Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุอินเดีย ประดิษฐาน จ.เชียงใหม่

 

เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2567 (อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจาก สาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย)   

 

 

จังหวัดเชียงใหม่ จัดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินเดียมาประดิษฐาน โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินเดีย ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ อธิบดีกรมการศาสนา หัวหน้าส่วนราชทุกภาคส่วน ข้าราชการ ประชาชน เข้าร่วมกิจกรรม ณ หอคำหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอง 28 กรกฎาคม 2567

 

 

ในการนี้จังหวัดเชียงราย โดยนายพุฒิพงศ์  ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนายพิสันต์  จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย และข้าราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก :

พิพัฒน์ สุ่มมาตย์, ยุทธนา สุทธสม : รายงาน

พร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ : ภาพ

อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงราย จัดอบรมเพิ่มความรู้ยุคดิจิทัลให้ผู้สูงอายุ อ.เทิง และ อ.ขุนตาล

 
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 เวลา 09.30 น. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย กิจกรรม เติมความรู้ เตรียมความพร้อม รุ่น 6 โดยมี นายบุญตัน เสนคำ ส.อบจ.เชียงราย อ.เทิง เขต 1 นายฑราวุธ กันทะเขียว ส.อบจ.เชียงราย อ.ขุนตาล นายสิงห์ทอง หนุนนำสิริสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีตำบลเวียงเทิง นางสาวนิโลบล ชาติเงิน ผู้อำนวยการกองสวัสดิการ นางสายสมร ทิพย์โพธิ์ หัวหน้าฝ่านส่งเสริมสวัสดิการสังคม และเครือข่ายผู้สูงอายุในพื้นที่ ร่วมด้วย ในการนี้ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ อ.เทิง และ รพ.สต.ศรีถ้อย เป็นผู้บรรยายให้ความรู้ ณ ศูนย์สุขภาวะ อ.เทิง จ.เชียงราย
 
 
โครงการและกิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ เข้าถึงสิทธิสวัสดิการของผู้สูงอายุ อีกทั้งเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้อุปกรณ์ดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้ได้กำหนดจัดขึ้นทั้งหมด 9 ครั้ง โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมคือ ผู้สูงอายุใน อ.เทิง และ อ.ขุนตาล รวมจำนวนทั้งสิ้น 100 คน
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

รวมพลัง Kick Off Line OA “อบจ.เชียงราย CR-PAO”

 

เมื่อวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2567 เวลา 14.00 น. นายก นก อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย เป็นประธานในพิธี Kick Off เปิดตัว Line OA “อบจ.เชียงราย CR-PAO” อย่างเป็นทางการ พร้อมด้วย นางทรงศรี คมขำ รองนายก อบจ.เชียงราย นายสุธีระพงษ์ วันไชยธนวงศ์ ประธานสภา อบจ.เชียงราย นายประเสิรฐ ชุ่มเมืองเย็น รองประธานสภา อบจ.เชียงราย ณ บริเวณโถงชั้น 1 อบจ.เชียงราย โดยมีนายไพรัช มหาวงศนันท์ หน.ฝ่ายบริการสาธารณสุข อบจ.เชียงราย กล่าวรายงาน และมีคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการและ บุคลากร อบจ.เชียงราย เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ด้วย

 

เนื่องด้วย สถานการณ์โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังใน จ.เชียงราย มีแนวโน้มสูงขึ้น และความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดสถานะสุขภาพของประชาชน เมื่อบุคคลมีความรอบรู้ด้านสุขภาพน้อยและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง จะส่งผลให้บุคคลนั้นไม่สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้น กองสาธารณสุข ร่วมกับงานประชาสัมพันธ์ งานส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ อบจ.เชียงราย สอน. รพ.สต. ในสังกัด อบจ.เชียงราย 
 
 
จึงได้สร้าง Line OA ขึ้น เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนอย่างมีคุณภาพ ในรูปแบบใหม่ในแนวคิด “โฮงยาใกล้บ้าน” เช่นได้รับความรู้ผ่านมือถือเครื่องเดียวได้ทุกที่ ทุกเวลา และทั่วถึงทุกคน ผู้ป่วยสามารถเลือกวันนัด หรือนัดหมายล่วงหน้าในการมาพบแพทย์ได้สะดวกรวดเร็ว ได้รับความสะดวกสบายในด้านการมารับบริการ ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดระยะเวลารอคอย โดย Line OA ดังกล่าวได้ใช้ชื่อว่า“อบจ.เชียงราย“ 
 
 
เพื่อให้ประชาชนทุกคน รวมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าร่วมติดตามรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เช่น ข้อมูลกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ ข้อมูลด้านสุขภาพ เป็นต้น และ ในทุกๆ รพ.สต./สอน.ในสังกัด อบจ.เชียงรายจะมี Line OA เพื่อให้แกนนำสุขภาพ ประชาชนในพื้นที่ตนเอง ได้ติดตามรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เช่น สามารถสอบถาม ข้อมูลด้านสุขภาพ ตารางการรับบริการ ข่าวสารประชาสัมพันธ์ต่างๆได้สะดวก รวดเร็ว
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงและป้องกันไฟป่าหมอกควัน อ.แม่ลาว

 

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 67 ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอแม่ลาว พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ สมาชิกวุฒิสภาพร้อมคณะลงพื้นที่อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ในโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน คณะที่ 2 ได้ร่วมประชุมเพื่อหารือข้อราชการและรับฟังการรายงานจากส่วนราชการในประเด็นต่างๆ โดยมี นายรุ่งโรจน์ ตันวุฒ นายอำเภอแม่ลาว พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำ อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ เพื่อหารือในการเตรียมการป้องกันการเผาป่า การแก้ไขปัญหาหมอกควัน PM2.5 การดูแลสุขภาพประชาชน และการส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษเพื่อเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang rai Wellness City) และประเด็นอื่นๆ ที่สำคัญ

 

ในการนี้ พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ สมาชิกวุฒิสภา คณะที่ 2 พร้อมคณะลงพื้นที่ไปยังบ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 ตำบลป่าก่อดำ อำเภอแม่ลาว ซึ่งเป็นบ้านของนางแก้วรัตน์ ไพยราช ที่ได้มีการส่งเสริมการผลิตปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษหลายชนิดภายในบริเวณรอบบ้านเต็มไปด้วยพืชผักสวนครัว สมุนไพร การเลี้ยงปลาธรรมชาติ และอื่นๆ อีกมายแบบครบวงจร เพื่อเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang rai Wellness City) ต่อไป
 
 
หลังจากนั้น คณะสมาชิกวุฒิสภา คณะที่ 2 ได้ลงื้นที่ไปยังบ้านป่าซ่างเหนือ หมู่ที่ 1 ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว เพื่อเยี่ยมชมและให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน PM2.5 ที่มีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อป้องกันไฟป่าได้เป็นอย่างดี เช่น การทำแนวป้องกันไฟป่าเขตติดต่อระหว่างอำเภอ การจัดเวรยามเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าระวังไฟป่า ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้อำเภอแม่ลาว ยังไม่พบว่ามีการเผาป่าหรือพบจุดความร้อนแต่อย่างใด จึงขอชื่นชมนายอำเภอแม่ลาว และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ได้ช่วยกันป้องกันปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ได้อย่างเข้มแข็ง
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

“ทปษ.บุญสิงห์” เปิดการประกวดโคเนื้อ “โคบาลล้านนา ครั้งที่ 3” จังหวัดเชียงราย

 
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่หาดทรายเทียมหนองหลวง ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ.เชียงราย นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดการประกวดโคเนื้อ “โคบาลล้านนา ครั้งที่ 3” ณ บริเวณหาดทรายเทียมหนองหลวง ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย โดยมีนายญาณวุฒิ สุดพิมศรี นายอำเภอเวียงชัย นายพืชผล น้อยนาฝาย ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้การต้อนรับ
 
นายพืชผล น้อยนาฝาย ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การงานจัดการประกวดโคเนื้อในครั้งนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์ขยายผลการสร้างมูลค่าเพิ่มโคเนื้อ การยกระดับและเพิ่มศักยภาพมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพอาหารปลอดภัย โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและสร้างเครือข่ายการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพอาหารปลอดภัยอย่างสร้างสรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อคุณภาพ ในจังหวัดเชียงราย 
 
 
เพื่อพัฒนาศักยภาพการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การคัดเลือกพันธุ์สัตว์ เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ การผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มโคเนื้อ เพิ่มช่องทางการตลาดให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรได้เชื่อมโยงเครือข่ายกัน และมีการจัดประกวด 2 ประเภท ได้แก่ โคลูกผสมยุโรปทั่วไป และโคลูกผสมบีฟมาสเตอร์ รวมทั้งหมด 12 รุ่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียงในกลุ่มภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน) และผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ด้านปศุสัตว์ ในจังหวัดเชียงราย ซึ่งในปีนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่มีการจัดประกวดโคเนื้อเกิดขึ้น ตั้งแต่มีการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อมาระยะเวลา 6 ปี ที่ผ่านมา 
 
 
ซึ่งผลผลิตโคเนื้อที่ได้พัฒนาปรับปรุงพันธ์โดยพ่อพันธุ์สายเลือดยุโรป เริ่มเจริญเติบโตและขยายเพิ่มขึ้น จังหวัดเชียงราย มีเป้าหมายในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อ โดยการยกระดับสายเลือดพันธุ์โคเนื้อยุโรป เน้นโคเนื้อสายพันธุ์ บีฟมาสเตอร์ เป็นหลัก
 
 
การจัดงานประกวดโคเนื้อในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ห้างร้าน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเลี้ยงโคเนื้อ กลุ่มเกษตรกรวิสากิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเนื้อต่างๆ เครือข่ายโคเนื้อล้านนา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเชี่ยวชาญการเลี้ยงโคเนื้อ ตลอดจนเกษตรกรเจ้าของโคเนื้อที่ส่งโคเนื้อเข้าร่วมประกวดทั้งจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียง
 
 
ทางด้าน นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่านับว่าเป็นสิ่งน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง สำหรับทุกคนที่มีโอกาสได้เข้าร่วมงานการประกวดโคเนื้อในครั้งนี้ การประกวดถือได้ว่าเป็นการประชาสัมพันธ์อย่างหนึ่ง ที่จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาและขยายตลาดเนื้อโคคุณภาพ เป็นการแสดงถึงสินค้าและผลิตภัณฑ์โคเนื้อที่ได้พัฒนามาระดับหนึ่ง ทราบว่าจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อคุณภาพ มาตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน ทำให้เริ่มมีผลผลิตโคเนื้อพันธุ์ดี ที่ได้ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์มาในระยะเวลา 6 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กว่าจะได้ผลผลิตโคเนื้อออกมาต้องใช้เวลานานเป็นแรมปี 
 
 
ทำให้สินค้าโคเนื้อมีโอกาสของเวลาที่สามารถวางแผนการผลิตและการตลาดได้ล่วงหน้า แต่อย่างไรก็ตามผลผลิตโคเนื้อคุณภาพก็ยังมีปริมาณไม่เพียงพอในการบริโภคภายในประเทศ ยังคงมีการนำเข้าโคมีชีวิตและเนื้อโคอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบัน ประเทศไทยต้องเจอภาวะการแข่งขันภายใต้เงื่อนไขข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยและนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย ซึ่งมีผลบังคบใช้ 
 
 
ในวันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นมานั้น โดยมีการลดภาษี เป็น 0% หากเราไม่มีการเร่งรัดพัฒนาทั้งในด้านการผลิต การแปรรูป การตลาด ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกร จะทำให้ไม่สามารถแข่งขันทางการค้าทั้งในและต่างประเทศได้ การพัฒนาขยายช่องทางการตลาดโดยเน้นการประชาสัมพันธ์ การจัดการผลผลิตให้ได้คุณภาพ ซึ่งก็มีหลายปัจจัย โดยเฉพาะในเรื่องของพันธุ์สัตว์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงได้ โคเนื้อที่มีลักษณะพันธุ์ดี มีอัตราการแลกเนื้อสูง และจากงานวิจัยทางวิชาการ เนื้อที่มีคุณภาพดี ก็ต้องเป็นเนื้อที่ได้จากโคลูกผสมยุโรป พันธุ์ต่างๆ ซึ่งทราบว่า จังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งผลิตโคเนื้อสายพันธุ์ บีฟมาสเตอร์ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เลี้ยงง่ายปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมบ้านเรา 
 
 
ถือเป็นเป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่งที่จังหวัดเชียงราย ได้เล็งเห็นความสำคัญ และได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการ โดยต้องการส่งเสริมให้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ได้พัฒนาการเลี้ยงของตนเอง ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น สามารถที่จะพัฒนาเป็นอาชีพหลักได้ต่อไป และการประกวดโคเนื้อ โคบาลล้านนา ครั้งที่ 3 ในวันนี้จึงนับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี ให้ประโยชน์พี่น้องแก่เกษตรกร โดยในจังหวัดเชียงราย ทราบว่า มีการรวมตัวของพี่น้องเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอำเภอต่างๆ เป็นเครือข่ายโคเนื้อล้านนา ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มเครือข่ายของเราเข้มแข็ง มีพลังต่อรองในเรื่องต่างๆ และทำให้เชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและการตลาดโคเนื้อ กับเครือข่ายอื่นๆในห่วงโซ่าการผลิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมั่นคง ในอาชีพต่อไป
 
 
นายบุญสิงห์ กล่าวด้วยว่า หลังจากผ่านการประกวดโคในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพี่น้องเกษตรกรผู้เข้าร่วมงานจะได้ประโยชน์ หรือประสบการณ์ดีๆ ที่ได้เห็นโคเนื้อที่มีวิวัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ จนได้ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ต่อครอบครัว และหวังว่ากลุ่มเครือข่ายผู้เลี้ยงโคเนื้อล้านนาจะเติบโตและเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ และขอให้มีการจัดงาน “โคบาลล้านนาครั้งที่ 4” ให้เกิดขึ้นต่อไปในอนาคต.
 
 
 สำหรับการจัดการประกวดโคเนื้อ “โคบาลล้านนา ครั้งที่ 3” นี้ ดำเนินงานโดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและสร้างเครือข่ายการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพอาหารปลอดภัยอย่างสร้างสรรค์ กิจกรรมการยกระดับและเพิ่มศักยภาพมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพอาหารปลอดภัย ประจำปี 2567 โดยประชาสัมพันธ์ขยายผลการสร้างมูลค่าเพิ่มโคเนื้อ จัดให้มีการประกวดโคเนื้อขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อคุณภาพในจังหวัดเชียงราย และพัฒนาศักยภาพการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การคัดเลือกพันธุ์สัตว์ และมีการจัดประกวด 2 ประเภท ได้แก่ โคลูกผสมยุโรปทั่วไป และโคลูกผสมบีฟมาสเตอร์ รวมทั้งหมด 12 รุ่น 
 
 
โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียงในกลุ่มภาคเหนือตอนบน 2 (จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน) และผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ด้านปศุสัตว์ ในจังหวัดเชียงราย ซึ่งในปีนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่มีการจัดประกวดโคเนื้อเกิดขึ้น ตั้งแต่มีการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อมาระยะเวลา 6 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งผลผลิตโคเนื้อที่ได้พัฒนาปรับปรุงพันธ์โดยพ่อพันธุ์สายเลือดยุโรปเริ่มเจริญเติบโตและขยายเพิ่มขึ้นในจังหวัดเชียงราย มีเป้าหมายในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อ โดยการยกระดับสายเลือดพันธุ์โคเนื้อยุโรป เน้นโคเนื้อสายพันธุ์ บีฟมาสเตอร์ เป็นหลัก
 
 
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SPORT

เชียงรายจัดกิจกรรมการแข่งขัน“เปตองเชียงรายลีก” ครั้งที่ 2 เริ่ม 2 มี.ค. 67

 

วันที่ 2 มีนาคม 2567 เชียงรายจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬา“เปตองเชียงรายลีก”ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567 เริ่มแข่งขันรอบแรก  2  มีนาคม 2567 ณ สนามเปตองจูหมิงสามัคคี    เนื่องด้วยชมรมเปตอง เชียงรายให้ความสำคัญในการดูแลให้ชาวเชียงรายได้ผ่อนคลายจากการทำงาน และเพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ได้ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ และสันทนาการภายในจังหวัด จึงได้จัดโครงการแข่งขัน “เปตองเชียงรายลีก”ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567 เริ่มแข่งขันรอบแรก  2  มีนาคม 2567 ณ สนามเปตองจูหมิงสามัคคี  ถือเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย ได้ผ่อนคลาย และมีเวลาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนจังหวัดเดียวกัน ส่งเสริมให้การทำงานเกิดผลสัมฤทธิ์ และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

 

ชมรมเปตองที่เข้าร่วมแข่งขัน

1.ชมรมปันสุข    

2.ชมรมขัวพญามังราย  

3.ชมรมสันติคีรี         

4.ชมรมเทิง               

5.ชมรมสิงห์เกาะลอย   

6.ชมรมลุ่มน้ำลาว        

7.ชมรมปลานิลพิฆาต   

8.ชมรมเด่นดวง           

9.ชมรมหนองปึ๋ง          

10.ชมรมสิงห์บ้านดู่         

11.ชมรมแม่จัน

 

ประเภทการแข่งขัน                     

  1. ทีมคู่ชาย 3 ทีม
  2. ทีมคู่อาวุโส 2 ทีม 
  3. ทีมคู่ผู้สูงอายุ 1 ทีม
  4. ทีมคู่หญิง 1 ทีม

 รางวัลการแข่งขัน

  • ถ้วยคะแนนรวมสูงสุด 1 รางวัล
  • ประเภททีมคู่ชาย อันดับ 1-3 ได้รับ ถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล    3,000  2,000  1,000
  • ประเภททีมคู่อาวุโส อันดับ 1-3 ได้รับ ถ้วยรางวัล พร้อมเงินรางวัล 2,000  1,500  1,000
  • ประเภททีมคู่ผู้สูงอายุ อันดับ 1-3 ได้รับ  ถ้วยรางวัล พร้อมเงินรางวัล  1,500  1,000   800
  • ประเภททีมคู่หญิงอันดับ 1-3 ได้รับ ถ้วยรางวัล พร้อมเงินรางวัล  1,500  1,000   800                                                                             
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS UPDATE

USAID Enhance ร่วมมือกับ อปท. เปิดโครงการ “สร้างเมืองแห่งการมีส่วนร่วม”

  •  

โครงการ Citizen-centric Youth Incubator (ภายใต้โดรงการ USAID Enhance)

สร้างนวัตกรรม ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสังคมที่มีส่วนร่วม สำหรับคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจในการพัฒนาสังคม มีไอเดียสร้างสรรคันวัดกรรมหรือเทคโนโลยีที่สามารถช่วยเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของ “สังคมแห่งการมีส่วนร่วม” กับเราผ่านโครงการ Citizen-centric Youth Incubator มาแสดงศักยภาพของคุณกัน!

 

โครงการ Citizen-centric Youth Incubator ภายใต้โครงการ USAID Enhance เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ อายุ 18 – 29 ปี แสดงความสามารถและสร้างไอเดียนวัตกรรมการจัดการการปกครองโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ผ่านการอบรมกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการการปกครองโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และประดิษฐ์ไอเดียนวัตกรรมที่ขยายเสียงประชาชนในการจัดการการปกครองส่วนท้องถิ่น กิจกรรม Hackathon นี้ไม่เพียงแต่เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้แก่คนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่สามารถนำไปใช่ในพื้นที่จริงอย่างเป็นรูปธรรม โดยผลิตภัณฑ์ตัวอย่างจากไอเดียนวัตกรรมที่ได้รับการคัดเลือก มีโอกาสที่จะนำาไปใช่ในพื้นที่จริงโดยองค์กรปกครองส่วนห้องถิ่นที่สนใจ

 

1. หากเข้าร่วมโครงการ คุณจะได้รับอะไร?

  • โอกาสในการเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
  • มีส่วนร่วมในพื้นที่สร้างสรรค์ตั้แต่กระบวนการพัฒนาไอเดียเพื่อสร้างนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีไปจนถึงการน่นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีนั้นมาใช้จริง
  • ความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนห้องถิ่นในการสร้างสังคมที่ตอบโจทย์ประชาชนมากขึ้น
  • ประกาศนียบัตรจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ
  • รางวัลสำหรับผู้ชนะกิจกรรม Hackathon ทั้งหมด 10 รางวัล

2. คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • อายุ 18-29 ปี
  • สนใจและมีแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท. ในพื้นที่ 8 จ้งหวัดเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ ป้ตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา เชียงราย น่าน สกลนคร อุบลราชธานี
  • มีความสนใจเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการ “สร้างเมืองแห่งการมีส่วนร่วม”
  • มีความรู้และความเข้าใจในบริบทในพื้นที่ และ/หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย 8 จังหวัด
  • สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดระยะเวลาโครงการ
  • สามารถเดินทางข้ามจังหวัดเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมได้ ในจ้งหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา เชียงราย น่าน สกลนคร อุบลราชธานี

3. ระยะเวลาโครงการ

  • เปิดรับสมัคร 28 ก.พ. – 8 มี.ค. 2567
  • ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 18 มี.ค. 2567
  • ผู้ผ่านการคัดเลือกของแต่ละพื้นที่เข้าร่วมอบรมในจังหวัดของตนเอง จังหวัดละ 2 วัน ระหว่าง วันที่ 22 เม.ย. – 8 พ.ค. 2567
  • Hackathon ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ประมาณสัปดาห์ที่สี่ของเดือนพฤษภาคม 2567
  • Hackathon ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ ประมาณสัปดาห์ที่สามของเดือนมิถุนายน 2567 พร้อมกับประกาศผลรางวัล 10 ไอเดียที่ได้รับการคัดเลือก
  • ผู้ชนะส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากไอเดียนวัดกรรมที่ขยายเสียงประชาชนในการจัดการการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการคัดเลือก (Prototype) ภายในวันที่ 31 ก.ค. 2567

4. วิธีการสมัคร

  • สแกนคิวอาร์โค้ดด้านล่างเพื่อกรอกข้อมูลรายละเอียดผู้สมัคร หรือ กดลิ้งค์นี้ สมัครร่วมโครงการ
  • ส่งไอเดียแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่จังหวัดเป้าหมายในรูปแบบที่สร้างสรรค์ เช่น วิดีโอสั้น หรือเขียนอธิบายสั้น ๆ และแนบมาพร้อมใบสมัคร
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : USAID Enhance

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

“พิสันต์” เตรียมจัดกิจกรรม มหกรรมดนตรีล้านนาตะวันออก

 
เมื่อวันที่วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพรทิวา  ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อหารือแนวทางการจัดเตรียมการดำเนินงาน “กิจกรรมมหกรรมดนตรีล้านนาตะวันออก”  ผ่านระบบออนไลน์ (Host : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่”) โดยมีวัฒนธรรมจังหวัด ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) เข้าร่วมประชุม

 

   “กิจกรรมมหกรรมดนตรีล้านนาตะวันออก” ภายใต้โครงการเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ เป็นหน่วยดำเนินงานหลัก และ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน เป็นหน่วยดำเนินงานร่วม ซึ่งสำนักงานวัฒนธรรมเชียงราย พะเยา และน่าน จะจัดกิจกรรมถ่ายทอดฟื้นฟูอัตลักษณ์ดนตรีท้องถิ่นภาคเหนือของจังหวัด และคัดเลือกวงดนตรีเข้าร่วมกิจกรรมมหกรรมดนตรีสีสันล้านนาตะวันออกที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่จัดขึ้นต่อไป

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เปิดการแข่งขันกีฬาสีสัมพันธ์ชุมชน โรงเรียนบ้านเกี๋ยง ประจำปี พ.ศ.2567

 

เมื่อวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 น. นายก นก อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย ร่วมพิธีถวายผ้าป่าสามัคคีและเป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬาสีสัมพันธ์ชุมชนโรงเรียนบ้านเกี๋ยง ประจำปี พ.ศ.2567 พร้อมด้วย นายวราวุฒิ ไชยวงค์ ส.อบจ.เชียงราย อ.เชียงของ เขต 2 ณ สนามโรงเรียนบ้านเกี๋ยง ต.ห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย โดยมีนายสายยุทธ กันธิยะ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงาน นายสุรินทร์ วงค์อิ่นแก้ว นายกเทศมนตรี ต.ห้วยช้อ สิบเอก สิทธกานต์ ปัญญาอิ่นแก้ว รองปลัดเทศบาลรักษาราชการแทน ปลัด ทต.ห้วยช้อ นายบุญตรง มูลพร้อม ผอ.รร.บ้านเกี๋ยง ร่วมให้การต้อนรับ 

 

และได้รับเกียรติจาก พระปลัดสมศักดิ์ สมาหิโต เจ้าอาวาสวัดเวียงทอง พระครูวิชิต วีราภรณ์ (อลงกรณ์ ) เจ้าคณะ ต.ห้วยซ้อ พระครูบาสมชาย รกุจิตธัมโม พระธาตุดอยเวียง พระสิทธิพัทธ์ สุนทรเมธี เจ้าอาวาสวัดเกี๋ยงใต้ รับการถวายผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้ด้วย

 
 
ซึ่งการถวายผ้าป่าสามัคคีและการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ มีนักกีฬาชุมชนในเขตบริการของโรงเรียน จำนวน 7 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านเกี๋ยงเหนือ หมู่ที่ 4 บ้านเกี๋ยงใต้ หมู่ที่ 6 บ้านใหม่ดอนแก้ว หมู่ที่ 9 บ้านเวียงทอง หมู่ที่ 11 บ้านภูเวียง หมู่ที่ 15 บ้านเกี๊ยง หมู่ที่ 17 และบ้านเวียงคำ หมู่ที่ 22 จัดขึ้นเพื่อสร้างเสริมความสามัคคีระหว่างชุมชนในเขตบริการของโรงเรียน ด้วยการเล่นกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อให้มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บดังคำกล่าวที่ว่า “จิตใจที่ร่าเริงแจ่มใส อยู่ในร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์” โดยละเว้น สิ่งเสพติดทุกประเภท และเพื่อสืบสาน วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ให้แก่คนรุ่นหลังสืบไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

“สมัชชาการศึกษาระดับภูมิภาค” ครั้งที่ 2 สร้างเวทีพัฒนาเครือข่าย

 

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 ที่ห้องเธียเตอร์ ชั้น 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย อ.เมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดการประชุมพัฒนาระบบกลไกการมีส่วนร่วม “สมัชชาการศึกษาระดับภูมิภาค” (Regional Educational Assembly) ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ โดยมีรองเลขาธิการสภาการศึกษา ศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด ผู้แทนหน่วยงานด้านการศึกษา ภาคีเครือข่ายสมัชชาสภาการศึกษาจังหวัด ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา หน่วยงานภาคเอกชน มูลนิธิ และภาควิชาชีพต่างๆ เข้าร่วม

 

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมกับจังหวัดเชียงรายและภาคีเครือข่ายการศึกษาภาคเหนือ จัดการประชุมยกระดับกลไกการมีส่วนร่วม”สมัชชาการศึกษาระดับภูมิภาค” (Regional Educational Assembly) ครั้งที่ 2 ขึ้น เพื่อสร้างเวที พัฒนาเครือข่ายและกลไกการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุนบทบาทการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของทุกภาคส่วนในระดับภูมิภาคให้มีคุณภาพ เข้มแข็ง และยั่งยืน และเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความคืบหน้าการดำเนินงานของสมัชชาการศึกษาสภาการศึกษา และภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับภูมิภาคตามมติของการประชุมสมัชชาการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 1 
 
 
อีกทั้งเพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการศึกษาในมุมมองฉากทัศน์อนาคต (Scenario) และปรับปรุงประเด็นและมติสมัชชาการศึกษาระดับภูมิภาค เพื่อเสนอเป็นระเบียบวาระในการประชุมสมัชชาสภาการศึกษาระดับชาติ (National Education Assembly)
 
 
สำหรับจังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีความพร้อม มีความเข้มแข็ง และมีการรวมตัวของภาคีเครือข่ายการศึกษาในทุกภาคส่วน และมีศักยภาพในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาด้วยคนในพื้นที่ ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาของภาคประชาชนระดับพื้นที่ ด้วยตระหนักว่าความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของภาคีเครือข่ายที่ดำเนินงานในพื้นที่ จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยกำหนดและผลักดันนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาเพื่อคนทุกภาคส่วนต่อไป
 
 
ภายในการประชุม มีการเสวนา ในหัวข้อ “สภาการศึกษา X กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา แชร์ผลลัพธ์ ปรับมุมใหม่ สมัชชาการศึกษาแบบไหนตรงใจคนบ้านเรา และการรับรองมติสมัชชาสภาการศึกษาระดับภูมิภาค กิจกรรมสร้างเครือข่าย ละลายพฤติกรรม การเสวนาคลินิกเพื่อนสมัชชาสภาการศึกษา Best Practice จากสมัชชาที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่ รวมถึงเปิดเวทีเพื่อแชร์กลไกแก้ปัญหาเชิงพื้นที่จากผู้แทนจังหวัดต่าง ๆ อีกด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News