Categories
ECONOMY

สศช. เผย Chiang Rai Wellness City ยังไม่ผ่านความเห็นชอบ ครม.สัญจร

 

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 นายเศรษฐา  ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่(ครม.สัญจร.)กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน2 (พะเยา เชียงราย น่านและแพร่)ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจำนวน 9 โครงการรวมวงเงิน 155 ล้านบาทและโครงการภาคเอกชนอีกจำนวน 4 โครงการ วงเงินรวม 145 ล้านบาท รวม 300 ล้านบาท ตามที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กรอ.) เสนอ

 

 

โดยโครงการที่ผ่านความเห็นชอบของ ครม.สัญจรจังหวัดพะเยา จำนวน 13 โครงการเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการภายใน 1 ปี มาจากข้อเสนอของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด 9 โครงการ และภาคเอกชน 4 โครงการ จากจำนวนโครงการเร่งด่วนที่เสนอเข้ามามีจำนวนทั้งสิ้น 15 โครงการ โดยมีโครงการที่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.สัญจรจ.พะเยาดังนี้ 
โครงการของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด 9โครงการ ได้แก่

1.โครงการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหาร Gastronomy tourism สู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างสร้างสรรค์ และยั่งยืน วงเงิน 20 ล้านบาท 

2.โครงการ A Cup to Village เพิ่มขีดความสามารถการเป็นนวัตกรด้านชาและกาแฟเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน วงเงิน 15 ล้านบาท 

3.โครงการยกระดับสินค้าและบริการด้านสุขภาพของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 วงเงิน 15 ล้านบาท

4.โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วงเงิน 26.12 ล้านบาท

5.โครงการยกระดับการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรมูลค่าสูง ตามแนวทางตลาดนํา นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ จังหวัด พะเยา วงเงิน 23.88 ล้านบาท 

6.โครงการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันและยกระดับการท่องเที่ยวน่านสู่ท่องเที่ยวคุณภาพสูง วงเงิน 14 ล้านบาท

7.โครงการน่านเมืองเก่ามีชีวิต สร้างสรรค์ เมืองแห่งวัฒนธรรมสู่มรดกโลก วงเงิน 21 ล้านบาท 8.โครงการเกษตรปลอดภัยและมูลค่าสูง (กาแฟ) จังหวัดน่าน วงเงิน 15 ล้านบาท 

9.โครงการยกระดับการผลิตภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าจังหวัดแพร่ วงเงิน 5 ล้านบาท

 

 

กลุ่มที่ 2 โครงการซึ่งเป็นข้อเสนอของภาคเอกชน  4 โครงการ วงเงินรวม 145.88 ล้านบาท ประกอบด้วย 

1.โครงการพัฒนาทางหลวงหมายเลข 1202 ตอนควบคุม 0200 ตอน สันต้นแหน – ป่าแดด ตําบลโรงช้าง อําเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย วงเงิน 50 ล้านบาท 

2.โครงการอํานวยความปลอดภัยให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมเชียงรายเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang Rai Wellness City) วงเงิน 50 ล้านบาท 

3.โครงการพลิกโฉมถนนสายวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Soft Power พะเยา วงเงิน 25.88 ล้านบาท 

4.โครงการสูบน้ำขึ้นดอย สอย PM2.5 สร้างป่าคาร์บอนเครดิต วงเงิน 20 ล้านบาท

 

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า 2 โครงการที่กรอ.จังหวัดภาคเหนือตอนบน2 เสนอ ครม.สัญจร จ.พะเยา แล้วยังไม่ผ่านความเห็นชอบมี 2 โครงการได้แก่  โครงการเชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang Rai Wellness City) วงเงิน 50 ล้านบาท และโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองเก่าแพร่ วงเงิน 45 ล้านบาท โดยทั้งสองโครงการที่ประชุม ครม.ให้ปรับปรุงรายละเอียดของโครงการใหม่แล้วเสนอเข้ามาสู่การพิจารณาของ ครม.อีกครั้งตามขั้นตอนต่อไป


ทั้งนี้ความเห็นของ ครม.ในส่วนของโครงการทั้งสองโครงการที่ให้มีการปรับปรุงโครงการได้แก่ โครงการเชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ ต้องการให้มีการปรับลดในส่วนของการฝึกอบรม และเพิ่มเติมในส่วนของงบประมาณที่ลงไปส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนก่อน ส่วนโครงการเมืองเก่าแพร่นั้นที่ประชุมเห็นว่าในส่วนของงบประมาณ 45 ล้านที่ขอมา 37 ล้านบาทนั้นเป็นการใช้ไปในเรื่องของการจัดซื้อวัสดุและครุภัณฑ์ จึงอยากให้มีการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนี้ลงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการให้ชุมชนได้รับงบประมาณส่วนนี้มากที่สุด

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงและป้องกันไฟป่าหมอกควัน อ.แม่ลาว

 

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 67 ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอแม่ลาว พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ สมาชิกวุฒิสภาพร้อมคณะลงพื้นที่อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ในโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน คณะที่ 2 ได้ร่วมประชุมเพื่อหารือข้อราชการและรับฟังการรายงานจากส่วนราชการในประเด็นต่างๆ โดยมี นายรุ่งโรจน์ ตันวุฒ นายอำเภอแม่ลาว พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำ อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ เพื่อหารือในการเตรียมการป้องกันการเผาป่า การแก้ไขปัญหาหมอกควัน PM2.5 การดูแลสุขภาพประชาชน และการส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษเพื่อเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang rai Wellness City) และประเด็นอื่นๆ ที่สำคัญ

 

ในการนี้ พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ สมาชิกวุฒิสภา คณะที่ 2 พร้อมคณะลงพื้นที่ไปยังบ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 ตำบลป่าก่อดำ อำเภอแม่ลาว ซึ่งเป็นบ้านของนางแก้วรัตน์ ไพยราช ที่ได้มีการส่งเสริมการผลิตปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษหลายชนิดภายในบริเวณรอบบ้านเต็มไปด้วยพืชผักสวนครัว สมุนไพร การเลี้ยงปลาธรรมชาติ และอื่นๆ อีกมายแบบครบวงจร เพื่อเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang rai Wellness City) ต่อไป
 
 
หลังจากนั้น คณะสมาชิกวุฒิสภา คณะที่ 2 ได้ลงื้นที่ไปยังบ้านป่าซ่างเหนือ หมู่ที่ 1 ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว เพื่อเยี่ยมชมและให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน PM2.5 ที่มีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อป้องกันไฟป่าได้เป็นอย่างดี เช่น การทำแนวป้องกันไฟป่าเขตติดต่อระหว่างอำเภอ การจัดเวรยามเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าระวังไฟป่า ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้อำเภอแม่ลาว ยังไม่พบว่ามีการเผาป่าหรือพบจุดความร้อนแต่อย่างใด จึงขอชื่นชมนายอำเภอแม่ลาว และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ได้ช่วยกันป้องกันปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ได้อย่างเข้มแข็ง
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ขับเคลื่อน “เชียงรายเมืองสุขภาพ” (Chiang Rai Wellness City)

 
 วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566 เวลา 08.30 -12.00 น. ณ หอประชุมสมเด็จย่า อาคาร C4 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมงานเปิดโครงการขับเคลื่อน “เชียงรายเมืองสุขภาพ” Chiang Rai Wellness City 
 

โดยนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานประกาศเจตนารมณ์ “การขับเคลื่อน Chiang Rai Wellness City” หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐเอกชนร่วมลงนามปฏิญญา “ความร่วมมือขับเคลื่อนจังหวัดเชียงรายเมืองแห่งสุขภาพ” จากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานแถลงข่าวสื่อมวลชน
มีการบรรยาพิเศษ
 
 
– บทบาทของภาครัฐในการสนับสนุน Thialand Wellness Hub โดย นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
– โอกาสของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลาง Wellness ของโลก โดย คุณกรด โรจนเสถียร ที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่บริหาร ชีวาศรม อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์รีสอร์ต
– Thailand Wellness Tourism-Future Trends & Market. โดย คุณอุไร มุกประดับทอง หัวหน้างานสินค้าท่องเที่ยวภาคกลาง กองสร้างสรรค์สินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
– ทิศทางการขับเคลื่อน Wellness ของเชียงราย โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ นายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
 

ภายนอกหอประชุมสมเด็จย่า มีการออกบูทแสดงผลงาน/กิจกรรมของภาคีเครือข่าย Wellness โดยได้รับเกียรติจาก นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผศ.ดร.มัฌิมา นราดิศร อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหาร ผู้มีเกียรติผู้เกี่ยวข้อง นักศึกษา สื่อมวลชน ร่วมงาน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

“พุฒิพงศ์” ระดมความคิดภาครัฐและเอกชน ขับเคลื่อนเชียงรายเมืองแห่งสุขภาพ

 
วันนี้ (18 ต.ค.66) ที่ห้องธรรมลังกา ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนเชียงราย เป็นเมืองแห่งสุขภาพ โดยมีคณะทำงาน ประกอบด้วย ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม
 
 
ด้วยจังหวัดเชียงราย ได้เริ่มการขับเคลื่อนเชียงรายเป็นเมืองสุขภาวะ โดยร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนา แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub) ระยะเวลา 10 ปี อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้จังหวัดเชียงรายให้เป็นพื้นที่พิเศษในการพัฒนาอุตสาหกรรม Wellness และเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) โดยมีเป้าหมายหลักให้จังหวัดเชียงราย เป็นเมืองแห่งสุขภาพ คนเชียงรายและผู้มาเยือนมีสุขภาพดี อยู่แล้วมีความสุข ซึ่งทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ระดมความคิดจัดทำแนวทางแผนการพัฒนาในหลากหลายด้าน อาทิ ด้าน Wellness food การพัฒนาเชียงรายสู่เมืองแห่งเกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ด้าน Health Care การพัฒนาบริการ การแพทย์แผนปัจจุบันแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก รวมถึงการบูรณาการ เพื่อยกระดับคุณภาพด้านการรักษาโรค การส่งเสริมให้เชียงรายเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ การวิจัย นวัตกรรม และด้าน Wellness Tourism การพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมถึงการส่งเสริมการตลาด การประชาสัมพันธ์อีกด้วย
 
.
ทั้งนี้นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งสุขภาพไม่ได้ หากทุกภาคส่วนไม่ร่วมมือกัน ทั้งนี้ได้ให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นศูนย์กลาง ในการขยายผลออกไปยังวงกว้างทั้งผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป ตลอดจนการส่งเสริมพัฒนางานวิชาการ การวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งการพัฒนาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาเพื่อสนับสนุนการบริการและอุตสาหกรรมและบริการด้านดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพ และการส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์และการบริการสู่ศาสตร์การแพทย์แห่งอนาคต ต่อไป
 
 
ท้ายนี้สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย ขอเชิญชวนทุกภาคส่วน เข้าร่วม Kick – Off โครงการ “เชียงราย” เมืองแห่งสุขภาพ (Chiang Rai Wellness City) ในวันที่ 30 ตุลาคม 2566 เวลา 08.30 – 12.00 น. ที่หอประชุมสมเด็จย่า อาคาร C4 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
 
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News