Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เชียงราย Kick Off โครงการ “เส้นทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน ปันสุข” 

 

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “เส้นทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน ปันสุข” ณ วัดป่ายางสบยาบ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมีนายคฑาสิทธิ์ เนื่องหล้า นายอำเภอเชียงแสน กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยนางสุวาภรณ์ จิตต์พลีชีพ รองประธานแม่บ้านมหาดไทย หัวหน้าส่วนราชการอำเภอเชียงแสน ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น คณะครูและนักเรียน และประชาชนในพื้นที่ร่วมพิธี

      ในการนี้ นางอำไพ บัวระดก พัฒนาการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการ โดยมีนางสุรีย์ศรี แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน พัฒนาการอำเภอและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จาก 18 อำเภอ ร่วมพิธี 

       สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานแนวพระราชดำริในการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประชาชน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 2019 รวมทั้งใช้เป็นกลไกสำคัญในการสร้างความรัก ความสามัคคีในหมู่ของประชาชน เกิดผลดีต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม  

     กระทรวงมหาดไทย ได้น้อมนำแนวพระราชดำริดังกล่าว มาขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ร่วมกับประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด และภาคีเครือข่ายการพัฒนา ดำเนินโครงการ “เส้นทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน ปันสุข” เพื่อต่อยอดขยายผลการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งจังหวัดเชียงราย ได้พิจารณาคัดเลือกบ้านสบยาบ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน เป็นพื้นที่ดำเนินงาน 

        สำหรับกิจกรรมในวันนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ได้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเชียงแสน เทศบาลตำบลแม่เงิน และประชาชนบ้านสบยาบ ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ “เส้นทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน ปันสุข” ดังนี้

1. กิจกรรม “ผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง” Kick off กิจกรรม โครงการ “เส้นทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน ปันสุข” โดยร่วมกันปลูกไม้ผลและปลูกผักสวนครัว ภายในบริเวณวัดป่ายางสบยาบและบริเวณ 2 ข้างทางของหมู่บ้าน

2. การมอบเมล็ดพันธุ์และกล้าพันธุ์ไม้ให้แก่ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา สถานศึกษาและตัวแทนครัวเรือน เพื่อนำไปขยายพันธุ์ผัก และต่อยอดไปสู่การจัดตั้งเป็นศูนย์แบ่งปันเมล็ดพันธุ์ระดับตำบล 

3.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และจัดทำวีดิทัศน์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงาน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

พจ.เชียงราย นำทีมประดิษฐ์ ผีเสื้อจากผ้าไทย

 

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย โดยการนำของนายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางสุรีย์ศรี แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นักวิชาการพัฒนาชุมชน และนักศึกษาฝึกงาน ได้ร่วมใจกันประดิษฐ์ผีเสื้อจากผ้าไทยประจำจังหวัด และผ้าไทย ขนาดไม่เกิน 3 นิ้ว พร้อมติดลวดสำหรับแขวน ซึ่งจังหวัดเชียงรายมีเป้าหมายผลิตผีเสื้อจากผ้าไทย จำนวน 1,400 ตัว โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทั้ง 18 อำเภอ คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ และภาคีเครือข่ายงานพัฒนาชุมชนระดับอำเภอ ร่วมใจประดิษฐ์ผ้าไทยอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงรายจะได้ส่งมอบให้กระทรวงมหาดไทย สำหรับใช้ในงานวันกาชาด 100 ปี พุทธศักราช 2566 ณ ร้านกาชาดกระทรวงมหาดไทยต่อไป
ทั้งนี้ “งานวันกาชาด 100 ปี พุทธศักราช 2566” กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-18 ธันวาคม 2566 ภายใต้แนวคิด “รื่นรมย์สุขฤดี ณ ที่แห่งการให้” #RedCrossFairCenturyOfCharity ณ สวนลุมพินี กรุงเทพฯ และบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่www.redcrossfair.com
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : พจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ส่งเสริม​การตลาด​สร้างรายได้​ให้​ชุมชน ​ผ้าลายพระราชทาน พช.เชียงราย​

 

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยทีมงานนักวิชาการพัฒนาชุมชนและเจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน จัดแสดงและจำหน่ายผ้าลายพระราชทาน ลายดอกรักราชกัญญา ณ ตลาดนัดคนไทยยิ้มได้ ตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน คนเชียงราย บริเวณด้านหน้าอาคารศาลากลางจังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ้าลายพระราชทาน ลายดอกรักราชกัญญา ตลอดจนส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมการใช้และสวมใส่ผ้าไทย เพิ่มรายได้แก่ชุมชน

 

ในการนี้ นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย ได้ให้เกียรติเยี่ยมชมผ้าที่นำมาจัดแสดงและจำหน่าย ซึ่งเป็นผลงานที่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้นำแบบลายผ้าพระราชทาน มาเป็นต้นแบบ ผสมผสานกับภูมิปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดการพัฒนาสร้างแบบลายผ้าใหม่ ที่แตกต่าง และเป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งใช้กระบวนการย้อมสีจากธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผู้สวมใส่ เพิ่มคุณค่าและมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย โทร. 053177350 ในวันและเวลาราชการ
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Cddchiangrai

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

พช.เชียงราย​ ขับเคลื่อน​โครงการ​ ปลูกผัก​สู่คลังอาหาร​ที่ยั่งยืน​

 

วันที่ 20 ตุลาคม 2566 นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนางอำไพ บัวระดก ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน นายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางสาวชาลิสา กาปัญญา พัฒนาการอำเภอเมืองเชียงราย และบุคลากรในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ได้ร่วมกันทำกิจกรรมปลูกผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหาร ภายในบริเวณจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และบริเวณบ้านพักรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย

 

จังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ร่วมกับชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานโครงการปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ให้ผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กร เครือข่าย และประชาชนในจังหวัดเชียงราย ในการปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพร และไม้ผลภายในบริเวณบ้าน สองข้างทาง หรือในพื้นที่สาธารณประโยชน์ ให้เต็มพื้นที่ทุกหมู่บ้าน ชุมชน อย่างหลากหลาย โดยรณรงค์ขยายผลให้มีการปลูกพืชผักเพิ่มขึ้น เพิ่มอย่างน้อยครัวเรือนละ 30 ชนิด เพื่อเป็นการส่งเสริมการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือน สร้างความรัก ความสามัคคี ของประชาชนในหมู่บ้านชุมชน เกิดการเอื้ออาทรแบ่งปันภายในชุมชน/สังคม ส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Cddchiangrai

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

พช. เชียงราย​ ปรับกลยุทธ์​ ​พัฒนา​บทบาท​สตรี​ ปี​ 67

 

วันที่ 19 ตุลาคม 2566 นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเชียงราย 2567 ณ ห้องประชุมร้านลาภประตูเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยมีนางอำไพ บัวระดก ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน นางสุรีย์ศรี แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางเครือวรรณ สดใส ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน พัฒนาการอำเภอ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

 

จังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด กำหนดดำเนินการโครงการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเชียงราย 2567 เพื่อเป็นการทบทวนผลการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในปีที่ผ่านมา และชี้แจง สร้างความรู้ ความเข้าใจ แนวทางการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และร่วมกันกำหนดแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเชียงรายให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ในการนี้ นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย ได้บรรยายพิเศษ หัวข้อ “การใช้กลยุทธ์ 3 4 5 คุณธรรมนำเงินทุน ปลดหนี้ด้วยความดี สตรีเชียงราย” เพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ให้บรรลุเป้าหมาย
หลังจากนั้น นางเครือวรรณ สดใส ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน ได้บรรยายในหัวข้อ “การขับเคลื่อนแผนการดำเนินงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567”
 
 
ทั้งนี้ ได้มีการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และระดมความคิดเห็น ในประเด็น”การสร้างการรับรู้ องค์ความรู้ นวัตกรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” เพื่อเป็นแนวทางสู่การปฏิบัติต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Cddchiangrai

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

รวมพลังเครือข่าย​ วันรักต้นไม้ ปี 66 “ป่านี้มีผล​ ผู้คน​รักกัน”

 
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 น.นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนางสุรีย์ศรี แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางเครือวรรณ สดใส ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน พัฒนาการอำเภอ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และบุคลากรในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ เนื่องในวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2566 และเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 ณ ป่าชุมชนบ้านดอยฮางนอก หมู่ที่ 3 ต.ดอยฮาง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย
 
 
โครงการปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ เนื่องในวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2566 และเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 เกิดขึ้นจากการบูรณาการความร่วมมือ ระหว่างสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 2 (เชียงราย) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เทศบาลตำบลดอยฮาง และวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วนเข้าร่วมดำเนินกิจกรรม อาทิ เครือข่ายผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองเชียงราย เครือข่ายโคกหนองนาพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนชาวตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย
 
 
ในการนี้ พระอาจารย์วิบูลย์ ธัมมเตโช ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ได้เมตตากล่าวให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ก่อนจะมอบหมายภารกิจในการร่วมกันดูแลรักษาต้นไม้ในพื้นที่ต่างๆ เช่น บริเวณพื้นที่ป่านี้มีผล ผู้คนรักกัน ตำบลดอยฮาง พื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ระดับตำบลดอยฮาง (CLM) ดอยอินทรีย์
 
 
“วันรักต้นไม้แห่งชาติ” หรือ วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ (National Annual Tree Care Day) ที่ถือกำเนิดขึ้นจากแรงปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ สมเด็จย่า ที่ทรงให้ความสำคัญต่อการบำรุงรักษา ต้นไม้ และต้องการฟื้นฟูความสมดุลของธรรมชาติ ให้มากขึ้น โดยทรงปลูกและบำรุง ต้นไม้ ด้วยพระองค์มาโดยตลอดและทรงให้ความสำคัญของการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกว่ามีความสำคัญและน่าเป็นห่วงมากกว่าการปลูก
 
 
ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงควากตัญญูกตเวทิตาต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ทรงงานพัฒนาชนบทของประเทศไทย โดยเฉพาะการฟื้นฟูความสมดุลของ ธรรมชาติ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2533 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการกำหนดให้วันพระราชสมภพของพระองค์ คือ วันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันบำรุงรักษาต้นไม้ประจำปีของชาติ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการระดมความเห็นจากบุคคลทั่วไป เพื่อเสนอชื่อที่เหมาะสมซึ่งจากการระดมความคิดเห็นปรากฎว่าชื่อที่เหมาะสมคือ “วันรักต้นไม้แห่งชาติ” และได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบแล้วเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2533 เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้มีโอกาสแสดงความเสียสละแรงกายแรงใจความสามัคคี น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยการร่วมกันบำรุงรักษา ต้นไม้ ที่ปลูกไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ อันเป็นช่วงปลายฤดูฝนของทุกปี
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Cddchiangrai

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

พช.เชียงราย​ เตรียม​ความพร้อม​ งาน​ “บวร” Sustainability Expo 2023​

 

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และทีมงานนักวิชาการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองเชียงราย ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมการดำเนินกิจกรรม Live Action พื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จ ในการจัดนิทรรศการนานาชาติ Sustainability Expo 2023 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยร่วมเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 2 – 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

 
ในการนี้ จังหวัดเชียงราย ได้รับการประสานจากกระทรวงมหาดไทย ในการนำเสนอพื้นที่ตัวอย่างผลสำเร็จในการขับเคลื่อนงาน “บวร” ในวันที่ 7 ต.ค. 66 เวลา 17.30 น. ภายใต้ตีม ” Partnership for the Goals : การร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ในหัวข้อ” โครงการมหัศจรรย์แห่งเกษตรทฤษฎีใหม่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย” โดยได้รับเมตตาจากพระอาจารย์วิบูลย์ ธัมมเตโช ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ นำเยี่ยมชมกิจกรรมต่างๆ และให้ข้อมูลสนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำสื่อวิดีทัศน์ประกอบการนำเสนอในครั้งนี้
 
กระทรวงมหาดไทยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน Sustainability Expo 2023 (SX2023 (บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ให้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติSustainability Expo 2023
โดยมีแนวทางการจัดแสดงนิทรรศการฯ ภายใต้ 5 แนวคิด
 
ดังนี้ 1. “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” 2. “ก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” 3. “THINK GLOBAL, ACT Local” 4.”ACTION NOW” การสร้างความเข้มแข็งการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติในเชิงพื้นที่โดยการนำเสนอกิจกรรม Live Action, MOI WAR ROOM และ 5. กิจกรรม “มหาดไทยปันสุข”
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน / สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย /สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

พช.เชียงราย ร่วมงานประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา”

 
วันที่ 19 สิงหาคม 2566 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานการดำเนินกิจกรรมโครงการยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชน การประกวดผ้าลายพระราชทาน ผ้าลายดอกรักราชกัญญา และงานหัตถกรรม โดยมี นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายกัมปนาท จักรวาล วิเวศ ศรีพุทธา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม คณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมงาน
 
ในการนี้ นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ได้เข้าร่วมงาน ดังกล่าว จังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ได้ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ส่งผลงานประเภทผ้าและงานหัตถกรรมเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 154 ชิ้น แยกเป็น ประเภทผ้า จำนวน 114 ผืน ประเภทงานหัตถกรรม จำนวน 40 ชิ้น
 
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า “นับเป็นความโชคดีของประชาชนคนไทย ที่ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่พระองค์ทรงมีความรักความเมตตาและความห่วงใย ทรงได้ทุ่มเทพระสติปัญญาและพระวรกายเพื่อที่จะ “สืบสาน รักษาและต่อยอด” พระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทำให้ชีวิตของคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้สืบสานงานแบ่งเบาพระราชภาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสืบสานและอนุรักษ์ผ้าไทย ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 3 ปีที่ผ่านมา 
 
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงได้ “สืบสาน รักษา และต่อยอด” รื้อฟื้นอนุรักษ์ผ้าไทยให้กลับมาอีกครั้ง โดยการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการผ้า ผู้ผลิตผ้า พัฒนาลายผ้าใหม่ ๆ ให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับการสวมใส่ในทุกวัยและทุกโอกาส แสดงให้เห็นการฟื้นคืนชีพของผ้าไทยไปสู่ความรุ่งเรืองจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยสำคัญแห่งการขับเคลื่อนผ้าไทยที่พระองค์ได้พระราชทาน คือ “คน” ซึ่งประกอบไปด้วยข้าราชการ คณะทำงาน และพี่น้องประชาชน
 
กระทรวงมหาดไทย น้อมนำแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการเป็นแฟชั่นที่ยั่งยืน (Sustainable Fashion) โดยสวมใส่ผ้าไทยที่ย้อมสีธรรมชาติ ร่วมกันรณรงค์อนุรักษ์โลก ลดภาวะโลกร้อน และอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทย สวมใส่ได้ทุกโอกาส ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ตามโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”
นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวต่ออีกว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงริเริ่มผลักดันผ้าไทยให้เกิดแฟชั่นใหม่ที่ยังคงภูมิปัญญาเดิมของคนไทย โดยการพระราชทานแบบลายผ้า “ลายขอสิริวัณณวรี” ให้ประชาชนคนไทยได้นำไปพัฒนาและออกแบบจนเกิดเป็นความนิยมเกิดขึ้นในประเทศไทย 
 
ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ในผ้า แต่ยังเกิดขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ จากนั้นต่อมาได้พระราชทาน “ลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” “ลายดอกรักราชกัญญา” และลายบาติกพระราชทานอื่น ๆ อีกมากมาย ทรงแสดงให้เห็นว่าแฟชั่นลายใหม่นั้นทำให้เกิดเป็นที่นิยม เป็นที่ต้องการ สามารถสร้างรายได้สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน โดยเริ่มจากให้ผู้ผลิตผ้า ผู้ประกอบการผ้า ออกแบบใส่จินตนาการเพื่อให้เกิดชิ้นงานใหม่ ดังคำว่า “ต่อยอด” ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำด้วยการปลูกฝ้าย ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ใช้สีธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการส่งเสริม สนับสนุนให้มีความรู้ในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
 
การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ผ้าไทย เพื่อให้ได้รับการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความตระหนักให้รู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนทอผ้า คนย้อมผ้า และอาจส่งไปถึงผู้สวมใส่หากใช้ สารเคมีในการย้อมผ้า อีกทั้งยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
 
“การจัดประกวดลายพระราชทาน มีจุดประสงค์หลัก คือ การกระตุ้นให้ผู้ประกอบการผ้าได้มีการฝึกฝนพัฒนาทักษะในการทอผ้าอีกทั้งเป็นเวทีให้แสดงความเป็นศิลปหัตถกรรม สร้างความใส่ใจในผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่งเสริมการแข่งขันและความเป็นเลิศ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผ้าไทยให้ดีขึ้นต่อไป ดังนั้นผู้ที่เป็นข้าราชการในฐานะข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทำหน้าที่เป็นคนเชื่อมโยงนำสิ่งที่ดีไปสู่พี่น้องประชาชน และช่วยผลักดันภารกิจหน้าที่ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้เกิดความสำเร็จ ด้วยการช่วยกันทำสิ่งที่ดี ด้วยความแน่วแน่มุ่งมั่นตั้งใจ มีแรงปรารถนา (Passion) ช่วยกันและกันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Fashion) พร้อมส่งเสริมผลักดันร่วมกับภาคีเครือข่าย ทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการก้าวเดินร่วมกันต่อไปโดยเฉพาะงานหัตถศิลป์หัตถกรรม 
 
โครงการผ้าไทย เพราะเราอยากเห็นคนไทยทุกคนมีความสุข บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง พร้อมช่วยกันดูแลสังคมดูแลโลกใบนี้ ทำให้ประชาชนคนไทยได้อยู่ในชุมชนยั่งยืน เพื่อให้ 76 จังหวัด ในประเทศไทยทุกจังหวัดเป็นประเทศไทยที่ยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว
 
นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินโครงการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” โดยมีเป้าหมายกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ช่างทอผ้า และงานหัตถกรรม ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ ร่วมโครงการฯ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชน โดยดำเนินการพัฒนาผ่านการประกวด ผ้าลายพระราชทาน แบ่งเป็น 4 กิจกรรม ประกอบด้วย 
 
1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ด้านผ้าไทย และงานหัตถกรรม (Coaching) “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” 
2) กิจกรรมประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม 
3) กิจกรรมบันทึกและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานผ้าและงานหัตถกรรมที่ได้รับการคัดเลือก 
และ 4) กิจกรรมสนับสนุนการพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในการพัฒนาผ้าและงานหัตถกรรม 
 
โดยจะดำเนินการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม ในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ได้แก่ 
1) ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมมีเลีย เชียงใหม่ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 
2) ภาคกลาง จังหวัดราชบุรี ในวันที่ 26 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรม ณ เวลา ตำบลดอนตะโก อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 
3) ภาคใต้ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 2 กันยายน 2566 ณ โรงแรมลากูน่า แกรนด์ โฮเทล แอนด์ สปา ตำบลพะวง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ 
4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 10 – 11 กันยายน 2566
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กลุ่​มงาน​ส่งเสริม​การพัฒนา​ชุมชน​ สำนักงาน​พัฒนา​ชุมชน​จังหวัด​เชียงราย​

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

เชียงราย สนับสนุนโครงการ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” พื้นที่อำเภอเวียงแก่น

 
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 เวลา 11.00 น.นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ติดตามการดำเนินงานการน้อมนำแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” สร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน และกิจกรรมพัฒนาชุมชนในพื้นที่อำเภอเวียงแก่น ณ บ้านหล่ายงาว หมู่ที่ 1 ตำบลหล่ายงาว อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลหล่ายงาว และนายนรสิงห์ สวยไธสงค์ รักษาราชการแทนพัฒนาการอำเภอเวียงแก่น พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเวียงแก่น ให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน
 
ในการนี้ นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายสุเมท นิลสวิท นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย และทีมงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ร่วมติดตามสนับสนุนการดำเนินงานด้วย
นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย และคณะ ได้ร่วมปลูกพืชผักสวนครัว ได้แก่ พริกขี้หนู มะเขือเจ้าพระยา มะเขือยาว สาระแหน่ ผักแพว ต้นหอม ในพื้นที่ซอย 14 หมู่บ้านหล่ายงาว ซึ่งเป็น “เส้นทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” ของหมู่บ้าน จากนั้นได้ไปยังครัวเรือนต้นแบบ การน้อมนำแนวพระราชดำริฯ ปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางอาหาร (ครัวเรือนนายปั๋น ยาละ) 
 
พื่อให้กำลังใจและเยี่ยมชมภายในบริเวณบ้านที่มีการปลูกผักสวนครัวอย่างเป็นรูปธรรม ก่อนจะเดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้เฮือนฮอมฮัก วัดดอยสันกู่ บ้านหล่ายงาว เพื่อร่วมปลูกไม้ผลสำหรับเป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชน ประกอบด้วย ต้นอโวคาโด้ ต้นมะขามยักษ์ เงาะ และลิ้นจี่ป่า รวมทั้งเยี่ยมชมและให้กำลังใจแก่กลุ่มทอผ้าผู้สูงอายุบ้านหล่ายงาว กลุ่มปู่ยมูลใส้เดือนวัดดอยสันกู่ กลุ่มสบู่สมุนไพรวัดดอยสันกู่ และกลุ่มปักผ้าบ้านไทยเจริญ ที่ได้ดำเนินการภายในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ฯ และนำผลิตภัณฑ์มาร่วมกิจกรรม
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Cddchiangrai

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงราย พร้อมเยาวชน 400 ชีวิต ขึ้นดอยอินทรีย์ปลูกป่าครั้งที่ 2

 

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566 ณ วัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายจิรชัย มูลทองโร่ย สมาชิกวุฒิสภา นายรามิล พัฒนมงคลเชฐ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

น้องๆสภาเยาวชนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เยาวชนเชียงราย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่าย ร่วม ”โครงการปลุก(ปลูก) อนาคตเจียงฮาย ครั้งที่ 2 “ เนื่องด้วยปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาป่า การใช้พลังงานต่างๆ การสูญเสียพื้นที่สีเขียว ทางเกษตรกรรม การกำจัดของเสีย และการตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น สาเหตุดังกล่าว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล ปัญหาสุขภาพ ความยากจนและคุณภาพชีวิตตกต่ำ ล้วนเกิดจากปัญหาดังกล่าวข้างต้นด้วยเช่นกัน การรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะเป็นการสร้างเสริมองค์ความรู้ ปลูกจิตสำนึกของเด็ก เยาวชน และประชาชนให้ตระหนักถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อรองรับและบรรเทาปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News