Categories
CULTURE

วัฒนธรรมเชียงราย ส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ อ.แม่สาย

เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา เวลา 13.00- 18.00 น. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงรายดำเนินการทดสอบกิจกรรมการท่องเที่ยว โครงการการพัฒนากิจกรรมและการตลาด เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กิจกรรมหลัก การพัฒนากิจกรรมและผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว กิจกรรมย่อย การพัฒนาสินค้าและบริการด้วยนวัตกรรมการออกแบบบริการ เพื่อต่อยอดชุมชนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดเชียงราย ณ ชุมชนไตหย่า บ้านศาลาเชิงดอย ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
 
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมเพื่อทดสอบและพัฒนาต่อยอดสินค้า และบริการทางการท่องเที่ยวชุมชน โดยมีเส้นทางท่องเที่ยว ดังนี้
 
จุดที่ 1 ไหว้พระวัดศาลาเชิงดอย
จุดที่ 2 เรียนรู้วิถีชุมชนไตหย่า ณ คริสตจักรนทีธรรมบ้านน้ำบ่อขาว ได้แก่ การทอเสื่อกก, ทำขนมข้าวแหลก, การทำกระเป๋าใบเล็ก, ชมช็อปผลิตภัณฑ์ผ้าทอ เสื้อ กระเป๋าผ้า, ชิมชา ขนมไต่หย่า, ชมศิลปะการแสดง และรับประทานอาหารไต่หย่า
 
ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นางพรทิวา ขันธมาลา ผอ.กลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม และนายเอกณัฏฐ์ กาศโอสถ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ เข้าร่วมทดสอบกิจกรรมการท่องเที่ยวฯ และ ผอ.กลุ่มยุทธศาสตร์ฯ ได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวในโอกาสต่อไปด้วย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

​เยาวชนเชื้อสายไทยคืนถิ่น เข้าพบนายกฯ-ครม. โชว์วัฒนธรรมไทย

 

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ร่วมชมกิจกรรมเผยแพร่ส่งเสริมภาพลักษณ์ ความเป็นไทย ในโครงการเยาวชนเชื้อสายไทยคืนถิ่น ประจำปี 2566 โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่  วิทยากร และเยาวชนเชื้อสายไทยคืนถิ่น ให้การต้อนรับ ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล 

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ชมการแสดงความสามารถของเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการเยาวชนเชื้อสายไทยคืนถิ่น ด้วยการสาธิตศิลปวัฒนธรรม Nora Thai Fit (โนรา ไทยฟิต) โดยเป็นการผสมผสานนาฏศิลป์ไทยโนราเข้ากับการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ระหว่างศิลปะและวัฒนธรรมเข้ากับการปฏิบัติ เพื่อให้ศิลปวัฒนธรรมไทยเข้าใกล้กับวิถีคนในยุคปัจจุบันมากยิ่งขึ้น อีกทั้งท่าไทยฟิตที่ออกแบบจาก “โนรา” เป็นศิลปะการแสดงทางภาคใต้ของประเทศไทย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การยูเนสโก และได้พบปะพูดคุยกับเยาวชน รับฟังความประทับใจต่อโครงการฯ และความภาคภูมิใจที่เป็นเยาวชนเชื้อสายไทย จากตัวแทนเยาวชน พร้อมทั้งมอบหมายให้ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นำเยาวชนเชื้อสายไทยคืนถิ่นเข้าชมตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล 

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า วธ.มีนโยบายพัฒนาความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมกับต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาททางวัฒนธรรมของไทยในเวทีโลก ตามแนวทางการทูตวัฒนธรรม (Cultural Diplomacy) โดยการแลกเปลี่ยน เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรม และเชื่อมโยงเครือข่ายทางวัฒนธรรมทั่วโลก ช่วยสร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ ก่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี วธ. จึงได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกับเครือข่ายวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ ในการจัดกิจกรรมเยาวชนเชื้อสายไทยคืนถิ่นร่วมกับเครือข่ายวัฒนธรรมไทย ซึ่งได้จัดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เยาวชนไทยในต่างประเทศได้มีโอกาสกลับมาเยือนแผ่นดินของบรรพบุรุษ ตระหนักถึงความเป็นไทย เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของไทยจากประสบการณ์ตรง สามารถเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้กับเครือข่าย และขยายความร่วมมือด้านเครือข่ายในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ เกิดภาพลักษณ์ ความเป็นไทย ที่ดีในหมู่ชาวต่างประเทศ ผ่านเยาวชนไทยที่เกิดหรือเติบโตและมีถิ่นพำนักในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนทูตวัฒนธรรมของประเทศไทย นำไปสู่การสื่อสารความรู้ความเข้าใจเรื่องศิลปวัฒนธรรมไทย ในระดับนานาชาติ

รมว.วธ. กล่าวด้วยว่า สำหรับโครงการเยาวชนเชื้อสายไทยคืนถิ่น ประจำปี 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 20 กรกฎาคม 2566 มีเยาวชนเชื้อสายไทยที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศ จำนวน 40 คน จาก 11 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ 
จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เมียนมาร์ เยอรมนี สวีเดน สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ  ประกอบด้วย กิจกรรมรับฟังคำบรรยาย ในหัวข้อ “เรียนรู้อย่างไทยในต่างแดน” 
กิจกรรมบรรยายพร้อมสาธิตและฝึกปฏิบัติการด้าน “ศิลปวัฒนธรรมไทย ภาพรวม-ดั้งเดิม-ร่วมสมัย-ไทยฟิต” 
การบรรยายและฝึกปฏิบัติการหัวข้อ “My Channel” รวมถึง วธ. ได้คัดสรรแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ให้เยาวชนเชื้อสายไทยได้ลงพื้นที่สาธิตและฝึกปฏิบัติด้านศิลปวัฒนธรรมไทย รวมถึงเรียนรู้วิถีชีวิตภูมิปัญญาของชุมชน อาทิ วิสาหกิจชุมชนบ้านช่างสกุลบายศรี, ศูนย์การเรียนรู้เรื่องโอ่ง, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรีและวัดมหาธาตุวรวิหาร ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านหัวเขาจีน รวมถึงมีกิจกรรมนันทนาการ และการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในลักษณะกิจกรรมกลุ่ม  

นายอิทธิพล กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดกิจกรรมเยาวชนเชื้อสายไทยคืนถิ่น นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูจิตสำนึก
ความเป็นไทยและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนไทยในต่างแดนแล้ว ยังส่งผลให้ชุมชนไทยในต่างแดนเหล่านี้ 
เป็นภาคส่วนหนึ่งของสังคมไทย ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีสันติสุข และเป็นตัวแทนที่ดี
ของชาวไทยในต่างแดน ที่สามารถสื่อสารความรู้ด้านวัฒนธรรมไทยไปสู่ประชากรในดินแดนที่ตนตั้งถิ่นฐาน 
อีกทั้งยังเป็นการบูรณาการความร่วมมือในการดำเนินงานในภารกิจของกระทรวงวัฒนธรรม ให้บรรลุผลสำเร็จ
ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนไทยและเครือข่ายวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศอีกด้วย

 
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

วธ.เตรียมเผยหนังสือหายาก“ปกีรณำพจนาดถ์และอนันตวิภาค””

 

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริม สืบสาน และธำรงรักษาอัตลักษณ์ความเป็นไทยด้วยภาษาไทย เพื่อหารือเตรียมจัดกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566 ว่า เนื่องในวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้ดำเนินการจัดงานเนื่องใน วันภาษาไทยแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อน้อมนำพระบรมราโชบายและพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทรงงาน เพื่อสืบสาน รักษาและต่อยอดแนวพระราชดำริ ด้านภาษาไทยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมถึงเพื่อกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และประชาชนชาวไทย ตลอดจนสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทยและใช้ให้ถูกต้อง ร่วมทั้งอนุรักษ์ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติให้งดงามอย่างยั่งยืน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า สำหรับงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2566 กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนบูรณาการองค์ความรู้ และแนวคิดร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้คนไทย ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เกิดความรักและหวงแหนความเป็นไทย ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยจะมีพิธีมอบโล่เกียรติยศและโล่รางวัลแก่หน่วยงานและผู้ได้รับรางวัลด้านภาษาไทย อาทิ รางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นชาวไทย ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย พุทธศักราช 2566 ด้านการประกวดหรือแข่งขันทักษะทางภาษาไทย อาทิ รางวัลสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2566 หัวข้อ “มนต์รักษ์ภาษาไทย” รูปแบบคลิปวิดีโอเพลงแรป รางวัลเพชรในเพลง  รวมถึงรางวัลอ่านทำนองเสนาะ “สดับถ้อยร้อยกรองไทย ครั้งที่ 2” ที่จัดประกวดด้วยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ตลอดจนการเผยแพร่วีดิทัศน์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย โดยจะมีการมอบเกียรติบัตรให้แก่สถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยด้วย

นายอิทธิพล กล่าวว่า นอกจากนี้ กรมศิลปากร ได้จัดพิมพ์หนังสือเก่าหายาก เรื่อง “ปกีรณำพจนาดถ์และอนันตวิภาค” (ปะ- กี- ระ -นำ- พด -จะ -นาด และ อะ- นัน.-ตะ -วิ พาก) จัดพิมพ์สูจิบัตร และกรมส่งเสริมวัฒนธรรมจัดพิมพ์หนังสือประวัติผลงานปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นชาวไทย ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย พุทธศักราช 2566 และได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดละครเพลงเรื่อง “หัวใจอภัยมณี” Heart of Stone The Musical รำลึกกวีเอก สุนทรภู่ สืบสานการใช้ภาษาไทย ในวันที่ 19 – 20 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นับได้ว่าผู้ที่ได้รับรางวัล ผู้ที่ร่วมงานทุกคน ตลอดจนหน่วยงานที่ในความร่วมมือร่วมจัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566 มีส่วนสำคัญที่ได้ร่วมกันถ่ายทอดวัฒนธรรมภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นแบบอย่างที่ดีของการสร้างความตระหนักในคุณค่าของภาษาไทย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

วธ. ปลื้มกระแสตอบรับบ้านศรีดอนชัย “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” จ.เชียงราย

 

วธ. ปลื้มกระแสตอบรับ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 64-65 ดีเกินคาด สร้างรายได้ท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 134.27 รายได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.19 เกิดนักท่องเที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.64 ด้านบ้านเชียง จ.อุดรธานี , บ้านศรีดอนชัย จ.เชียงราย , บ้านถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู ได้รับความนิยมสูงสุด ผู้คนติดใจเสน่ห์บรรยากาศของชุมชน อาหาร และสินค้าชุมชน 

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ ทางคณะทำงานโครงการ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ได้ทำแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด เครือข่ายทางวัฒนธรรม นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดที่ชุมชนได้รับการคัดเลือกเป็นสุดยอดชุมชนต้นแบบ ฯ จำนวน 19 จังหวัด และในพื้นที่จังหวัดที่ชุมชนไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นสุดยอดชุมชนต้นแบบ ฯ จำนวน 57 จังหวัด รวมจำนวน 3,089 คน ซึ่งเป็นการสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ ประสบการณ์ ความประทับใจ การมีส่วนร่วม ตลอดจนมุมมองความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชุมชน

ปลัด วธ. กล่าวว่า ผลปรากฏว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เคยได้ยินหรือรับรู้รับทราบเกี่ยวกับโครงการ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ดังกล่าวมาบ้างแล้ว โดยผู้ที่อยู่ในพื้นที่ชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” จะมีการรับรู้รับทราบมากกว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่นอกพื้นที่ ในส่วนของชุมชนที่ได้รับความนิยมและมีผู้เคยไปท่องเที่ยวมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี 2.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย จ.เชียงราย และ3.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู ด้านชุมชนที่ส่วนใหญ่คิดว่าจะไปเพิ่มเติมมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย จังหวัดเชียงราย 2.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านผาบ่อง จ.แม่ฮ่องสอน 3.ชุมชนคุณธรรมฯ แหลมสัก จ.กระบี่ นอกจากนี้ ด้านเสน่ห์ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบจากการที่ได้ไปท่องเที่ยว ณ สุดยอดชุมชนต้นแบบฯ ได้แก่ “บรรยากาศของชุมชน” รองลงมา คือ “อาหาร” และ “สินค้าชุมชน” ตามลำดับ

นางยุพา กล่าวต่อไปว่า สำหรับการจัดโครงการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ในปี 2564 และ 2565 รวม 20 ชุมชน นั้น ทำให้ระดับการพัฒนาของสุดยอดชุมชนต้นแบบฯ ทั้ง 20 ชุมชน มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้น สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวชุมชน จากเดิมการก่อนได้รับคัดเลือก 133,033,148 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 311,659,739 บาท คิดเป็นร้อยละ 134.27 รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) เดิม 8,929,479 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 14,214,750 บาท คิดเป็นร้อยละ 59.19 จำนวนนักท่องเที่ยว เดิม 678,008 คน เพิ่มขึ้นเป็น 1,360,376 คน คิดเป็นร้อยละ 100.64 โดยเป็นการเปรียบเทียบจากข้อมูลรายได้ภายหลัง 1 ปี ของชุมชนที่ได้รับรางวัลสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 2564 และครึ่งปีของชุมชนที่ได้รับรางวัลสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 2565 นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามยังได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่มีบรรยากาศของชุมชนมากขึ้น การเดินทางสะดวก ชุมชนแสดงออกถึงอัตลักษณ์ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

“ขณะนี้ วธ. กำลังคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทั่วทั้งประเทศ ทั้งนี้ วธ. จะมุ่งส่งเสริมพัฒนาสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ที่มีบรรยากาศของชุมชน มีภูมิทัศน์น่าสนใจและรื่นรมย์ รวมถึงส่งเสริมให้ชุมชนนำอัตลักษณ์และทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน มาพัฒนาเป็นจุดขายแก่นักท่องเที่ยวมากขึ้น เน้นให้ความสำคัญในเรื่องการเดินทางสะดวกเข้าถึงได้ง่าย เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน พร้อมด้วยการจัดพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติจากนายกรัฐมนตรี เป็นการการันตีชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และทำให้มีผู้มาเยือนเพิ่มมากขึ้น” ปลัด วธ.กล่าว

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

ผลิตภัณฑ์ CPOT มาแรง วธ.เผย 30 ชุมชน เตรียมบุกขายตลาดลาซาด้า

 

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการที่รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ส่งเสริม Soft Power ความเป็นไทยหลากหลายสาขาให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ และ วธ. มีนโยบายสู่ “กระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ” ภายใต้แนวคิด วัฒนธรรมทำดี ทำงาน ทำเงิน ส่งเสริมสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับประชาชน จึงได้มีการปรับโครงการพัฒนาต่อยอดสินค้าจากทุนทางวัฒนธรรม ภายใต้ชื่อ Cultural Product of Thailand หรือ CPOT โดยส่งเสริมอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 10 แล้ว ในช่วงแรกเราเน้นการพัฒนาต้นน้ำและกลางน้ำ โดยให้ความรู้ในการนำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอด อบรมการออกแบบ วัสดุ ให้มีความน่าสนใจ ร่วมสมัย ตอบโจทย์การใช้งาน และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือสามารถจับต้องได้ มีการนำผลิตภัณฑ์ไปออกงานแสดงสินค้าเป็นบ้างครั้ง จนกระทั่งในช่วงปี 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา เราต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด ชุมชน ผู้ประกอบการ  ไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ กระทรวงวัฒนธรรมจึงต้องปรับการดำเนินการโดยเน้นสนับสนุนปลายน้ำหรือ ภาคการตลาด เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายโดยเฉพาะในรูปแบบ e Commerce ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำให้ชุมชน ผู้ประกอบการ สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ “ทุกที่ ทุกเวลา อยู่รอดได้ แม้ภัยมา”



ปลัด วธ. กล่าวอีกว่า กระทรวงวัฒนธรรมจะขับเคลื่อนเพียงหน่วยเดียวคงเป็นไปไม่ได้ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรที่เป็นมืออาชีพ เข้าร่วมสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจวัฒนธรรมยกระดับผลิตภัณฑ์ CPOT ของไทยไปพร้อมๆกัน ทั้งนี้ วธ. ได้แพลตฟอร์มในตลาดค้าปลีกออนไลน์อย่างลาซาด้า (Lazada) มาร่วมเป็นพันธมิตร ซึ่งขณะนี้ เบื้องต้น วธ. ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคที่มีผลต่อการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ปรากฏว่า 3 อันดับแรกที่ผู้บริโภคสนใจ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารแปรรูป  ผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้/ของตกแต่งบ้าน และผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องหอม/เวชสำอาง ทั้งนี้ วธ. ได้ดำเนินการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพและมีคุณภาพได้รับมาตรฐานรับรองต่างๆแล้ว 30 ชุมชน พร้อมเตรียมทำรายการสินค้านำเสนอผลิตภัณฑ์ขึ้นจำหน่าย และกำหนดจัดอบรมทำความเข้าใจกับการจำหน่ายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้แก่ชุมชน ผู้ประกอบการ กว่า 200 คน จากทั่วประเทศ ในเดือนกรกฎาคมนี้  เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชน ผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าผู้บริโภคจะสามารถช้อปสินค้า CPOT บนช่องทางการจำหน่ายของลาซาด้า เร็วๆนี้

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

โครงการกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น วันที่ 11

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 (โครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น วันที่ 11)

จังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่จัดทำฐานข้อมูลชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (โดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น) โดยลงพื้นที่ บ้านลังกา หมู่ที่ 4 โดยมีนางกัลยา วรรณธิกูล ผู้ใหญ่บ้านลังกา หมู่ 4 และนายวรโชติ รักชาติ บ้านเลขที่ 244 หมู่ 4 บ้านลังกา ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ร่วมให้ข้อมูลการปั้นผลิตภัณฑ์ดินเผาและลงพื้นที่จัดทำฐานข้อมูลชุมชนฯ
 
เพื่อจัดทำแผนข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และเผยแพร่ข้อมูล ตลอดจนเป็นฐานข้อมูลชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ภายใต้โครงการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อไป
 
ในการนี้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายยุทธนา สุทธสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และนายอภิชาต กันธิยะเขียว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ลงพื้นที่ จัดทำข้อมูลดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

เชียงราย เลือกวัดพระธาตุผาเงา สู่ 10 สุดยอด ชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ระดับประเทศ

 

เมื่อ 22 มิถุนายน 2566 ที่ห้องประชุมพวงแสด ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการคัดเลือกสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ระดับจังหวัด ประจำปี 2566 โดยมีนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินโครงการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ เพื่อคัดเลือกชุมชนคุณธรรมที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนพลังบวร จากทั่วประเทศที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ เพื่อประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ สร้างขวัญกำลังใจแก่ชุมชน รวมถึงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง เกิดการต่อยอด ขยายผลสำเร็จไปยังชุมชนอื่นๆ ปลุกกระแสการท่องเที่ยววิถีชุมชน สร้างโอกาส สร้างรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข็มแข็งอย่างยั่งยืน
 
 
นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายมีต้นทุนสูงทั้งด้านโบราณสถานโบราณวัตถุ สถานที่สำคัญๆ มีวิถีชีวิตชุมชนที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะมีชุมชนคุณธรรมที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนโดยพลังบวร หลายชุมชนกระจายอยู่ในหลายอำเภอ และเห็นด้วยที่ปีนี้จะเสนอให้วัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) เป็นสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ระดับจังหวัด ประจำปี 2566 เพราะชุมชนมีความโดดเด่นการใช้ชีวิตแบบวิถีชาวบ้าน รวมถึงสถานที่โบราณสถานต่างๆ มีประเพณีที่ศักดิ์สิทธิที่ชาวบ้านทำกันมาอย่างยาวนาน จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวจากหลายพื้นที่ ที่เชื่อในเรื่องสายศรัทธา (สายมู) หลั่งไหลเข้ามากราบไหว้บูชา อีกทั้งรัฐบาลยังเน้นการท่องเที่ยวแบบวิถีชาวบ้าน ซึ่งวัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) ถือว่าตอบโจทย์ที่รัฐบาลคาดหวังไว้ และเชื่อว่าจังหวัดเชียงรายจะสามารถคว้า 1 ใน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
 
 
ด้านนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้แจ้งไปยังทุกอำเภอ เพื่อขอความร่วมมือคัดเลือกชุมชนคุณธรรมฯ ที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ อำเภอละ 1 แห่ง เพื่อพิจารณาคัดเลือกในระดับจังหวัด ให้เหลือเพียง จำนวน 1 แห่ง เพื่อส่งเข้ารับการคัดเลือกในระดับประเทศ และชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกในระดับจังหวัด และกล่าวต่อไปว่า วัดพระธาตุผาเงา เป็นวัดที่อยู่ร่วมกับชุมชนบ้านสบคำ และอำเภอเชียงแสนมาอย่างยาวนาน มีประวัติศาสตร์ สิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรม ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีสกายวอล์ค ผาเงา สามแผ่นที่สามารถมองเห็นมุมวิวสวย ของทั้งสามประเทศ ได้แก่ ไทย สปป.ลาว และเมียนมา อีกด้วย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

สกน. ยื่น ‘พิธา’ ย้ำรื้อมรดกกฎหมายป่าไม้ ดันนโยบายชาติพันธุ์ร่วมพรรครัฐบาล

 
เมื่อวันที่ 15 มิถุยน 2566 ทางเพจ มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ  โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คถึงสกน. ยื่น ‘พิธา’ เสนอ 4 ข้อเรียกร้องแก้ปัญหาชาติพันธุ์ ย้ำรื้อมรดก คสช.-ประวัติศาสตร์กดขี่ ห่วงนโยบายชาติพันธุ์ไม่ปรากฏใน MOU พรรคร่วมรัฐบาล ขอมีส่วนร่วมผลักดันนโยบายชาติพันธุ์ในอนาคต พิธาย้ำพร้อมดันเพดานสิทธิชาติพันธุ์สู่สากล
 
สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ได้ยื่นหนังสือถึง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในเวทีพรรคก้าวไกลพบภาคประชาสังคมกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานพัฒนาชนเผ่าพื้นเมือง สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ยืนยันข้อเสนอจากเครือข่ายที่ดิน-ป่าไม้ชาติพันธุ์ 4 ข้อ กังวลนโยบายชาติพันธุ์ 7 ด้านของพรรคก้าวไกลไม่ปรากฏใน MOU พรรคร่วมรัฐบาล
 
หนังสือ สกน. ระบุว่า ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2565 พรรคก้าวไกลได้เปิดตัวนโยบายชาติพันธุ์ 7 ด้าน ณ จังหวัดเชียงใหม่ และผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้นำนโยบายดังกล่าวมาหาเสียงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามข้อห่วงกังวลของ สกน. คือ นโยบายด้านชาติพันธุ์ไม่ได้รับการบรรจุอยู่ใน MOU ของพรรคร่วมรัฐบาล จึงเกรงว่าอาจไม่มีการขับเคลื่อนต่อเป็นวาระเร่งด่วนของรัฐบาลที่นำโดยพรรคก้าวไกล และมีข้อเสนอถึงพรรคก้าวไกล ดังนี้
 
1. ผลักดันให้มีกลไกการทำงานขับเคลื่อนนโยบายด้านชาติพันธุ์ เพื่อเป็นกลไกการประสานงานร่วมมือกันของรัฐบาล หน่วยงานราชการ และภาคประชาชน ให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์
 
2. รื้อถอนกฎหมาย นโยบาย มติคณะรัฐมนตรี รวมถึงกลไกด้านการจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นมรดกจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่กระทบต่อสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ อาทิ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562, พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562, พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562, นโยบายทวงคืนผืนป่าและคดีความอันเกิดจากนโยบายดังกล่าง, มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561, คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ และคณะกรรมการป่าไม้แห่งชาติ และผลักดันกฎหมายคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง
 
3. รื้อถอนประวัติศาสตร์การกดขี่ชาติพันธุ์โดยรัฐและชนชั้นนำไทย โดยรัฐบาลที่นำโดยพรรคก้าวไกลต้องแถลงต่อองค์การสหประชาชาติและสังคมไทยว่า “ประเทศไทยมีชนเผ่าพื้นเมือง” และประกาศขอโทษที่ประเทศไทยมีนโยบายละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองมาโดยตลอดตั้งแต่ยุคสงครามเย็น และพร้อมที่จะฟื้นฟูสิทธิ คืนสิทธิและความเป็นธรรมให้ชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย เป็นก้าวแรกของการชำระประวัติศาสตร์เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ในทุกด้าน
 
4. กรณีรัฐมนตรีประจำกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ กระทรวงวัฒนธรรม ขอให้พรรคก้าวไกลจัดวางบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยเป็นคนที่มีความเข้าใจในปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ ไม่มีอคติต่อภาคประชาชน สามารถทำงานร่วมกันกับภาคประชาชนเพื่อสร้างบรรยากาศความร่วมมือ โดยสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) พร้อมมีส่วนร่วมในการดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้อง
 
จรัสศรี จันทร์อ้าย ชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านผาตืน ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า หลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในปี 2557 กลุ่มชาติพันธุ์ได้รับผลกระทบจากกฎหมายด้านที่ดิน-ป่าไม้ และนโยบายการจัดการที่ดินของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) จึงเรียกร้องให้รื้อถอนกฎหมาย นโยบาย และมติคณะรัฐมนตรีที่สร้างผลกระทบให้ชุมชนเหล่านั้น และผลักดันกฎหมายคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์
 
“ถ้าท่านได้เป็นนายกรัฐมนตรีก็ขอให้ท่านแก้ไขตรงนี้ และที่ผ่านมาในการทำ MOU ที่ผ่านมา เราไม่เห็นว่าจะมีประเด็นชาติพันธุ์อยู่ในนั้น อยากให้ท่านเอาให้ชัดเจนในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคณะทำงานขึ้นมา พี่น้องบนดอยปากเสียงก็มีเท่านี้ คงต้องทำให้เป็นคณะทำงานที่มีรูปร่างชัดเจน ผลักดันกฎหมายแก้ปัญหาชาติพันธุ์ให้ไปถึง” จรัสศรีกล่าว
ด้าน ปราโมทย์ เวียงจอมทอง ชาวปกาเกอะญอชุมชนบ้านขุนแม่เหว่ย (แม่ปอคี) ต.ท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ย้ำเรื่องการรื้อถอนนโยบายทวงคืนผืนป่า มรดกของ คสช. ซึ่งทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ได้รับผลกระทบ ต้องติดคุก ติดคดีกว่า 48,000 คดี เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขเร่งด่วนใน 100 วันแรกที่พรรคก้าวไกลได้เป็นรัฐบาล
“อยากให้พรรคก้าวไกลผลักดันการนิรโทษกรรมคดีทวงคืนผืนป่า ช่วยผลักดันกฎหมายที่ดิน-ป่าไม้ที่ต้องเป็นการร่างใหม่ ไม่ใช่แค่แก้ไขกฎหมาย โดยพวกเรายินดีที่จะเข้าไปร่วมมือและมีส่วนร่วมในกระบวนการผลักดันกฎหมายและนโยบายนี้ด้วย” ปราโมทย์ย้ำ
 
‘พิธา’ ย้ำ ก้าวไกลเป็นพรรคเดียวที่เคลื่อนสิทธิชาติพันธุ์ พร้อมดันเพดานสิทธิชาติพันธุ์สู่สากล
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้มอบนโยบายด้านชาติพันธุ์ โดยย้ำว่าอยากให้มั่นใจว่าพรรคก้าวไกลพยายามทำความเข้าใจต่อประเด็นชาติพันธุ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจเฉพาะของพรรค โดยตั้งแต่ยุคพรรคอนาคตใหม่ได้มีการตั้งคณะทำงานปีกชาติพันธุ์ขึ้นมาในพรรค ส่วนกรณีนโยบายชาติพันธุ์ที่ไม่ปรากฏใน MOU พรรคร่วมรัฐบาลนั้น เนื่องจากพรรคก้าวไกลเป็นพรรคเดียวที่ผลักดันเรื่องนี้ และจะผลักดันต่อไป
 
“เราใส่ใจมาก ไม่ว่าจะเรื่องทวงคืนผืนป่า พ.ร.บ. พ.ร.บ.อุ้มหาย ที่ผ่านตั้งสภาร่างฯ และสภาบนแล้ว แต่ติดที่ พ.ร.ก. ชะลอการบังคับใช้ ทำให้เรื่องการแก้ปัญหาบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ หรือ ชัยภูมิ ป่าแส ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ การผลักดัน พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ การส่งเสริมสิทธิชนเผ่า เป็นสิ่งที่ทำมาตลอด 4 ปี และจะทำไปเรื่อยๆ แต่สิ่งที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมคือมาคุยกับทุกท่าน เพื่อให้ท่านกำหนดอนาคตของทุกท่านเอง” พิธากล่าว
 
หัวหน้าพรรคก้าวไกลยังย้ำว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากถึง 7 ล้านคน ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งหมายความว่ากลุ่มชาติพันธุ์ไม่ใช่คนชายขอบ เป็นกลุ่มคนที่มีศักยภาพ ต้องถามกลับว่าทำไมเขตเศรษฐกิจพิเศษมีเยอะ ทำไมจะมีเขตวัฒนธรรมพิเศษไม่ได้ เราต้องรุกกลับ ไม่ได้ตั้งรับให้เขาถล่มเราได้อย่างเดียว
“เราต้องเพิ่มเพดาน ด้วยการยึดกฎองค์การสหประชาชาติ (UN) ให้แน่น UN เขามีกลไกที่ดูเรื่องสิทธิของชาติพันธุ์โดยเฉพาะ ตอนนี้มีมา 16 คน ของเอเชียมี 2 คน จากเมียนมาร์ และ อินเดีย จะหมดวาระปีหน้า ผมต้องการส่งพี่น้องชาติพันธุ์คนไทยสู่สหประชาชาติเพื่อผลักดันสิทธิชาติพันธุ์ให้ได้ ซึ่งเป็นโอกาสทั้งของชาติพันธุ์ และโอกาสของคนไทยทั้งประเทศ” พิธาย้ำ
 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

บ้านป่าชุมชน อ.เทิง จ.เชียงราย สืบทอดประเพณี เลี้ยงผีขุนห้วยขอฝนตกต้องตามฤดูกาล

 
ที่บ้านป่าชุมชนในหมู่บ้านห้วยไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย นายอนันต์ ปริศนา ผู้ใหญ่บ้าน บ้านชุมชนบ้านห้วยไคร้ ต.เวียง อ.เทิง จ.เชียงราย ได้มีการจัดกิจกรรมฟังธรรมขอฝน เลี้ยงผีขุนห้วยไคร้ ตามความเชื่อของชุมชน เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งมักจะทำพิธีในช่วงต้นฤดูฝนของทุกปี นอกจากนี้ยังเป็นการสืบทอดประเพณีท้องถิ่นให้สืบทอดต่อไปถึงลูกหลาน
 
โดยพิธีการฟังธรรมขอฝนนั้น จะทำที่บริเวณอ่างเก็บน้ำของชุมชน พิธีกรรมขอฝน เป็นการที่พระสงฆ์ล้านนา จำนวน 5 รูป ได้ทำการเทศนาธรรมพื้นเมืองเหนือ ของทางภาคเหนือของประเทศไทย ตามความเชื่อพระพุทธศาสนา ธรรมที่เทศนา ชื่อว่า ธรรมมัจฉาพระยาปลาช่อน คติความเชื่อโบราณใช้เทศนาเพื่อให้เกิดฝนตกต้องตามฤดูกาล ในส่วนของการเลี้ยงผีขุนห้วย ผู้เฒ่าและชายในหมู่บ้านจะเดินทางเข้าไปในป่าที่ลึกห่างจากหมู่บ้านซึ่งถือเป็นจุดที่เป็นต้นน้ำ เพื่อได้ทำการบอกกล่าวไหว้วอน ผีขุนห้วยให้ประทานฝน ขอฝนให้เพียงพอในการทำการเกษตร ให้ฝนฟ้า เป็นปกติ พืชไร่ นาข้าวอุดมสมบูรณ์ ไม่ให้เกิดความเสียหายจากพายุ ลูกเห็บหรือโรคระบาด ยังรวมไปถึงเรื่องการคุ้มครองคนในชุมชนให้ปลอดภัย ไม่มีเภทภัยร้ายเข้ามายังชุมชน ทั้ง คนและสัตว์เลี้ยง
 
นาย วิษณุ น้อยต๊ะ ผู้เฒ่าชาวชุมชนห้วยไคร้ กล่าวว่า การเลี้ยงผีขุนห้วย เป็นจารีตประเพณีที่สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน เพื่อขอให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล โดยการเลี้ยงผีขุนห้วยที่ผ่านมา ทำให้เกิดฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้
 
นายอนันต์ ปริศนา กล่าวว่า การฟังธรรมขอฝน เลี้ยงผีขุนห้วยมีการทำมาทุกปี ปีไหนไม่ทำไม่ได้ก็จะต้องทำ ฝนตกหรือไม่ตกก็ต้องทำ ถ้าไม่ทำผู้เฒ่าผู้แก่เริ่มเดือนร้อนให้กับทางผู้นำแล้ว หรือว่าหากเกิดเหตุไม่ดีขึ้นในหมู่บ้าน ก็จะโทษผู้นำที่ไม่เลี้ยงผีขุนห้วย ทำให้ต้องได้เลี้ยงทุกปี ซึ่งเป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมาของชาวบ้าน การเลี้ยงผีขุนห้วยเป็นการอ้อนวอนต่อผี เพื่อขอน้ำฝนให้อุดมสมบูรณ์ รวมถึงการขอให้คนในหมู่บ้านปลอดภัย จากพายุ ภัยพิบัติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยง ผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงคุ้มครองชุมชนให้ปลอดภัยจากโรคระบาด อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
 
ทางด้าน ผศ.ดร.สหัทยา วิเศษ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัญฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา กล่าวว่า การจัดทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประเพณีฟังธรรมขอฝน เลี้ยงผีขุนห้วย มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาสภาพของประเพณีที่มีอยู่ในปัจจุบัน และแนวทางในการอนุรักษ์ ส่งเสริมประเพณีนี้อย่างไร ในส่วนของชุมชนซึ่งในส่วนของฟังธรรมของฝนเรื่องของประเพณีของฝน ถือว่าเป็นประเพณีที่ขึ้นบัญชีในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติในเมื่อปี 2557 ซึ่งเป็นประเพณีพิรุณศาสตร์ ซึ่งในส่วนของประเพณีฟังธรรมขอผลเป็นประเพณีของท้องถิ่นในท้องถิ่นของประเทศไทยยังมีการทำอยู่ ซึ่งจะเรียกชื่อต่างๆกันไปเช่นแห่บั้งไฟ จุดบั้งไฟ แห่นางแมว หรือว่าเป็นการแห่ภาคอุปคุต ที่บ้านห้วยไคร้เป็นการฟังธรรม เพื่อการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำห้วยไคร้ซึ่งก็จะมีทั้งเรื่องของการเรียนหนังสือควบคู่ไปกับการฟังธรรมของฝนด้วย
 
ซึ่งการฟังธรรมของผมก็เป็นเรื่องของของทางพระพุทธศาสนาโดยพระสงฆ์จะสวดคาถาที่เรียกว่าคาถาปลาช่อน เป็นคาถาที่เกี่ยวกับพระเวสสันดร ซึ่งก็จะทำให้ชาวบ้านได้มีความตระหนักได้รับรู้ว่าเขาจะต้องปกป้องรักษาป่าต้นน้ำซึ่งการทำพิธีนี้เป็นการขอฝนจากเจ้าป่าเจ้าเขาที่ดูแลรักษาป่าต้นน้ำก่อนฤดูการทำนาประมาณเดือนมิถุนายน ซึ่งชาวบ้านจะทำพิธีนี้เป็นประจำทุกปี และมีคุณค่าในทางจิตใจของชุมชนหลังจากทำพิธีนี้เสร็จชาวบ้านมีความเชื่อว่าจะมีฝนตกมาประมาณ 2-3 วันข้างหน้า ในส่วนอีกอันหนึ่งก็คือเราก็เห็นถึงพลังของชุมชนในการมีส่วนร่วมที่จะจัดให้เกิดประเพณีนี้ขึ้นมา
 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ณัฐวัตร ลาพิงค์ ผู้สื่อข่าวเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

สวจ.เชียงราย ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมเสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมสู่ความมั่นคงและยั่งยืน

 

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 66 นายพิสันต์ จันทรศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสาวกฤษยา จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ และนางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม ดังนี้

เวลา 19.00 น. ลงพื้นที่ประสานการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม Cpot ณ ไร่สิงห์ปาร์ค อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
 
เวลา 11.00 น. มอบหนังสือตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา ตามโครงการจาริกเส้นทางบุญในมิติศาสนา ประจำปี 2566 ณ เทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
 
เวลา 13.00 น. ร่วมประชุมอภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นต่อต้นแบบโมเดลธุรกิจยั่งยืนและระบบนิเวศธุรกิจของวิสาหกิจชุมชน และวิพากษ์แนวความคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ณ โรงแรมฟอร์จูน รีเวอร์วิว เชียงของ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
 
เวลา 16.30 น. ลงพื้นที่ตรวจติดตามประเมินผลชุมชนคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ตามโครงการพลังบวรในมิติศาสนา ประจำปี 2565 ณ ชุมชนคุณธรรมวัดท่าข้ามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News