Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

สานสัมพันธ์ น้อง- พี่ สร้างโอกาส ผู้ถูกคุมประพฤติ คืนสู่สังคม

 

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567  นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “สานสัมพันธ์ น้อง- พี่ เสริมพลังต้านยาเสพติด  รุ่นที่ 1 ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ อาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม คณะวิทยากร และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วม ณ รังสินี รีสอร์ท ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 

 

ด้วยกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม ได้ให้ความสำคัญกับการยกระดับระบบการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและให้โอกาสแก่ผู้กระทำผิดให้มีโอกาสกลับตัวเป็นคนดี และกลับมาสร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคม ตามแนวคิดการเปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง จึงได้น้อมนำโครงการกำลังใจ ในพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา มาปรับประยุกต์ใช้เพื่อสร้างกำลังใจให้กับผู้ถูกคุมความประพฤติในคดียาเสพติด เป็นการให้โอกาส  และช่วยให้ผู้เข้าอบรมสามารถเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้โดยนำกรอบแนวคิดจากโครงการนำร่อง “ศูนย์การเรียนรู้ดอยฮาง” หรือ “ดอยฮาง Model” ที่มุ่งสร้างสมดุลระหว่างชีวิตกับสังคม 

 

ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือการปรับทุกข์-ผูกมิตร เป็นขั้นตอนการสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม เพื่อเรียนรู้ผู้อื่นและสะท้อนตัวเอง การถอดรื้อ-สร้างใหม่ เป็นขั้นตอนการสะท้อนเหตุ ที่นำไปสู่การใช้ยาเสพติดและเสริมสร้างกำลังใจสู่ชีวิตใหม่ และการดูแลต่อเนื่อง โดยภาคีเครือข่าย รวมทั้งบุคคลแวดล้อม  เพื่อให้ผู้ถูกคุมความประพฤติมีความเข้มแข็งทางใจ ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เสริมสร้างแรงจูงใจให้เลิกสารเสพติดได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้รับโอกาส  ในการกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข เป็นส่วนหนึ่งของสังคมส่วนรวม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการยอมรับจากครอบครัวและชุมชน  เป็นการป้องกันการกลับไปกระทำความผิดซ้ำอีก และนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง

 

 

สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย ผู้ถูกคุมความประพฤติที่ศาลมีคำสั่งให้คุมความประพฤติ ตามมาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และตามมาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง จำนวน 40 คน 

 

นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ทุกคนในที่นี้ล้วนผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายมาแล้ว แต่ได้รับโอกาสจากศาลให้รอการลงโทษจำคุกและให้คุมความประพฤติ ซึ่งทุกคนมีโอกาสแก้ไขปรับปรุงตัว เลิกเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ  ถือเป็นก้าวแรกในการเอาชนะใจตัวเอง ให้ก้าวผ่านปัญหายาเสพติด ขอให้ทบทวน ใช้ชีวิตอย่างมีสติ เสริมสร้างพลังและกลับไปดำเนินชีวิต โดยการลด ละ เลิก ยาเสพติดอย่างยั่งยืน เพื่อชีวิตและครอบครัวต่อไป

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
SOCIETY & POLITICS

กระทรวงยุติธรรม ประกาศ“ยุติธรรมต้านโกง โปร่งใส ไม่คอร์รัปชัน”

 

วันพุธที่ 6 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 น. พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานมอบนโยบายเนื่องในสัปดาห์ต่อต้านทุจริตและส่งเสริมจริยธรรม “ยุติธรรมต้านโกง โปร่งใส ไม่คอร์รัปชัน” ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายกูเฮง ยาวอหะซัน เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายยู่สิน จินตภากร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 10-09 (Auditorium) อาคารกระทรวงยุติธรรม และผ่านทางระบบ Facebook Live ของกระทรวงยุติธรรม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติเรื่องหลักนิติธรรมกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ สถานะของ หลักนิติธรรม พบว่า ตัวชี้วัดดัชนีหลักนิติธรรมที่สำคัญของ The World Justice Project หรือ WJP ในปี พ.ศ. 2566 จำนวน 142 ประเทศ ประเทศไทยได้อันดับที่ 82 ได้คะแนน 0.49 จากคะแนนเต็ม 1 และ สถานะของการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน พบว่า การขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) เผยแพร่ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index หรือ CPI) ประจำปี 2565 จากจำนวนประเทศ 180 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยได้ 36 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในอันดับที่ 101 ของโลก

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 ระบุว่า รัฐบาลจะสร้างความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยการฟื้นฟูหลักนิติธรรม (Rule of Law) ที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ เพราะการมีหลักนิติธรรมที่น่าเชื่อถือเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางความคิดและสังคมที่สำคัญของประเทศ เป็นการลงทุนทำให้ประเทศไทยมีหลักนิติธรรมที่น่าเชื่อถือที่ใช้งบประมาณของรัฐน้อยที่สุด แต่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดในการพัฒนาประเทศ หากมองอนาคต 4 ปีข้างหน้าจะเป็น 4 ปีที่รัฐบาลจะวางรากฐานและโครงสร้างพื้นฐานใหม่ให้กับประเทศโดยยึดหลักนิติธรรมที่เข้มแข็งและน่าเชื่อถือ รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จและเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในกรณีการดำเนินงานที่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งคุณภาพชีวิต รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

“ยุติธรรม ไม่โกง โปร่งใส ไม่คอรัปชัน” เป็นส่วนหนึ่งของหลักนิติธรรมกับการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งภารกิจหลักของกระทรวงยุติธรรม คือ ทำให้ความยุติธรรมเป็นไปตามหลักนิติธรรม กับการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมสำหรับทุกคน หรือความยุติธรรมนำประเทศอย่างแท้จริง เท่าเทียมเทียบเท่ากับประชาชนจากอารยประเทศที่เจริญแล้ว การขับเคลื่อนค่านิยมร่วมและวัฒนธรรมองค์กรกระทรวงยุติธรรม ที่กำหนดว่า สุจริต จิตบริการ ยึดมั่นความยุติธรรม เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมทุกคนมีจิตสำนึกในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างลึกซึ้ง มีความสัตย์ซื่อ มีจิตใจรักการบริการ ยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งหลักนิติธรรม โดยปฏิเสธการทุจริตคอรัปชันทุกรูปแบบ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปด้วยความยุติธรรมอย่างแท้จริง ในโอกาสนี้ กระผมขอให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมประสานความร่วมมือในการพัฒนาและขับเคลื่อนงานยุติธรรมด้วยหลักการว่า “ยุติธรรมต้านโกง โปร่งใส ไม่คอร์รัปชัน” กระทรวงยุติธรรมพร้อมร่วมเป็นพลังสำคัญของประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมาย คือ ฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็งกับป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งภาครัฐและเอกชน ระดับคะแนนดัชนีหลักนิติธรรม The World Justice Project หรือ WJP กับการรับรู้การทุจริต (Corruption Perception Index : CPI) อยู่ใน 20 อันดับแรกของโลกในปี พ.ศ. 2579 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าว

สำหรับโครงการสัปดาห์ต่อต้านทุจริตและส่งเสริมจริยธรรม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 ธันวาคม 2566 เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม หน่วยงานภาคเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม การรวมพลังแสดงเจตนารมณ์ในการต่อต้านการทุจริตของกระทรวงยุติธรรม และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การทุจริต ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหา โดยภายในงานจัดให้มีการอภิปราย หัวข้อ “ปัญหาการทุจริตและแนวทางป้องกันการทุจริตในระบบราชการไทย” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งเป็นตัวแทนภาครัฐ และ ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอรัปชัน (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นตัวแทนภาคเอกชนและภาคประชาชน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
TOP STORIES

กระทรวงยุติธรรม เร่งเยียวยาเหยื่อโกดังพลุระเบิด นราธิวาส เสียชีวิตจ่ายเต็มที่ รายละ 200,000 บาท

จากกรณี โกดังเก็บพลุ ประทัดและดอกไม้ไฟ ระเบิด ที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ทำให้มีผู้เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บกว่าร้อยราย รวมทั้ง บ้านเรือนและทรัพย์สินได้รับความเสียหายจำนวนมาก นั้น
 
นายธีรยุทธ แก้วสิงห์  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ ในฐานะโฆษกกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวว่า ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม รู้สึกสะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งผู้ประสบเหตุ ที่ได้รับความเสียหายในเหตุการณ์ครั้งนี้  ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ได้เร่งให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายเป็นการเร่งด่วน โดยกรมฯได้ประสานงานกับนางอำไพ ชนะชัย ยุติธรรมจังหวัดนราธิวาสและเจ้าหน้าที่ยุติธรรมจังหวัด เพื่อประสานแนวทางการแจ้งสิทธิตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559  ร่วมกับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจ สภ.มูโนะ อ.สุไหงโก-ลก และศูนย์ปฏิบัติการเยียวยาฯ อำเภอสุไหงโก-ลก รวมทั้งเครือข่ายศูนย์ยุติธรรมชุมชนในการให้คำปรึกษาเบื้องต้นและการให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆแก่ผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์พลุระเบิดครั้งนี้ด้วย

นายธีรยุทธฯ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดครั้งนี้ นับเป็นโศกนาฏกรรม ที่เกิดความสูญเสียอย่างมาก และเป็นเหตุสะเทือนใจของสังคม กรณีของผู้เสียหายที่เสียชีวิต มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาตามกฎหมายสูงสุด รายละ 200,000 บาท  ประกอบด้วย ค่าตอบแทนเสียชีวิต ไม่เกิน 100,000 บาท ค่าจัดการศพ ไม่เกิน 20,000 บาท ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู ไม่เกิน 40,000 บาท และค่าตอบแทนความเสียอื่น ไม่เกิน  40,000 บาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคณะอนุกรรมการฯจังหวัดนราธิวาส พิจารณาเป็นสำคัญ ส่วนกรณีผู้ที่ได้บาดเจ็บ มีสิทธิได้รับการเยียวยา ได้แก่ค่ารักษาพยาบาล จำนวนไม่เกิน 40,000 บาท ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ จำนวนไม่เกิน 20,000 บาท ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เนื่องจากต้องพักรักษาตัว ตามค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดนราธิวาส (อัตราวันละ 328 บาท)ไม่เกิน 1 ปี และค่าตอบแทนความเสียอื่น ตามความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ จำนวนไม่เกิน 50,000 บาท

 นายธีรยุทธ กล่าวย้ำว่า กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นความผิดอาญาที่ชัดเจนจากการกระทำผิดของผู้อื่น โดยที่ผู้เสียหายไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ซึ่งคาดว่า คณะอนุกรรมการจังหวัดนราธิวาส จะสามารถประชุมพิจารณาช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วภายในสัปดาห์หน้านี้ ส่วนกรณีที่ได้รับบาดเจ็บอาจต้องรอการรักษาพยาบาลและเอกสารประกอบการพิจารณา ซึ่งสำนักงานยุติธรรมจังหวัดจะได้ประสานงานกับผู้เสียหายและทายาทอย่างใกล้ชิดต่อไป   ทั้งนี้ ทายาทหรือผู้เสียหาย สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนราธิวาส หมายเลข 0-7353-1234 หรือ สายด่วนยุติธรรม โทร 1111 กด 77 (โทรฟรี ตลอด 24ชั่วโมง)

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงยุติธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

กรมราชทัณฑ์ลงนามร่วมมือสร้างสรรค์ด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง

ในวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง ระหว่างกรมราชทัณฑ์ กับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมีนางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นางสาวรวิวรรณ จตุรพิธพร ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม นายอายุตม์  สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงยุติธรรม เจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เข้าร่วมฯ ณ ห้องสนฉัตร ชั้น 3 อาคารกระทรวงยุติธรรม

ในการนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีพันธกิจหลักในการส่งเสริม สนับสนุนภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการผลิตและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยให้งบประมาณ ความรู้ และเทคนิคไปทำสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ออกเผยแพร่ จึงขอขอบคุณทั้งสองหน่วยงานที่ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงที่จะร่วมมือซึ่งกันและกัน อันเป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติต่อไป และขอให้การดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงนี้ประสบความสำเร็จทุกประการ

นายอายุตม์ฯ กล่าวว่า กรมราชทัณฑ์มีความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ก้าวพลาด ระหว่างกรมราชทัณฑ์ กับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในการนี้ ขอขอบคุณผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่ได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนภารกิจด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ก้าวพลาด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่สร้างประโยชน์ยกระดับการพัฒนา สร้างโอกาส สร้างการยอมรับจากสังคมชุมชน และครอบครัวให้กับผู้พ้นโทษ “เพื่อคืนคนดีมีคุณค่าสู่สังคม” 

ดร.ธนกรฯ กล่าวว่า ไม่เพียงแต่เราที่ลงไปสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความรู้ ทักษะให้กับผู้ต้องขังทั่วประเทศ แต่กิจกรรมการใช้สื่อเป็นเครื่องมือที่จะเกิดขึ้น เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับสังคมได้เรียนรู้พร้อมๆ กันไปด้วย คนภายนอกที่เห็นสื่อจะเข้าใจปัญหาของคนที่เคยก้าวพลาด ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาพฤตินิสัยจะได้มีแรงบันดาลใจ และเห็นว่าสังคมให้โอกาส การที่ได้เห็นว่าสังคมให้โอกาสเป็นการเปิดพื้นที่ให้ได้มีที่ยืน เมื่อได้มีที่ยืนจะเห็นคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และพร้อมที่จะกลับมาคืนสิ่งดีๆ ให้กับสังคม 

สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากข้อสั่งการท่านรองนายกฯ มอบหมายให้กรมราชทัณฑ์จัดทำสื่อ วิดีทัศน์ ภาพยนตร์ หรือละคร ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพัฒนาพฤตินิสัยและปรับทัศนคติเชิงบวกให้แก่ผู้ก้าวพลาด ซึ่งสื่อในรูปแบบของวิดีทัศน์หรือภาพยนตร์ หรือคลิปสั้น สามารถที่จะสื่อสารถ่ายทอดความตั้งใจ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มผู้รับชมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อที่สร้างสรรค์จะสามารถสร้างภาพลักษณ์เกี่ยวกับภารกิจของหน่วยงานในเชิงบวกได้ รวมถึงเป็นสื่อกลางที่จะจุดประกายความคิดที่จะสร้างพลังเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่จากสังคมภายนอกให้กับผู้ก้าวพลาด และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขพัฒนาตนเอง ให้พร้อมที่จะกลับเข้ามายืนในสังคม ในฐานะของพลเมืองที่ดีของประเทศต่อไปได้ 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงยุติธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

“วิษณุ” เป็นประธานเปิด พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์

“วิษณุ” เป็นประธานเปิด พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์

Facebook
Twitter
Email
Print
เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.00 น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวร่วมสมัย โดยมี นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พันตำรวจโท ประวุธ วงศ์สีนิล รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นางสาวพัชรศรี ศรีเมือง ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม นางสาวรวิวรรณ จตุรพิธพร ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี พันตำรวจโทวรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ผู้บริหารระดับสูง และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมฯ ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ (แห่งใหม่) ถนนนนทบุรี 1 ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 
 
ในการนี้ นายวิษณุ กล่าวใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า พิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่เก็บ หรือจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ชมได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านกาลเวลา ได้เรียนรู้ถึงปรัชญา แนวความคิดในเรื่องต่าง ๆ ที่พิพิธภัณฑ์จัดแสดง โดยพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศได้จัดแสดงวิวัฒนาการของการลงโทษแต่ละยุคสมัย ซึ่งทุกประเทศในโลกมีปรัชญาการลงโทษที่ตรงกันว่า การลงโทษถือเป็นการแก้แค้น และทดแทน ต่อมาได้พัฒนาเป็นการปรับเปลี่ยนพฤตินิสัย และได้มีการปรับเปลี่ยนอีกคือ พัฒนาตัวบุคคล พัฒนาทัศนคติ และพัฒนาอาชีพ เพราะฉะนั้นผู้ที่ถูกคุมขังอยู่ในปัจจุบันนี้ นอกจากจะต้องรับโทษแล้ว ยังมีโอกาสเรียนรู้อีกหลายอย่างระหว่างที่ใช้เวลาชีวิตอยู่ในสถานที่ควบคุม จนกระทั่งสามารถสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญา 
 
ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไป และเป็นหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ของทุกประเทศที่ต้องพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง และลงโทษตามระยะเวลา ก็ส่งมอบบุคคลเหล่านี้กลับคืนสู่สังคม เพื่อเป็นแรงงานที่มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และคณะผู้บริหาร ร่วมรับชมการแสดงความสามารถของผู้ต้องขัง ความวิวัฒน์แห่งราชทัณฑ์ จำนวน 3 ชุด ได้แก่ “ตำนานคุกไทย ตัวร้ายที่รักเธอ” “รำดาบ” และการแสดงเครื่องดนตรี “ปี่สก๊อต” ต่อจากนั้น ได้เยี่ยมชมนิทรรศการ “การราชทัณฑ์ยุคเดิม” 
 
โดยอาคาร 1 เป็นห้องแห่งคำถาม ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้ อาคาร 2 ชั้น 1 เป็นการจัดแสดงการลงทัณฑ์แบบจารีตนครบาล, ห้องเครื่องพันธนาการ, ห้องเครื่องทรมาน/เครื่องลงทัณฑ์ และห้องจำลองวิธีการประหารชีวิตด้วยดาบ ปืน และฉีดสารพิษ ส่วนชั้น ๒ ของอาคาร แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับคุกในสมัยอดีต, จำลองความเป็นอยู่การใช้ชีวิตในเรือนจำ, ภาพเหตุการณ์สำคัญในอดีต ฯลฯ เป็นต้น 
 
นอกจากนี้ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการ “การแก้ไขพัฒนา…สู่การคืนคนดีสู่สังคม และการท่องเที่ยวร่วมสมัย” สำหรับอาคาร ๓ เปิดเป็นศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ “วันสุข” WANSOOK ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์งานฝีมือของผู้ต้องขังจากเรือนจำต่าง ๆ จากนั้น รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และคณะผู้บริหาร เยี่ยมชมการแสดงความสามารถผู้ต้องขังทักษะพิเศษ อาทิ การแสดงดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทย การจัดแสดงและสาธิตผลงานการฝึกวิชาชีพศิลปะช่างสิบหมู่ รวมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจ และความหวัง กรมราชทัณฑ์ และเปิดพิธี ณ บริเวณทางเข้าศูนย์การเรียนรู้ฯ พร้อมชมบูธกิจกรรม และร้านเครื่องดื่ม/อาหาร จากทัณฑสถานต่าง ๆ ซึ่งกรมราชทัณฑ์ขอเชิญชวนประชาชนเยี่ยมชมเพื่อศึกษาเรียนรู้วิวัฒนาการด้านการลงทัณฑ์และงานราชทัณฑ์ไทยจากอดีตสู่ปัจจุบันได้ทุกวัน ยกเว้น วันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00น. โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ณ พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ จังหวัดนนทบุรี

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงยุติธรรม

 
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
SOCIETY & POLITICS

กระทรวงยุติธรรม เปิดสถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นทางการ

กระทรวงยุติธรรม เปิดสถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นทางการ

Facebook
Twitter
Email
Print

  ในวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.00 น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดสถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชน โดยมี นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม H.E.Mr. Jon Astrom Grondahl เอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสิทธิมนุษยชน เข้าร่วมฯ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร


          ในการนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “สถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคมไทย” โดยกล่าวใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “สถาบันนี้จะทำหน้าที่ 4 ประการ คือ 

1. Reseach วิจัยในเรื่องสิทธิมนุษยชน 

2. Educate คือให้ความรู้เป็นการศึกษา 

3. Acadamic support คือ ให้การสนับสนุนทางวิชาการแก่กระบวนการสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย และ 

4. Liaison office คือ หน่วยงานกลางที่จะประสานงานกับหน่วยงานทั้งหลายในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ในประเทศไทย รวมตัวย่อทั้งหมดคือ REAL แปลว่าความเป็นจริง ผมอยากเห็นสถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชนเป็น REAL เป็นความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย การที่จะทำบทบาทภารกิจ 4 ประการนี้สถาบันฯ จะเน้นไปในเรื่องการให้ความรู้ ให้การศึกษาอบรม จะเปิดหลักสูตรนักบริหารด้านสิทธิมนุษยชนระดับต้น นักบริหารด้านสิทธิมนุษยชนระดับกลาง และ นักบริหารด้านสิทธิมนุษยชนระดับสูง โดยจะเชิญข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานต่างๆ เข้ารับการฝึกอบรม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำวิจัย ท่านจะได้รับรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในงานของท่านได้ และผมเชื่อว่าถ้าสังคมไทยเดินไปในทิศทางนี้เราจะตระหนักในความสำคัญของสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น และเราจะหวงแหน ป้องกัน ระงับยับยั้งไม่ให้มีการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งก็คือสิทธิของเราในฐานะที่เป็นมนุษย์” 


          พร้อมกันนี้ได้มอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ และเข็มวิทยฐานะสถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชน และเยี่ยมชมบูธของหน่วยงานต่างๆ ที่จัดแสดงภายในงาน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงยุติธรรม

 
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE