Categories
SOCIETY & POLITICS

ธรรมนัส ย้ำชัด! ต้องขับเคลื่อนนโยบาย ของรัฐบาลด้านการเกษตร

 

 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายขับเคลื่อนงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวรายงาน มีคณะผู้บริหารระดับสูงทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วม ณ ห้องประชุมธารทิพย์ 01 ชั้น 4 อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำภู กรมชลประทานสามเสน พร้อมนี้ ได้เปิดการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ Application Zoom และทาง Facebook Live กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และทุกหน่วยงานทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และต่างประเทศ รวมกว่า 7,300 คน ตลอดจนสื่อมวลชนรับฟังอย่างทั่วถึง


                  โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ภารกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความสำคัญอย่างมากในการดูแลพี่น้องเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ให้อยู่ดีมีสุข มีรายได้อย่างมั่นคง ภาคเกษตรไทย จะต้องแข็งแกร่ง มีศักยภาพการแข่งขันที่ทัดเทียมหรือดีกว่าสินค้าเกษตรต่างประเทศ โดยมีนโยบายและงานหลักสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประการแรกคือ การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการเกษตร ที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงเมื่อวันที่ 11-12 กันยายน 2566 ไปสู่การปฏิบัติให้เป็นผลสำเร็จ


                   นอกจากนี้ ยังมีนโยบายและงานสำคัญที่จะเร่งผลักดันดำเนินการในประเด็นต่างๆ ดังนี้
                 เน้นการสร้างวิธีการทำงานสู่การปฏิบัติ ได้แก่ 1)การจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนภาคการเกษตรโดยเป็นศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และพี่น้องเกษตรกร เพื่อให้สามารถติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล และรับเรื่องร้องเรียน คลายทุกข์ให้แก่พี่น้องเกษตรกร ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว 2) สร้างครอบครัวเกษตร บูรณาการงานเข้มแข็งเน้นการทำงานของทุกคนทุกหน่วยงาน ต้องทำงานเป็น Team Work ให้มีศักยภาพเพื่อการทำงานระบบทีมมีประสิทธิภาพ มุ่งมั่น ร่วมแรงร่วมใจบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จ3) ขับเคลื่อนภารกิจ ยกระดับ MR. สินค้าเกษตรโดยฟื้นฟู ยกระดับการทำงานของ MR. สินค้าเกษตร อีกครั้ง สินค้าเกษตรทุกชนิดต้องมีผู้รับผิดชอบ เน้นทำงานเชิงรุก สร้างกลไกการทำงานร่วมกันในทุกสินค้า แก้ปัญหาถูกจุด ทั้งด้านสินค้าล้นตลาด ราคาตกต่ำ การลักลอบนำเข้าแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง


                การรับมือภัยธรรมชาติจะต้องวางแผนมาตรการต่างๆ อย่างชัดเจน รับมือตั้งแต่การป้องกัน การแก้ไข และการฟื้นฟู เมื่อประสบเหตุภัยแล้ง หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติทุกชนิด


                ปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมาโดยถือเป็นการประกาศสงครามสินค้าเกษตรเถื่อนอย่างจริงจัง เข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาผลผลิตในประเทศ เข้มงวดในการตรวจสอบสต็อกในประเทศเพื่อควบคุมในการนำเข้า การกักตุน และเก็งกำไร โดยเฉพาะช่วงก่อนที่ผลผลิตออกสู่ตลาด


                ยกระดับสินค้าเกษตร เสริมศักยภาพเกษตรกรได้แก่ 1) ผลักดันส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรสร้าง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง เนื่องจากภาคเกษตรเป็นภาคเศรษฐกิจหลักสำคัญ มีประชากรอยู่ในภาคเกษตรจำนวนมาก แต่ยังขาดการพัฒนาที่เหมาะสม เกษตรกรบางส่วนยังทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่จึงมีรายได้น้อย จึงเน้นแนวทางในการปรับเปลี่ยนไปสู่การปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงขึ้น


2) ส่งเสริมเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรเป็นผู้ให้บริการทางการเกษตรครบวงจร (Agricultural Service Provider) โดยเกษตรกร สถาบันเกษตรกรสามารถเป็นเจ้าของเครื่องมือเครื่องจักรกลของตนเองพร้อมเป็นผู้ให้บริการด้านธุรกิจเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ซึ่งตอบโจทย์กลุ่มประชากรภาคเกษตรยุคใหม่


            การจัดการทรัพยากรทางการเกษตรทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Go Green)  ด้วย BCG / Carbon Credit จะต้องทำการเกษตรที่ลดภาระต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม การกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ถูกต้อง การลดปริมาณปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง มีการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย


             การอำนวยความสะดวกด้านการเกษตร  ได้แก่ 1)พัฒนาระบบการประกันภัยภาคการเกษตรซึ่งเป็นอีกหนึ่งในนโยบายสำคัญของการพัฒนาภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน บริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอน โดยจะเดินหน้าต่อยอด พัฒนาสร้างระบบประกันภัยให้แก่พี่น้องเกษตรกรไทย และ2) อำนวยความสะดวก สนับสนุนให้บริการเครื่องมือทางการเกษตรที่ให้เกษตรกรสามารถเช่า/ยืม เครื่องมือเครื่องจักรกลด้านการเกษตรที่เหมาะสมต่อการการผลิต


                “ผมมีความภาคภูมิใจ ที่ได้กลับมาทำงาน และรับใช้พี่น้องเกษตรกรอีกครั้ง ซึ่งแนวทางการทำงาน และนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ผมจะขับเคลื่อนและผลักดันนั้น จะไม่ใช่มีเพียงนโยบายที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีอีกหลายนโยบายและแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่จะครอบคลุม เพื่อช่วยเหลือ ช่วยแก้ปัญหาพี่น้องเกษตรกร และพัฒนาภาคเกษตรซึ่งทุกนโยบายและทุกการทำงานจะเป็นไปอย่างจริงจัง เกิดผลเป็นรูปธรรมชัดเจนและต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจทำงานอย่างบูรณาการทีมเวิร์ค แบบครอบครัวไปด้วยกัน เพื่อพี่น้องเกษตรกรกินดี อยู่ดี มีรายได้ มีอาชีพที่มั่นคง สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน และภาคเกษตรไทยคือผู้นำสินค้าเกษตรในตลาดโลก” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าว


             ด้านนายไชยาพรหมารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่าจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบนโยบายนั้นครบถ้วนทุกประการการทำงานของพวกเราทุกคนคงสบายใจที่เราถึงแม้จะมาจากต่างพรรคแต่พวกเราก็มีเป้าหมายเดียวกันจะทำงานร่วมกันแบบบูรณาการมีเป้าหมายในการให้บริการประชาชนให้ขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จแต่ถ้าปราศจากฟันเฟืองในการขับเคลื่อนของกระทรวงก็จะไม่สามารถบรรลุได้จึงขอให้ทุกท่านทำงานร่วมกันด้วยความสบายใจ


    นายอนุชานาคาศัยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณกล่าวว่าพร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายต่างๆที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายซึ่งนับว่าเป็นนโยบายที่ดีครอบคลุมสนองงานนโยบายรัฐบาลสำหรับนโยบายการทำงานแบบบูรณาการในหน่วยงานให้เป็นครอบครัวเกษตรนั้นถือเป็นการสร้างมิติใหม่ที่จะขับเคลื่อนพัฒนาภาคเกษตรให้พี่น้องเกษตรกรมีชีวิคความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นรายได้เพิ่มขึ้นทั้งนี้ยินดีที่จะได้ร่วมงานกันสนองงานนโยบายรัฐบาลและขอขอบคุณทุกท่านไว้ล่วงหน้าที่จะร่วมมือกับขับเคลื่อนงายไปสู่เป้าหมาย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
SOCIETY & POLITICS

ลงนาม MOU ส่งเสริมการปลูกกาแฟ ภายใต้นโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้”

 

 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เรื่อง การส่งเสริมการปลูกกาแฟ ภายใต้นโยบายตลาดนำการผลิต ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) โดยมี นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) ร่วมลงนามพร้อมด้วย นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสุชาติ ระมาศ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า 

 

“การลงนาม MOU ในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขยายพื้นที่การปลูกกาแฟให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน โดยมีการสนับสนุน การศึกษา และพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตกาแฟให้มีปริมาณผลผลิตและมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล รวมทั้งให้เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชจากแบบเชิงเดี่ยวมาเป็นการปลูกพืชแบบผสมผสานร่วมกับกาแฟ ซึ่งถือเป็นเกษตรกรรมแบบยั่งยืน สามารถช่วยลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การบุกรุกป่า และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความร่วมมือด้านการตลาดในการรับซื้อผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพของเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกกาแฟอย่างครบวงจร ตามนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ซึ่งร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบแนวทางการดำเนินงานไว้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้ สร้างโอกาส และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน”

 


     ด้าน นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ เกิดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการส่งเสริมและสนับสนุนการขยายพื้นที่ปลูกกาแฟ โดยปรับเปลี่ยนเป็นการเกษตรแบบผสมผสานร่วมกับกาแฟ เพื่อให้เกษตรกรมีผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตกาแฟให้มีปริมาณผลผลิตและมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลผลิตกาแฟที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้ากาแฟได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและปัญหาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือด้านการตลาด โดย คาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon) จะสนับสนุนการรับซื้อผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพตามมาตรฐานจากเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุน การปลูกกาแฟ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของ OR ที่มุ่งให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสและสร้างคุณค่าแก่ผู้คนโดยไม่ทิ้งใครไว้ ข้างหลังตลอดห่วงโซ่การดำเนินธุรกิจ

 

     รวมทั้งยังสอดคล้องกับแนวทางการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนผ่าน OR SDG ทั้งในด้าน “S” หรือ “SMALL” ที่มุ่งเน้น การให้โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก ด้วยการส่งเสริมพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ด้าน “D” หรือ “DIVERSIFIED” เพิ่มโอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ (More Partners, Products and Services) ผ่านศักยภาพของ OR ที่จะเป็น Platform ในการกระจายโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายและครอบคลุม พร้อมเติบโตไปด้วยกัน รวมทั้งในด้าน “G” หรือ “GREEN” ที่มุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) ตามเป้าหมาย OR 2030 Goals ซึ่งตอกย้ำวิสัยทัศน์ “Empowering All Toward Inclusive Growth” เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกันอย่างแท้จริง

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

“ธรรมนัส” ลงพื้นที่จ.พะเยา ระดมครอบครัวเกษตรฯ ปฏิบัติงานทันที

 

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2566 เวลา 16.00 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดพะเยา เป็นประธานการประชุมแนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาและบริหารจัดการกว๊านพะเยา  ลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวต้อนรับ รวมทั้ง นายอัครา พรหมเผ่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา นางสุมิตรา กัณฑมิตร นายกเทศมนตรีเมืองพะเยา ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนให้การต้อนรับกว่า 1,300 คน และร่วมมอบดอกไม้แสดงความยินดีในโอกาสได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

         “การลงพื้นที่จังหวัดพะเยาในวันนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ได้กลับมาในจังหวัดพะเยา หลังจากที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และขอขอบคุณพี่น้องประชาชน เกษตรกร ที่ได้ให้กำลังใจ ทั้งนี้ ผมจะแถลงและมอบนโยบายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทันที ภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐาทวีสินแถลงนโยบายในวันที่ 11 – 12 .นี้ และเตรียมพร้อมปฏิบัติหน้าที่ทันที เพราะปัญหาของพี่น้องเกษตรกรสะสมมานาน จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข โดยนโยบายที่จะขับเคลื่อนเร่งด่วน อาทิ การพักหนี้เกษตรกร การยกระดับแปลงใหญ่ การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายฯ (IUU) การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน(...) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หลังการแถลงนโยบายของรัฐบาลแล้ว จะลงพื้นที่จังหวัดพะเยาอีกครั้ง โดยจะประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อมอบนโยบายและหารือแนวทางการพัฒนาจังหวัดพะเยาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ อีกด้วย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าว

         สำหรับในพื้นที่จังหวัดพะเยา มีประเด็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขและพัฒนา คือ การให้ความช่วยเหลือเร่งรัดการพัฒนาพื้นที่หนองเล็งทราย การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ของกว๊านพะเยา การติดตามและขับเคลื่อนโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯรวมถึงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเพิ่มการกักเก็บน้ำให้มากขึ้น

           โอกาสนี้ รมว.เกษตรฯ ได้นำมังคุดมาแจกจ่ายให้กับประชาชนชาวพะเยา ซึ่งเป็นมังคุดที่รับซื้อจากเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 5 ตัน แบ่งเป็น 4 ตันสำหรับแจกจ่าย  และอีก 1 ตัน ที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่เหมาะกับการบริโภคมาแจกจ่ายให้กับเกษตรกรเพื่อใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

“งานตรานกยูงพระราชทาน ฯ ครั้งที่ 18”

 

   นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำคณะผู้บริหารกรมหม่อนไหมเข้าพบนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เพื่อประชาสัมพันธ์ “งานตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 18 ประจำปี 2566 โดยมี นายศรัญญู พูลลาภ รองอธิบดีกรมหม่อนไหม นำเสนอนิทรรศการฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงสืบสานและทรงให้ความสำคัญกับผ้าไหมไทย เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ้าไหมไทยคุณภาพผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหม รวมทั้งภารกิจและผลงานของกรมหม่อนไหมให้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทาน ผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหมของเกษตรกรให้ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง


            สำหรับการจัด “งานตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 18 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ไหมไทยล้ำค่า สายใยแห่งภูมิปัญญา พัฒนาสู่สากล” ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 3 กันยายน 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 20.00 น. ณ ฮอลล์ 6-7 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีกิจกรรมภายในงานที่น่าสนใจมากมาย อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ การจัดแสดงเครื่องหมายตรานกยูงพระราชทาน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน ประเภทผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมยกดอกลำพูน ผ้าไหมแพรวา ผลงานการประกวด เส้นไหม ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานและผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ประจำปี 2566 ผลงานของกรมหม่อนไหม และการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับหม่อนไหม เป็นต้น รวมทั้งยังมีการออกร้านจำหน่ายผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมไทย และสินค้าหม่อนไหม มากกว่า 200 ร้านค้า


            นายศรัญญู พูลลาภ รองอธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า กรมหม่อนไหม มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาไหมไทยตามความต้องการของตลาด ทั้งภายในประเทศและในระดับสากล โดยไฮไลท์สำคัญของการจัดงานตรานกยูงพระราชทานฯ ในครั้งนี้ คือ นิทรรศการการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เป็นการนำเสนอนิทรรศการพันธุ์หม่อน พันธุ์ไหมอนุรักษ์ ที่กรมหม่อนไหมได้รวบรวมและอนุรักษ์ให้คงอยู่ การนำเสนอไหมกินใบหม่อนและไหมที่กินใบพืชชนิดอื่น เช่น ไหมกระท้อน ไหมดาหลา ไหมมันสำปะหลัง และไหมอีรี่ เป็นต้น การนำเสนอการพัฒนาพันธุ์ไหมที่เหมาะสมในการผลิตผ้าห่มใยไหม ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดูดความชื้น ระบายเหงื่อและน้ำมันจากร่างกาย จึงทำให้รู้สึกแห้งสบายตัว และเย็นแม้ในค่ำคืนของฤดูร้อน นิทรรศการงานวิจัยผลิตภัณฑ์วัสดุทางการแพทย์จากไหมไทย ในส่วนของโครงร่างกระดูกและเต้านม นิทรรศการผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์ ซึ่งกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือ “จากพันธุ์ไม้ สู่แพรพรรณ” ซึ่งเป็นข้อมูลการออกแบบลายผ้าดอกเอเดลไวส์ ประกอบด้วย 5 เทคนิค ได้แก่ มัดหมี่ ยกดอก จก ขิด และ บาติก โดยกรมหม่อนไหมจัดทำขึ้น เพื่อส่งต่อให้ช่างทอผ้าไหมของทุกภูมิภาคได้สานต่องานทอผ้าให้มีความหลากหลาย และเพิ่มมูลค่าให้แก่  ผ้าไหมไทย


            นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการ Silk Home ที่เป็นการจำลองการใช้ชีวิตประจำวันใน ห้องรูปแบบ Studio คอนโดมิเนียม โดยมีผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหมเป็นหลัก ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ซึ่งผลิตภัณฑ์ใน Silk Home จะมีรายละเอียดของสินค้าและช่องทางการจำหน่ายที่สามารถเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวได้ภายในงานที่ได้รับการการันตีคุณภาพและมาตรฐาน ตลอดจน มีการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ของทูตอัตลักษณ์ไหมไทย ซึ่งเป็นบุคคลที่ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ และสวมใส่ผ้าไหมไทย ในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งยังประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไหมไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกอีกด้วย         

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

“ก.เกษตรฯ – สสส. – ภาคีอาหาร” พลิกโฉมระบบอาหารที่ยั่งยืน

 

ภายใต้แผน UN “อิ่มและดี 2030” 5 ด้าน สู่ผลลัพธ์ทางสุขภาพก้าวกระโดด เตรียมเสนอต่อที่ประชุมระดับโลก ณ กรุงโรม 24 – 26 ก.ค. นี้

          นายเศรษฐเกียรติ มงกุฎวงษ์ รองโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้สัมภาษณ์สื่อเพื่อชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงเจตจำนงที่จะพลิกโฉมระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน ในครั้งนี้ Thailand Food and Agriculture Systems Stocktaking “เส้นทางสู่การพลิกโฉมระบบพบกับความยั่งยืนของ ประเทศ”เผื่อว่านางสาวนวรัตน์ เฉลิมเผ่า ผู้ช่วยผู้สมัคร FAO ประจำประเทศไทย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เกษตรศาสตร์ (บุคคลทั่วไป) ผู้ช่วยประเมิน ชล บุนนาค หัวหน้าศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายที่มุ่งสู่ความยั่งยืน (SDG Move) คณะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ณ ภาพรวม 112 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

       รองกระทรวงกลาโหมเกษตรและคอยติดตามในการประชุมการประชุมผู้นำประเทศผู้นำระบบอาหารโลกปี 2564 (UN Food Systems Summit : UNFSS 2021) คอยติดตาม (UN) สนับสนุนประเทศสมาชิกขับเคลื่อนระบบอาหารโลกทั้งวิธีการผลิต คำถามที่ถามและขอให้ช่วยตอบคำถามกลุ่มเป้าหมาย หัวข้อที่จัดทำขึ้นภายใต้แนวคิดของหลักสูตร “อิ่มและดี 2030” ซึ่งอ่านจากฐานข้อมูลในรายงานของกระทรวงเกษตรและเรียกร้องให้รวบรวมเพื่อจัดระเบียบระบบเกษตรและความยั่งยืน โดยต้องการให้มาที่นี่/การทำความเข้าใจประเด็น “ ระบบเกษตรและอาหารที่ปลอดภัย” ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งรวมถึงเกษตรและอาหาร บุคคลทั่วไปที่ภาคประชาสังคมได้รับเครือข่ายสถาบัน สมาคม องค์กร เรียกร้องอื่นๆ จนตามมาสร้างเครือข่าย “ความร่วมมือ” ตามมา ขับเคลื่อนโดย สส.ปฏิบัติตาม 1 ใน “ความร่วมมือ” เป็นไปได้ที่ร่วมขับเคลื่อนระบบ “ระบบเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน” ต่อปี 2564 ต่อปี 2564 ตามลำดับที่หลายฝ่ายที่ร่วมขับเคลื่อนการวิจัยเคยมีการวิจัยมาก่อนมีโครงการวิจัยเชิงวิเคราะห์สำหรับคำถามสำหรับอาหาร ความช่วยเหลือ (Policy Research for Thailand’s Food Systems Development) โดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
 

        สำหรับผู้ที่ต้องการระบบเกษตรและความมั่นคงอย่างยั่งยืนใน 5 เรื่องภายใต้หัวข้อ “อิ่มและดี 2030” รวม 5 ด้านที่ตามมา 
1. “อิ่มดีสแกนหน้า” เข้าถึงอาหารปลอดภัยและอย่างปลอดภัยทางโภชนาการ 
2. “อิ่มดีมีสุข ” ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่เพื่อความยั่งยืน 
3. “อิ่มดีรักษ์โลก” ส่งเสริมระบบการผลิตที่แมทซ์และต่อสิ่งแวดล้อม 
4. “อิ่มดีทั่วถึง” ส่งเสริมคริสต์มาสที่เสมอภาคปราณี และ 
5. “อิ่มดีทุกคนเมื่อ ” สร้างระบบที่จะปรับตัวได้เมื่อเข้าสู่วิกฤต 
 

       “เมื่อใดก็ตามที่มีโอกาสจะได้รับบทเรียนทบทวนแล้วจะได้รับแชร์ประสบการณ์ซึ่งจะมีการประชุม Food and Agriculture Stockmaking Moment ระดับที่สามารถทำได้ในวันที่ 24–26 กรกฎาคม 2566 ณ ผู้นำกลุ่มเกษตรแห่งความต้องการ (Food and Agriculture Organization: FAO) กรุงโรมรายงานอิตาลีและองค์กรที่ยั่งยืนในระดับผู้นำที่มีเป้าหมายที่จะเกิดขึ้น (SDG Summit) ก.ย. 2566 ต่อไปก็ขอให้ทบทวนและติดตาม ลองทำครั้งแรกหลังจากการประชุมสุดยอดระบบอาหารปี 2564 และเป็นการทบทวนการประเมินคุณภาพที่ดีในการนำเส้นทางการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารมาแล้ว” รองบล็อกเกษตรฯ กล่าว

        ดร.นพ.ไพโรจน์ เหลาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเพื่อการพัฒนา ฟอนต์ มีพันธกิจในทุกวันนี้และสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยให้ได้ช่วยกันพลิกโฉมระบบอาหารที่ยั่งยืนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แน่นอนตลอดไป ปี 2573 ภาษาไทย เร่งสานพลังภาคีเครือข่ายนโยบายยุทธศาสตร์ที่ไม่ต้องการอาหารเพื่อสุขภาวะ ตลอดการใช้งานอย่าลืมรบกวนหลักข้อที่ 3 ข้อ 
1. ขอให้ขอให้รอบรู้และขอความร่วมมือสนับสนุน เมื่อมีภาวะปกติและภาวะวิกฤต 
2. ส่งเสริมระบบตลาดอาหารปลอดภัยให้ทุกคนสร้างทางอาหารในครัวเรือน/ชุมชน 
3. การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
 

        “แบบจำลองต้นแบบระบบอาหารชุมชนได้เน้นความสำคัญใน “การสร้างผลลัพธ์ทางสุขภาพอย่างก้าวกระโดด” ซึ่งรวมถึงตัวอย่างที่คนงานสร้างเสริมสุขภาพ 3 ระดับ ระดับระดับต้นน้ำ การพัฒนาต้นแบบแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย/อินทรีย์ การพัฒนาไต่/ผลิตภัณฑ์ให้ข้อสรุป ความต้องการของผู้บริโภค กระตุ้นเศรษฐกิจอาหารชุมชนระดับกลางน้ำ ส่งเสริมระบบการขนส่ง/ เชื่อมโยง อย่าลืมที่จะประกอบการรำลึกชุมชน กระตุ้นให้เกิดการสร้างชุมชน (ตลาดเขียว/ ตลาดชุมชน/ ตลาดเชิงสถาบัน) และระดับ ปลายน้ำ รวบรวมความรอบรู้ซึ่งก็คืออาหารเพื่อสุขภาวะ ยกตัวอย่าง สำนึกสู่วิถีของอาหารเพื่อสุขภาวะ ลดหวาน มัน เค็ม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาวะลดเสี่ยงโรค ไม่ติดต่อ ผลลัพธ์สู่เป้าหมายของนโยบายสาธารณะ สร้างกระบวนการเรียนรู้และ สื่อสารที่มีแบนด์วิดท์และในระดับที่ยั่งยืนของพื้นที่ชายแดนและระดับสากล” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
 

         นางสาวนวรัตน์ เฉลิมเผ่า ผู้ช่วยผู้แทน FAO ประจำประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์ตัวเลขคนอดอยากทั่วโลกในปี 2022 อยู่ที่ประมาณ 700 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนคนอดอยากตั้งแต่มีการระบาดของโควิด19 ถึง 122 ล้านคน มีประชากรโลกมากกว่า 3 พันล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ ประชากรโลกอีกเป็นจำนวนมาก กำลังประสบปัญหาโภชนาการจากการบริโภค เช่น บริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เป็นโรคอ้วน น้ำหนักเกินกระทบต่อสุขภาพ และยังส่งผลต่อรายจ่ายด้านงบประมาณสาธารณสุขของประเทศ FAO สนับสนุนประเทศไทยในการส่งเสริมระบบอาหารทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สอดคล้องเป้าหมายหลักของกรอบยุทธศาสตร์ใหม่ ที่มุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนและระบบอาหารสีเขียว โดยเฉพาะการลดการสูญเสียอาหารและของเสีย เสริมสร้างการจัดการดิน น้ำ ป่าไม้ และระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน ผ่านการเกษตรที่เป็นมิตรต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการลดความเสี่ยงจากเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นำไปสู่การผลักดันนโยบายแก้ปัญหาการเกษตรระยะยาว
 
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
WORLD PULSE

เพิ่มตัวเลขการส่งออก ลดอุปสรรค การค้าของสินค้าเกษตรระหว่างไทย-จีน

 

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามการทำงานเพื่ออำนวยความสะดวก ลดอุปสรรคทางการค้าของสินค้าเกษตรระหว่างไทย-จีน เชื่อมั่นความร่วมมือกันจะทำให้ส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้น เพิ่มตัวเลขการส่งออก สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจไทย

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หารือกับ สำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน GACC (General Administration of the People’s Republic of China) ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ผลักดันความร่วมมือด้านการตรวจสอบ กักกันสินค้าเกษตรระหว่างไทย-จีน ตามผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคด้านสุขอนามัยพืชไทย-จีน (JTC-SPS : Joint Technical Committee meeting on the Implementation of Memorandum of Understanding on Cooperation in Sanitary and Phytosanitary) ครั้งที่ 7 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 ประกอบด้วย
1. การเปิดตลาดสินค้าเกษตรและอาหาร ได้แก่ เนื้อจระเข้ กุ้งก้ามกรามมีชีวิตเพื่อบริโภค อินทผลัม สละ และเสาวรส ซึ่งสินค้าเกษตรทั้ง 5 ชนิดอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาในการนำเข้าจากจีน
2. มาตรการยกเลิกการระงับการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกและชิ้นส่วนสัตว์ปีกแช่แข็งไปจีน
3. การขึ้นทะเบียนเพิ่มเติมของโรงงานเพื่อการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์รังนกจากไทยไปยังจีน ผ่านระบบ CIFER (China Import Food Enterprises Registration)
4. การเชื่อมโยงระบบใบรับรองสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Phyto (Electronic Phytosanitary Certificate) 5. การประชุม JTC-SPS ครั้งที่ 8 โดย GACC จะเป็นเจ้าภาพ ในช่วงปี 2567

โดยทั้ง 5 ประเด็น มีความคืบหน้าในการดำเนินการเป็นอย่างมาก ฝ่ายจีนยินดีให้การสนับสนุนการจัดอบรมและให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็วยิ่งขึ้น และทั้ง 2 ฝ่ายได้เริ่มหารือและแลกเปลี่ยนการดำเนินการเพื่อเชื่อมโยงระบบ e-Phyto ระหว่างกัน เพื่อเปิดตลาดสินค้าเกษตรใหม่ เพิ่มเติมขยายตลาดเดิม ลดอุปสรรคการค้า และเชื่อมโยงเครือข่ายการค้า อำนวยความสะดวกการค้าของทั้งสองฝ่าย ทำให้มีโรงงานไทยที่สามารถส่งออกสัตว์ปีกแช่แข็งไปยังจีนได้เพิ่มขึ้น 

“นายกรัฐมนตรีติดตามการทำงานของทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่ออำนวยความสะดวกแก่พี่น้องเกษตรกร รวมทั้ง สนับสนุนให้หารือเพิ่มความร่วมมือในส่วนของมาตรฐานการค้าของสินค้าเกษตรระหว่างไทย – จีน โดยรัฐบาลพร้อมส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร อำนวยความสะดวก ลดอุปสรรคทางการค้า เพิ่มโอกาสให้เกษตรกรและผู้ประกอบการไทย ให้สามารถส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้น” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS UPDATE

รัฐมนตรีเกษตร’ เปิดงาน 121 ปีกรมชลประทาน ก้าวสู่อนาคตสู่ทศวรรษใหม่

 

 ดร.เฉลิมชัยศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “121 ปี  กรมชลประทานสู่อนาคตสู่ทศวรรษใหม่” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทานครบรอบปีที่ 121 ในวันที่ 13 มิถุนายน 2566 โดยมีนายนราพัฒน์ แก้วทองผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายธนาชีรวินิจเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายสมเกียรติกอไพศาลประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายสำเริงแสงภู่วงศ์คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรแบะสหกรณ์นายประยูรอินสกุลปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายประพิศจันทร์มาอธิบดีกรมชลประทานผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมชลประทานเข้าร่วมณอาคาร 99 ปีหม่อมหลวงชูชาติกำภูกรมชลประทานถนนสามเสนกรุงเทพฯ 

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่ากรมชลประทานเป็นหน่วยงานสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรมีภารกิจด้านการจัดหาแหล่งน้ำการพัฒนาแหล่งน้ำตลอดจนการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอในทุกภาคส่วนจึงได้เน้นย้ำเรื่องการเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องร่วมมือกันดำเนินการรวมทั้งต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนใช้น้ำให้เกิดคุณค่ามากที่สุดพี่น้องเกษตรกรและประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุดและเป็นการสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้ประเทศนอกจากนี้ยังมีโครงการที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อเพิ่มต้นทุนน้ำในอนาคตเป็นการเตรียมความพร้อมลดปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฝนทิ้งช่วงและขอให้ทุกภาคส่วนร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

          “จากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงที่ผ่านมาซึ่งขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนแล้วขอยืนยันว่ากรมชลประทานได้เตรียมแผนจัดสรรน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและการรักษาระบบนิเวศน์ไว้เพียงพอส่วนน้ำภาคการเกษตรขอฝากไปยังพี่น้องเกษตรกรให้ช่วยกันรักษาและใช้น้ำอย่างมีคุณค่ามากที่สุดทั้งนี้ขอเป็นกำลังใจให้ข้าราชการเจ้าหน้าที่กรมชลประทานทุกคนตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ในการแก้ปัญหาเพื่อประชาชนและประเทศชาติและก้าวสู่ปีที่ 122 อย่างมั่นคง” รมว.เกษตรฯกล่าว 

          โอกาสนี้รมว.เกษตรฯเป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณรางวัลข้าราชการพลเรือนและลูกจ้างประจำดีเด่นประจำปีพ.. 2565 รางวัลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา/โครงการชลประทานและฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาประจำปีพ.. 2566 และรางวัลนวัตกรรมดีเด่นพร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์

          ด้านนายประพิศจันทร์มาอธิบดีกรมชลประทานเปิดเผยว่ากรมชลประทานก้าวสู่ทศวรรษที่ 13 ยังคงยืนหยัดและยึดมั่นในการดําเนินงานตามภารกิจสร้างความมั่นคงด้านน้ําเพื่อความมั่งคั่งของผลผลิตทางการเกษตรและเพื่อความยั่งยืนของพี่น้องเกษตรและประชาชนตามภารกิจหลักภายใต้ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (..2561-2580) โดยมีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้ได้กว่า 49.5 ล้านไร่เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนได้ประมาณ 93,655 ล้านลูกบาศก์เมตรเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำโดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติจากน้ำรวมไปถึงมุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ Water Security เพิ่มคุณค่าการบริการก้าวสู่องค์กรอัจฉริยะภายในปี 2580 ตาม Road Map การดำเนินงานทั้ง 4 เฟสเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้แก่

          เฟส 1 (2561-2565) “เสริมพลังใหม่สู่การปรับเปลี่ยน” มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ขนาดกลางขนาดเล็กและโครงการพระราชดำริที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จหลายโครงการกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศสามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักได้รวม 1,292.50 ล้านลูกบาศก์เมตรและเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 1.94 ล้านไร่

          เฟส 2 (2566-2570) “สร้างภาคีเครือข่ายและความร่วมมือ” มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการควบคุมและบริหารน้ำระบบอัจฉริยะก่อสร้างระบบชลประทานด้วยนวัตกรรมชั้นสูงสร้างระบบเครือข่ายที่เข้มแข็ง

          เฟส 3 (2571-2575) “ปฏิรูปรูปแบบกระบวนงาน” Smart Water Operation Center

          และเฟส 4 (2576-2580) “มุ่งสู่องค์กรอัจฉริยะ” พัฒนาแหล่งน้ำชลประทานครอบคลุมทุกลุ่มน้ำระบบชลประทานครบสมบูรณ์        

          สำหรับในปีนี้กรมชลประทานได้จัดนิทรรศการ 2 รูปแบบได้แก่ 1. นิทรรศการออนไลน์ “สู่อนาคตสู่ทศวรรษใหม่ 121 ปีกรมชลประทาน” เป็นนิทรรศการเสมือนจริงแบบ 3 มิติแสดงประวัติความเป็นมางานด้านชลประทานผลงานตามภารกิจของกรมชลประทานตลอดจนทิศทางการขับเคลื่อนงานสู่เฟส 2 สามารถรับชมผ่านทางเว็บไซต์กรมชลประทาน www.121exhibition.rid.go.th ได้ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไปและ 2. นิทรรศการ On ground “กรมชลประทาน 6 รัชกาลงานของแผ่นดิน” พร้อมกิจกรรมที่น่าสนใจอาทิการเสวนาพิเศษโดยดร.อั๋นภูวนาทคุนผลินกับหัวข้อ “ปลุกพลัง RID TEAM สร้างความสำเร็จสู่อนาคตใหม่” ตลอดจนกิจกรรม “มอบทุนต้นกล้าเกษตรคืนถิ่นเพื่อความยั่งยืน” ให้แก่บุตรเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกให้ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีณวิทยาลัยการชลประทานกิจกรรมร่วมบริจาคโลหิตให้สภากาชาดไทยและกิจกรรมแจกกล้าไม้อาทิสักทองพะยูงยางนาตะเคียนทองรวม 520 กล้ารวมไปถึงการจัดจำหน่ายผลผลิตทางเกษตรจากเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภายใต้แผนพัฒนาอาชีพและแผนป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณด้านหลังอาคาร 99 ปีหม่อมหลวงชูชาติกำภูกรมชลประทานถนนามเสนกรุงเทพฯ 

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

รมว.เฉลิมชัย’ หนุนงานวิจัยพันธุ์ข้าว ชูเทคโนโลยี นวัตกรรมพัฒนาสายพันธุ์ข้าวไทยแข่งขันตลาดโลก

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีปิดการจัดงานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เนื่องในวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ประจําปี 2566 ภายใต้แนวคิด “91 พรรษา สายธารแห่งน้ำพระทัย สร้างชาวนาวิถีใหม่ สู่ข้าวไทยยั่งยืน” ณ กรมการข้าว เกษตรกลางบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยมี นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมเกียรติ กอไพศาล ประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมเป็นเกียรติในงาน โอกาสนี้ รมว.เกษตรฯ ได้มอบรางวัลชนะเลิศการประกวดแข่งขันแฟนพันธุ์แท้ข้าวไทย การประกวดวาดภาพสีโปสเตอร์ภายใต้หัวข้อ “ข้าวและชาวนาไทย” และการประกวดงานศิลปะ เรียงเมล็ดพันธุ์ข้าว ภายใต้หัวข้อ “กสิกรรม นําไทยยั่งยืน” ให้กับผู้ชนะการแข่งขัน


ดร.เฉลิมชัย กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จะสามารถช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ซึ่งเกษตรกรจะได้รับประโยชน์และมีรายได้เพิ่มขึ้น และยังได้รับองค์ความรู้จากเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ ภายในงาน ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ได้ฝากให้กรมการข้าวเดินหน้าผลักดันงานวิจัยสายพันธุ์ข้าว ให้มีผลตอบแทนสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักของกระทรวงเกษตรฯ อีกทั้งเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้  ยังต้องมุ่งเน้นการเผยแพร่งานวิจัยไปยังศูนย์ข้าวชุมชนทั่วประเทศ และกลุ่มวิสาหกิจแปลงใหญ่อีกด้วย


     “ขอฝากไปยังข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ให้ยึดหลักว่าพี่น้องเกษตรกรคือคนในครอบครัว เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหา และต่อยอดนโยบายที่ดีอยู่แล้วให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตลอดจนผลักดันขยายการส่งออกข้าวไทยไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีน ทั้งนี้ ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ติดตามรับฟังข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันความเสียหายและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์ภัยแล้ง” รมว.เกษตรฯ กล่าว


     นอกจากนี้ รมว.เกษตรฯ ได้แสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดแข่งขันดังกล่าว และชื่นชมต่อความสําเร็จของการจัดงานในครั้งนี้ ซึ่งการจัดงานทําให้เกษตรกร และผู้สนใจได้รำลึกถึงความสําคัญของข้าว ในฐานะพืชที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนไทยมาอย่างยาวนาน ตลอดจนได้รับทราบองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว การยกระดับคุณภาพผลผลิตให้สนองความต้องการของตลาด พร้อมทั้งการผลิตข้าวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและนําไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อไป


ทั้งนี้ ตามที่กรมการข้าวได้จัดงานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสําหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เนื่องในวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ประจําปี 2566 ระหว่างวันที่ 5 – 7 มิถุนายน 2566 ณ กรมการข้าว ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เพื่อให้ประชาชนรําลึกถึงความสําคัญของข้าว ในฐานะพืชที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนไทยมาอย่างยาวนาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว การยกระดับคุณภาพผลผลิตให้สนองความต้องการของตลาด 

 

พร้อมทั้งการผลิตข้าวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้เกษตรกรที่เข้าร่วมงานได้รับทราบและนําไปประยุกต์ใช้ ซึ่งการจัดงานครั้งนี้เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรชาวนา วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ ภายในงานประกอบไปด้วยกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ นิทรรศการ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงงานด้านข้าวและชาวนา นิทรรศการเชิดชูเกียรติชาวนา นิทรรศการและการแสดงผลงานขององค์กรชาวนาหน่วยงาน ราชการ และภาคเอกชน การจัดเวทีเสวนาข้าวและชาวนา การสาธิตและประกวดแข่งขันและการจําหน่ายสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานและรับชม ผ่านทางออนไลน์ จํานวน  76,055 ราย ทําให้การจัดงานในครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

     นอกจากนี้ ยังมีการจัดงานอีก 2 จังหวัด ได้แก่ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 17 มิถุนายน 2566 และ Korat Hall ชั้น 4 ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 22 – 23 มิถุนายน 2566 อีกด้วย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

ปลัดเกษตรฯ ทูตออสเตรเลียปลื้ม ร่วมงานปลูกข้าวจากพระราชพิธีพืชมงคลฯ ปี 2566

  นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังร่วมงานกิจกรรมปลูกข้าวจากงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2566 โดยมีนายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายพงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และผู้แทนจากภาคส่วนราชการฝ่ายไทยและฝ่ายออสเตรเลีย เข้าร่วม ณ สถานเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยินดีและเป็นเกียรติที่ ดร. แองเจลล่า แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย ให้ความสำคัญกับข้าวจาก พระราชพิธีที่สำคัญของประเทศไทย และนำมาปลูกที่สถานเอกอัครราชทูตแห่งนี้ รวมถึงเชิญผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมงานปลูกข้าวในวันนี้ ซึ่งประเทศไทยและออสเตรเลียมีความสัมพันธ์ทางการทูตมาอย่างยาวนานมากกว่า 70 ปี และหวังว่าความร่วมมือของทั้งสองประเทศจะแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นในปีต่อ ๆ ไป ภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) โดยเฉพาะการเพิ่มมูลค่าการค้าและส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกัน รวมถึงประเด็นการจัดการกับโรคระบาดต่าง ๆ ทั้งในพืชและสัตว์ โดยเน้นย้ำว่า ประเทศไทยใส่ใจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้าว่า สินค้าเกษตรของไทยมีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค


               ขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าในการเจรจาการเปิดตลาดเป็ดปรุงสุกจากไทยไปออสเตรเลีย และอะโวคาโดสดจากออสเตรเลียมาไทย เจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายไทยและออสเตรเลียได้ร่วมมือประสานการทำงานระหว่างกัน ทำให้กระบวนการด้านเทคนิคเพื่อจัดทำเงื่อนไขการนำเข้าของทั้งสองสินค้าได้สำเร็จเรียบร้อย ซึ่งคาดว่าจะสามารถส่งออกเป็ดปรุงสุกของไทยไปออสเตรเลียได้ในเร็ว ๆ นี้ นอกจากนี้ ได้หารือการเพิ่มโอกาสและปริมาณการค้าสินค้าเกษตร กับเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียเพิ่มเติม ได้แก่ ทุเรียนแกะเนื้อแช่เย็นและทุเรียนแช่เยือกแข็งจากไทย เนื่องจาก
มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และอาหารจากพืช (Plant Based Food) กำลังเป็นที่สนใจของผู้บริโภคออสเตรเลียมากเช่นกัน และในช่วงปลายปี 2566 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและมาตรฐานอาหาร (SPS Expert Group) ครั้งที่ 19 และการประชุมคณะทำงานร่วมด้านวิชาการเกษตร ไทย-ออสเตรเลีย (Joint Working Group on Agriculture: JWGA) ครั้งที่ 23 ซึ่งเป็นการประชุมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี คาดว่าจะมีความร่วมมือใหม่ ๆ ประเด็นความท้าทาย เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการปรับตัวทางการเกษตร รวมถึงการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ของทั้งสองประเทศในการร่วมหารือครั้งนี้ด้วย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

พื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (GIAHS) “เลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย”

พื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (GIAHS) “เลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย”

Facebook
Twitter
Email
Print

 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความสำเร็จในการยื่นเอกสารข้อเสนอ “การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยการเสนอเรื่องดังกล่าว เพื่อขอรับการรับรองเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร มีหลักเกณฑ์การพิจารณาของพื้นที่ GIAHS ทั้งหมด 5 ข้อ ได้แก่ 1) ความมั่นคงอาหาร/ชีวิตความเป็นอยู่ดี 2) ความหลากหลายทางชีวภาพเกษตร 3) ระบบความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีมาแต่ดั้งเดิม 4) วัฒนธรรม ระบบคุณค่า และองค์กรทางสังคม และ 5) ลักษณะภูมิทัศน์/และภูมิทัศน์ทางทะเล และจากการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Advisory Group: SAG) ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ได้ประกาศให้ “การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (Global Important Agricultural Heritage Systems หรือ GIAHS) ของ FAOและนับเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย

                       “พิธีมอบใบประกาศรับรองพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (Globally Important Agricultural Heritage Systems หรือ GIAHS) จะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคมนี้ เวลา 16.00-18.30 น. (เวลาประเทศไทย) ณ สำนักงานใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี โดยชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง จะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้น การขึ้นทะเบียนฯ จะไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ และยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน ทำให้เศรษฐกิจชุมชนเติบโต และเพิ่มการจ้างงานในพื้นที่อีกด้วย” ปลัดเกษตรฯ กล่าว

          สำหรับพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของไทยนี้ มีพื้นที่ทั้งหมด 45,822 เฮกตาร์ (458.22 ตารางกิโลเมตร) ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะเป็นทะเลแบบลากูน (Lagoon)  หนึ่งเดียวของประเทศไทย มีความสำคัญเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ได้รับการแต่งตั้งอนุสัญญาแรมซาร์ ในปี พ.ศ. 2541 (Ramsar site No.948) ครอบคลุมพื้นที่ป่าพรุ เป็นเส้นทางอพยพของนกจากเอเชียตะวันออกและแหล่งที่อยู่ของสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพ มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ รวมทั้งเป็นแหล่งอาศัยสำคัญของสังคมสัตว์และสังคมพืชนานาชนิด และแหล่งประกอบอาชีพหลักและความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพกสิกรรมแบบดั้งเดิม เช่น การทำนา การทำประมงและเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะ “ควายปลัก” ซึ่งมีลักษณะเหมือนควายปกติ แต่มีความสามารถในการปรับตัวให้สามารถหากินได้ทั้งในน้ำและบนบก ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของควายในพื้นที่ จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในจังหวัดพัทลุง 

Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE