Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE ECONOMY

‘เบียนนาเล่ เชียงราย’ เงินสะพัดกว่า 2.4 หมื่นล้าน นักท่องเที่ยว 2.7 ล้านคน

 

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาล โดย กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มอบหมายให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) จัดงานมหกรรมศิลปะนานาชาติไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 -30 เมษายน2567 โดยได้มีการประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน พบว่า การดำเนินงานเป็นหลักสำคัญในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ ทั้งด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว และด้านการส่งเสริมเทศกาล หรือเฟสติวัล ซึ่งจากการเก็บข้อมูล ของ สศร. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สรุป ยอดผู้เข้าชมงาน จัดแสดง ใน 3 ส่วนสำคัญ ณ วันที่ 21 เมษายน รวมจำนวน 2,790,964 คน โดยแบ่งเป็นเข้าชมนิทรรศการหลัก แสดงผลงานศิลปะการจัดวางเฉพาะพื้นที่ของศิลปิน 60 คนในเขต อ.เมือง อ.เชียงแสน และอ.แม่ลาว จำนวน 17 จุด จำนวน 714,235 คน ส่วนที่ Pavilion หรือ ศาลา แสดงผลงานนิทรรศการกลุ่มของศิลปิน พิพิธภัณฑ์ และองค์กรต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ 13 แห่ง มีผู้เข้าชมจำนวน 42,893 คน และในส่วน Collateral Events กิจกรรมพิเศษ มีผู้เข้าชม จำนวน 2,033,836 คน มีการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ทาง Facebook Instagram YouTube TikTok จำนวนมากเป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นของมิติศิลปะ รวม 22,403,688 ครั้ง และมีการปฏิสัมพันธ์ทางสื่อโซเชียลเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว

 

นายประสพ กล่าวอีกว่า ขณะที่การเก็บข้อมูลตัวเลขเชิงเศรษฐกิจ จาก การประมาณการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พบว่า มีนักท่องเที่ยว ใน จ.เชียงรายเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 11 เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนไม่ต่ำกว่า 24,000 ล้านบาท เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในพื้นที่ ในช่วงการจัดงาน มีการจ้างงาน 8,000 กว่าอัตรา โดยเป็นการจ้างในระบบประกันสังคม 844 อัตรา ชุมชนได้รับประโยชน์จากการจัดงาน 560 ชุมชน มีศิลปินทั้งในและต่างประเทศตั้งใจมาชมงานนี้โดยตรง 1,000 กว่าคน มี สถาบันการศึกษาทุกระดับมาดูงาน เกิน 500 กว่าแห่ง จึงเห็นภาพของจำนวนคนและการเข้าถึงงานเป็นอย่างมาก ซึ่ง นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ ในฐานะผู้นำการจัดงาน แสดงข้อคิดเห็นว่า ต่อไป ไม่ต้องมีคำอธิบายแล้วว่า ไทยแลนด์เบียนนาเล่คืออะไร เพราะคนไทยมีความเข้าใจ และเข้าถึงงานศิลปะแล้ว และที่สำคัญ ได้เกิดการทำงานร่วมระหว่างหน่วยงานรัฐ ศิลปินไทย และต่างชาติ ช่างฝีมือ ลูกมือทำงาน เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ ระหว่างกันทำให้ศิลปิน และชาวชุมชนทุกที่มีความผูกพัน และมีความภูมิใจที่ได้ทำงานศิลปะระดับโลกให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

 

“ผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นเกินความคาดหวัง เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตาม สศร. จะมีการถอดบทเรียนจากการจัดงานครั้งนี้ ไปทำการศึกษาวิจัย เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการจัดงานในครั้งต่อไป ที่ จ.ภูเก็ต ในปี 2568 และจะมีการสรุปข้อมูลภาพรวมอย่างเป็นทางการโดย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. หลังการจัดงาน ในระยะเวลา 3 เดือน เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป” ผอ.สศร.

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
All

Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 มียอดผู้เข้าชมงานพุ่งกว่า 1.6 ล้านคน

 
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้ประชุมหัวหน้าส่วนราชการและองค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๗ โดยที่ประชุมได้รับรายงานจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) เกี่ยวกับผลการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 – 30 เมษายน 2567 ภายใต้แนวคิด “เปิดโลก” (The open World) ได้แรงบันดาลใจจากพระพุทธรูปปางเปิดโลกที่โบราณสถาน วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน โดยคัดเลือกผลงานจากศิลปิน 60 คน จาก 23 ประเทศทั้งไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกร่วมจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย ซึ่งช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีผู้เข้าชมงานและร่วมกิจกรรมภายในงานนี้ทั้งหมดกว่า 1,600,000 คน
 
 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า การจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยและกิจกรรมในงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 
 
1) นิทรรศการหลัก แสดงผลงานศิลปะการจัดวางเฉพาะพื้นที่ (Site Specific Installation) จัดแสดงในเขตอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่ลาวและอำเภอเชียงแสน 
2) ศาลา (Pavilion) แสดงผลงานนิทรรศการกลุ่มของศิลปิน พิพิธภัณฑ์ และองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 10 แห่งในอำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอใกล้เคียง 
และ3) Collateral Events เป็นกิจกรรมพิเศษที่จัดขึ้นในช่วงงาน เช่น ดนตรีชาติพันธุ์ งานฉายภาพยนตร์ การแสดงอื่นๆและการเยี่ยมชมบ้านหรือสตูดิโอของศิลปินในจังหวัดเชียงรายตามอำเภอต่างๆ 
 
 
ซึ่ง วธ.โดยสศร.จะร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายศิลปินและศิลปินชาวไทยและชาวต่างชาติดำเนินการจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยและกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 เช่น นิทรรศการ My Bulgarian Neighbor “Melting” Seventh Layer กิจกรรม OPEN WORLD CINEMA – Hours of ours กิจกรรมดนตรีชาติพันธุ์ “กวาคีลา : เป่า ร้อง กลอง รำ เปิดโลกวิถีวัฒนธรรมดนตรีชาติพันธุ์เมืองเชียงราย และนิทรรศการทัวร์เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนเฮือนโบราณ เจียงฮาย เป็นต้น
 
 
น่ายินดีที่มีชาวไทยและชาวต่างชาติ คณะบุคคลต่างๆมาเข้าชมและร่วมกิจกรรมในงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 เป็นจำนวนมาก ช่วงเวลาของการจัดงานที่เหลือกว่า 1 เดือน ขอเชิญชวนคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวชมงานเพื่อศึกษาเรียนรู้งานศิลปะร่วมสมัย ซึ่งเป็นหนึ่งใน Soft Power 11 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริมเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ ตลอดจนเสริมสร้างภาพลักษณ์ และยกระดับบทบาทด้านศิลปวัฒนธรรมของไทยในเวทีโลกและพัฒนางานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยไทยสู่ความเป็นสากล” นายเสริมศักดิ์ กล่าว
 
 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อไปว่า นอกจากงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 แล้ว ช่วงเดือนมีนาคม 2567 สศร.จัดกิจกรรมแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยอื่นๆ อาทิ นิทรรศการศิลปะ “ลายมือ” ของนายแสงมณี แสงบุญ ศิลปินและดีไซน์เนอร์มืออาชีพผู้มีผลงานสร้างสรรค์ห้องเสื้อ “แสงบุญ” เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการของแฟชั่น โดยนำผลงานศิลปะที่แสดงเรื่องราวซึ่งมีที่มาจากจิตภายในสู่ภายนอก ต่อเส้นสายจากใจสู่มือ ถ่ายทอดผ่านลายมือ ลายเส้น ทั้งขาวดำและสีสัน ออกมาเป็นผลงานศิลปะอันมีเสน่ห์ 
 
 
โดยจัดแสดงตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ณ เฮินศิลป์ใจ๋ยอง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และนิทรรศการ “1+2 CNX” นำเสนอผลงานศิลปะของศิลปินชั้นครู ผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณพงศ์เดช ไชยคุตร นายพีระพงษ์ ดวงแก้วและนางสาวราษี ศรบรรจง โดยเป็นการส่องสะท้อนนิเวศทางศิลปะและวัฒนธรรมผ่านทักษะฝีมือของศิลปินชั้นครูทั้ง 3 ท่าน เปิดให้เข้าชมตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2567 ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งกิจกรรมเสพศิลป์…ฟินอาร์ต เช่น กิจกรรมฟื้นชีวิตเรือนพื้นถิ่นโบราณเชื่อมประสานเศรษฐกิจชุมชน จัดขึ้นตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 28 เมษายน 2567 ณ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง กิจกรรมดนตรีในสวนป่า ครั้งที่ 3 จัดขึ้นวันที่ 23 มีนาคม 2567 ณ อุ้มฮุ่มโฮมสเตย์และสวนป่าเกษตรอินทรีย์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ศิลปกรรม “ต๋ามฮอยศิลป์” รุ่นที่ 42. ส่วนหนึ่ง Thailand Biennale,Chiang Rai

 

วันที่ 1-5 มีนาคม 2567 ณ ชั้น 1 หน้าร้านซุปเปอร์สปอร์ต ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงรายร่วมเป็นส่วนหนึ่ง Thailand Biennale,Chiang Rai กับนิทรรศการผลงานศิลปกรรม “ต๋ามฮอยศิลป์” รุ่นที่ 42

โดยศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงราย ขอเชิญร่วมชมนิทรรศการผลงานศิลปกรรม “ต๋ามฮอยศิลป์” รุ่นที่ 42 กับการแสดงผลงานของนักเรียน สาขาศิลปกรรมแผนกวิชาวิจิตรศิลป์ จากวิทยาลัยอาชีวะศึกษาเชียงราย ระหว่างวันที่ 1-5 มีนาคม 2567 ณ ชั้น 1 หน้าร้านซุปเปอร์สปอร์ต ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงราย

กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาส พร้อมร่วมผลักดัน แลพัฒนาศักยภาพนักเรียนนักศึกษา ให้มีสมรรถนะอาชีพด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมทักษะการจัดนิทรรศการแสดงผลงานศิลปกรรมของนักเรียน นักศึกษาสู่สาธารณชน ตอกย้ำภาพลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย ให้เป็นเมืองของศิลปะจากผลงานศิลปินรุ่นใหม่ อย่างต่อเนื่อง และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ครั้งที่ 3 ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย Thailand Biennale,Chiang Rai 2023 – เปิดโลก (The Open World)

ทั้งนี้กิจกรรมแสดงนิทรรศการดังกล่าว มีจำนวนนักเรียน นักศึกษา ผู้ร่วมแสดงผลงานนิทรรศการ “ต๋ามฮอยศิลป์” รุ่นที่ 42 จำนวนทั้งสิ้น 33 คน เป็นนักเรียนระดับ ปวช. จำนวน 20 คน, ระดับ ปวส.จำนวน 13 คน จำนวนผลงานทั้งสิ้น 67 ชิ้น โดยแบ่งเป็น ประเภท จิตรกรรมเทคนิคสีน้ำมัน จำนวน 40 ชิ้น ,จิตรกรรมเทคนิคสีอะคิลิก จำนวน 8 ชิ้น และงานวาดเส้น เทคนิคดินสอดำ จำนวน 14 ชิ้น

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SPORT

งานวิ่งรูปแบบ ART NIGHT RUN BIENNALE CHIANGRAI 2023

 
เมื่อค่ำวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ที่หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมงานวิ่ง “ART NIGHT RUN BIENNALE CHIANGRAI 2023” โดยมีอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ นายสุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะเชียงราย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย นางชญาณ์นันท์ เชื้อศิริถาวร ผู้อํานวยการสํานักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงราย นำหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน และนักวิ่งกว่าพันคนเข้าร่วมงานอย่างคึกคัก
 
 
การวิ่งในครั้งนี้สำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงราย ร่วมกับสมาคมขัวศิลปะ จัดโครงการพัฒนาเมืองกีฬา ( Sports City ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งานวิ่ง “ Art Night Run Biennale Chiang Rai 2023 “ เพื่อสร้างภาพลักษณ์เมืองในรูปแบบ Sports Tourism ตามนโยบายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่ได้ประกาศให้จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองกีฬา Chang Rai Sports City ร่วมส่งเสริมการประชาสัมพันธ์มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนรายได้ทั้งหมดจะมอบเป็นทุนให้กับโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ กองทุนสนับสนุนการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันจังหวัดเชียงราย และมูลนิธิเพื่อการพัฒนากีฬาจังหวัดเชียงราย
 
 
ภายในงานนักวิ่งทั้งหมดรวมตัวที่จุดปล่อยตัว ที่หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย โดยการวิ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะทางคือ ระยะทาง 3 กิโลเมตร ระยะทาง 6 กิโลเมตร และระยะทาง 12 กิโลเมตร ที่หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย โดยวิ่งไปตามเส้นทาง และทำกิจกรรมร่วมกันจุดที่ 1 บริเวณขัวศิลปะ (บ้านขัวแคร่) และวิ่งต่อไปตามเส้นทางร่วมทำกิจกรรมจุดที่ 2 บริเวณสวนสาธารณะริมน้ำกก จากนั้นวิ่งตามเส้นทางเข้าสู่เส้นชัย ณ หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย ซึ่งนักวิ่งจะได้สัมผัสบรรยากาศที่เย็นสบาย พร้อมได้บันทึกภาพไฟที่สวยงามตลอดเส้นทางการแข่งขัน นอกจากนี้ยังมีโซนกิจกรรมศิลปะ Body paint ถนนศิลปะร้านค้าศิลปะ DIY ร้านอาหารดังในเชียงรายกว่า 40 ร้าน, ลานอาหารเครื่องดื่ม และชมฟรีคอนเสิร์ตอีกด้วย
 
 
ส่วนด้านการแข่งขันประเภทระยะทาง 3,6 และประเภทระยะทาง 12 กิโลเมตร จะเป็นการแข่งขันแบบสนุกสนาน วิ่งไป ชมงานศิลป์ไป ไม่มีการชิงรางวัล ส่วนด้านประเภทการวิ่งระยะทาง 12 กิโลเมตร Overall เป็นการชิงถ้วยรางวัลสุดพิเศษที่ออกแบบโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ และอาจารย์สุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะเชียงราย ซึ่งมีทั้งหมด 6 รางวัล ประเภท 12 กิโลเมตร Overall มอบให้ชาย – หญิง 3 อันดับแรก ที่วิ่งเข้าเส้นชัย สำหรับเหรียญรางวัลที่สามารถหมุนได้ โดยสีดำเป็นตัวแทนอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ และสีขาวเป็นตัวแทนอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ 
 
 
ซึ่งนักวิ่งทุกคนจะได้รับหลังจากเสร็จสิ้นงานผ่านทางไปรษณีย์ หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.facebook.com/ArtNightRunChiangraiBiennale
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

​เสริมศักดิ์ ปลื้ม! แลนด์มาร์ค Thailand Biennale ในน้ำมีปลา ในนามีแมว”

 

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้ขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรมตามกรอบนโยบายหลัก “วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจ”พร้อมทั้งขับเคลื่อน Soft Power สร้างเสน่ห์วิถีไทย ครองใจคนทั้งโลก โดยการสำรวจรวบรวมทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์และยกระดับงานวัฒนธรรมเดิมให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นการเปิดมุมมองแห่งความสำเร็จจากการใช้วัฒนธรรมสร้างพลังแห่งอนาคตตามเป้าหมายในปี 2567
นอกเหนือจากการโครงการส่งเสริมการสร้างรายได้ด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแล้ว งาน “Thailand Biennale Chiangrai 2023” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธ.ค. 66 – 30 เม.ย. 67 เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่จะช่วยเปิดโลกศิลปะวัฒนธรรมของประเทศไทยให้ชาวโลกได้รับรู้ และส่งเสริมให้จังหวัดเชียงรายก้าวกระโดดสู่นิเวศของการเป็น “เมืองศิลปะระดับโลก” นอกจากนิทรรศการหลักของศิลปินทั้ง 60 คนและ 13 พาวิลเลี่ยนแล้ว 

 

ยังมีการนำเสนอผลงานศิลปะในลักษณะ Collateral Event จัดแสดงคู่ขนานเกิดขึ้นอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะงานศิลปะบนนาข้าว(Tanbo Art)  ในคอนเซปต์ “ในน้ำมีปลา ในนามีแมว”ที่โด่งดังในกระแสโซเชียล สร้างความสนใจให้สื่อต่างประเทศนำไปเผยแพร่ เชิญชวนให้มาท่องเที่ยว แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของไทย ซึ่งอยู่ใกล้กับ “ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน” พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหลักของ“Thailand Biennale Chiangrai 2023”อีกแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย

 


“ในน้ำมีปลา ในนามีแมว”เป็นไอเดียที่น่าชื่นชมของคุณธันยพงศ์  ใจคำ เจ้าของ”เกี้ยวตะวัน ธัญฟาร์ม” ในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ที่ทำงานร่วมกับศิลปินนักออกแบบชาวเชียงราย นักปราชญ์  อุทธโยธา และทีมงานอีกกว่า 200 คน โดยนำงานวิจัยพันธุ์ข้าวสรรพสีจากโครงการ MOU เพื่อทำวิจัยร่วมกับทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ทั้งหมด 7 สายพันธุ์มีสายพันธุ์ดั้งเดิม 2 สายพันธุ์และอีก 5 สายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัย เป็นการผสมผสานงานวัฒนธรรมการปลูกข้าว เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ จนกลายเป็นงานศิลปะที่โดดเด่นด้วย สีสันของพันธุ์ข้าวสีรุ้ง ที่มีหลากหลายเฉดสี ตั้งแต่สีม่วงเข้มไปจนถึงสีเหลืองอ่อน ซึ่งขณะนี้ข้าวสรรพสีพากันออกรวงสีทองอร่ามงามตา ต้อนรับการมาเยือนของนักเที่ยว โดยคาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงระยะเวลา 145 วันหลังการเพาะปลูกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2566 ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงเสร็จสิ้นงานงาน “Thailand Biennale Chiangrai 2023”ในช่วงเดือนเมษายน 2567    

 


ศิลปะบนนาข้าวจึงเป็น อีกหนึ่งสำคัญในการนำซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศมาพัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างมูลค่า สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริม การต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนโดยเริ่มต้นจากต้นข้าวเล็กๆ เติบโตสู่พื้นที่สร้างสรรค์งานศิลปะให้งอกงามและเบ่งบานอยู่ในใจผู้คนอย่างมีคุณค่า  

 

นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ จินตโสภณ โฆษกกระทรวงวัฒนธรรม (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กระทรวงวัฒนธรรมกำลังเร่งเดินหน้าผลักดัน Soft Power ศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างต่อเนื่องใน “งานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ครั้งที่ 4 Thailand Biennale 2025” ซึ่งจังหวัดภูเก็ต เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน โดยเฉพาะการนำเอา Soft Power ที่มีพลังในความเป็นไทย และความภาคภูมิใจของภูเก็ต ส่งผ่านงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เชื่อมไทย เชื่อมโลก ก้าวไปสู่การเป็นหมุดหมายสำคัญของการจัดแสดงงานศิลปะนานาชาติระดับโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต รวมทั้งการนำงานศิลปะร่วมสมัยทั้ง 9 สาขามาขับเคลื่อน Soft Power สร้างเสน่ห์วิถีไทยครองใจคนทั้งโลก อาทิ ส่งเสริมให้เกิด 1 ครอบครัว 1 ทักษะ Soft power การผลีกดัน Bangkok เมืองแฟชั่น และการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ศิลปะบนจานข้าวมูลค่าเป็นล้าน ครั้งแรกของประเทศไทย “จานศิลปะ”

 

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ คล้ายสุวรรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤมล เรืองรังษี นายกสมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง อาจารย์สุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะเชียงราย และศิลปิน สมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง สมาคมขัวศิลปะเชียงราย ร่วมกันเปิดนิทรรศการ “จานศิลปะ” (Art Plate Exhibition) ณ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ซึ่งเป็นนิทรรศการ “จานศิลปะ” (Art Plate Exhibition) ทางสมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง ร่วมกับสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และ สร้างสรรผลงานสู่เทศกาลไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย 2023 (Thailand Biennale, Chiang Rai 2023) อีกด้วย

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤมล เรืองรังษี นายกสมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง กล่าวว่า นิทรรศการจานศิลปะ Art Plate Exhibition เป็นภารกิจขององค์กรและสถาบันในท้องถิ่น ในการส่งเสริมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งเป็นการสนับสนุนภาพลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย เมืองแห่งศิลปะ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีการจัดนิทรรศการ “จานศิลปะ” ร่วมสมัยขึ้นโดยมีแนวคิดในการนำจานอันเป็นภาชนะเพื่อการบริโภคอาหารในวิถีวัฒนธรรมของมนุษย์มาอย่างยาวนาน เป็นจานเครื่องปั้นดินเผาท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง ดินแดนแห่งเซรามิก อันเลื่องชื่อของล้านนามาบูรณาการกับงานศิลปะ 
 
 
โดยที่ศิลปินได้สร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยบนแผ่นจานที่เป็นภาชนะดินเผาธรรมดา ให้มีสีสันลวดลายอันวิจิตร เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับจานในเชิงสุนทรีย์ และเชิงเศรษฐกิจ อีกทั้งเป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้โดดเด่นน่าสนใจ การดำเนินงานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากศิลปินที่มีชื่อเสียงทั้งจากประเทศไทยและประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวม 36 ท่าน ร่วมสร้างสรรค์จานศิลปะ จำนวนกว่า 71 ชิ้น ทั้งนี้เพื่อเปิดโลกทัศน์ในการใช้งานหัตถกรรมของท้องถิ่นมาประกอบเป็นงานศิลปะร่วมสมัย และส่งมอบสุนทรียภาพแห่งงานศิลปะสู่ผู้คนในสังคม”
 
 
นิทรรศการ “จานศิลปะ” เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 12 มกราคม – 29 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 9.00 -16.00 น. ณ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

“Thailand Biennale at Night” สวดมนต์ข้ามปี ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน

 

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เวลา 21.00 น. ที่ผ่านมา พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และนายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเปิดกิจกรรม Thailand Biennale at Night และกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๗ โดยมีคณะสงฆ์ พร้อมด้วยนายชาตะ ใหม่วงค์ นายทรงเดช ทิพย์ทอง ศิลปินในงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ข้าราชการ และเครือข่ายพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ณ ลานแสดงผลงาน “นิพพานเมืองแก้ว” ณ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน โดยมีการนำคณะผู้ร่วมงานชมงานศิลปะยามค่ำคืน และไฮไลท์สำคัญของการจัดกิจกรรมคือการจัดแสดง ผลงานศิลปะในรูปแบบ Immersive Art บนผลงาน นิพพานเมืองแก้ว พร้อมการบรรยายบทกวีจากพระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี)

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายนางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปและวัฒนธรรม นายวรพล จันทร์คง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ เข้าร่วมกิจกรรม
 
 

โดยมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale ครั้งที่ 3  กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 – 30 เมษายน 2567 ภายใต้ชื่องาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ด้วยแนวคิด “เปิดโลก” (The open World) ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากพระพุทธรูปปางเปิดโลกที่โบราณสถาน วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน

 

คัดเลือกผลงานจากศิลปิน 60 คน จาก 23 ประเทศทั่วโลก จัดแสดงเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) นิทรรศการหลัก แสดงผลงานศิลปะการจัดวางเฉพาะพื้นที่ (Site Specific Installation) จัดแสดงในเขตอำเภอเมืองและเชียงแสน 2) Pavilion หรือ ศาลา แสดงผลงานนิทรรศการกลุ่มของศิลปิน พิพิธภัณฑ์ และองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 10 แห่งในอำเภอเมืองและอำเภอใกล้เคียง 3) Collateral Events เป็นกิจกรรมพิเสษที่จัดขึ้นในช่วงงาน เช่น ดรตรีชาติพันธุ์ งานฉายภาพยนตร์ การแสดงอื่นๆ และการเยี่ยมชมบ้านหรือสตูดิโอของศิลปินในจังหวัดเชียงรายตามอำเภอต่างๆ

 

#นิพพานเมืองแก้ว
ไม้ใหญ่ ต้องเจอขวานคม
คนเด่น ต้องมีคนด่า
คนมีปัญญา จึง…มีคนลองดี
คนทำงานดี จึง….มีคนริษยา
ปรากฎการณ์เช่นว่านี้
จึงเป็นเรื่อง “ธรรมดา”
(กวี : ว.วชิรเมธี)
(รังสรรค์ศิลป์ : ชาตะ ใหม่วงศ์) Chata Maiwong
(Thailand Biennale Chiangrai 2023)
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

กิจกรรมเปิดงาน “พลัดถิ่น ดินแดนใคร” Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2566 กิจกรรมเปิดงาน “พลัดถิ่น ดินแดนใคร”  ณ ลานกิจกรรมสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ครั้งที่ 3 โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ จังหวัดเชียงราย ภายใต้ธีม “เปิดโลก”

มีนายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึงการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023  ร่วมถึงนายเชาว์วัฒน์ รัตนการุณจิต ปลัดอำเภอเชียงแสน (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) ปฏิบัติราชการแทน นายอำเภอเชียงแสน กล่าวต้อนรับ ท่านกงสุล กฤษณะ จัยตัญญา กงสุลอินเดียประจำจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวพบปะผู้มีเกียรติและศิลปินผู้เข้าร่วมงานคุณนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ศิลปิน กล่าวถึงผลงานและเล่าถึงป๊อเฒ่าติ๊บ สรนันท์

 

โอกาสนี้ คุณกฤษ์ฤทธิ์ ตีระวานิช ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ พร้อมด้วย คุณกฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ คุณอังกฤษ อัจฉริยโสภณ ภัณฑารักษ์ คุณมนุพร เหลืองอร่าม ภัณฑารักษ์ และคณะบุคลากรจากสำนักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงกัน

 

จัดโดยคุณนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ศิลปิน และทีมงานสตูดิโอเค จัดพิธีเปิดงานในผลงานชุดนี้ยังเป็นส่วนขยายของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชุมชนพลัดถิ่นในพื้นที่เขตติดต่อชายแดนภาคเหนือตอนบนของไทย โดยผลงานส่วนแรกได้นำไปจัดแสดงที่ศูนย์ศิลปะแห่งเมืองเกาสง ประเทศไต้หวัน ต่อเนื่องมาถึงงานที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ ได้เลือกพื้นที่ประวัติศาสตร์ของเมืองเก่าเชียงแสน ในการออกเดินทางเพื่อศึกษาความเป็นมาของชุมชนบริเวณริมน้ำโขง โครงการนี้ยังได้ขยายขอบเขตไปยังเมืองเชียงตุงและเมืองชนบทอื่น ๆ ในเขตรัฐฉานของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

 

โดยมีเป้าหมายในการสำรวจวิถีชีวิตและการย้ายถิ่นฐานของชาวไต ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของชนชาติไทย ศิลปินยังได้สำรวจการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ รวมถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่เป็นคิงส์โรมัน ประสบการณ์จากผู้คนที่ศิลปินได้พบปะตลอดการเดินทาง

 

ซึ่งบ่อยครั้งมักเกี่ยวพันกับภูมิหลังส่วนตัวและรากเหง้าของบรรพบุรุษก่อเกิดเป็นกระบวนการทางศิลปะที่เชื่อมระหว่างศิลปะและชุมชนเข้าด้วยกัน ประวัติศาสตร์ของชุมชนและการตั้งถิ่นฐานของผู้คนหลากหลายกลุ่มในพื้นที่นี้ร้อยเรียงขึ้นเป็นชุดผลงานศิลปะผ่านบันทึกการเดินทางของศิลปินจนเกิดเป็นผลงานจิตรกรรมแนวโปสเตอร์หนังอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปินและทีมงานสตูดิโอเค

 

นำโดยช่างวาดภาพโรงหนังยุคสุดท้ายของไทยเชื่อมต่อกับภาพยนตร์สารคดีซึ่งประพันธ์ขึ้นจากจดหมายฉบับหนึ่งที่ศิลปินเขียนถึงชาวเชียงแสน เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ในการเดินทาง การทำเสียงบรรยายภาพยนตร์สารคดีชุดนี้ศิลปินเลือกใช้ภาษาถิ่นทางภาคเหนือด้วยสำเนียงที่แตกต่างกันผสมผสานกับภาษาอื่น ๆ ของกลุ่มคนพลัดถิ่นรวมทั้งชนกลุ่มน้อยเพื่อสะท้อนถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของผู้คนชาวเชียงแสน

 

จัดแสดงอยู่ในพื้นที่จุดชมวิวสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน ซึ่งเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกอันเป็นเขตติดต่อระหว่างไทย ลาว เมียนมา สอดคล้องกับชื่อผลงาน “พลัดถิ่น ดินแดนใคร” ชี้ให้เห็นแนวคิดเรื่องเขตแดนที่เปลี่ยนแปลงไปจากโลกในอดีตอันส่งผลต่อวิถีชีวิตและการโยกย้ายถิ่นฐานผู้คนในแต่ละยุคสมัย วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และมุมมองทางสังคมที่หลากหลาย ซึ่งการจัดงานดังกล่าว มีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

  1. การแสดงดนตรีของ พ่อเฒ่าติ๊บ สรนันท์ และคณะ
  2. รำนกรำโต โดย กลุ่มเยาวชนบ้านสบรวก
  3. รำกลองมองเซิง โดยชุมชนชาวไต บ้านสบรวก
  4. การฉายภาพยนตร์ “พลัดถิ่น ดินแดนใคร” จดหมายจากนาวินถึงชาวเชียงแสน
  5. การแสดงนิทรรศการภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเชียงแสน โดย แสนศิลป์เชียงราย
  6. นิทรรศการและการแสดง โดย กลุ่มชาตพันธุ์ในเชียงแสน
  7. การถ่ายภาพที่ระลึกกับชาวเชียงแสน
  8. การบริการอาหารและเครื่องดื่ม อาหารพื้นเมืองอัตลักษณ์ของท้องถิ่น

ในโอกาสนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นางกัลยา แก้วประสงค์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมงาน ดังกล่าว

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา, สุพจน์ ทนทาน : รายงาน 
พร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ : ภาพ 
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว 
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

นายกฯ ยืนยันความยิ่งใหญ่ศิลปะร่วมไทย Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

 
 

9 ธันวาคม 2566 เวลา 19.00 น. ณ หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย หรือ Chiang Rai International Art Museum (CIAM) ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานพิธีเปิดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ภายใต้แนวคิด ‘เปิดโลก’ หรือ ‘The Open World’ ซึ่งจัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ร่วมกับจังหวัดเชียงราย และภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยมีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี 2554 เอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ศิลปินเชียงราย และประชาชนชาวเชียงราย ตลอดจนสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ซึ่งเมื่อนายกรัฐมนตรีเดินทางถึงหอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย ได้ชมการแสดงศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย และทำพิธีเปิดงานโดยการตีกลองสะบัดชัย 3 ครั้ง ต่อด้วยรับฟังรายงานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวในโอกาสการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ว่า ในนามของรัฐบาลรู้สึกยินดีที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติฯ ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรมและจังหวัดเชียงรายจัดงานนี้ขึ้นในวันนี้ กระทรวงวัฒนธรรมโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยได้นำแนวคิดการจัดงานมหกรรมร่วมสมัยระดับโลกในต่างประเทศให้ปรากฏขึ้นในประเทศไทย ครั้งที่ 3 และจังหวัดเชียงราย นับจากจังหวัดกระบี่และจังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นความภาคภูมิใจและยืนยันถึงความยิ่งใหญ่ในการเป็นศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทยให้ชาวโลกได้รับรู้ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

นายกรัฐมนตรีเชื่อว่าการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยฯ ครั้งนี้ จะเป็นวาระสำคัญในการจุดประกายให้คนไทยศิลปินชาวไทย นำจุดเด่นทางด้านศิลปวัฒนธรรมของบ้านเมืองเรามาแสดงศักยภาพเพื่อนำพาประเทศไปสู่การเป็นสังคมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อไป เหมือนกับประเทศต่าง ๆ ที่เคยทำสำเร็จมาแล้ว งานครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นมหกรรมศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติเท่านั้น แต่ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการนำทุนทางวัฒนธรรมและศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Soft Power มาเป็นเครื่องมือในการสร้างงานสร้างรายได้ในภาพรวม โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียง เป็นการระดมความคิดเห็น ประสานมุมมองและความคิดสร้างสรรค์จากศิลปิน หน่วยงาน และชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานผ่านการใช้นวัตกรรมต่าง ๆ ให้เกิดเป็นงานศิลปะร่วมสมัยที่หลากหลายอย่างน่าสนใจ ซึ่งทุกท่านจะได้รับชมผลงานต่อไป

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในนามรัฐบาลไทยขอขอบคุณกระทรวงวัฒนธรรมและสำนักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่นำวิสัยทัศน์จากการศึกษางานศิลปะระดับโลกมาจัดเป็นงานศิลปะระดับนานาชาติในประเทศไทยได้สำเร็จอย่างต่อเนื่อง และขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย หน่วยงานทุกภาคส่วนและประชาชนชาวเชียงราย ที่ได้มีส่วนร่วมในการบูรณาการงานครั้งนี้อย่างเข้มแข็งตลอดจนขอบคุณหน่วยงานภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดงานและร่วมมือกันในการสนับสนุนอำนวยความสะดวกในการจัดงานด้วยดี และที่สำคัญยิ่งขอขอบคุณศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ที่ทุ่มเทอุทิศแรงกาย แรงใจ กำลังทรัพย์และเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนการจัดการในครั้งนี้ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพลังและศักยภาพของศิลปะที่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดเชียงรายและประเทศไทย รวมทั้งขอบคุณศิลปินทุกท่านที่ได้ถ่ายทอดมุมมองความคิดสร้างสรรค์ในตัวของท่านเอง สื่อสารสุนทรียะออกมาเป็นรูปธรรม สร้างความปิติและส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับผู้รับชมอย่างถ้วนหน้า จากนั้น นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมผลงานศิลปะและกิจกรรมบริเวณงาน ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร 

 

ทั้งนี้ มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale ครั้งที่ 3 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 – 30 เมษายน 2567 ภายใต้ชื่องาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ด้วยแนวคิด “เปิดโลก” (The open World) ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากพระพุทธรูปปางเปิดโลกที่โบราณสถาน วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน คัดเลือกผลงานจากศิลปิน 60 คน จาก 21 ประเทศทั่วโลก จัดแสดงเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 

1) นิทรรศการหลัก แสดงผลงานศิลปะการจัดวางเฉพาะพื้นที่ (Site Specific Installation) จัดแสดงในเขตอำเภอเมืองและเชียงแสน 

2) Pavilion หรือ ศาลา แสดงผลงานนิทรรศการกลุ่มของศิลปิน พิพิธภัณฑ์ และองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 10 แห่งในอำเภอเมืองและอำเภอใกล้เคียง 

3) Collateral Events เป็นกิจกรรมพิเศษที่จัดขึ้นในช่วงงาน เช่น ดนตรีชาติพันธุ์ งานฉายภาพยนตร์ การแสดงอื่น ๆ และการเยี่ยมชมบ้านหรือสตูดิโอของศิลปินในจังหวัดเชียงรายตามอำเภอต่าง ๆ 

โดยการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยมิติทางวัฒนธรรม และพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมวัฒนธรรมไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้และสร้างสรรค์งานด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนเสริมสร้างภาพลักษณ์ และยกระดับบทบาทด้านวัฒนธรรมของไทยในเวทีโลก และพัฒนางานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยไทยสู่ความเป็นสากลในอนาคต 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก :Thailand Biennale

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE WORLD PULSE

นับถอยหลัง Thailand Biennale 2023 พร้อมโชว์ผลงานสร้างสรรค์ ให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

 

 

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการแถลงข่าวเปิดตัว 20 ศิลปิน ชุดสุดท้ายของ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ และภัณฑารักษ์ พร้อมด้วยศิลปินและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ โรงแรมแสน จังหวัดเชียงราย

 

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผย การจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ได้คัดเลือกศิลปินจากทุกทวีปทั่วโลก 21 ประเทศ จำนวน 60 คน เข้าร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ในวันนี้เป็นการเปิดตัวศิลปิน 20 คนสุดท้าย ซึ่งจากการติดตามความก้าวหน้าของการเตรียมงาน และการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าการจัดงานมีความพร้อมอย่างมาก ทั้งในด้านสถานที่การจัดงาน และการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินที่เริ่มสร้างผลงานไปตามแผนงาน พร้อมที่จะอวดผลงานแก่ทุกคนตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567 นี้ 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อไปว่า จากแนวคิดหลักของ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ซึ่งเกิดมาจากการลงพื้นที่ศึกษา และค้นหาบริบทของเชียงรายมีข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธรูปปางเปิดโลก ที่ประดิษฐาน ณ วัดป่าสัก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพหุวัฒนธรรม ที่แสดงถึงอิทธิพลจากวัฒนธรรมหลากหลายในเอเชียจนเป็นที่มาของแนวคิด The Open World หรือ เปิดโลก ในครั้งนี้ เป็นจุดสำคัญที่เราจะนำเรื่องราวทางศิลปวัฒนธรรมของไทย สอดแทรกไปกับการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน ส่งเสริมให้จังหวัดเชียงรายกลายเป็น‘เมืองศิลปะระดับโลก’และเป็นจุดหมายที่นักเดินทางทั่วโลกอยากมาเยี่ยมชมสร้างการบูรณาการ  ระหว่างศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ในการพัฒนาสินค้าและท่องเที่ยวให้ชุมชนเกิดรายได้ผ่านการจัดกิจกรรมในรูปแบบของเทศกาลศิลปะนานาชาติ เป็นการตอบสนองนโยบายประเทศไทย ๔.๐ ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของวธ. และการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วย Soft power ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก ดังนั้นตลอดระยะเวลา 5 เดือนของการจัดงาน จังหวัดเชียงรายจะเต็มไปด้วยผลงานศิลปะจากผลงานหลักของ 60 ศิลปิน กิจกรรมคู่ขนาน อาทิ การแสดงดนตรีชาติพันธุ์ ศิลปะการแสดง การฉายภาพยนตร์ กิจกรรมการศึกษา พาวิลเลี่ยน 13 พาวิลเลี่ยน และการเปิดบ้านของศิลปินเชียงรายอีกกว่า 80 หลัง วันนี้จึงเป็นการนับถอยหลังเข้าสู่การจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023  ขอเชิญชวนชาวไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปิดโลกแห่งการรับรู้ทางศิลปะ เปิดประเทศ และเปิดเมืองเชียงราย เชื่อมโยงศิลปะสู่วิถีชีวิต ร่วมกันบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ครั้งนี้ และร่วมเป็นเจ้าภาพที่ดีไปพร้อม ๆ กับพี่น้องชาวเชียงราย 

 

 

ด้าน นายพุฒิพงศ์  ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ในฐานะเจ้าบ้าน จังหวัดเชียงราย  ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการจัดงานในครั้งนี้ทุก ๆ กิจกรรม โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อาทิ ศิลปินเชียงราย ขัวศิลปะ องค์การบริหารส่วนตำบล หอการค้า ห้างร้าน มูลนิธิ สมาคมต่าง ๆ จนทำให้ขณะนี้พร้อมต้อนรับคณะศิลปิน และนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาชมงานในครั้งนี้ ในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสถานที่จัดงานความพร้อมของผู้คนชุมชนโดยมั่นใจว่าหากได้มาเยือนจะหลงรักเชียงราย เพราะนอกจากความสวยงามของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น น้ำตก ป่าไม้ วัดวาอาราม แหล่งประวัติศาสตร์ รวมถึงวิถีชีวิต จังหวัดเชียงราย  เป็นเมืองสำคัญที่มีความอุดมสมบูรณ์มีศักยภาพด้านทุนทางวัฒนธรรม ที่มีประวัติศาสตร์ อันยาวนาน งดงามด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนา มีสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่และเป็นเอกลักษณ์ มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และที่น่าภูมิใจยิ่ง คือเป็นถิ่นของปราชญ์ของแผ่นดิน และศิลปินหลากสาขา เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ล้วนได้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีคุณค่าให้ปรากฏอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เชียงรายได้รับการยอมรับในฐานะ “เมืองศิลปะ” เมืองศิลปิน ถิ่นทองของศิลปะร่วมสมัยอย่างแท้จริง

 

 

ด้านผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ (Artistic Director) คุณกฤติยา กาวีวงศ์ และภัณฑารักษ์ (Curators)  คุณอังกฤษ อัจฉริยโสภณ และคุณมนุพร เหลืองอร่าม เน้นย้ำถึงที่มาของแนวคิด The Open World หรือ เปิดโลก ว่า เกิดขึ้นจากการลงพื้นที่และศึกษาข้อมูลของจังหวัดเชียงรายได้พบข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธรูปปางเปิดโลก   ซึ่งประดิษฐาน ณ วัดป่าสัก สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๓๘ ในสมัยพญาแสนภู ผู้สร้างเมืองเชียงแสนซึ่งเป็นหลานของพญามังราย โดยพุทธลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปปางเปิดโลก ประทับยืนอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ทั้งสองข้างห้อยลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองไปข้างหน้า เป็นกิริยาทรงเปิดโลกทั้ง 3 ได้แก่ เทวโลก ยมโลก และมนุษยโลก ให้มองเห็นถึงกันหมดด้วยพุทธานุภาพ แสดงให้เห็นถึงปัญญาและการตื่นรู้ จึงกล่าวได้ว่า “เปิดโลก” หรือ The Open world  มีความหมายที่ตรงไปตรงมา แต่สามารถตีความได้แบบปลายเปิด ที่สื่อถึงการเปิดโลกการรับรู้ทางศิลปะที่เชื่อมโยงความจริงในสังคมและนำไปสู่การตั้งคำถามด้วยผลงานศิลปะร่วมสมัยว่าเราจะสามารถจินตนาการถึงความเป็นไปได้ในอนาคตที่ดีกว่าอีกครั้งได้หรือไม่

 

นอกจากนี้“เปิดโลก” หรือ The Open World ยังหมายถึง ความสำคัญของการเรียนรู้จากอดีต ทั้งในแง่มุมทางประวัติศาสตร์อันซับซ้อนของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของประเพณีและมรดกทางวัฒนธรรมของล้านนา ด้านสถาปัตยกรรม วัฒนธรรมและศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องเล่าความเชื่อและมิติอันหลากหลายทางวัฒนธรรม ตลอดจนระบบนิเวศของเมืองในปัจจุบัน โดยเฉพาะชุมชนศิลปินเชียงรายซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี โดยมีอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี และอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติผู้มีชื่อเสียงระดับโลก เป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจที่สำคัญในการกลับมาสร้างสรรค์บ้านเกิดเมืองนอนให้เข้มแข็งและมีศักยภาพความพร้อมในมิติของการเป็นพื้นที่จัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 อีกด้วย

 

ส่วนพาวิลเลี่ยน ซึ่งถือว่าเป็นจุดสำคัญที่พัฒนาเพิ่มเติมจากการจัดงาน 2 ครั้งที่ผ่านมาThailand Biennale, Chiang Rai 2023 มีการแสดงผลงานของพาวิลเลี่ยนที่เข้าร่วม 13 พาวิลเลี่ยน 

1.กลุ่มศิลปินแม่ลาว 

2.กลุ่มศิลปินสีน้ำนานาชาติ (ขัวศิลปะ) 

3.กลุ่มสล่าเมืองพาน 

4.เดอะคาโนปี้ โปรเจกต์  

5.โปรดักชัน โซเมีย 

6.พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม 

7.พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่วอร์ซอร์ 

8.พุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 

9.แม่ญิงอาร์ตติสคอลเลคทีฟ 

10.รูบาน่า 

11.ศาลาสล่าขิ่น 

12.Korean pavilion 

และ13.PLUVIOPHILE  

 

สำหรับ 20 ศิลปินชุดสุดท้ายใน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ได้แก่ 1. อัลมากุล เมนลิบาเยวา (อัลมาตี/เบอร์ลิน) 2. อริญชย์ รุ่งแจ้ง (กรุงเทพฯ) 3. อัททา ความิ (อักกรา/ลัฟบะระ) 4. ชาไคอา บุคเคอร์ (นิวยอร์ก) 5. เฉิง ซินห้าว (คุนหมิง) 6. กรกฤต อรุณานนท์ชัย (กรุงเทพฯ/นิวยอร์ก) 7. วุธ ลีโน (พนมเปญ) 8. มาเรีย เทเรซา อัลเวซ (เบอร์ลิน/เนเปิลส์) 9. พาโบล บาร์โธโลมิว (นิวเดลี) 10. ปิแอร์ ฮุยจ์ (นิวยอร์ก/ซันดิเอโก) 11. ซาราห์ ซี (นิวยอร์ก) 12. ชิมาบุกุ (นาฮะ) 13. สมลักษณ์ ปันติบุญ (เชียงราย) 4 ทรงเดช ทิพย์ทอง (เชียงราย) 15. ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ (เชียงใหม่) 16. โทมัส ซาราเซโน (เบอร์ลิน) 17. เซอริน เชอร์ปา (แคลิฟอร์เนีย/กาฐมาณฑุ) 18. อุบัติสัตย์ (เชียงใหม่) 19. หวัง เหวิน จื้อ (เจียอี้) 20. ซิน หลิว (ลอนดอน)

 

ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thailandbiennale.org Facebook https://www.facebook.com/thailandbiennale/ และสายด่วนวัฒนธรรม 1765

 

Countdown to the Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 and reveal the final 20 artists who will showcase their creative works aiming to gain global recognition. The exhibition will be held on December 9, 2023 until April 30, 2024.

On November 19, 2023, H.E. Mr. Sermsak Pongpanit, Minister of Culture, presided over the press conference on the final 20 artists of the Thailand Biennale, Chiang Rai 2023. This event was attended by Mrs. Yupha Taweewattanakitborvon, Permanent Secretary for Culture, Mr. Puttipong Sirimart, the Governor of Chiang Rai Province, Mrs. Khunying Patama Leeswadtraku, the Chairperson of the Contemporary Art Promotion Fund, Mr. Prasop
Riang-ngoen, the Director-General of the Office of Contemporary Art and Culture, as well as executives from the Ministry of Culture, artistic directors, curators, artists and representatives from relevant agencies at Sann Hotel, Chiang Rai.

The Minister of Culture said that the 60 artists from 21countries were selected from around the world in order to create their own artworks. Following the on-site visits last week, the festival is making good progress and the venue is well-prepared.  The artists have been actively working on their creations according to the schedule. They are ready to showcase their works to the public from December 9, 2023, to April 30, 2024.

The Minister of Culture stated that the core concept of Thailand Biennale, Chiang Rai 2023, originated from on-site studies and exploration of Chiang Rai’s context, which reveals an information specifically about the Open World Posture Buddha image, located at Wat Pa Sak, which symbolizes the multicultural influence from various Asian cultures and serves as the inspiration for “The Open World” theme. In this edition, it is a crucial point to integrate the cultural narrative of Thailand with the artistic creations of the participating artists, promoting Chiang Rai Province to become a ‘world-class art city’ and a destination that global travelers would want to visit, fostering integration between art and local culture with innovative creativity. This initiative aims to develop products and tourism, generating income for the community through the organization of international art festivals, aligning with Thailand 4.0 policy to promote the creative industry of the Ministry and drive Thailand forward with soft power, making it a global focal point. Therefore, during the 5-month event period, Chiang Rai Province will be filled with artworks from the primary creations of 60 artists, along with collateral events and activities such as traditional music performances, performing arts, film screenings, educational activities, as well as 13 Pavilions, and more than 80 local artists’ open houses. Today marks the countdown to the international contemporary art festival, Thailand Biennale, Chiang Rai 2023. We would like to invite Thai citizens to be part of this event, opening the world to artistic perception, showcasing the country, and connecting Chiang Rai, while linking art to lifestyle. Together, let’s make this a historical event and be good hosts alongside the people of Chiang Rai.

Mr. Puttipong Sirimart, the Governor of Chiang Rai Province states that as the host province, Chiang Rai has prepared thoroughly for the event with the collaboration of various sectors. This includes local artists, cultural organizations, sub-district administrative organizations, chambers of commerce, foundations, and various associations. The community made all-round preparations and is currently ready to welcome artists and tourists in every aspect. The governor is confident that visitors will fall in love with Chiang Rai, which, aside from its nature’s beauty, historical sites and the local way of life, is a city with cultural richness and potential. Chiang Rai has a long history with a diverse Lanna cultural heritage unique architecture, various ethnic groups, and a reputation as a hub for wisdom and a diverse range of artists. Chiang Rai has actively contributed to the continuous creation of valuable artworks, gaining recognition worldwide. Chiang Rai has been recognized as the “City of Art,” a genuine city of contemporary artists, and a true artistic hub.

Miss Gridthiya Gaweewong, Artistic Director, Mr. Angkrit Ajchariyasophon, Curators and Miss Manuporn Luengaram emphasize the origin of the concept of “The Open World”, stating that it emerged from on-site exploration and the study of information about in Chiang Rai. It was discovered that the idea was inspired by the iconic Buddha statue at Wat Pa Sak, known as the Open World Posture Buddha image, which was established in the year 1838 during the reign of Phya Saen Phu, the founder of Chiang Saen city and the grandson of Phaya Mengrai. The Buddha Image stands on a lotus flower, with both hands hanging gracefully on both sides of the body, forming the gesture of opening the world. This symbolic gesture represents the three worlds: the divine world, the celestial world, and the human world. It serves as a visual representation of Buddhist wisdom and awareness, suggesting the opening of the world in all three aspects. The term “The Open World” is considered quite literal, but it can also be interpreted metaphorically to convey the idea of opening up perceptions through art that connects reality in society and leads to questioning through contemporary art. It raises the question of whether, through contemporary art, we can imagine a better future. 

In addition, “The Open World” also signifies the importance of learning from the past, particularly in the intricate historical aspects of Chiang Rai which serves as the birthplace of traditions and cultural heritage in the Lanna region. This encompasses various aspects, including architecture, cultural practices, and diverse art forms, as well as a multitude of cultural beliefs and perspectives. This rich cultural tapestry extends to the present-day urban systems, notably within the artistic communities of Chiang Rai. The artistic community in Chiang Rai, with a solid foundational structure led by renowned artists such as Ajarn Thawan Duchanee and Ajarn Chalermchai Kositpipat, who are globally acclaimed national artists, serves as a crucial model and inspiration. They play a significant role in revitalizing their hometown, making it robust and ready to participate in the multifaceted dimensions of hosting the international contemporary art festival, Thailand Biennale, Chiang Rai 2023.

The pavilions, considered pivotal developments from the past two editions. This edition Thailand Biennale, Chiang Rai 2023  plays a crucial role in the upcoming event. There will be exhibitions from 13 pavilions, featuring diverse and influential artistic groups: 1. **Laos Artists Group** 2. **International Watercolor Artists Group (Art Bridge) ** 3. **Sala Mueang Phan Group** 4. **The Khon Phej Project** 5. **Production S.O.M.A.** 6. **New Energetic Contemporary Art Museum** 7. **New Walsh Gallery Contemporary Art Museum** 8. **Buddhist Arts, Mae Fah Luang University** 9. **Mae Ying Artist Collective** 10. **Rubana** 11. **Sala Salla Kin** 12. **Korean Pavilion** 13. **PLUVIOPHILE**. Each pavilion represents a unique perspective and artistic contribution, making Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 a diverse and enriching cultural experience.

For the final 20 artists in Thailand Biennale, Chiang Rai 2023, namely: 1. Almagul Menlibayeva (Almaty/Berlin) 2. Arin Rungjang (Bangkok) 3. Atta Kwami (Accra/ Loughborough) 4. Chakaia Booker (New York) 5. Cheng Xinhao (Kunming) 6. Korakrit Arunanondchai (Bangkok/ New York) 7. Vuth Lyno (Phnom Penh) 8. Maria Theresa Alves (Berlin/ Naples) 9. Pablo Bartholomew (New Delhi) 10. Pierre Huyghe (New York / San Diego) 11. Sarah Sze (New York) 12. Shimabuku (Naha) 13. Somluk Pantiboon (Chiang Rai) 14. Songdej Thipthong (Chiang Rai) 15. Tawatchai Puntusawasdi (Chiang Mai) 16. Tomás Saraceno (Berlin) 17. Tsherin Sherpa (California/Kathmandu) 18. Ubatsat (Chiang Mai) 19. Wang Wen-Chih (Chiayi) 20. Xin Liu (London)

For more additional details and information at www.thailandbiennale.org Facebook https://www.facebook.com/thailandbiennale/  and  M-Culture Hotline 1765

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News