Categories
CULTURE

“งานตรานกยูงพระราชทาน ฯ ครั้งที่ 18”

 

   นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำคณะผู้บริหารกรมหม่อนไหมเข้าพบนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เพื่อประชาสัมพันธ์ “งานตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 18 ประจำปี 2566 โดยมี นายศรัญญู พูลลาภ รองอธิบดีกรมหม่อนไหม นำเสนอนิทรรศการฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงสืบสานและทรงให้ความสำคัญกับผ้าไหมไทย เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ้าไหมไทยคุณภาพผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหม รวมทั้งภารกิจและผลงานของกรมหม่อนไหมให้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทาน ผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหมของเกษตรกรให้ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง


            สำหรับการจัด “งานตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 18 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ไหมไทยล้ำค่า สายใยแห่งภูมิปัญญา พัฒนาสู่สากล” ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 3 กันยายน 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 20.00 น. ณ ฮอลล์ 6-7 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีกิจกรรมภายในงานที่น่าสนใจมากมาย อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ การจัดแสดงเครื่องหมายตรานกยูงพระราชทาน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน ประเภทผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมยกดอกลำพูน ผ้าไหมแพรวา ผลงานการประกวด เส้นไหม ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานและผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ประจำปี 2566 ผลงานของกรมหม่อนไหม และการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับหม่อนไหม เป็นต้น รวมทั้งยังมีการออกร้านจำหน่ายผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมไทย และสินค้าหม่อนไหม มากกว่า 200 ร้านค้า


            นายศรัญญู พูลลาภ รองอธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า กรมหม่อนไหม มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาไหมไทยตามความต้องการของตลาด ทั้งภายในประเทศและในระดับสากล โดยไฮไลท์สำคัญของการจัดงานตรานกยูงพระราชทานฯ ในครั้งนี้ คือ นิทรรศการการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เป็นการนำเสนอนิทรรศการพันธุ์หม่อน พันธุ์ไหมอนุรักษ์ ที่กรมหม่อนไหมได้รวบรวมและอนุรักษ์ให้คงอยู่ การนำเสนอไหมกินใบหม่อนและไหมที่กินใบพืชชนิดอื่น เช่น ไหมกระท้อน ไหมดาหลา ไหมมันสำปะหลัง และไหมอีรี่ เป็นต้น การนำเสนอการพัฒนาพันธุ์ไหมที่เหมาะสมในการผลิตผ้าห่มใยไหม ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดูดความชื้น ระบายเหงื่อและน้ำมันจากร่างกาย จึงทำให้รู้สึกแห้งสบายตัว และเย็นแม้ในค่ำคืนของฤดูร้อน นิทรรศการงานวิจัยผลิตภัณฑ์วัสดุทางการแพทย์จากไหมไทย ในส่วนของโครงร่างกระดูกและเต้านม นิทรรศการผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์ ซึ่งกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือ “จากพันธุ์ไม้ สู่แพรพรรณ” ซึ่งเป็นข้อมูลการออกแบบลายผ้าดอกเอเดลไวส์ ประกอบด้วย 5 เทคนิค ได้แก่ มัดหมี่ ยกดอก จก ขิด และ บาติก โดยกรมหม่อนไหมจัดทำขึ้น เพื่อส่งต่อให้ช่างทอผ้าไหมของทุกภูมิภาคได้สานต่องานทอผ้าให้มีความหลากหลาย และเพิ่มมูลค่าให้แก่  ผ้าไหมไทย


            นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการ Silk Home ที่เป็นการจำลองการใช้ชีวิตประจำวันใน ห้องรูปแบบ Studio คอนโดมิเนียม โดยมีผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหมเป็นหลัก ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ซึ่งผลิตภัณฑ์ใน Silk Home จะมีรายละเอียดของสินค้าและช่องทางการจำหน่ายที่สามารถเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวได้ภายในงานที่ได้รับการการันตีคุณภาพและมาตรฐาน ตลอดจน มีการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ของทูตอัตลักษณ์ไหมไทย ซึ่งเป็นบุคคลที่ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ และสวมใส่ผ้าไหมไทย ในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งยังประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไหมไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกอีกด้วย         

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
SOCIETY & POLITICS

“ก.เกษตรฯ – สสส. – ภาคีอาหาร” พลิกโฉมระบบอาหารที่ยั่งยืน

 

ภายใต้แผน UN “อิ่มและดี 2030” 5 ด้าน สู่ผลลัพธ์ทางสุขภาพก้าวกระโดด เตรียมเสนอต่อที่ประชุมระดับโลก ณ กรุงโรม 24 – 26 ก.ค. นี้

          นายเศรษฐเกียรติ มงกุฎวงษ์ รองโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้สัมภาษณ์สื่อเพื่อชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงเจตจำนงที่จะพลิกโฉมระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน ในครั้งนี้ Thailand Food and Agriculture Systems Stocktaking “เส้นทางสู่การพลิกโฉมระบบพบกับความยั่งยืนของ ประเทศ”เผื่อว่านางสาวนวรัตน์ เฉลิมเผ่า ผู้ช่วยผู้สมัคร FAO ประจำประเทศไทย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เกษตรศาสตร์ (บุคคลทั่วไป) ผู้ช่วยประเมิน ชล บุนนาค หัวหน้าศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายที่มุ่งสู่ความยั่งยืน (SDG Move) คณะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ณ ภาพรวม 112 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

       รองกระทรวงกลาโหมเกษตรและคอยติดตามในการประชุมการประชุมผู้นำประเทศผู้นำระบบอาหารโลกปี 2564 (UN Food Systems Summit : UNFSS 2021) คอยติดตาม (UN) สนับสนุนประเทศสมาชิกขับเคลื่อนระบบอาหารโลกทั้งวิธีการผลิต คำถามที่ถามและขอให้ช่วยตอบคำถามกลุ่มเป้าหมาย หัวข้อที่จัดทำขึ้นภายใต้แนวคิดของหลักสูตร “อิ่มและดี 2030” ซึ่งอ่านจากฐานข้อมูลในรายงานของกระทรวงเกษตรและเรียกร้องให้รวบรวมเพื่อจัดระเบียบระบบเกษตรและความยั่งยืน โดยต้องการให้มาที่นี่/การทำความเข้าใจประเด็น “ ระบบเกษตรและอาหารที่ปลอดภัย” ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งรวมถึงเกษตรและอาหาร บุคคลทั่วไปที่ภาคประชาสังคมได้รับเครือข่ายสถาบัน สมาคม องค์กร เรียกร้องอื่นๆ จนตามมาสร้างเครือข่าย “ความร่วมมือ” ตามมา ขับเคลื่อนโดย สส.ปฏิบัติตาม 1 ใน “ความร่วมมือ” เป็นไปได้ที่ร่วมขับเคลื่อนระบบ “ระบบเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน” ต่อปี 2564 ต่อปี 2564 ตามลำดับที่หลายฝ่ายที่ร่วมขับเคลื่อนการวิจัยเคยมีการวิจัยมาก่อนมีโครงการวิจัยเชิงวิเคราะห์สำหรับคำถามสำหรับอาหาร ความช่วยเหลือ (Policy Research for Thailand’s Food Systems Development) โดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
 

        สำหรับผู้ที่ต้องการระบบเกษตรและความมั่นคงอย่างยั่งยืนใน 5 เรื่องภายใต้หัวข้อ “อิ่มและดี 2030” รวม 5 ด้านที่ตามมา 
1. “อิ่มดีสแกนหน้า” เข้าถึงอาหารปลอดภัยและอย่างปลอดภัยทางโภชนาการ 
2. “อิ่มดีมีสุข ” ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่เพื่อความยั่งยืน 
3. “อิ่มดีรักษ์โลก” ส่งเสริมระบบการผลิตที่แมทซ์และต่อสิ่งแวดล้อม 
4. “อิ่มดีทั่วถึง” ส่งเสริมคริสต์มาสที่เสมอภาคปราณี และ 
5. “อิ่มดีทุกคนเมื่อ ” สร้างระบบที่จะปรับตัวได้เมื่อเข้าสู่วิกฤต 
 

       “เมื่อใดก็ตามที่มีโอกาสจะได้รับบทเรียนทบทวนแล้วจะได้รับแชร์ประสบการณ์ซึ่งจะมีการประชุม Food and Agriculture Stockmaking Moment ระดับที่สามารถทำได้ในวันที่ 24–26 กรกฎาคม 2566 ณ ผู้นำกลุ่มเกษตรแห่งความต้องการ (Food and Agriculture Organization: FAO) กรุงโรมรายงานอิตาลีและองค์กรที่ยั่งยืนในระดับผู้นำที่มีเป้าหมายที่จะเกิดขึ้น (SDG Summit) ก.ย. 2566 ต่อไปก็ขอให้ทบทวนและติดตาม ลองทำครั้งแรกหลังจากการประชุมสุดยอดระบบอาหารปี 2564 และเป็นการทบทวนการประเมินคุณภาพที่ดีในการนำเส้นทางการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารมาแล้ว” รองบล็อกเกษตรฯ กล่าว

        ดร.นพ.ไพโรจน์ เหลาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเพื่อการพัฒนา ฟอนต์ มีพันธกิจในทุกวันนี้และสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยให้ได้ช่วยกันพลิกโฉมระบบอาหารที่ยั่งยืนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แน่นอนตลอดไป ปี 2573 ภาษาไทย เร่งสานพลังภาคีเครือข่ายนโยบายยุทธศาสตร์ที่ไม่ต้องการอาหารเพื่อสุขภาวะ ตลอดการใช้งานอย่าลืมรบกวนหลักข้อที่ 3 ข้อ 
1. ขอให้ขอให้รอบรู้และขอความร่วมมือสนับสนุน เมื่อมีภาวะปกติและภาวะวิกฤต 
2. ส่งเสริมระบบตลาดอาหารปลอดภัยให้ทุกคนสร้างทางอาหารในครัวเรือน/ชุมชน 
3. การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
 

        “แบบจำลองต้นแบบระบบอาหารชุมชนได้เน้นความสำคัญใน “การสร้างผลลัพธ์ทางสุขภาพอย่างก้าวกระโดด” ซึ่งรวมถึงตัวอย่างที่คนงานสร้างเสริมสุขภาพ 3 ระดับ ระดับระดับต้นน้ำ การพัฒนาต้นแบบแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย/อินทรีย์ การพัฒนาไต่/ผลิตภัณฑ์ให้ข้อสรุป ความต้องการของผู้บริโภค กระตุ้นเศรษฐกิจอาหารชุมชนระดับกลางน้ำ ส่งเสริมระบบการขนส่ง/ เชื่อมโยง อย่าลืมที่จะประกอบการรำลึกชุมชน กระตุ้นให้เกิดการสร้างชุมชน (ตลาดเขียว/ ตลาดชุมชน/ ตลาดเชิงสถาบัน) และระดับ ปลายน้ำ รวบรวมความรอบรู้ซึ่งก็คืออาหารเพื่อสุขภาวะ ยกตัวอย่าง สำนึกสู่วิถีของอาหารเพื่อสุขภาวะ ลดหวาน มัน เค็ม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาวะลดเสี่ยงโรค ไม่ติดต่อ ผลลัพธ์สู่เป้าหมายของนโยบายสาธารณะ สร้างกระบวนการเรียนรู้และ สื่อสารที่มีแบนด์วิดท์และในระดับที่ยั่งยืนของพื้นที่ชายแดนและระดับสากล” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
 

         นางสาวนวรัตน์ เฉลิมเผ่า ผู้ช่วยผู้แทน FAO ประจำประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์ตัวเลขคนอดอยากทั่วโลกในปี 2022 อยู่ที่ประมาณ 700 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนคนอดอยากตั้งแต่มีการระบาดของโควิด19 ถึง 122 ล้านคน มีประชากรโลกมากกว่า 3 พันล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ ประชากรโลกอีกเป็นจำนวนมาก กำลังประสบปัญหาโภชนาการจากการบริโภค เช่น บริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เป็นโรคอ้วน น้ำหนักเกินกระทบต่อสุขภาพ และยังส่งผลต่อรายจ่ายด้านงบประมาณสาธารณสุขของประเทศ FAO สนับสนุนประเทศไทยในการส่งเสริมระบบอาหารทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สอดคล้องเป้าหมายหลักของกรอบยุทธศาสตร์ใหม่ ที่มุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนและระบบอาหารสีเขียว โดยเฉพาะการลดการสูญเสียอาหารและของเสีย เสริมสร้างการจัดการดิน น้ำ ป่าไม้ และระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน ผ่านการเกษตรที่เป็นมิตรต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการลดความเสี่ยงจากเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นำไปสู่การผลักดันนโยบายแก้ปัญหาการเกษตรระยะยาว
 
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
WORLD PULSE

เพิ่มตัวเลขการส่งออก ลดอุปสรรค การค้าของสินค้าเกษตรระหว่างไทย-จีน

 

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามการทำงานเพื่ออำนวยความสะดวก ลดอุปสรรคทางการค้าของสินค้าเกษตรระหว่างไทย-จีน เชื่อมั่นความร่วมมือกันจะทำให้ส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้น เพิ่มตัวเลขการส่งออก สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจไทย

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หารือกับ สำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน GACC (General Administration of the People’s Republic of China) ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ผลักดันความร่วมมือด้านการตรวจสอบ กักกันสินค้าเกษตรระหว่างไทย-จีน ตามผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคด้านสุขอนามัยพืชไทย-จีน (JTC-SPS : Joint Technical Committee meeting on the Implementation of Memorandum of Understanding on Cooperation in Sanitary and Phytosanitary) ครั้งที่ 7 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 ประกอบด้วย
1. การเปิดตลาดสินค้าเกษตรและอาหาร ได้แก่ เนื้อจระเข้ กุ้งก้ามกรามมีชีวิตเพื่อบริโภค อินทผลัม สละ และเสาวรส ซึ่งสินค้าเกษตรทั้ง 5 ชนิดอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาในการนำเข้าจากจีน
2. มาตรการยกเลิกการระงับการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกและชิ้นส่วนสัตว์ปีกแช่แข็งไปจีน
3. การขึ้นทะเบียนเพิ่มเติมของโรงงานเพื่อการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์รังนกจากไทยไปยังจีน ผ่านระบบ CIFER (China Import Food Enterprises Registration)
4. การเชื่อมโยงระบบใบรับรองสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Phyto (Electronic Phytosanitary Certificate) 5. การประชุม JTC-SPS ครั้งที่ 8 โดย GACC จะเป็นเจ้าภาพ ในช่วงปี 2567

โดยทั้ง 5 ประเด็น มีความคืบหน้าในการดำเนินการเป็นอย่างมาก ฝ่ายจีนยินดีให้การสนับสนุนการจัดอบรมและให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็วยิ่งขึ้น และทั้ง 2 ฝ่ายได้เริ่มหารือและแลกเปลี่ยนการดำเนินการเพื่อเชื่อมโยงระบบ e-Phyto ระหว่างกัน เพื่อเปิดตลาดสินค้าเกษตรใหม่ เพิ่มเติมขยายตลาดเดิม ลดอุปสรรคการค้า และเชื่อมโยงเครือข่ายการค้า อำนวยความสะดวกการค้าของทั้งสองฝ่าย ทำให้มีโรงงานไทยที่สามารถส่งออกสัตว์ปีกแช่แข็งไปยังจีนได้เพิ่มขึ้น 

“นายกรัฐมนตรีติดตามการทำงานของทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่ออำนวยความสะดวกแก่พี่น้องเกษตรกร รวมทั้ง สนับสนุนให้หารือเพิ่มความร่วมมือในส่วนของมาตรฐานการค้าของสินค้าเกษตรระหว่างไทย – จีน โดยรัฐบาลพร้อมส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร อำนวยความสะดวก ลดอุปสรรคทางการค้า เพิ่มโอกาสให้เกษตรกรและผู้ประกอบการไทย ให้สามารถส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้น” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS UPDATE

รัฐมนตรีเกษตร’ เปิดงาน 121 ปีกรมชลประทาน ก้าวสู่อนาคตสู่ทศวรรษใหม่

 

 ดร.เฉลิมชัยศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “121 ปี  กรมชลประทานสู่อนาคตสู่ทศวรรษใหม่” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทานครบรอบปีที่ 121 ในวันที่ 13 มิถุนายน 2566 โดยมีนายนราพัฒน์ แก้วทองผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายธนาชีรวินิจเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายสมเกียรติกอไพศาลประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายสำเริงแสงภู่วงศ์คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรแบะสหกรณ์นายประยูรอินสกุลปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายประพิศจันทร์มาอธิบดีกรมชลประทานผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมชลประทานเข้าร่วมณอาคาร 99 ปีหม่อมหลวงชูชาติกำภูกรมชลประทานถนนสามเสนกรุงเทพฯ 

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่ากรมชลประทานเป็นหน่วยงานสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรมีภารกิจด้านการจัดหาแหล่งน้ำการพัฒนาแหล่งน้ำตลอดจนการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอในทุกภาคส่วนจึงได้เน้นย้ำเรื่องการเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องร่วมมือกันดำเนินการรวมทั้งต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนใช้น้ำให้เกิดคุณค่ามากที่สุดพี่น้องเกษตรกรและประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุดและเป็นการสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้ประเทศนอกจากนี้ยังมีโครงการที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อเพิ่มต้นทุนน้ำในอนาคตเป็นการเตรียมความพร้อมลดปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฝนทิ้งช่วงและขอให้ทุกภาคส่วนร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

          “จากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงที่ผ่านมาซึ่งขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนแล้วขอยืนยันว่ากรมชลประทานได้เตรียมแผนจัดสรรน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและการรักษาระบบนิเวศน์ไว้เพียงพอส่วนน้ำภาคการเกษตรขอฝากไปยังพี่น้องเกษตรกรให้ช่วยกันรักษาและใช้น้ำอย่างมีคุณค่ามากที่สุดทั้งนี้ขอเป็นกำลังใจให้ข้าราชการเจ้าหน้าที่กรมชลประทานทุกคนตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ในการแก้ปัญหาเพื่อประชาชนและประเทศชาติและก้าวสู่ปีที่ 122 อย่างมั่นคง” รมว.เกษตรฯกล่าว 

          โอกาสนี้รมว.เกษตรฯเป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณรางวัลข้าราชการพลเรือนและลูกจ้างประจำดีเด่นประจำปีพ.. 2565 รางวัลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา/โครงการชลประทานและฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาประจำปีพ.. 2566 และรางวัลนวัตกรรมดีเด่นพร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์

          ด้านนายประพิศจันทร์มาอธิบดีกรมชลประทานเปิดเผยว่ากรมชลประทานก้าวสู่ทศวรรษที่ 13 ยังคงยืนหยัดและยึดมั่นในการดําเนินงานตามภารกิจสร้างความมั่นคงด้านน้ําเพื่อความมั่งคั่งของผลผลิตทางการเกษตรและเพื่อความยั่งยืนของพี่น้องเกษตรและประชาชนตามภารกิจหลักภายใต้ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (..2561-2580) โดยมีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้ได้กว่า 49.5 ล้านไร่เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนได้ประมาณ 93,655 ล้านลูกบาศก์เมตรเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำโดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติจากน้ำรวมไปถึงมุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ Water Security เพิ่มคุณค่าการบริการก้าวสู่องค์กรอัจฉริยะภายในปี 2580 ตาม Road Map การดำเนินงานทั้ง 4 เฟสเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้แก่

          เฟส 1 (2561-2565) “เสริมพลังใหม่สู่การปรับเปลี่ยน” มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ขนาดกลางขนาดเล็กและโครงการพระราชดำริที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จหลายโครงการกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศสามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักได้รวม 1,292.50 ล้านลูกบาศก์เมตรและเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 1.94 ล้านไร่

          เฟส 2 (2566-2570) “สร้างภาคีเครือข่ายและความร่วมมือ” มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการควบคุมและบริหารน้ำระบบอัจฉริยะก่อสร้างระบบชลประทานด้วยนวัตกรรมชั้นสูงสร้างระบบเครือข่ายที่เข้มแข็ง

          เฟส 3 (2571-2575) “ปฏิรูปรูปแบบกระบวนงาน” Smart Water Operation Center

          และเฟส 4 (2576-2580) “มุ่งสู่องค์กรอัจฉริยะ” พัฒนาแหล่งน้ำชลประทานครอบคลุมทุกลุ่มน้ำระบบชลประทานครบสมบูรณ์        

          สำหรับในปีนี้กรมชลประทานได้จัดนิทรรศการ 2 รูปแบบได้แก่ 1. นิทรรศการออนไลน์ “สู่อนาคตสู่ทศวรรษใหม่ 121 ปีกรมชลประทาน” เป็นนิทรรศการเสมือนจริงแบบ 3 มิติแสดงประวัติความเป็นมางานด้านชลประทานผลงานตามภารกิจของกรมชลประทานตลอดจนทิศทางการขับเคลื่อนงานสู่เฟส 2 สามารถรับชมผ่านทางเว็บไซต์กรมชลประทาน www.121exhibition.rid.go.th ได้ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไปและ 2. นิทรรศการ On ground “กรมชลประทาน 6 รัชกาลงานของแผ่นดิน” พร้อมกิจกรรมที่น่าสนใจอาทิการเสวนาพิเศษโดยดร.อั๋นภูวนาทคุนผลินกับหัวข้อ “ปลุกพลัง RID TEAM สร้างความสำเร็จสู่อนาคตใหม่” ตลอดจนกิจกรรม “มอบทุนต้นกล้าเกษตรคืนถิ่นเพื่อความยั่งยืน” ให้แก่บุตรเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกให้ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีณวิทยาลัยการชลประทานกิจกรรมร่วมบริจาคโลหิตให้สภากาชาดไทยและกิจกรรมแจกกล้าไม้อาทิสักทองพะยูงยางนาตะเคียนทองรวม 520 กล้ารวมไปถึงการจัดจำหน่ายผลผลิตทางเกษตรจากเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภายใต้แผนพัฒนาอาชีพและแผนป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณด้านหลังอาคาร 99 ปีหม่อมหลวงชูชาติกำภูกรมชลประทานถนนามเสนกรุงเทพฯ 

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

รมว.เฉลิมชัย’ หนุนงานวิจัยพันธุ์ข้าว ชูเทคโนโลยี นวัตกรรมพัฒนาสายพันธุ์ข้าวไทยแข่งขันตลาดโลก

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีปิดการจัดงานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เนื่องในวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ประจําปี 2566 ภายใต้แนวคิด “91 พรรษา สายธารแห่งน้ำพระทัย สร้างชาวนาวิถีใหม่ สู่ข้าวไทยยั่งยืน” ณ กรมการข้าว เกษตรกลางบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยมี นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมเกียรติ กอไพศาล ประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมเป็นเกียรติในงาน โอกาสนี้ รมว.เกษตรฯ ได้มอบรางวัลชนะเลิศการประกวดแข่งขันแฟนพันธุ์แท้ข้าวไทย การประกวดวาดภาพสีโปสเตอร์ภายใต้หัวข้อ “ข้าวและชาวนาไทย” และการประกวดงานศิลปะ เรียงเมล็ดพันธุ์ข้าว ภายใต้หัวข้อ “กสิกรรม นําไทยยั่งยืน” ให้กับผู้ชนะการแข่งขัน


ดร.เฉลิมชัย กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จะสามารถช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ซึ่งเกษตรกรจะได้รับประโยชน์และมีรายได้เพิ่มขึ้น และยังได้รับองค์ความรู้จากเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ ภายในงาน ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ได้ฝากให้กรมการข้าวเดินหน้าผลักดันงานวิจัยสายพันธุ์ข้าว ให้มีผลตอบแทนสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักของกระทรวงเกษตรฯ อีกทั้งเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้  ยังต้องมุ่งเน้นการเผยแพร่งานวิจัยไปยังศูนย์ข้าวชุมชนทั่วประเทศ และกลุ่มวิสาหกิจแปลงใหญ่อีกด้วย


     “ขอฝากไปยังข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ให้ยึดหลักว่าพี่น้องเกษตรกรคือคนในครอบครัว เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหา และต่อยอดนโยบายที่ดีอยู่แล้วให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตลอดจนผลักดันขยายการส่งออกข้าวไทยไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีน ทั้งนี้ ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ติดตามรับฟังข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันความเสียหายและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์ภัยแล้ง” รมว.เกษตรฯ กล่าว


     นอกจากนี้ รมว.เกษตรฯ ได้แสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดแข่งขันดังกล่าว และชื่นชมต่อความสําเร็จของการจัดงานในครั้งนี้ ซึ่งการจัดงานทําให้เกษตรกร และผู้สนใจได้รำลึกถึงความสําคัญของข้าว ในฐานะพืชที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนไทยมาอย่างยาวนาน ตลอดจนได้รับทราบองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว การยกระดับคุณภาพผลผลิตให้สนองความต้องการของตลาด พร้อมทั้งการผลิตข้าวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและนําไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อไป


ทั้งนี้ ตามที่กรมการข้าวได้จัดงานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสําหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เนื่องในวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ประจําปี 2566 ระหว่างวันที่ 5 – 7 มิถุนายน 2566 ณ กรมการข้าว ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เพื่อให้ประชาชนรําลึกถึงความสําคัญของข้าว ในฐานะพืชที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนไทยมาอย่างยาวนาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว การยกระดับคุณภาพผลผลิตให้สนองความต้องการของตลาด 

 

พร้อมทั้งการผลิตข้าวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้เกษตรกรที่เข้าร่วมงานได้รับทราบและนําไปประยุกต์ใช้ ซึ่งการจัดงานครั้งนี้เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรชาวนา วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ ภายในงานประกอบไปด้วยกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ นิทรรศการ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงงานด้านข้าวและชาวนา นิทรรศการเชิดชูเกียรติชาวนา นิทรรศการและการแสดงผลงานขององค์กรชาวนาหน่วยงาน ราชการ และภาคเอกชน การจัดเวทีเสวนาข้าวและชาวนา การสาธิตและประกวดแข่งขันและการจําหน่ายสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานและรับชม ผ่านทางออนไลน์ จํานวน  76,055 ราย ทําให้การจัดงานในครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

     นอกจากนี้ ยังมีการจัดงานอีก 2 จังหวัด ได้แก่ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 17 มิถุนายน 2566 และ Korat Hall ชั้น 4 ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 22 – 23 มิถุนายน 2566 อีกด้วย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

ปลัดเกษตรฯ ทูตออสเตรเลียปลื้ม ร่วมงานปลูกข้าวจากพระราชพิธีพืชมงคลฯ ปี 2566

  นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังร่วมงานกิจกรรมปลูกข้าวจากงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2566 โดยมีนายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายพงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และผู้แทนจากภาคส่วนราชการฝ่ายไทยและฝ่ายออสเตรเลีย เข้าร่วม ณ สถานเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยินดีและเป็นเกียรติที่ ดร. แองเจลล่า แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย ให้ความสำคัญกับข้าวจาก พระราชพิธีที่สำคัญของประเทศไทย และนำมาปลูกที่สถานเอกอัครราชทูตแห่งนี้ รวมถึงเชิญผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมงานปลูกข้าวในวันนี้ ซึ่งประเทศไทยและออสเตรเลียมีความสัมพันธ์ทางการทูตมาอย่างยาวนานมากกว่า 70 ปี และหวังว่าความร่วมมือของทั้งสองประเทศจะแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นในปีต่อ ๆ ไป ภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) โดยเฉพาะการเพิ่มมูลค่าการค้าและส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกัน รวมถึงประเด็นการจัดการกับโรคระบาดต่าง ๆ ทั้งในพืชและสัตว์ โดยเน้นย้ำว่า ประเทศไทยใส่ใจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้าว่า สินค้าเกษตรของไทยมีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค


               ขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าในการเจรจาการเปิดตลาดเป็ดปรุงสุกจากไทยไปออสเตรเลีย และอะโวคาโดสดจากออสเตรเลียมาไทย เจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายไทยและออสเตรเลียได้ร่วมมือประสานการทำงานระหว่างกัน ทำให้กระบวนการด้านเทคนิคเพื่อจัดทำเงื่อนไขการนำเข้าของทั้งสองสินค้าได้สำเร็จเรียบร้อย ซึ่งคาดว่าจะสามารถส่งออกเป็ดปรุงสุกของไทยไปออสเตรเลียได้ในเร็ว ๆ นี้ นอกจากนี้ ได้หารือการเพิ่มโอกาสและปริมาณการค้าสินค้าเกษตร กับเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียเพิ่มเติม ได้แก่ ทุเรียนแกะเนื้อแช่เย็นและทุเรียนแช่เยือกแข็งจากไทย เนื่องจาก
มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และอาหารจากพืช (Plant Based Food) กำลังเป็นที่สนใจของผู้บริโภคออสเตรเลียมากเช่นกัน และในช่วงปลายปี 2566 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและมาตรฐานอาหาร (SPS Expert Group) ครั้งที่ 19 และการประชุมคณะทำงานร่วมด้านวิชาการเกษตร ไทย-ออสเตรเลีย (Joint Working Group on Agriculture: JWGA) ครั้งที่ 23 ซึ่งเป็นการประชุมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี คาดว่าจะมีความร่วมมือใหม่ ๆ ประเด็นความท้าทาย เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการปรับตัวทางการเกษตร รวมถึงการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ของทั้งสองประเทศในการร่วมหารือครั้งนี้ด้วย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

พื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (GIAHS) “เลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย”

พื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (GIAHS) “เลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย”

Facebook
Twitter
Email
Print

 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความสำเร็จในการยื่นเอกสารข้อเสนอ “การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยการเสนอเรื่องดังกล่าว เพื่อขอรับการรับรองเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร มีหลักเกณฑ์การพิจารณาของพื้นที่ GIAHS ทั้งหมด 5 ข้อ ได้แก่ 1) ความมั่นคงอาหาร/ชีวิตความเป็นอยู่ดี 2) ความหลากหลายทางชีวภาพเกษตร 3) ระบบความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีมาแต่ดั้งเดิม 4) วัฒนธรรม ระบบคุณค่า และองค์กรทางสังคม และ 5) ลักษณะภูมิทัศน์/และภูมิทัศน์ทางทะเล และจากการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Advisory Group: SAG) ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ได้ประกาศให้ “การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (Global Important Agricultural Heritage Systems หรือ GIAHS) ของ FAOและนับเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย

                       “พิธีมอบใบประกาศรับรองพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (Globally Important Agricultural Heritage Systems หรือ GIAHS) จะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคมนี้ เวลา 16.00-18.30 น. (เวลาประเทศไทย) ณ สำนักงานใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี โดยชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง จะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้น การขึ้นทะเบียนฯ จะไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ และยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน ทำให้เศรษฐกิจชุมชนเติบโต และเพิ่มการจ้างงานในพื้นที่อีกด้วย” ปลัดเกษตรฯ กล่าว

          สำหรับพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของไทยนี้ มีพื้นที่ทั้งหมด 45,822 เฮกตาร์ (458.22 ตารางกิโลเมตร) ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะเป็นทะเลแบบลากูน (Lagoon)  หนึ่งเดียวของประเทศไทย มีความสำคัญเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ได้รับการแต่งตั้งอนุสัญญาแรมซาร์ ในปี พ.ศ. 2541 (Ramsar site No.948) ครอบคลุมพื้นที่ป่าพรุ เป็นเส้นทางอพยพของนกจากเอเชียตะวันออกและแหล่งที่อยู่ของสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพ มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ รวมทั้งเป็นแหล่งอาศัยสำคัญของสังคมสัตว์และสังคมพืชนานาชนิด และแหล่งประกอบอาชีพหลักและความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพกสิกรรมแบบดั้งเดิม เช่น การทำนา การทำประมงและเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะ “ควายปลัก” ซึ่งมีลักษณะเหมือนควายปกติ แต่มีความสามารถในการปรับตัวให้สามารถหากินได้ทั้งในน้ำและบนบก ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของควายในพื้นที่ จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในจังหวัดพัทลุง 

Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE