Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม รอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ

 
วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00 น. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม รอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ ณ สุราลัยฮอลล์ ชั้น 7 ศูนย์การค้าไอคอนสยาม กรุงเทพฯ โดยมี พญ.พักตร์พิไล ทวีสิน ภริยานายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นางสาวธนนนท์ นิรามิษ ภริยารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางกุลทรัพย์ ชื่นโกสุม ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชน เฝ้ารับเสด็จ
 
 
การนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทอดพระเนตรนิทรรศการ “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม และวีดิทัศน์การขับเคลื่อนโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” แล้วทรงเป็นองค์ประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวดลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม ระดับประเทศ ซึ่งมี คณะกรรมการตัดสินกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ กรมกิจการในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี นายธีระพันธ์ วรรณรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (การออกแบบแฟชั่น) ปี 2562 พญ.พักตร์พิไล ทวีสิน ภริยานายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นางสาวธนนนท์ นิรามิษ ภริยารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายเผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย นางเอมอร ศรีวัฒนประภา ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ ประธานชมรมแม่บ้านกรมการปกครอง และคณะกรรมการตัดสิน ได้แก่ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางกุลทรัพย์ ชื่นโกสุม ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ดร.ศรินดา จามรมาน นักวิชาการอิสระด้านการจัดการความรู้และสื่อสารการศึกษา นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผชช.ด้านผ้าไทยและการย้อมสีธรรมชาติ นายกุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสารโว้ก ประเทศไทย นายศิริชัย ทหรานนท์ ผชช.ด้านผ้าไทย เจ้าของแบรนด์ THEATRE นายพลพัฒน์ อัศวะประภา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ASAVA นายภูภวิศ กฤตพลนารา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ISSUE นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นายนุวัฒน์ พรมจันทึก ผชช.ด้านการย้อมสีธรรมชาติ ดร.กรกลด คำสุข รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมทางปัญญาและวิจัย วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ม.ศรีนคริทรวิโรฒ ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน ประธานหลักสูตรแฟชั่นสิ่งทอและเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ นายวีรธรรม ตระกูลเงินไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย นายมีชัย แต้สุจริยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ทอผ้า) ปี 2564
 
 
โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวสำนึกในพระกรุณาธิคุณใจความสำคัญว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้ทรงอุทิศพระองค์ปฏิบัติบำเพ็ญพระกรณียกิจนานัปการเพื่ออำนวยประโยชน์สุขแก่อาณาประชาราษฎร์ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทยให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป โดยเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ได้ปรากฏภาพที่ประชาชนคนไทยทุกคนมิลืมเลือนที่พระองค์พระราชทานแบบลายผ้า ชื่อลาย “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” แก่พสกนิกรชาวไทย อันเป็นสิ่งที่ประจักษ์ชัดถึงพระปรีชาสามารถในด้านการออกแบบที่ทันสมัย คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ความเป็นไทย โดยได้พระราชทานพระอนุญาตให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม โดยผู้สมัคร คือ กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ช่างทอผ้าทั่วประเทศ ส่งผ้าและงานหัตถกรรมเข้าประกวดทั้งสิ้น 7,086 ชิ้น แบ่งเป็น ประเภทผ้า 6,290 ผืน และงานหัตถกรรม 796 ชิ้น โดยผ่านเข้ารอบตัดสินระดับประเทศ ประเภทผ้า 65 ผืน และงานหัตถกรรม 10 ชิ้น”
 
 
โดยภายหลังการประกวดฯ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เปิดเผยผลการตัดสินการประกวดฯ จำแนกเป็น ประเภทผ้า 14 ชนิด รวม 65 ผืน ได้แก่ 
 
1. ผ้ายกเล็ก เหรียญทอง นายจักรวรรดิวัตร ปรีจำรัส กลุ่มผ้าทอลายมงคลมนตราธิกาญจน์ จ.กาฬสินธุ์ เหรียญเงิน นางสุพัตรา บุญมา กลุ่มทอผ้าไหมยกดอกเชาวลิตบุญมา จ.ลำพูน เหรียญนาก น.ส.พรผกา ศรีพนม เกษร ผ้าทอยกดอก จ.ลำพูน ชมเชย นางอมรา ทาสัก กลุ่มอมรา ผ้าฝ้าย จ.ลำพูน และนางอรษา คำมณี กลุ่มอรษาไหมไทย จ.ลำพูน 
 
 
2. ผ้ายกใหญ่ เหรียญทอง นางดารณี ใจตื้อ กลุ่มดารณีไหมไทย จ.ลำพูน เหรียญเงิน น.ส.ขวัญฤทัย บุญมา ขวัญไหมไทย จ.ลำพูน ชมเชย นายอิทธิชัย ไชยรินทร์ สมาชิกศิลปชีพบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา นายจักรวรรดิวัตร ปรีจำรัส กลุ่มผ้าทอลายมงคลมนตราธิกาญจน์ จ.กาฬสินธุ์ และนายอดุลย์ มุลละชาติ ไหมสมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ 
 
 
3. ผ้ามัดหมี่ 2 ตะกอ เหรียญทอง นางสมเพียร จรรยาศิริ กลุ่มทอผ้าไหมมงคลบ้านโคกล่าม หมู่ 10 จ.มหาสารคาม เหรียญเงิน นายสุเมธ วงค์พระจันทร์ กลุ่มทอผ้าวงค์พระจันทร์ จ.สกลนคร เหรียญนาก นางพันนี นะเรืองรัมย์ กลุ่มทอผ้าไหมพื้นเรียบโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ จ.บุรีรัมย์ ชมเชย น.ส.ศุภาพิชญ์ เพียวงค์ วันทนาไหมไทย จ.บุรีรัมย์ และนางมลิวรรณ ฦาชา กลุ่มทอผ้าไหมโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ จ.ชัยภูมิ 
 
 
4. ผ้ามัดหมี่ 3 ตะกอ เหรียญทอง นายอ่อนสี อินทร์เพ็ง กลุ่มเกษตรกรทอผ้าไหมบ้านตานบ จ.สุรินทร์ เหรียญเงิน นางคำนวน ตรงแก้ว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมซิ่นละออบ้านตะกุย หมู่ 4 จ.สุรินทร์ เหรียญนาก นายยุทธนา น้ำกระจาย กลุ่มทอผ้าลัลณ์ลลิล จ.ร้อยเอ็ด ชมเชย นางอุทัย งามเลิศ กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านตานบ จ.สุรินทร์ และพล.ต.ชัยยุทธ วชิรวรภักดิ์ สถาบันสิริกิติ์ จ.พระนครศรีอยุธยา 
 
 
5. ผ้าเทคนิคเกาะ/ล้วง เหรียญทอง น.ส.กิ่งแก้ว วงศ์ชัย กลุ่มสตรีทอผ้าศรีดอนชัย จ.เชียงราย ชมเชย นายอภิรัตน์ รัตนศิลา กลุ่มผ้าซิ่นเมืองน่านโบราณ by คำไทด์ จ.น่าน 
 
 
6. ผ้าหมี่ข้อ/หมี่คั่น เหรียญทอง นายเนติพงศ์ กระแสโสม กลุ่มอาชีพทอเสื่อกกและผ้ามัดหมี่บ้านโปร่งมีชัย จ.ชัยภูมิ เหรียญเงิน นางสมใจ คงชัยภูมิ กลุ่มทอผ้าไหมโครงการส่งเสริมศิลปาชีพทุ่งกะมัง บ้านหนองหอย จ.ชัยภูมิ เหรียญนาก นางบุญยัง เมตตา จ.ชัยภูมิ 
 
 
7. ผ้าแพรวา เหรียญทอง นายจักรวรรดิวัตร ปรีจำรัส กลุ่มผ้าทอลายมงคลมนตราธิกาญจน์ จ.กาฬสินธุ์ เหรียญเงิน นายวิทวัส โสภารักษ์ แพรวาโสภารักษ์ จ.กาฬสินธุ์ เหรียญนาก นางกิตญากรณ์ จันทะมาตย์ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านโพนแพรวา จ.กาฬสินธุ์ ชมเชย น.ส.วิชุดา โสภารักษ์ แพรวาโสภารักษ์ จ.กาฬสินธุ์ และนางอมร แสนคำ กลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าพื้นเมืองและตัดเย็บ จ.กาฬสินธุ์ 
 
 
8. ผ้าชาติพันธุ์ เหรียญทอง นายณัฐพงษ์ ใจมุ่ง คัวฮอม กลุ่มหนานเอฟผ้าจก ไทยยวนราชบุรี จ.ราชบุรี เหรียญเงิน นายจักรวรรดิวัตร ปรีจำรัส กลุ่มผ้าทอลายมงคลมนตราธิกาญจน์ จ.กาฬสินธุ์ เหรียญนาก นางณัฐธภา ทิพย์วัจนะ ณัฐธภา ผ้าจกทอมือ จ.ราชบุรี ชมเชย นางนงลักษณ์ คณทา กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านผาทั่ง จ.อุทัยธานี และนายสุรชัย ทาเอื้อ กลุ่มกระแตยองตอ จ.ชัยนาท 
 
 
9. ผ้าบาติก/มัดย้อม/เขียนเทียน เหรียญทอง นายธณกร สุขเมตตา มีดีนาทับ จังหวัดสงขลา เหรียญเงิน นายยุทธพล ซุ่นเซ่ง ศิวะนาฏกนกไทย จ.พัทลุง เหรียญนาก นางจันทวรรณ ฉัตรวัชรกุล บาติกเพ้นท์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ชมเชย นายทิมาทร ไชยบุญ กลุ่มลายเทียนบาติกสีธรรมชาติ จ.นครศรีธรรมราช และนายธีรโรจน์ สาระอาภรณ์ สีพูบาติก จ.พัทลุง 
 
 
10. ผ้าบาติกพระนามาภิไธย เหรียญทอง น.ส.ฮัสสือเม๊าะ ดอมะ วิสาหกิจชุมชนยาริง บาติก จ.ปัตตานี เหรียญเงิน น.ส.ซมา โย๊ะหมาด กลุ่มโยซมาบาติก จ.สตูล เหรียญนาก น.ส.คนึงนิตย์ ภัทรพงษ์นพกุล วิสาหกิจชุมชนยาริง บาติก จ.ปัตตานี ชมเชย น.ส.กอบกุล โชติสกุล วิสาหกิจชุมชนปันหยาบาติก จ.สตูล และ น.ส.สุทธิวรรณ คำนวน กลุ่มย้อมผ้าบ้านช่องขาด จ.นครศรีธรรมราช 
 
 
11. ผ้าขิด เหรียญทอง นางจันทร์ทัน พรมแพน กลุ่มทอผ้าโบราณบ้านโนนกอก จ.อุดรธานี เหรียญเงิน นายวันเฉลิม ศรีภุยเดช เฮือนไหมมนัสวรรณ ไหมแท้ที่แม่ทอ “เทิดทูน S เด่นดอกรักสู่มหกรรมพืชสวนโลก” จ.อุดรธานี เหรียญนาก นายวันเฉลิม ศรีภุยเดช เฮือนไหมมนัสวรรณ ไหมแท้ที่แม่ทอ “จุดกำเนิด” จ.อุดรธานี ชมเชย นายพูลสวัสดิ์ จันทร์บุญ เสงี่ยมจิตไหมทอง จ.อุดรธานี และนางสุนา ศรีบุตรโคตร กลุ่มทอผ้าขิดไหมบ้านหนองอ้อ จ.อุดรธานี 
 
 
12. ผ้าจก/ผ้าตีนจก เหรียญทอง นายอดุลย์ มุลละชาติ กลุ่มไหมสมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ เหรียญเงิน นางจีรนันต์ มูลน้ำอ่าง ผ้าทอบ้านน้ำอ่าง จ.อุตรดิตถ์ เหรียญนาก น.ส.ศิรินทิพย์ วงศ์หมุด คุณหญิงผ้าทอน้ำอ่าง จ.อุตรดิตถ์ ชมเชย นายจงจรูญ มะโนคำ กลุ่มทอผ้าบ้านคุ้ม จ.อุตรดิตถ์ และ น.ส.ชลธิชา ทาแปง ศูนย์เรียนรู้ผ้าจกเมืองลอง จ.แพร่ 
 
 
13. ผ้าเทคนิคผสมพื้นเมือง เหรียญทอง นายอดุลย์ มุลละชาติ กลุ่มไหมสมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ เหรียญเงิน นายชญทรรศ วิเศษศรี แต้มตะกอ กลุ่มสตรีทอผ้าไหมลายโบราณ บ้านโคกหม้อ จ.อุทัยธานี เหรียญนาก นายธวัชชัย คำสิงห์ ธ.มณโฑ จ.อุดรธานี ชมเชย นางภัทรวรินทร์ อินทร์เพ็ง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีทอผ้าไหมบ้านตานบ จ.สุรินทร์ และนายจักรพงษ์ ก่อแก้ว กลุ่มมีบี้ ผ้าไหมสุรินทร์ จ.สุรินทร์ 
 
 
14. ผ้าเทคนิคสร้างสรรค์ เหรียญทอง นางสุมามาลย์ เต๋จ๊ะ ศูนย์การเรียนรู้ขวัญตา กลุ่มเย็บผ้าด้วยมือ จ.หนองบัวลำภู เหรียญเงิน น.ส.ทัศนีย์ สุรินทรานนท์ ร้านเรือนไหม-ใบหม่อน จ.สุรินทร์ เหรียญนาก นางสนิม ปิ่นสุวรรณ์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรม่วงงามไหมไทย ม.6 จ.ชัยนาท ชมเชย น.ส.จีรณัฏฐ์ ภักดีรัตน์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไหมทองบ้านกระทม จ.สุรินทร์ และนายสุรชัย หลงสิม ร้านชลบถ จ.ขอนแก่น ประเภทหัตถกรรม จำนวน 7 ชิ้น ได้แก่ เหรียญทอง กระบุงจักสานย่านลิเภาทรงฟักทอง เลี่ยมขอบทองแดง ชุบนาก และกล่องถมเงินลายดอกรักราชกัญญา และลวดลายไทยรายล้อมตัวอักษร s โดย พลตรี ชัยยุทธ วชิรวรภักดิ์ สถาบันสิริกิติ์ จ.พระนครศรีอยุธยา เหรียญเงิน กล่องถมตะทองเอนกประสงค์ 
 
 
โดย นายวชิระ นกอักษร นครหัตถกรรม จ.นครศรีธรรมราช เหรียญนาก สลุงเงิน ลายดอกรักราชกัญญา โดย น.ส.สุปรียา บุญอินทร์ บจก.ดอยซิลเวอร์ แฟคตอรี่ จ.น่าน ชมเชย หัตถศิลป์ด้วย “รัก” ราชกัญญา โดย นางพิกุล หาญวัฒนะชัย ศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง จ.อ่างทอง กระเป๋าจักสานหวายลายมหามิ่งมงคล โดย น.ส.วิณุรา คงทอง กลุ่มจักสานหมู่บ้านอ่าวยายเกิด จ.สิงห์บุรี และกระเป๋า 2tohg&2Gen โดย นายนพดล สดวกดี จ.สิงห์บุรี และรางวัลพิเศษ Best of the best ประเภทหัตถกรรม คือ กระบุงจักสานย่านลิเภาทรงฟักทอง เลี่ยมขอบทองแดง ชุบนาก โดย พลตรี ชัยยุทธ วชิรวรภักดิ์ สถาบันสิริกิติ์ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยจะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในงาน Silk Festival ที่จะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2566 นี้
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงมหาดไทย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI WORLD PULSE

UNESCO ประกาศเชียงราย เป็นเมืองระดับโลกปี 2566

 

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ทางเพจเฟสบุ๊ค Dasta Thailand แสดงความยินดี โดยนาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท.ขอแสดงความยินดี กับจังหวัดเชียงราย และจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก ให้เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ในระดับโลก (UNESCO Creative Cities Network – UCCN) โดยเชียงรายเป็นเมืองสร้างสรรค์ ด้านการออกแบบ (City of Design) และจังหวัดสุพรรณบุรี ด้านดนตรี (City of Music) 

ซึ่งทางเว็บไซต์ UNESCO ประกาศ 55 เมืองใหม่ ที่เข้าร่วมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ถือเอาวันที่ 31 ตุลาคม เป็นวันเมืองโลก จากสหประชาชาติได้กำหนดวันเอาไว้ประกาศยืนยันว่าประเทศไทย ติด 2 จังหวัดคือ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดสุพรรณบุรี  เป็น 2 ใน 55 เมืองจากทั่วโลกที่เข้าร่วมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO (UCCN) ตามที่ได้รับการแต่งตั้งจากโอเดรย์ อาซูเลย์ (Audrey Azoulay) ผู้อำนวยการใหญ่ของ UNESCO เมืองใหม่ๆ ได้รับการยอมรับถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการควบคุมวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การพัฒนา และการแสดงแนวทางปฏิบัติที่เป็นนวัตกรรมในการวางผังเมืองที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ด้วยการเพิ่มล่าสุด ทำให้ปัจจุบันเครือข่ายครอบคลุม 350 เมืองในกว่า 100 ประเทศ 

ซึ่งองค์การยูเนสโกเปิดรับสมัครสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative City Network – UCCN) ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้เมืองต่างๆ มีความร่วมมือระหว่างกันทั้งในระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาค และระดับชุมชนท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีในแต่ละพื้นที่ รวมถึงเปิดโอกาสให้มีการเสนอความหลากหลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเมืองใน 7 สาขา ได้แก่ 1) หัตถกรรมพื้นบ้าน 2) การออกแบบ 3) ภาพยนตร์ 4) อาหาร 5) วรรณกรรม 6) สื่อศิลปะ และ 7) ดนตรี โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้านวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ ตามเป้าหมายวาระของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี ค.ศ. 2030 และปฏิญญา Mondiacult 2022

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. กล่าวว่า คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ได้มีมติเห็นชอบให้เสนอจังหวัดเชียงราย เป็นตัวแทนประเทศไทยยื่นเอกสารสมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ประจำปี 2566 โดยจังหวัดเชียงราย เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ (City of Design)  ซึ่งจะทำให้เมืองได้เป็นที่รู้จักของสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์จากประเทศทั่วโลก เกิดการเดินทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และก่อให้เกิดการเป็นที่รู้จักของกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ

จังหวัดเชียงราย จะดำเนินการต่อยอดจากแผนงานเดิมในปี 2564 ซึ่ง อพท. ได้ร่วมจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติตามแผนขับเคลื่อนเชียงรายเป็นเมืองแห่งการออกแบบ เพราะเป็นเมืองที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น มีศิลปินล้านนาจำนวนมาก มีการสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สืบทอดกันมาทั้งจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมทางท้องถิ่น และเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม มายาวนาน

เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก คืออะไร เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ หรือ Creative Cities Network เป็นอีกหนึ่งโครงการของยูเนสโก ที่ดำเนินงานควบคู่กับการประกาศแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เปิดรับคัดเลือกทุก ๆ 4 ปี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) สู่ความร่วมมือในระดับนานาชาติของภาคประชาคม ประชาชน เอกชนและสาธารณะ

และในวันที่ 31 ตุลาคม 2023 สมาชิกใหม่ของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก โดยเรียงตามตัวอักษรนำหน้าภาษาอังกฤษ ไม่ได้เป็นการให้ลำดับผู้ชนะ ได้แก่:

  1. Asaba – Film
  2. Ashgabat – Design
  3. Banja Luka – Music
  4. Battambang – Gastronomy
  5. Bissau – Music
  6. Bolzano – Music
  7. Bremen – Literature
  8. Buffalo City – Literature
  9. Bukhara – Crafts and Folk Art
  10. Bydgoszcz – Music
  11. Caen – Media Arts
  12. Caracas – Music
  13. Casablanca – Media Arts
  14. Castelo Branco – Crafts and Folk Art
  15. Cetinje – Design
  16. Chaozhou – Gastronomy
  17. Chiang Rai – Design

  18. Chongqing – Design
  19. Concepción – Music
  20. Da Lat – Music
  21. Fribourg – Gastronomy
  22. Gangneung – Gastronomy
  23. Granada[1] – Design
  24. Gwalior – Music
  25. Herakleion – Gastronomy
  26. Hobart – Literature
  27. Hoi An – Crafts and Folk Art
  28. Iasi – Literature
  29. Iloilo City – Gastronomy
  30. Ipoh – Music
  31. Kathmandu – Film
  32. Kozhikode – Literature
  33. Kutaisi – Literature
  34. Mexicali – Music
  35. Montecristi – Crafts and Folk Art
  36. Montreux – Music
  37. Nkongsamba – Gastronomy
  38. Novi Sad – Media Arts
  39. Okayama – Literature
  40. Ouarzazate – Film
  41. Oulu – Media Arts
  42. Penedo – Film
  43. Rio de Janeiro – Literature
  44. Şanlıurfa – Music
  45. Suphanburi – Music
  46. Surakarta – Crafts and Folk Art
  47. Taif – Literature
  48. Toulouse – Music
  49. Tukums – Literature
  50. Ulaanbaatar – Crafts and Folk Art
  51. Umngeni Howick – Crafts and Folk Art
  52. Valencia – Design
  53. Varaždin – Music
  54. Veliky Novgorod – Music
  55. Vicente Lopez – Film
  56.  

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

กลุ่มคนรุ่นใหม่แต่งแฟนซี ร่วมโปรโมท Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

 
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับจังหวัดเชียงราย กำหนดจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยมิติทางวัฒนธรรม และพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมวัฒนธรรมไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม เพื่อสริมสร้างการเรียนรู้และสร้างสรรค์งานด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนเสริมสร้างภาพลักษณ์ และยกระดับบทบาทด้านวัฒนธรรม ของไทยในเวทีโลก และพัฒนางานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยไทยสู่ความเป็นสากลในอนาคต ในการนี้ จังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์และรวมพลังในการประชาสัมพันธ์ ให้เกิดการรับรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง แก่ประชาชนและภาคีเครือข่าย ตลอดจนนักท่องเที่ยว ให้ทราบถึงการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
 
 
โดยจัดกิจกรรมรวมพลังสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ การจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 โดยมีการแต่งตัวด้วยชุดแฟนซีและมาสคอต แจกสติกเกอร์ โปสเตอร์และแผ่นพับประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ในวันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2566 ณ บริเวณหอนาฬิกา ถนนคนเดินเชียงราย และวันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2566 ณ บริเวณเชียงรายไนท์บาร์ซ่าร์ ถนนคนม่วนสันโค้ง ทั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : รุ้งสร้างสรรค์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

สาธารณสุขนิเทศ เปิดศูนย์ช่วยเหลือ ทางด้านจิตใจ แรงงานไทยในอิสราเอล

 

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2566 แพทย์หญิงบุญศิริ จันศิริมงคล รักษาการสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 1 เป็นประธานเปิดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข (ศูนย์ EOC) กรณีได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล โดยมีนายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย นำผู้เข้าร่วมพิธีเปิดประกอบด้วย คณะผู้บริหาร สาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลชุมชน และคณะทำงานกลุ่มภารกิจต่างๆ ร่วมพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ที่ภายในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ตำบลท่าสาย อำเภอเมืองเชียงราย

 

จากกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล ส่งผลให้แรงงานไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก และกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยสนับสนุนในการช่วยเหลือทางด้านจิตใจผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งหมายถึงแรงงานที่เดินทางกลับจากประเทศอิสราเอล ญาติ และครอบครัว จังหวัดเชียงรายมีแรงงานไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ความไม่สงบ จำนวน 2,174 คน มากเป็นอันดับสองของประเทศ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย จึงได้มีการเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขขึ้น
 
 
แพทย์หญิงบุญศิริ จันศิริมงคล รักษาการสาธารณสุขนิเทศเขตสุขภาพที่ 1 กล่าวว่า “ทีม MCATT” หรือ “ทีมสหวิชาชีพที่ให้การช่วยเหลือทางด้านจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต” ของจังหวัดเชียงราย ทั้ง 18 อำเภอ ได้จัดทีมลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน และดูแลจิตใจคนไทยที่กลับมาถึงภูมิลำเนาแล้วทุกครอบครัว ส่วนคนไทยในอิสราเอลที่ยังไม่กลับมานั้น ทางครอบครัวยังเฝ้ารอ และต้องติดตามข่าวความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งความเครียด ความกังวล ความกลัว ทั้งนี้ได้มอบให้ทีม MCATT จังหวัดเชียงราย ติดตามให้การดูแลอย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้แรงงานไทยได้เดินทางกลับบ้านอย่างต่อเนื่อง จึงอยากให้ประชาชนแสดงความห่วงใยถามไถ่อย่างเหมาะสม ” ในหลัก 3 ไม่ ” ได้แก่ ไม่ถามซ้ำ ถึงเหตุการณ์ความรุนแรง เพื่อไม่ให้สร้างรอยแผลอันจะนำไปสู่ความเสียใจ, ไม่ตอกย้ำ ถึงขั้นตอน สถานที่การดำเนินชีวิต หรือลำดับเหตุการณ์อันจะทำให้คิดถึงภาพความรุนแรงที่ยังติดอยู่ในความคิด และ ไม่รื้อพื้น ถึงการตัดสินใจไปทำงาน
 
 
ด้าน นายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ทีม MCATT จังหวัดเชียงราย ได้ลงพื้นที่เยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 3,473 ราย โดยจัดกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ 3 กลุ่ม แยกเป็นกลุ่ม A คือ ผู้บาดเจ็บ/ตัวประกัน/ผู้สูญหาย รวมถึงญาติของผู้เสียชีวิต และผู้ที่ได้รับผลกระทบข้างต้น จำนวน 33 คน (เสียชีวิต 1 ราย, บาดเจ็บ 1 ราย, สูญหาย 1 ราย และกลุ่มญาติ 30 ราย) กลุ่ม B คือ แรงานไทยในพื้นที่เสี่ยงสูงหรือปานกลาง รวมถึงญาติของกลุ่มดังกล่าวจำนวน 3,397 คน (หมายถึง กลุ่มผู้ไม่บาดเจ็บที่กลับมาแล้ว 164 ราย กลุ่มคนไทยที่ยังอยู่ในอิสราเอล 953 ราย กลุ่มญาติของคนไทยในอิสราเอลที่ยังไม่กลับมา และกลับมาแล้ว 2,280 ราย) กลุ่ม C คือ ประชาชนที่รับรู้เหตุการณ์ และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 43 คน ทีม MCATT ได้ ดำเนินการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต และเยียวยาจิตใจด้วยการให้ปฐมพยาบาลทางใจเบื้องต้น การจัดการความเครียด และภาวะวิกฤตทางใจ เพื่อลดความเจ็บป่วยด้านจิตใจในอนาคต ซึ่งจังหวัดเชียงรายได้กำหนดแนวทางการดูแลจิตใจแรงงานไทย ในสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอลใน แต่ละกลุ่มออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิกฤต (Impact Phase), ระยะปรับตัว ( Post-Impact Phase) และ ระยะฟื้นฟู (Recovery Phase)
 
 
จากนั้นได้ลงพื้นที่ ต.ห้วยสัก อ.เมือง จ.เชียงราย เยี่ยมให้กำลังใจญาติแรงงานไทยในประเทศอิสราเอล ร่วมกับนายวิรัตน์ วงศ์มา แรงงานจังหวัดเชียงราย นายโสภณ แก้วล้อมทรัพย์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย
ทั้งนี้ ด้านแรงงานจังหวัดเชียงรายและพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย ได้ให้ความมั่นใจว่า หากแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ประเทศอิสราเอลให้กลับมาตั้งหลักที่ประเทศไทยบ้านเกิดก่อน หากเหตุการณ์สงบรัฐบาลไทยพร้อมจะสนับสนุนให้กลับไปทำงานใหม่อีกครั้งอย่างสุดความสามารถ
 
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

อบจ.เชียงรายเปิด งานทอสายบุญจุลกฐิน ถิ่นไทลื้อโบราณ อ.เชียงของ

 

เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2566 เวลา 16.30 น. นายก นก นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในงานแถลงข่าวเสวนาและประชาสัมพันธ์ โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวบูรณาการ พี่น้องท้องถิ่น อ.เชียงของ จ.เชียงราย งานทอสายบุญจุลกฐิน ถิ่นไทลื้อโบราณ (ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านหาดบ้าย หาดทรายทอง) ณ ลานเวทีบ้านหาดบ้าย – หาดทรายทอง ต.ริมโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย

 

ภายในงานแถลงข่าว มีการเสวนา ในหัวข้อการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชนให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ฯลฯ โดยได้ให้เกียรติจาก หลวงพ่อจตุรงค์ กลิ่นบุปผา เจ้าอาวาสวัดบ้านหาดบ้าย นายวิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เชียงราย นายวิรุฬห์ สิทธิวงศ์ นายอำเภอเชียงของ นายเกษม ปันทะยม นายก อบต.ริมโขง นายธันวา เหลี่ยมพันธุ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเชียงของ และนางสุขาวดี ติยะธะ เข้าร่วมการเสวนา พร้อมนี้มีร่วมทำบันทึกข้อตกลง (MOU) โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวบูรณาการ พี่น้องท้องถิ่น อ.เชียงของ จ.เชียงราย งานทอสายบุญจุลกฐิน ถิ่นไทลื้อโบราณ (ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านหาดบ้ายหาดทรายทอง)
 
 
ทั้งนี้ยังมีนายลิขิต บรรพตพัฒนา กำนันตำบลริมโขง นายสุจิน สิทธิราช ประธานสภา อบต.ริมโขง ร.ท.อภัย วิจารณ์ หัวหน้าชุดพัฒนาสัมพันธ์มวลชน ที่ 3212 หมู่ใหญ่ วิบูรย์ขัติยะ หัวหน้าชุดผ่อนปรนบ้านหาดบ้าย และคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ กองการท่องเที่ยวและกีฬา งานประชาสัมพันธ์ กองยุทธศาสตร์ฯ อบจ.เชียงราย เข้าร่วมพิธีแถลงข่าวในครั้งนี้ด้วย
ซึ่งงานทอสายบุญจุลกฐิน ถิ่นไทลื้อโบราณ บ้านหาดบ้าย หาดทรายทอง จะจัดขึ้นในวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2566 ณ บ้านหาดบ้าย – หาดทรายทอง ต.ริมโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย
 
 
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เชียงรายจัดประกวดเต้น ทีมชนะคว้าสิทธิ์แสดง ในภาพยนตร์ Soft Power “ขยับขาล่าฝัน”

 
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 28 ต.ค.2566 ที่โซนวีดีโอวอลล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าเชียงราย ดร.ประภัสสร มณีรัตน์ ผู้บริหาร บริษัท Vision Star Entertainment Thailand ร่วมกับ นายวัชระ โกศาจันทร์ผู้บริหารบริษัท Star Sky Entertainment และนายกฤชกร สิงห์สกุล ผู้จัดการมูลนิธิเอ็มพลัสเชียงราย จัดการแถลงข่าว การถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “ขยับขาล่าฝัน” ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในพื้นที่จังหวัดเชียงรายตลอดทั้งเรื่อง โดยมีกำหนดเปิดกล้องประมาณต้นเดือนมกราคม 2567 โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าว ได้แก่ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายวิสูตร บัวชุม ผอ.ททท.สำนักงานเชียงราย น.ส.ขนิษฐา แจ่มนาค ผู้แทนท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย นางนงเยาว์ เนตรประสิทธิ์ นายกสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือจังหวัดเชียงราย นายโชติศิริ ดารายน นายกสมาคมสื่อมวลชนและนักประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย
 
 
บริษัท Vision Star Entertainment Thailand และ บริษัท Star Sky Entertainment บริษัทที่ทำธุรกิจอุตสาหกรรมการสร้างภาพยนตร์ มีโครงการจัดสร้างและถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “ขยับขาล่าฝัน” เป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการสร้างฝันของเด็กๆเยาวชนด้าน Soft Power การเต้น Cover Dance รวมกลุ่มเพื่อนวัยเดียวกันฝึกซ้อมการเต้นเพื่อเข้าแข่งขันจนเป็นที่ 1 ของประเทศ และไปแข่งขันต่อจนได้แชมป์ที่ประเทศเกาหลี เป็นภาพยนตร์ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่วัยรุ่นและเยาวชนไทยได้มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำในสิ่งที่เป็นความฝันของตนเองให้ประสบความสำเร็จ
 
 
ภาพยนตร์เรื่อง “ขยับขาล่าฝัน” เป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในจังหวัดเชียงรายทั้งเรื่อง ในแหล่งท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย นักแสดงเป็นเด็กและเยาวชนเชียงรายที่ผ่านการ Casting จากบริษัทฯแล้ว และทีมเต้นที่ชนะเลิศในการแข่งขัน Halloween Cover Dance Contest 2023 Chapter 2 ที่กำหนดจัดการประกวดในวันนี้ 28 ต.ค.2566 ตั้งแต่เวลา 14.30.00 น.เป็นต้นไป ณ ลานวีดีโอวอลล ชั้น 2 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงราย แห่งนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้นอกจากการส่งเสริม Soft Power ของจังหวัดเชียงรายแล้ว ยังเป็นภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงรายอีกด้วย ซึ่งทางบริษัทฯได้จัดการแถลงข่าวในวันเดียวกันกับวันแข่งขัน คือวันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2566 ตั้งเวลา 13.00-14.30 น.
 
 
ดร.ประภัสสร มณีรัตน์ ผู้บริหาร บริษัท Vision Star Entertainment Thailand กล่าวว่า บริษัท Vision Star Entertainment Thailand ได้ส่งน้องยูมิ และ ยูริ ไปออดิชั่น ที่ กทม. โดยผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนนักแสดงหลักและ บริษัท Star Sky Entertainment ก็มีแนวคิดในครั้งแรกว่า จะสร้างภาพยนต์“ขยับขาล่าฝัน”ที่จังหวัดเชียงใหม่ ตนจึงได้พูดคุยกับ บริษัท Star Sky Entertainment เพื่อชักจูงให้มาถ่ายทำที่จังหวัดเชียงรายเพราะทั้งนี้จังหวัดเชียงรายมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัฒนธรรมและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ที่จะเผยแพร่ให้กับทุกคนทั่วโลกได้เห็นคุณค่าโดยเฉพาะเยาวชนจึงเป็นที่มาของการแถลงข่าวในวันนี้
 
 
นายวัชระ โกศาจันทร์ ผู้บริหารบริษัท Star Sky Entertainment กล่าวว่า ภาพยนตร์เรื่อง “ขยับขาล่าฝัน” เป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการสร้างฝันของเด็กๆเยาวชนด้าน Soft Power การเต้น Cover Dance รวมกลุ่มเพื่อนวัยเดียวกันฝึกซ้อมการเต้นเพื่อเข้าแข่งขันจนเป็นที่ 1 ของประเทศ และไปแข่งขันต่อจนได้แชมป์ที่ประเทศเกาหลี เป็นภาพยนตร์ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่วัยรุ่นและเยาวชนไทยได้มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำในสิ่งที่เป็นความฝันของตนเองให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งหลังจากที่เราตกลงจะทำการถ่ายทำที่จังหวัดเชียงราย จึงได้เปิดทำการคัดตัวนักแสดงโดยเฉพาะเยาวชนคนเชียงรายซึ่งเราได้เปิดโอกาสให้กับน้องๆทุกคนทั้งชาวไทยพื้นราบและชาวชาติพันธุ์ อาทิจาก แม่สลองใน ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าน้องๆเหล่านี้มีความสามารถอย่างมากทำให้ตรงกับคอนเซ็ปต์ของภาพยนตร์ของเราที่จะช่วยฝันให้กับน้องๆ และต่อเติมให้น้องๆได้ตามล่าหาฝันของตนเองอีกด้วย
 
 
ขณะเดียวกัน นายวิสูตร บัวชุม ผอ.ททท.สำนักงานเชียงราย กล่าวว่า ขอชื่นชมบริษัท Vision Star Entertainment Thailand และบริษัท Star Sky Entertainment ที่เลือกจังหวัดเชียงรายเป็นสถานที่ถ่ายทำและพร้อมจะให้การสนับสนุน ส่งเสริม Soft Power ของจังหวัดเชียงราย ตามนโยบายของรัฐ ภายในงานยังมีโชว์สุดพิเศษ HIPHOP STREET DANCE DUO ซึ่งเคยเข้าแข่งขันเวทีระดับประเทศไทยอย่าง การคว้าอันดับ 2 ของ THE CHEER THAILAND NORTHERN CHAMPIONSHIP 2022 และ อันดับ 5 ในงาน UDO THAILAND 2022 และเป็น TOP 5 CHEERLEADING THAILAND 2023 จากสถาบัน MY DANCE ACADEMY 
 
 
สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “ขยับขาล่าฝัน” เป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในจังหวัดเชียงรายทั้งเรื่อง ในแหล่งท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ส่วนนักแสดง ก็เป็นเด็กและเยาวชนเชียงรายที่ผ่านการ Casting จากบริษัทฯ พร้อมกับ ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันเต้น Halloween Cover Dance Contest 2023 Chapter 2 ซึ่งหลังจากการแถลงข่าวในวันนี้เสร็จสิ้นลง ก็จะเข้าสู่การ แข่งขันเต้นของเด็กและเยาวชนเพื่อหาทีมชนะเลิศต่อไป….
 
 


เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

เจ้าของไข่มุกในหอยแครงส่งตรวจผลแจ้งยันของจริง

 

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดเชียงราย ว่าภายหลังจากที่ได้นำเสนอข่าวการพบเจอไข่มุกในหอยแครงขนาด 1 ซม. ของ นายเศรษฐพงศ์ ศิววงศ์ร อายุ 45 ปี หรือที่เรียกกันว่า “ประธานเดี่ยว” ทราบภายหลังว่ามีตำแหน่งเป็นรองประธานสโมสรกีฬาราชประชา อยู่บ้านเลขที่ 5 หมู่ 4 ตำบลบัวสลี อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โดยเจ้าตัวได้ออกมาเปิดเผยอีกครั้งเกี่ยวกับการพบเจอไข่มุกในหอยแครง ที่ซื้อจากตลาดสดชื่อดังแห่งหนึ่งในตัวเมืองเชียงราย เมื่อหลายอาทิตย์ก่อนหน้านี้ ซึ่งได้นำไข่มุกดังกล่าวส่งตรวจพิสูจน์ที่สถาบัน (CGT) หรือ (Chiangmai Gem Testing Laboratory : CGT LAB) จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสถาบันตรวจอัญมณีวิทยา

 

โดนผลการตรวจพบเป็นไข่มุกจริงที่เกิดจากธรรมชาติ เป็นไข่มุกประเภทสีขาวแวววาวสะท้อนแสงอย่างเห็นได้ชัด มีขนาดเท่ากับ 3.084 กะรัต ทางสถาบัน CGT ได้ออกเอกสารรับรองว่าเป็นไข่มุกจริง หากนับเป็นมูลค่าแล้วเจ้าตัวบอกว่านับเป็นมูลค่าไม่ได้ และจะไม่ขาย หรือจำหน่ายโดยเด็ดขาด จะเก็บไว้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว เพราะหาได้ยากที่เกิดขึ้นในหอยแครง
 
 
เบื้องต้นจะนำไข่มุกดังกล่าวไปทำเป็นจี้หรือใส่เป็นหัวแหวน แต่คิดว่าจะทำเป็นหัวแหวนมากกว่า และจะให้ช่างหรือผู้ที่ชำนาญทำกรอบเครือบไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่มุกเกิดรอยแตกร้าวเสียหาย ต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES VIDEO

(มีคลิป) ผิดคาด! “อ.เฉลิมชัย” เจอศิลปินรุ่นใหม่ พ่นสีกำแพงทางออกวัด ‘ไม่ด่า แถมให้เงิน’

 

เมื่อวานนี้ (27 ต.ค. 66) แฟนเพจเฟซบุ๊ก ตามติดชีวิต อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ได้เผยแพร่เรื่องราวที่น่าประทับใจ ของ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ที่ได้ออกมาชื่นชมกลุ่มคนรุ่นใหม่ศิลปิน Street Art หลังจากที่ได้แอบมาวาดภาพที่กำแพงทางออกที่จอดรถวัดร่องขุ่นในเวลากลางคืน

ซึ่งอาจารย์เฉลิมชัย ได้เล็งเห็นความสำคัญของผลงานศิลปะทุกแขนง จึงได้อัดคลิปวีดีโอเชิญชวนให้กลุ่มน้อง ๆ ศิลปิน Street Art มาวาดภาพที่กำแพงในเวลากลางวันได้เต็มที่ พร้อมกับมอบเงินสนับสนุนให้เป็นค่าอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานอีกจำนวน 10,000 บาท

และหลังจากนั้น ก็ได้มีการอัพเดตความคืบหน้าของผลงานศิลปะจากกลุ่มน้อง ๆ ศิลปิน Street Art เป็นระยะ โดยทั้งนี้ ยังมีผู้ใหญ่ใจดีอีกหลายท่าน ที่จะให้การสนับสนุนอาหารทุกมื้อกับกลุ่มศิลปินจนเสร็จงาน

เรื่องราวนี้ทำให้ชาวเชียงราย และประชาชนผู้ที่ชื่นชอบ  หลงใหลในงานศิลปะ ต่างก็รู้สึกประทับใจ และภูมิใจที่ศิลปินแห่งชาติชื่อดังในจังหวัดเชียงราย รวมไปถึงผู้ใหญ่ใจดีอีกหลายท่านให้การสนับสนุน และไม่ปิดกั้นความสามารถของเด็กรุ่นใหม่ ทำให้เด็ก ๆ และเยาวชนคนรุ่นใหม่สามารถคิด และแสดงออกถึงความสามารถได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเด็ก ๆ และเยาวชนเหล่านี้ก็จะจดจำและเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ และผู้ให้ที่ดีต่อไปในอนาคต


เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ตามติดชีวิต อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ / Dropfib

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงราย ช่วยบ้านผาฮี้ หลังเกิดดินสไลด์ในพื้นที่

 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม 2566 เวลา 09.30 น. นายก นก นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย พร้อมด้วย นายจิราวุฒิ แก้วเขื่อน ที่ปรึกษานายก อบจ.เชียงราย นายชัยสิทธิ์ ชัยเนตร เลขานุการนายกอบจ.เชียงราย นายอนุภาส ปฏิเสน ส.อบจ.เชียงราย เขต 3 อ.แม่สาย และเจ้าหน้าที่กองป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย ลงพื้นที่หมู่บ้านผาฮี้ หมู่ 10 ต.โป่งงาม อ.แม่สาย จ.เชียงราย มอบปูนซีเมนต์ไฮดรอลิค เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย กรณีดินสไลด์ ในพื้นที่ โดยมีนายอำนาจ สิทธิมงคล นายก อบต.โป่งงาม นายสมเกียรติ มาสม ผอ.รพ.สต.ผาฮี้ ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ด้วย

 

ซึ่งจุดที่เกิดอุทกภัยดินสไลด์ มีสาเหตุมาจากฝนตกและมีปริมาณน้ำฝนสะสมตั้งแต่วันที่ 8-10 ตุลาคม 2566 ทำให้เกิดการสไลด์ของดินเป็นบริเวณกว้างและลึก ความยาวประมาณ 25 เมตร ลึกประมาณ 30 เมตร ประชาชนได้รับผลกระทบ 25 ครัวเรือน ซึ่งเป็นเส้นทางหลักของ รร. บ้านผาฮี้ และรพ.สต.ผาฮี้ ถนนถูกตัดขาดไม่สามารถใช้เพื่อการสัญจรไปมาได้ อบจ.เชียงราย และ อปท.ในพื้นที่ จึงเร่งดำเนินการแก้ไขและช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ส่งเสริม​การตลาด​สร้างรายได้​ให้​ชุมชน ​ผ้าลายพระราชทาน พช.เชียงราย​

 

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยทีมงานนักวิชาการพัฒนาชุมชนและเจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน จัดแสดงและจำหน่ายผ้าลายพระราชทาน ลายดอกรักราชกัญญา ณ ตลาดนัดคนไทยยิ้มได้ ตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน คนเชียงราย บริเวณด้านหน้าอาคารศาลากลางจังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ้าลายพระราชทาน ลายดอกรักราชกัญญา ตลอดจนส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมการใช้และสวมใส่ผ้าไทย เพิ่มรายได้แก่ชุมชน

 

ในการนี้ นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย ได้ให้เกียรติเยี่ยมชมผ้าที่นำมาจัดแสดงและจำหน่าย ซึ่งเป็นผลงานที่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้นำแบบลายผ้าพระราชทาน มาเป็นต้นแบบ ผสมผสานกับภูมิปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดการพัฒนาสร้างแบบลายผ้าใหม่ ที่แตกต่าง และเป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งใช้กระบวนการย้อมสีจากธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผู้สวมใส่ เพิ่มคุณค่าและมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย โทร. 053177350 ในวันและเวลาราชการ
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Cddchiangrai

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News