Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ศิลปินจากนิวยอร์คและ CiNEMA For All ชวนชาวเชียงแสนร่วมกิจกรรมศิลปะร่วมสมัย

 
เมื่อวันศุกร์ที่ 5 มกราคม   2567 นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนายฤษ์ฤทธิ์ ติระวณิช และนางกฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ นายอังกฤษ อัจฉริยโสภณ และนางสาวมนุพร เหลืองอร่าม ภัณฑารักษ์ นางสาวชลิดา เอื้อบำรุงจิต ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ นายพิสันต์ จันทรศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายสุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ และเจ้าหน้าที่สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 
 
 
เข้าร่วมกิจกรรมในงานไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย ได้แก่ ขบวนพาเหรดของศิลปิน  Arto Lindsay ศิลปินจากนิวยอร์คในชุด “Liquid  Paper” ซึ่งมีประชาชนชาวศรีดอนมูลแต่งกายเข้าร่วมขบวนพาเหรดอย่างสนุกสนาน เริ่มจากวัดศรีชัยแม่มะ ไปยังโรงเรียนบ้านแม่มะ จากนั้นร่วมกิจกรรมเสวนาของ Cinema for All พาวิลเลี่ยนของพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (MoMA) จากนิวยอร์ค โดยมี Tilda Swinton นักแสดงชื่อดังจากฮอลล์วู้ด จอซ ซีเกล ภัณฑารักษ์ภาพยนตร์ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (MoMA) นิวยอร์ค และ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยฝีมือระดับโลก ร่วมเสวนา โดยชมวรรณ วีรวรวิทย์ ดำเนินรายการ และร่วมชมภาพยนตร์ตามโปรแกรม  “เงาเหล่าบรรพชนที่ถูกลืมของเรา” ผ่านการฉายภาพยนตร์นานาชาติแบบหนังกลางแปลงทั้งจอหน้าและจอหลัง 
 
 
โดยได้รับการสนับสนุนจากชาแนล แบรนด์ชั้นนำระดับโลก โดยได้รับการสนับสนุนจากหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) หอภาพยนตร์และภาพยนตร์สถานฝรั่งเศส หอภาพยนตร์เบลเยียมและฝรั่งเศส หอภาพยนตร์เมืองโบโลญญา สถาบันภาพยนตร์เนเธอร์แลนด์ และคลังจัดเก็บ Archivo National de la Imagen-Sodre (Montevideo) ภายในงานมีศิลปิน บุคคลในวงการศิลปะร่วมสมัย วงการภาพยนตร์ ภัณฑารักษ์ชั้นนำ นักแสดง ผู้สนใจงานศิลปะ และประชาชนในพื้นที่อำเภอเชียงแสน เข้าร่วมกิจกรรมฯ ครั้งนี้อย่างคับคั่ง อาทิ คุณพิมพกา โตวิระ หมาก ปริญ มิว นิษฐา ฯลฯ
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

พิธีต่อไฟพระฤกษ์ประทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

 

พิธีต่อไฟพระฤกษ์ประทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกในกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคลทั่วไทย ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับศักราชใหม่ 2567 นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีฯ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย และเปิดกรวยดอกไม้ธูปเทียนแพ ถวายสักการะเบื้องหน้าพระรูปสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

 

นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย และ นายโสไกร ใจหมั้น ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย ถวายไฟพระฤกษ์ประทานของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และน้ำพระพุทธมนต์ แด่เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย (มหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย)

 

พระพุทธิญาณมุนี (ประเสริญ ปญฺญาวชิโร) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย (มหานิกาย) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน พร้อมด้วย พระสิริวัฒโนดม วิ. (สุขเลิศ กนฺตธมฺโม) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย (ธรรมยุติกนิกาย) เจ้าอาวาสวัดบ้านเหล่า (ธ) อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จุดไฟพระฤกษ์ประทานฯ และดำเนินพิธีต่อไฟพระฤกษ์ประทานฯ แก่เจ้าอาวาสพระอารามหลวง และเจ้าคณะอำเภอทุกอำเภอ ทั้ง 2 นิกาย ในโอกาสมงคลนี้ เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย ทั้ง 2 นิกาย เมตตากล่าวสัมโมทนียกถา

 

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ประทานไฟพระฤกษ์แด่ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม นำไปถวายเจ้าคณะจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อจุดเทียนมงคลในพิธีสวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคลทั่วไทย ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับศักราชใหม่ 2567 อันเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่พุทธศาสนิกชนที่เข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีของแต่ละวัดในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และเป็นสิริมงคลยิ่งของการเข้าสู่ศักราชใหม่ ดังนั้น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย จึงได้ดำเนินการจัดพิธีต่อไฟพระฤกษ์ประทานฯ ในวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2566 เวลา 14.30 – 16.00 น. ณ อุโบสถวัดพระสิงห์ พระอารามหลวง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นำข้าราชการและบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นายภัทรพงษ์ มะโนวัน หัวหน้ากลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน นายพิพัฒน์ สุ่มมาตย์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายอภิชาต กันธิยะเขียว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่กลุ่มพิธีฯ ดำเนินการจัดพิธีฯ ดังกล่าว พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกแด่คณะสงฆ์

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โครงการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน

 

วันอังคารที่ 26 ธันวาคม  2566 เวลา 09.00 เป็นต้นไป ณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายบูรณาการร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายและเครือข่ายสภาวัฒนธรรมอำเภอ 18 อำเภอ จัดกิจกรรมภายใต้โครงการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่การเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

  โดยมี ผศ. ยิ่งศักดิ์ เพชรนิล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ  อาจารย์ ดร.อดิเทพ วงศ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวต้อนรับ และ นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงาน

   โครงการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่การเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2566 สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดเชียงราย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ และกระตุ้นให้บุคคลในท้องถิ่นตลอดจนเด็กและเยาวชน ตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำหลักคุณธรรมมาใช้ในการดำรงชีวิตบนพื้นฐานความพอเพียงได้ รวมถึงการอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกต้องตามแบบฉบับให้คงอยู่สู่เด็ก เยาวชนและประชาชนตลอดไป เพื่อสร้างทัศนคติ ค่านิยม ให้บุคคลในท้องถิ่นเกิดความรักถิ่นฐาน หวงแหนมรดกทางวัฒนธรรม อันดีงามให้อยู่คู่สังคมไทย

 

มีกิจกรรมภายใต้โครงการฯ ประกอบด้วย

  1. การเสวนา “ภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่การเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรม” ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย

      1.1 พระครูปิยวรรณพิพัฒน์ ,ดร. ประธานคลังปัญญาจังหวัดเชียงราย เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการคลังปัญญาผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย

      1.2 ร.ศ. มาลี หมวกกุล ประธานสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ประยุกต์ มร.ชร. เรื่อง อาหารภูมิ อาหารถิ่น กับการยกระดับสู่สากล

      1.3 อาจารย์ ดร.อดิเทพ วงศ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มร.ชร. เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นล้านนา

     1.4 นายอนุสรณ์ บุญเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มร.ชร. เรื่อง ความเชื่อ วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษาอักขระล้านนา

      1.5 นายธันวา เหลี่ยมพันธุ์ รองประธานสภาวัฒนธรรมเชียงราย เรื่อง การส่งเสริม รักษา และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น

     …ผู้ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.รณิดา ปิงเมือง ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

  1. การแสดงมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ด้านการละเล่นพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว “การแสดงชุดจายเจิงหาญ”
  2. การขับซอพื้นบ้าน โดย นางบัวลอย โชติสิริพัชญ์ คนดีศรีเชียงราย สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี 2566
  3. การสาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จากเครือข่ายสภาวัฒนธรรมทั้ง 18 อำเภอ
  4. การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม (CPOT) และภูมิปัญญาพื้นบ้าน

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้มอบหมายให้นักวิชาการวัฒนธรรม ผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอ และเจ้าหน้าที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ร่วมจัดกิจกรรมและอำนวยความสะดวกแก่เครือข่ายทางวัฒนธรรมและผู้มาร่วมงาน และการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

‘ลาลีวรรณ’ นำทีม ก.วัฒนธรรม ลงพื้นที่มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ 2023 เชียงราย

 
เมื่อวันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2566 ณ พื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นางลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ข้าราชการและบุคลากรสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายเพื้อเยี่ยมชมงานศิลปะโครงการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมลงพื้นที่ต้อนรับคณะและนำชมงานศิลปะของศิลปิน จำนวน 4 แห่ง ดังนี้

  1. ศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังเก่า รัชกาลที่ 5 ตำบลเวียง
  2. ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ตำบลห้วยสัก
  3. หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย (CIAM) ตำบลริมกก
  4. ขัวศิลปะเชียงราย ตำบลริมกก

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายอภิชาต กันธิยะเขียว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ข้าราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมลงพื้นที่ติดตามและอำนวยความสะดวกให้แก่คณะผู้บริหาร ดังกล่าว

จังหวัดเชียงราย ร่วมกับ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินงานโครงการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 เพื่อส่งเสริมต่อยอด และแสดงศักยภาพในการสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยของศิลปิน บูรณาการความร่วมมือเชิงรุกของทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นการใช้มิติทางศิลปะสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างรายได้จากต้นทุนและทรัพยากรทางวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรม  

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ใยสับปะรดสำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ส่งเสริมสร้างรายได้ ให้แก่ชนเผ่าชาติพันธุ์

 

เมื่อวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (โครงการทุนเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรมว่าด้วยการพัฒนาและสนับสนุนโครงการนวัตกรรมวิสาหกิจชุมชน)

 

 สำนักงานนวัฒนธรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้สนับสนุนเครื่องสางเส้นใยสับปะรด และการเรียนรู้การใช้งานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย A&R ภายใต้โครงการทุนเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรมว่าด้วยการพัฒนาและสนับสนุนโครงการนวัตกรรมวิสาหกิจชุมชน โดยมีคณะวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษาในการออกแบบและพัฒนาต้นแบบของผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิตจากแนวความคิดนวัตกรรม ได้ส่งมอบเครื่องสางเส้นใยสับปะรดสำหรับผติตภัณฑ์ผ้าทอเส้นใยธรรมชาติชนเผ่าชาติพันธุ์ ณ ศูนย์เรียนรู้ไทยเฮิร์บ ท่องเที่ยววัฒนธรรมเชียงราย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

 

เพื่อส่งเสริมสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ชนเผ่าชาติพันธุ์ ตลอดจนกระบวนการผลิต และช่วยลดปัญหา PM 2.5 อันเกิดจากการเผาทำลายใบสับปะรด

 

ในการนี้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์  จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้มอบหมายให้นายยุทธนา  สุทธสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ผู้ประสานงานอำเภอเชียงของ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

กิจกรรมเปิดงาน “พลัดถิ่น ดินแดนใคร” Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2566 กิจกรรมเปิดงาน “พลัดถิ่น ดินแดนใคร”  ณ ลานกิจกรรมสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ครั้งที่ 3 โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ จังหวัดเชียงราย ภายใต้ธีม “เปิดโลก”

มีนายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึงการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023  ร่วมถึงนายเชาว์วัฒน์ รัตนการุณจิต ปลัดอำเภอเชียงแสน (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) ปฏิบัติราชการแทน นายอำเภอเชียงแสน กล่าวต้อนรับ ท่านกงสุล กฤษณะ จัยตัญญา กงสุลอินเดียประจำจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวพบปะผู้มีเกียรติและศิลปินผู้เข้าร่วมงานคุณนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ศิลปิน กล่าวถึงผลงานและเล่าถึงป๊อเฒ่าติ๊บ สรนันท์

 

โอกาสนี้ คุณกฤษ์ฤทธิ์ ตีระวานิช ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ พร้อมด้วย คุณกฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ คุณอังกฤษ อัจฉริยโสภณ ภัณฑารักษ์ คุณมนุพร เหลืองอร่าม ภัณฑารักษ์ และคณะบุคลากรจากสำนักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงกัน

 

จัดโดยคุณนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ศิลปิน และทีมงานสตูดิโอเค จัดพิธีเปิดงานในผลงานชุดนี้ยังเป็นส่วนขยายของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชุมชนพลัดถิ่นในพื้นที่เขตติดต่อชายแดนภาคเหนือตอนบนของไทย โดยผลงานส่วนแรกได้นำไปจัดแสดงที่ศูนย์ศิลปะแห่งเมืองเกาสง ประเทศไต้หวัน ต่อเนื่องมาถึงงานที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ ได้เลือกพื้นที่ประวัติศาสตร์ของเมืองเก่าเชียงแสน ในการออกเดินทางเพื่อศึกษาความเป็นมาของชุมชนบริเวณริมน้ำโขง โครงการนี้ยังได้ขยายขอบเขตไปยังเมืองเชียงตุงและเมืองชนบทอื่น ๆ ในเขตรัฐฉานของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

 

โดยมีเป้าหมายในการสำรวจวิถีชีวิตและการย้ายถิ่นฐานของชาวไต ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของชนชาติไทย ศิลปินยังได้สำรวจการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ รวมถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่เป็นคิงส์โรมัน ประสบการณ์จากผู้คนที่ศิลปินได้พบปะตลอดการเดินทาง

 

ซึ่งบ่อยครั้งมักเกี่ยวพันกับภูมิหลังส่วนตัวและรากเหง้าของบรรพบุรุษก่อเกิดเป็นกระบวนการทางศิลปะที่เชื่อมระหว่างศิลปะและชุมชนเข้าด้วยกัน ประวัติศาสตร์ของชุมชนและการตั้งถิ่นฐานของผู้คนหลากหลายกลุ่มในพื้นที่นี้ร้อยเรียงขึ้นเป็นชุดผลงานศิลปะผ่านบันทึกการเดินทางของศิลปินจนเกิดเป็นผลงานจิตรกรรมแนวโปสเตอร์หนังอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปินและทีมงานสตูดิโอเค

 

นำโดยช่างวาดภาพโรงหนังยุคสุดท้ายของไทยเชื่อมต่อกับภาพยนตร์สารคดีซึ่งประพันธ์ขึ้นจากจดหมายฉบับหนึ่งที่ศิลปินเขียนถึงชาวเชียงแสน เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ในการเดินทาง การทำเสียงบรรยายภาพยนตร์สารคดีชุดนี้ศิลปินเลือกใช้ภาษาถิ่นทางภาคเหนือด้วยสำเนียงที่แตกต่างกันผสมผสานกับภาษาอื่น ๆ ของกลุ่มคนพลัดถิ่นรวมทั้งชนกลุ่มน้อยเพื่อสะท้อนถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของผู้คนชาวเชียงแสน

 

จัดแสดงอยู่ในพื้นที่จุดชมวิวสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน ซึ่งเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกอันเป็นเขตติดต่อระหว่างไทย ลาว เมียนมา สอดคล้องกับชื่อผลงาน “พลัดถิ่น ดินแดนใคร” ชี้ให้เห็นแนวคิดเรื่องเขตแดนที่เปลี่ยนแปลงไปจากโลกในอดีตอันส่งผลต่อวิถีชีวิตและการโยกย้ายถิ่นฐานผู้คนในแต่ละยุคสมัย วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และมุมมองทางสังคมที่หลากหลาย ซึ่งการจัดงานดังกล่าว มีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

  1. การแสดงดนตรีของ พ่อเฒ่าติ๊บ สรนันท์ และคณะ
  2. รำนกรำโต โดย กลุ่มเยาวชนบ้านสบรวก
  3. รำกลองมองเซิง โดยชุมชนชาวไต บ้านสบรวก
  4. การฉายภาพยนตร์ “พลัดถิ่น ดินแดนใคร” จดหมายจากนาวินถึงชาวเชียงแสน
  5. การแสดงนิทรรศการภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเชียงแสน โดย แสนศิลป์เชียงราย
  6. นิทรรศการและการแสดง โดย กลุ่มชาตพันธุ์ในเชียงแสน
  7. การถ่ายภาพที่ระลึกกับชาวเชียงแสน
  8. การบริการอาหารและเครื่องดื่ม อาหารพื้นเมืองอัตลักษณ์ของท้องถิ่น

ในโอกาสนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นางกัลยา แก้วประสงค์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมงาน ดังกล่าว

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา, สุพจน์ ทนทาน : รายงาน 
พร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ : ภาพ 
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว 
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

แจงส่งออก “ศิลปวัตถุ” คณะกรรมการลงตรวจพิสูจน์โบราณ

 

เมื่อวันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 น. ณ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน จัดประชุมคณะกรรมการตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุฯ เพื่อดำเนินการตรวจสอบโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ขออนุญาตนำออกนอกราชอาณาจักร จำนวน 2 ราย ได้แก่ บริษัท หยกทองทวี จำกัด และสุชาติ แกะสลัก ทั้งนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นคณะกรรมการฯ ได้ร่วมลงพื้นที่ตรวจพิสูจน์ศิลปวัตถุที่ขออนุญาตนำออกนอกราชอาณาจักรในพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายดังกล่าว

 

ซึ่งบริษัท หยก ทองทวี จำกัด ตั้งมาเกือบ 40 ปี เดิมได้นำหินมีค่าชิ้นเล็กๆ มาทำเป็น พวกเครื่องประดับ กำไล สร้อยคอ จากนั้น ได้พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ เป็นหินขนาดใหญ่ หินแกรนิต หินอีเดีย หินอาราบัส หินน้ำโขง นำมาแกะสลักขึ้นรูปองค์ ส่วนมาก จะแกะสลักงานชิ้นใหญ่ๆ บริษัท หยก ทองทวี มีชื่อเสียงที่สุด ในการแกะสลัก คือ หยกแคนาดา หยกพม่า และเป็นแหล่งใหญ่ ที่ส่งออก นอกประเทศมากถึง 90 % และส่งภายในประเทศ 10 %

 

 

 ในการขอใบอนุญาตนำพระพุทธรูป โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักรไทย ผู้รับใบอนุญาตจะต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการส่งหรือนำวัตถุออกนอกราชอาณาจักร และจะต้องส่งออกไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสักการบูชา การศึกษาวิจัย หรือจัดนิทรรศการทางวิชาการเท่านั้น โดยจะไม่อนุญาตให้ส่งหรือนำวัตถุประเภทพระพุทธรูปในสภาพที่เป็นชิ้นส่วน หรือชำรุดออกนอกราชอาณาจักร จะอนุญาตให้ส่งออกเฉพาะพระพุทธรูป โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่มีสภาพสมบูรณ์เท่านั้น

 

 

และ‘พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ’ มาควบคุมตั้งแต่ พ.ศ.2477 ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี พ.ศ.2504 และในปี พ.ศ.2535 เพื่อคุ้มครอง ดูแลและป้องกันการลักลอบนำออกซึ่งโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โดยได้วางบทลงโทษ ไว้ในมาตรา 39 ว่า


“ผู้ใดส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วออกนอกราชอาณาจักร อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 22 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท”
มาตรา 22 ห้ามมิให้ผู้ใดส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือ ศิลปวัตถุไม่ว่าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุนั้นจะเป็นโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ได้ขึ้นทะเบียนหรือไม่ ออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีการขอรับใบอนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ศิลปวัตถุที่มีอายุ ไม่เกินห้าปีและไม่ได้ขึ้นทะเบียน และการนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุผ่านราชอาณาจักร”อย่างไรก็ตาม คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ที่ผ่านๆมายังคงมีข่าวโบราณวัตถุถูกลักลอบขโมยออกนอกประเทศอยู่เสมอ โดยเฉพาะพระพุทธรูปจากวัดต่างๆ และนอก จากจะเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่จัดเป็นโบราณวัตถุแล้ว พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ก็นิยมลักลอบนำออกนอกประเทศเช่นกัน และที่พบเป็นข่าวบ่อยครั้งก็คือเศียรพระ นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าในปัจจุบันมีการผลิตและการค้าสิ่งเทียมโบราณวัตถุและสิ่งเทียมศิลปวัตถุเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็มีระบุข้อห้ามและบทลงโทษไว้ใน กฎหมายเช่นเดียวกันแต่อาจจะเป็นด้วยบทลงโทษที่ไม่รุนแรง จึงทำให้ปรากฏข่าวคราวการลักลอบนำโบราณวัตถุและศิลปวัตถุออกนอกประเทศอยู่เสมอ

 

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TRAVEL VIDEO

(มีคลิป) จัดเต็มแลนด์มาร์ค สืบสานศิลปะล้านนา “ต้นคริสต์มาสหมอกพันวา” เซ็นทรัล เชียงราย

 

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เซ็นทรัลพัฒนา สืบสานศิลปะทรงคุณค่าแห่งล้านนา ในงาน“เทศกาลสีสันกาสะลอง 2023” รับเทศกาลแห่งความสุขด้วย “ต้นคริสต์มาสหมอกพันวา” จัดเต็มแลนด์มาร์ค สุดอลังการ ตั้งแต่วันนี้ – 31 ม.ค. 67 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงราย

 

ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงราย ร่วมกับ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ (โครงการพัฒนาดอยตุง), จังหวัดเชียงราย, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงราย, การท่องเที่ยวและกีฬาเชียงราย, องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย, เทศบาลนครเชียงราย,กระทรวงวัฒนธรรม, วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย, ขัวศิลปะ และ Thailand Biennale จัดงาน “เทศกาลสีสันกาสะลอง 2023” สร้างสีสันต้อนรับลมหนาว ด้วยการรังสรรค์ ผสานเรื่องราวทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ชวนนักท่องเที่ยวรื่นเริงส่งท้ายปีไปกับเมืองแห่งอัตลักษณ์ทางการสร้างสรรค์ทางศิลปะอันทรงคุณค่าแห่งล้านนา สร้างลวดลาย สีสัน และ อัตลักษณ์แห่งเชียงรายอย่างงดงาม ก่อกำเนิดเป็นภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 8 พ.ย. 66 – 31 ม.ค. 67 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงราย 

 

 

โดยพิธีเปิดงานสีสันกาสะลอง 2023 จัดขึ้นพร้อมงานเปิดไฟต้นคริสต์มาสสุดอลังการ เนรมิตหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงรายให้เป็นแลนด์มาร์คจุดถ่ายรูปที่สวยที่สุดในเชียงราย พบกับการ แสดงสุด ยิ่งใหญ่จากวงเดอะระมิงค์ The Raming Lanna Contemporary Music ที่ประพันธ์บทเพลงใหม่เพื่องานเทศกาลสีสันกาสะลองโดยเฉพาะ โดยเพลง Highlight ”มาลา มาเก่อปอด“ คือเพลงที่มีความหมายว่า เฉลิมฉลอง เพลงนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากนักดนตรีชนเผ่าแห่งยอดดอยเชียงราย เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านดนตรี และร่วมบรรเลงเพลงในชนเผ่า ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และเสน่ห์ของดนตรีชนเผ่า ซึ่งเครื่องดนตรีชนเผ่า ที่ใช้ประกอบในการบรรเลงเพลง ซือบือ เครื่องดนตรีอาข่า, เตหน่า เครื่องดนตรีปกาเกอะญอ, ขับลื้อ เครื่องดนตรี ลื้อ ,เค่ง เครื่องดนตรี ม้ง , ซึง เครื่องดนตรี ลัวะ ผสมผสานเครื่องดนตรีชนเผ่า ผสมผสานกับดนตรีตะวันตก เรียบเรียงเป็นชุดเพลงที่แต่งขึ้นมาเพื่อใช้ในการเฉลิมฉลองของชนเผ่าร่วมกับงานครั้งนี้ 

 

ผ่านเครื่องดนตรีประจำเผ่าและวงออร์เคสตรา เพื่อเล่าเรื่องราวของคนในชนเผ่าให้ทุกคนได้รับฟังโชว์ที่ผนวกการแสดงจากชนเผาชาติพันธุ์ ผสมผสานการแสดงสากลจนกลายมาเป็น Contemporary Show ที่แปลกใหม่ สวยงาม และไม่เคยแสดงที่ไหนมาก่อน และชมพลุสุดตระการตา งาน “เทศกาลสีสันกาสะลอง” ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงราย จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างสีสันและต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะมารับลมหนาวภาคเหนือในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะ มาถึง พร้อมเผยแพร่ เรื่องราวทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ทรงคุณค่าแห่งล้านนาให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น 

 

โดยได้นำเทคนิคต่างๆ เข้ามาผสมผสาน โดยแต่ละปีจะมีไฮไลท์สุดพิเศษแตกต่างกันออกไป โดยล่าสุด UNESCO ได้ยกย่องให้จังหวัดเชียงราย เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ(City of Design) ทางศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงราย จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการมอบประสบการณ์แปลกใหม่ ให้กับชาวเชียงรายและนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมงาน สำหรับปีนี้ สร้างสรรค์ขึ้นในคอนเซ็ปต์ The Spirit of Chiangrai : The Pride of Northern Thailand ผสมผสานเรื่องราวจากวัฒนธรรมเครื่องประดับเงิน จาก 6 ชนเผ่า และความอุดมสมบูรณ์ของป่าสนบนดอยตุง เหนือสุดแดนสยามที่แรกที่เดียวในประเทศไทย สื่อถึงความงดงามและวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ออกแบบและสร้างสรรค์โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ (โครงการพัฒนาดอยตุง) และได้รังสรรค์ผลงานให้เป็นส่วนหนึ่งสำหรับจุดแลนด์มาร์คของงาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ 

 

งานมหกรรมศิลปะนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดของเมืองไทย ที่กำลังจะเกิดขึ้นในจังหวัดเชียงราย ไฮไลท์หลักของงานคือ “ต้นคริสต์มาสหมอกพันวา” สร้างสรรค์โดย ดอยตุง ที่จำลองแบบต้นสนด้วย กลีบจำนวน 19 ชั้นซ้อนกัน แต่ละชั้นตกแต่งด้วยเครื่องเงินจากแรงบันดาลใจชนเผ่าประดับไฟ หยดน้ำทอประกายระยิบระยับสวยงาม ตระการตา โดยตั้งชื่อตามความยาวของงานผ้าทอมือขนาด 1,000 วา หรือ 2,000 เมตร ที่เกิดจากการร่วมมือกันของชาวบ้าน กลุ่มชนเผ่าบนพื้นที่ดอยตุงที่ใช้ เวลาว่างมาร่วมแรงร่วมใจถักทอผ้า โดยใช้ระยะเวลากว่า 3 เดือน ส่วนคำว่า “หมอก” มาจากการที่ จังหวัดเชียงรายจะเกิดปรากฏการณ์ชมหมอกที่สวยงาม 

 

ในช่วงต้นเทศกาลคริสต์มาสคือตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน ถึง มกราคมเป็นประจำทุกปี “ต้นคริสต์มาสหมอกพันวา” ถักทอด้วยผ้าธรรมชาติ และวัสดุในท้องถิ่นสื่อถึงการใช้ชีวิตทีเรียบง่ายและผูกพันกับธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ เถาสน ไหมย้อมสี ผ้าฝ้าย และหญ้าแฝก ถ่ายทอดแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ แห่งชาติพันธุ์ของเชียงราย สู่ลายปักผ้าและของตกแต่งบนเครื่องแต่งกายสีสันสดใส ของ 6 ชาติ พันธุ์เชียงราย ได้แก่ อาข่า ลาหู่ ลัวะ ไทใหญ่ ไทลื้อ และจีนยูนนาน สอดประสานกันแต่ละชั้น เพื่อแสดงถึงความหลากหลายที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมเกลียว

 

นื่องด้วย จังหวัดเชียงราย เป็นดินแดนวัฒนธรรมเครื่องประดับเงินแห่งชนเผ่า แต่ละชั้นกลีบประดับ ต้นคริสต์มาส จึงได้นำเอาลวดลายเครื่องประดับเงิน ที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละชนเผ่าชาติพันธุ์มา ตกแต่งร่วมกับลายผ้าทอ ร้อยเรียงต้นคริสต์มาสให้มีอัตลักษณ์ แต่ละลวดลายล้วนเกี่ยวข้องกับการ ดำเนินชีวิต โดยนัยที่เป็นพลังเชิงบวก เช่น ลายปลา สื่อถึงความมั่งมีและอุดมสมบูรณ์, ลายผีเสื้อ สื่อถึงความงดงามและอุดมสมบูรณ์, ดอกเบญจมาศ สื่อถึงความมีชีวิตชีวาและความเจริญรุ่งเรือง, การทำภู่ เงินห้อยระย้า สื่อถึงความมีชื่อเสียงและความดีงามยังมีการทำเครื่องเงินในลักษณะของ กระดุม ลูกกระพรวน และลูกปัด เพื่อใช้ตกแต่งลงบนผ้าพื้นเมือง สำหรับชนเผ่าเย้า (เมี่ยน) มีการ ผลิตเครื่องประดับเงิน ทำเป็นสร้อยคอ กระดุมเสื้อ และเครื่องประดับเงิน ที่มีลักษณะเป็นแผงมีพู่ ห้อยเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมการแต่งกายของชนเผ่า สนุกกับกิจกรรมพิเศษทุกวันหยุดยาว ไม่ว่าจะเป็น แขวนโคมล้านนา, เทศกาลดนตรีแจ๊ส, ฟรีเวิร์คช็อปงานคราฟท์, มินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง ชมการแสดงตลอดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับ ปีใหม่ การแสดงเปิดหมวกโชว์จากน้องๆ ในเชียงราย สิทธิพิเศษ 

 

สำหรับสมาชิก The1 รับ ฟรี! ของที่ระลึกสุดพิเศษ เมื่อกิน ช้อป ภายในโซนพลาซา ครบ 10,000 บาทขึ้นไป พร้อมเลือกซื้อ สินค้าในกาดสีสันกาสะลองไนท์มาร์เก็ต ลิ้มลองเมนูหาทานยากจากพี่น้อง 6 ชนเผ่าชาติพันธุ์เมือง เชียงราย และอิ่ม อร่อยกับร้านค้าเด็ดเมนูดังในเชียงราย พร้อมช้อปสินค้า ART & CRAFT เป็นของ ที่ระลึกมากมาย 

 

สำหรับพิธีเปิดได้รับเกียรติจากคุณสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และ ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการตลาด Chief Marketing Officer บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดงาน โดยมี คุณประเสริฐ ตรงเจริญเกียรติ ประธานสายปฎิบัติการธุรกิจเพื่อสังคม มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์, คุณอรชร จันทร์วิวัฒนา ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มงานปฎิบัติการสาขาเขตภาคเหนือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน), ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ, คุณสายัณห์ นักบุญ ผู้จัดการ ทั่วไป ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงราย, คุณเสริฐ ไชยยานันตา ผู้อำนวยการท่องเที่ยวและ กีฬาจังหวัดเชียงราย, คุณวิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สนง.เชียงราย, อาจารย์นคร พงศ์น้อย ผู้อำนวยการอุทยาน ศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมงาน บริเวณ ด้านหน้า ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงราย

 

ตื่นตากับ “ต้นคริสต์มาสหมอกพันวา” แห่งเดียวในไทย ในคอนเซ็ปต์ The Spirit of Chiangrai : The Pride of Northern Thailand ผสมผสานเรื่องราวจากวัฒนธรรมเครื่องประดับเงิน จาก 6 ชนเผ่า และความอุดมสมบูรณ์ของป่าสนบนดอยตุง แห่งเดียวในไทย ผลงานร่วมระหว่างเซ็นทรัลเชียงรายและมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ (โครงการพัฒนาดอยตุง)

 

กาดสีสันกาสะลองไนท์มาร์เก็ต ลิ้มลองเมนูหาทานยากจากพี่น้อง 6 ชนเผ่าชาติพันธุ์เมืองเชียงราย และอิ่มอร่อยกับร้านค้าเด็ดเมนูดังในเชียงราย พร้อมช้อปสินค้า ART & CRAFT เป็นของที่ระลึก

 

ม่วนใจ๋ไปกับบทเพลงเพราะๆ ชมการแสดงเชิงวัฒนธรรม Shimmer and Shine จากน้องๆ เยาวชนชาวเชียงราย ถ่ายรูปจุใจกับจุดเช็คอินเก๋ๆ กว่า 10 แลนด์มาร์กให้ได้โพสต์สดใสกันทั้งกลางวัน และงดงามกันในยามค่ำคืน

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : เซ็นทรัล เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

เปิดตัวตลาดบกสืบสานวัฒนธรรมไทยถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน

 

 

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายอภิชาต กันธิยะเขียว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และนายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดตัวตลาดบกสืบสานวัฒนธรรมไทย และเสวนาวิชาการสืบทอด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

 

 

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดตัวตลาดบก ถนนคนเดินกาดช่วงเมืองน่าน หนึ่งในกิจกรรม “10 ตลาดบก 6 ตลาดน้ำ สืบสานวัฒนธรรมไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมี นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวรายงาน และนายกฤชเพชร เพชระบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวต้อนรับ นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน นายสุเมษ สายสูง ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน นายสรศักดิ์ พรหมจักร ประธานชุมชนบ้านภูมินทร์-ท่าลี่นายสุรัตน์ ผู้แทนชุมชนถนนคนเดินกาดช่วงเมืองน่าน วัฒนธรรมจังหวัด 11 หัวหน้าส่วนราชการ และเครือข่ายทางวัฒนธรรม ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้แทนชุมชน ประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ ช่วงเมืองน่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน

 

 

     กระทรวงวัฒนธรรม โดย จังหวัดน่าน ร่วมกับ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานน่าน สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดน่าน สำนักงานพื้นที่พิเศษ 6 เทศบาลเมืองน่าน ชุมชนบ้านภูมินทร์ – ท่าลี่ จัดโครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน 10 ตลาดบก โดยคัดเลือกตลาดบก และตลาดน้ำ ที่มีศักยภาพและมีความพร้อมในการพัฒนาเป็นตลาดสืบสานวัฒนธรรมไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนจากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม โดยถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 10 ตลาดบกสืบสานวัฒนธรรมไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในการจัดงานครั้งนี้มีการจำหน่ายสินค้า และการสาธิตภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากชุมชนพื้นที่ ช่วงเมืองน่าน และชุมชนโดยรอบถนนคนเดินกาดช่วงเมืองน่าน เพื่อสนับสนุนกระจายรายได้สู่ชุมชน สร้างรายได้จากการพัฒนาต่อยอดทุนวัฒนธรรมของชุมชน และเพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบทอด มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน ในครั้งนี้จึงได้กำหนดการจัดกิจกรรมเสวนาสืบทอดมรดกภูมิปัญญาจุมสล่าเรือจากจังหวัดนราธิวาส จังหวัดชุมพร จังหวัดหนองคาย จังหวัดสกลนคร วัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพิจิตร จังหวัดน่าน ประเทศสปป.ลาว และประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อฟื้นฟูงานช่างฝีมือพื้นบ้านของชุมชน ผ่านการแกะสลักหัวเรือ การต่อเรือ การขุดเรือ เพื่อการยกระดับงานเทศกาลประเพณีของจังหวัดน่านสู่สากล และกิจกรรมการสาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม WORK SHOP ร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อที่จะยกระดับให้พื้นที่ภายในถนนคนเดินกาดช่วงเมืองน่านเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ สร้างรายได้ให้ชุมชนจังหวัดเป็นพื้นที่ เชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคต่อไป

 

     ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

  1. การเสวนาวิชาการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาจุมสล่าเรือ เพื่อยกระดับงานประเพณีแข่งเรือสู่สากล
  2. การวงดนตรีวงล่องน่าน (กลุ่มศิลปินพื้นบ้านร่วมสมัย) บรรเลงเพลงต้อนรับ
  3. ชมนิทรรศการเรือยาวไทย 7 จังหวัด และเรือยาว 2 ประเทศ (สปป.ลาว , ราชอาณาจักรกัมพูชา)
  4. ชมการสาธิตแกงแคไก่เมือง โดยร้านอาหารเฮือนภูคาจังหวัดน่าน
  5. การแสดง ชุด “สาวน่านจ่ายกาดข่วงเมืองน่าน”
  6. พิธีมอบของที่ระลึก

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI

อนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีของชุมชน จุลกฐิน ถิ่นไทลื้อโบราณ

 

เมื่อวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายยุทธนา สุทธสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ เข้าร่วมกิจกรรม (ทอสายบุญจุลกฐินถิ่นไทลื้อโบราณ) จังหวัดเชียงราย โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ร่วมกับ ชุมชนหาดบ้าย-หาดทรายทอง 

 

จัดกิจกรรมจุลกฐิน ถิ่นไทลื้อโบราณโดยมีนางอธิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดกิจกรรม พร้อมด้วยนายวิรุฬห์  สิทธิวงศ์  นายอำเภอเชียงของ นายเกษม ปันทะยม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลริมโขง นายกิตติพงศ์  วงศ์ชัย นายกเทศมนตรีตำบลศรีดอนชัย นายธันวา  เหลี่ยมพันธุ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเชียงของ หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เครือข่ายชาติพันธุ์ในพื้นที่ ประชาชน  ณ วัดหาดบ้าย ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

 

เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีของชุมชนและเผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณี อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทลื้อ ให้เกิดการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมประเพณี เนื่องด้วยจังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญ เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งอารยธรรมล้านนา ตลอดจนมีความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมของพี่น้องชาติพันธุ์ ที่เชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เป็นจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทย เป็นพรมแดนกันกลางระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นเหตุผลให้ “เชียงราย”

 

 

มีความพร้อมด้านการท่องเที่ยว เสน่ห์เชียงราย นั่นคือ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม Soft Power เชียงราย อบจ.เชียงรายจึงเล็งเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเสน่ห์ ที่ทำให้จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จึงได้กำหนดนโยบาย “เชียงรายเที่ยวได้ ทั้งปีมีดีทุกเดือน” และ “เสน่ห์เชียงราย สถานที่ ชาติพันธ์ วัฒนธรรมประเพณี” ขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเป็นการระเบิดจากภายในภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนเองที่จะเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา รักษาคุณค่าทางวัฒนธรรม โดยชุมชนของตนเองไว้

 

และเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อบจ.เชียงราย ได้ดำเนินงานบูรณาการร่วมกับ อบต.ริมโขง พี่น้องชุมชนบ้านหาดบ้าย หาดทรายทอง ตามนโยบาย “3 พี่น้องท้องถิ่นรวมใจ ชุมชน และการมีส่วนร่วม” ที่สนับสนุนการบูรณาการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยชุมชนให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ต่อไป

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News