Categories
CULTURE

ศึกษาพื้นที่มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

ศึกษาพื้นที่มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

Facebook
Twitter
Email
Print

วันที่ 25  พฤษภาคม 2566 การศึกษาพื้นที่ (Site Visit) ในการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

 
สำนักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เดินทางไปศึกษาพื้นที่ (Site Visit) เพื่อเตรียมสร้างสรรค์ผลงานเพื่อจัดแสดงในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 โดยมีคณะทำงานศึกษาพื้นที่ นำโดย คุณกฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์, คุณมนุพร เหลืองอร่ามภัณฑารักษ์, คุณอังกฤษ อัจฉริยโสภณ ภัณฑารักษ์, คุณอรพินท์ วิพัฒนกำจร, คุณอัจจิมา กวีญาณ และคุณพชรพร ตัณฑะตะนัย พร้อมด้วยศิลปินจากต่างประเทศ คณะทำงานฯ ได้เดินทางร่วมสำรวจสถานที่ ที่จะใช้จัดแสดงผลงานในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ในช่วงเดือนธันวาคม 2566 ถึงเดือนเมษายน 2567 ซึ่งมีการลงพื้นที่สำรวจในระหว่างวันที่ 23-27 เมษายน 2566 ณ จังหวัดเชียงราย โดยในวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม 2566 คณะทำงานฯ ได้เดินทางเข้าสำรวจพื้นที่ ดังนี้
 
1. วนอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย
2. โบสถ์บ้านอธิษฐาน (ดูแลโดย บริษัท เอเชียน อินเตอร์เซอร์วิส จำกัด) อำเภอเมืองเชียงราย
3. วัดพระธาตุดอยกองข้าว อำเภอเมืองเชียงราย
 
ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้
นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางสาวสุทธิดา ตราชื่นต้อง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และนายนิติกร ปันแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ร่วมลงพื้นที่สำรวจ ประสานงาน และอำนวยความสะดวกให้แก่คณะดังกล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา , นายนิติกร ปันแก้ว, สุทธิดา ตราชื่นต้อง : รายงาน
นายสุพจน์ ทนทาน , สุทธิดา ตราชื่นต้อง : ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการ
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

ประชุมสัมมนาทิศทางการพัฒนา อนาคตของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2

ประชุมสัมมนาทิศทางการพัฒนา อนาคตของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2

Facebook
Twitter
Email
Print

วันที่ 25  พฤษภาคม 2566 เวลา 09.30 น. ณ โรงแรมทีคการ์เด้นสปารีสอร์ทเชียงราย ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (หัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเพื่อปรึกษาหารือร่วมกันในการรับฟังความคิดเห็นวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาในอนาคตของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 โดยมี นางสาวปัทมาภรณ์ จันทรคณาศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๒ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุมฯ พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นผู้แทนของจังหวัดในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน) เข้าร่วมการประชุมฯ


การประชุมฯ เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นสถานการณ์การพัฒนาของกลุ่มจังหวัด/ปัจจัยและแนวโน้มที่คาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนา และปรึกษาหารือร่วมกันต่อ (ร่าง) วัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาในอนาคตของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ให้ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยยึดยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาประเทศ นโยบายรัฐบาล ควบคู่กับการพิจารณาความสอดคล้องกับปัญหา และความต้องการของประชาชนในกลุ่มจังหวัดที่ไม่ซ้ำซ้อนกับความต้องการของประชาชนในแต่ละจังหวัด ผ่านการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัด
 
วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “สถานการณ์การพัฒนาของกลุ่มจังหวัด/ปัจจัยและแนวโน้มที่ดาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2” โดย ดร.พนม วิญญายอง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และบรรยาย หัวข้อ “(ร่าง) วัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาในอนาคตของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ระยะ 5 ปี โดย นางสาวปัทมาภรณ์ จันทรคณาศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 พร้อมทั้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมฯ แสดงความเห็นต่อประเด็นการบรรยายในหัวข้อดังกล่าว

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม และนางเพียรโสม ปาสาทัง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

พรทิวา ขันธมาลา , เพียรโสม ปาสาทัง : รายงาน
พร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ , สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย : ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

แม่บ้านมหาดไทย ลงพื้นที่ อ.พาน ติดตาม “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา”

แม่บ้านมหาดไทย ลงพื้นที่ อ.พาน ติดตาม “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา”

Facebook
Twitter
Email
Print

วันที่ 25  พฤษภาคม 2566 นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อสนับสนุนการส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม ในพื้นที่อำเภอพาน จำนวน 3 กลุ่ม โดยมีนายวุฒิกร คำมา นายอำเภอพาน พร้อมด้วยนางสิริกัลยพัชร์ จอมสว่าง พัฒนาการอำเภอพาน แม่บ้านมหาดไทยอำเภอพาน คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม OTOP ร่วมให้การต้อนรับและนำเสนอข้อมูลการดำเนินงาน

ในการนี้ นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนางสาวแสงวรรณ สมปาน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ด้วย

ในโอกาสนี้ นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย และคณะ ได้พบปะและมอบแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอและงานหัตถกรรม โดยเน้นย้ำให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้วัสดุจากธรรมชาติในการผลิต และการย้อมสีธรรมชาติ และได้มอบแบบผ้าลายพระราชทาน “ลายดอกรักราชกัญญา” แก่ผู้ประกอบการ OTOP และเชิญชวนส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม เพื่อร่วมกันสืบสาน อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำแบบลายผ้าพระราชทาน เป็นแรงบันดาลใจในการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอและงานหัตถกรรมให้สามารถสร้างรายได้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนอย่างยั่งยืน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

ประกันสังคมเชียงรายจัดประชุม สร้างความเข้าใจให้แก่นายจ้าง และผู้ประกันตน

ประกันสังคมเชียงรายจัดประชุม สร้างความเข้าใจให้แก่นายจ้าง และผู้ประกันตน

Facebook
Twitter
Email
Print

วันที่ 25  พฤษภาคม 2566 ณ ห้องสักทอง โรงแรมทีค การ์เด้น อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นางวิไลพร วงษ์อัยรา ประกันสังคมจังหวัดเชียงราย เปิดโครงการประชุมชี้แจงให้ความรู้งานประกันสังคม จังหวัดเชียงราย รุ่นที่ 3 ประจำปี 2566 โดยมีนางสาวมัณฑนา มหาบุญญานนท์ นักวิชาการแรงงานปฏิบัติการกล่าวรายงาน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยบุคลากรจากหน่วยงานราชการ และสถานประกอบการเอกชน ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงราย โดยโครงการประชุมชี้แจงให้ความรู้งานประกันสังคม ประจำปี 2566 กำหนดจัดทั้งหมดจำนวน 6 รุ่นๆ ละ 40 คน การประชุมในตรั้งนี้เป็นรุ่นที่ 3

.
นางวิไลพร วงษ์อัยรา กล่าวว่าสำนักงานประกันสังคม โดยเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์) กำหนดนโยบายขับเคลื่อนงานสำนักงานประกันสังคมสู่ความสำเร็จภายใต้แนวคิด “SSO TRUST” ได้แก่ Teamwork การทำงานทีมเดียวกัน “ครอบครัวประกันสังคม” Reform การปฏิรูปองค์กรสู่สำนักงานประกันสังคมยุคใหม่เป็นที่พึ่งให้กับผู้ประกันตนมีบริการที่สะดวกรวดเร็วประทับใจการทำงานที่โปร่งใสเป็นที่ยอมรับจากสังคม Unity มีความเป็นหนึ่งเดียวขับเคลื่อนการทำงานทิศทางเดียวกันสู่วิสัยทัศน์สปส. ยุคใหม่ “ ร่วมสร้างสรรค์สังคมแรงงานที่มีหลักประกันถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน” Smart & Smile บุคลากรในองค์กรสง่างามมีความรู้ความเป็นมืออาชีพ มีจิตบริการที่ดี บริการด้วยใจ และคุณภาพบริการที่เป็นเลิศเกินความคาดหมาย รวมถึง Technology มีระบบเทคโนโลยีสาระสนเทศที่ก้าวล้ำทันสมัย
.
นางวิไลพร กล่าวต่อไปว่า การจัดโครงการประชุมชี้แจงให้ความรู้งานประกันสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายประกันสังคมได้อย่างถูกต้อง สามารถสื่อสารและถ่ายทอดให้ผู้ประกันตน ลูกจ้าง ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของระบบประกันสังคม ทราบถึงสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนที่พึงได้รับ รวมถึงนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สำนักงานประกันสังคมได้นำมาใช้ในการพัฒนาระบบการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว ให้กับนายจ้าง ผู้ประกันตน และลูกจ้าง ทำให้การเบิกสิทธิประโยชน์ต่างๆของผู้ประกันตนและลูกจ้างเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน ตามสิทธิอันพึงจะได้รับต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

มทบ.37 ติดตั้งอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน

มทบ.37 ติดตั้งอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง  ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 66 เวลา 0800 – 1600 ร.ต.ไพบูลย์ สายหงษ์ หัวหน้าชุดประสานงานและคุ้มครองป้องกันชุมชน สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ.ธารทอง อ.เชียงแสน จว.ช.ร. จัดกำลังพลสนับสนุน นายเกียรติศักดิ์ นันตา ตำแหน่ง นักวิชาการพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ทำการขนย้ายอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อไปติดตั้ง ณ อาคารโรงผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ.ธารทอง ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน จว.ช.ร.

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

ขับเคลื่อนแผนงานตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน กอ.รมน. เชียงราย อ.เชียงแสน

ขับเคลื่อนแผนงานตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน กอ.รมน. เชียงราย อ.เชียงแสน

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 66 เวลา 09.00 น. โดย พ.อ.พักตร์พงษ์ เงสันเที๊ยะ หน.กลุ่มงานนโยบายแผนและการข่าวฯ เป็นประธาน การประชุมขับเคลื่อนแผนงานตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของ กอ.รมน.จังหวัด เชียงราย ประจำปีงบประมาณ 2566 ร่วมกับส่วนราชการ และผู้นำชุมชนในพื้นที่ อบต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จังหวัดเชียงราย  โดยการ บูรณาการ ประสานงาน แผนงาน/โครงการ ของส่วนราชการในพื้นที่  เพื่อเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่เป้าหมายเดียวกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง โดยได้เชิญ ฝ่ายปกครองอำเภอเชียงแสน, นายก อบต.ศรีดอนมูล, หน.ส่วนราชการ และผู้นำชุมชนในพื้นที่ ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม อบต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จังหวัดเชียงราย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
EDITORIAL NEWS

ความยากจนผู้สูงอายุปัญหาท้าทายของประเทศไทย

ความยากจนผู้สูงอายุปัญหาท้าทายของประเทศไทย

Facebook
Twitter
Email
Print

วันที่ 27 พฤษภาคมปีนี้ ครบรอบ 1 ปีที่มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาและเห็นชอบรายงานการศึกษาเรื่อง “แนวทางการเสนอกฎหมายบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ” โดยคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การสวัสดิการสังคม เพื่อให้สภาส่งต่อไปยังรัฐบาล ให้พิจารณาดำเนินการตามรายงานและข้อสังเกตต่อไป ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายความคุ้มครองความยากจน แหล่งรายได้ และ การบูรณาการระบบบำนาญของประเทศ เป็นต้น

ตลอด 1 ปีที่ผ่านมาได้มีเสียงสะท้อนในสังคม ทำให้ทุกท่านน่าจะตระหนักดีว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว โดยสัดส่วนของประชากรวัยทำงานกำลังลดลง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความยากจนในครัวเรือนผู้สูงอายุ

เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน รายงานธนาคารโลกเรื่อง “การลดปัญหาความยากจนของผู้สูงอายุในประเทศไทย:บทบาทของโครงการบำนาญและการช่วยเหลือทางสังคม” ปี 2555 ระบุว่า รัฐบาลมีโครงการบำนาญหลายโครงการเพื่อรับมือกับปัญหา แต่ก็ยังมีสิ่งที่ประเทศไทยสามารถจะทำได้อีกมากเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการคุ้มครองความยากจน

เนื่องจากประเทศไทยมีโครงการบำนาญอยู่ 8 โครงการ ครอบคลุมประชากรกลุ่มที่แตกต่างกัน ได้แก่ ประกันสังคม มาตรา 33 และ 39, กบข. และ บำนาญข้าราชการ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ, เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.), และ ประกันสังคม มาตรา 40 ดังนั้น การที่ไม่มีนโยบายบำนาญแห่งชาติที่ชัดเจน จึงทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและขาดการประสานงานระหว่างแต่ละหน่วยงานที่ดูแลโครงการบำนาญต่างๆ

ลักษณะสำคัญบางประการของระบบบำนาญของประเทศไทย คือ  สิทธิประโยชน์ส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้ที่ไม่ได้ยากจน, มีเพียงระบบ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” เท่านั้นที่มีความครอบคลุมผู้สูงอายุได้แบบถ้วนหน้า, หลายโครงการมีข้อจำกัดด้านกรอบกฎหมายไว้ไม่เพียงพอ ไม่มีหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแล เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือทำหน้าที่กำกับดูแลด้านการเงินโดยรวม, และ ไม่มีนโยบายบำเหน็จบำนาญระดับชาติที่มีความเชื่อมโยงกัน

รายงานธนาคารโลกฉบับดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ประเทศไทยมีโครงการบำนาญมากเกินไป จึงควรพิจารณาบูรณาการแต่ละโครงการเข้าด้วยกัน และ มีการปรับเปลี่ยนระบบบำนาญทั้งหมด โดยมุ่งเน้นที่การลดความยากจนในผู้สูงอายุ, ตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลโครงการบำนาญ, และ กำหนดความรับผิดชอบ (accountability) ที่ชัดเจนไว้ในนโยบายบำนาญรวม

อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามาพิจารณาสภาพในปัจจุบัน ปี 2566 คนจำนวนมากที่ยากไร้โอกาสตั้งแต่กำเนิด ก็ยังคงไม่มีระบบรองรับทางสังคม (social safety net) ด้านความยากจนในวัยชรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยยังไม่มีระบบการออมที่สามารถครอบคลุมทุกคนในวัยทำงาน เหมือนหลายประเทศพัฒนาแล้วที่บังคับให้ทุกคนต้องอยู่ในระบบ และ มีข้อน่ากังวลที่เบี้ยยังชีพขั้นพื้นฐานต่ำเกินไปจนไม่สามารถคุ้มครองความยากจนได้ และเป็นอัตราที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามภาวะเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ การพิจารณาเรื่องความยากจนผู้สูงอายุในมุมมองของระบบความคุ้มครองทางสังคม จำเป็นต้องตระหนักถึงปัญหาความเป็นธรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจ และ ความเหลื่อมล้ำแบบรวยกระจุกจนกระจาย เพราะคนที่เกิดมาในพื้นที่ขาดแคลน ไม่มีโอกาสทางการศึกษา ต้องทำงานเป็นแรงงานราคาถูก มีรายได้เติบโตไม่ทันค่าครองชีพ ทำงานจนเกษียณก็ไม่มีทางลืมตาอ้าปาก

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงวัยทำงานจะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ก็ได้ร่วมจ่ายภาษีผ่านการบริโภค เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการค้า ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ภาษีศุลกากร ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีเครื่องใช้ไฟฟ้า ภาษีรถยนต์ ภาษีรถจักรยานยนต์ ภาษีแบตเตอรี่ ภาษีสุราและยาสูบ เป็นต้น

ดังนั้น เราควรที่จะมีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อทำให้สังคมโดยรวมมีระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อันจะส่งผลทางบวกต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้เร็วกว่า และ ช่วยให้สังคมมีความปรองดอง ซึ่งหากใช้เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ ก็ควรที่จะใช้นโยบายการคลัง เพื่อจัดสรรให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม

ดังที่ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยให้สัมภาษณ์ว่า “ผมมองไม่เห็นทางอื่น นอกจากปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ ถ้าจะไปอย่างเต็มสูบ ไม่รื้อระบบภาษีครั้งใหญ่ ผมไม่คิดว่าจะทำได้ ทั้งหมดนี้เพื่อปูทางไปสู่แนวคิดที่ว่า ทุกคนจะต้องมีหลักประกัน ถ้ารัฐยังไม่มีกำลัง ก็ต้องมีการร่วมจ่าย … การเมืองประชาธิปไตยมันช่วยแน่ ๆ” และ คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ระบุว่า “ที่ผ่านมาคนรวยร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคนส่วนใหญ่ของประเทศน้อยเกินไป คนกลุ่มนี้ได้ผลประโยชน์มหาศาลจากคนในชาติ หากเราสามารถคำนวณ Effective Tax Rate ของคนรวยได้ เราน่าจะเห็นช่องทางในการเก็บภาษีได้อีกมาก” (โครงการวิจัย ระบบบำนาญแห่งชาติ, 2566)

ขณะนี้เรารอการผลการเลือกตั้ง ซึ่งน่าจะอีก 3-4 เดือน จึงจะรู้ว่า ใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี พรรคใดจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนโยบายบำนาญ ซึ่งข้อเสนอพรรคการเมืองที่หาเสียง มีตั้งแต่นโยบายขายฝันดีจนสื่อไม่นำไปลงข่าว ไปจนกระทั่งนโยบายที่กำหนดเป้าหมายระบบความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ พร้อมทั้งระบุแหล่งที่มาของรายได้ เช่น ตัดลดงบประมาณที่ไม่จำเป็น เพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี และ ใช้ภาษีก้าวหน้าที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ

แม้บำนาญประชาชนจะเป็นข้อเรียกร้องจากทั้งภาคประชาชน ภาควิชาการ รวมทั้งเป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในปัจจุบันที่สะท้อนความต้องการของสังคม ซึ่งภาคการเมืองให้ความสนใจอย่างจริงจัง แต่จากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันก็ประเมินได้ถึงอุปสรรคสำคัญในทางปฏิบัติ

เพราะแม้ว่ากลุ่มที่ถูกคาดหวังจากเจตจำนงของประชาชนจะให้เป็นพรรครัฐบาล มีเป้าหมายการขับเคลื่อนเรื่องนี้ แต่ยังต้องเผชิญกับเงื่อนไขและความไม่แน่นอนทางการเมืองอื่น ๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มการเมืองเดิมหรือกลุ่มอำนาจทุนเดิมบนยอดปิรามิดที่อาจเสียประโยชน์ เพราะการพัฒนาบำนาญประชาชน จะต้องมีการปฏิรูปด้านภาษีและงบประมาณ แล้วจัดสรรให้แบ่งปันทรัพยากรอย่างเป็นธรรมมากขึ้น

ท้ายสุดนี้ ผู้เขียนขอเรียนให้ทุกท่านโปรดช่วยกันพิจารณาว่า หากไม่ทำอะไรเลย งบประมาณสำหรับผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในสองทศวรรษข้างหน้า โดยส่วนมากมาจากงบบำนาญข้าราชการ ซึ่งจะเพิ่มสูงขึ้นไปพร้อมกับงบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ดังนั้น ในเมื่อประเทศไทยจำเป็นต้องมีรายรับรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น ก็ควรจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสแก้ไขปัญหาโครงสร้างของประเทศ โดยปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น และ สร้างระบบสวัสดิการเพื่อให้คุณภาพชีวิตของทุกคนดีขึ้น

 

อ่านเพิ่มเติม

การลดปัญหาความยากจนของผู้สูงอายุในประเทศไทย : บทบาทของโครงการบำนาญและการช่วยเหลือทางสังคม. ตุลาคม 2555. Brixi,Hana; Jitsuchon,Somchai; Skoufias,Emmanuel; Sondergaard,Lars M.; Tansanguanwong,Pamornrat; Wiener,Mitchell. Reducing elderly poverty in Thailand : the role of Thailand’s pension and social assistance programs (Thai). Washington, D.C. : World Bank Group.  https://documents1.worldbank.org/curated/en/355211468120870525/pdf/805270WP0THAI00Box0382091B00PUBLIC0.pdf

โครงการวิจัย “การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ” 2566. โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) https://theepakornblog.wordpress.com/2023/01/20/powerpoint_move_mountain/

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS TOP STORIES

ไล่ไทม์ไลน์ ศึกชิงประธานสภา เพื่อไทย-ก้าวไกล ใครคู่ควร

ไล่ไทม์ไลน์ ศึกชิงประธานสภา เพื่อไทย-ก้าวไกล ใครคู่ควร

Facebook
Twitter
Email
Print

ยังไม่ทันได้ตั้งรัฐบาลก็เริ่มเข้มข้น กับรัฐบาลเสียงข้างมาก 8 พรรค 313 เสียง ส่งครามโซเชียลก่อตัว สลับกันติดเทรนด์อันดับ 1 ระหว่างพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย ในการแสดงความเห็นของตัวแทนในแต่ละพรรคคุมเกมในฝ่ายนิติบัญญัติกับตำแหน่ง “ประธานสภาผู้แทนราษฎร”

ก่อนจะมาไล่เรียงถึงศึกแยกเก้าอี้ 2 พรรค นครเชียงรายนิวส์จะพามาดูว่า “ประธานรัฐสภา” สำคัญยังไง ซึ่งประธานรัฐสภาจะมีอำนาจการบรรจุญัตติเข้าสภา

ประธานรัฐสภา มีหน้าที่อะไรบ้าง
  1. เป็นประธานของที่ประชุมรัฐสภา
  2. กำหนดการประชุมรัฐสภา
  3. ควบคุมและดำเนินกิจการของรัฐสภา
  4. รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมรัฐสภาตลอดถึงบริเวณของรัฐสถา
  5. เป็นผู้แทนรัฐสภาในกิจการภายนอก
  6. แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใดๆ
  7. อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
  8. เป็นผู้นำชื่อนายกรัฐมนตรี ขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกฯ หลังสภาฯ มีมติเลือก
  9. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกฯ

ทำให้ทั้งสองพรรคมองว่าการพลักดันนโยบายสำคัญที่ได้หายเสียงเอาไว้ อย่างแรกต้องขับเคลื่อนด้วยประธานรัฐสภา จึงทำให้แต่ละพรรคออกมาแสดงว่าเห็นในครั้งนี้ เราจะไม่ไล่ไทม์ไลน์ ศึกชิงประธานสภา เพื่อไทย-ก้าวไกล ใครคู่ควร

วันที่ 23 พฤษภาคม 2566

ปิยบุตร แสงกนกกุล โพสต์เฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul – ปิยบุตร แสงกนกกุล ระบุ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ตำแหน่งที่พรรคก้าวไกลเสียไปไม่ได้เป็นอันขาดการเมือง คือ ศิลปะของการทำสิ่งที่คนเชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้

แต่เมื่อดุลกำลังอำนาจยังไม่เพียงพอ การประนีประนอมกันเพื่อรักษาสถานะความเป็นไปได้ของการทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ ก็เป็นเรื่องจำเป็นพรรคก้าวไกลมี ส.ส. 152 คน ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เพียงพรรคเดียว จำเป็นต้องตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคเพื่อไทยซึ่งมี ส.ส.141 คน เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ค่อยปรากฏในแวดวงการเมืองทั้งไทยและต่างประเทศเท่าไรนักหากพรรคก้าวไกลต้องการเป็นรัฐบาล ก็ต้องมีพรรคเพื่อไทยร่วมด้วยสถานเดียว

หากไม่มีพรรคเพื่อไทยร่วมด้วย ก็ไม่มีทางที่พรรคก้าวไกลได้เป็นรัฐบาลสองสามวันมานี้ มีข่าวปรากฏออกมาตามสื่อมวลชนว่า พรรคเพื่อไทยขอให้พรรคก้าวไกลปล่อยตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรให้กับ ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย

 

ผมเห็นว่าพรรคก้าวไกลปล่อยตำแหน่งนี้ให้กับพรรคใดๆไม่ได้การเจรจาต่อรองเพื่อกำหนดเนื้อหาใน MOU ได้ผ่านพ้นไปด้วยดี ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าพรรคก้าวไกลได้ถอยในหลายประเด็น จนเหลือแต่ประเด็นที่ทุกพรรคยอมรับได้ และยอมเพิ่มอีกหลายข้อความเพื่อให้ทุกพรรคคลายความกังวลและสบายใจมากขึ้นแล้ว

 

เมื่อถึงคราวจัดสรรกระทรวงให้แต่ละพรรค พรรคก้าวไกลก็คงต้องยินยอม “เฉือน” อีกหลายกระทรวงให้กับพรรคอื่นๆ เพื่อให้การจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ โดยเฉพาะกระทรวงที่สังคมจัดให้เป็นเกรด A โดยพิจารณาจากงบประมาณและโครงการ “เป็นเนื้อเป็นหนัง”

 

เมื่อถึงช่วงเขียนนโยบายของรัฐบาลเพื่อแถลงต่อสภา พรรคก้าวไกลก็ต้องประสานเอาความต้องการของทุกพรรคเข้ามาไว้ด้วยกัน

 

สภาพการประนีประนอม การเจรจาต่อรอง ระหว่างพรรคการเมือง และการยอมถอยให้พรรคการเมืองอื่น จะดำเนินเช่นนี้เรื่อยไปตลอดระยะเวลาของรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่เรื่องประหลาดในทางการเมือง และเป็นเรื่องปกติในรัฐบาลผสม

 

ปัญหามีอยู่ว่า พรรคก้าวไกลจะต้องถอยจนถึงเมื่อไร ต้องยินยอมถึงขนาดไหน เพื่อให้ทุกพรรคพอใจและตั้งรัฐบาลได้? และไปต่อได้? ผมเห็นว่า การประนีประนอม การเจรจาต่อรองของพรรคก้าวไกล จะต้องไม่ไปถึงขนาดที่ยกตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรให้กับ ส.ส.พรรคอื่น

 

โดยทั่วไป ประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็มาจาก ส.ส.ของพรรคอันดับที่หนึ่งอยู่แล้วกรณีสมัยที่แล้ว เป็นข้อยกเว้นอย่างยิ่ง เพราะ จำนวน ส.ส.ซีกรัฐบาลมีมากกว่าอีกฝ่ายไม่กี่เสียง ทำให้พรรคพลังประชารัฐต้องยอมเสียตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรให้พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อแลกกับการสนับสนุนประยุทธ์

 

ในเมื่อครั้งนี้ ใครๆต่างก็บอกว่า ประสงค์จะให้การเมืองไทยกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ดังนั้น กฎเกณฑ์ในการเมืองไทยที่ใช้กันในสภาวะปกติ ก็ต้องถูกนำมาปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็น รัฐบาลเสียงข้างมาก รัฐบาลรวมเสียงได้กว่า 300 ก็ถือว่ามากพอแล้ว รวมไปถึง ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฏร ต้องมาจาก ส.ส.ของพรรคอันดับหนึ่ง

 

นอกจากนี้ นโยบายของพรรคก้าวไกลที่ใช้รณรงค์หาเสียงจนได้คะแนนมากกว่า 14 ล้านเสียง หลายเรื่องต้องผลักดันผ่านสภา ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ จึงจำเป็นต้องมี ส.ส.ของพรรคตนเองทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคุมวาระและญัตติ

 

กล่าวจำเพาะกรณีการนิรโทษกรรมในคดีความผิดเกี่ยวกับการแสดงออกทางการเมือง และการแก้ไข ป อาญา มาตรา 112 (ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้ไม่อยู่ใน MOU และไม่อยู่ในวาระร่วมหรือนโยบายของรัฐบาลแน่ๆ) พรรคก้าวไกลก็ต้องใช้กลไกสภาในการผลักดัน หากไม่ได้ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรมา ก็อาจประสบปัญหาอุปสรรคได้

 

มิพักต้องกล่าวถึง พรรคก้าวไกลต้องมีคนของตนเองทำหน้าที่ประธารสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคุมเกม ใช้และตีความข้อบังคับการประชุม และกำหนดทิศทางในการประชุมเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยการประนีประนอมและการเจรจาทางการเมือง เป็นเรื่องเข้าใจได้ในการตั้งรัฐบาลผสมแต่การถอยถึงขนาดยอมยกตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรให้พรรคอื่น เป็นเรื่องเข้าใจไม่ได้หวังว่าพรรคก้าวไกลจะพิจารณาประเด็นนี้ให้ถ้วนถี่

 

 

วันที่ 24 พฤษภาคม 2566

นายอดิศร เพียงเกษ ว่าที่ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวต้องดูบุคลากรของทั้งสองพรรค ซึ่งผมคิดว่าพรรคเพื่อไทย น่าจะมีความเหมาะสมในตำแหน่งประธานสภาฯมากกว่า มาจากกรณีที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล โพสต์เฟซบุ๊กส่งสัญญาณว่าตำแหน่งประธานสภาควรเป็นของพรรคก้าวไกล

โดยให้รายละเอียด ยืนยันว่าไม่ใช่การเก่งแย่ง เพราะทั้งสองพรรคเป็นฝ่ายประชาธิปไตย ดังนั้นเพื่อให้เป็นประชาธิปไตย ตำแหน่งประธานสภาฯ ควรไปโหวตกันในสภาฯว่าพรรคไหนจะได้ เราเคารพกฎเกณฑ์ เคารพกติกา ควรมีคนที่เหมาะสมไปนั่งตำแหน่งประธานสภาฯ ให้เป็นหน้าเป็นตาไม่แพ้ฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารเราได้คนหนุ่มแล้ว แต่ประธานสภาฯพรรคก้าวไกลก็ไม่ควรกินรวบ เล่นสลากกินแบ่งกันหรือเปล่า ถ้าพรรคก้าวไกลยังดื้อดัน สมมุติว่าพรรคเพื่อไทยไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาล พรรคก้าวไกลก็เดินไปไม่ได้อยู่ดี ตนไม่อยากให้เกิดภาพนี้ขึ้น

พรรคเพื่อไทยยินดีสนับสนุนนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่ใช่ว่าได้ฝ่ายบริหารแล้ว จะไม่ให้พรรคอื่นไปดำรงตำแหน่งฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งต้องดูความเหมาะสมแต่ละช่วงเวลา เช่นสมัยที่ผ่านมานายชวน หลีกภัย ได้เสียงไม่มาก ก็ยังได้ตำแหน่งประธานสภาฯ และในอดีตนายอุทัย พิมพ์ใจชน มีเพียง 3 เสียง ก็ได้เป็นประธานสภาฯ และด้วยความเคารพนายปิยบุตรถือเป็นผู้ช่วยหาเสียงของพรรคก้าวไกล จะกินรวบทุกตำแหน่ง โดยเข้าใจว่าตัวเองเป็นเสียงข้างมาก ความเป็นจริง 152 เสียง ยังไม่เกินครึ่ง ถ้าอยากได้ทุกตำแหน่ง ต้องทำให้ได้แบบพรรคไทยรักไทย 377 เสียง ที่จะชี้เป็นชี้ตายเอาตำแหน่งไหนก็ได้

 

ในเวลาต่อมา “ก้าวไกล” ได้โพสต์ ประเด็น 3 วาระที่พรรคต้องการผลักดันในฐานะ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ผ่านเฟซบุ๊กเพจ พรรคก้าวไกล – Move Forward Party ระบุว่า พรรคก้าวไกลเดินทางบนเส้นทางการเมืองไม่ใช่เพื่อตำแหน่งหรืออำนาจ แต่เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง มี 3 วาระที่สำคัญมาก ของพรรคก้าวไกลที่เราจำเป็นต้องใช้สถานะ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ในการผลักดัน มีรายละเอียดว่า

วาระแรก: เพื่อผลักดันกฎหมายที่ก้าวหน้า

ตลอด 4 ปี ของสภาผู้แทนราษฎรภายใต้รัฐบาลประยุทธ์ 2 มีกฎหมายถูกเสนอเข้าสู่สภามากกว่า 478 ฉบับ แต่มีกฎหมายที่ผ่านสภาไปเพียงแค่ 78 ฉบับ เท่านั้น เฉลี่ยกฎหมาย 1 ฉบับใช้เวลาในการพิจารณากว่า 310 วัน และในจำนวนกฎหมาย 78 ฉบับที่ผ่าน เกือบทั้งหมดเป็นกฎหมายของ ครม. มีกฎหมายของ ส.ส. ซีกรัฐบาลผ่านเพียง 4 ฉบับเท่านั้น และไม่มีกฎหมายของภาคประชาชนที่ผ่านสภาเลย ทำให้เกิดสภาวะที่กฎหมายที่บังคับใช้อยู่ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน และไม่รองรับความท้าทายใหม่ๆ ได้ดีเท่าที่ควร

กฎหมายส่วนใหญ่จาก 400 ฉบับที่ตกไป ไม่ใช่เพราะผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบ แต่กลับตกไปด้วยสาเหตุอื่น ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายที่รอบรรจุระเบียบวาระแต่ไม่ถูกหยิบขึ้นมาพิจารณา 180 ฉบับกฎหมายที่ถูกประธานสภาวินิจฉัยว่าเป็นร่างกฎหมายการเงิน และนายกรัฐมนตรีปัดตกไม่นำเสนอเข้าสู่สภา 85 ฉบับ

มีกฎหมายที่สภาพิจารณาและถูกปัดตกไปจริงๆ เพียง 45 ฉบับเท่านั้น เท่ากับว่าร่างกฎหมายที่ถูกนำเสนออีก 355 ฉบับ ถูกปัดตกไปด้วยกระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพ และให้อำนาจดุลพินิจแก่ประธานสภาและนายกรัฐมนตรีเพียงแค่คนใดคนหนึ่ง กลับมีอำนาจมากกว่าเจตจำนงของผู้แทนประชาชนที่เหลือ

ในสัญญาประชาคมที่พรรคก้าวไกลให้ไว้กับประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีกฎหมายอย่างน้อย 45 ฉบับของพรรคก้าวไกลที่ต้องผ่านสภาผู้แทนราษฎร เป็นกฎหมายการเมือง 11 ฉบับ กฎหมายสิทธิเสรีภาพ 8 ฉบับ กฎหมายปฏิรูปที่ดิน 8 ฉบับ กฎหมายปฏิรูประบบบริหารราชการ 8 ฉบับ กฎหมายบริการสาธารณะ 4 ฉบับ กฎหมายเศรษฐกิจ 4 ฉบับ กฎหมายสิ่งแวดล้อม 2 ฉบับ กฎหมายแรงงาน 2 ฉบับ กระบวนการนิติบัญญัติที่ก้าวหน้าจำเป็นอย่างยิ่งในการทำให้กฎหมายเหล่านี้ได้รับการพิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพ

 

วาระที่สอง: เพื่อผลักดันให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเดินหน้าอย่างราบรื่น

การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นวาระสำคัญ และถูกระบุไว้ใน MOU ของพรรคร่วมรัฐบาล การทำภารกิจนี้ให้ลุล่วง จะต้องผ่านการประชุมสภาหลายครั้ง และจะมีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในเนื้อหาที่มีความแหลมคม จำเป็นอย่างยิ่งที่ประธานสภาต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ในการอำนวยการประชุมให้เดินหน้าไปอย่างราบรื่น เป็นที่ยอมรับของสมาชิกสภาทุกฝ่าย และนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้

 

วาระที่สาม: ก้าวไกลจะผลักดันหลักการ “รัฐสภาโปร่งใส” และ “ประชาชนมีส่วนร่วม” ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย

“รัฐสภาโปร่งใส” หรือ Open Parliament จะเกิดขึ้นจริงได้หรือไม่ อยู่ที่ประธานรัฐสภา พรรคก้าวไกลประกาศเจตจำนงแน่วแน่ว่าจะทำให้รัฐสภาไทยโปร่งใสมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนในการมีส่วนร่วมและตรวจสอบกระบวนการนิติบัญญัติ โดยเริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุด

3.1 ถ่ายทอดสดการประชุมกรรมาธิการทุกคณะ ให้พี่น้องประชาชนติดตามได้ หรือหากไปไกลกว่านั้น ก็เป็นการรายงานบันทึกการออกเสียงลงมติต่างๆ ของผู้แทนราษฎรทุกคน โดยนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ เข้าถึงง่าย และรวดเร็ว เพื่อให้พี่น้องประชาชนติดตามการทำงานของผู้แทนของตนได้อย่างสะดวก ว่าในแต่ละประเด็น ผู้แทนของตนเองได้ลงมติออกเสียงไปอย่างไรบ้าง

3.2 ส่งเสริมการทำงานของสำนักงบประมาณรัฐสภา (Parliamentary Budget Office หรือ PBO) ในการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้งบประมาณแผ่นดินของหน่วยงานองค์กรต่างๆ เพื่อให้งบประมาณทุกบาททุกสตางค์นั้นจะถูกใช้ไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชน

3.3 ตั้งสภาเยาวชน หรือ Youth Parliament (ซึ่งอาจต่อยอดจากสภาเด็กและเยาวชนที่มีอยู่) ที่ขึ้นตรงกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดให้สมาชิกสภาเยาวชนทุกคนมาจากการเลือกตั้งของเยาวชนทั่วประเทศ และกำหนดให้ข้อเสนอใดที่สภาเยาวชนลงมติเห็นชอบ ถูกบรรจุเป็นวาระที่รัฐสภาต้องรับไปพิจารณาต่อโดยอัตโนมัติ ด้วยสถานะเทียบเท่ากับร่างกฎหมายที่ประชาชน 10,000 คน สามารถร่วมกันลงชื่อเสนอสู่สภาได้ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน

พรรคก้าวไกลต้องการให้ผู้แทนราษฎรของเราดำรงตำแหน่งประธานสภา ไม่ใช่เพื่อตำแหน่ง แต่เราต้องการอำนาจเข้าไปเปลี่ยนแปลงรัฐสภาไทยให้สามารถออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ สามารถแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้จริง และเป็นรัฐสภาที่เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ทำให้ระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็ง

 

ในช่วงค่ำทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รีทวีตพร้อมกับโพสต์ข้อความสั้นๆว่า “Sound Familiar krub” (คุ้นๆนะครับ) ของนายดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิก และแกนนำกลุ่มแคร์ คิด เคลื่อน ไทย โดยใช้ชื่อ twitter ว่า Duangrit Bunnag ว่า ต้องทนให้คนที่เรียกตัวเองว่าเพื่อน เอาตีนถีบหน้าอยู่ทุกวันจริงหรือครับ เพื่อนที่โกหก คอยแทงข้างหลังตลอด แต่ต้องช่วยมันเพราะลำพังตัวเองมันไปเองก็ไม่รอด ไม่ช่วยมันกูก็ผิด ช่วยมันกูก็เจ็บ #ความอดทนบางทีแม่งก็มีขีดจำกัด

 

วันที่ 25 พฤษภาคม 2566

หลังเกิดกระแสค่อนข้างเดือดในโซเชียลมีเดีย ทำให้นายจาตุรนต์ ฉายแสง ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทวีตข้อความ ผ่านทวิตเตอร์ @chaturon

“เรื่องระหองระแหงกับเพื่อนเป็นเรื่องน่าเห็นใจ แต่เพื่อนกับเพื่อนๆ กำลังร่วมกันทำงานใหญ่ คือการตั้งรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยตามที่ประชาชนมอบหมายมา ถ้าตั้งไม่สำเร็จก็จะเป็นประโยชน์กับการสืบทอดอำนาจเผด็จการ เพื่อนทำให้ไม่พอใจบ้างก็ต้องอดทน ถ้าความอดทนมีขีดจำกัด ก็ต้องขยายขีดความจำกัดให้ได้”

 

ศึกชิงเก้าอี้เริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อศิริกัญญา ตันสกุล ว่าที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงข่าวที่พรรคก้าวไกล เรื่องตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันพรรคก้าวไกลจำเป็นต้องมีตำแหน่งประธานสถา นอกเหนือจากอำนาจบริหารก็มีความจำเป็นต้องเป็น ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติด้วย เพราะมี 3 วาระที่ต้องผลักดันตามที่โพสต์ไว้ในเฟซบุ๊กของพรรค ซึ่ง 4 ปีที่ผ่านมาเห็นแล้วว่าตำแหน่งนี้สำคัญต่อการผลักดันกฎหมายแค่ไหน และการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่การร่างฉบับใหม่ ถ้าจะทำให้ลุล่วงต้องมีการประชุมสภาอีกหลายครั้ง ต้องมีประธานที่มีเจตนารมณ์แน่วแน่ในการแก้ (กดดูคลิปเต็มที่ภาพ)

นอกจากนี้ยังต้องผลักดันให้มีสภาที่โปร่งใส มีส่วนร่วมของประชาชน เช่นที่เราเคยผลักดันให้ถ่ายทอดสดในชั้นกรรมาธิการ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในวาระที่จะทำให้โปร่งใส่ตรวจสอบได้ รวมไปถึงสภาเยาวชน ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นมาเพื่อฟังเสียงเยาวชนที่ยังไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะขึ้นตรงกับสำนักเลขาสภาผู้แทนราษฎร

 

เวลา 13.40 น. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ที่พรรคเพื่อไทยอ้างถึงวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา 8 พรรคการเมืองได้ลงนามเอ็มโอยู พรรคเพื่อไทยได้แจ้งความประสงค์ไปยังแกนนำพรรคก้าวไกลถึงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย ซึ่งพรรคก้าวไกลบอกว่าขอเวลาอีก 2-3 วัน เพื่อจะเอาคำตอบมาให้ และขณะนี้ก็รอพรรคก้าวไกลอยู่ ายประเสริฐ กล่าวว่า ตนว่ากองเชียร์ทั้ง 2 ฝั่งก็ประสงค์ที่จะให้ส.ส.และแกนนำของแต่ละพรรคเป็น และหากมองอดีตที่ผ่านมาปี 62 ประธานสภาก็เป็นนายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นพรรคลำดับที่ 4 และตนมองว่าด้วยความที่เสียงใกล้กันมาก โดยเฉพาะส.ส.แบบแบ่งเขตที่พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยได้ 112 เท่ากัน เพราะฉะนั้นอยากให้มีการพูดคุยกันเพื่อหาทางออก และเป็นสิ่งที่พรรคเพื่อไทยเคยประสานงานไปแล้ว จึงอยากให้บรรยากาศการทำงานเป็นไปได้ด้วยดี เพราะได้ลงนามเอ็มโอยูไปแล้ว ไม่อยากให้บางเรื่องมาเป็นอุปสรรค และกล่าวถึงน.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ออกมาแถลงยืนยันว่า ตำแหน่งประธานสภาต้องเป็นของพรรคก้าวไกลจะต้องคุยกับพรรคก้าวไกลใหม่หรือไม่เพราะพรรคเพื่อไทยเคยเสนอเรื่องนี้ไปแล้ว นายประเสริฐ กล่าวว่า ทั้ง 2 ฝั่งต่างออกมาพูดว่าตำแหน่งต้องเป็นของฝั่งไหน ซึ่งตำแหน่งประธานสภาเป็นตำแหน่งสำคัญ อยากให้คำนึงถึงความเหมาะสม แต่ถ้าพรรคก้าวไกลไม่ยอมพรรคเพื่อไทยก็คงต้องกลับมาหารือกันอีกครั้งว่าแกนนำพรรคเพื่อไทยจะทำอย่างไร หรือกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยจะว่าอย่างไร

พรรคเพื่อไทย (พท.) ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์พรรคพท. ถึงกรณีเก้าอี้ประธานสภาฯ ระบุว่า “ประธานสภาฯมีหน้าที่ควบคุมการประชุมสภาฯ และเปิดทางผลักดันทุกนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาลให้สำเร็จ ไม่ใช่ผลักดันวาระของพรรคใดพรรคหนึ่งเท่านั้น ปัจจุบันที่เป็นรัฐบาลผสมมีภารกิจสำคัญในเอ็มโอยูร่วมกัน ไม่ว่าประธานสภาฯจะเป็นใคร มาจากพรรคใด ก็ต้องทำภารกิจร่วมกันให้บรรลุเป้าหมายยังข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในวงการเจรจาพรรคร่วมรัฐบาล พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า การจัดสรรตำแหน่งจะคำนึงถึงความยุติธรรมกับทั้งสองฝ่ายเป็นหลัก หากจะยกกรณีที่พรรค พท. ชนะการเลือกตั้ง ชนะโหวตทั้งนายกรัฐมนตรี และประธานสภาฯมาโดยตลอดไม่มีพรรคอันดับสองได้ นั่นเป็นเพราะ พรรค พท. ชนะเลือกตั้งเด็ดขาด ได้คะแนนเสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฏร จึงชนะโหวตด้วยเสียงของ ส.ส.และผู้สนับสนุน 

 

ในกรณีนี้ เราชนะมาด้วยกันก็ควรทำงานร่วมกันด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจในฐานะพรรรคร่วมรัฐบาล หลีกเลี่ยงที่จะใช้มวลชนกดดัน แต่ควรหาทางทำภารกิจเพื่อประชาชนร่วมกันให้สำเร็จประเทศจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด”

อย่างไรก็ตาม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 116 และ 119 ระบุว่าประธานสภาต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง โดยเป็นประธานของ ส.ส.ทั้งสภา ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลด้วย

 

หลังจากนี้ต้องมาติดตามว่าเก้าอี้ประธานสภาจะเป็นของพรรคเพื่อไทยหรือพรรคก้าวไกล

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
ENTERTAINMENT

ปรากฏการครั้งใหม่กับ MUT MAX จัดเต็ม มาร์คต้วน-พีพี โชว์ระดับโกลบอล

ปรากฏการครั้งใหม่กับ MUT MAX จัดเต็ม มาร์คต้วน-พีพี โชว์ระดับโกลบอล

Facebook
Twitter
Email
Print

247 Entertainment บริษัทเอนเตอร์เทนเมนท์ผู้จัดงานแฟนมีตติ้ง-คอนเสิร์ตศิลปินเกาหลี รวมถึงผลิตศิลปินไทย ลุยงานช้างอีกครั้ง เตรียมสร้างมิติใหม่ให้เวที MUT สนุกลุกเป็นไฟประกาศเป็นผู้จัดโชว์ในรูปแบบผสมผสานระหว่างดนตรีและแฟชั่นโชว์ ดึง 2 ศิลปินคุณภาพระดับโกลบอล “มาร์ค ต้วน” และ “พีพี กฤษฏ์ อำนวยเดชกร” ร่วมสร้างสีสันความสนุกและความยิ่งใหญ่ในรอบพิเศษ “MUT MAX Exclusive Round” บนเวทีพร้อมกับสาวงาม 77 จังหวัด ภายใต้คอนเซ็ปต์ “The Warriors of Universe” เริ่มจำหน่ายบัตรเข้าชมในวันที่ 3 มิถุนายนนี้

47xMUT สร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้ทุกคนได้ฮือฮานำเสนอความบันเทิงระดับโลกผ่านการประกวดรอบพิเศษ “MUT MAX Exclusive Round” ในรูปแบบ Music & Fashion Show ในตอน Warriors of The Universe “Queen of Stars Knight” ที่สร้างสรรค์ร่วมกับศิลปินระดับโลกและศิลปินไทยที่ได้รับความนิยม ภายใต้คอนเซ็ปต์ “The Warriors of Universe” ภารกิจของอัศวินแห่งจักรวาล MAX เพื่อตามหาอัญมณีที่ล้ำค่าและเหมาะสมเพียงหนึ่งเดียว โดยในรอบนี้ผู้เข้าประกวดจะสวมใส่ “Milin Swim” ชุดว่ายนํ้าCollection แรกจากแบรนด์มิลิน ออกแบบโดยดีไซเนอร์ชื่อดัง มิลิน ยุวจรัสกุล เปิดตัวครั้งแรกที่งานนี้ รวมทั้งดูแลเป็น Fashion Director สําหรับโชว์พิเศษ MUT MAX ในครั้งนี้อีกด้วย

นายอภิวัฒน์ พงษ์วาท ผู้บริหารฝ่ายธุรกิจเพลงและศิลปิน บริษัท 247 เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด กล่าวว่า “247 เอนเตอร์เทนเมนท์มีความยินดีมากที่ในปีนี้ได้มีโอกาสร่วมกับเวทีการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ เป็นเวทีการประกวดที่เป็นตำนานและอยู่คู่กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน เราจึงอยากใช้ศักยภาพของเราเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ช่วยผลักดัน และทำให้เวทีการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2023 ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นครับ โดยทาง 247ENT ได้ดึงศิลปินระดับโลกอย่าง มาร์ค ต้วน และศิลปินระดับประเทศอย่าง พีพี กฤษฏ์ มาทำให้เกิดปรากฎการณ์ครั้งนี้ ซึ่งบริษัทเราได้นำเข้า ศิลปินเกาหลี แฟนมีตติ้งต่าง ๆ มาอยู่แล้วด้วย ทางเราก็ได้รับโอกาสที่ดีจัดทำโชว์ในรอบพิเศษนี้ ให้เห็นมุมมองใหม่และทำให้ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ด้วยการลงทุนจาก บริษัทเรา 100% เพื่อเป็นการพลิกวงการนางงามให้โกลบอลมากยิ่งขึ้น”

“ส่วนเรื่องโปรดักชั่นบนเวทีรับรองจัดเต็มทั้งความยิ่งใหญ่ของเวที และระบบแสงสีเสียง การออกแบบโชว์ให้มีความแปลกใหม่และน่าสนใจ ด้วยการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับจักรวาลแมกซ์ (MAX) เป็นปรากฎการณ์ครั้งแรกของการประกวดนางงามกับการจัดโชว์ในลักษณะนี้ ที่จะสร้างแรงสั่นสะเทือนให้โลกได้รับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ใน MUT MAX [Magnitude] ความยิ่งใหญ่ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของจักรวาลสื่อให้เห็นถึงความทรงพลังของผู้ชนะในรอบ MUT MAX fast track สู่รอบ10 คนสุดท้ายอยากให้ทุกคนได้มาดูด้วยตัวเองว่าจะยิ่งใหญ่ น่าประทับใจแค่ไหน”

โดยเริ่มขายบัตรวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 AM ทาง ALL TICKET ทั้งหน้าเว็บไซต์และเคาท์เตอร์เซอร์วิสของ 7-11 ราคาบัตรมีตั้งแต่ 6500,4500,3500,2500 ทุกบัตรที่นั่งจะมีสิทธิลุ้นรับของรางวัลพิเศษภายในงาน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Miss Universe Thailand

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
CULTURE

วธ. เร่งสร้างการรับรู้ Thailand Biennale 2023 ที่ จ.เชียงราย ตลอด 5 เดือน

วธ. เร่งสร้างการรับรู้ Thailand Biennale 2023 ที่ จ.เชียงราย ตลอด 5 เดือน

Facebook
Twitter
Email
Print

วธ. เร่งสร้างการรับรู้ประเทศไทยจัดงานงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ตลอด 5 เดือน มุ่ง “เปิดโลก” สร้างการรับรู้ทางศิลปะ ผ่านผลงานของศิลปินทั่วโลก พร้อมกิจกรรมทางการศึกษา แสดงงานศิลปะ ทั้งภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง ดนตรี และอีกมากมาย

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ในการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ที่ประชุมได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ว่า สำหรับการจัดงานครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้น ณ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567 ซึ่งเป็นการจัดงานต่อเนื่องจาก 

– ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดกระบี่ Thailand Biennale, Krabi 2018 มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 2.6 ล้านคน สร้างรายได้ไปกว่า 864 ล้านบาท 

– ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดนครราชสีมา Thailand Biennale, Korat 2021 มีผู้เข้าร่วมงานเกือบ 2 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 3 พันล้านบาท 

– ครั้งที่ 3 คาดหวังว่าจะสามารถสร้างมูลค่าให้แก่งานศิลปะร่วมสมัย และสร้างความเข้มแข็งให้แก่จังหวัดเชียงรายทั้งในด้านเศรษฐกิจที่คาดการณ์ว่า จะมีนักท่องเที่ยวกว่า 5 ล้านคน เกิดการจ้างงานไม่น้อยกว่า 8,000 อัตรา และมีเงินหมุนเวียนเศรษฐกิจของเชียงรายและกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน (พะเยา แพร่ น่าน) ไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาท ในด้านสังคม เกิดการส่งเสริมความร่วมมือในชุมชน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายและองค์กรศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติในอนาคต และในด้านต่างประเทศ จะเป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์ เสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์อันดี ทั้งในระดับภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และเครือข่ายศิลปิน รักษาการเป็นหมุดหมายสำคัญของการจัดแสดงงานศิลปะนานาชาติระดับโลกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้รับความร่วมมือและความพร้อมจากทุกภาคส่วน สำหรับเตรียมจัดงาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ด้วยแนวคิดจัดนิทรรศการภายใต้แนวคิด The Open World  “เปิดโลก” การรับรู้ทางศิลปะ ผ่านผลงานของศิลปินจากทั่วโลก ที่จะมาร่วมเปิดมิติทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเชียงรายสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับโลก โดยที่ผ่านมาสำหรับการเตรียมพร้อมจัดงานอย่างยิ่งใหญ่นั้น มีการจัดพิธีเปิดตัวธงสัญลักษณ์โครงการฯ เปิดตัวผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์และภัณฑารักษ์ วางศิลาฤกษ์หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย 

การจัดเสวนาวิชาการเพื่อสร้างการรับรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ การลงพื้นที่ของคณะผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ ภัณฑารักษ์ ศิลปินทั้งชาวไทยและต่างชาติ การแถลงข่าวการเปิดตัวแนวคิดการจัดงาน (Curatorial theme) และประกาศรายชื่อศิลปินรอบแรก 20 คน พร้อมจัดทำศูนย์ข้อมูล ณ หอศิลป์แทนคุณ วัดร่องขุ่น เพื่อเป็นสถานในการให้ข้อมูลของการจัดงาน ทั้งนี้ แผนในระยะต่อไปได้เตรียมจัดทำศูนย์ข้อมูลในแห่งที่ 2 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย จะจัดทำการลงนามข้อตกลงระหว่างสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกับศิลปิน การสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน และการเตรียมจัดงานเปิดงานในวันที่ 9 ธันวาคม 2566 พร้อมกันนี้ยังเตรียมกิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 5 เดือนของการจัดงาน อาทิ กิจกรรมทางการศึกษา แสดงงานศิลปะ ทั้งภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และดนตรี เป็นต้น

นายอิทธิพล กล่าวต่อไปอีกว่า ที่ประชุมรายงานว่านิทรรศการของงาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ 

1.นิทรรศการหลักที่จัดขึ้นโดยทีมภัณฑารักษ์ ในสถานที่ต่างๆทั่วตัวเมืองอำเภอ เชียงราย และอำเภอเชียงแสน 

2.pavilion หรือศาลา แสดงผลงานของกลุ่มศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงการจัดในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย ซึ่งเป็นนิทรรศการคู่ขนานกันไปกับนิทรรศการหลัก 

3.Collateral Events ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในช่วงการแสดงงานทั้ง 5 เดือน ช่วงที่จัดงานเบียนนาเล่ 

โดยจะเป็นกิจกรรม อาทิเทศกาลดนตรีชาติพันธุ์ร่วมกับมรภ.เชียงราย งานฉายภาพยนตร์ร่วมกับหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และการแสดงสดอื่นๆ ขณะเดียวกันผู้ชมจะมีโอกาสเยี่ยมชมบ้านและสตูดิโอศิลปินเชียงราย           ซึ่งกระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ ของเชียงราย สำหรับผู้สนใจสามารถกดติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ https://www.facebook.com/thailandbiennale

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ธนาคารกรุงไทย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE