Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

‘พิสันต์’ นำเจ้าหน้าที่ถวายวัตถุดิบโรงทาน วัดห้วยปลากั้ง “พบโชค พบบุญ”

 

     นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ข้าราชการและบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมมอบถวายผักและวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารเจเพื่อแจกจ่ายให้พุทธศาสนิกชนและประชาชนช่วงเทศกาลกินเจ ในวันพุธที่ 18 ตุลาคม 2566 เวลา 11.00 น. ณ โรงทานวัดห้วยปลากั้ง “พบโชค พบบุญ” พระไพศาลประชาทร วิ. (พบโชค ติสฺสวํโส) บริเวณสามแยกดอยทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

     จัดโดย วัดห้วยปลากั้ง ร่วมกับ มณฑลทหารบกที่ 37 เพื่อแจกจ่าย บริการอาหารเจให้แก่พุทธศาสนิกชนและประชาชนช่วงของเทศกาลกินเจ หรือ ประเพณีถือศีลกินผัก ในปีพุทธศักราช 2566 เทศกาลกินเจจะตรงกับวันที่ 15 – 23 ตุลาคม 2566 ซึ่งการบริโภคอาหารประเภทผักที่ไม่มีของสดของคาวผสม กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี รวม 9 วัน โดยในปีนี้จะตรงกับเดือนตุลาคมของไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ

 

  1. กินเพื่อสุขภาพ อาหารเจเป็นอาหารประเภทชีวจิต เมื่อกินติดต่อกันไปช่วงเวลาหนึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ ปรับระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารให้มีเสถียรภาพ
  2. กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากอาหารที่เรากินอยู่ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้มีจิตเมตตา มีคุณธรรมและมีจิตสำนึกอันดีงามย่อมไม่อาจกินเลือดเนื้อของสัตว์เหล่านั้นซึ่งมีเลือดเนื้อ จิตใจและที่สำคัญมีความรักตัวกลัวตายเช่นเดียวกับคนเรา
  3. กินเพื่อเว้นกรรม ผู้ที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งย่อมตระหนักว่าการกินซึ่งอาศัยการฆ่าเพื่อเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาเป็นของเราเป็นการสร้างกรรม แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือฆ่าเองก็ตาม การซื้อจากผู้อื่นก็เหมือนกับการจ้างฆ่าเพราะถ้าไม่มีคนกินก็ไม่มีคนฆ่ามาขาย (ถ้าไม่ฆ่าไม่ขายก็ไม่มีคนกิน) กรรมที่สร้างนี้จะติดตามสนองเราในไม่ช้าทำให้สุขภาพร่างกายอายุขัยของเราสั้นลงเป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อผู้หยั่งรู้เรื่องกฎแห่งกรรมนี้จึงหยุดกินหยุดฆ่าหันมารับประทานอาหารเจ ซึ่งทำให้ร่างกายเติบโตได้เหมือนกัน โดยไม่เห็นแก่ความอร่อยช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแค่อาหารผ่านลิ้นเท่านั้น
  4.  

     สำหรับ “เจ” ในภาษาจีนทางพุทธศาสนานิกายมหายานมีความหมายเดียวกับคำว่า อุโบสถ ดังนั้นการกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยที่ถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธนิกายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกันเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจมิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ สำหรับการปฏิบัติตนในช่วงเทศกาลกินเจ 9 วัน 9 คืน ผู้ที่ต้องการกินเจอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามประเพณีการกินเจจะต้องปฏิบัติดังนี้

 

  1. รับประทาน “อาหารเจ”
  2. งดอาหารรสจัด ซึ่งหมายถึงอาหารเผ็ด หวานมาก เปรี้ยวมาก เค็มมาก งดผักที่มีกลิ่นฉุนทั้งหลาย แยกภาชนะสำหรับอาหารเจเท่านั้น
  3. รักษาศีลห้า
  4. รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์ ไม่พูดคำหยาบคาย รวมถึงงดการมีเพศสัมพันธ์ ทำบุญทำทาน ไหว้พระ สวดมนต์
  5. นุ่งขาวห่มขาวตลอดเทศกาลกินเจ และควรแต่งกายชุดขาวเข้าร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ ในแต่ละศาลเจ้า
  6.  

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา, สุพจน์ ทนทาน : รายงาน

พร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ : ภาพ

อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

Thailand Biennale ปักหมุด 19 พ.ย. 66 เปิดพาเหรดและประติมากรรม 18 อำเภอ

 

จังหวัดเชียงราย ร่วมกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จัดการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการการจัดมหกรรมศิลปร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale,Chiang Rai 2023 และการประชุมคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์โครงการการจัดมหกรรมศิลปร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale,Chiang Rai 2023 ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม  2566 เวลา 13.30 น.

ณ ห้องประชุมสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ผ่านระบบซูม นายประสพ เรียงเงิน ประธานการประชุม พร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงานฯ ,คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ฯ  จังหวัดเชียงราย นายพุฒิพงษ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย  พร้อมด้วย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย นายสรรเสริญ ศีติสาร รองผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงราย  นางสาวพลอยไพรินทร์ คุณมาก แทนผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย นายโชติศิริ ดารายน นายกสมาคมผู้สื่อข่าวและนักประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย นายสุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ นางสาววัจนีย์ บุญเจ็น ผู้จัดการขัวศิลปะ นายนิพนธ์ ตาตน รองผู้จัดการขัวศิลปะ พร้อมด้วยผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมฯ

          ที่ประชุมร่วมปรึกษา หรือเพื่อเตรียมการจัดงานและการประชาสัมพันธ์งานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ดังนี้

     1.รับทราบความคืบหน้าการลงพื้นที่ของศิลปิน และการดำเนินโครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

     2.ร่วมหารือการเตรียมความพร้อมกิจกรรม และการเตรียมความพร้อมรับรองแขกคนสำคัญ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และศิลปิน     

     3.รับทราบรายงานการดำเนินงานด้านประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมา โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย และนางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย ได้รายงานต่อที่ประชุมถึงการดำเนินงานของจังหวัดเชียงราย ด้านประชาสัมพันธ์การจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัย Thailand Biennale, Chiang Rai  2023

     4.นายสุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ ได้แจ้งถึงความก้าวหน้าการ

เตรียมในการจัดขบวนพาเหรดและประติมากรรมของ 18 อำเภอ และแผนการเตรียมงานวันพิธีเปิดขบวนพาเหรดและประติมากรรม 18 อำเภอ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566

     5.ที่ประชุมร่วมกันหารือแผนการและแนวทางการประชาสัมพันธ์ในก้าวต่อไปของการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัย Thailand Biennale, Chiang Rai  2023 

โดนนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมาย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ในฐานะคณะกรรมการดำเนินงานฯ และข้าราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมประชุมดังกล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา,นิติกร ปันแก้ว : รายงาน 
อภิชาต กันธิยะเขียว วรพล จันทร์คง สุทธิดา ตราชื่นต้อง : ภาพ 
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

“กาดไตลื้อ” นัดที่ 2 คึกคักด้วยมนต์เสน่ห์ชาวไตลื้อ

 

วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับชุมชนศรีดอนชัยไทลื้อ จัดตลาดวัฒนธรรมชุมชน “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” นัดที่ 2 ภายใต้โครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ

ชุมชนศรีดอนชัยไทลื้อ เป็นพื้นที่ชุมชนและท้องถิ่นที่มีศักยภาพ มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม “ไทลื้อ” ที่เด่นชัด จึงจัดพื้นที่ตลาดใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนมีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม กิจกรรมการแสดง บริการ ที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ผ่านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน  สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว และเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำมาสู่ความภาคภูมิใจ รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย  นัดที่ 2 ของเรามีแนวคิดในการพัฒนาเป็นตลาดวัฒนธรรม ชิม ช๊อป ชม สินค้า สาธิตผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม CPOT อาหารพื้นถิ่น พืชผัก ผลไม้ ของชาวศรีดอนชัย  ภายในงานมีการแสดงแฟชั่นโชว์ “สีสันเส้นด้าย ลายผ้างาม นามศรีดอนชัย” และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ม่วนจอยกับการรำวงย้อนยุค พร้อมนี้พ่อค้าแม่ขาย ผู้ประกอบการ ผู้ร่วมงาน และนักท่องเที่ยว ร่วมกันแต่งกายด้วยชุดไทลื้อ ชุดพื้นถิ่น พร้อมหิ้วตะกร้ามาร่วมกิจกรรมเป็นการสร้างบรรยากาศเสน่ห์ที่ยังมีมนต์ขลังของชาวไทลื้อศรีดอนชัย

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมาย นางกัลยา แก้วประสงค์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายยุทธนา สุทธสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ (ผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอเชียงของ) เข้าร่วมกิจกรรมฯ

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE VIDEO

(มีคลิป) การแสดงชุดพิเศษ “ฟ้อนเจิงสาวไหม – ตบมะผาบ”

 
ฟ้อนเจิง ลายสาวไหม เชิง หรือ เจิง เป็นศิลปะลีลาท่าฟ้อนมือเปล่าของชายหนุ่มชาวล้านนา มีท่วงท่าหลากหลาย ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติรอบตัว เช่น ท่าเสือ เสือเล่นฮอก(กะรอก) เสือลากหาง ท่าช้าง ช้างงาบานเดินอาจหรือท่าทางในการทำงานประจำวัน เช่น สาวไหม ปั่นฝ้าย ผ่าฟืน ฯลฯ
 
 
นอกจากนี้ ยังมีแม่ท่า “ตบมะผาบ” (มะผาบ = ประทัด) ด้วยการใช้ฝ่ามือตบไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายผู้ฟ้อนให้เกิดเสียงดังคล้ายเสียงจุดประทัด ดูแล้วเกิดความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ
เพลงที่ใช้ประกอบในครั้งนี้ บรรเลงโดยปี่พาทย์พื้นเมือง ชื่อ เพลงมวย ต้นเพลงจะเนิบช้า ฟ้อนแม่ท่าสาวไหม แล้วเปลี่ยนเป็นจังหวะเร็ว ผู้ฟ้อนก็จะใช้แม่ท่าตบมะผาบ
 
.
ซึ่งชุดการแสดงนี้ได้รับเกียรติจาก พิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ฟ้อนเจิงสาวไหม โดย นิสิตระดับมหาบัณฑิต พัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เชียงราย (มจร.เชียงราย) ประกอบ “เพลงมวย” บรรเลงโดย วงปี่พาทย์พื้นเมืองเชียงราย วัดท่าไคร้ บ้านเมืองรวง ต.แม่กรณ์ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ในงานถวายสลากภัต (ตานก๋วยสลาก) ในวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2566 ณ วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย (ส่วนแยกบ้านน้ำลัด) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน พระราชทานศพ พระพรหมวชิรคุณ (ไพบูลย์ สุมงฺคโล)

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน พระราชทานศพ พระพรหมวชิรคุณ (ไพบูลย์ สุมงฺคโล) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 4,5,6,7 ธรรมยุต และเจ้าอาวาสวัดเทพนิมิตสุดเขตสยาม

 เวลา 18.00 น.พระพิธีธรรมหลวง พระพรหมวชิรคุณ (หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล) โดยมี พระครูอุดมภาวนาจารย์ (หลวงปู่ทองสุก อตฺตรปญฺโญ) วัดอนาลโยทิพยาราม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายจิรชัย มูลทองโร่ย กรรมาธิการ การเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง, วุฒิสภา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วย นายปิยพันธุ์  นิมมานเหมินท์ สมาชิกวุฒิสภา นายดุสิต เขมะศักดิ์ชัย สมาชิกวุฒิสภา ศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา วงศ์เกษมจิตต์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุพงษ์ ใจวุฒิ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นายวิรุฬห์ สิทธิวงศ์ นายอำเภอเชียงของ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พ.ต.อ.เกรียงศักดิ์ ตงศิริ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเชียงของ พ.ต.ท.ชัยวัฒน์ มีมุ่งธรรม สารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรเชียงของ นายวีระชาติ สุวรรณา ผู้อำนวยการกลุ่มงานอำนวยการ สำนักงานจังหวัดเชียงราย นายธันวา เหลี่ยมพันธุ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเชียงของ หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ผู้บริหารและข้าราชการองค์กรครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชน และศรัทธาสาธุชนศิษยานุศิษย์ เข้าร่วมพิธี ณ ศาลาปฏิบัติธรรม วัดเทพนิมิตสุดเขตสยาม ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

 

    โดยพระพิธีธรรม สำรับ วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวน 4 รูป ดังนี้

  1. พระใบฎีกาแสงธรรม สุปญฺโญ
  2. พระธนากร ธนกโร
  3. พระมนู อานนฺโท
  4. พระสมชาย ธมฺมปิโย

 และเจ้าหน้าที่กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติพิธี

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางสายรุ้ง สันทะบุตร นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายภัทรพงษ์ มะโนวัน หัวหน้ากลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายวิชชากรณ์ กาศโอสถ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายนิติกร ปันแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายสานุพงศ์ สันทราย นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายจิราวัฒน์ พรมศิริ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี นายเขต ของเทิง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี นายกรวิทย์  โกเสนตอ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี นายธนากร สุวรรณสังข์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมพิธี สนับสนุน อำนวยความสะดวกแด่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนที่เจ้ามาร่วมงาน รวมทั้งปฏิบัติงานพิธีดังกล่าว

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

พัชรนันท์ แก้วจินดา, นิติกร ปันแก้ว, สุพจน์ ทนทาน : รายงาน 

วิชชากรณ์ กาศโอสถ, นิติกร ปันแก้ว, สานุพงศ์ สันทราย : ภาพ 

อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

อ.เฉลิมชัย รีเทิร์นช่วยงาน เบียนนาเล่ จ.เชียงราย

 
วันนี้ (4 ต.ค.) ที่ศาลาธรรม วัดร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย เป็นตัวแทนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดที่ จ.เชียงราย ระหว่างเดือน ธ.ค.2566-เม.ย.2567 ได้เข้าพบกับอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิติพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย อาจารย์สุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ จ.เชีงราย เพื่อขอให้อาจารย์เฉลิมชัยได้กลับมาร่วมเตรียมความพร้อมและจัดงานดังกล่าวให้สำเร็จ
 
 
นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แจ้งว่าทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และผู้ที่เกี่ยวข้องล้วนขอให้อาจารย์เฉลิมชัยกลับมาด้วย ซึ่งทางอาจารย์เฉลิมชัยได้ตอบรับด้วยดีและรับพวงมาลัยดอกไม้พร้อมระบุว่าเป็นความตั้งใจของตนที่จะกลับมาช่วยหลังจากที่มีเรื่องการเมืองจนทำให้มีการเปลี่ยนแปลง และเห็นว่าถึงเวลาที่จะกลับมา
 
 
อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวว่า ผู้คนอาจจะคิดว่าศิลปะก็เหมือนๆ กันทั่วไป แต่ตนอยากบอกว่าศิลปะก็เหมือนกับแฟชั่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแล้วแต่ยุคสมัยและมีระดับ เช่น แฟชั่นชั้นนำ ฯลฯ ซึ่งการจัดงานเบียนนาเล่คือการนำศิลปะแฟชั่นชั้นนำ และล่าสุด รวมทั้งคัดสรรที่สุดยอดที่สุดของโลกมาจัดแสดง โดยมีศิลปะชั้นยอดจากประเทศไทยจากศิลปินในประเทศมาจัดแสดง 20 คน และศิลปินชั้นนำจากทั่วโลกอีก 40 คน ซึ่งตนยืนยันแต่ละคนล้วนมีความสุดยอด ล้ำยุค และล้ำหน้า จึงขอเชิญชวนไปงานกันได้ตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค.2566-เม.ย.2567
 
 
“มาเชียงรายแล้วได้ความรู้สึกดีๆ บรรยากาศดีๆ ได้เสพงานศิลปะชั้นสูงสุดยอดระดับโลกที่นี่ โดยที่วัดร่องขุ่นจะมี 2 ชิ้น และที่หอศิลป์ที่ผมสร้างอย่างใหญ่โตจะมีงานศิลปะเยอะมากรวมทั้งยังมีตามอำเภอต่างๆ อีก ดังนั้นงานนี้หายห่วงแน่นอน ผมมาช่วยอย่างเต็มตัวแล้วอุตส่าห์มาเชิญกัน หลังจากผมเครียดจนผมไม่เอาด้วยแต่แท้ที่จริงอยู่เบื้องหลังตลอด พอผมดูแล้วว่าอยู่เบื้องหลังมันไปไม่รอดแน่ก็ขอมาอยู่เบื้องหน้าก็แล้วกัน 
 
ผมเป็นคนรักเชียงรายอยู่แล้ว ผมคิดว่ายังไม่สายเกินไป” อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวและว่าผู้ที่มีความรู้ของศิลปินในโลกจะคัดสรรศิลปินที่สุดยอดจากหลากหลายที่ในโลก เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อาร์เจนติน่า บังกาเลีย คาซัคสถาน สหรัฐอเมริกา บราซิล ฯลฯ แต่ละคนจะจัดแสดงผลงานศิลปะที่แปลกใหม่ทุกแนว เกิดจากความคิด งดงาม หลากหลาย ปรัชญา เนื้อหา แปลกใหม่ ฯลฯ อย่างที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน
 
อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวอีกว่า รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดงานครั้งนี้มากถึง 100 กว่าล้านบาท และจะมีผู้ชื่นชอบงานศิลปะทั่วโลกไปเยือนเพื่อดูผลงานศิลปินที่ตนชื่นชอบซึ่งจะทำให้เกิดเงินสะพัดอย่างมหาศาล แม่แต่ศิลปิน 40 คน ก็ล้วนมีผู้ติดตามที่ร่ำรวย การจัดงานจึงกลายเป็นซอร์ฟพาวเวอร์อย่างแท้จริง ส่วนคนไทยสามารถดูเพื่อภูมิรู้ การศึกษา ความสุนทรยภาพ ยกระดับความรู้สึก นำพาไปสู่การตื่นตัวทางศิลปะ ฯลฯ เพื่อให้ทัดเทียมกับอารยประเทศต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

“พิสันต์” นำทีมเชียงรายรับโล่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดีเด่น 2566

 

       เมื่อวันที่ 2 – 3 ตุลาคม 2566 กระทรวงวัฒนธรรมจัดโครงการถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม “21 ปี กระทรวงวัฒนธรรม นำคุณค่า พัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ” โดยกิจกรรมวันที่ 2 ตุลาคม 2566 ประกอบด้วย

       การประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมฯ ในหัวข้อ 1) การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมขององค์กรเครือข่าย 2) การนำทุนทางวัฒนธรรมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านการจัดงาน “วิถีถิ่น วิถีไทยและการยกระดับเทศกาลประเพณีสู่ระดับชาติและนานาชาติ 3) การขับเคลื่อนนโยบาล 1 ครอบครัว 1 Soft Power 4)เหลียวหลังแลหน้าในภารกิจพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน และ 5) ทุนทางวัฒนธรรมพลังขับเคลื่อนชุมชน สังคมและประเทศ

        การประชุมมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สู่ก้าวที่มั่นคงด้วยพลังสร้างสรรค์ และพิธีมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ โดยมี นายเสริมศักดิ์  พงษ์พานิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมและมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติรางวัลวัฒนธรรมคุณานุสรณ์, รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น, รางวัลสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดีเด่น, รางวัลกลุ่มอำนวยการศพที่ได้รับพระราชทานดีเด่น, รางวัลการประกวดสื่อ Infographic ภายใต้หัวข้อ “วธ. โปร่งใส รวมใจต้านโกง” นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม บรรยายหัวข้อแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงวัฒนธรรม “10 เปิดวัฒนธรรมสร้างพลังแห่งอนาคต” และการบรรยายของส่วนราชการและองค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม

     โดยมีผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด ประธานสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร วัฒนธรรมจังหวัด ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้ได้รับรางวัลวัฒนธรรมคุณานุสรณ์เข้าร่วมกิจกรรม

       ทั้งนี้  สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายได้รับโล่รางวัลสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566 โดย นายพิสันต์  จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นผู้รับมอบโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

       วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เวลา 07.00 น. จัดพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทำบุญบำเพ็ญกุศลทางศาสนา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงวัฒนธรรม ครบรอบ 21 ปี โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธี หร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารระดับสูง วธ. ผู้มีเกียรติ วัฒนธรรมจังหวัด/ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด 76 จังหวัด/ประธานสภาวัฒนธรรมเขต กทม. ข้าราชการ/บุคลากร วธ. ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหาร วัฒนธรรมจังหวัด และเครือข่ายทางวัฒนธรรมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมแสดงความยินดี

       วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เวลา 13.30 น. จัดพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม “วัฒนคุณาธร” ประจำปี พ.ศ. 2566 รางวัลวัฒนธรรมวินิต และรางวัลเด็กและเยาวชน Young Smart : Young ทำดี ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมี นายพลภูมิ  วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีมอบโล่รางวัลเชิดชูเกียรติฯ ดังกล่าว โดยจังหวัดเชียงรายมีผู้ได้รับโล่รางวัลวัฒนคุณาธร ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 3 ราย ได้แก่

          ประเภทเด็กหรือเยาวช

  • นายสงกรานต์ บุญทวี  นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชุมชนคุณธรรมวัดดอนจั่น ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

          ประเภทบุคคล

  • นางสาวจำเนียร พรหมบุตร  ครูโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

           ประเภทนิติบุคคลหรือคณะบุคคล ได้แก่

  • ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเมืองรวง ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ 10 สุดยอด เที่ยวชุมชนยลวิถี ประจำปี 2565 ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

       ในการนี้ นายพิสันต์  จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพัชรนันท์  แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางพรทิวา  ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นางสาวกฤษยา  จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ นายภัทรพงษ์  มะโนวัน หัวหน้ากลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน และข้าราชการผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ ดังกล่าว และร่วมแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลวัฒนคุณาธร ประจำปี 2566

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน เป็นประธานพิธีถวายสลากภัต (ตานก๋วยสลาก)

 

วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ดังนี้ พระเดชพระคุณพระพุทธิญาณมุนี (ประเสริฐ ปญฺญาวชิโร) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นประธานพิธีถวายสลากภัต (ตานก๋วยสลาก) ในวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2566 ณ วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย (ส่วนแยกบ้านน้ำลัด) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

    จัดโดย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย งานถวายสลากภัต (ตานก๋วยสลาก) เป็นประเพณีที่จะเริ่มในเดือน 12 เหนือ หลังเข้าพรรษาได้ 2 เดือน ซึ่งเป็นโอกาสทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับ โดยการถวายสลากภัตนั้นเป็นการถวายที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงรูปใดรูปหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะเป็นการถวายที่มีอานิสงส์มาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและเป็นการส่งเสริมให้นิสิตตระหนักในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ คือ มีความรู้ คู่คุณธรรม นำสันติสุข โดยมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

  1. ขบวนแห่สลากที่วัดน้ำลัด แห่เข้ามาที่วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย
  2. การแสดงชุดพิเศษ “ฟ้อนเจิงสาวไหม – ตบมะผาบ” โดย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรม ฟ้อนเจิงสาวไหม

โดย คุณพิสันต์ จันทร์ศิลป์ นิสิตระดับมหาบัณฑิต พัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เชียงราย (มจร.เชียงราย)

ประกอบ “เพลงมวย”

บรรเลงโดย วงปี่พาทย์พื้นเมืองเชียงราย

วัดท่าไคร้ บ้านเมืองรวง ต.แม่กรณ์ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย

  1. การแสดงศิลปวัฒนธรรมฟ้อนต่าง ๆ ของนิสิต และพุทธศาสนิกชน
  2. ดนตรีปี่พาทย์พื้นเมืองเชียงราย คณะวัดท่าไคร้ ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ 10 สุดยอดเที่ยวชุมชนยลวิถี บ้านเมืองรวง ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย
  3. การถวายภัตตาหารเพล
  4. พิธีถวายทานสลากภัต (ตานก๋วยสลากภัต)
  5. การนำกัณฑ์สลากภัตที่เหลือบำรุงมหาวิทยาลัยเข้ามาถวาย
  6. การออกโรงทานเพื่อบริการอาหารและเครื่องดื่มให้แก่พุทธศาสนิกชน

   ในโอกาสนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางสาวสุพิชชา ชุ่มมะโน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นิสิต ป.โท พัฒนาสังคมรุ่นที่ 4 นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ผู้ประสานงานวัฒนธรรม อ.เมืองเชียงราย และนายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมงาน อำนวยความสะดวกให้แด่พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนที่เข้ามาร่วมง

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

อ.แม่สาย จัดงานเมาลิดนบี (ซ.ล) ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1445

วันที่ 1 ตุลาคม 2566 นายณรงค์พล คิดอ่าน นายอำเภอแม่สาย เป็นประธานในพิธีเปิดงานเมาลิดนบีมูฮัมหมัด ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1445 ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.00 – 15.30 น. ณ อาคารเอนกประสงค์มัสยิดอันนูร แม่สาย ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมี นายราชัน รุจิพรรณ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงานการจัดงาน นายสมจิต มุณีกร ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดอันนูร แม่สาย กล่าวต้อนรับ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวอวยพร และนายชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย กล่าวพบปะพี่น้องมุสลิมที่มาร่วมงาน และให้เกียรติมอบประกาศนียบัตรให้แก่นักเรียนผู้ผ่านการสอบอัลกุรอานขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน

      ความสำคัญของานเมาลิดดิลนบี หมายถึง วันคล้ายวันประสูติของท่านนบีมูฮัมหมัด (ซล.) ศาสดาของศาสนาอิสลาม ซึ่งตรงกับวันที่ 12 เดือนรอบีอุลเอาวัล ในห้วงเดือนดังกล่าว มุสลิมทั่วโลกจะมีการจัดงานเพื่อรำลึกถึงท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซล.) โดยการนำชีวประวัติของท่านศาสดาตั้งแต่วันประสูติจนถึงวันที่ท่านวากาฟ (ถึงแก่กรรม) มาเสนอหลากหลายรูปแบบ อาทิ การนำบทกวี (บัรซัญญี) การบรรยายธรรม เล่าชีวประวัติของท่านศาสดา เพื่อเป็นแนวทางของการดำเนินชีวิต การยกย่องวันเกิดของท่านศาสดามูฮัมหมัดทำได้โดยดำเนินการปฏิบัติในวันเกิดของท่าน คือ การถือศีลอดในวันจันทร์ การกล่าวซอลาวาตเป็นส่วนหนึ่งของการให้เกียรติยกย่อง รวมถึงปฏิบัติตามคำสั่ง ละเว้นการปฎิบัติตามคำสั่งห้ามของท่าน และดำเนินตามแบบอย่างของท่านศาสดามูฮัมหมัด การจัดงานเมาลิด เป็นประเพณีหนึ่งที่สามารถสร้างพลังขับเคลื่อนให้เกิดสันติสุขสู่พื้นที่ ถือเป็นการนำทุนทางศาสนา และวัฒนธรรม ตลอดจนทุนวิถีชีวิตของคนในชุมชนมุสลิมมาเป็นสื่อกลางในการสร้างจิตสำนึก และรำลึกถึงท่านศาสดามูฮัมหมัด รวมทั้งสร้างความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อทำสิ่งดีงามให้แกชุมชน สังคม และประเทศชาติสืบไป

     ดำเนินการจัดโดย คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดอันนูร แม่สาย เพื่อเฉลิมพระเกียรติศาสดานบีมูฮัมหมัด (ซ.ล) รำลึกถึงความดีงาม เผยแพร่จริยวัตรทางด้านศาสนาอิสลาม ให้ชาวมุสลิมนำไปปฏิบัติตามในชีวิตประจำวัน เป็นกิจกรรมวัฒนธรรมที่ทำให้ชาวมุสลิมในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียงได้มาพบปะกัน และสร้างความสามัคคีเป็นหมู่คณะ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กระทรวงวัฒนธรรม ได้เข้าร่วมงานเป็นประจำทุกปี ซึ่งการจัดงานดังกล่าวมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

  1. พิธีเปิดงานและร่วมอวยพร
  2. พิธีมอบประกาศนียบัตรให้แก่นักเรียนผู้ผ่านการสอบอัลกุรอานขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน
  3. พิธีมอบทุนให้แก่เด็กและเยาวชนมุสลิมในพื้นที่อำเภอแม่สาย จำนวน 50 ทุน
  4. งานเลี้ยงสังสรรค์รับประทานอาหารร่วมกัน
  5. การพบปะ พูดคุย ปรึกษาหารือระหว่างผู้นำมุสลิม ภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  6. การบันทึกภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก
  7. ตลาดฮาลาล จำหน่ายผลิตภัณฑ์วิถีชีวิตมุสลิม ถ่ายทอดผ่านวัฒนธรรมด้านอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เสื้อผ้า และประเพณีท้องถิ่นโดยบูรณาการเกี่ยวกับการยกระดับอำนาจละมุน (Soft Power) ตามนโยบาย 5F (Food, Fashion, Film, Festival and Fighting)

    ในโอกาสนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายวิชชากรณ์ กาศโอสถ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ (ผู้ประสานงานอำเภอแม่สาย) และนายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมเป็นเกียรติในงานฯ อวยพร แสดงความยินดี และมอบดอกไม้ประดับอันเป็นมงคลให้แก่ผู้นำศาสนาอิสลาม

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE VIDEO

ชุดการแสดง “ดนตรีเทพเจ้า”

จุดเริ่มต้นของ “พิณ เปี๊ยะ” เครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนา อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้ยินเสียง  “พิณ เปี๊ยะ”  ที่โรงละครโอเปรา ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี พ.ศ.2513 เป็นครั้งแรกของการได้ยิน ได้ฟังดนตรีชิ้นนี้ เป็นความประทับใจ หลังจากได้กลับมาที่ประเทศไทยอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้ตามหาคนที่เล่น “พิณ เปี๊ยะ” ในครั้งนั้น แต่ทราบมาว่าท่านนั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว ต่อมาได้พยายามค้นหาจึงพบว่ามีอีกท่านที่เล่นได้ดีมากๆ คือ พ่ออุ๊ย เปียโนจัง หรือ อุ๊ยคำแปง เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2444 ซึ่งอาศัยอยู่ที่เวียงเชียงราย และเลิกเล่น “พิณ เปี๊ยะ” กว่า 70 ปีแล้ว โดยหัว “พิณ เปี๊ยะ” ก็เอาไปเก็บไว้ใต้เตียง ส่วนตัวของ “พิณ เปี๊ยะ” ตัวลูกเองก็เอาไปทำเป็นด้ามมีด

               อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ยื่นข้อเสนอจะตอบแทนค่าเสียเวลาให้ พร้อมจะดูแล อุ๊ยคำแปง ถ้ากลับมาเล่น “พิณ เปี๊ยะ”

ให้เสียงกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง หลังจากพ่ออุ๊ย เปียโนจัง หรือ อุ๊ยคำแปง กลับมาสืบสาน กระทรวงวัฒนธรรมได้ให้ความสำคัญยกย่องพ่ออุ๊ย เปียโนจัง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงดนตรีพื้นบ้าน “พิณ เปี๊ยะ”  

               ไม่แปลกที่เราจะเห็นเครื่องดนตรี “พิณ เปี๊ยะ”  ในพิพิธภัณฑ์บ้านดำ ถือเป็นของรักของหวงของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ถือเป็นงานศิลปะที่ทรงคุณค่า โดยหัว “พิณ เปี๊ยะ”  นิยมทำมาจาก งาช้าง เขาสัตว์ หรือโลหะเป็นรูปหัวสัตว์ พิณเปี๊ยะมีคันทวนยาวประมาณ 1 เมตรเศษ ตอนปลายคันทวนทำด้วยเหล็กทองเหลืองเรียกว่าหัวพิณเปี๊ยะ สำหรับใช้เป็นที่พาดสาย ใช้สายทองเหลืองเป็นพื้น สายทองเหลืองนี้จะพาดผ่านสลักตรงกะลาแล้วต่อไปผูกกับสลักตรงด้านซ้าย สายของพิณเปี๊ยะมีทั้ง 2 สายและ 4 สาย กะโหลกของพิณเปี๊ยะทำด้วยเปลือกน้ำเต้าตัดครึ่งหรือกะลามะพร้าว ก็ได้เวลาดีด

ซึ่งชุดการแสดงนี้ทาง ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดอนลาว ผู้มากความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองเหนือ ทั้งดนตรีพื้นเมือง ลีลาชั้นเชิง “เจิง” และอักขระภาษาล้านนา ได้นำเสนอผลงานบรรเลงพิณเปี๊ยะ พร้อมประกอบด้วยการแสดงจากศิลปินกลุ่มเดอะไทยส์ และได้รับเกียรติจากพิชญ์ บุษเนียร ศิลปินการแสดง จ.เชียงราย ควบคุมการแสดง

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News