Categories
CULTURE

เชียงรายพร้อมจัดงานมหกรรมศิลปะ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

 

เมื่อวันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 10.00 น. นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม นำข้าราชการและสื่อมวลชน เดินทางเข้าเยี่ยมชมภายในพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมี รศ. ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง หัวหน้าโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง เป็นผู้บรรยายสรุปความเป็นมาและการผสมผสานทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ต่างๆ ซึ่งมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนด้วยศิลปวัฒนธรรมสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์เมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก จากนั้นผู้อำนวยการฯ พร้อมด้วยคณะทำงานได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมผลงานและศึกษาเทคนิคการขึ้นรูปเครื่องปั้นดินเผาที่มีเอกลักษณ์ฉพาะตัว ภายในแหล่งเรียนรู้ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาบ้านดอยดินแดง ของอาจารย์สมลักษณ์ ปันติบุญ ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ สมาคมขัวศิลปะ ศิลปินทัศนศิลป์ผู้มีชื่อเสียงชาวเชียงราย

 

ต่อมาในช่วงบ่ายได้เข้าเยี่ยมชมพื้นที่ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ซึ่งก่อตั้งโดยท่าน ว.วชิรเมธี หรือพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี นับเป็นแหล่งเรียนรู้และเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก ต่อมาได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมพื้นที่จัดนิทรรศการศิลปะ ภายในอุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง แหล่งรวบรวมและเก็บรักษา ศิลปะวัตถุอันล้ำค่า ตลอดจนองค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมล้านนาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเตรียมความพร้อมและติดตามความก้าวหน้าในการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 โดยทั้ง 4 แห่งนี้เป็นสถานที่ที่จะจัดแสดงงานเบียนนาเล่ และเป็นจุดหมายปลายทางของผู้ที่จะมาเที่ยวชมงานศิลปะช่วงจัดงานตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2666 – 30 เมษายน พ.ศ. 2567
 
ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมาย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผอ.กลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปและวัฒนธรรม พร้อมด้วยนางสุภัสสร ประภาเลิศ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายวิชชากรณ์ กาศโอสถ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ เข้าร่วมลงพื้นที่ร่วมกับคณะดังกล่าว
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

งานเปิดนิทรรศการเคลื่อนที่”มองสยามตามรอยพระปกเกล้า”

 

เมื่อวันนศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566 เวลา 09.30 น. ณ ฐานเจ้าแม่กวนอิม วัดห้วยปลากั้ง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายสมหวัง บุญระยอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดนิทรรศการเคลื่อนที่ “มองสยามตามรอยพระปกเกล้า” โดยมี พระไพศาลประชาทร วิ. เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง กล่าวสัมโมทนียกถา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงาน ครูจากโรงเรียนต่าง ๆ และผู้สนใจในจังหวัดเชียงรายเข้าร่วมงานเปิดนิทรรศการฯ ดังกล่าว จัดโดย สถาบันพระปกเกล้าร่วมกับวัดห้วยปลากั้ง


นิทรรศการเคลื่อนที่ “มองสยามตามรอยพระปกเกล้า” จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน – 15 กันยายน 2566 เรียนรู้พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นตลอดรัชสมัย อีกทั้งยังได้เรียนรู้เรื่องราวการเสด็จฯ เลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพจังหวัดเชียงราย และการเสด็จประพาสเมืองเชียงแสนอีกด้วย
 

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เข้าร่วมงานเปิดนิทรรศการเคลื่อนที่ “มองสยามตามรอยพระปกเกล้า” ในครั้งนี้
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

กระทรวงวัฒนธรรม ยกระดับผลิตภัณฑ์ บ้านศรีดอนชัย และบ้านเมืองรวง เชียงราย

เมื่อวันที่ 5-8 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม เอส รัชดา เลเชอร์ กรุงเทพมหานคร

กระทรวงวัฒนธรรม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) ประจำปี พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 5- 8 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม เอส รัชดา เลเชอร กรุงเทพมหานคร เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ในด้านการออกแบบ ประโยชน์ใช้สอย รวมถึงการขยายช่องทางการตลาดให้ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยว เตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะเข้ามาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
 
วันที่ 6 มิถุนายน 2566 นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีนางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางสุภัทร กิจเวช ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม วิทยากร ผู้ประกอบการ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เข้าร่วม จำนวน 70 คน
 
การอบรมฯ ในวันนี้มุ่งเน้นการเรียนรู้การนำทุนทางวัฒนธรรมมาพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าทางวัฒนธรรม การพัฒนาต่อยอดสินค้าทางวัฒนธรรม การยื่นคำขอจดลิขสิทธิ์ การขยายช่องทางการจำหน่ายและสร้างเครือข่ายทางการค้า
 
วันที่ 7 มิถุนายน 2566 กิจกรรม Workshop เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไทย นำเสนอแบบแนวคิดในการพัฒนาสินค้า
 
วันที่ 8 มิถุนายน 2566 ศึกษาดูงาน ณ ชุมชนคุณธรรมฯ วัดเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี และชุมชนคุณธรรมฯ บ้านจอมปลวก จังหวัดสมุทรสงคราม
 
ในการนี้ จังหวัดเชียงราย มีผู้ประกอบการเข้าร่วมประชุม จำนวน 2 แห่ง คือ
1. ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย สุดยอดเที่ยวชุมชน ยลวิถี ปี 2564 ผู้ประกอบการ จำนวน 2 ราย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ผ้าทอไทลื้อศรีดอนชัย และผลิตภัณฑ์ กระเป๋าและตุ๊กตาไทลื้อศรีดอนชัย
 
2. ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเมืองรวง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สุดยอดเที่ยวชุมชน ยลวิถี ปี 2565 ผู้ประกอบการ จำนวน 2 ราย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ กาแฟอาข่ามิโน และผลิตภัณฑ์ ผ้าปักเมืองรวง
 
ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางกัลยา แก้วประสงค์ และนายจิรัฏฐ์ ยุทธ์ธนประวิช นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ กลุ่มกิจการพิเศษ เข้าร่วมอบรมและอำนวยความสะดวกเครือข่ายวัฒนธรรมตลอดการจัดกิจกรรมนี้

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

กฤษยา จันแดง,กัลยา แก้วประสงค์ : รายงาน
จิรัฏฐ์ ยุทธ์ธนประวิช : ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

“งานลอยกระทงสุโขทัย” และ “งานพลุเมืองพัทยา” คว้ารางวัลระดับเอเชียจากสมาคม IFEA-ASIA

วธ. ร่วมแสดงความยินดี “งานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จากจังหวัดสุโขทัย” และ “งานพลุนานาชาติของเมืองพัทยา” คว้ารางวัล Gold Prize งานเทศกาลที่มีศักยภาพ (ธีมงานกลางคืน) ประจำปี 2023 ระดับเอเชียจากสมาคม IFEA-ASIA ณ สาธารณรัฐเกาหลี เตรียมยกระดับอีก 16 เทศกาลประเพณีให้เป็นที่รู้จักระดับโลก

 

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาล โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินนโยบายผลักดัน Soft Power ความเป็นไทยสู่ระดับโลก ซึ่งล่าสุดเป็นที่น่ายินดีที่ งานเทศกาลประเพณีของประเทศไทย ได้แก่ “งานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จากจังหวัดสุโขทัย” และ “งานพลุนานาชาติของเมืองพัทยา” ได้สร้างชื่อเสียงและคว้ารางวัล Gold Prize งานเทศกาลที่มีศักยภาพ (ธีมงานกลางคืน) ประจำปี 2023 จากสมาคมการจัดงานอีเวนท์และเทศกาลนานาชาติ หรือ International Festival & Events Association (IFEA) ภูมิภาคเอเชีย (ASIA Chapter) ณ เมืองทงยอง (City of Tongyeong) จังหวัด คยองซังใต้ (Gyeongsangnam-do) สาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea) ซึ่งเบื้องหลังความสำเร็จมีสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สสปน. หรือทีเส็บ ได้ดำเนินงานร่วมกับจังหวัดสุโขทัย สนับสนุนและดำเนินการส่งเข้าประกวดในครั้งนี้ ทั้งนี้ นับเป็นการตอกย้ำว่าเทศกาลลอยกระทงของสุโขทัย มีเสน่ห์และศักยภาพของเทศกาลลอยกระทงที่เป็นสีสันยามค่ำคืน และเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายปลายทางที่ดึงดูดผู้คนให้มาเยือนเพื่อสัมผัสประสบการณ์ของเทศกาลแห่งความสุขและความสนุกสนานดังกล่าวมาตลอด และยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการดึงนักเดินทางต่างชาติให้มาท่องเที่ยวมากขึ้น เกิดตลาดการลงทุนและท่องเที่ยวใหม่ๆ อาทิ ประเทศเกาหลีและภูมิภาคเอเชีย 

 

ทั้งนี้ จังหวัดสุโขทัย ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี 2562 ตลอดจนจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ กรุงเทพฯ และเพชรบุรี ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ ด้านอาหาร หัตถกรรมพื้นบ้าน และการออกแบบจากเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network : UCCN) เป็นการสะท้อนเอกลักษณ์ที่มีศักยภาพของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย และถือเป็นอีกความสำเร็จจากความร่วมมือตั้งแต่ระดับชุมชน ไปจนถึงภาครัฐ และภาคเอกชน ที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับจังหวัดหรือเมืองอื่น ๆ อีกด้วย

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า สำหรับในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการกับทุกภาคส่วน ทั้งจังหวัด ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันยกระดับเทศกาลประเพณีไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ เช่น การถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดนิทรรศการ การแสดงและการสาธิตทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ตลอดจนส่งเสริมด้านการประชาสัมพันธ์ ทำให้เกิดช่องทางการรับรู้ให้มากขึ้น โดยเป็นการประกาศยกระดับเทศกาลประเพณีของไทยไปแล้ว 16 จังหวัด ประกอบด้วย 

1. ประเพณีกตัญญูคู่ฟ้า มหาสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จังหวัดปัตตานี 

2. เทศกาลมรดกโลกบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี 

3. ประเพณีหกเป็งนมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง จังหวัดน่าน 

4. ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก “มาฆบูชาอารยธรรมอีสาน” จังหวัดยโสธร 

5. ประเพณีแห่ผ้าพระบฏพระราชทานถวายพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 

6. เทศกาลโคราชเมืองศิลปะ KORAT Street Art จังหวัดนครราชสีมา 

7. เทศกาลตามรอยอารยธรรมขอมโบราณปราสาทศิลา “สด๊กก๊อกธม” จังหวัดสระแก้ว 

8. เทศกาลเมืองคราม สกลนคร (KRAM & CRAFT SAKON FESTIVAL) นครหัตถศิลป์โลก เจ้าแห่งครามธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร 

9. เทศกาลอาหารอร่อยเมืองภูเก็ต เมืองสร้างสรรค์แห่งวิทยาการอาหาร จังหวัดภูเก็ต 

10. ประเพณีบุญกลางบ้าน สืบสานตำนานเมืองพนัส จังหวัดชลบุรี 

11. เทศกาล “นาฏยแห่งศรัทธา กิ่งกะหร่า น้อมบูชา วิสาขปุรณมี” จังหวัดแม่ฮ่องสอน 

12. ประเพณีบวงสรวงพญาศรีสัตตนาคราช เลาะตลาดคนเมืองไทนคร จังหวัดนครพนม 

13. เทศกาลไทลื้อ “โฮ่มฮีต โตยฮอย ร้อยใจไทลื้อ” จังหวัดพะเยา 

14. ประเพณีตักบาตรดอกไม้เข้าพรรษา จังหวัดสระบุรี 

15. เทศกาลอาหารผสานศิลป์ เมืองเพชร เมืองสร้างสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี และ

16. เทศกาลโคมแสนดวง ที่เมืองลำพูนจังหวัดลำพูน 

 

ซึ่งหลังจากนี้ วธ. พร้อมสนับสนุนและยกระดับเทศกาลประเพณีของไทยอื่นๆ สู่ระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายการปรับบทบาทจากกระทรวงสังคม สู่กระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจด้วยวัฒนธรรม ผลักดัน “Soft Power” ความเป็นไทยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ 5F ประกอบด้วย F-Food อาหาร, F-Film ภาพยนตร์และวีดิทัศน์, F-Fashion การออกแบบแฟชั่นไทย, F-Fighting ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย และ F-Festival เทศกาลประเพณีไทย สู่ระดับโลก 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

เชียงราย ส่งเสริมการออกแบบระดับนานาชาติ ร่วมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก

วันที่ 6-7 มิถุนายน 2566 อพท. ร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยา จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกแบบระดับนานาชาติ ร่วมกับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ภายใต้แผนที่นำทาง Roadmap เมืองเชียงรายสู่เมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
 
วันที่ 6 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมโรงแรมแสน อำเภอเมืองเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมพิธีเปิดกิจกรรมและรับฟังเสวนาด้านการออกแบบระดับนานาชาติ ในประเด็นเกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้ประกอบการ การพัฒนานวัตกรรม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ หรือกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบ 

โดยให้มีการร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ ให้เกิดเป็นรูปธรรมที่สามารถนำมาสร้างผลงานด้านการออกแบบได้จริง โดยมีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้แทนสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ การบริหารจัดการแลกเปลี่ยน องค์ความรู้สร้างสรรค์สู่สากล เพื่อการพัฒนาเมือง สร้างสรรค์อย่างยั่งยืน โดยจุดเด่นของการจัดกิจกรรมในปีนี้ คือ Design Together for Chiangrai ภายใต้การนำแนวคิด “เปิดโลก หรือ The Open World ” ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงานขับเคลื่อน UCCN กับ การจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale Chiangrai 2023 ณ จังหวัดเชียงรายระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567

วันที่ 7 มิถุนายน 2566 ณ ขัวศิลปะ อำเภอเมืองเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมเสวนาด้านการออกแบบระดับนานาชาติ ในประเด็น ” เปิดโลก : เมืองสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืน” The Open World of Creative Cities towards Sustainability เปิดบทสนทนาว่าด้วยแนวทางการขับเคลื่อน พัฒนาการเป็นเมืองสร้างสรรค์ โดยวิทยากรพิเศษ จากผู้ขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ ร่วมค้นหาแรงบันดาลใจในการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาและยกระดับเชียงรายสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ และมีแผนในการดำเนินการร่วมกับกลุ่มศิลปิน กลุ่มผู้หญิง กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มเยาวชนคืนถิ่น

ในการนี้ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยมีนางสาวกฤษยา จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกอจการพิเศษ นางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนางสาววลัยพร บุญมาก เจ้าหน้าที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

วัฒนธรรมเชียงราย อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 โครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น วันที่ 4 จังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่จัดทำฐานข้อมูลชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (โดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น) โดยลงพื้นที่ จำนวน 2 แห่ง ดังนี้

1. บ้านสันต๋อ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงรายโดยมี นายประดิษฐ์ สาคำ ผู้ใหญ่บ้านสันต๋อ ร่วมลงพื้นที่และจัดทำฐานข้อมูลประวัติ นายวงค์ ดวงแก้ว ปราชญ์ชุมชนบ้านสันต๋อ
 
2. บ้านเฟือยไฮ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยมีนายพงษ์พันธ์ นวลคำมา ผู้ใหญ่บ้านเฟือยไฮ พร้อมด้วย ปราชญ์ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ จัดทำฐานข้อมูลชุมชน
 
เพื่อจัดทำแผนข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และเผยแพร่ข้อมูล ตลอดจนเป็นฐานข้อมูลชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ภายใต้โครงการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อไป
 
ในการนี้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายยุทธนา สุทธสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และนายอภิชาต กันธิยะเขียว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ลงพื้นที่ จัดทำข้อมูลดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

ก.อุตฯ เตรียมดัน “ผ้าไหมไทยร่วมสมัย” บุกตลาดโลก เล็งเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่-วัยทำงาน

ก.อุตฯ เตรียมดัน “ผ้าไหมไทยร่วมสมัย” บุกตลาดโลก เล็งเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่-วัยทำงาน

Facebook
Twitter
Email
Print

กระทรวงอุตสาหกรรม ชูอัตลักษณ์ความเป็นไทยผสานลวดลายประณีตสวยงามลงใน “ผ้าไหมไทยร่วมสมัย” วางตลาดระดับพรีเมี่ยม เน้นความหรูหราและคุณภาพสูง (Premium & High Quality) เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่วัยทำงานเผยปี 2565 ทำรายได้จากสินค้าผ้าไหมเพิ่มมากขึ้นกว่าร้อยละ 50 พร้อมเตรียมเจรจาเชื่อมโยงการผลิต – การตลาดบินตรงสู่ประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อิตาลี หวังสร้างตลาดใหม่จากผ้าไหมไทยในต่างประเทศ

 

นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (สสท.) หน่วยงานเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำเนินการยกระดับพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและผ้าพื้นเมือง ตามยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรมในการเสริมสร้างศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตและเข้มแข็ง ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยการออกแบบเชิงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสู่อีสานแฟชั่น โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562-2565 เกิดผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายใหม่กว่า 122 ลายรวมทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับ (Accessories) อีกกว่า 108 ผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้จริง สร้างโอกาสทางการตลาด     ในผลิตภัณฑ์ผ้าไหมแบบใหม่ และมีการขยายกลุ่มตลาดใหม่ นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาผู้ประกอบการผ้าไหม และผู้ที่เกี่ยวข้องธุรกิจผ้าพื้นเมืองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กว่า 1,618 คน สร้างรายได้ สร้างงานให้ชุมชน รวมทั้งสร้างโอกาสทางการตลาด และสร้างยอดขายในประเทศกว่า 6,635,456 บาท (เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่)

 

สำหรับโครงการพัฒนาผ้าไหมไทยร่วมสมัย (Premium Thai Silk) ประจำปี 2566 ยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาเทคนิคการผลิตผ้าไหมในรูปแบบใหม่ ที่มีมูลค่าเพิ่มมากกว่าร้อยละ 50 ให้กับผ้าไหมแพรวา ผ้าไหมขิด ผ้าไหมยกดอก ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมบาติก และผ้าไหมแต้ม โดยการสร้างภาพลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์มีความหรูหราและคุณภาพสูง (Premium & High Quality) มีลวดลายที่ประณีตสวยงาม (story-material-look & feel) ขณะเดียวกันมุ่งยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในระดับพรีเมี่ยม ด้วยการสร้างและนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทยลงบนผืนผ้าให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ  

 

แนวทางการพัฒนาในปีนี้ เรามีเป้าหมายพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้จำนวน 24 ผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการออกแบบและผลิตผ้าไหมร่วมสมัยแบบใหม่ ผสมผสานการใช้ทุนทางวัฒนธรรมและแนวโน้มของตลาด ควบคู่กับการพัฒนาการผลิตและการนำเทคนิคใหม่  เข้าไปใช้ในการทอผ้าไหม นอกจากนี้ เรายังมีการยกระดับผู้ประกอบการสิ่งทออีกจำนวน 8 ราย ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ทั้งในด้านการออกแบบและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การแปรรูปสินค้า และการตลาดที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงานได้ เพราะเราเชื่อว่าผ้าไหมไทย ไม่ได้มีไว้สำหรับผู้สูงอายุหรือวัยผู้ใหญ่เท่านั้น แต่คนรุ่นใหม่ วัยทำงาน ก็สามารถสวมใส่ได้เช่นกัน หากมีการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาออกแบบให้ทันสมัย สวยงาม ก็จะเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยในปี2566 มีเป้าหมายในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อิตาลี” นางสาวณัฏฐิญา กล่าว

ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และผ้าไหมพื้นเมือง ยังคงเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น : กลุ่มผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติบ้านหนองหญ้าปล้อง (ผ้าไหมอีรี่มัดหมี่วิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย (ผ้าไหมแต้มจังหวัดนครราชสีมา : กลุ่มหัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่ (ผ้าไหมมัดหมี่จังหวัดหนองบัวลำพู : กลุ่มทอผ้าแม่เอื้อมคำ by เมเม่ (ผ้าไหมขิดจังหวัดกาฬสินธุ์ : กลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านโพนแพรวา (ผ้าไหมแพรวาและจังหวัดสุรินทร์ : กลุ่มสตรีทอผ้าไหมลายยกดอกบ้านดู่นาหนองไผ่ และกลุ่มจันทร์หอม (ผ้าไหมยกดอก

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงอุตสาหกรรม

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

UNESCO ขึ้นทะเบียนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองสร้างสรรค์

UNESCO ขึ้นทะเบียนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองสร้างสรรค์

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ 5 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ กรุงเทพฯ สุโขทัย และเพชรบุรี ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ ด้านอาหาร หัตถกรรมพื้นบ้าน และการออกแบบจากเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network : UCCN) สะท้อนการทำงานของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (https://en.unesco.org/creative-cities) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2547 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ต่อยอดมาจากการขึ้นทะเบียนมรดกโลกขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) หรือยูเนสโก โดยเป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ผ่านนโยบายระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับนานาชาติที่เชื่อมโยงกับเมืองต่าง ๆ กว่า 300 เมืองทั่วโลก เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งเมืองสมาชิกจะต้องตรวจสอบความก้าวหน้าและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ของโครงการทุก 4 ปี โดยแบ่งออกเป็น 7 สาขา ได้แก่ หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Crafts & Folk Art) การออกแบบ (Design) ภาพยนตร์ (Film) อาหาร (Gastronomy) วรรณกรรม (Literature) สื่อศิลปะ (Media Arts) และดนตรี (Music) ซึ่งปัจจุบันยูเนสโกขึ้นทะเบียน 5 จังหวัดของไทย เป็นเมืองสร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

– จังหวัดภูเก็ต ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร เมื่อปี 2558 โดยภูเก็ตมีวัฒนธรรมการทำอาหารแบบดั้งเดิมและเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ส่งผ่านระหว่างรุ่น สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจท้องถิ่นจากอาหารได้กว่า 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี

– จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี 2560 โดยตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เชียงใหม่ยังคงสืบสานและสนับสนุนอุตสาหกรรมงานฝีมือ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดมายาวนาน ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเงิน ไม้แกะสลัก การปักไหม และเครื่องเขิน โดยปัจจุบันเชียงใหม่เป็นแหล่งจ้างงานหลักของอุตสาหกรรมงานฝีมือของผู้ประกอบการถึง 159 แห่ง

– กรุงเทพมหานคร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ เมื่อปี 2562 โดยกรุงเทพฯ มีความหลากหลายของประชากร มีการผสมผสานระหว่างสุนทรียภาพแบบดั้งเดิมและแบบใหม่ ทำให้เกิดวิวัฒนาการการออกแบบของเมือง ผ่านช่างฝีมือ ผู้ประกอบการ และชุมชนการผลิตเชิงสร้างสรรค์มีอยู่ทั่วเมือง 

– จังหวัดสุโขทัย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี 2562 โดยสุโขทัยมีมรดกทางศิลปะและหัตถกรรมดั้งเดิมอันยาวนาน และเป็นศูนย์กลางการผลิตช่างฝีมือซึ่งมีกว่า 1,300 คนที่ทำงานในชุมชน เช่น ผ้าทอ เครื่องประดับทองและเงิน เซรามิก และเครื่องสังคโลก โดยงานฝีมือดังกล่าวสะท้อนถึงภูมิปัญญาโบราณ และการยกระดับเศรษฐกิจของสุโขทัย

– จังหวัดเพชรบุรี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร เมื่อปี 2564 โดยเพชรบุรีมีความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ และระบบนิเวศ ขึ้นชื่อเรื่องวัตถุดิบคุณภาพสูง มีสูตรอาหารดั้งเดิมของชุมชน และการผสมผสานประเพณีเข้ากับการพัฒนาเศรษฐกิจสมัยใหม่ ทำให้อาหารท้องถิ่นได้รับการดัดแปลงให้แพร่หลายมากขึ้นในระดับชาติและระดับโลก 

“นายกรัฐมนตรียินดีกับผลการขึ้นทะเบียนดังกล่าว ซึ่งสะท้อนเอกลักษณ์ที่มีศักยภาพของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย และถือเป็นอีกความสำเร็จจากความร่วมมือตั้งแต่ระดับชุมชน ไปจนถึงภาครัฐ และภาคเอกชน ที่ต่างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับจังหวัดหรือเมืองอื่น ๆ ทั้งนี้ รัฐบาลมีแนวทางในการผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มขีดความสามารถให้แก่ชุมชนในประเทศ พร้อมสนับสนุนภาคสังคมให้เข้มแข็ง สร้างสรรค์พัฒนาผลงานเป็นธุรกิจ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับพื้นที่ต่อไป” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : UNESCO Creative Cities Network : UCCN

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 มุ่ง “เปิดโลก” ผ่านผลงานศิลปินทั่วโลก

Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 มุ่ง “เปิดโลก” ผ่านผลงานศิลปินทั่วโลก

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อ4 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ส่งเสริมการจัดงานโครงการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ภายใต้แนวคิดหลัก The Open World “เปิดโลก” สร้างการรับรู้ทางศิลปะ ผ่านผลงานของศิลปินทั่วโลก ณ จ. เชียงราย ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567 จัดอย่างต่อเนื่อง 5 เดือน เชื่อมั่นมีผู้เข้าชมหลักล้าน รวมทั้งสร้างมูลค่าให้แก่งานศิลปะร่วมสมัย และมีตัวเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจเชียงรายและกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน (พะเยา แพร่ น่าน) ถึง 30,000 ล้านบาท

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า การจัดงาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ในแนวคิดหลัก The Open World ได้รับแรงบันดาลใจจาก พระพุทธรูปปางเปิดโลก ที่ประดิษฐาน ณ วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมุ่งสื่อความหมายถึงปัญญา การตื่นรู้ เปิดโลกการรับรู้ทางศิลปะ 

ในการจัดงานครั้งนี้ ได้บูรณาการการทำงานและรับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยรูปแบบของงาน ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 1. นิทรรศการหลักที่จัดขึ้นโดยทีมภัณฑารักษ์ ในสถานที่ทั่วตัวเมืองอำเภอเชียงราย และอำเภอเชียงแสน 2. pavilion หรือศาลา แสดงผลงานของกลุ่มศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศ ในพิพิธภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย คู่ขนานกับการจัดนิทรรศการหลัก และ 3. Collateral Events เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในช่วงการแสดงงานทั้ง 5 เดือน ช่วงที่จัดงาน Biennale โดยจะเป็นกิจกรรม อาทิ เทศกาลดนตรีชาติพันธุ์ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย งานฉายภาพยนตร์ร่วมกับหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และการแสดงสดอื่น ๆ

ทั้งนี้ เพื่อยกระดับเชียงรายสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับโลก การจัดงานนี้จะสร้างความเข้มแข็งให้จังหวัดเชียงรายในหลายด้าน ด้านเศรษฐกิจ คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวกว่า 5 ล้านคน และเกิดการจ้างงานไม่น้อยกว่า 8,000 อัตรา รวมทั้งเชื่อว่าจะมีเงินหมุนเวียนเศรษฐกิจของเชียงรายและกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน (พะเยา แพร่ น่าน) ถึง 30,000 ล้านบาท ด้านสังคม เชื่อว่าจะเกิดความร่วมมือในชุมชน มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาขึ้นเป็นเครือข่ายและองค์กรศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติในอนาคต และด้านต่างประเทศ จะเป็นโอกาสเผยแพร่ภาพลักษณ์ พัฒนาความสัมพันธ์อันดี ทั้งในระดับภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และเครือข่ายศิลปิน สร้างความเชื่อมั่นในการจัดงานแสดงศิลปะนานาชาติระดับโลกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“นายกรัฐมนตรีส่งเสริมการจัดงาน Thailand Biennale ถือเป็นความสำเร็จของร่วมกันจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน รัฐ เอกชน และประชาสังคม และการจัดงานที่ผ่านมาเห็นผลสำเร็จ เห็นประโยชน์ที่ส่งถึงประชาชน ทั้งด้านเศรษฐกิจต่อชีวิต ความเป็นอยู่ระชาชนอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดกลไกความร่วมมือทางสังคมในชุมชน โดยนายกรัฐมนตรีขอบคุณความร่วมมือที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของประเทศ และชื่นชมศิลปินไทยที่ช่วยกันขับเคลื่อนวงการศิลปะ ให้เข้มแข็ง และมีศักยภาพ เป็นชื่อเสียงของประเทศ” นายอนุชาฯ กล่าว

อนึ่ง โครงการเเสดงศิลปกรรมร่วมสมัยนานาชาติได้จัดงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2018 (พ.ศ. 2561) ได้จัดงาน Thailand Biennale, Krabi 2018ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดกระบี่ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 2.6 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 864 ล้านบาท และในปี 2021 (พ.ศ. 2564) ได้จัดงาน Thailand Biennale, Korat 2021 ครั้งที่ 2 ณ จังหวัด นครราชสีมา มีผู้เข้าร่วมเกือบ 2 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 3 พันล้านบาท โดยกระทรวงวัฒนธรรมเชื่อว่า ในครั้งที่ 3 ปี 2023 นี้ จะมีนักท่องเที่ยวกว่า 5 ล้านคน เป็นโอกาสเผยแพร่ภาพลักษณ์ และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างยั่งยืน สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ https://www.facebook.com/thailandbiennale

โดยได้จัดคณะภัณฑารักษ์โครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ได้แก่ นายฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช และนางกฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ นายอังกฤษ อัจฉริยโสภณและนางสาวมนุพร เหลืองอร่าม ภัณฑารักษ์ มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 พร้อมบูรณาการความร่วมมือภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ในระดับสากล เพื่อให้จังหวัดเชียงรายก้าวสู่การเป็นเมืองศิลปะ และวัฒนธรรมที่ยกระดับสู่การเป็นทางเลือกใหม่ด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ของนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก โดยงานครั้งนี้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Thailand Biennale

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

คณะศรัทธาประชาชน ร่วมพิธีสังเวย เลี้ยงเทวดาอารักษ์พระสิงห์ เมืองเชียงรายปีที่ 5

คณะศรัทธาประชาชน ร่วมพิธีสังเวย เลี้ยงเทวดาอารักษ์พระสิงห์ เมืองเชียงรายปีที่ 5

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 ที่พระวิหารแก้ว (หอพระสิงห์) วัดพระสิงห์ พระอารามหลวง ถนนสิงหไคร ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ โดยมีนางภัทราวดี สุทธิธนกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส นำหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ผู้นำภาคเอกชน อุบาสก อุบาสิกา ทายก ทายิกา เยาวชนและศาสนิกชน ร่วมประกอบพิธีเลี้ยงสังเวยเทวดาอารักษ์พระสิงห์ ประจำเมืองเชียงรายปีที่5 พร้อมด้วยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ตลอดทั้งคณะศรัทธา พ่อค้า ประชาชน ที่มาร่วมพิธีในครั้งนี้

การสังเวยเทวดาอารักษ์ เป็นความเชื่อของชาวล้านนาที่ถูกสืบทอดมา โดยพิธีพลีกรรมเลี้ยงพระสิงห์ จะจัดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 เหนือ ในฐานะของการเป็น พระสิงห์ หรือ ผีสิงเมือง ที่คุ้มครองรักษาชาวเมืองเชียงราย จึงมีการเซ่นสังเวย โดยอาหารที่ใช้พลีกรรมมีทั้งอาหารคาว ลาบ แกงอ่อม รวมทั้งอาหารหวาน ดอกไม้ 7 สี บอกไฟดอก และเชื่อว่าเมื่อพญา กษัตริย์ ชนชั้นปกครอง สิ้นพระชนม์ หรือสวรรคตแล้ว จะได้จุติเป็นอารักษ์หลวง หรือเทวดาอารักษ์เมือง มีหน้าที่ปกป้องบ้านเมืองให้สงบสุขร่มเย็น ปราศจากสิ่งชั่วร้าย โดยในพิธีจะมีพิธีเป่าโองการสังเวยเทวดาฟ้าดิน เพื่ออัญเชิญเทวดาอารักษ์มาสิงสถิต และมารับเครื่องเซ่นสังเวย
ทั้งนี้การจัดพิธีดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมประเพณีอันดีงาม ความเป็นสิริมงคล และเป็นการสร้างความสามัคคี สร้างขวัญกำลังใจแก่พุทธศาสนิกชนชาวเชียงราย ก่อให้เกิดความตระหนักในการสำนึกรักถิ่นกำเนิดตลอดจนอยู่คู่กับชาวล้านนาจังหวัดเชียงรายสืบไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News