Categories
SOCIETY & POLITICS

ปลัดฯ ณัฐพล นำทีมผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าเฝ้าสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเงินรายได้จากการออกร้านในงานกาชาด

เมื่อ 3 สิงหาคม 2566 เวลา 08.00 น. ที่ผานมา ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าเฝ้าสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินรายได้จากการออกร้านกระทรวงอุตสาหกรรม ภายในงานกาชาดประจำปี 2565 จำนวนทั้งสิ้น 6,007,896.46 บาท (หกล้านเจ็ดพันแปดร้อยเก้าสิบหกบาทสี่สิบหกสตางค์) โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย ณ วังสระปทุม

กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมออกร้านในงานกาชาด ประจำปี 2565 ณ บริเวณสวนลุมพินี ระหว่างวันที่ 8 – 18 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมรวมใจ ใต้ร่มพระบารมี สดุดี 90 พรรษา” เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา และทรงดำรงตำแหน่งองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ครบ 66 ปี และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ภารกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบาย MIND ใช้หัวและใจปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน โดยภายในร้านกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดกิจกรรมการเล่นเกมส์กระสวยอวกาศเพื่อลุ้นโชครางวัลมากมาย รวมทั้งการจำหน่ายสลากกาชาดร้านกระทรวงอุตสาหกรรม อีกจำนวน 60,000 ใบ ในราคาใบละ 100 บาท ด้วย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงอุตสาหกรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
ECONOMY

ลุยภาคเหนือ โชว์นวัตกรรมและ เทคโนโลยีสร้างสรรค์ หนุนรายได้ช่วยชุมชน

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 19.00 น. ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน อุตสาหกรรมแฟร์ ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปั้นแต่ง โตไวด้วยดีพร้อม” พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รปอ.) นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (หน.ผตร.อก.) นายเดชา จาตุธนานันท์ นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (ผตร.อก.) และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม โดยมี นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับ พร้อมกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน พร้อมได้รับเกียรติจาก นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เข้าร่วมด้วย ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ปลัดฯ ณัฐพล กล่าวว่า สำหรับการจัดงานใน ครั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้ ดีพร้อม จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปั้นแต่ง โตไว ด้วยดีพร้อม” 

 

ซึ่งเป็นงานแสดงเทคโนโลยี นวัตกรรมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จากผู้ประกอบการ ภาคีเครือข่ายภาครัฐ-ภาคเอกชน รวมถึงเปิดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการแสดงศักยภาพด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกิดจากภูมิปัญญาและผสมผสานเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ ทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป รวมถึงการนำผลิตภัณฑ์เด่นและเน้นเอกลักษณ์ของภาคเหนือมาจัดจำหน่ายในราคาพิเศษ ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางและใกล้เคียง อีกทั้งยังเชื่อมโยงให้อุตสาหกรรมอยู่คู่ชุมชนอย่างเป็นมิตร อันจะเป็นการสร้างความสมดุลและกระตุ้นเศรษฐกิจของภูมิภาคให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตามนโยบาย “MIND” ใช้ “หัว”และ “ใจ” 

 

ในการทำงานมุ่งสู่ความสำเร็จ 4 มิติ ประกอบด้วย ความสำเร็จทางธุรกิจ การดูแลสังคม การรักษาสิ่งแวดล้อมและการกระจายรายได้สู่ชุมชน เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวเข้าสู่วิถีใหม่ได้อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยเฉพาะในด้านการกระจายรายได้ให้กับประชาชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มุ่งการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นระบบเพื่อรักษาวิถีชีวิต สร้างประโยชน์พัฒนาชุมชนรอบอุตสาหกรรม และ ต่อยอดอาชีพดีพร้อม รวมถึงการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม ให้มีการกระจายโอกาสให้ภาคธุรกิจและผู้ประกอบการในระดับภูมิภาคได้รับการพัฒนาและยกระดับศักยภาพให้สามารถแข่งขันได้ 

 

ทั้งนี้ งาน “อุตสาหกรรมแฟร์” จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปั้นแต่ง โตไวด้วยดีพร้อม” เป็นการผนึกกำลังจากหลายฝ่าย อาทิ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กฟผ. แม่เมาะ และภาคีเครือข่ายภาครัฐ-เอกชน ในโชว์ศักยภาพภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี นวัตกรรม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นสู่เชิงพาณิชย์ การดูแลสังคมโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรมและรักษาสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด BCG Model ผ่านการพัฒนาแม่เมาะ เมืองน่าอยู่ (Mae Moh Smart City) โดยมีผู้ประกอบการกว่า 80 ร้านค้าทั่วประเทศ ร่วมทดสอบตลาดและเชื่อมโยงธุรกิจ และเสิร์ฟอาชีพดีพร้อมสร้างรายได้ให้ชุมชน หวังกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น 

 

ทั้งนี้ งานดังกล่าวฯ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-30 มิถุนายนนี้ ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยตลอดการจัดงานทั้ง 8 วัน กระทรวงอุตสาหกรรม คาดหวังว่าผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปจะได้รับทราบถึงแนวทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม และการแสดงศักยภาพในด้าน1นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่สะท้อนภาพอันเกิดจากภูมิปัญญาและการผสมผสานเทคโนโลยีการวิจัยและการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ ทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ยังมีการเจรจาจับคู่และเชื่อมโยงธุรกิจของผู้ประกอบการทั่วประเทศมากกว่า 400 ราย รวมถึงมีการจัดสัมมนาให้ความรู้ฝึกอาชีพกว่า 30 หลักสูตร และมีการออกร้านค้าเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการ SME โดยคาดการณ์ว่าการจัดงานครั้งนี้จะมีนักท่องเที่ยวเข้าร่วมงานมากกว่า 50,000 คน และสามารถสร้างเงินสะพัดในจังหวัดลำปาง มากกว่า 100 ล้านบาท

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงอุตสาหกรรม 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

ก.อุตฯ สั่ง 2.7 หมื่นโรงงาน เร่งรายงานข้อมูลกากอุตสาหกรรมภายใน 30 มิ.ย.นี้ ฝ่าฝืนปรับ 2 หมื่นบาท

 

นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่ากระทรวงอุตสาหกรรม มีแนวทางควบคุมผู้ก่อกำเนิดของเสียเป็นผลจากนโยบายของ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมขับเคลื่อนงานภายใต้นโยบาย MIND ใช้หัวและใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน มุ่งสู่ความสำเร็จใน 4 มิติ ได้แก่ ความสำเร็จทางธุรกิจ การดูแลสังคม การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การกระจายรายได้ให้กับชุมชน
และให้ความสำคัญในการยกระดับทุกองค์ประกอบของภาคอุตสาหกรรม ควบคู่กับการสร้างความเข้มแข็งและ
กระจายรายได้สู่ชุมชน เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย “อุตสาหกรรมดี อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยเฉพาะประเด็น
การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในมิติของการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม

 

นายวิษณุ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ปรับปรุงกฎหมายฉบับล่าสุด คือ “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566” นำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็น
ผู้จ่ายหรือเป็นผู้รับผิดชอบ (Polluter Pays Principle: PPP) มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ โดยกำหนดความรับผิดตั้งแต่
ต้นทางโรงงานผู้ก่อกำเนิด ไปจนกว่าสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจะได้รับการจัดการจนแล้วเสร็จ ซึ่งจะมีผล
บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป

 

ทั้งนี้ ได้กำหนดให้โรงงานผู้ก่อกำเนิดของเสียทุกโรงงานต้องรายงานข้อมูลผ่านระบบการรายงานข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ iSingle Form (https://isingleform.go.th/home) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของกระทรวงฯ ที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแลการประกอบกิจการโรงงาน การป้องกันและปราบปรามการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและสิ่งแวดล้อม โดยให้โรงงาน
ต้องรายงานภายในกรอบระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดคือ 30 มิถุนายน 2566 หากฝ่าฝืนไม่รายงานหรือรายงานล่าช้ามีโทษปรับสุงสุด 20,000 บาท

 

“การบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้กฎหมายในการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด และต้องมีการจัดการอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันไม่ให้ของเสียจากภาคอุตสาหกรรมหลุดออกจากระบบ อาจส่งผลกระทบกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง ดังนั้น จึงอยากแจ้งเตือนไปยังผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้รายงานข้อมูลกากอุตสาหกรรม ให้เร่งดำเนินการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีโรงงาน
ผู้ก่อกำเนิดของเสียจำนวน 60,638 โรงงานทั่วประเทศ โดยมีโรงงานที่ยังไม่ได้รายงานข้อมูลกว่า 27,000 แห่ง
จึงกำชับให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เร่งประสาน ติดตาม และเน้นย้ำให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานรายงานข้อมูลการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วผ่านระบบข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ iSingle Form (https://isingleform.go.th/home) ภายในกรอบระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด คือไม่เกินวันที่คือ 30 มิถุนายน 2566 นี้ ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามมีโทษปรับสูงสุด 20,000 บาท” นายวิษณุ กล่าวทิ้งท้าย

 

ทั้งนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) จะจัดการอบรมให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในหัวข้อ “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ.2566” จำนวน 5 รอบ คือรอบที่ 1 วันที่ 19 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00-12.00 น. รอบที่ 2 วันที่ 20 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00-12.00 น. รอบที่ 3 วันที่ 21 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00-16.00 น. รอบที่ 4 วันที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00-12.00 น. รอบที่ 5 วันที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00-16.00 น. โดยผู้สนใจสามารถเลือกเข้ารับการอบรมผ่านระบบออนไลน์ ได้ 2 ช่องทาง ระบบ ZOOM Meeting จำนวนรอบละ 500 ราย และทาง Live Facebook กรมโรงงานอุตสาหกรรม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กกอ.กรอ.) โทร. 0 2430 6307 ต่อ 1609

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงอุตสาหกรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

ยกระดับมาตรฐานจัดการสิ่งปฏิกูลและกากอุตสาหกรรม

 

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อปรับปรุง “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566” มีผลบังคับใช้ 1 พฤศจิกายน 2566 มุ่งยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูล ที่เกิดจากการประกอบกิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งสำหรับผู้ก่อกำเนิดของเสีย และ ผู้รับบำบัดกำจัดของเสียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และปราบปรามการทิ้งกากอุตสาหกรรมอย่างผิดกฎหมาย สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566” ฉบับปรับปรุงล่าสุด ได้อ้างอิงตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายหรือเป็นผู้รับผิดชอบ (Polluter Pays Principle: PPP) โดยติดตามความรับผิดชอบของโรงงานอุตสาหกรรมผู้ผลิตของเสีย ไปจนกว่าของเสียหรือสิ่งปฏิกูลจะถูกกำจัดอย่างถูกต้องจนเสร็จสิ้นกระบวนการ 

นอกจากนี้ ต้องส่งรายงานประจำปีเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และรายงานประจำเดือนเกี่ยวกับการจัดการวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ผ่านระบบการรายงานข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม iSingle Form (https://isingleform.go.th/home) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 และจะมีผลนับถัดจากวันที่ประกาศ 

โดยผู้ก่อกำเนิดของเสีย (Waste Generator: WG) 60,638 โรงงานทั่วประเทศ ต้องส่งรายงานประจำปี (สก.3) ภายในวันที่ 1เมษายน ของปีถัดไป ในส่วนของผู้รับบำบัดกำจัดของเสีย (Waste Processor: WP) คือโรงงานลำดับประเภท 101, 105 และ 106 จำนวน 2,500 โรงงานทั่วประเทศ ต้องส่งรายงานประจำเดือนเกี่ยวกับการจัดการวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ซึ่งตามประกาศฉบับนี้ จะต้องมีการรายงานข้อมูลครั้งแรกภายใน 15 กรกฎาคม 2566 

ผู้ฝ่าฝืนไม่ส่งรายงาน หรือส่งล่าช้าจะมีโทษปรับสูงสุด 20,000 บาท รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้ขออนุญาตการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง กระทรวงอุตสาหกรรมสามารถเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานได้ 

“นายกรัฐมนตรี เดินหน้าสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เชื่อว่าการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูล ที่เกิดจากการประกอบกิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรมจะมีส่วนสำคัญช่วยให้กำจัดของเสียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และปราบปรามการทิ้งกากอุตสาหกรรมอย่างผิดกฎหมาย ทั้งนี้ การควบคุมมลพิษเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG model) เพื่อสร้างสรรค์เศรษฐกิจไทย ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” นายอนุชาฯกล่าว

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงอุตสาหกรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

ก.อุตฯ เตรียมดัน “ผ้าไหมไทยร่วมสมัย” บุกตลาดโลก เล็งเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่-วัยทำงาน

ก.อุตฯ เตรียมดัน “ผ้าไหมไทยร่วมสมัย” บุกตลาดโลก เล็งเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่-วัยทำงาน

Facebook
Twitter
Email
Print

กระทรวงอุตสาหกรรม ชูอัตลักษณ์ความเป็นไทยผสานลวดลายประณีตสวยงามลงใน “ผ้าไหมไทยร่วมสมัย” วางตลาดระดับพรีเมี่ยม เน้นความหรูหราและคุณภาพสูง (Premium & High Quality) เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่วัยทำงานเผยปี 2565 ทำรายได้จากสินค้าผ้าไหมเพิ่มมากขึ้นกว่าร้อยละ 50 พร้อมเตรียมเจรจาเชื่อมโยงการผลิต – การตลาดบินตรงสู่ประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อิตาลี หวังสร้างตลาดใหม่จากผ้าไหมไทยในต่างประเทศ

 

นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (สสท.) หน่วยงานเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำเนินการยกระดับพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและผ้าพื้นเมือง ตามยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรมในการเสริมสร้างศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตและเข้มแข็ง ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยการออกแบบเชิงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสู่อีสานแฟชั่น โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562-2565 เกิดผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายใหม่กว่า 122 ลายรวมทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับ (Accessories) อีกกว่า 108 ผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้จริง สร้างโอกาสทางการตลาด     ในผลิตภัณฑ์ผ้าไหมแบบใหม่ และมีการขยายกลุ่มตลาดใหม่ นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาผู้ประกอบการผ้าไหม และผู้ที่เกี่ยวข้องธุรกิจผ้าพื้นเมืองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กว่า 1,618 คน สร้างรายได้ สร้างงานให้ชุมชน รวมทั้งสร้างโอกาสทางการตลาด และสร้างยอดขายในประเทศกว่า 6,635,456 บาท (เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่)

 

สำหรับโครงการพัฒนาผ้าไหมไทยร่วมสมัย (Premium Thai Silk) ประจำปี 2566 ยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาเทคนิคการผลิตผ้าไหมในรูปแบบใหม่ ที่มีมูลค่าเพิ่มมากกว่าร้อยละ 50 ให้กับผ้าไหมแพรวา ผ้าไหมขิด ผ้าไหมยกดอก ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมบาติก และผ้าไหมแต้ม โดยการสร้างภาพลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์มีความหรูหราและคุณภาพสูง (Premium & High Quality) มีลวดลายที่ประณีตสวยงาม (story-material-look & feel) ขณะเดียวกันมุ่งยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในระดับพรีเมี่ยม ด้วยการสร้างและนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทยลงบนผืนผ้าให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ  

 

แนวทางการพัฒนาในปีนี้ เรามีเป้าหมายพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้จำนวน 24 ผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการออกแบบและผลิตผ้าไหมร่วมสมัยแบบใหม่ ผสมผสานการใช้ทุนทางวัฒนธรรมและแนวโน้มของตลาด ควบคู่กับการพัฒนาการผลิตและการนำเทคนิคใหม่  เข้าไปใช้ในการทอผ้าไหม นอกจากนี้ เรายังมีการยกระดับผู้ประกอบการสิ่งทออีกจำนวน 8 ราย ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ทั้งในด้านการออกแบบและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การแปรรูปสินค้า และการตลาดที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงานได้ เพราะเราเชื่อว่าผ้าไหมไทย ไม่ได้มีไว้สำหรับผู้สูงอายุหรือวัยผู้ใหญ่เท่านั้น แต่คนรุ่นใหม่ วัยทำงาน ก็สามารถสวมใส่ได้เช่นกัน หากมีการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาออกแบบให้ทันสมัย สวยงาม ก็จะเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยในปี2566 มีเป้าหมายในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อิตาลี” นางสาวณัฏฐิญา กล่าว

ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และผ้าไหมพื้นเมือง ยังคงเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น : กลุ่มผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติบ้านหนองหญ้าปล้อง (ผ้าไหมอีรี่มัดหมี่วิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย (ผ้าไหมแต้มจังหวัดนครราชสีมา : กลุ่มหัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่ (ผ้าไหมมัดหมี่จังหวัดหนองบัวลำพู : กลุ่มทอผ้าแม่เอื้อมคำ by เมเม่ (ผ้าไหมขิดจังหวัดกาฬสินธุ์ : กลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านโพนแพรวา (ผ้าไหมแพรวาและจังหวัดสุรินทร์ : กลุ่มสตรีทอผ้าไหมลายยกดอกบ้านดู่นาหนองไผ่ และกลุ่มจันทร์หอม (ผ้าไหมยกดอก

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงอุตสาหกรรม

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

รองปลัดฯ ณัฏฐิญา ขานรับนโยบาย BCG เร่งปั้นผู้ประกอบการกว่า 80 ราย

รองปลัดฯ ณัฏฐิญา ขานรับนโยบาย BCG เร่งปั้นผู้ประกอบการกว่า 80 ราย

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดสัมมนาชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการและถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนตามแนวคิด BCG ภายใต้โครงการการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนตามแนวคิด BCG ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมีนายจักรพันธ์ เด่นดวงบริพันธ์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน และ ดร.ศรวณีย์ สิงห์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ดร.ชนิดา แสนสะอาด ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย ฝ่ายนโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน จากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมเป็นวิทยากร

รองปลัดฯ กล่าวว่า BCG Model เป็นนโยบายที่รัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งมั่นผลักดันให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาหรือยกระดับปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเข้าสู่วิถีใหม่ ช่วยติดปีกภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และเป็นไปตามประชาคมโลก พร้อมส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการใน 4 มิติประกอบด้วย ความสำเร็จทางธุรกิจ การดูแลสังคมและชุมชนโดยรอบ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการกระจายรายได้และสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชน

สำหรับกิจกรรมดังกล่าว มีเป้าหมายให้คำปรึกษาผู้ประกอบการ จำนวน 80 กิจการทั่วประเทศ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อช่วยเสริมสร้างให้สถานประกอบการมีการประกอบการที่ดีตามนโยบาย MIND 4 มิติ พัฒนาสถานประกอบการให้มีกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และมีการใช้ทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม ด้วยการปรับปรุงผลิตภาพการผลิต ลดต้นทุน หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด BCG ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวต่อยุคสมัยและยกระดับสถานประกอบการให้มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงาน คปภ. 

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE