Categories
CULTURE

วธ. ร่วมกับภาครัฐ เอกชน จัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทั่วประเทศ

วธ. ร่วมกับภาครัฐ เอกชน จัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทั่วประเทศ

Facebook
Twitter
Email
Print

วธ. ร่วมกับภาครัฐ เอกชน จัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทั่วประเทศ บำเพ็ญกุศลถวายพระราชกุศล กิจกรรมทางศาสนา นิทรรศการ การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ชมนิทรรศการอาภรณ์ 5 การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม : สุโขทัย ณ หอศิลป์ราชดำเนิน น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างค่านิยม อัตลักษณ์ไทยและความเป็นไทย รวมทั้งสืบสาน รักษาและต่อยอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทย วธ.จึงร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชน และเครือข่ายทางวัฒนธรรม จัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 3 มิถุนายน 2566 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย ทางวธ.จึงจัดกิจกรรมทางศาสนาเฉลิมพระเกียรติในหลายพื้นที่เพื่อเป็นสิริมงคล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยหน่วยงานต่าง ๆ สังกัดวธ. จัดตกแต่งสถานที่ ประดับธงชาติคู่กับธงพระนามาภิไธย ส.ท. จัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระฉายาลักษณ์พร้อมเครื่องราชสักการะ ซึ่งในส่วนกลางจัดกิจกรรม ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมจัดทำวีดีทัศน์และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ พิธีถวายราชสักการะและลงนามถวายพระพร นอกจากนี้ กรมการศาสนา ได้เชิญชวนผู้นำองค์การทางศาสนา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนพสกนิกรทุกหมู่เหล่าทั่วประเทศ ร่วมกันบำเพ็ญกุศลถวายพระราชกุศล ในส่วนกลางจัดที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ในวันที่ 1 มิถุนายน 2566 โดยจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ และกิจกรรมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด อาทิ พระพุทธชินราช พระประธานในพระอุโบสถ รวมถึงจัดงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา พุทธศักราช 2566 ระหว่างวันที่ 2-3 มิถุนายน 2566 ณ วัดสระเกศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การสาธิตสืบสานประเพณีกวนข้าวทิพย์ การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย การสาธิตและจัดแสดงผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้านสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจัดนิทรรศการอาภรณ์ 5 การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม : สุโขทัย เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ ณ หอศิลป์ร่วมสมัย ราชดำเนิน ขณะเดียวกัน ในส่วนภูมิภาคจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ เช่น พิธีเจริญพระพุทธมนต์สมโภชพระเจดีย์หรือพระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัด นิทรรศการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหรือวีดีทัศน์ที่เกี่ยวข้อง 

ทั้งนี้ วธ.ขอเชิญชวนเครือข่ายทางวัฒนธรรม พสกนิกรชาวไทยร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 3 มิถุนายน 2566 ผ่านระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์หน่วยงานราชการในพระองค์ www.royaloffice.th และร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณโดยพร้อมเพรียงกัน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

ศึกษาพื้นที่มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

ศึกษาพื้นที่มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

Facebook
Twitter
Email
Print

วันที่ 25  พฤษภาคม 2566 การศึกษาพื้นที่ (Site Visit) ในการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

 
สำนักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เดินทางไปศึกษาพื้นที่ (Site Visit) เพื่อเตรียมสร้างสรรค์ผลงานเพื่อจัดแสดงในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 โดยมีคณะทำงานศึกษาพื้นที่ นำโดย คุณกฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์, คุณมนุพร เหลืองอร่ามภัณฑารักษ์, คุณอังกฤษ อัจฉริยโสภณ ภัณฑารักษ์, คุณอรพินท์ วิพัฒนกำจร, คุณอัจจิมา กวีญาณ และคุณพชรพร ตัณฑะตะนัย พร้อมด้วยศิลปินจากต่างประเทศ คณะทำงานฯ ได้เดินทางร่วมสำรวจสถานที่ ที่จะใช้จัดแสดงผลงานในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ในช่วงเดือนธันวาคม 2566 ถึงเดือนเมษายน 2567 ซึ่งมีการลงพื้นที่สำรวจในระหว่างวันที่ 23-27 เมษายน 2566 ณ จังหวัดเชียงราย โดยในวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม 2566 คณะทำงานฯ ได้เดินทางเข้าสำรวจพื้นที่ ดังนี้
 
1. วนอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย
2. โบสถ์บ้านอธิษฐาน (ดูแลโดย บริษัท เอเชียน อินเตอร์เซอร์วิส จำกัด) อำเภอเมืองเชียงราย
3. วัดพระธาตุดอยกองข้าว อำเภอเมืองเชียงราย
 
ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้
นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางสาวสุทธิดา ตราชื่นต้อง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และนายนิติกร ปันแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ร่วมลงพื้นที่สำรวจ ประสานงาน และอำนวยความสะดวกให้แก่คณะดังกล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา , นายนิติกร ปันแก้ว, สุทธิดา ตราชื่นต้อง : รายงาน
นายสุพจน์ ทนทาน , สุทธิดา ตราชื่นต้อง : ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการ
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
CULTURE

วธ. เร่งสร้างการรับรู้ Thailand Biennale 2023 ที่ จ.เชียงราย ตลอด 5 เดือน

วธ. เร่งสร้างการรับรู้ Thailand Biennale 2023 ที่ จ.เชียงราย ตลอด 5 เดือน

Facebook
Twitter
Email
Print

วธ. เร่งสร้างการรับรู้ประเทศไทยจัดงานงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ตลอด 5 เดือน มุ่ง “เปิดโลก” สร้างการรับรู้ทางศิลปะ ผ่านผลงานของศิลปินทั่วโลก พร้อมกิจกรรมทางการศึกษา แสดงงานศิลปะ ทั้งภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง ดนตรี และอีกมากมาย

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ในการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ที่ประชุมได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ว่า สำหรับการจัดงานครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้น ณ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567 ซึ่งเป็นการจัดงานต่อเนื่องจาก 

– ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดกระบี่ Thailand Biennale, Krabi 2018 มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 2.6 ล้านคน สร้างรายได้ไปกว่า 864 ล้านบาท 

– ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดนครราชสีมา Thailand Biennale, Korat 2021 มีผู้เข้าร่วมงานเกือบ 2 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 3 พันล้านบาท 

– ครั้งที่ 3 คาดหวังว่าจะสามารถสร้างมูลค่าให้แก่งานศิลปะร่วมสมัย และสร้างความเข้มแข็งให้แก่จังหวัดเชียงรายทั้งในด้านเศรษฐกิจที่คาดการณ์ว่า จะมีนักท่องเที่ยวกว่า 5 ล้านคน เกิดการจ้างงานไม่น้อยกว่า 8,000 อัตรา และมีเงินหมุนเวียนเศรษฐกิจของเชียงรายและกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน (พะเยา แพร่ น่าน) ไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาท ในด้านสังคม เกิดการส่งเสริมความร่วมมือในชุมชน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายและองค์กรศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติในอนาคต และในด้านต่างประเทศ จะเป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์ เสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์อันดี ทั้งในระดับภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และเครือข่ายศิลปิน รักษาการเป็นหมุดหมายสำคัญของการจัดแสดงงานศิลปะนานาชาติระดับโลกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้รับความร่วมมือและความพร้อมจากทุกภาคส่วน สำหรับเตรียมจัดงาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ด้วยแนวคิดจัดนิทรรศการภายใต้แนวคิด The Open World  “เปิดโลก” การรับรู้ทางศิลปะ ผ่านผลงานของศิลปินจากทั่วโลก ที่จะมาร่วมเปิดมิติทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเชียงรายสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับโลก โดยที่ผ่านมาสำหรับการเตรียมพร้อมจัดงานอย่างยิ่งใหญ่นั้น มีการจัดพิธีเปิดตัวธงสัญลักษณ์โครงการฯ เปิดตัวผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์และภัณฑารักษ์ วางศิลาฤกษ์หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย 

การจัดเสวนาวิชาการเพื่อสร้างการรับรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ การลงพื้นที่ของคณะผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ ภัณฑารักษ์ ศิลปินทั้งชาวไทยและต่างชาติ การแถลงข่าวการเปิดตัวแนวคิดการจัดงาน (Curatorial theme) และประกาศรายชื่อศิลปินรอบแรก 20 คน พร้อมจัดทำศูนย์ข้อมูล ณ หอศิลป์แทนคุณ วัดร่องขุ่น เพื่อเป็นสถานในการให้ข้อมูลของการจัดงาน ทั้งนี้ แผนในระยะต่อไปได้เตรียมจัดทำศูนย์ข้อมูลในแห่งที่ 2 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย จะจัดทำการลงนามข้อตกลงระหว่างสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกับศิลปิน การสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน และการเตรียมจัดงานเปิดงานในวันที่ 9 ธันวาคม 2566 พร้อมกันนี้ยังเตรียมกิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 5 เดือนของการจัดงาน อาทิ กิจกรรมทางการศึกษา แสดงงานศิลปะ ทั้งภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และดนตรี เป็นต้น

นายอิทธิพล กล่าวต่อไปอีกว่า ที่ประชุมรายงานว่านิทรรศการของงาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ 

1.นิทรรศการหลักที่จัดขึ้นโดยทีมภัณฑารักษ์ ในสถานที่ต่างๆทั่วตัวเมืองอำเภอ เชียงราย และอำเภอเชียงแสน 

2.pavilion หรือศาลา แสดงผลงานของกลุ่มศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงการจัดในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย ซึ่งเป็นนิทรรศการคู่ขนานกันไปกับนิทรรศการหลัก 

3.Collateral Events ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในช่วงการแสดงงานทั้ง 5 เดือน ช่วงที่จัดงานเบียนนาเล่ 

โดยจะเป็นกิจกรรม อาทิเทศกาลดนตรีชาติพันธุ์ร่วมกับมรภ.เชียงราย งานฉายภาพยนตร์ร่วมกับหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และการแสดงสดอื่นๆ ขณะเดียวกันผู้ชมจะมีโอกาสเยี่ยมชมบ้านและสตูดิโอศิลปินเชียงราย           ซึ่งกระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ ของเชียงราย สำหรับผู้สนใจสามารถกดติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ https://www.facebook.com/thailandbiennale

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ธนาคารกรุงไทย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
CULTURE

วธ. จับมือซีมีโอ สปาฟารวมอาเซียน แลกเปลี่ยนความรู้ประเพณี-ศิลปวัฒนธรรม

วธ. จับมือซีมีโอ สปาฟารวมอาเซียน แลกเปลี่ยนความรู้ประเพณี-ศิลปวัฒนธรรม

Facebook
Twitter
Email
Print

วธ. จับมือซีมีโอ สปาฟา จัดโครงการ RAIN MOTIONS: CONNECTING (WITH) THE SKIES OF SOUTHEAST ASIA ดึง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศติมอร์ เลสเตแลกเปลี่ยนความรู้-ประเพณี-ศิลปวัฒนธรรม-สร้างสรรค์ศิลปะการแสดงเกี่ยวข้องกับน้ำและฝนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้มิติวัฒนธรรมเผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน เพื่อสานสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 นายเขมชาติ เทพไชย ผู้อำนวยการศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ของซีมีโอและนางสาวดารุณี ธรรมโพธิ์ดล ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรมด้านต่างประเทศ ร่วมเป็นประธานพิธีเปิดโครงการ RAIN MOTIONS: CONNECTING (WITH) THE SKIES OF SOUTHEAST ASIA ณ ห้องออดิทอเรียม หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ชั้น 1 สำหรับกิจกรรมของโครงการดังกล่าวเป็นกิจกรรมบรรยายและสัมมนา “Rain Motions: Connecting (with) the Skies of Southeast Asia” และร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น รวมถึงรับชมการแสดง ซึ่งเป็นผลผลิตจากการนำองค์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและการแสดง จากทั้ง 11 ประเทศ มาสร้างสรรค์เป็นการแสดงร่วมทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและแบบร่วมสมัยได้อย่างน่าสนใจ แก่สื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมงาน

โครงการ Rain Motions: Connecting (with) the Skies of Southeast Asia เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งประเทศไทยและศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ของซีมีโอ (SEAMEO Regional Centre for Archaeology and Fine Arts: SEAMEO SPAFA) โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนวัฒนธรรมอาเซียน เปิดโอกาสให้นักวิชาการและนักแสดงจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม รวมถึงอีก 1 ประเทศ คือ ประเทศติมอร์-เลสเต ได้นำเสนอแนวปฏิบัติทางประเพณี พิธีกรรม ตลอดจนความเชื่อและความศรัทธาที่เกี่ยวข้องกับน้ำและฝน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งเน้นการนำเสนอในมุมมองใหม่ ทั้งการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ และการสร้างสรรค์การแสดง ตามนโยบายของ วธ. นโยบายมุ่งขับเคลื่อนงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ให้ก้าวสู่พื้นที่ทางวัฒนธรรมใหม่ๆ ใช้มิติวัฒนธรรมเผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมไทยในเวทีโลก เพื่อสานสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ยกระดับความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมกับต่างประเทศ และสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทย ทั้งนี้ งานดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมต่อเนื่องมาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อระหว่างเดือนมกราคม – เดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ พิธีกรรมต่าง ๆ ความเชื่อและความศรัทธาที่เกี่ยวข้องกับน้ำและฝนในภูมิภาค ถือเป็นจุดกำเนิดแห่งชีวิตตามความคิดความเชื่อของชาติพันธุ์ต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างโลกแห่งธรรมชาติและโลกแห่งจิตวิญญาณ ตลอดจนการรักษาความสงบเรียบร้อยและความสามัคคีภายในแต่ละชุมชน ซึ่งพิธีกรรมและความเชื่อเหล่านี้บางส่วนได้รับการสืบทอดและยังคงปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชน นับเป็นกลไกสำคัญต่อการสืบสานวัฒนธรรมทางความเชื่อและประวัติศาสตร์ของชุมชนรวมถึงเศรษฐกิจระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ในการนี้ กระทรวงวัฒนธรรมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดกิจกรรมโครงการครั้งนี้จะนำไปสู่การสร้างความตระหนักรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับน้ำและฝน ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาประชาชนทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับสากลสืบไป

Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรมด้านต่างประเทศ

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
CULTURE

พื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (GIAHS) “เลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย”

พื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (GIAHS) “เลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย”

Facebook
Twitter
Email
Print

 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความสำเร็จในการยื่นเอกสารข้อเสนอ “การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยการเสนอเรื่องดังกล่าว เพื่อขอรับการรับรองเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร มีหลักเกณฑ์การพิจารณาของพื้นที่ GIAHS ทั้งหมด 5 ข้อ ได้แก่ 1) ความมั่นคงอาหาร/ชีวิตความเป็นอยู่ดี 2) ความหลากหลายทางชีวภาพเกษตร 3) ระบบความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีมาแต่ดั้งเดิม 4) วัฒนธรรม ระบบคุณค่า และองค์กรทางสังคม และ 5) ลักษณะภูมิทัศน์/และภูมิทัศน์ทางทะเล และจากการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Advisory Group: SAG) ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ได้ประกาศให้ “การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (Global Important Agricultural Heritage Systems หรือ GIAHS) ของ FAOและนับเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย

                       “พิธีมอบใบประกาศรับรองพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (Globally Important Agricultural Heritage Systems หรือ GIAHS) จะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคมนี้ เวลา 16.00-18.30 น. (เวลาประเทศไทย) ณ สำนักงานใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี โดยชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง จะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้น การขึ้นทะเบียนฯ จะไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ และยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน ทำให้เศรษฐกิจชุมชนเติบโต และเพิ่มการจ้างงานในพื้นที่อีกด้วย” ปลัดเกษตรฯ กล่าว

          สำหรับพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของไทยนี้ มีพื้นที่ทั้งหมด 45,822 เฮกตาร์ (458.22 ตารางกิโลเมตร) ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะเป็นทะเลแบบลากูน (Lagoon)  หนึ่งเดียวของประเทศไทย มีความสำคัญเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ได้รับการแต่งตั้งอนุสัญญาแรมซาร์ ในปี พ.ศ. 2541 (Ramsar site No.948) ครอบคลุมพื้นที่ป่าพรุ เป็นเส้นทางอพยพของนกจากเอเชียตะวันออกและแหล่งที่อยู่ของสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพ มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ รวมทั้งเป็นแหล่งอาศัยสำคัญของสังคมสัตว์และสังคมพืชนานาชนิด และแหล่งประกอบอาชีพหลักและความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพกสิกรรมแบบดั้งเดิม เช่น การทำนา การทำประมงและเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะ “ควายปลัก” ซึ่งมีลักษณะเหมือนควายปกติ แต่มีความสามารถในการปรับตัวให้สามารถหากินได้ทั้งในน้ำและบนบก ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของควายในพื้นที่ จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในจังหวัดพัทลุง 

Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
CULTURE

Soft Power ต่างชาติสนใจ “ผ้าขาวม้า” ในงาน World Dance Day 2023

Soft Power ต่างชาติสนใจ “ผ้าขาวม้า” ในงาน World Dance Day 2023

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อเวันที่ 21 พฤษภาคม 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชื่นชมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งได้นำ “ผ้าขาวม้า” Soft Power ของไทย ร่วมแสดงในงาน World Dance Day 2023  กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้รับความสนใจจากผู้ชมชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก และขณะนี้ผ้าขาวม้าไทยอยู่ระหว่างการเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Intangible cultural heritage) ต่อองค์การยูเนสโก (UNESCO) อีกด้วย

 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้นำผ้าขาวม้า ซึ่งเป็นหนึ่งSoft Power ที่มีเอกลักษณ์ของไทย เข้าร่วมการแสดงในงาน World Dance Day 2023 เป็นงานที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความสามารถทางศิลปะวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ โดยเยาวชนไทยได้ทำการแสดง 2 ชุด ได้แก่ 1. การแสดงชุดเคียนขะม้านารี ใช้ผ้าขาวม้าเป็นองค์ประกอบหลักสำหรับการแสดง บอกเล่าเรื่องราวของผ้าขาวม้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทย จนเป็นเอกลักษณ์ของไทย และ 2. การแสดงชุดผืนไท เป็นการแสดงท่ารำและการแต่งกายของคนไทยในทุกภูมิภาค เพื่อสื่อให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขร่มเย็น ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ซึ่งเมื่อการแสดงจบลง ได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชมอย่างยาวนานด้วยความประทับใจ มีชาวต่างชาติมาขอถ่ายภาพเป็นที่ระลึกจำนวนมาก

 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่าเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้เสนอ “ผ้าขาวม้า” ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การยูเนสโก โดยพิจารณาจากคุณค่าของผ้าขาวม้าในหลายมิติ การใช้ประโยชน์ที่แพร่หลายในทุกภาคและชุมชน รวมถึงในชาติพันธุ์ต่าง  ทั่วประเทศ มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น เป็นผ้าสารพัดประโยชน์เข้าถึงง่ายและผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยหลายด้าน ทั้งการทอผ้าใช้กันเองในครัวเรือน แลกเปลี่ยนในหมู่บ้านและชุมชนไปจนถึงเป็นของขวัญ และใช้ในงานพิธีกรรมต่าง  โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชี้ว่าผ้าขาวม้ามีมาตั้งแต่สมัยเชียงแสน ผ่านการปรับปรุงต่อยอดภูมิปัญญา พัฒนาคุณภาพให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายขึ้นจนถึงปัจจุบัน

 

นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันต่อยอด ผลักดันผ้าขาวม้า อีกหนึ่ง Soft Power ของไทย รวมถึงชื่นชมคนรุ่นใหม่ เยาวชนไทย ที่รักความเป็นไทย สนับสนุน และผลักดันเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติให้เป็นที่รู้จักในสายตาชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น ตลอดจน ชื่นชมในความคิดสร้างสรรค์ ที่นำมาผสมผสานเป็นความร่วมสมัยทางวัฒนธรรมนำไปเผยแพร่ในระดับโลก ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีพร้อมสนับสนุนให้ผ้าขาวม้าให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การยูเนสโกต่อไป” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
CULTURE

นายกฯ ปลื้มภาครัฐ-เอกชน ยกระดับผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย CPOT สู่ Modern Trade

นายกฯ ปลื้มภาครัฐ-เอกชน ยกระดับผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย CPOT สู่ Modern Trade

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อเวันที่ 21 พฤษภาคม 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีต่อความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมกันขยายช่องทางการตลาดให้ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand: CPOT) เป็นที่รู้จักในระดับสากล ซึ่งเห็นประสบความสำเร็จได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พร้อมสนับสนุนให้วางแนวทางขยายตลาดส่งออกเป็นสินค้า Soft Power สู่ต่างประเทศ 

 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดสินค้าจากทุนทางวัฒนธรรม ภายใต้ชื่อ Cultural Product of Thailand (CPOT) ซึ่งเน้นการปรับภาพลักษณ์ให้มีความร่วมสมัย และตอบโจทย์ผู้บริโภค โดย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับภาคเอกชน กลุ่มบริษัทบีเจซี บิ๊กซี และบริษัท บางกอกอินสตรูเม้นท์ เซ็นเตอร์ จำกัด ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการส่งเสริมทางการตลาด CPOT เป้าหมายเพื่อส่งเสริมทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ CPOT ให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายในระยะเวลา 3 ปี พร้อมคาดการณ์ว่า ในปีแรกจะสร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 100 ล้านบาท โดยภายหลังเปิดตัวและนำร่องวางจำหน่ายในห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ได้รับกระแสตอบรับอย่างดี มีประชาชน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติสนใจ CPOT อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้ง และเครื่องหอมจากสมุนไพร 

 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงวัฒนธรรมวางแผนขยายตลาด เพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์CPOT อาทิ เครื่องใช้ ของตกแต่งบ้าน และเสื้อผ้า เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น พร้อมทั้งผลักดันสินค้าที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ส่งออกเป็นสินค้า Soft Power ไทยสู่ต่างประเทศ ภายใต้แนวคิด “อร่อยเกินคาด หอมเกินต้าน” ตลอดจน เพิ่มช่องทางการตลาด โดยเฉพาะทางออนไลน์ เพื่อเป็นการขยายตลาดและกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ หากสนใจอุดหนุนสินค้า CPOT จากชุมชน ได้ที่ www.cpotshop.com และ Facebook CPOT 

 

นายกรัฐมนตรีขอบคุณความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่บูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับสินค้าชุมชนจากท้องถิ่นสู่สากล ผ่านช่องทาง Modern Trade ได้สำเร็จ ถือเป็นการร่วมมือทำความดีเพื่อชาติ ช่วยให้ชุมชนและผู้ประกอบการได้พัฒนาการผลิต และมีแหล่งจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ รวมถึงเป็นการนำทุนทางวัฒนธรรมของประเทศ มาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทยที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เพิ่มคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ CPOT ของไทย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดดเด่น และเป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติ” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Cultural Product of Thailand (CPOT)

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
CULTURE

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2566

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2566

Facebook
Twitter
Email
Print

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2566 พระยาแรกนาได้เสี่ยงทายหยิบผ้าได้ 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนา จะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี และพระโคกินหญ้าและเหล้า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี การคมนาคมสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง 

 
          วันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 เวลาประมาณ 08.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต มายังพลับพลาที่ประทับเพื่อเป็นองค์ประธานในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2566 ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง
 
             พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประกอบด้วยพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคล 
อันเป็นพิธีสงฆ์ ซึ่งเป็นการประกอบพระราชพิธีวันแรกที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง             ในวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566 เป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหารที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐาน 
เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน)    อันเป็นพิธีพราหมณ์ โดยประกอบพระราชพิธีในวันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง 
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีการซึ่งกระทำขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและส่งเสริมบำรุงขวัญเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก กำหนดจัดขึ้นในราวเดือนหกของทุกปี หรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสม    ต้องตามประเพณี ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย 
 
           การจัดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปีนี้ ฤกษ์การไถหว่านอยู่ระหว่างช่วงเวลา 08.09 – 08.39 น. ผู้ทำหน้าที่ พระยาแรกนา คือ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวดวงพร งามประดิษฐ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ กรมวิชาการเกษตร และนางสาวชลธิชา ทองอ่อน นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กรมปศุสัตว์ เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวปนัดดา เปี่ยมมอญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางสาวภัทรปภา มินรินทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้เชิญเครื่องอิสริยยศ จำนวน 4 ราย และคู่เคียงในกระบวนแห่อิสริยยศพระยาแรกนา จำนวน 16 ราย ส่วนพระโคแรกนา ได้แก่ พระโคพอ และพระโคเพียง  
 
         สำหรับผลการพยากรณ์ถึงความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารของประเทศ นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ถวายรายงานการพยากรณ์ ผลการเสี่ยงทายผ้านุ่งแต่งกาย และพระโคกินเลี้ยง ในปี พ.ศ.2566 นี้ พระยาแรกนาได้ตั้งสัตยาธิษฐาน หยิบได้ผ้านุ่ง 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนา จะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี 
 
ผลการเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ที่ตั้งเลี้ยงพระโค พระโคกินหญ้าและเหล้า ซึ่งผลเสี่ยงทายกล่าวว่า ถ้าพระโคกินหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี และพระโคกินเหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง 
 
           ในโอกาสเดียวกันนี้ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เกษตรกรและบุคคลทางการเกษตรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2565 จำนวน 3 ราย และเกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2566 จำนวน 33 ราย รวม 35 ราย ได้รับพระราชทานโล่เกียรติคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้ 
 
           ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เกษตรกรและบุคคลทางการเกษตรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2565 จำนวน 3 ราย ที่เข้ารับโล่พระราชทานฯ ในปี พ.ศ. 2566 คือ 
1) ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณูปการต่อภาคการเกษตรไทย  
ได้แก่ นายอเนก สีเขียวสด จังหวัดอ่างทอง  
 2) เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายเกรียงศักดิ์ เสรีรัตน์ยืนยง จังหวัดยะลา  
 3) เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ อาชีพทำสวน ได้แก่ นายวีรวัฒน์ จีรวงส์ จังหวัดชุมพร  
 เกษตรกรและบุคคลทางการเกษตรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 จำนวน 16 ราย คือ 
1) อาชีพทำนา ได้แก่ นายพิชัย โสทะ จังหวัดนครสวรรค์ 
2) อาชีพทำสวน ได้แก่ นายจักรินทร์ โพธิ์พรม จังหวัดอุดรธานี  
3) อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายชาญชัย ธนะกมลประดิษฐ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  
4) อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นางสาวพนมรัตน์ รักเหล็ก จังหวัดสุราษฎร์ธานี  
5) อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางเงินเหรียญ โสมนาม จังหวัดสกลนคร  
6) อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายวุฒิศักดิ์ พรมแก้ว จังหวัดพังงา  
7) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายธนันชัย  เอกเผ่าพันธุ์ จังหวัดนครปฐม  
8) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายสุชาติ ศรีประสม จังหวัดชลบุรี  
9) อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายปกรณ์ วงศ์มโนพฌิช จังหวัดราชบุรี  
10) อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นายมนรัตน์ วิวิธธนากร จังหวัดปทุมธานี  
11) สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ นางบรรจง แสนยะมูล จังหวัดมหาสารคาม  
12) สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายคำภีร์ หงษ์คำ จังหวัดเพชรบูรณ์  
13) สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ได้แก่ นายสายชล จันทร์วิไร จังหวัดสุโขทัย  
14) สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นายธนิต สมแก้ว จังหวัดพัทลุง  
15) ที่ปรึกษายุวชนเกษตรกร ได้แก่ นางสาวสถาพร ตะวันขึ้น จังหวัดสมุทรสงคราม  
16) สมาชิกกลุ่มยุวชนเกษตรกร ได้แก่ นางสาวจิราพัชร คุ้มกุดขมิ้น จังหวัดชัยภูมิ 
 
  สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 จำนวน 12 กลุ่ม คือ  
1) กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านร้องประดู่จังหวัดอุตรดิตถ์  
2) กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรสวนยาง ตำบลกันทรอม จังหวัดศรีสะเกษ  
3) กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ – แกะ จังหวัดแพร่  
4) กลุ่มเกษตรกรทำประมง หรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรประมงพื้นบ้านปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช  
5) กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรสว่างวีระวงศ์จังหวัดอุบลราชธานี  
6) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนากอ จังหวัดนราธิวาส  
7) กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนโนนกอกวิทยา จังหวัดชัยภูมิ  
8) กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านแฝก – โนนสำราญ  จังหวัดนครราชสีมา  
9) สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำบางทรายนวล จังหวัดสุราษฎร์ธานี  
10) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านมะยาง จังหวัดศรีสะเกษ  
11) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภท ข้าวอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบึงคล้าย – ชัยพัฒนา จังหวัดพิษณุโลก  
12) วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลไร่มะขามจังหวัดเพชรบุรี 
สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 จำนวน 3 สหกรณ์ คือ  
1) สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรด่านมะขามเตี้ย จำกัด จังหวัดกาญจนบุรี  
2) สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ กรมการพัฒนาชุมชน จำกัด กรุงเทพมหานคร  
3) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ศูนย์กลางละอาย จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช 
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2566 จำนวน 2 สาขา คือ  
1) สาขาปราชญ์เศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายเมธี บุญรักษ์ จังหวัดนราธิวาส  
2) สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายวีรวัฒน์ จีรวงส์ จังหวัดชุมพร

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : thaigov

 
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
CULTURE

โครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น

โครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น

Facebook
Twitter
Email
Print
วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 น.(โครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น)
 
จังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง จัดโครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น และจัดทำฐานข้อมูลชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีนายบรรจง ขุนเพชร นายอำเภอเวียงป่าเป้า เป็นประธานเปิดกิจกรรมฯ, นายสราวุธ ชัยนาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง กล่าวต้อนรับ, นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ปฏิบัติราชการแทนวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงาน พร้อมด้วยประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ประธานสภาวัฒนธรรมตำบล ผู้นำชุมชน ผู้แทนชุมชนหมู่บ้านในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
 
เพื่อสร้างการรับรู้และลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น ในการจัดทำฐานข้อมูลชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ภายใต้โครงการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อไป
 
ในการนี้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมข้าราชการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย จัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา, ยุทธนา สุทธสม : รายงาน 
วิชชากรณ์ กาศโอสถ : ภาพ 
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
CULTURE

สืบสานบูชาเสาสะดือเมือง ประเพณีเดือน 8 เข้า เดือน 9 ออก ใส่ขันดอกเสาสะดือเมืองเชียงราย

สืบสานบูชาเสาสะดือเมือง ประเพณีเดือน 8 เข้า เดือน 9 ออก ใส่ขันดอกเสาสะดือเมืองเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
เมื่อวันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา  จังหวัดเชียงราย จัดงานประเพณีเดือน 8 เข้า เดือน 9 ออก ใส่ขันดอกเสาสะดือเมืองเชียงราย ณ วัดกลางเวียง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยมี นางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเชิญขันหลวงเข้าหลักเมือง พร้อมด้วย พล.ต.ประพัฒน์ พบสุวรรณ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 37 นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย นางวรางคณา อุ่นบ้าน ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ พุทธศาสนิกชน เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
 
งานประเพณีเดือน 8 เข้า เดือน 9 ออก ใส่ขันดอกเสาสะดือเมืองเชียงราย เป็นการฟื้นฟูประเพณีท้องถิ่น และรักษาวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม โดยจะจัดในช่วงปลายเดือน 8 ต้นเดือน 9 (เดือนทางเหนือล้านนา) ตรงกับแรม ๑๓ ค่ำ เดือน 8 ไปถึงขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 รวม 7 วัน มีตำนานความเชื่อว่าเป็นเสาที่พระอินทร์ลงมาปัก แต่เดิมพื้นที่แถบล้านนาเป็นที่อยู่อาศัยของชาวลัวะ ได้เกิดอาเพศบ้านเมืองวิปริตแปรปรวนเป็นโรคห่าล้มตายจำนวนมาก จึงได้พากันถือศีลวิงวอนเทพ เทวาอารักษ์ ในตำนานกล่าวว่าพระอินทร์ลงมาฝังหลักอินทขีลหรือฝังหลักเมืองไว้ ขอให้หลักนี้นำมาซึ่งความร่วมเย็นเป็นสุข ใครปรารถนาสิ่งใดให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยกำหนดจัดในระหว่างวันที่ 17 – 23 พฤษภาคม 2566
 
งานประเพณีมีกิจกรรมที่น่าสนใจได้แก่
1) พิธีบอกกล่าวประตูเมืองเชียงราย 12 ประตู พิธีอัญเชิญน้ำศักดิ์สิทธิ์ พิธีอัญเชิญพระอุปคุต พิธีการเข้าหลักเมือง และขบวนแห่พระเจ้าฝนแสนห่า โดยเคลื่อนขบวนผ่านถนนธนาลัย สู่วัดกลางเวียง
 
2) กิจกรรม Workshop การเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องสักการะล้านนา การทำสวยดอกไม้ การทำต้นผึ้ง ของเด็กนักเรียนและครูจากโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม รวมจำนวน 22 คน รวมทั้งนักเรียนและครูที่เข้าร่วมกิจกรรมได้นำเครื่องสักการะ (ต้นผึ้ง) และสวยดอกไม้ที่ทำเสร็จแล้วถวายสักการะเสาสะดือเมืองเชียงราย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย จัดให้มีเกียรติบัตรมอบให้กับนักเรียนและครูที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
 
3) การออกร้านเครือข่ายทางวัฒนธรรม “กาดก้อมกินลำ”
 
4) การแสดงการขับซอจากศิลปินจ่างซอ (อินโฟกราฟิกการแสดง https://shorturl.asia/DNbBI )
 
5) การแสดงศิลปะ การฟ้อน และการแสดงดนตรีพื้นเมือง จากช่างฟ้อน และผู้สนใจ โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย จัดให้มีเกียรติบัตรมอบให้กับผู้ร่วมแสดงในครั้งนี้

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา, สายรุ้ง สันทะบุตร : รายงาน 
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว 
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE