Categories
AROUND CHIANG RAI LIFESTYLE

ยิ่งใหญ่อลังการ ‘เชียงราย’ เมืองศิลปะ โหมโรง “ไทยแลนด์เบียนนาเล่ 2023”

 
กลับมาอีกครั้งกับขบวนศิลปะร่วมสมัยหนึ่งเดียวในประเทศไทย “Chiang Rai 2023 Art Carnival”
พบกับริ้วขบวนศิลปะร่วมสมัยรังสรรค์โดยตัวแทนศิลปินและชุมชนในพื้นที่จาก 18 อำเภอในจังหวัดเชียงราย
19 พฤศจิกายน 2566 ณ หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ ถนนบรรพปราการ ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไปอำนวยการสร้างโดย ศาสตรเมธี ดร. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินขัวศิลปะเชียงราย เพื่อสร้างการรับรู้ และเฉลิมฉลองการเป็นเจ้าภาพจัดงานศิลปะระดับโลก Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 – 30 เมษายน 2567 ภายใต้แนวคิด “เปิดโลก” The open world
 
 
ทั้งนี้ขบวนศิลปะร่วมสมัยของแต่ละอำเภอทั้ง 18 อำเภอในจังหวัดเชียงราย เป็นการนำเสนอแนวคิด อัตลักษณ์ วิถีชีวิต ประเพณี ผ่านผลงานประติมากรรมร่วมสมัย ผสมผสานขบวนแห่ในรูปแบบของ Carnival art ซึ่งถือว่าเป็น art carnival เพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย โดยจังหวัดเชียงรายเคยจัดขบวนศิลปะร่วมสมัยในลักษณะนี้มาแล้วเมื่อครั้งเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 โดยได้รับความสนใจและชื่นชมจากประชาชน นักท่องเที่ยว ซึ่งเกิดการต่อยอดมาจนถึงกิจกรรมในครั้งนี้ โดยคาดว่าประชาชน นักท่องเที่ยวจะให้ความสนใจใน Art Carnival อย่างท่วมท้น และแพร่หลาย กลายเป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาชมในทุก ๆ 2 ปี เพราะศักยภาพของชียงรายโดยการมีศิลปินจากสมาคมขัวศิลปะ กว่า 300 ชีวิตในพื้นที่ ซึ่งนำโดยศาสตรเมธี ดร. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมขัวศิลปะ และอาจารย์สุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ ร่วมกันผลักดันให้เกิด Art Carnival
 
 
โดยครั้งนี้ ขบวนศิลปะร่วมสมัย ภายใต้แนวคิด “เปิดโลก 18 อำเภอ” ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงและประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงการจัดงานศิลปะร่วมสมัยนานาชาติไทยแลนด์เบียนนาเล่, เชียงราย 2023 ระหว่าง วันที่ 9 ธันวาคม 2566 – 30 เมษายน 2567 ตลอดระยะเวลา 5 เดือน จึงทำให้ขบวนที่จะเกิดขึ้น มีความร่วมสมัย และเน้นความเป็นศิลปะผสมผสานความสนุกสานของผู้เข้าร่วมขบวน รวมทั้งสีสันการแต่งกายที่หลากหลาย ด้วยพี่น้องชาติพันธุ์ในเชียงรายกว่า 32 ชาติพันธุ์ ซึ่งหากประชาชน นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสมาสัมผัสบรรยากาศของ Art Carnival ครั้งนี้ จะเห็นถึงศักยภาพและความยิ่งใหญ่อลังการของเชียงรายเมืองแห่งศิลปะ อย่างแท้จริง
 
 
อนึ่ง Chiang Rai Art Carnival กำหนดจัดวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ตลอดเส้นทางจากโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ผ่านถนนบรรพปราการ หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ(เวทีกลาง) และสิ้นสุดที่สวนตุงและโคมเทศบาลนครเชียงราย รถประติมากรรม จะจอดให้นักท่องเที่ยวได้ชมถึงเวลาประมาณ 23.00 น. และจะนำประติมากรรมทั้ง 18 ผลงาน จัดแสดง ณ ลานประติมากรรม 18 อำเภอ ริมแม่น้ำกก ณ สวนไม้งามริมน้ำกก โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย จัดแสดงถึง 30 เมษายน 2567
 
 
กิจกรรมดังกล่าว โดยสมาคมขัวศิลปะ, กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย, จังหวัดเชียงราย, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, เทศบาลนครเชียงราย, องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย, หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
รายละเอียดเพิ่มเติม : สมาคมขัวศิลปะ โทร. 053-166623 (หยุดทำการทุกวันจันทร์) /Facebook “ขัวศิลปะ”
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมขัวศิลปะ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE TRAVEL

‘งานกฐิน ปี 2566’ วัดดังทั่ว จ.เชียงราย สายบุญ-สายมู ห้ามพลาด!

 

งานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ของพระอารามหลวง และวัดราษฎร์ ในจังหวัดเชียงราย ประจาปี 2566 และงานถวายผ้ากฐินสามัคคี ของวัดราษฎร์สำคัญ ในจังหวัดเชียงราย ประจำปี 2566 โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 

– 2 พ.ย. 66 เวลา 10.09 น.  วัดห้วยปลากั้ง ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาส พระไพศาลประชาทร วิ. (พบโซค ติสฺสวํโส)
MAP : https://maps.app.goo.gl/cgYmDmW5WLtwookY8

 

 

– 4 พ.ย. 66 เวลา 09.39 น.  วัดฝั่งหมิ่น ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาส พระครูขันติพลาธร (บุญยวง ขนฺติพโล) รองเจ้าคณะ จ.ชร.

MAP : https://maps.app.goo.gl/zEwaZ8amhybLPUhf7

 

– 4 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดป่าบ้านเหล่า ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาส พระสิริวัฒโนดม วิ. (สุขเลิศ กนฺตธมฺโม) เจ้าคณะ จ.ชร.(ธ.)

MAP : https://maps.app.goo.gl/U58tKZiGqY4UhUPdA

 

– 5 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ต.ห้วยสัก อ.เมืองเชียงราย กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาส พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี ป.ธ.๙)

MAP : https://maps.app.goo.gl/Fx6x5oTvHmmwvWRk6

 

– 5 พ.ย. 66 เวลา 16.00 น.  วัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาส พระภาวนารัตนญาณ วิ. (อริยชาติ อริยจิตฺโต)

MAP : https://maps.app.goo.gl/deGWKz9K4sgg4Rgs5

 

– 9 พ.ย. 66 เวลา 10.09 น.  วัดพระธาตุดอยเวา ต.เวียงพางคา อ.แม่สาย กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาส พระครูประยุตเจติยานุการ

MAP : https://maps.app.goo.gl/o1rDzdWSAVwwkhEU6

 

 

– 11-12 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดหาดบ้าย ต.ริมโขง อ.เชียงของ จุลกฐิน โดยเจ้าอาวาส พระอธิการจตุรงค์ โชติโก

MAP : https://maps.app.goo.gl/CADByznLurSkELri6

 

– 12 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดพระแก้ว (พระอารามหลวง)  ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย กฐินพระราชทาน     โดยเจ้าอาวาสพระครูสุธีสุตสุนทร (สมพงษ์ สิริมงฺโล)

MAP : https://maps.app.goo.gl/ymZevdwwznwKfYqT7

 

– 12 พ.ย. 66 เวลา 15.00 น.  วัดน้าม้า ต.สถาน อ.เชียงของ กฐินพระราชทาน ๙๐๕    โดยเจ้าอาวาส พระมหาสวัตติ์ นนฺทธมฺมวโร

MAP : https://maps.app.goo.gl/Mvm6gtRygtyftB64A

 

– 17 พ.ย. 66 เวลา 09.00 น.  วัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง) ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย กฐินพระราชทาน โดยเจ้าอาวาสพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ (บุญมา มานิโต) ที่ปรึกษา จจ.ชร.

MAP : https://maps.app.goo.gl/XBaqDPzprXx2qcwZ9

 

– 19 พ.ย. 66 เวลา 09.30 น.  วัดมงคลธรรมกายาราม ต.โป่งงาม อ.แม่สาย กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาสพระภาวนาโกศลเถร วิ. (ชูวิทย์ อคฺควิชฺโช)

MAP : https://maps.app.goo.gl/cRijFM4Mhb39zTbBA

 

– 19 พ.ย. 66 เวลา 13.39 น.  วัดพระธาตุดอยตุง ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย กฐินพระราชทาน     โดยพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ (บุญมา มานิโต) รักษาการเจ้าอาวาส

MAP : https://maps.app.goo.gl/HVggRhkScoHBvWJs9

 

– 21 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดเจ็ดยอด (พระอารามหลวง)  ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย กฐินพระราชทาน     โดยพระพุทธิญาณมุนี (ประเสริฐ ปญฺญาวชิโร) รักษาการเจ้าอาวาส

MAP : https://maps.app.goo.gl/9NrSPQCVvvWTXY366

 

– 24 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดเชตุพน ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย กฐินพระราชทาน ๙๐๕     โดยเจ้าอาวาส พระครูวิจิตรธรรมาภิรักษ์

MAP : https://maps.app.goo.gl/kX1eGTHkscnEeXDbA

 

– 26 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดป่าอรัญญวิเวก ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาส พระราชวชิราธิการ (หลวงพ่อทวี จิตฺตคุตโต)
MAP : https://maps.app.goo.gl/LW6nWGesuLKDj96v7

 

– 25-26 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดพระธาตุผาเงา ต.เวียง อ.เชียงแสน กฐินทันใจ โดยเจ้าอาวาส พระพุทธิญาณมุนี (ประเสริฐ ปญฺญาวชิโร) เจ้าคณะ จ.ชร. (ม.)

MAP : https://maps.app.goo.gl/99U8rdrrpXbr2U5FA

 

– 25-26 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดท่าข้ามศรีดอนชัย ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จุลกฐิน    โดยเจ้าอาวาสพระครูสุจิณวรคุณ

MAP : https://maps.app.goo.gl/4rKVBvNcXndhj8QG9

 

– 25-26 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดมิ่งเมือง (ช้างมูบ) ต.เวียง  อ.เมืองเชียงราย จุลกฐิน โดยเจ้าอาวาสพระครูโสภณศิลปาคม

MAP : https://maps.app.goo.gl/c83QKFM5bio9rBW3A

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานพร – ส.ค.ส ในโอกาสขึ้นปีใหม่ปีมะโรง พ.ศ. 2567

 

ในปีมะโรง 2567 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ร้านภูฟ้าขออัญเชิญพรพระราชทานของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแด่พสกนิกรชาวไทยทุกคนเพื่อเป็นสิริมงคลของชีวิตใหม่ในปี “มะโรงงูใหญ่” 2567 นี้

 

จากกลอนพระราชทาน ปีมะโรงงูใหญ่ จะเห็นตามคติความเชื่อของคนไทยคนจีน คำว่า งูใหญ่ อาจหมายรวมถึง พญานาค และ มังกร ที่มีอิทธิฤทธิ์ มีอำนาจและสามารถดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลยังความสมบูรณ์พูนสุขให้เกิดแก่ประชาชาวไทยทุกผู้ทุกนาม จนมีแต่ความสุข สนุกสนานตลอดปีมะโรงงูใหญ่ พุทธศักราช 2567 ที่ใกล้เข้ามาแล้ว

 

ในปีแห่งความสมบูรณ์พูนสุขและเป็นสิริมงคลยิ่งนี้ ทางร้านภูฟ้าจึงได้ขอพระราชทานพระราชานุญาต สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำภาพฝีพระหัตถ์ มังกรบิน หน้าตาน่ารัก ยิ้มหวาน มีปีกเล็กๆ 2 ข้างพร้อมที่จะโบยบินโปรยปรายความอุดมสมบูรณ์ แจกจ่ายความสุขสนุกสนานให้แก่ชาวไทยทุกคน โดยนำภาพฝีพระหัตถ์ดังกล่าวมาปักบนกระเป๋าเสื้อโปโล จำนวน 8 สี เสื้อโปโลลายริ้ว 4 สี เสื้อคอกลมทีเชิ้ต 2 สี เสื้อคอกลมลายริ้ว 2 สี เสื้อทุกตัวมีสีสันสวยงาม ลูกค้าจะซื้อสวมใส่เองหรือซื้อเป็นของขวัญให้ญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งทั้งผู้ให้และผู้ได้รับของขวัญนี้กันถ้วนหน้า

เสื้อทุกๆ ตัวจะมีชื่อสีต่างๆ ที่คล้องจองกัน ล้วนแล้วแต่เป็นชื่อของความสุขสนุกสนานและความรื่นเริงทั้งสิ้น ดังชื่อต่อไปนี้

 

เสื้อโปโล 8 สี

1. เสื้อโปโลสีเหลือง   มีชื่อว่า   มังกรเริงรื่น

2. เสื้อโปโลสีม่วง   มีชื่อว่า   มังกรชื่นตา

3. เสื้อโปโลสีออฟไวท์   มีชื่อว่า   มังกรพาฝัน          

4. เสื้อโปโลสีกรมท่า   มีชื่อว่า   มังกรหรรษา

5. เสื้อโปโลสีเขียว   มีชื่อว่า   มังกรผาสุก            

6. เสื้อโปโลสีแสด   มีชื่อว่า   มังกรสนุกสนาน

7. เสื้อโปโลชมพู   มีชื่อว่า   มังกรสราญรมย์    

8. เสื้อโปโลสีฟ้า   มีชื่อว่า   มังกรสมหวัง


เสื้อโปโลลายริ้ว 4 สี

1. เสื้อโปโลลายริ้วม่วง   มีชื่อว่า   มังกรไร้ทุกข์          

2. เสื้อโปโลลายริ้วเหลือง   มีชื่อว่า   มังกรสุขล้ำ

3. เสื้อโปโลลายริ้วเขียว   มีชื่อว่า   มังกรร่ำรวย         

4. เสื้อโปโลลายริ้วน้ำเงิน   มีชื่อว่า   มังกรสวยสม


เสื้อคอกลมทีเชิ้ต 2 สี

1. เสื้อทีเชิ้ตสีฟ้า   มีชื่อว่า   มังกรฟูฟ่อง

2. เสื้อทีเชิ้ตสีม่วง   มีชื่อว่า   มังกรฟูเฟื่อง


เสื้อคอกลมทีเชิ้ตลายริ้ว 2 สี

1. เสื้อทีเชิ้ตลายริ้วม่วง   มีชื่อว่า   มังกรโชคดี              

2. เสื้อทีเชิ้ตลายริ้วแสด   มีชื่อว่า   มังกรมีชัย

 

 

นอกจากเสื้อหลากสีและหลายแบบแล้ว ทางร้านภูฟ้ายังได้รับพระราชทานพระราชานุญาต ให้นำภาพวาดฝีพระหัตถ์ดังกล่าว นำมาพิมพ์ลงในสินค้าชนิดต่างๆ เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าเป็นของขวัญ จะได้รับพรพระราชทานอันประเสริฐและเป็นสิริมงคลยิ่ง ทั้งผู้ให้และผู้รับ จะได้มีความสุข ลืมความทุกข์ และ สิ่งร้ายๆต่างๆที่ผ่านมาในปีมะโรง พุทธศักราช 2567 โดยทั่วหน้ากัน สินค้าดังกล่าวได้แก่ สมุดบันทึก กระบอกน้ำ หมวก ปากกา และเครื่องใช้อื่น ๆ รวมทั้ง ยังจัดจำหน่าย กระเป๋าผ้า รูปแบบต่าง ๆ ซึ่งออกแบบ และให้สีโดยแบรนด์ “PAINKILLER และ PDM” สินค้าชุดนี้มีจำหน่ายที่ร้านภูฟ้าทั้ง 19 สาขา และสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ http://www.phufa.org/shop หรือผ่านทางแอปพลิเคชั่น ONESIAM SuperApp และติดตามข่าวสารทาง Facebook: PHUFA   #Phufa #Phufa2567

 

ร้านภูฟ้า เป็นร้านที่จัดตั้งขึ้นในกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากโครงการส่งเสริมอาชีพตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็กและชาวบ้านในถิ่นทุรกันดาร และได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ให้แก่ร้านภูฟ้าเพื่อนำไปผลิตสินค้าต่างๆ จำหน่าย โดยรายได้เหนือรายจ่ายของร้าน ทรงพระกรุณาพระราชทานเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาชาวบ้านรวมทั้งนักเรียนถิ่นห่างไกล เป็นจำนวนเงินมากกว่า 170 ล้านบาทในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กรมสมเด็จพระเทพฯ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

SONP ร่วมกับกองทุนสื่อฯ เชิญ Tellscore เสริมทักษะยุคดิจิทัล

 

 เมื่อวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566 สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดโครงการฝึกอบรม One Day Training แลกเปลี่ยน – เรียนรู้กับกูรูออนไลน์ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ Digital Journalism in the context of Influencer Economy Business Model & Monetization เพื่อเสริมสร้างพัฒนาทักษะให้แก่บุคลากรด้านงานข่าวให้สอดคล้องกับการปรับตัวขององค์กรสื่อบนความเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อในยุคดิจิทัล โดยเชิญ Tellscore เอเจนซี่ ด้าน Influencer marketing ครบวงจร มาร่วมแลกเปลี่ยนให้ความรู้ในการอบรมครั้งนี้

คุณนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้ถูกจัดขึ้นทั้งหมด 4 ครั้งในหัวข้อที่แตกต่างกันไป โดยสมาคมมุ่งหวังเพื่อพัฒนาทักษะ และยกระดับให้สมาชิกผู้ผลิตข่าวออนไลน์ได้รับความรู้ใหม่ในยุคดิจิทัล และสามารถนำไปปรับใช้ได้ทันกับเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่มีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว รวมถึงให้สมาชิกพัฒนาบุคลากรขององค์กรจนเองในการสร้างเนื้อหาการายงานข่าวที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ด้าน คุณสุวิตา จรัญวงศ์ CEO & CO – Founder, Tellscore ร่วมบรรยายในหัวข้อ Current & Trend Influencer Economy and The New Age Journalism โดยระบุว่า สื่อในยุคดิจิทัลต้องรับมือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่ได้มีเพียงการรับมือกับแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา แต่ยังต้องแข่งขันกับ Influencer ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในมุมธุรกิจที่บางแบรนด์สินค้าหันมาใช้บริการ Influencer ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชนหรือ Influencer ยังมีความท้าทายเดียวกันคือการสร้างคอนเทนต์อย่างสร้างสรรค์ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำสื่อยุคดิจิทัล

“การผลิตคอนเทนต์ที่แข็งแรงยังเป็นหัวใจสำคัญในการทำสื่ออย่างยั่งยืน และอยากให้มองแพลตฟอร์มเป็นเพียงภาชนะใส่คอนเทนต์เท่านั้น ในอนาคตยังมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นการเล่าเรื่องที่ดียังเป็นสิ่งสำคัญที่สุด” คุณสุวิตา กล่าว

ขณะที่ คุณอัยยา ตันติเสรีรัตน์ Head of Partnership & Co – Managing Director, Tellscore บรรยายในหัวข้อ Opportunity in Digital Journalism The Rise of Content Creator Economy โดยระบุตอนหนึ่งว่า พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนไป ทำให้ Influencer มีบทบาทสำคัญมากขึ้น เช่น สร้างความเชื่อมั่นและเชื่อถือให้กับผู้สนใจมากกว่าแบรนด์พูดเอง , เล่าเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายทำให้เข้าถึงผู้คนได้ง่าย และรวมกลุ่มคนให้เกิดเป็นชุมชนการสื่อสาร ซึ่งทำให้เกิดอิทธิพลมากขึ้น

โดยปัจจุบันมีคำกล่าวว่า ใครๆ ก็สามารถเป็น Influencer ได้ แต่สื่อมวลชนและองค์กรสื่อถือว่ามีข้อได้เปรียบกว่าคนอื่น โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว การกลั่นกรองข้อมูล เพื่อนำเสนอแต่ข้อเท็จจริง และยังมีความน่าเชื่อถือภายใต้กรอบจรรยาบรรณทางวิชาชีพ นอกจากนี้ยังหวังว่าในอนาคตจะเห็นสื่อมวลชนในยุคดิจิทัลจะรับมือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นในฐานะ Content Creator หรือ Influencer ก็ตาม

นอกจากนี้ในการฝึกอบรมยังได้รับเกียรติจาก คุณพิชิตชัย โพธิ์ศิริ หรือ เบลล์ Influencer แพลตฟอร์ม Tiktok เจ้าของช่อง @somethingjingglebell มาร่วมแชร์ความรู้ เทคนิคการเล่าเรื่องผ่านคลิปวิดีโอสั้นให้น่าสนใจ

คุณพิชิตชัย กล่าวว่า ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำคลิปวิดีโอได้ง่ายมากขึ้น และปฏิเสธไม่ได้ว่าคลิปแนวตั้ง ยังคงเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจในเวลานี้ และคาดว่าจะยังได้รับคาวมนิยมต่อเนื่องในปีหน้า

ทั้งนี้มี 3 แนวคิดสำคัญที่จะทำให้การผลิตคลิปวิดีโอมีประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบด้วย 1.มนุษย์ชอบรู้เรื่องของมนุษย์เป็นแนวคิดที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกคอนเทนต์ได้เป็นอย่างดี 2.คำนึงถึงความยาวของคลิป ต้องไม่สั้นหรือยาวเกินไป และ 3.สร้างเนื้อหาที่ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกันของผู้ชม เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้คอนเทนต์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ขับเคลื่อน “เชียงรายเมืองสุขภาพ” (Chiang Rai Wellness City)

 
 วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566 เวลา 08.30 -12.00 น. ณ หอประชุมสมเด็จย่า อาคาร C4 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมงานเปิดโครงการขับเคลื่อน “เชียงรายเมืองสุขภาพ” Chiang Rai Wellness City 
 

โดยนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานประกาศเจตนารมณ์ “การขับเคลื่อน Chiang Rai Wellness City” หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐเอกชนร่วมลงนามปฏิญญา “ความร่วมมือขับเคลื่อนจังหวัดเชียงรายเมืองแห่งสุขภาพ” จากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานแถลงข่าวสื่อมวลชน
มีการบรรยาพิเศษ
 
 
– บทบาทของภาครัฐในการสนับสนุน Thialand Wellness Hub โดย นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
– โอกาสของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลาง Wellness ของโลก โดย คุณกรด โรจนเสถียร ที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่บริหาร ชีวาศรม อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์รีสอร์ต
– Thailand Wellness Tourism-Future Trends & Market. โดย คุณอุไร มุกประดับทอง หัวหน้างานสินค้าท่องเที่ยวภาคกลาง กองสร้างสรรค์สินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
– ทิศทางการขับเคลื่อน Wellness ของเชียงราย โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ นายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
 

ภายนอกหอประชุมสมเด็จย่า มีการออกบูทแสดงผลงาน/กิจกรรมของภาคีเครือข่าย Wellness โดยได้รับเกียรติจาก นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผศ.ดร.มัฌิมา นราดิศร อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหาร ผู้มีเกียรติผู้เกี่ยวข้อง นักศึกษา สื่อมวลชน ร่วมงาน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม รอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ

 
วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00 น. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม รอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ ณ สุราลัยฮอลล์ ชั้น 7 ศูนย์การค้าไอคอนสยาม กรุงเทพฯ โดยมี พญ.พักตร์พิไล ทวีสิน ภริยานายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นางสาวธนนนท์ นิรามิษ ภริยารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางกุลทรัพย์ ชื่นโกสุม ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชน เฝ้ารับเสด็จ
 
 
การนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทอดพระเนตรนิทรรศการ “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม และวีดิทัศน์การขับเคลื่อนโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” แล้วทรงเป็นองค์ประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวดลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม ระดับประเทศ ซึ่งมี คณะกรรมการตัดสินกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ กรมกิจการในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี นายธีระพันธ์ วรรณรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (การออกแบบแฟชั่น) ปี 2562 พญ.พักตร์พิไล ทวีสิน ภริยานายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นางสาวธนนนท์ นิรามิษ ภริยารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายเผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย นางเอมอร ศรีวัฒนประภา ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ ประธานชมรมแม่บ้านกรมการปกครอง และคณะกรรมการตัดสิน ได้แก่ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางกุลทรัพย์ ชื่นโกสุม ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ดร.ศรินดา จามรมาน นักวิชาการอิสระด้านการจัดการความรู้และสื่อสารการศึกษา นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผชช.ด้านผ้าไทยและการย้อมสีธรรมชาติ นายกุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสารโว้ก ประเทศไทย นายศิริชัย ทหรานนท์ ผชช.ด้านผ้าไทย เจ้าของแบรนด์ THEATRE นายพลพัฒน์ อัศวะประภา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ASAVA นายภูภวิศ กฤตพลนารา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ISSUE นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นายนุวัฒน์ พรมจันทึก ผชช.ด้านการย้อมสีธรรมชาติ ดร.กรกลด คำสุข รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมทางปัญญาและวิจัย วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ม.ศรีนคริทรวิโรฒ ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน ประธานหลักสูตรแฟชั่นสิ่งทอและเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ นายวีรธรรม ตระกูลเงินไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย นายมีชัย แต้สุจริยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ทอผ้า) ปี 2564
 
 
โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวสำนึกในพระกรุณาธิคุณใจความสำคัญว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้ทรงอุทิศพระองค์ปฏิบัติบำเพ็ญพระกรณียกิจนานัปการเพื่ออำนวยประโยชน์สุขแก่อาณาประชาราษฎร์ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทยให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป โดยเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ได้ปรากฏภาพที่ประชาชนคนไทยทุกคนมิลืมเลือนที่พระองค์พระราชทานแบบลายผ้า ชื่อลาย “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” แก่พสกนิกรชาวไทย อันเป็นสิ่งที่ประจักษ์ชัดถึงพระปรีชาสามารถในด้านการออกแบบที่ทันสมัย คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ความเป็นไทย โดยได้พระราชทานพระอนุญาตให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม โดยผู้สมัคร คือ กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ช่างทอผ้าทั่วประเทศ ส่งผ้าและงานหัตถกรรมเข้าประกวดทั้งสิ้น 7,086 ชิ้น แบ่งเป็น ประเภทผ้า 6,290 ผืน และงานหัตถกรรม 796 ชิ้น โดยผ่านเข้ารอบตัดสินระดับประเทศ ประเภทผ้า 65 ผืน และงานหัตถกรรม 10 ชิ้น”
 
 
โดยภายหลังการประกวดฯ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เปิดเผยผลการตัดสินการประกวดฯ จำแนกเป็น ประเภทผ้า 14 ชนิด รวม 65 ผืน ได้แก่ 
 
1. ผ้ายกเล็ก เหรียญทอง นายจักรวรรดิวัตร ปรีจำรัส กลุ่มผ้าทอลายมงคลมนตราธิกาญจน์ จ.กาฬสินธุ์ เหรียญเงิน นางสุพัตรา บุญมา กลุ่มทอผ้าไหมยกดอกเชาวลิตบุญมา จ.ลำพูน เหรียญนาก น.ส.พรผกา ศรีพนม เกษร ผ้าทอยกดอก จ.ลำพูน ชมเชย นางอมรา ทาสัก กลุ่มอมรา ผ้าฝ้าย จ.ลำพูน และนางอรษา คำมณี กลุ่มอรษาไหมไทย จ.ลำพูน 
 
 
2. ผ้ายกใหญ่ เหรียญทอง นางดารณี ใจตื้อ กลุ่มดารณีไหมไทย จ.ลำพูน เหรียญเงิน น.ส.ขวัญฤทัย บุญมา ขวัญไหมไทย จ.ลำพูน ชมเชย นายอิทธิชัย ไชยรินทร์ สมาชิกศิลปชีพบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา นายจักรวรรดิวัตร ปรีจำรัส กลุ่มผ้าทอลายมงคลมนตราธิกาญจน์ จ.กาฬสินธุ์ และนายอดุลย์ มุลละชาติ ไหมสมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ 
 
 
3. ผ้ามัดหมี่ 2 ตะกอ เหรียญทอง นางสมเพียร จรรยาศิริ กลุ่มทอผ้าไหมมงคลบ้านโคกล่าม หมู่ 10 จ.มหาสารคาม เหรียญเงิน นายสุเมธ วงค์พระจันทร์ กลุ่มทอผ้าวงค์พระจันทร์ จ.สกลนคร เหรียญนาก นางพันนี นะเรืองรัมย์ กลุ่มทอผ้าไหมพื้นเรียบโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ จ.บุรีรัมย์ ชมเชย น.ส.ศุภาพิชญ์ เพียวงค์ วันทนาไหมไทย จ.บุรีรัมย์ และนางมลิวรรณ ฦาชา กลุ่มทอผ้าไหมโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ จ.ชัยภูมิ 
 
 
4. ผ้ามัดหมี่ 3 ตะกอ เหรียญทอง นายอ่อนสี อินทร์เพ็ง กลุ่มเกษตรกรทอผ้าไหมบ้านตานบ จ.สุรินทร์ เหรียญเงิน นางคำนวน ตรงแก้ว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมซิ่นละออบ้านตะกุย หมู่ 4 จ.สุรินทร์ เหรียญนาก นายยุทธนา น้ำกระจาย กลุ่มทอผ้าลัลณ์ลลิล จ.ร้อยเอ็ด ชมเชย นางอุทัย งามเลิศ กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านตานบ จ.สุรินทร์ และพล.ต.ชัยยุทธ วชิรวรภักดิ์ สถาบันสิริกิติ์ จ.พระนครศรีอยุธยา 
 
 
5. ผ้าเทคนิคเกาะ/ล้วง เหรียญทอง น.ส.กิ่งแก้ว วงศ์ชัย กลุ่มสตรีทอผ้าศรีดอนชัย จ.เชียงราย ชมเชย นายอภิรัตน์ รัตนศิลา กลุ่มผ้าซิ่นเมืองน่านโบราณ by คำไทด์ จ.น่าน 
 
 
6. ผ้าหมี่ข้อ/หมี่คั่น เหรียญทอง นายเนติพงศ์ กระแสโสม กลุ่มอาชีพทอเสื่อกกและผ้ามัดหมี่บ้านโปร่งมีชัย จ.ชัยภูมิ เหรียญเงิน นางสมใจ คงชัยภูมิ กลุ่มทอผ้าไหมโครงการส่งเสริมศิลปาชีพทุ่งกะมัง บ้านหนองหอย จ.ชัยภูมิ เหรียญนาก นางบุญยัง เมตตา จ.ชัยภูมิ 
 
 
7. ผ้าแพรวา เหรียญทอง นายจักรวรรดิวัตร ปรีจำรัส กลุ่มผ้าทอลายมงคลมนตราธิกาญจน์ จ.กาฬสินธุ์ เหรียญเงิน นายวิทวัส โสภารักษ์ แพรวาโสภารักษ์ จ.กาฬสินธุ์ เหรียญนาก นางกิตญากรณ์ จันทะมาตย์ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านโพนแพรวา จ.กาฬสินธุ์ ชมเชย น.ส.วิชุดา โสภารักษ์ แพรวาโสภารักษ์ จ.กาฬสินธุ์ และนางอมร แสนคำ กลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าพื้นเมืองและตัดเย็บ จ.กาฬสินธุ์ 
 
 
8. ผ้าชาติพันธุ์ เหรียญทอง นายณัฐพงษ์ ใจมุ่ง คัวฮอม กลุ่มหนานเอฟผ้าจก ไทยยวนราชบุรี จ.ราชบุรี เหรียญเงิน นายจักรวรรดิวัตร ปรีจำรัส กลุ่มผ้าทอลายมงคลมนตราธิกาญจน์ จ.กาฬสินธุ์ เหรียญนาก นางณัฐธภา ทิพย์วัจนะ ณัฐธภา ผ้าจกทอมือ จ.ราชบุรี ชมเชย นางนงลักษณ์ คณทา กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านผาทั่ง จ.อุทัยธานี และนายสุรชัย ทาเอื้อ กลุ่มกระแตยองตอ จ.ชัยนาท 
 
 
9. ผ้าบาติก/มัดย้อม/เขียนเทียน เหรียญทอง นายธณกร สุขเมตตา มีดีนาทับ จังหวัดสงขลา เหรียญเงิน นายยุทธพล ซุ่นเซ่ง ศิวะนาฏกนกไทย จ.พัทลุง เหรียญนาก นางจันทวรรณ ฉัตรวัชรกุล บาติกเพ้นท์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ชมเชย นายทิมาทร ไชยบุญ กลุ่มลายเทียนบาติกสีธรรมชาติ จ.นครศรีธรรมราช และนายธีรโรจน์ สาระอาภรณ์ สีพูบาติก จ.พัทลุง 
 
 
10. ผ้าบาติกพระนามาภิไธย เหรียญทอง น.ส.ฮัสสือเม๊าะ ดอมะ วิสาหกิจชุมชนยาริง บาติก จ.ปัตตานี เหรียญเงิน น.ส.ซมา โย๊ะหมาด กลุ่มโยซมาบาติก จ.สตูล เหรียญนาก น.ส.คนึงนิตย์ ภัทรพงษ์นพกุล วิสาหกิจชุมชนยาริง บาติก จ.ปัตตานี ชมเชย น.ส.กอบกุล โชติสกุล วิสาหกิจชุมชนปันหยาบาติก จ.สตูล และ น.ส.สุทธิวรรณ คำนวน กลุ่มย้อมผ้าบ้านช่องขาด จ.นครศรีธรรมราช 
 
 
11. ผ้าขิด เหรียญทอง นางจันทร์ทัน พรมแพน กลุ่มทอผ้าโบราณบ้านโนนกอก จ.อุดรธานี เหรียญเงิน นายวันเฉลิม ศรีภุยเดช เฮือนไหมมนัสวรรณ ไหมแท้ที่แม่ทอ “เทิดทูน S เด่นดอกรักสู่มหกรรมพืชสวนโลก” จ.อุดรธานี เหรียญนาก นายวันเฉลิม ศรีภุยเดช เฮือนไหมมนัสวรรณ ไหมแท้ที่แม่ทอ “จุดกำเนิด” จ.อุดรธานี ชมเชย นายพูลสวัสดิ์ จันทร์บุญ เสงี่ยมจิตไหมทอง จ.อุดรธานี และนางสุนา ศรีบุตรโคตร กลุ่มทอผ้าขิดไหมบ้านหนองอ้อ จ.อุดรธานี 
 
 
12. ผ้าจก/ผ้าตีนจก เหรียญทอง นายอดุลย์ มุลละชาติ กลุ่มไหมสมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ เหรียญเงิน นางจีรนันต์ มูลน้ำอ่าง ผ้าทอบ้านน้ำอ่าง จ.อุตรดิตถ์ เหรียญนาก น.ส.ศิรินทิพย์ วงศ์หมุด คุณหญิงผ้าทอน้ำอ่าง จ.อุตรดิตถ์ ชมเชย นายจงจรูญ มะโนคำ กลุ่มทอผ้าบ้านคุ้ม จ.อุตรดิตถ์ และ น.ส.ชลธิชา ทาแปง ศูนย์เรียนรู้ผ้าจกเมืองลอง จ.แพร่ 
 
 
13. ผ้าเทคนิคผสมพื้นเมือง เหรียญทอง นายอดุลย์ มุลละชาติ กลุ่มไหมสมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ เหรียญเงิน นายชญทรรศ วิเศษศรี แต้มตะกอ กลุ่มสตรีทอผ้าไหมลายโบราณ บ้านโคกหม้อ จ.อุทัยธานี เหรียญนาก นายธวัชชัย คำสิงห์ ธ.มณโฑ จ.อุดรธานี ชมเชย นางภัทรวรินทร์ อินทร์เพ็ง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีทอผ้าไหมบ้านตานบ จ.สุรินทร์ และนายจักรพงษ์ ก่อแก้ว กลุ่มมีบี้ ผ้าไหมสุรินทร์ จ.สุรินทร์ 
 
 
14. ผ้าเทคนิคสร้างสรรค์ เหรียญทอง นางสุมามาลย์ เต๋จ๊ะ ศูนย์การเรียนรู้ขวัญตา กลุ่มเย็บผ้าด้วยมือ จ.หนองบัวลำภู เหรียญเงิน น.ส.ทัศนีย์ สุรินทรานนท์ ร้านเรือนไหม-ใบหม่อน จ.สุรินทร์ เหรียญนาก นางสนิม ปิ่นสุวรรณ์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรม่วงงามไหมไทย ม.6 จ.ชัยนาท ชมเชย น.ส.จีรณัฏฐ์ ภักดีรัตน์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไหมทองบ้านกระทม จ.สุรินทร์ และนายสุรชัย หลงสิม ร้านชลบถ จ.ขอนแก่น ประเภทหัตถกรรม จำนวน 7 ชิ้น ได้แก่ เหรียญทอง กระบุงจักสานย่านลิเภาทรงฟักทอง เลี่ยมขอบทองแดง ชุบนาก และกล่องถมเงินลายดอกรักราชกัญญา และลวดลายไทยรายล้อมตัวอักษร s โดย พลตรี ชัยยุทธ วชิรวรภักดิ์ สถาบันสิริกิติ์ จ.พระนครศรีอยุธยา เหรียญเงิน กล่องถมตะทองเอนกประสงค์ 
 
 
โดย นายวชิระ นกอักษร นครหัตถกรรม จ.นครศรีธรรมราช เหรียญนาก สลุงเงิน ลายดอกรักราชกัญญา โดย น.ส.สุปรียา บุญอินทร์ บจก.ดอยซิลเวอร์ แฟคตอรี่ จ.น่าน ชมเชย หัตถศิลป์ด้วย “รัก” ราชกัญญา โดย นางพิกุล หาญวัฒนะชัย ศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง จ.อ่างทอง กระเป๋าจักสานหวายลายมหามิ่งมงคล โดย น.ส.วิณุรา คงทอง กลุ่มจักสานหมู่บ้านอ่าวยายเกิด จ.สิงห์บุรี และกระเป๋า 2tohg&2Gen โดย นายนพดล สดวกดี จ.สิงห์บุรี และรางวัลพิเศษ Best of the best ประเภทหัตถกรรม คือ กระบุงจักสานย่านลิเภาทรงฟักทอง เลี่ยมขอบทองแดง ชุบนาก โดย พลตรี ชัยยุทธ วชิรวรภักดิ์ สถาบันสิริกิติ์ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยจะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในงาน Silk Festival ที่จะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2566 นี้
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงมหาดไทย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI WORLD PULSE

UNESCO ประกาศเชียงราย เป็นเมืองระดับโลกปี 2566

 

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ทางเพจเฟสบุ๊ค Dasta Thailand แสดงความยินดี โดยนาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท.ขอแสดงความยินดี กับจังหวัดเชียงราย และจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก ให้เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ในระดับโลก (UNESCO Creative Cities Network – UCCN) โดยเชียงรายเป็นเมืองสร้างสรรค์ ด้านการออกแบบ (City of Design) และจังหวัดสุพรรณบุรี ด้านดนตรี (City of Music) 

ซึ่งทางเว็บไซต์ UNESCO ประกาศ 55 เมืองใหม่ ที่เข้าร่วมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ถือเอาวันที่ 31 ตุลาคม เป็นวันเมืองโลก จากสหประชาชาติได้กำหนดวันเอาไว้ประกาศยืนยันว่าประเทศไทย ติด 2 จังหวัดคือ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดสุพรรณบุรี  เป็น 2 ใน 55 เมืองจากทั่วโลกที่เข้าร่วมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO (UCCN) ตามที่ได้รับการแต่งตั้งจากโอเดรย์ อาซูเลย์ (Audrey Azoulay) ผู้อำนวยการใหญ่ของ UNESCO เมืองใหม่ๆ ได้รับการยอมรับถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการควบคุมวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การพัฒนา และการแสดงแนวทางปฏิบัติที่เป็นนวัตกรรมในการวางผังเมืองที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ด้วยการเพิ่มล่าสุด ทำให้ปัจจุบันเครือข่ายครอบคลุม 350 เมืองในกว่า 100 ประเทศ 

ซึ่งองค์การยูเนสโกเปิดรับสมัครสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative City Network – UCCN) ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้เมืองต่างๆ มีความร่วมมือระหว่างกันทั้งในระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาค และระดับชุมชนท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีในแต่ละพื้นที่ รวมถึงเปิดโอกาสให้มีการเสนอความหลากหลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเมืองใน 7 สาขา ได้แก่ 1) หัตถกรรมพื้นบ้าน 2) การออกแบบ 3) ภาพยนตร์ 4) อาหาร 5) วรรณกรรม 6) สื่อศิลปะ และ 7) ดนตรี โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้านวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ ตามเป้าหมายวาระของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี ค.ศ. 2030 และปฏิญญา Mondiacult 2022

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. กล่าวว่า คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ได้มีมติเห็นชอบให้เสนอจังหวัดเชียงราย เป็นตัวแทนประเทศไทยยื่นเอกสารสมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ประจำปี 2566 โดยจังหวัดเชียงราย เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ (City of Design)  ซึ่งจะทำให้เมืองได้เป็นที่รู้จักของสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์จากประเทศทั่วโลก เกิดการเดินทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และก่อให้เกิดการเป็นที่รู้จักของกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ

จังหวัดเชียงราย จะดำเนินการต่อยอดจากแผนงานเดิมในปี 2564 ซึ่ง อพท. ได้ร่วมจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติตามแผนขับเคลื่อนเชียงรายเป็นเมืองแห่งการออกแบบ เพราะเป็นเมืองที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น มีศิลปินล้านนาจำนวนมาก มีการสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สืบทอดกันมาทั้งจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมทางท้องถิ่น และเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม มายาวนาน

เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก คืออะไร เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ หรือ Creative Cities Network เป็นอีกหนึ่งโครงการของยูเนสโก ที่ดำเนินงานควบคู่กับการประกาศแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เปิดรับคัดเลือกทุก ๆ 4 ปี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) สู่ความร่วมมือในระดับนานาชาติของภาคประชาคม ประชาชน เอกชนและสาธารณะ

และในวันที่ 31 ตุลาคม 2023 สมาชิกใหม่ของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก โดยเรียงตามตัวอักษรนำหน้าภาษาอังกฤษ ไม่ได้เป็นการให้ลำดับผู้ชนะ ได้แก่:

  1. Asaba – Film
  2. Ashgabat – Design
  3. Banja Luka – Music
  4. Battambang – Gastronomy
  5. Bissau – Music
  6. Bolzano – Music
  7. Bremen – Literature
  8. Buffalo City – Literature
  9. Bukhara – Crafts and Folk Art
  10. Bydgoszcz – Music
  11. Caen – Media Arts
  12. Caracas – Music
  13. Casablanca – Media Arts
  14. Castelo Branco – Crafts and Folk Art
  15. Cetinje – Design
  16. Chaozhou – Gastronomy
  17. Chiang Rai – Design

  18. Chongqing – Design
  19. Concepción – Music
  20. Da Lat – Music
  21. Fribourg – Gastronomy
  22. Gangneung – Gastronomy
  23. Granada[1] – Design
  24. Gwalior – Music
  25. Herakleion – Gastronomy
  26. Hobart – Literature
  27. Hoi An – Crafts and Folk Art
  28. Iasi – Literature
  29. Iloilo City – Gastronomy
  30. Ipoh – Music
  31. Kathmandu – Film
  32. Kozhikode – Literature
  33. Kutaisi – Literature
  34. Mexicali – Music
  35. Montecristi – Crafts and Folk Art
  36. Montreux – Music
  37. Nkongsamba – Gastronomy
  38. Novi Sad – Media Arts
  39. Okayama – Literature
  40. Ouarzazate – Film
  41. Oulu – Media Arts
  42. Penedo – Film
  43. Rio de Janeiro – Literature
  44. Şanlıurfa – Music
  45. Suphanburi – Music
  46. Surakarta – Crafts and Folk Art
  47. Taif – Literature
  48. Toulouse – Music
  49. Tukums – Literature
  50. Ulaanbaatar – Crafts and Folk Art
  51. Umngeni Howick – Crafts and Folk Art
  52. Valencia – Design
  53. Varaždin – Music
  54. Veliky Novgorod – Music
  55. Vicente Lopez – Film
  56.  

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News