Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

วธ. ดูความพร้อม “Thailand Biennale” งานศิลปะทั่วโลก รวมไว้ที่เชียงราย

 

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมแทนคุณแผ่นดิน ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง  นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้า และหารือโครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ซึ่งกำหนดจัดในช่วงระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 ณ จังหวัดเชียงราย

 

 

โดยมีนายพลภูมิ  ภิวัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ จินตโสภณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และคณะ ,ดร.ธนกฤษฏ์ เอกโยคยะ รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เข้าร่วมหารือ

 

 

        สำหรับในส่วนจังหวัดเชียงราย นำโดยนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย, นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงราย,นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย, นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย, ดร.ณัฐวุฒิ  ยอดสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, ดร.อดิเทพ  วงค์ทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, นาวาอากาศตรีสมชนก เทียมเทียบรัตน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เชียงราย, ผู้แทนสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงราย, ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย, ผู้แทนสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 เชียงราย, ผู้แทนสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงราย, ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย, ผู้แทนสำนักงานเทศบาลนครเชียงราย, นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย, ผู้แทนสมาคมขัวศิลปะ เข้าร่วมหารือ โดยมีสื่อมวลชนร่วมทำข่าวประชาสัมพันธ์

 

 

       หลังจากการประชุมหารือ คณะฯ ได้ลงพื้นที่บริเวณหอศิลป์เมืองเชียงราย (Chiangrai International Art Museum : CIAM) เพื่อเยี่ยมชมและเตรียมความพร้อมของสถานที่ ซึ่งเป็นสถานที่จัดพิธีเปิดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 โดยจะมีพิธีเปิดในวันที่ 9 ธันวาคม 2566

 

 

        ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้มอบหมายให้นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมด้วยบุคลากร ร่วมอำนวยความสะดวกและร่วมการประชุมดังกล่าว

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : พัชรนันท์ แก้วจินดา รายงาน สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด 

วรพล จันทร์คง : ภาพ 

อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI TRAVEL

“กาดหมั้ว คัวเงิน คัวเขิน” เปิดตัว ‘ตลาดบก’ สืบสานวัฒนธรรมไทย

 
นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดตลาดบกวัฒนธรรม สืบสานวัฒนธรรมไทย ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ “กาดหมั้ว คัวเงิน คัวเขิน ชุมชนวัดศรีสุพรรณ ชุมชนวัดหมื่นสาร และชุมชนวัดนันทาราม” (ย่านวัวลาย) โดยมี นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวรายงาน และ นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ จัดในวันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 ณ ตลาดวัฒนธรรมวัดศรีสุพรรณ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

 กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะกรรมการ 3 วัด 3 ชุมชน ดำเนินงานโครงการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรม “การสร้างเสริมอัตลักษณ์ชุมชน อัตลักษณ์ไทย สู่เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม : 10 ตลาดบก 6 ตลาดน้ำ สืบสานวัฒนธรรมไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชน จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ผ่านตลาดบกและตลาดน้ำ และตลาดวัฒนธรรมชุมชนวัดศรีสุพรรณ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับคัดเลือกให้เป็นตลาดบกที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชน อัตลักษณ์ไทย สู่เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยมีนายสุรพล เกียรติไชยากร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

 

วัฒนธรรมจังหวัด 16 จังหวัดภาคเหนือ ผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายทางวัฒนธรรม ผู้นำชุมชน สื่อมวลชน และประชาชนเข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

  1. การแสดงศิลปวัฒนธรรม ชุด “กึกก้องเภรี นาฏยดนตรี วิถีกาดบก ชุมชนวัดศรีสุพรรณ” โดย วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่
  2. พิธีตอกดุนลายแผ่นโลหะ โดย พ่อครูดิเรก สิทธิการ ศิลปินแห่งชาติ
  3. ประธานในพิธีมอบของที่ระลึกให้แก่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
  4. พิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้สนับสนุนการขับเคลื่อนตลาดบกฯ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่

         4.1 พ่อครูดิเรก สิทธิการ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (งานสลักดุนเครื่องเงินและโลหะ) พุทธศักราช 2565 ผู้แทนชุมชนคุณธรรมวัดศรีสุพรรณ

        4.2 ดร.อุไร ไชยเสน ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  1. ประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรให้แก่ทูตวัฒนธรรม จำนวน 12 คน
  2. การแสดงศิลปวัฒนธรรม ชุด “ฟ้อนคัวเงินงาม” โดย นักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดศรีสุพรรณ
  3. การสาธิตภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและเยี่ยมชมตลาด โดยมี พระครูพิทักษ์สุทธิคุณ (สุพล สุทธฺสีโล) เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ เมตตาบรรยายให้ข้อมูลสำคัญ
  4. กิจกรรมขันโตกล้านนา กาดหมั้ว เครื่องเงิน เครื่องเขิน ของฝาก และของที่ระลึก
  5. การแสดงดนตรีพื้นเมืองล้านนา
  6. สักการะพระพุทธปาฏิหาร์ (พระเจ้าเจ็ดตื้อ) และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  7. กิจกรรมนั่งรถราง”ชมงานศิลป์เยือนถิ่นวัวลาย” 3 วัด 3 ชุมชน
  8. การออกร้านอาหารพื้นเมือง เมนูเชิดชูอาหารถิ่น “ตำจิ้นแห้ง”

 

     นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นางสุภัสสร ประภาเลิศ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางสาวณพิชญา นันตาดี นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายจิรัฏฐ์ ยุทธ์ธนประวิช นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายวรพล จันทร์คง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นางสาวสุทธิดา ตราชื่นต้อง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และ นายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานฯ และประชาสัมพันธ์การจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale Chiang Rai 2023 ซึ่งจะมีขึ้น ณ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 9 ธ.ค.2566 ถึง 30 เมษายน 2567 ในงานดังกล่าวด้วย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

วัฒนธรรมเชียงราย ร่วมประชุมไทยแลนด์ เบียนนาเล่ 2023 เหนือสุดของประเทศไทย

 

วันนี้(23 ต.ค.) การประชุมคณะกรรมการอำนวยโครงการการจัดมหกรรมศิลปร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale ,Chiang Rai 2023 ครั้งที่ 1/2566

 

        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ครั้งที่ 1/2566 วันที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 14.30 น. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2554 นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ จินตโสภณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ศูนย์ประชุมกระทรวงวัฒนธรรม ชั้น 8 อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting

 

      ในการนี้ นายพิสันต์  จันทร์ วัฒนธรรมจังหวัด นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัด นางวรางคณา อุ่นบ้าน ผอ. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย นายสถินะ เพ็ชรจู หัวหน้างานพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว แทนนายเทศมนตรีนครเชียงรายพร้อมเจ้าหน้าที่ร่วมประชุมผ่านระบบซูม ณ ห้องประชุมอูหลง ศาลากลางจังหวัดเชียงราย

 

         ที่ประชุมร่วมปรึกษา หรือเพื่อเตรียมการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ดังนี้

     1.รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

     2.ร่วมหารือการเตรียมความพร้อมของพิธีการและขั้นตอนต่างๆ ในพิธีเปิดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023    

     3.นายพุฒิพงษ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้แจ้งต่อที่ประชุมในประเด็นหารือที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณในพิธีเปิดงานฯ และการจัดงานมหกรรมฯ รวมถึงประเด็นข้อเสนอแนะอื่นที่มีเกี่ยวข้องการจัดงานฯ

  1. นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้แจ้งต่อที่ประชุมในประเด็นหารือแผนด้านขนส่งสาธารณะบริการตลอดการจัดมหกรรมฯ

     5.ร่วมหารือและขอความร่วมมือบูรณาการหน่วยงานต่างๆในการดำเนินงานโครงการมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

     6.รับทราบแผนการประชาสัมพันธ์งานมหกรรมศิลปะร่วมสมัย Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 และทิศทางการดำเนินงานต่อไป

 

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมาย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และข้าราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมประชุมดังกล่าว มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ครั้งที่ 3 ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 กำหนดจัดในพื้นที่เหนือสุดของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ภายใต้แนวคิด “เปิดโลก (The Open World)” ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – 30 เมษายน พ.ศ. 2567

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา,นิติกร ปันแก้ว : รายงาน

นิติกร ปันแก้ว วรพล จันทร์คง  : ภาพ

อภิชาติ กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

30 หน่วยงาน คลอด 12 แนวทาง ชวนแต่งผ้าไทย-ชุดท้องถิ่นลอยกระทง

 

30 หน่วยงานร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทงปี 2566 ยิ่งใหญ่ คลอด 12 แนวทาง ขอความร่วมมืออนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรมอันดีงาม เน้นปลอดภัย ไม่ดื่ม ชวนแต่งผ้าไทย-ชุดท้องถิ่นลอยกระทง เผยแพร่ความรู้ ดึงชาวต่างชาติเที่ยวไทย สร้างรายได้เข้าประเทศหนุนนโยบาย THACCA  เตรียมเสนอยูเนสโกขึ้นทะเบียน “ประเพณีลอยกระทง”มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติปี 67

 

                นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ได้มีการประชุมคณะกรรมการการบูรณาการการกำหนดแนวทางการจัดงานประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช 2566 ครั้งที่ 1/2566 เป็นที่น่ายินดีว่า ปีนี้มีผู้แทนหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง 30 หน่วยงาน เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์  โดยที่ประชุมได้รับทราบนโยบายของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในการขับเคลื่อนงานประเพณีที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล(Thailand Creative Content Agency -THACCA) ในการสร้างการรับรู้งานเฟสติวัลของไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ  และนโยบายของ วธ. ในการส่งเสริมคุณค่าเทศกาลประเพณีของชาติและเทศกาลอื่นๆด้านวัฒนธรรมให้เป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ปีนี้ขอความร่วมมือทุกหน่วยงานทั่วประเทศร่วมเป็นเจ้าภาพที่ดี สร้างความประทับใจ อำนวยความสะดวก ความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ให้เกิดความประทับใจกลับมาท่องเที่ยวไทยอีก

 

นายเสริมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับปีนี้มีสถานที่จัดงานทั้งในกรุงเทพฯ เช่น วัดอรุณราชวราราม คลองผดุงกรุงเกษม คลองโอ่งอ่างและต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ สุโขทัย เชียงราย พระนครศรีอยุธยา ร้อยเอ็ด นครศรีธรรมราช สมุทรสงคราม เป็นต้น ที่ประชุมเห็นด้วยในการขอความร่วมมือไม่เล่นพลุ ดอกไม้ไฟ ประทัดยักษ์  รณรงค์ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่จัดงานประเพณีลอยกระทงและขณะขับขี่ยานพาหนะ การควบคุมป้องกันโรคติดต่อ  การประดิษฐ์กระทงด้วยวัสดุในท้องถิ่นหรือวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เชิญชวนคนไทยแต่งไทยหรือชุดท้องถิ่นมาร่วมงานประเพณีลอยกระทงและการประชาสัมพันธ์งานทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆ 

 

นายเสริมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า  ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมประเพณีลอยกระทง   ในปี 2566 ครอบคลุมในประเด็นคุณค่าสาระของวัฒนธรรมประเพณี วิถีอัตลักษณ์ท้องถิ่น การท่องเที่ยวและสุขภาพ ตลอดจนความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดังนี้ 1. จัดกิจกรรมเน้นคุณค่าและสาระของวัฒนธรรม ประเพณี การท่องเที่ยวและสุขภาพ โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ความหลากหลายของแต่ละท้องถิ่น  2. ส่งเสริมให้จังหวัดต่างๆ ร่วมจัดกิจกรรมทางศาสนา ความเชื่อ ในประเพณีลอยกระทงอย่างเหมาะสม 3. รณรงค์ให้ประชาชนสืบสานคุณค่าสาระและสิ่งที่ควรทำของประเพณีลอยกระทง รักษาความสะอาดแม่น้ำ ลำคลอง ประดิษฐ์กระทงด้วยวัสดุในท้องถิ่นหรือวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาหรือความเชื่อที่นับถือ 4. สนับสนุนศิลปินพื้นบ้านในการจัดกิจกรรมการละเล่น และการแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น และการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น 5. ผู้เข้าร่วมงาน ควรคำนึงถึงหลักสิทธิ มนุษยชน เช่น การไม่คุกคามทางเพศ การไม่เล่นประทัด พลุ ดอกไม้ไฟในที่สาธารณะ และการไม่สร้าง ความวุ่นวายหรือความเดือดร้อนต่อผู้อื่นในที่สาธารณะ เป็นต้น 6. ขับขี่ยานพาหนะและใช้ถนนหนทางให้ปฏิบัติตาม กฎหมาย กฎจราจรอย่างเคร่งครัด รวมถึงช่วยสอดส่อง หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ในกรณีพบเห็นผู้ที่ปฏิบัติตนไม่เหมาะสม 7. การดำเนินการจัดงานตามคำแนะนำในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด โรคติดเชื้อของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด และการรักษาความปลอดภัยในด้านอื่น ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8. ส่งเสริมภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณีลอยกระทงทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และระหว่างประเทศ 9. ส่งเสริมภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ในการเผยแพร่คุณค่าสาระของประเพณีลอยกระทงที่แท้จริงของต่อชาวต่างชาติ 10.ส่งเสริมในการสร้างความตระหนักรู้ ต่อประชาชนเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงในประเทศไทยในฐานะที่เป็นมรดกภูมิปัญญาของชาติ สร้างความภาคภูมิใจและหวงแหนในประเพณีลอยกระทงต่อประชาชน 11. รณรงค์ให้ประชาชนสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทยในการเข้าร่วมกิจกรรม ประเพณีลอยกระทง เช่น แต่งกายด้วยชุดสุภาพผ้าไทย ผ้าท้องถิ่น หรือชุดไทยที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละ ท้องถิ่น เป็นต้น 12. ส่งเสริมกิจกรรมที่มีความสร้างสรรค์ที่สามารถพัฒนาต่อยอดคุณค่าสาระลอยกระทง เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของชุมชนและของประเทศ โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชน และยังคงอัตลักษณ์ของความเป็นท้องถิ่น

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ วธ. จะมีการเก็บข้อมูลเทศกาลประเพณีลอยกระทงในประเทศไทยเตรียมเสนอขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  (ยูเนสโก)  ในปี 2567 ด้วย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

เริ่มแล้ว 9 ประเทศอาเซียนร่วมเทศกาล อาเซียนปันหยี ที่อินโดนีเซีย

 

เริ่มแล้ว 9 ประเทศอาเซียนร่วมเทศกาลอาเซียนปันหยี หรือ “อิเหนา” ที่อินโดนีเซีย วธ.ขับเคลื่อนงานด้านการต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาททางวัฒนธรรมของไทยในเวทีอาเซียนใน ASEAN Panji Festival 2023 วันที่ 7 – 28 ตุลาคมนี้ ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ฉลองในวาระครบรอบ 6 ปี ในการขึ้นทะเบียนปันหยีเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World: MOW)

 

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายกรมศิลปากรในการส่งคณะศิลปินนักแสดงเข้าร่วมจัดการแสดงปันหยี หรืออิเหนา ในงานเทศกาลอาเซียนปันหยี 2023  ระหว่างวันที่ 7 – 28 ตุลาคม 2566 ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย) ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม การวิจัย และเทคโนโลยี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 6 ปี ในการขึ้นทะเบียนปันหยีเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World: MOW) อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมร่วมของภูมิภาค ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ความสำคัญทางวัฒนธรรม รูปแบบการนำเสนอและเทคนิคการแสดง การแต่งกายและดนตรี รวมถึงพัฒนาการและความท้าทายร่วมของวรรณกรรมปันหยีโดยผู้เข้าร่วมเทศกาล ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียนจาก 9 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม 

 

ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า อิเหนา เป็นวรรณกรรมที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังคงเป็นวรรณกรรมสำคัญที่ใช้สำหรับจัดทำการแสดงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังเป็นวรรณกรรมร่วมที่แพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถสะท้อนคติ ความคิดความเชื่อ ค่านิยมของสังคม ขนบประเพณีของแต่ละประเทศ การส่งศิลปินนักแสดงเข้าร่วมเทศกาลดังกล่าวจึงเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และความเข้าใจในการนำเสนอปันหยีหรืออิเหนาผ่านการแสดงและการตีความตามบริบทของแต่ละประเทศ รวมถึงจะเป็นการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการด้านงานสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงในอนาคต ตามแนวนโยบายของกระทรวงวัฒนธรรมในการมุ่งพัฒนาและเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมกับต่างประเทศ และการส่งเสริมบทบาททางวัฒนธรรมของไทยในเวทีโลก

 

ในโอกาสนี้ นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้เข้าร่วมพิธีเปิดและรับชมการแสดงอาเซียนปันหยี ในวันที่ 13 ตุลาคม 2566 ณ เมืองยอกยาการ์ตา โดยกล่าวว่า สำนักการสังคีต กรมศิลปากรได้ร่วมส่งศิลปินนักแสดงหญิง จำนวน 6 คน ร่วมจัดการแสดงในเทศกาลอาเซียนปันหยี 2023 โดยการแสดงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การแสดงรายประเทศ และการแสดงรวมประเทศ (Finale) โดยประเทศไทยได้รับมอบหมายให้จัดการแสดงในตอน พิธีมงคลสมรสของปันจี อีนูเกอร์ตาปาตี (Panji Inukertapati) กับกาลุห์อาเยง (Galuh Ajeng) ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องตอนที่ไม่ปรากฏในวรรณกรรมอิเหนาของประเทศไทย จึงเป็นการประดิษฐ์ท่ารำตีบทตามเนื้อเรื่องของประเทศอินโดนีเซีย และใช้เสียงเพลงจากวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการรำตีบทเพื่อสื่อความหมายในการดำเนินเรื่องในรูปแบบละครใน โดยในส่วนของการแสดงรวมประเทศ (Finale) นางสาวศรีสุคนธ์ บัวเอี่ยม นาฏศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้รับคัดเลือกจากผู้กำกับการแสดงให้รับบท ปันจี อีนูเกอร์ตาปาตี หรือ อิเหนา ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่อง นับเป็นเกียรติสำหรับประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง การแสดงอาเซียนปันหยีจะดำเนินการจัดการแสดงไปยังอีก 4 เมือง ได้แก่ เกดิรี สุราบายา มาลัง และสุราการ์ตา (โซโล) รวมถึงกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Workshop) ระหว่างศิลปินนักแสดงอาเซียนร่วมกับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ตลอดทั้งเดือนตุลาคมนี้

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

อ.เฉลิมชัย รีเทิร์นช่วยงาน เบียนนาเล่ จ.เชียงราย

 
วันนี้ (4 ต.ค.) ที่ศาลาธรรม วัดร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย เป็นตัวแทนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดที่ จ.เชียงราย ระหว่างเดือน ธ.ค.2566-เม.ย.2567 ได้เข้าพบกับอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิติพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย อาจารย์สุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ จ.เชีงราย เพื่อขอให้อาจารย์เฉลิมชัยได้กลับมาร่วมเตรียมความพร้อมและจัดงานดังกล่าวให้สำเร็จ
 
 
นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แจ้งว่าทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และผู้ที่เกี่ยวข้องล้วนขอให้อาจารย์เฉลิมชัยกลับมาด้วย ซึ่งทางอาจารย์เฉลิมชัยได้ตอบรับด้วยดีและรับพวงมาลัยดอกไม้พร้อมระบุว่าเป็นความตั้งใจของตนที่จะกลับมาช่วยหลังจากที่มีเรื่องการเมืองจนทำให้มีการเปลี่ยนแปลง และเห็นว่าถึงเวลาที่จะกลับมา
 
 
อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวว่า ผู้คนอาจจะคิดว่าศิลปะก็เหมือนๆ กันทั่วไป แต่ตนอยากบอกว่าศิลปะก็เหมือนกับแฟชั่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแล้วแต่ยุคสมัยและมีระดับ เช่น แฟชั่นชั้นนำ ฯลฯ ซึ่งการจัดงานเบียนนาเล่คือการนำศิลปะแฟชั่นชั้นนำ และล่าสุด รวมทั้งคัดสรรที่สุดยอดที่สุดของโลกมาจัดแสดง โดยมีศิลปะชั้นยอดจากประเทศไทยจากศิลปินในประเทศมาจัดแสดง 20 คน และศิลปินชั้นนำจากทั่วโลกอีก 40 คน ซึ่งตนยืนยันแต่ละคนล้วนมีความสุดยอด ล้ำยุค และล้ำหน้า จึงขอเชิญชวนไปงานกันได้ตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค.2566-เม.ย.2567
 
 
“มาเชียงรายแล้วได้ความรู้สึกดีๆ บรรยากาศดีๆ ได้เสพงานศิลปะชั้นสูงสุดยอดระดับโลกที่นี่ โดยที่วัดร่องขุ่นจะมี 2 ชิ้น และที่หอศิลป์ที่ผมสร้างอย่างใหญ่โตจะมีงานศิลปะเยอะมากรวมทั้งยังมีตามอำเภอต่างๆ อีก ดังนั้นงานนี้หายห่วงแน่นอน ผมมาช่วยอย่างเต็มตัวแล้วอุตส่าห์มาเชิญกัน หลังจากผมเครียดจนผมไม่เอาด้วยแต่แท้ที่จริงอยู่เบื้องหลังตลอด พอผมดูแล้วว่าอยู่เบื้องหลังมันไปไม่รอดแน่ก็ขอมาอยู่เบื้องหน้าก็แล้วกัน 
 
ผมเป็นคนรักเชียงรายอยู่แล้ว ผมคิดว่ายังไม่สายเกินไป” อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวและว่าผู้ที่มีความรู้ของศิลปินในโลกจะคัดสรรศิลปินที่สุดยอดจากหลากหลายที่ในโลก เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อาร์เจนติน่า บังกาเลีย คาซัคสถาน สหรัฐอเมริกา บราซิล ฯลฯ แต่ละคนจะจัดแสดงผลงานศิลปะที่แปลกใหม่ทุกแนว เกิดจากความคิด งดงาม หลากหลาย ปรัชญา เนื้อหา แปลกใหม่ ฯลฯ อย่างที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน
 
อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวอีกว่า รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดงานครั้งนี้มากถึง 100 กว่าล้านบาท และจะมีผู้ชื่นชอบงานศิลปะทั่วโลกไปเยือนเพื่อดูผลงานศิลปินที่ตนชื่นชอบซึ่งจะทำให้เกิดเงินสะพัดอย่างมหาศาล แม่แต่ศิลปิน 40 คน ก็ล้วนมีผู้ติดตามที่ร่ำรวย การจัดงานจึงกลายเป็นซอร์ฟพาวเวอร์อย่างแท้จริง ส่วนคนไทยสามารถดูเพื่อภูมิรู้ การศึกษา ความสุนทรยภาพ ยกระดับความรู้สึก นำพาไปสู่การตื่นตัวทางศิลปะ ฯลฯ เพื่อให้ทัดเทียมกับอารยประเทศต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

“พิสันต์” นำทีมเชียงรายรับโล่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดีเด่น 2566

 

       เมื่อวันที่ 2 – 3 ตุลาคม 2566 กระทรวงวัฒนธรรมจัดโครงการถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม “21 ปี กระทรวงวัฒนธรรม นำคุณค่า พัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ” โดยกิจกรรมวันที่ 2 ตุลาคม 2566 ประกอบด้วย

       การประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมฯ ในหัวข้อ 1) การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมขององค์กรเครือข่าย 2) การนำทุนทางวัฒนธรรมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านการจัดงาน “วิถีถิ่น วิถีไทยและการยกระดับเทศกาลประเพณีสู่ระดับชาติและนานาชาติ 3) การขับเคลื่อนนโยบาล 1 ครอบครัว 1 Soft Power 4)เหลียวหลังแลหน้าในภารกิจพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน และ 5) ทุนทางวัฒนธรรมพลังขับเคลื่อนชุมชน สังคมและประเทศ

        การประชุมมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สู่ก้าวที่มั่นคงด้วยพลังสร้างสรรค์ และพิธีมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ โดยมี นายเสริมศักดิ์  พงษ์พานิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมและมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติรางวัลวัฒนธรรมคุณานุสรณ์, รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น, รางวัลสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดีเด่น, รางวัลกลุ่มอำนวยการศพที่ได้รับพระราชทานดีเด่น, รางวัลการประกวดสื่อ Infographic ภายใต้หัวข้อ “วธ. โปร่งใส รวมใจต้านโกง” นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม บรรยายหัวข้อแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงวัฒนธรรม “10 เปิดวัฒนธรรมสร้างพลังแห่งอนาคต” และการบรรยายของส่วนราชการและองค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม

     โดยมีผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด ประธานสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร วัฒนธรรมจังหวัด ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้ได้รับรางวัลวัฒนธรรมคุณานุสรณ์เข้าร่วมกิจกรรม

       ทั้งนี้  สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายได้รับโล่รางวัลสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566 โดย นายพิสันต์  จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นผู้รับมอบโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

       วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เวลา 07.00 น. จัดพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทำบุญบำเพ็ญกุศลทางศาสนา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงวัฒนธรรม ครบรอบ 21 ปี โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธี หร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารระดับสูง วธ. ผู้มีเกียรติ วัฒนธรรมจังหวัด/ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด 76 จังหวัด/ประธานสภาวัฒนธรรมเขต กทม. ข้าราชการ/บุคลากร วธ. ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหาร วัฒนธรรมจังหวัด และเครือข่ายทางวัฒนธรรมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมแสดงความยินดี

       วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เวลา 13.30 น. จัดพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม “วัฒนคุณาธร” ประจำปี พ.ศ. 2566 รางวัลวัฒนธรรมวินิต และรางวัลเด็กและเยาวชน Young Smart : Young ทำดี ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมี นายพลภูมิ  วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีมอบโล่รางวัลเชิดชูเกียรติฯ ดังกล่าว โดยจังหวัดเชียงรายมีผู้ได้รับโล่รางวัลวัฒนคุณาธร ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 3 ราย ได้แก่

          ประเภทเด็กหรือเยาวช

  • นายสงกรานต์ บุญทวี  นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชุมชนคุณธรรมวัดดอนจั่น ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

          ประเภทบุคคล

  • นางสาวจำเนียร พรหมบุตร  ครูโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

           ประเภทนิติบุคคลหรือคณะบุคคล ได้แก่

  • ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเมืองรวง ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ 10 สุดยอด เที่ยวชุมชนยลวิถี ประจำปี 2565 ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

       ในการนี้ นายพิสันต์  จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพัชรนันท์  แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางพรทิวา  ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นางสาวกฤษยา  จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ นายภัทรพงษ์  มะโนวัน หัวหน้ากลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน และข้าราชการผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ ดังกล่าว และร่วมแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลวัฒนคุณาธร ประจำปี 2566

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

เชียงราย 3 ปีซ้อน หลังวัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน ถูกเลือกเป็น 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ ปี 66

 

วันที่ 20 ก.ย. 2566 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มุ่งขับเคลื่อนการดำเนินโครงการชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร เน้นใช้ “พลังบวร” เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชน และได้ดำเนินการส่งเสริมพัฒนาชุมชนคุณธรรมฯ ในระดับต่าง ๆ รวมจำนวนกว่า 27,000 ชุมชน ทั่วประเทศ ในปี 2566 นี้ วธ. จึงดำเนินโครงการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปี 2566 มุ่งเน้นยกระดับชุมชนคุณธรรมฯ สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อคัดเลือกชุมชนคุณธรรมฯ ที่มีศักยภาพ และความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ จำนวน 10 ชุมชน จากชุมชนคุณธรรมฯ ทั่วประเทศ เพื่อประกาศยกย่อง เชิดชูเกียรติ สร้างขวัญกำลังใจแก่ชุมชนและผู้ในการสนับสนุนการขับเคลื่อน พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดและขยายผลความสำเร็จไปยังชุมชนที่ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้อยู่ดีมีสุข ดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม ปลุกกระแสการท่องเที่ยววิถีชุมชน สร้างโอกาส สร้างรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ต่อไป

นายเสริมศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกดังกล่าว อาทิ การมีผู้นำชุมชนเป็นศูนย์กลางบริหารจัดการชุมชนที่ดี สมาชิกมีส่วนร่วมจัดกิจกรรม หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด (สวจ.) มีส่วนร่วมขับเคลื่อน มีอัตลักษณ์ของชุมชนมีความโดดเด่น อาทิ เป็นชุมชนที่มีความเชื่อหรือประวัติศาสตร์ชุมชนเป็นที่น่าสนใจ มีสถานที่ สถาปัตยกรรม หรืออื่นๆ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว มีวัฒนธรรมและประเพณีที่สร้างประสบการณ์ร่วมให้กับนักท่องเที่ยวสนุกสนาน น่าสนใจ สร้างความประทับใจ มีศิลปะการแสดง ผลิตภัณฑ์ชุมชน สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน มีภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้ที่สามารถถ่ายทอดให้กับคนในชุมชน รวมถึงอาหาร การบริการการท่องเที่ยว มีนักเล่าเรื่อง/ผู้นำทางแนะนำอัตลักษณ์ของชุมชนได้ เส้นทางคมนาคมที่สะดวก ง่ายต่อการเข้าถึง มีรถรับจ้าง รถสาธารณะบริการในชุมชน ตลอดจนที่พัก/โฮมสเตย์มีมาตรฐาน สะอาด สวยงาม เป็นต้น

 

สำหรับผลการคัดเลือกดังกล่าว ปรากฏว่าผลการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปี 2566 จำนวน 10 ชุมชน ซึ่งเป็นชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ และมีผลการดำเนินงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ มีดังนี้

1.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดท่าขนุน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

2.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านปากน้ำชุมพร ต.ปากน้ำ อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร

3.ชุมชนคุณธรรมฯวัดพระธาตุผาเงา ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

4.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

5.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านฟ้าหยาด ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชัยชนะ จังหวัดยโสธร

6.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดบ้านหงาว ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง

7.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านท่ามะขาม ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

8.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

9.ชุมชนคุณธรรม ฯ บ้านท่าฉลอม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 10.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านโนนกอก ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

“ขอแสดงความยินดีแก่ 10 ชุมชนทีได้รับรางวัล ถือเป็นชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ ซึ่งทางกระทรวงวัฒนธรรมพร้อมสนับสนุน และจะประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ชุมชนได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ดึงดูดนักท่องเที่ยว ตลอดจนประชาชนเดินทางมาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และมุ่งหวังให้การท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” จะสามารถสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” รมว.วธ. กล่าว

ทั้งนี้ จะมีพิธีมอบโล่ ให้แก่ผู้แทน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 2566 และลงพื้นที่เปิดชุมชนที่ได้รับคัดเลือกแต่ละแห่ง ในช่วงปลายปี 2566 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ และเป็นโมเดลต้นแบบขยายไปสู่ชุมชนอื่น ๆ ต่อไป

 

ซึ่งทางเพจ สวท. เชียงราย ได้โพสต์แจ้งข้อมูลว่า จังหวัดเชียงราย คว้า 3 ปีซ้อน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 66 ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ทั้งนี้ ตลอดสามปีที่ผ่านมา จังหวัดเชียงราย ได้รับการพิจารณาให้เป็น สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ต่อเนื่องทั้งสามปี โดย

ปี 2564 ได้แก่ ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย 

ปี 2565 ได้แก่ ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเมืองรวง จังหวัดเชียงราย 

และปี 2566 ล่าสุด ได้แก่ ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ทุกท่านสามารถเที่ยววัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

โดยมีรายละเอียดค่าบริการ
1.มีค่าบริการรถรับส่งท่านละ 30 บาท ขึ้น/ลง
2. แล้วก็บัตรเข้าชมสกายวอล์คท่านละ 40 บาท
เข้าขึ้นชมฟรี! สำหรับ
– ผู้สูงอายุ 80 ปี
– เด็กส่วนสูงไม่เกิน 120 เซนติเมตร
– พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
หมายเหตุ : คุณครูโรงเรียนถ้าจะพานักเรียนมา ทัศนศึกษาให้ทำใบขอมาก่อนล่วงหน้า แล้วก็แต่งกายใสชุด ประจำโรงเรียน
 
ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โทร 0612081998
เปิดให้เข้าชมสกายวอล์ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 07.30 น.
เวลาปิดทำการ : 17.30 น.
 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์ / คนเก็บภาพ แม่สาย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

เปิด “กาดไตลื้อ” คึกคัก ด้วยมนต์เสน่ชาวไตลื้อ

 
วันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับชุมชนศรีดอนชัยไทลื้อ อำเภอเชียงของ เทศบาลตำบลศรีดอนชัย สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โรงเรียนเชียงของวิทยาคม และเครือข่ายวัฒนธรรม ได้ผนึกความร่วมมือเปิดตลาดวัฒนธรรมชุมชน “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” ภายใต้โครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการเริ่มต้น จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
 
ชุมชนศรีดอนชัยไทลื้อ เป็นพื้นที่ชุมชนและท้องถิ่นที่มีศักยภาพ มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม “ไทลื้อ” ที่เด่นชัด จึงได้มีแนวคิดเปิดพื้นที่ตลาดใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนมีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม กิจกรรมการแสดง บริการ ที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ผ่านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว และเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำมาสู่ความภาคภูมิใจ รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน โดยมุ่งหวังที่จะให้ตลาดวัฒนธรรมชุมชน “กาดไตลื้อ” เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นที่น่าจดจำทั้งชาวเชียงราย ชาวไทยและต่างประเทศ โดยคณะกรรมการฯ ร่วมพัฒนาตลาดวัฒนธรรมชุมชนของเราในนามชื่อ “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” กำหนดจัดตลาดทุกวันเสาร์แรกของเดือนนับแต่เดือนกันยายน 2566 นี้เป็นต้นไป
 
กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย ของเรามีแนวคิดในการพัฒนาเป็นตลาดวัฒนธรรม “เสน่ห์ศรีดอนชัยไตลื้อ มนต์ขลัง ที่ยังมีชีวิต” ให้เป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สนใจมาเยือน ดังคำกล่าวของชาวศรีดอนชัยที่ได้กล่าวไว้ว่า “มาศรีดอนชัย เหมือนได้ไปสิบสองปันนา” สำหรับในวันนี้ ถือเป็นปฐมฤกษ์อันดี จึงได้เปิดตัว “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” อย่างเป็นทางการ เพื่อให้รับรู้และเป็นที่รู้จักแพร่หลายต่อไปในวงกว้าง กิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วย
 
เวทีเสวนา “เสน่ห์ศรีดอนชัยไตลื้อ มนต์ขลัง ที่ยังมีชีวิต” ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย พระครูสุจิณวรคุณ เจ้าคณะตำบลศรีดอนชัย นายวิรุฬห์ สิทธิวงศ์ นายอำเภอเชียงของ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสลักจฤฏดิ์ ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย และนายสมชาย วงค์ชัย ประธานคณะกรรมการดำเนินงานชุมชนโครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ชุมชนศรีดอนชัยไทลื้อ ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมี นายสุตนันท์ จำปาทอง เป็นผู้ดำเนินรายการ https://fb.watch/mPClJt5l6g/
 
พิธีเปิดตัวตลาดวัฒนธรรมชุมชน “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” อย่างเป็นทางการ โดยมีนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวเปิด นายสมชาย วงค์ชัย ประธานคณะกรรมการดำเนินงานชุมชนฯ กล่าวรายงาน ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมนายวิรุฬห์ สิทธิวงศ์ นายอำเภอเชียงของ ได้ทำสัญลักษณ์เปิดกาดไตลื้อพร้อมกัน ภายในกาดไตลื้อ มีแสดงศิลปวัฒนธรรม อาทิ การฟ้อนลื้อลายเจิง การตีกลองสะบัดชัย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายสาธิตผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม CPOT อาหารพื้นถิ่น พืชผัก ผลไม้ ของชาวศรีดอนชัย พร้อมนี้พ่อค้าแม่ขาย ผู้ประกอบการ ผู้ร่วมงาน และนักท่องเที่ยว ร่วมกันแต่งกายด้วยชุดไทลื้อ ชุดพื้นถิ่น พร้อมหิ้วตะกร้ามาร่วมกิจกรรมเป็นการสร้างบรรยากาศเสน่ห์ที่ยังมีมนต์ขลังของชาวไทลื้อศรีดอนชัยได้อย่างน่าประทับใจยิ่ง https://fb.watch/mPCljEVJYA/
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจรับชมบรรยากาศย้อนหลัง สามารถติดตามผ่านเพจเฟซบุ๊ค “กาดไตลื้อ”
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

กฤษยา จันแดง, สุพรรณี เตชะตน : รายงาน
ก้อนหินในน้ำ, เชียงของทีวี, หนึ่ง เจ้าขุน : ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการ
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ENTERTAINMENT

วธ. มอบโล่เชิดชูละครน้ำดี “ละครมาตาลดา”

 
วธ. มอบโล่เชิดชู “ละครมาตาลดา” เป็นละครน้ำดี พร้อมถอดบทเรียนเป็นละครส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว ดึงเด็กพร้อมครอบครัวร่วมกิจกรรม MEET & GREET With IDOL : บอกรักให้โลกรู้ ร่วมกับศิลปินชื่อดัง-อินฟูเอนเซอร์ เชื่อมสัมพันธ์-สานพลังเครือข่ายพัฒนาครอบครัว
 
วันที่ 26 สิงหาคม 2566 นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกิจกรรมถ่ายทอดถอดบทเรียนและมอบโล่เชิดชูเกียรติแก่ผู้จัดละครและนักแสดงจากเรื่อง มาตาลดา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม MEET & GREET With IDOL : บอกรักให้โลกรู้ โดยมีนางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม คณะผู้จัดละครและนักแสดง จากเรื่องมาตาลดา อาทิ ยศสินี ณ นคร ผู้จัดละคร  กกกร เบญจาธิกุล นักแสดง ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เข้าร่วม ณ หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ภายในงานมีกิจกรรมพูดคุยกับศิลปินไอดอลในรูปแบบ Talk Show เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ส่งเสริมสถาบันครอบครัวและวัฒนธรรมไทย และ Live ผ่านเพจ Facebook กระทรวงวัฒนธรรม 
 
ปลัดวธ. กล่าวว่า ละครเรื่อง มาตาลดา เป็นละครที่ส่งเสริมการมีบทบาทในการปลูกฝังค่านิยม และวัฒนธรรมที่ดี ตลอดจนสร้างสัมพันธภาพอันดีในครอบครัว วธ. จึงขอมอบโล่เชิดชูเกียรติเพื่อขอบคุณ และเป็นกำลังใจให้กับคณะผู้จัดละครและนักแสดง ที่ได้ผลิตสื่อที่ดีและมีคุณภาพส่งเสริมการมีบทบาทในการปลูกฝังค่านิยม และวัฒนธรรมที่ดี เพื่อสร้างสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนสร้างสัมพันธภาพอันดีในครอบครัว รวมทั้งได้มีการถอดบทเรียนจากละครดังกล่าว ถือเป็นการสนับสนุน Soft Power ละครไทยให้มีคุณภาพและเป็นตัวอย่างที่ดีของวงการละครไทย
 
ปลัดวธ.กล่าวอีกว่า สำหรับกิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อ
เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวผ่านมิติทางวัฒนธรรม ทำกิจกรรมแบบ Exclusive กับศิลปินที่วัยรุ่นชื่นชอบ อาทิ การสัมภาษณ์พูดคุยเรื่องราวครอบครัวของศิลปิน workshop ร่วมกับศิลปินในโซน Happy กินดี วิถีไทย โดยจะร่วมทำข้าวมัน – ส้มตำ ขนมผกากรองและม้าฮ่อ (ของกินที่อร่อยและหายาก) และโซน Happy ทำดี วิถีไทย สาธิตงานประดิษฐ์กุหลาบใบเตยสื่อรัก และเชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ร่วมกันผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่ลงในช่องทางออนไลน์ โดยผู้ที่มียอดไลค์สูงสุดจะได้รับของรางวัลและของที่ระลึก 
 
“กิจกรรมนี้ถือเป็นการส่งเสริม สนับสนุนและเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีงามให้เป็นที่แพร่หลายในสังคม ตลอดจนการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้กับคนในชาติ ได้เห็นความสำคัญของการสานสัมพันธ์ในครอบครัว รวมทั้งการขับเคลื่อนเครือข่ายในการส่งเสริมพัฒนาครอบครัวคุณธรรม เนื่องจากครอบครัวเป็นสถาบันหลักในการเสริมสร้างและปลูกฝังค่านิยม วัฒนธรรม คุณธรรมและจริยธรรมที่พึงประสงค์ให้แก่เด็ก เยาวชน และครอบครัว ผ่านกระบวนการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมตามแนวคิดครอบครัวเข้มแข็งและจะดำเนินการขับเคลื่อนการกิจกรรมสานสัมพันธ์ครอบครัวอย่างต่อเนื่องต่อไป”ปลัดวธ. กล่าว 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News