัดอย่างถูกต้องจนเสร็จสิ้นกระบวนการ 

นอกจากนี้ ต้องส่งรายงานประจำปีเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และรายงานประจำเดือนเกี่ยวกับการจัดการวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ผ่านระบบการรายงานข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม iSingle Form (https://isingleform.go.th/home) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 และจะมีผลนับถัดจากวันที่ประกาศ 

โดยผู้ก่อกำเนิดของเสีย (Waste Generator: WG) 60,638 โรงงานทั่วประเทศ ต้องส่งรายงานประจำปี (สก.3) ภายในวันที่ 1เมษายน ของปีถัดไป ในส่วนของผู้รับบำบัดกำจัดของเสีย (Waste Processor: WP) คือโรงงานลำดับประเภท 101, 105 และ 106 จำนวน 2,500 โรงงานทั่วประเทศ ต้องส่งรายงานประจำเดือนเกี่ยวกับการจัดการวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ซึ่งตามประกาศฉบับนี้ จะต้องมีการรายงานข้อมูลครั้งแรกภายใน 15 กรกฎาคม 2566 

ผู้ฝ่าฝืนไม่ส่งรายงาน หรือส่งล่าช้าจะมีโทษปรับสูงสุด 20,000 บาท รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้ขออนุญาตการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง กระทรวงอุตสาหกรรมสามารถเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานได้ 

“นายกรัฐมนตรี เดินหน้าสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เชื่อว่าการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูล ที่เกิดจากการประกอบกิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรมจะมีส่วนสำคัญช่วยให้กำจัดของเสียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และปราบปรามการทิ้งกากอุตสาหกรรมอย่างผิดกฎหมาย ทั้งนี้ การควบคุมมลพิษเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG model) เพื่อสร้างสรรค์เศรษฐกิจไทย ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” นายอนุชาฯกล่าว

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงอุตสาหกรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

รองปลัดฯ ณัฏฐิญา ขานรับนโยบาย BCG เร่งปั้นผู้ประกอบการกว่า 80 ราย

รองปลัดฯ ณัฏฐิญา ขานรับนโยบาย BCG เร่งปั้นผู้ประกอบการกว่า 80 ราย

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดสัมมนาชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการและถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนตามแนวคิด BCG ภายใต้โครงการการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนตามแนวคิด BCG ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมีนายจักรพันธ์ เด่นดวงบริพันธ์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน และ ดร.ศรวณีย์ สิงห์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ดร.ชนิดา แสนสะอาด ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย ฝ่ายนโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน จากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมเป็นวิทยากร

รองปลัดฯ กล่าวว่า BCG Model เป็นนโยบายที่รัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งมั่นผลักดันให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาหรือยกระดับปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเข้าสู่วิถีใหม่ ช่วยติดปีกภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และเป็นไปตามประชาคมโลก พร้อมส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการใน 4 มิติประกอบด้วย ความสำเร็จทางธุรกิจ การดูแลสังคมและชุมชนโดยรอบ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการกระจายรายได้และสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชน

สำหรับกิจกรรมดังกล่าว มีเป้าหมายให้คำปรึกษาผู้ประกอบการ จำนวน 80 กิจการทั่วประเทศ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อช่วยเสริมสร้างให้สถานประกอบการมีการประกอบการที่ดีตามนโยบาย MIND 4 มิติ พัฒนาสถานประกอบการให้มีกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และมีการใช้ทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม ด้วยการปรับปรุงผลิตภาพการผลิต ลดต้นทุน หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด BCG ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวต่อยุคสมัยและยกระดับสถานประกอบการให้มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงาน คปภ. 

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE