Categories
SOCIETY & POLITICS

ไทยวิกฤตขาดแคน ‘ล่ามภาษามือ’ ควรมี 40,000 แต่ปัจจุบันมี 178 คน

 
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567  ‘วราวุธ’ ชี้ ไทยเจอวิกฤตขาดแคนล่ามภาษามือ จากสัดส่วนที่เหมาะสมควรมีล่ามภาษามือ 40,000 คน แต่ปัจจุบนพบว่ามีล่ามภาษามือเพียง 178 คน เตรียมจัดหลัดสูตรล่ามภาษามือเร่งด่วน

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แถลงข่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง พม. ครั้งที่ 4/2567 ประจำเดือนเมษายน

โดยระบุว่าปัจจุบัน “ล่ามภาษามือ” ของไทยขาดแคลนอย่างมาก ไม่เพียงพอกับจำนวนคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อสารความหมาย จากเดิมที่มีการจดแจ้งไว้กับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) เมื่อปี 2552 – 2560 จำนวน 659 คน แต่ปัจจุบันพบว่า ล่ามภาษามือที่จดแจ้งมีจำนวนเพียง 178 คน

แบ่งเป็นล่ามภาษามือหูดี 170 คน และล่ามภาษามือหูหนวก 8 คน และยังพบว่ามีล่ามภาษามือ อยู่ใน 41 จังหวัดเท่านั้น จังหวัดที่ไม่มีล่ามภาษามือ 36 จังหวัด

นอกจากนั้น พบว่าปัจจุบันล่ามภาษามือมีการกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล มากที่สุด 3 จังหวัดแรก คือ กรุงเทพ 69 คน นนทบุรี 28 คน นครปฐม 16 คน

นายวราวุธ กล่าวว่า ปัจจุบันการแก้ไขปัญหาดำเนินการโดย การจัดบริการล่ามภาษามือข้ามจังหวัด และการให้บริการออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน หรือแท็ปเล็ต ได้แก่ 1.TTRS Video บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบสนทนาวิดีโอ และ 2.TTRS Live Chat บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบสนทนาข้อความ

รวมถึงบริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบสนทนาวิดีโอผ่านเครื่องบริการถ่ายทอดการสื่อสารสาธารณะ (ตู้ TTRS) โดยมีเจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสารเป็นคนกลางในการสื่อสารภาษามือระหว่างผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินและผู้รับปลายทาง (คนหูดี)

ทั้งนี้เมื่อปลายปีที่แล้ว คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาล่ามภาษามือ ได้ออกประกาศ กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการประเมินความรู้ ทักษะก่อนและหลังการจดแจ้งเป็นล่ามภาษามือชุมชน เพื่อขอรับการจดแจ้งเป็นล่ามภาษามือชุมชน ได้แก่

1. กรณีผู้รับการจดแจ้งรายใหม่ที่ยังยังไม่เคยเข้ารับประเมินความรู้และทักษะการเป็นล่ามภาษามือชุมชน ต้องสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมาก่อน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน สอบภาคทฤษฎี 30 ภาคปฏิบัติ 70 ผู้สอบต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

2. กรณีการต่ออายุการจดแจ้งของผู้ที่เคยเข้ารับประเมินความรู้และทักษะ โดยผ่านการสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติมาก่อน และให้มีรายงานผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา หรือเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมตามหลักสูตร หลักเกณฑ์ และวิธีที่คณะอนุกรรมการกำหนด

สำหรับคนพิการทางการได้ยิน หรือ ผู้ดูแลคนพิการทางการได้ยิน มีสิทธิยื่นคำขอรับบริการล่ามภาษามือ เพื่อการติดต่องานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน, การขอทำใบขับขี่หรือบัตรแสดงตนอื่นๆตามกฎหมาย, การจัดทำนิติกรรม สัญญา และการขออนุมัติหรือขออนุญาตเรื่องต่างๆ, การขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย การให้ปากคำต่อเจ้าพนักงานตามกฎหมาย การดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การยื่นคำฟ้องหรือคำให้การในชั้นศาลในฐานะเป็นโจทก์ จำเลย หรือพยานบุคคล, การฝึกงาน ฝึกสอน สอบวัดผล เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่การจัดบริการในสถาบันการศึกษา

หากถามว่าต้องมีจำนวนล่ามภาษามือกี่คนจึงจะเพียงพอต่อการให้บริการ นั้น ต้องมีการพิจารณาเสนอขอกรอบอัตราล่ามภาษามือประจำศูนย์บริการคนพิการจังหวัดทุกจังหวัด ซึ่งเบื้องต้นอาจกำหนดและผลักดันให้มีอย่างน้อยจังหวัดละ 1 คน โดยอย่างน้อยหน่วยงานที่ให้บริการประชาชนควรจะมีล่ามภาษามือไว้สำหรับให้บริการคนพิการ

จากสถิติข้อมูลคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อสารความหมาย ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ทั้งสิ้น 423,973 คน ซึ่งฐานข้อมูลทะเบียนกลาง ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 พบว่า กทม. มี 22,884 คน ภาคกลางและตะวันออก มี 84,350 คน ภาคอีสาน มี 162,456 คน ภาคใต้ มี 55,020 คน อย่างไรก็ตามทางสมาคมล่ามภาษามือแห่งประเทศไทย เคยวิเคราะห์ข้อมูลเฉลี่ยความสามารถในการให้บริการด้านภาษามือชุมชน ไว้ว่าคนหูหนวก 10 คนต่อล่ามภาษามือ 1 คน ดังนั้นควรมีล่ามภาษามือในสัดส่วนที่เหมาะสม ประมาณ 42,000 คน

ดังนั้นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะผลักดัน เพื่อแก้ไขวิกฤตขาดแคลนล่ามภาษามือ แบ่งเป็นระยะเร่งด่วน ประสานงานกับสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, สมาคมล่ามภาษามือแห่งประเทศไทย, สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ร่วมกันออกแบบหลักสูตรและวิธีการอบรมล่ามภาษามือ และจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินมาตรฐานล่ามภาษามือ

ระยะกลาง สนับสนุนสถาบันการศึกษา หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง ให้รับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรด้านล่างภาษามือ (หลักสูตร 1 ปี) และหลักสูตรล่ามภาษามือระดับปริญญาตรี ให้กับผู้สนใจทั้งคนพิการและไม่พิการ โดยอาจแบ่งระยะเวลาการเรียนและการปฏิบัติงานจริงเป็นช่วงเวลา และประสานกับสำนักงาน ก.พ. เพื่อกำหนดตำแหน่งล่ามภาษามือเป็นตำแหน่งขาดแคลนรวมทั้งการมีค่าตอบแทนพิเศษ ให้บรรจุประจำอยู่ในศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดทั่วประเทศ

ระยะยาว ให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรภาครัฐ โดยเฉพาะบุคลากรของกระทรวง พม. ได้เรียนหลักสูตรล่ามภาษามือเพื่อรองรับการทำหน้าที่ในหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

พม. รับมอบข้าวสาร 7,200 กก. จากบิ๊กซี ส่งต่อให้กลุ่มเปราะบางที่ประสบปัญหาทางสังคม

 
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 10.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานรับมอบข้าวสารถุง จำนวน 7,200 กิโลกรัม จากบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) โดย คุณอัศวิน – คุณฐาปณี เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อมอบให้ศูนย์ สถาน บ้าน นิคม ในสังกัดกระทรวง พม. ในการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม ณ บริเวณโถงชั้น 1 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง พม. สะพานขาว กรุงเทพฯ

นายวราวุธ กล่าวว่า ตนในนามของกระทรวง พม. ขอขอบคุณคณะผู้บริหาร บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทผู้ผลิตข้าวสารถุง ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนกลุ่มเปราะบาง โดยการมอบข้าวสารถุง จำนวน 7,200 กิโลกรัม ให้แก่กระทรวง พม. เพื่อส่งต่อไปยังกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กเยาวชน คนพิการ ผู้สูงอายุ คนไร้ที่พึ่ง กลุ่มเปราะบาง และผู้ประสบปัญหาทางสังคม ทั้งนี้ ขอให้ทุกท่านมั่นใจว่าข้าวสารที่ได้รับบริจาคในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง และกระทรวง พม. จะเร่งจัดส่งข้าวสารดังกล่าวให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต่อไป

คุณฐาปณี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในนามของบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) มีความยินดีที่ได้มาร่วมบริจาคข้าวสารถุง จำนวน 7,200 กิโลกรัม ในวันนี้ เพื่อร่วมถวายพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 สำหรับการบริจาคข้าวสารเกิดจากความร่วมมือที่สำคัญ ภายใต้การจัดงาน “ข้าวถุงร่วมใจ ประหยัดทั่วไทย ที่บิ๊กซี ครั้งที่ 16” โดยบิ๊กซีได้ร่วมกับคู่ค้าผู้ผลิตข้าวถุงทั้ง 16 ราย 20 แบรนด์ ร่วมบริจาคข้าวสาร จำนวน 16 ตัน ให้แก่มูลนิธิ บีเจซี บิ๊กซี เพื่อนำไปส่งมอบให้กับชุมชน สถานสงเคราะห์ และสถานศึกษา

ทั้งนี้ บิ๊กซี ยินดีและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนอย่างเต็มความสามารถ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการให้ความช่วยเหลือสังคมอย่างรอบด้าน ทั้งด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านการสร้างอาชีพ ส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส พัฒนาคุณภาพชีวิต และช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยเมื่อยามวิกฤต และหวังว่าการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีจะช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

พม. จัดงานย้อนยุค มหกรรมวันผู้สูงอายุสากล ปี 2566

 

เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 66 เวลา 16.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมวันผู้สูงอายุสากล ประจำปี พ.ศ. 2566 (International Day of Older Persons 2023) ภายใต้แนวคิด “ชาญชาลา : คนต่างวัย หัวใจเดียวกัน Across Generations” โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน Ms. Gita Sabharwal UN Resident Coordinator คณะผู้บริหารกระทรวง พม. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงาน ณ สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง)

         นายวราวุธ กล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้สูงอายุกว่า 12 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 19.77 ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าในอนาคตประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด ดังนั้น การสร้างความเข้าใจระหว่างคนต่างวัย ให้รับรู้ถึงความแตกต่างและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขนั้น นับเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเราจึงจำเป็นต้องร่วมกันสร้าง “พื้นที่แห่งความสุข”และร่วมกันส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็น “พฤฒิพลัง” หรือ Active Aging เพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม โดยไม่มีอายุเป็นข้อจำกัด ทั้งนี้ กระทรวง พม. โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) จึงได้จัดงานมหกรรมวันผู้สูงอายุสากล ประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้แนวคิด “ชาญชาลา : คนต่างวัย หัวใจเดียวกัน Across Generations” ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดวันผู้สูงอายุสากล ปี พ.ศ. 2566 “Fulfilling the Promises of the Universal Declaration of Human Rights for Older Persons: Across Generations” คือ “บรรลุคำมั่นสัญญาแห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสำหรับผู้สูงอายุและคนต่างรุ่นเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้รับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน และขจัดปัญหาความแตกต่างระหว่างคนต่างวัย รวมถึงการไม่เลือกปฏิบัติและการส่งเสริมความเสมอภาคของทุกคน”

         นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า งานมหกรรมฯ ครั้งนี้ มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจในบรรยากาศวันวานย้อนยุค ประกอบด้วย 1) การประกาศเจตนารมณ์วันผู้สูงอายุสากล 2) การแสดงนิทรรศการวิชาการ 3) ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ เช่น น้ำตาลสด ไอศกรีมข้าวลูกชิ้นเห็ดภูฐาน ข้าวเหนียวหมู และขนมไทยโบราณ เป็นต้น 4) การถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุกับคนต่างวัย เช่น โมบายรังผึ้งและสานปลาตะเพียน 5) การแสดงดนตรี โดยวงดุริยางค์ทหารบก 6) รำวงย้อนยุค และ 7) การแสดงชุดพิเศษ Across Generations เพลง “ฟังข่าวทิดแก้ว” เพื่อเป็นการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้สังคมได้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยการเคารพและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของคนต่างวัยที่มีหัวใจเดียวกัน การสร้างสัมพันธภาพที่ดีงาม และการมีส่วนร่วมของคนต่างวัยในการดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงได้ยึดโยงให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ

        นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้ เป็นวันผู้สูงอายุสากลที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดขึ้น และประเทศไทยได้สานต่อ ซึ่งต้องเรียนว่า ต่อจากนี้ไป ผู้สูงอายุทุกท่านจะเป็นพลังสำคัญ ท่านไม่เป็นภาระหรือผู้ไม่มีศักยภาพ เพราะทุกท่านผ่านประสบการณ์มาอย่างมากมาย ล้วนมีศักยภาพที่พร้อมจะเป็นทรัพยากรที่สำคัญของสังคมไทย ดังนั้น เนื่องในวันผู้สูงอายุสากล กระทรวง พม. จึงร่วมเฉลิมฉลอง และจากนี้ไป จะเสริมสร้างศักยภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทยให้เป็นกลุ่มคนที่เป็นกำลังหลักคอยสนับสนุนคนรุ่นต่างๆ ในสังคมไทย ซึ่งคนทุกๆ กลุ่ม จะต้องเดินไปด้วยกัน ทั้งนี้ ตนขอเป็นกำลังใจให้ผู้สูงอายุทุกท่านได้ใช้ชีวิตสูงวัยได้อย่างมีความสุข และกระทรวง พม. จะขับเคลื่อนนโยบายด้านผู้สูงอายุ ด้วยศูนย์บริบาลผู้สูงอายุในชุมชนที่ตั้งเป้าจะให้ลูกหลานกลับมาดูแลคนในชุมชนของตนเอง ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ผู้สูงอายุหลายๆ ท่าน มีความสบายใจ และจะเป็นกำลังสำคัญในการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อีกทั้งทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขทั้งสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง และเติบโตไปด้วยกันกับทุกช่วงวัย 

        “วันนี้เป็นบรรยากาศที่อบอุ่นมาก ได้เห็นความสนุกสนาน พลังแห่งความสร้างสรรค์ ถึงแม้ว่าจะสูงวัย แต่ไม่ได้อ่อนแรง ซึ่งรู้สึกภาคภูมิใจที่เห็นทุกท่านแข็งแรง และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ รวมทั้งเป็นเข็มทิศให้กับคนรุ่นต่อๆ ไป” นายวราวุธ กล่าวในตอนท้าย 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 66 เวลา 16.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมวันผู้สูงอายุสากล ประจำปี พ.ศ. 2566 (International Day of Older Persons 2023) ภายใต้แนวคิด “ชาญชาลา : คนต่างวัย หัวใจเดียวกัน Across Generations” โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน Ms. Gita Sabharwal UN Resident Coordinator คณะผู้บริหารกระทรวง พม. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงาน ณ สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง)

         นายวราวุธ กล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้สูงอายุกว่า 12 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 19.77 ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าในอนาคตประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด ดังนั้น การสร้างความเข้าใจระหว่างคนต่างวัย ให้รับรู้ถึงความแตกต่างและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขนั้น นับเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเราจึงจำเป็นต้องร่วมกันสร้าง “พื้นที่แห่งความสุข”และร่วมกันส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็น “พฤฒิพลัง” หรือ Active Aging เพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม โดยไม่มีอายุเป็นข้อจำกัด ทั้งนี้ กระทรวง พม. โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) จึงได้จัดงานมหกรรมวันผู้สูงอายุสากล ประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้แนวคิด “ชาญชาลา : คนต่างวัย หัวใจเดียวกัน Across Generations” ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดวันผู้สูงอายุสากล ปี พ.ศ. 2566 “Fulfilling the Promises of the Universal Declaration of Human Rights for Older Persons: Across Generations” คือ “บรรลุคำมั่นสัญญาแห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสำหรับผู้สูงอายุและคนต่างรุ่นเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้รับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน และขจัดปัญหาความแตกต่างระหว่างคนต่างวัย รวมถึงการไม่เลือกปฏิบัติและการส่งเสริมความเสมอภาคของทุกคน”

         นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า งานมหกรรมฯ ครั้งนี้ มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจในบรรยากาศวันวานย้อนยุค ประกอบด้วย 1) การประกาศเจตนารมณ์วันผู้สูงอายุสากล 2) การแสดงนิทรรศการวิชาการ 3) ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ เช่น น้ำตาลสด ไอศกรีมข้าวลูกชิ้นเห็ดภูฐาน ข้าวเหนียวหมู และขนมไทยโบราณ เป็นต้น 4) การถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุกับคนต่างวัย เช่น โมบายรังผึ้งและสานปลาตะเพียน 5) การแสดงดนตรี โดยวงดุริยางค์ทหารบก 6) รำวงย้อนยุค และ 7) การแสดงชุดพิเศษ Across Generations เพลง “ฟังข่าวทิดแก้ว” เพื่อเป็นการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้สังคมได้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยการเคารพและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของคนต่างวัยที่มีหัวใจเดียวกัน การสร้างสัมพันธภาพที่ดีงาม และการมีส่วนร่วมของคนต่างวัยในการดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงได้ยึดโยงให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ

        นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้ เป็นวันผู้สูงอายุสากลที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดขึ้น และประเทศไทยได้สานต่อ ซึ่งต้องเรียนว่า ต่อจากนี้ไป ผู้สูงอายุทุกท่านจะเป็นพลังสำคัญ ท่านไม่เป็นภาระหรือผู้ไม่มีศักยภาพ เพราะทุกท่านผ่านประสบการณ์มาอย่างมากมาย ล้วนมีศักยภาพที่พร้อมจะเป็นทรัพยากรที่สำคัญของสังคมไทย ดังนั้น เนื่องในวันผู้สูงอายุสากล กระทรวง พม. จึงร่วมเฉลิมฉลอง และจากนี้ไป จะเสริมสร้างศักยภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทยให้เป็นกลุ่มคนที่เป็นกำลังหลักคอยสนับสนุนคนรุ่นต่างๆ ในสังคมไทย ซึ่งคนทุกๆ กลุ่ม จะต้องเดินไปด้วยกัน ทั้งนี้ ตนขอเป็นกำลังใจให้ผู้สูงอายุทุกท่านได้ใช้ชีวิตสูงวัยได้อย่างมีความสุข และกระทรวง พม. จะขับเคลื่อนนโยบายด้านผู้สูงอายุ ด้วยศูนย์บริบาลผู้สูงอายุในชุมชนที่ตั้งเป้าจะให้ลูกหลานกลับมาดูแลคนในชุมชนของตนเอง ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ผู้สูงอายุหลายๆ ท่าน มีความสบายใจ และจะเป็นกำลังสำคัญในการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อีกทั้งทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขทั้งสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง และเติบโตไปด้วยกันกับทุกช่วงวัย 

        “วันนี้เป็นบรรยากาศที่อบอุ่นมาก ได้เห็นความสนุกสนาน พลังแห่งความสร้างสรรค์ ถึงแม้ว่าจะสูงวัย แต่ไม่ได้อ่อนแรง ซึ่งรู้สึกภาคภูมิใจที่เห็นทุกท่านแข็งแรง และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ รวมทั้งเป็นเข็มทิศให้กับคนรุ่นต่อๆ ไป” นายวราวุธ กล่าวในตอนท้าย 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

“วราวุธ” ขับเคลื่อนงาน “พม. พอใจ : ให้ทุกวัยพึงพอใจใน พม.”

วันที่ 19 ก.ย. 2566  เวลา 09.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) มอบนโยบายการบริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ “พม. พอใจ : ให้ทุกวัยพึงใจใน พม.” โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) กล่าวรายงาน ทั้งนี้ คณะผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่กระทรวง พม. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ร่วมรับฟังนโยบาย ณ  ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 2 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ พร้อมทั้งผ่านระบบถ่ายทอดสดออนไลน์ 


นายวราวุธ กล่าวว่า นโยบายการบริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ “พม. พอใจ : ให้ทุกวัยพึงใจใน พม.” ตนมีหัวใจสำคัญในการทำงาน 3 ข้อหลัก ประกอบด้วย ข้อที่ 1 นับว่าที่สำคัญที่สุดคือ การทำงานตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ด้วยการทำงานรับใช้ประชาชน ไม่ยอมรับการคอรัปชั่น การทุจริตต่างๆ  ข้อที่ 2 การเป็นนักบริหาร ไม่ใช่นักสังคมสงเคราะห์ นักสหวิชาชีพ ซึ่งหน้าที่ของตน คือ ทำงานเพื่อให้ทุกคนทำงานได้ง่ายขึ้น ดีขึ้น และเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น และ ข้อที่ 3 ทำได้จริง เกิดประโยชน์ โดยการขับเคลื่อนไปข้างหน้า (ปฏิบัตินิยม) ด้วยวิธีทำงาน “PSS” แม่นยำ (Precision) รวดเร็ว (Speed) สร้างความเปลี่ยนแปลง (Impactful Scale) 


นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับความเท่าเทียมของประชาชนทุกกลุ่ม ด้วยการดูแลให้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีงาน มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม ด้วยสวัสดิการโดยรัฐ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการทํางานของกระทรวง พม. อีกทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ กระทรวง พม. ต้องดำเนินการถึง 8 เป้าหมายจากทั้งหมด 17 เป้าหมาย เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับสังคมไทย ซึ่งจะเป็นกรอบสําคัญในการกําหนดวิธีคิด แนวปฏิบัติในการทํางานของกระทรวง พม. ทั้งนี้ นโยบายการบริหารกระทรวง พม. ในวันนี้ จะเป็นกรอบการทำงานของทุกคนในกระทรวง พม. เพื่อให้กระทรวง พม. เป็นผู้นำและเป็นที่พึ่งของประชาชนทุกกลุ่มในการเข้าถึงโอกาสและการคุ้มครองทางสังคมที่นำไปสู่หลักประกันและความมั่นคงในชีวิต โดยมีการขับเคลื่อน 5 นโยบายสำคัญ ประกอบด้วย 


1) นโยบายเด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก จนถึงอายุ 3 ปี นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากของชีวิต โดยสิ่งที่เราจะทำและพัฒนา คือ สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีบทบาทในการคุ้มครองเด็กมากขึ้น ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 บริหารจัดการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 600 บาท ให้ครอบคลุม ทั่วถึง และยกระดับศูนย์อนุบาลพัฒนาเด็กเล็กชุมชน  เป็นต้น 


2) นโยบายเด็กและเยาวชน เยาวชนคือวัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ จำเป็นต้องสนับสนุนการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพของครอบครัวอุปถัมภ์ (Foster Care) เป็นที่พึ่งให้กลุ่มเปราะบางได้จริง และนำร่องโครงการศิลปะบำบัดสำหรับเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเยียวยาฟื้นฟูทางจิตใจ เป็นต้น


3) นโยบายคนทำงาน สำหรับวัยทำงาน โดยพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยทั้งการถือครองกรรมสิทธิ์และการเช่า ผลักดันโครงการบ้านตั้งต้นสำหรับผู้เริ่มทำงานใหม่ (First Jobber) พัฒนาเยาวชนสู่การเป็นผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)  ขับเคลื่อนโครงการเตรียมพร้อมสูงวัยก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ (Pre-aging) โดยเฉพาะการบริหารการเงิน และโครงการสร้างรายได้สมาชิกนิคมสร้างตนเอง เป็นต้น


4) นโยบายผู้สูงอายุ ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์  (Complete Aged Society) ซึ่งกระทรวง พม. จำเป็นต้องเข้ามาดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้น ด้วยการพัฒนาสวัสดิการสังคมต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ อีกทั้งจัดตั้งศูนย์พักฟื้นและเสริมพลังชีวิต (Rejuvenation Center)  ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุชุมชน/ตำบล  ศูนย์บริการจัดหางานผู้สูงอายุ และกองทุนพัฒนาชุมชรเพื่อผู้สูงอายุ สนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคงในชีวิต เป็นต้น


5) นโยบายคนพิการและคนไร้ที่พึ่ง สิ่งแรกที่สำคัญที่สุด คือ การปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 อีกทั้งยกระดับศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ร่วมกับองค์กรด้านคนพิการ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนพิการกับคนไม่พิการ ปรับปรุงกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อให้เป็นที่พึ่งสำหรับคนพิการทุกกลุ่มจำนวน 2.2 ล้านคนทั่วประเทศ  และขับเคลื่อนโครงการฝึกอบรมแรงงานหรือระบบการจับคู่งานกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพอิสระ เป็นต้น


นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า นโยบายการบริหารกระทรวง พม. 100 วันแรก เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ง่าย เนื่องจากแนวการทำงานของกระทรวง พม. เป็นปัญหาที่มีความละเอียดอ่อนและมีความซับซ้อน ที่สำคัญคือเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยการบูรณาการของหลายหน่วยงานที่ต้องร่วมมือกัน ฉะนั้น จึงไม่มีปัญหาไหนเร่งด่วนไปมากกว่ากัน ทั้งมิติเรื่องของเด็กเล็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ สตรี ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะ ซึ่งแต่ละหน่วยงานของกระทรวง พม. จะดูแลคนแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน ดังนั้น เราจะขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน ไม่จำเป็นว่า 100 วันจะต้องทำให้เสร็จ แต่ให้คำมั่นว่าภายใน 100 วัน ทุกอย่าง จะมีการเริ่มต้นอย่างแน่นอน 


และวันนี้ เรามีคณะทำงานช่วยติดตามเร่งรัดนโยบายที่ได้มอบหมาย หากติดขัดปัญหาประการใด ตนและคณะทำงานจะเข้ามาช่วยให้ปัญหาเหล่านั้นได้รับการแก้ไข และทำให้งานของกระทรวง พม. เดินหน้าไปได้อย่างเต็มที่ เพราะท้ายที่สุดของเป้าหมายคือ การเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชาชน บรรเทาความเดือดร้อน ด้วยกลไกต่างๆ ที่มี ซึ่งนโยบายต่างๆ จะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนดีมากยิ่งขึ้น 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

พม. จับมือ 9 หน่วยงาน พัฒนามาตรฐานเด็กปฐมวัย

 
    วันนี้ (14 ก.ย. 66) เวลา 10.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่องการใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติ ระหว่าง 10 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร สํานักงานตํารวจแห่งชาติ และสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ” โดยมีนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) ร่วมลงนาม MOU และนางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ

        นายวราวุธ กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่องการใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติ ระหว่าง 10 หน่วยงาน เป็นความร่วมมือในการนําเข้าข้อมูลในระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการพัฒนา เด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติให้ครบถ้วนสมบูรณ์และปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากการบูรณาการฐานข้อมูลด้านเด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการบริหาร การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความปลอดภัย รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม สามารถสนับสนุนการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศร่วมกันได้ ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยทุกมิติทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม และมีความพร้อม เข้าสู่ระบบการศึกษาในระดับประถมศึกษา นอกจากนี้ เป็นการบูรณาการข้อมูลผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน โดยคํานึงถึงการคุ้มครองสิทธิข้อมูลรายบุคคลของหน่วยงานร่วมกัน

        นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า สำหรับขอบเขตความร่วมมือครั้งนี้ หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานกํากับดูแลสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทั้งในส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน กํากับ ดูแลให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย นําเข้าข้อมูลในระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติ (ระบบประเมินออนไลน์) ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน โดยระบบฐานข้อมูลดังกล่าว เป็นระบบที่นําเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ซึ่งมีการนําเข้าข้อมูลในระบบ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 สําหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทั่วประเทศ ประมาณ 50,000 กว่าแห่ง และ ส่วนที่ 2 สําหรับเจ้าหน้าที่ต้นสังกัดในจังหวัด ผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กปฐมวัย และผู้กํากับ ดูแล ติดตามการนําเข้าข้อมูลในระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติ จํานวน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานสามารถร่วมใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลดังกล่าวได้ ด้วยการนําข้อมูลไปประกอบการจัดทํานโยบาย วิชาการ รวมถึงคําของบประมาณของหน่วยงาน เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริม และสนับสนุนการยกระดับคุณภาพตามาตรฐานของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 

        นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน หลายหน่วยงานมีภารกิจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกันในการพัฒนาเด็กเล็ก อายุ 0 – 6 ปี ซึ่งวันนี้ได้รับเกียรติจาก 10 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กทม. และทุกกระทรวง มาลงนามร่วมกันในการร่วมกันใช้ฐานข้อมูลที่แต่ละหน่วยงานมี ทั้งนี้ ในบริบทการพัฒนาเด็กเล็กนั้น ไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่า เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งการลงนามความร่วมมือครั้งนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีการนำข้อมูลของแต่ละหน่วยงานมาแลกเปลี่ยนเพื่อเป็นแนวทางการสร้างมาตรฐานดูแลเด็กเล็ก รวมทั้งเรื่องบุคลากรและสถานที่ เพื่อเด็กเล็กของประเทศไทย เติบโตอย่างมีคุณภาพ ถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งฐานข้อมูลที่มีความร่วมมือกันจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับลูกหลานของคนไทยในอนาคต 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

พม. ประชุม ไทย – เมียนมา ส่งกลับและคืนสู่สังคม ผู้เสียหายค้ามนุษย์

 
 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2566 นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานเปิดการประชุมทวิภาคี ไทย – เมียนมา ครั้งที่ 28 ด้านการบริหารจัดการรายกรณี การส่งกลับและคืนสู่สังคม ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (The 28th Case Management Meeting : CMM) โดยมีนายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะผู้แทนจากราชอาณาจักรไทย และคณะผู้แทนจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา นำโดย Mr. Aung Kyaw Moe อธิบดีกรมฟื้นฟูเยียวยา กระทรวงสวัสดิการสังคม การบรรเทาทุกข์ และการโยกย้ายถิ่นฐานใหม่ เข้าร่วม ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ

           นายอนุกูล กล่าวว่า ประเทศไทยและเมียนมามีความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ก่อนมีความตกลงในลักษณะบันทึกความเข้าใจ จนกระทั่งมีบันทึกความเข้าใจร่วมกัน ว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก  อีกทั้งยังมีการประชุมระดับทวิภาคี ด้านการบริหารจัดการรายกรณี การส่งกลับและคืนสู่สังคม ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ หรือการประชุม Case Management Meeting : CMM  ซึ่งวันนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทวิภาคี ไทย – เมียนมา ครั้งที่ 28 ด้านการบริหารจัดการรายกรณี การส่งกลับและคืนสู่สังคม ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (The 28th Case Management Meeting : CMM) เพื่อเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อย่างครอบคลุมในทุกมิติทั้งการดำเนินคดีและการช่วยเหลือเยียวยา 

           นายอนุกูล กล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยและเมียนมา นับได้ว่าเป็นประเทศคู่ภาคีที่มีการประชุมกันมายาวนานและต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี  ทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาร่วมกัน รวมทั้งมีการเสนอแนะทางออกที่จะทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้น บรรลุผลสำเร็จร่วมกันไปด้วยดี นับเป็นต้นแบบการทำงานของประเทศอื่นๆ ในแถบภูมิภาคอาเซียน  ซึ่งความร่วมมือนี้จะยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง และจะร่วมกันพัฒนาแนวทางมาตรการใหม่ๆ ในการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายได้กลับคืนสู่สังคม ภูมิลำเนาบ้านเกิดของตนเองอย่างปลอดภัยและยั่งยืนที่สุด

            นายอนุกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนในฐานะคณะผู้แทนรัฐบาลไทย กระทรวง พม. และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอย้ำและสร้างความมั่นใจต่อผู้แทนของรัฐบาลเมียนมาว่า ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างรุนแรง ซึ่งรัฐบาลไทยได้บูรณาการทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาและพยายามทุกวิถีทางที่จะสกัดกั้นการเกิดขบวนการค้ามนุษย์ และผู้เสียหายที่อยู่ในความดูแลของรัฐบาลไทย จะได้รับการดูแลตามหลักกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชนและหลักการสากล โดยการดำเนินการทุกเรื่องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เสียหายเป็นสำคัญ

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

พม. เตรียมทำ Sandbox พัฒนาคุณภาพ ประเมินผลสถานรองรับเด็กทั่วประเทศ

วันที่ 2 สิงหาคม 2566 นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เปิดเผยถึงการปฏิรูประบบบริหารจัดการสถานรองรับเด็กว่า เบื้องต้น ได้มอบหมายให้ผู้บริหารกระทรวง พม. พร้อมผู้บริหารกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) ลงพื้นที่เพื่อสแกนปัญหาการปฎิบัติงานและการดูแลเด็กในสถานรองรับเด็กสังกัด ดย. จำนวน 30 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีเด็กอยู่ในความดูแลกว่า 4,000 คน โดยมีการตรวจสอบถึงชั่วโมงการทำงานของพี่เลี้ยง ระบบงานสังคมสงเคราะห์  สภาพแวดล้อม สุขอนามัย ความปลอดภัย โภชนาการ ตารางกิจกรรมตลอด 24 ชั่วโมง มิติความเป็นส่วนตัวของเด็ก โปรแกรมการปรับพฤติกรรมเด็กบางรายที่อาจจะมีปัญหาสุขภาพจิต รวมถึงเด็กที่มีภาวะพฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น ถูกกระทำความรุนแรงจากครอบครัว ก้าวร้าว ลักขโมย ทำร้ายผู้อื่นหรือทำร้ายตัวเอง เป็นต้น อีกทั้งร่วมกับทีมสหวิชาชีพเข้าไปตรวจสอบถึงมาตรฐานการดูแลเด็กทั้งหมด รวมถึงการประเมินทักษะความสามารถ ความถนัดของเด็กแต่ละคน เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล  ในส่วนของเด็กโต มีการเสนอให้จัดตั้งสภาเด็กในสถานรองรับเด็ก โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการเสนอความต้องการและกำหนดกิจกรรมต่างๆ 

    นายอนุกูล กล่าวต่อไปว่า สำหรับผู้ดูแลหรือพี่เลี้ยงเด็กจะต้องมีการประเมินการปฎิบัติงานทั้งทัศนคติ ทักษะความรู้ ศักยภาพการทำงาน รวมถึงชั่วโมงการทำงานที่มากเกินไปหรือไม่ เป็นต้น โดยวิเคราะห์ภาพรวมทั้งหมดและจัดทำเป็นแซนด์บ็อกซ์ (Sandbox) แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เพื่อเสนอของบประมาณจากรัฐในการดำเนินการแต่ละด้าน ซึ่งจากเหตุการณ์พี่เลี้ยงกระทำความรุนแรงกับเด็กในสถานสงเคราะห์เด็กหญิงจังหวัดสระบุรี รวมถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดในสถานรองรับเด็กเอกชน นับเป็นบทเรียนสำคัญที่ต้องนำมาปรับและพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานสูงขึ้น ประกอบกับในห้วงเวลาเปลี่ยนแปลงรัฐบาล จึงต้องทบทวนการทำงานเพื่อเสนอรัฐบาลชุดใหม่

     นายอนุกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ มีการสแกนพบปัญหาต่างๆ เช่น ทัศนคติ การขาดทักษะในการสื่อสารกับเด็ก อัตราส่วนพี่เลี้ยงหรือผู้ดูแลเด็กไม่ได้เป็นไปตามสัดส่วนของลักษณะปัญหาของเด็ก ขณะเดียวกัน จำเป็นต้องดึงภาคธุรกิจเอกชนเข้ามาร่วมสนับสนุน นอกจากนี้ อาจต้องอาศัยกลไกคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด ซึ่งมีทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและทีมสหวิชาชีพ ร่วมติดตามประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานและพัฒนาการเด็กในสถานรองรับเด็กทั้งหมด โดยให้มีการรายงานทุกเดือน จากที่ผ่านมา มีการประเมินติดตามในระดับกรม อย่างไรก็ตาม เร็วๆ นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ โดยจะมีการรายงานประเด็นปัญหาให้ที่ประชุมรับทราบพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นที่ปัจจุบัน เด็กมีอัตราการเกิดน้อยลง แต่พบว่า มีการนำเด็กเข้าสู่สถานรองรับเด็กจำนวนมาก นับเป็นอีกข้อท้าทายที่ต้องไปดูปัญหาต้นทางที่ความเป็นอยู่ของเด็กในครอบครัว และร่วมกันเสนอทางออกว่า ทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กได้อยู่กับครอบครัวและชุมชนในพื้นที่อย่างปลอดภัย โดยรัฐเข้าไปช่วยสนับสนุนการดำเนินงาน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

เชิดชูเกียรตินักธุรกิจสตรีไทย พัฒนาพิเศษระเบียงสังคม (SCC)

 

 วันนี้ (17 ก.ค. 66) เวลา 10.45 น. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานในงานพิธี “ประกาศเกียรติคุณสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ประจำปี 2566” โดยมี คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจฯ กล่าวต้อนรับ และนางมาลีรัตน์ ปลื้มจิตรชม ที่ปรึกษาสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจฯ และประธานคณะกรรมการจัดงาน กล่าวรายงาน อีกทั้ง นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจกรอบความร่วมมือโครงการเขตพัฒนาพิเศษระเบียงสังคม (Social Capital Corridor : SCC) ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ

           นายจุติ กล่าวว่า สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (สสธวท.) ร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) United Nations Development Programme (UNDP) และ USAID Southeast Asia Smart Power Program (SPP) จัดงานพิธี “ประกาศเกียรติคุณสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ประจำปี 2566” เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ และเป็นกำลังใจนักธุรกิจสตรีและนักวิชาชีพสตรีที่ประสบความสำเร็จและทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมและเป็นแรงบันดาลใจในการจุดประกายให้สตรีนักธุรกิจและวิชาชีพในรุ่นต่อไป สำหรับการเข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยไม่ทิ้งการพัฒนาชุมชนและสังคม รวมถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  

        นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สตรีที่มาร่วมงานวันนี้ เปรียบเสมือนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย และพลังขับเคลื่อนภาคธุรกิจจากจังหวัดต่างๆ ของประเทศ ซึ่งเป็นผู้ให้โอกาสคนที่ไม่มีโอกาสในสังคม และวันนี้จะเห็นว่าสตรีทุกท่านที่เป็นนักธุรกิจได้ทำธุรกิจมานานตลอดชีวิต และยังถอดบทเรียนให้กับลูกหลานทำงานต่อไป อีกทั้งยังคุมทิศทางของธุรกิจให้ดูแลสังคม มีกำไร และมีความยั่งยืนได้ ทั้งนี้ กระทรวง พม. ขอเชิญทุกท่านซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัดร่วมกันขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษระเบียงสังคม เพื่อช่วยเหลือ ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสกับผู้ที่ไม่มีโอกาส

         นายอนุกูล กล่าวว่า สำหรับบันทึกความเข้าใจกรอบความร่วมมือโครงการเขตพัฒนาพิเศษระเบียงสังคม (Social Capital Corridor : SCC) เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวง พม. คณะกรรมการขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษระเบียงสังคม  สสธวท. และ 7 องค์กรภาคีเครือข่าย โดยกระทรวง พม. เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนโครงการฯ และองคาพยพในการช่วยเหลือดูแลชุมชนและกลุ่มเปราะบางเพื่อให้เกิดความมั่นคงในสังคม รวมทั้งองค์กรภาคีเครือข่าย ภายใต้ขอบเขตความร่วมมือในการให้ความร่วมมือและการสนับสนุนเพื่อการขับเคลื่อนโครงการฯ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์  อีกทั้งการให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ วางแผนประสานงาน การให้ความรู้ การฝึกอบรม และการถ่ายทอดประสบการณ์ รวมถึงการรณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และขยายผลกิจกรรมของโครงการฯ 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS NEWS

พม. จัดงาน “KICK OFF ต่อต้านการค้ามนุษย์” TOGETHER WE CAN หยุด ค้า คน

พม. จัดงาน “KICK OFF ต่อต้านการค้ามนุษย์” TOGETHER WE CAN หยุด ค้า คน

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 เวลา 13.30 น. นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานเปิดงาน “KICK OFF รณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์” ภายใต้แนวคิด TOGETHER WE CAN หยุด ค้า คน โดยมี คณะผู้บริหารกระทรวง พม. ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม องค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  พร้อมเครือข่าย เข้าร่วมงาน ณ ศูนย์การค้า เดอะ มาร์เก็ต แบงคอก กรุงเทพมหานคร อีกทั้งผ่านระบบออนไลน์ โดยมีหัวหน้าและเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการสังกัดกระทรวง พม. เครือข่ายสภาเด็กและเยาวชน เครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ เข้าร่วม 

        นายอนุกูล  กล่าวว่า “การค้ามนุษย์” เป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และส่งผลกระทบต่อความมั่นคง เศษฐกิจ และภาพลักษณ์ของประเทศ ปัจจุบัน พบว่า ขบวนการค้ามนุษย์เปลี่ยนรูปแบบการกระทำผิดผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เช่น การค้าประเวณี การหลอกเด็กหญิง เด็กชาย ผู้ชายและผู้หญิงเพื่อผลิตสื่อลามกอนาจาร และการหลอกลวงโฆษณาจัดหางาน เพื่อชักชวนคนไทยให้ไปทำงานต่างประเทศ เป็นต้น โดยปี 2565 มีคดีค้ามนุษย์ผ่านช่องทางออนไลน์ถึง 182 คดี คิดเป็นร้อยละ 71 ของคดีค้ามนุษย์ทั้งหมด 253 คดี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีจำนวน  107 คดี คิดเป็นร้อยละ 70.09 ของคดีค้ามนุษย์ ทั้งหมด 188 คดี ทั้งนี้ รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังและต่อเนื่องในทุกมิติ โดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ และให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย 

      นายอนุกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ กระทรวง พม. ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จึงจัดงานวันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ ประจำปี 2566 ในวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ณ ห้องฟีนิกซ์ บอลรูม อาคารอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เซ็นเตอร์ เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  สำหรับวันนี้ กระทรวง พม. โดยกองต่อต้านการค้ามนุษย์  ได้จัดงาน KICK OFF วันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ ภายใต้แนวคิด TOGETHER WE CAN หยุด ค้ำ คน เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักรู้แก่เด็ก เยาวชน  และประชาชน ในการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้ามนุษย์ผ่านช่องทางออนไลน์  และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม องค์การระหว่างประเทศ และประชาชน เป็นเครือข่ายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยที่เข้มแข็งต่อไป 

 

การจัดงานครั้งนี้ มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ประกอบด้วย 

1) การเปิดตัวทูตรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์เป็นครั้งแรกของประเทศไทย คือ นางสาวเขมนิจ จามิกรณ์ ดารานักแสดง 

2) การปล่อยคาราวานรถตุ๊กตุ๊กรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ 

3) การเสวนาในหัวข้อ “สื่อออนไลน์กับการค้ามนุษย์” 

4) การแสดงมินิคอนเสิร์ตจากศิลปิน และ 

5) การจัดแสดงบูธนิทรรศการผลงานของภาคีเครือข่าย จำนวน 14 บูธ 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ( พม.) 

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

ปลัด พม. เตรียมรื้อระบบสถานสงเคราะห์ทั่วประเทศ หลังเกิดเหตุเด็กถูกพี่เลี้ยงกระทำรุนแรง

ปลัด พม. เตรียมรื้อระบบสถานสงเคราะห์ทั่วประเทศ หลังเกิดเหตุเด็กถูกพี่เลี้ยงกระทำรุนแรง

Facebook
Twitter
Email
Print

 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 เวลา 18.00 น. นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เปิดเผยความคืบหน้ากรณีเด็กถูกกระทำความรุนแรงในสถานสงเคราะห์เด็ก ที่จังหวัดสระบุรี ว่า ขณะนี้ กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) ได้สั่งการให้พี่เลี้ยงที่กระทำความรุนแรงกับเด็กหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที พร้อมทั้งแจ้งความดำเนินคดี ขณะเดียวกันได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงรวบรวมข้อมูลจากเด็ก 169 คน ที่อยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ โดยเบื้องต้นได้รับรายงานว่า มีเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงประมาณ 9 คน มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป และได้คัดแยกกลุ่มเด็กดังกล่าวออกจากพื้นที่มาอยู่ในความดูแลชั่วคราวของบ้านพักเด็กและครอบครัวในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อคลายความวิตกกังวล อีกทั้งได้ส่งนักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยาเข้าประเมินและฟื้นฟูเยียวยาสภาพจิตใจอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ กระทรวง พม. ขอรับประกันความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่เปิดเผยข้อมูลเรื่องนี้ เพื่อจะได้ไม่มีความวิตกกังวล โดยได้เตรียมหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงไว้รองรับการปฎิบัติงาน 

         นายอนุกูล กล่าวต่อไปว่า เย็นวานนี้ (29 พ.ค. 66) มีการประชุมด่วนเพื่อหารือกับผู้บริหารกระทรวง พม. ทุกกรม ในการจัดระบบสถานสงเคราะห์และสถานรองรับทั่วประเทศใหม่ เพื่อยกระดับมาตรฐานการดูแลผู้รับบริการทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง  และป้องกันไม่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก  อีกทั้งจะให้มีการหมุนเวียนการปฏิบัติหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงานที่ทำงานมานานเกิน 3 ปี เนื่องจากอาจขาดความกระตือรือร้น ความเอาใจใส่ และจะให้มีการประเมินและพัฒนาทักษะพี่เลี้ยงเป็นระยะ สำหรับเย็นวันนี้ (30 พ.ค. 66) ได้ประชุมผู้บริหารกระทรวง พม. ร่วมกับหัวหน้าสถานสงเคราะห์และหน่วยงานสถานรองรับทั่วประเทศ เพื่อเน้นย้ำแนวทางการดำเนินงานและมาตรการต่างๆ ที่ต้องปรับเปลี่ยนการดูแลผู้รับบริการให้ดีขึ้น 

       นายอนุกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า เหตุครั้งนี้ เกิดขึ้นในสถานสงเคราะห์ของรัฐ  ซึ่งกระทรวง พม. ต้องยอมรับผิดและขอโทษสังคมอย่างยิ่ง เพราะคนในสังคมคาดหวังหน่วยงานรัฐในการช่วยเหลือดูแลเด็กอย่างดี ดังนั้น จึงต้องเร่งแก้ปัญหาทั้งระบบโครงสร้าง รวมถึงบุคลากร โดยจะนำวิกฤตเป็นโอกาสที่จะต้องจัดการทั้งระบบให้ชัดเจน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News