Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

งดงาม “เชียงราย เลอค่า” สืบสาน พัฒนา ต่อยอด มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

 
วันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 18.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย “เชียงราย เลอค่า” โดยได้รับเกียรติจาก นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงาน ผศ.ดร.สุทัศน์ คล้ายสุวรรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวต้อนรับ
 
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย นางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ผศ.ยิ่งศักดิ์ เพชรนิล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงราย นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย นางสาวภาณี จันทร์ตัน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย นายสุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน สภาวัฒนธรรม 18 อำเภอ ผู้ประกอบการอาหารและผ้า และประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายกว่า 500 คน ร่วมงานดังกลาว
 
 
โดยมีการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย
1. บูธจัดแสดงและสาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และ 1 อำเภอ 1 เมนูเชิดชูอาหารถิ่น โดยเครือข่ายสภาวัฒนธรรมอำเภอ 18 อำเภอ บูธเครือข่ายวัฒนธรรมระดับจังหวัด บูธนิทรรศการเชิดชูผลงานคนดีศรีเชียงราย ประจำปี พ.ศ. 2566
 
2. เวทีเสวนา หัวข้อ “อาหารอัตลักษณ์เชียงราย เลอค่าสู่การสร้างสรรค์เศรษฐกิจ” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายวรพงศ์ ผูกภู่ ผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม รศ.มาลี หมวกกุล ประธานสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นางสาวยุวินิตย์ ทิศสกุล ผู้จัดการร้านสบันงาขันโตก เชียงราย และดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.รณิดา ปิงเมือง ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
 
3. พิธีเปิดงาน “เชียงราย เลอค่า”
 
4. พิธีมอบโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติ “คนดีศรีเชียงราย” ประจำปี 2566 โดยได้รับเกียรติจาก นางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นผู้มอบโล่ให้แก่คนดีศรีเชียงราย จำนวน 6 ท่าน 6 สาขามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ดังนี้
(1) สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา ได้แก่ นายถาวร อุ่นเจริญ
(2) สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นางบัวลอย โชติสิริพัชญ์
(3) สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล ได้แก่ นายภัทรพงศ์ วงศ์เชียงปล้อง
(4) สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ได้แก่ นายธวัช เลียลา
(5) สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ได้แก่ นายณัฐวุฒิ ดอนลาว
(6) สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ได้แก่ นายรัตน์ เผ่าปินตา
 
5. การเดินแบบ “อัตลักษณ์อาภรณ์นครเชียงราย” โดยเครือข่ายทางวัฒนธรรม
 
6. การยกระดับอาหารอัตลักษณ์นครเชียงราย “Local สู่เลอค่า” ในรูปแบบ Fine dining และ
 
7. การแสดงทางวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ ตลอดการจัดกิจกรรม
 
จังหวัดเชียงราย มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีวัฒนธรรมและมีองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการสั่งสมมาและสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และยังคงปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน โดยเฉพาะภูมิปัญญาด้านอาหารและอาภรณ์ที่มีอัตลักษณ์และโดดเด่นเป็นเสน่ห์ทางวัฒนธรรมที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัด นำไปสู่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน และสังคมได้ต่อไป
 
 
สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และเครือข่ายวัฒนธรรมในพื้นที่ระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด จัดงาน “เชียงราย เลอค่า” ขึ้น ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นพื้นที่ในการนำเสนออัตลักษณ์อาหารถิ่นของชาวเชียงราย ๑๘ อำเภอ และอาภรณ์อันงดงามวิจิตรด้วยกลิ่นอายความหลากหลายชาติพันธุ์ของชาวเชียงราย จาก Local สู่เลอค่า ให้ได้ปรากฏสู่สายตาของชาวเชียงราย และชาวไทยผ่านการจัดกิจกรรมในงานฯ ซึ่งมีการถ่ายทอดสดออนไลน์ผ่านช่องทาง Face Book อีกช่องทางหนึ่ง https://fb.watch/nehW20xwQU/?mibextid=5MEvZV
 
 
วัตถุประสงค์ในการจัดการงาน เพื่อส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดเชียงราย ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา ต่อยอด และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคม โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคสถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงราย 
 
ให้เป็นไปตามนโยบายของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในด้านการสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายทางวัฒนธรรมในประเทศและต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา ต่อยอด และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคม ผ่านวัฒนธรรมเชิงสัญลักษณ์ 5F (Food/ Fashion/ Fighting/ Film/Festival) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสร้างสรรค์สินค้าและบริการ (Creative Culture) เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการทางวัฒนธรรม และทำให้เกิดความยั่งยืน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชนและท้องถิ่นต่อไป
 
ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางสาวกฤษยา จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ นักวิชาการวัฒธรรมผู้ประสานงานอำเภอ บุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัด คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมปฏิบัติงาน500
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงรายต้อนรับ คณะผู้บริหาร ทม.ลำพูน

 
วันที่ 22 กันยายน 2566 เวลา 11.00 น. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย พร้อมด้วยนายทัศพงษ์ สุวรรณมงคล เลขานุการ นายก อบจ.เชียงราย ดร.ศราวุธ สุตะวงค์ ผอ.โรงเรียน อบจ.เชียงราย คณะผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียน อบจ.เชียงราย และหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมให้การต้อนรับคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากร จากเทศบาลเมืองลำพูน 
 
นำโดยนายประภัสร์ ภู่เจริญ นายกเทศมนตรีเมืองลำพูน ในการเข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียน อบจ.เชียงราย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาภายในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน
.
พร้อมกันนี้ นายก อบจ.เชียงรายได้นำเสนอนวัตกรรมการบริหารการศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน “ห้องเรียนออนไลน์ (Online) สําหรับการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นศักยภาพผู้เรียนรายบุคคล 19 โปรแกรม ตามแนวทาง Thinking School ซึ่ง อบจ.เชียงราย ได้รับรางวัล อปท.ที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปี 2565 และได้นำคณะฯ เยี่ยมชมการเรียน การสอน ของระดับชั้นต่าง ๆ ของโรงเรียน อบจ.เชียงราย ให้คณะฯ ได้เห็นบรรยากาศภายในห้องเรียนอย่างแท้จริง 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงราย ดันนโยบายโฮงยาใกล้บ้าน หนุนงบพัฒนาเครือข่ายการให้บริการฝึกพูด

 

วันที่ 22 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาเครือข่ายการให้บริการฝึกพูดในผู้ป่วยที่มีภาวะเสียงการสื่อความ (Aphasia) ในชุมชน ณ ห้อ ประชุม 9A ชั้น 9 อาคารแพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

โดยมีนายแพทย์ศุภเลิศ เนตรสุวรรณ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ นายแพทย์ชวน ชีพเจริญรัตน์ หัวหน้ากลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ร่วมให้การต้อนรับ และรายงานวัตถุประสงค์การจัดอบรมฯ ในครั้งนี้ด้วย
.
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยหน่วยฝึกพูด แผนกโสต ศอ นาสิก วิทยา ให้การดูแลผู้ป่วยที่มีความพิการด้านการสื่อความหมาย ทั่วทั้งจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียง พบผู้ป่วยด้านนี้เป็นจำนวนมาก โดยภาวะเสียการสื่อความ หรือ Aphasia เป็นความบกพร่องด้านการสื่อสาร ทำให้ผู้พิการไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด หรือเข้าใจแต่ไม่สามารถพูดหรือแสดงความต้องการของตนเองได้ ซึ่งภาวะ Aphasia สามารถบำบัดรักษาฟื้นฟูได้ 
 
แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางของผู้พิการ รวมทั้งนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ มีจำนวนเพียง 2 ท่าน จึงไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นการบำบัดฟื้นฟูจึงต้องอาศัยเครือข่ายการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ โดยเฉพาะในระดับ รพ.สต. จึงได้จัดโครงการฯ ในครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการการฝึกพูดได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น อบจ.เชียงราย โดยกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดเชียงราย ได้สนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงการฯ ทั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์วิชรพยาบาล มหาวิทยาลัย นวมินทราธิราช และโรงพยาลศูนย์ขอนแก่น
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

“ทรงศรี” เปิดงานวันนัดพบเกษตรกร “กาดต้มโป่ง ฮอมสุข”

 
วันที่ 22 กันยายน 2566 เวลา 11.00 น. นางทรงศรี คมขำ รองนายก อบจ.เชียงราย พร้อมด้วย นายประเสริฐ ชุ่มเมืองเย็น รองประธานสภา อบจ.เชียงราย ร่วมพิธีเปิดงานวันนัดพบเกษตรกร ประจำปี พ.ศ. 2566 “กาดต้มโป่ง ฮอมสุข” ตลาดเขียว ณ ลานกิจกรรมน้ำพุร้อนป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย โดยมี นายวรายุทธ ค่อมบุญ นายอำเภอแม่จัน เป็นประธานในพิธีเปิด และนายณฐกรณ์ ใจรังสี นายก อบต.ป่าตึง นพ.ดร. ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เข้าร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ด้วย
 
ทาง อบต.ป่าตึง ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ได้กำหนดจัดงานวันนัดพบเกษตรกร ประจำปี พ.ศ. 2566 “กาดต้มโข่ง ฮอมสุข” ตลาดเขียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมตลาดเขียว ให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีโอกาสได้สื่อสารและ สนับสนุนกัน เกิดการเรียนรู้การบริหารจัดการด้านการเกษตร ที่รับผิดชอบต่อตนเอง ผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การเพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภคเข้าถึงแหล่งอาหารปลอดภัย ส่งเสริมเกษตรกรให้มีการดำรงชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
 
โดยในงานมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การจำหน่ายสินค้า พืช ผัก ผลไม้ อาหารปลอดภัย อาหารแปรรูป อาหารพื้นบ้านตามฤดูกาล ที่มีคุณภาพดีและปลอดสารพิษ นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการความรู้และงานบริการ ด้านวิชาการของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ศิลปะการละเล่นและดนตรีพื้นบ้าน เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 24 กันยายน 2566 ณ ลานกิจกรรมน้ำพุร้อนป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

พิธีวางพวงมาลาถวายสักการะ เนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2566

 

วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม MD-1519 ชั้น 15 อาคารสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายรามิล พัฒนมงคลเชฐ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยข้าราชการ พนักงาน องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และประชาชน นำพวงมาลาถวายสักการะ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เนื่องในวันที่ 24 กันยายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ถือเป็น “วันมหิดล” ซึ่งเป็นวันที่ปวงชนชาวไทยทั้งปวง ร่วมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีคุณูปการต่อประเทศชาติ ในฐานะ “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” 

 

โดยได้ทรงอุทิศทั้งพระราชทรัพย์ พระวรกายและพระสติกำลัง เพื่อการเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ อีกทั้งได้ทรงพัฒนาการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงให้แก่การแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย ให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ต่อมานอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านต่างๆ อาทิ การศึกษาการต่างประเทศ การทหารเรือ และศิลปะ ซึ่งเป็นมรดกอันล้ำค่าที่ก่อให้เกิดคุณูปการต่อประเทศชาติมาจวบจนปัจจุบันตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ 

 

โดยที่ไม่ทรงยินยอมให้พระอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์ อันสูงยิ่งของพระองค์มาขวางกั้นการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ตามพระปณิธานที่ทรงมุ่งมั่นอยู่ในอุดมการณ์ที่ให้ความสำคัญต่อการเชิดชูชีวิต ศักดิ์ และฐานะของบุคคลในฐานะที่เป็นมนุษย์ ซึ่งได้นำความปลื้มปีติ และภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชาชนคนไทย ด้วยปรากฏต่อมาภายหลังว่า อุดมการณ์ที่พระองค์ทรงยึดถือปฏิบัตินี้ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศเป็นหลักการข้อหนึ่งของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน คริสต์ศักราช 1954 และด้วยพระราชกรณียกิจข้อนี้ รวมถึงด้านอื่น ๆ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้มีมติร่วมกับประเทศไทย ในการเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องในโอกาสมหามงคล วันคล้ายวันพระราชสมภพ 100 ปี ของพระองค์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2535 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณที่ได้ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ อันเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นมาอย่างต่อเนื่อง

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

คลองสวย น้ำใส เชียงรายจัดกิจกรรม ร่วมมือจิตอาสา พัฒนาคูคลอง

 

เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 66 เวลา 09.00 น. กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา ขุดลอกคลอง ปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ  ณ บริเวณสี่แยกแม่กรณ์ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย โดยมทบ.37 ร่วมกับเทศบาลนครเชียงราย เป็นผู้จัดกิจกรรม มีข้าราชการทหาร ตำรวจ และประชาชนจิตอาสาเข้าร่วม จำนวน 120 คน

 

โดยมีพ.อ. รัตนสิทธิ์  แจ่มรัตนกุล จอส.904 มทบ.37 และ พ.อ. เกียรติอุดม นาดี รองเลขานุการ ศอ.จอส.พระราชทาน มทบ.37 พร้อมด้วย กำลังพล ศอ.จอส.พระราชทาน มทบ.37 ได้นำยุทโธปกรณ์ บูรณาการร่วมกับส่วนราชการ และประชาชนจิตอาสา ในพื้นที่ จ.เชียงราย เข้าร่วมกิจกรรม จิตอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ขุดลอกคลอง ปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ ณ บริเวณสี่แยกแม่กรณ์ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย มุ่งส่งเสริมให้มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงทัศนียภาพ  เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ได้อย่างยั่งยืน ทั้งยังส่งผลให้ประชาชนเกิดความรักความสมัครสมานสามัคคี ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ประกอบกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์สุขของชุมชนส่วนรวม

 

และยังมี สภ.เมืองเชียงรายเข้าร่วมโดยจัดข้าราชการตำรวจจิตอาสา เข้าร่วมทำกิจกรรมขุดลอกคูคลอง บริเวรแยกแม่กรณ์ และตามคูคลองจุดสำคัญที่ตื้นเขิน หรือมีวัชพืชน้ำขึ้นปกคลุมขวางทางน้ำ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำเอ่อล้นเข้าบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ทั้งสองฝั่งคูคลองในช่วงฤดูฝน

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ถนนคนข่าว

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เปิดโครงการมหกรรมเยาวชนท้องถิ่นร่วมส่งเสริมสวัสดิภาพทุกมิติ

วันที่ 20 ก.ย. 2566 ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการมหกรรมเยาวชนท้องถิ่นเชียงราย เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2566 โดยมีนางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน อาจารย์ สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงราย และนักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง

นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์ของโลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดปัญหาที่ซับซ้อนแก่เด็กและเยาวชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความรู้ไม่เท่าทันสื่อออนไลน์ และภัยสังคมที่มีเข้ามาทุกรูปแบบ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนที่ยังไม่ตรงจุด ซึ่งการจัดโครงการฯ ในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงรายให้ครอบคลุมทุกมิติ สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนากับกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยเปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้มาแสดงความสามารถ ผ่านกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น การประกวดชุดแฟชั่นโชว์ การประกวดเดินแบบ การแข่งขันประกวดออกแบบโปสเตอร์ Chiang Rai Creative City of Design การแข่งขันประกวดร้องเพลงสตริงคอมโบ และการแข่งขันความรู้ ความสามารถทั่วไป
 
นางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายได้เล็งเห็นความสำคัญของเยาวชนในจังหวัดเชียงราย ซึ่งการจัดกิจกรรมครั้งนี้ทำให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมผนึกกำลังกันอย่างแข็งขัน ในการสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน อีกทั้งเด็กและเยาวชนยังเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนาได้รับความรู้ที่เหมาะสม ดังนั้นทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมมือกัน ในการสร้างสรรค์สังคม สิ่งแวดล้อมให้เป็นที่ปลอดภัย ส่งเสริมสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนในทุกมิติ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับโอกาสทางการศึกษา สวัสดิการที่เหมาะสม มีพื้นที่แสดงออกในทางที่ถูกต้อง ตระหนักในหน้าที่รับผิดชอบ เห็นคุณค่าของตนเอง ตลอดจนห่างไกลยาเสพติดและอบายมุขต่อไป
 
ภายในงานมีกิจกรรมการออกบูธนิทรรศการและนวัตกรรมสร้างสรรค์ การแข่งขันการประกวดชุดแฟชั่นโชว์ กิจกรรมการแข่งขันความรู้ความสามารถทั่วไป การประกวดวงสตริงคอมโบ การประกวดเดินแบบ การมอบเกียรติบัตรให้กับบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ และองค์กรผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน การมอบเกียรติบัตรแก่เยาวชนดีเด่น ในวันเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2566 พร้อมทั้งได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างจังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ส่วนราชการ อำเภอ ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการผลักดันส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาและได้รับความรู้ที่เหมาะสม เจริญเติบโตเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศต่อไป
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เชียงราย จัดพิธีรำลึก 3 ผู้กล้า ยุคคอมมิวนิสต์เต็มเมือง

วันที่ 20 ก.ย. 2566 ที่อนุสรณ์สถาน 3 ผู้กล้า ณ บ้านห้วยกว้าน ม.9 ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ชายแดนไทย-สปป.ลาว นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้นำคณะข้าราชการตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ฯลฯ ประกอบพิธีทางศาสนา วางพวงมาลาหน้าอนุสรณ์สถาน 3 ผู้กล้า เนื่องในโอกาสครบรอบวันสูญเสียผู้กล้า ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงที่ถูกกลุ่มคอมมิวนิสต์ยิงเสียชีวิตที่บริเวณบ้านห้วยกว้าน

 
โดยนายศรัณยูได้นำวางพวงมาลาหน้าอนุสรณ์สถานของนายประหยัด สมานมิตร อดีตผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย พล.ต.ท.ศรีเดช ภูมิประหมัน อดีต ผกก.ภ.เชียงราย และ พล.ท.จำเนียร มีสง่า อดีตผู้ช่วยหัวหน้ากองข่าว กองทัพภาคที่ 3 ซึ่งได้เสียชีวิตจากกรณีดังกล่าว
 
 
สำหรับเหตุการณ์เสียสละของสามผู้กล้าดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2513 ช่วงที่ยังมีปัญหาด้านผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ดังนั้นนายประหยัด พล.ต.ท.ศรีเดช และ พ.อ.จำเนียร ซึ่งมีหน้าที่ในขณะนั้นจึงได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยการพยายามเจรจาให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มอบตัวต่อทางราชการ โดยนัดหมายการเจรจาเอาไว้เรียบร้อย แต่ขณะเดินทางผ่านหมู่บ้านดังกล่าวเพื่อจะไปเจรจาได้ถูกคนร้ายซุ่มโจมตีจนชีวิ
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

นายกฯ เยือนด่านแม่สาย เชียงราย รับหารือจีนแก้ส่งออกผลไม้แม่น้ำโขง

 

เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2566 ที่ผ่านมาด่านพรมแดน อ.แม่สาย จ.เชียงราย สะพานข้ามลำน้ำสายแห่งที่ 1 ชายแดนไทย-เมียนมา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีระกุล รมว.กระทรวงมหาดไทย และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางไปรับฟังสถานการณ์การค้าชายแดน และอื่นๆ โดยมีนายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายนำหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนเข้านำเสนอปัญหาครบครัน ทั้งนี้เมื่อนายเศรษฐาไปถึงได้เดินพบปะกับเจ้าหน้าที่ และชาวบ้านที่แตกต่างด้วยหลากหลายชาติพันธุ์โดยบางส่วนได้ยื่นหนังสือขอให้มีพิจารณาสัญชาติ และชาวคะฉิ่นจากบ้านป่ายาง ต.แม่สาย ได้มอบดาบขาวคะฉิ่นให้กับนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงออกถึงความเป็นผู้ใหญ่ที่ดูแลประชาชน นอกจากนี้ยังมี จากน้้นนายเศรษฐาได้เข้ารับฟังข้อเสนอ ณ ห้องประชุมด่านพรมแดนดังกล่าว

.
ซึ่งนายอนุรัตน์ อินทร ที่ปรึกษาหอการค้า จ.เชียงราย ได้นำเสนอว่าการค้าชายแดนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปีโดยปี 2565 เพิ่มขึ้น 30% โดยมีมูลค่การค้ารวมกว่า 97,000 ล้านบาทกับประเทศจีน เมียนมา และ สปป.ลาว แต่ปัจจุบันประสบปัญหาการค้าทางเรือแม่น้ำโขงเพราะท่าเรือกวนเหล่ยซึ่งเป็นเมืองท่าหน้าด่านของจีนยังไม่มีพิธีสารเพื่อรับสินค้าประเภทผลไม้จากท่าเรือ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย จึงขอให้รีฐบาลและกรมวิชาการเกษตรช่วยผลักดันเพื่อให้อนาคตการส่งออกผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด ฯลฯ สามารถส่งไปยังประเทศจีนได้ทางเรือซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าในปัจจุบันที่ต้องขนส่งทางบกผ่านประเทศเมียนมาและ สปป.ลาว
.
นอกจากนี้เสนอให้ตั้งตลาดพืชผักที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ชายแดนไทย-สปป.ลาว เพื่อแก้ปัญหาพืชผักจากจีนส่งตรงไปยังตลาดไทย จ.ปทุมธานี แล้วค่อยกระจายไปยังตลาดย่อยในประเทศ ซึ่งที่เชียงของกำลังมีรถไฟเชื่อมไปถึงและใน สปป.ลาว ยังมีการสร้างถนนมอเตอร์เวย์เชื่อมไปถึงจีนซึ่งจะใช้ระยะทางเพียง 180 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 90 นาที จากเดิมที่ใช้ถนนอาร์สามเอซึ่งไกลประมาณ 280 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางร่วม 6-8 ชั่วโมง ขณะเดียวกันเสนอให้ผลักดันโครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงแสน เชื่อมกับเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว เพราะฝั่งลาวมีเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำที่กำลังมีเศรษฐกิจเติบโต ทั้งนี้หอการค้า จ.เชียงราย ยังเสนอให้มีการออกวีซ่าเมื่อมาถึงหรือออนอะไรวัลให้กับชาวเมียนมา สร้างถนนมอเตอร์เวย์เชื่อมเชียงราย-เชียงใหม่ และแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยลดการปลูกข้าวโพดและส่งเสริมปลูกกาแฟรวมทั้งประสานกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดการเผาด้วย
.
ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้รับปากจะนำข้อเสนอทั้งหมดไปพิจารณาโดยระบุว่า จ.เชียงราย เป็นจุดยุทธศาสร์การค้าที่สำคัญที่สุดอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยมีทั้งการค้าชายแดนที่สามารถเติบโตขึ้นได้อีก การท่องเที่ยว การเกษตร ฯลฯ จึงทำให้ตนเดินทางไปเยือนเป็นแห่งแรกๆ นับตั้งแต่เป็นนายกรัฐมนตรี กระนั้นข้อเสนอบางอย่างก็ต้องนำไปพิจารณาก่อนและการพัฒนาก็ไม่ได้มุ่งไปที่ด้านเศรษฐกิจอย่างเดียวแต่ต้องพิจารณาเรื่องสังคมความเป็นอยู่ของประชาชนด้วย
.
นายเศรษฐา กล่าวว่าเนื่องจากงบประมาณมีจำกัดดังนั้นคงจะดำเนินการตามข้อเรียกร้องทั้งหมดไม่ได้ เช่น มอเตอร์เวย์เชียงราย-เชียงใหม่ เพราะมีถนนสายเดิมอยู่แล้วและทางภาครัฐและเอกชนควรนำไปหารือกันอีกครั้ง ส่วนกรณีวีซ่าออนอะไรวัลก็มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงไม่เฉพาะของประเทศไทยแต่เกี่ยวข้องกับประเทศเมียนมาด้วยจึงต้องพิจารณาเรื่องนี้ให้ดี กระนั้นการส่งเสริมการค้าชายแดนนั้นรัฐบาลจะให้ความสำคัญอย่างเต็มที่โดยเฉพาะทราบว่ามีมิติใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น สินค้าอาหารที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์เป็นที่นิยมของตลาดประเทศเพื่อนบ้านโดยที่แม่สายขายดีรองจากกรุงเทพฯ เลยทีเดียว ส่วนข้อเสนอเกี่ยวกับประเทศจีนนั้นทางคณะรัฐบาลจะเดินทางไปยังประเทศจีนในวันที่ 7-9 ต.ต.นี้ ซึ่งก็จะได้ผลักดันให้มีหน่วยงานระดับมณฑลของจีนเข้าร่วมเพื่อหารือเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าวต่อไป.
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

ค้านสร้างโรงไฟฟ้าขยะ พื้นที่ ต.ป่าหุ่ง หวั่นมลพิษ

 
วานนี้ (13 ก.ย. 66) ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย ประชาชนชาว ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย เข้ายื่นหนังสือ เรื่อง ขอคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าขยะ ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง เพื่อขอพิจารณาออกคำสั่งระงับโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ขนาดกำลังผลิต 9.9 เมกะวัตต์ งบประมาณก่อสร้างประมาณ 2,000 ล้านบาท คาดมีผลกระทบกว่า 11 หมู่บ้าน ซึ่งมีพี่น้องชาวอำเภอพานมารวมตัวกันกว่า 200 คน
 
นางสาวอรวรรณ บุญปั๋น แกนนำกลุ่มผู้คัดค้าน กล่าวว่า มีนายทุนมากว้านซื้อที่ดินของชาวบ้านไปกว่า 130 ไร่ โดยตอนแรกชาวบ้านไม่ทราบว่านายทุนจะนำไปก่อสร้างเป็นอะไร จนมาทราบในภายหลังว่ามีแผนจะก่อสร้างเป็นโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะ ซึ่งคนในอำเภอพานไม่ได้ทราบข้อมูลเรื่องโครงการดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้รับรู้อย่างทั่วถึง และพื้นที่ดำเนินการโครงการดังกล่าวอยู่ใกล้ชุมชน ใกล้วัดโบราณสถาน โรงเรียน แหล่งน้ำ พื้นที่เกษตรกรรม รวมถึงหวั่นผลกระทบต่อวิถีชุมชน และกล่าวต่อไปว่าโรงไฟฟ้าขยะไม่ใช่สิ่งที่ชุมชนต้องการ ชุมชนรอบด้านไม่ได้มีปัญหาเรื่องการจัดการขยะ ชาวบ้านสามารถจัดการกับขยะในชุมชนตนเองได้ ไม่ต้องการนำเข้าขยะจากภายนอกเข้ามาในชุมชน หากโรงไฟฟ้าขยะเกิดขึ้นมา ผลกระทบที่ตามมามากมายมหาศาลได้ จึงเข้ายื่นหนังสือคัดค้านดังกล่าว ฯ ให้จังหวัดเชียงรายได้รับทราบ และช่วยยุติโครงการ เพื่อพี่น้องประชาชนในอำเภอพาน
 
ในช่วงเวลาเดียวกันที่ห้องประชุมจอมกิตติ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และนางสาวศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ให้ นายอำเภอพาน นายก อบต.ป่าหุ่ง และตัวแทนชาวบ้าน จำนวน 5 คน เข้าร่วมให้ข้อมูลโครงการ ชี้แจงความเป็นมาของโครงการดังกล่าวฯ และข้อเรียกร้องของชาวบ้าน
 
หลังจากนั้นชาวบ้านลงมายื่นหนังสือร้องทุกข์ให้กับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงรายที่ด้านหน้าศาลากลางฯ ตามลำดับ โดยมีนายนายลิขิต มีเสรี ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นผู้รับมอบหนังสือดังกล่าวฯ ตามลำดับ
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News