Categories
VIDEO

มองมุมคิด นายกฯ “นก” กับความเท่าเทียมที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง

มองมุมคิด นายกฯ “นก” กับความเท่าเทียมที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง

Facebook
Twitter
Email
Print

นครเชียงรายออนไลน์ : มองมุมคิด นายกฯ “นก” กับความเท่าเทียมที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง 

นครเชียงรายออนไลน์ อาสาพามาฟังอีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจของ นายกฯ หญิงแห่งเมืองล้านนา คุณนก อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ถึงประเด็นเรื่องความเท่าเทียมในสังคมไทย 

***หมายเหตุ : การถ่ายทำและสัมภาษณ์ในครั้งนี้ เกิดขึ้นก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุด และทางทีมงานได้ปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัดขณะถ่ายทำและสัมภาษณ์***

คอลัมน์คุยในข่าวโดย : มนรัตน์ ก.บัวเกษร

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
VIDEO

ล้านนางดงาม วัฒนธรรมที่ไม่มีวันจางหาย EP1.

ศิลปวัฒนธรรม : ล้านนางดงาม วัฒนธรรมที่ไม่มีวันจางหาย EP1.

Facebook
Twitter
Email
Print

นครเชียงรายออนไลน์ พาไปเปิดประเด็น ประเพณีล้านนา กับ “วันพญาวัน” ที่กลุ่มช่างฟ้อนของแม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน) ต้นกำเนิดฟ้อนสาวไหม ที่ทุกปีจะต้องรวมตัวกันเพื่อสักการะป่อพญามังรายมหาราชเจ้า ในวันที่ 15 เมษายน และความสำเร็จของปีนี้ ก็คือการถือกำเนิดวัฒนธรรมใหม่ของกลุ่มวัยรุ่น ที่ต้องการอนุรักษ์ศิลปวัฒธรรมเหล่านี้เอาไว้ ให้คงอยู่สืบไป . ขอขอบคุณ คุณพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ดำหัวปีใหม่เมือง – จังหวะตึ่งโนง [2020] และ สาวไหมเชียงราย – ล้านนาร่วมสมัย โดย Suriyawong Th

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
VIDEO

นครเชียงรายออนไลน์ : “อ้ายติ๊ก” เปิดใจครั้งแรก เพจล้านนาภาษาเหนือ

นครเชียงรายออนไลน์ : “อ้ายติ๊ก” เปิดใจครั้งแรก เพจล้านนาภาษาเหนือ

Facebook
Twitter
Email
Print

นครเชียงรายออนไลน์ : “อ้ายติ๊ก” เปิดใจครั้งแรก เพจล้านนาภาษาเหนือ . นครเชียงรายออนไลน์อาสาพามารู้จักกับ อ้ายติ๊ก พีรวัส กันธา เจ้าของแฟนเพจ “อ้ายติ๊ก” เพจภาษาเหนือที่มีเอกลักษณ์เป็นตัวของตัวเอง มาพูดคุยในอีกมุมของอ้ายติ๊ก ทำไมถึงเลือกภาษาถิ่นมาสร้างเป็นจุดขายในเพจของตัวเอง 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อ้ายติ๊ก

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

ก.อุตฯ เตรียมดัน “ผ้าไหมไทยร่วมสมัย” บุกตลาดโลก เล็งเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่-วัยทำงาน

ก.อุตฯ เตรียมดัน “ผ้าไหมไทยร่วมสมัย” บุกตลาดโลก เล็งเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่-วัยทำงาน

Facebook
Twitter
Email
Print

กระทรวงอุตสาหกรรม ชูอัตลักษณ์ความเป็นไทยผสานลวดลายประณีตสวยงามลงใน “ผ้าไหมไทยร่วมสมัย” วางตลาดระดับพรีเมี่ยม เน้นความหรูหราและคุณภาพสูง (Premium & High Quality) เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่วัยทำงานเผยปี 2565 ทำรายได้จากสินค้าผ้าไหมเพิ่มมากขึ้นกว่าร้อยละ 50 พร้อมเตรียมเจรจาเชื่อมโยงการผลิต – การตลาดบินตรงสู่ประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อิตาลี หวังสร้างตลาดใหม่จากผ้าไหมไทยในต่างประเทศ

 

นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (สสท.) หน่วยงานเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำเนินการยกระดับพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและผ้าพื้นเมือง ตามยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรมในการเสริมสร้างศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตและเข้มแข็ง ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยการออกแบบเชิงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสู่อีสานแฟชั่น โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562-2565 เกิดผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายใหม่กว่า 122 ลายรวมทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับ (Accessories) อีกกว่า 108 ผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้จริง สร้างโอกาสทางการตลาด     ในผลิตภัณฑ์ผ้าไหมแบบใหม่ และมีการขยายกลุ่มตลาดใหม่ นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาผู้ประกอบการผ้าไหม และผู้ที่เกี่ยวข้องธุรกิจผ้าพื้นเมืองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กว่า 1,618 คน สร้างรายได้ สร้างงานให้ชุมชน รวมทั้งสร้างโอกาสทางการตลาด และสร้างยอดขายในประเทศกว่า 6,635,456 บาท (เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่)

 

สำหรับโครงการพัฒนาผ้าไหมไทยร่วมสมัย (Premium Thai Silk) ประจำปี 2566 ยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาเทคนิคการผลิตผ้าไหมในรูปแบบใหม่ ที่มีมูลค่าเพิ่มมากกว่าร้อยละ 50 ให้กับผ้าไหมแพรวา ผ้าไหมขิด ผ้าไหมยกดอก ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมบาติก และผ้าไหมแต้ม โดยการสร้างภาพลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์มีความหรูหราและคุณภาพสูง (Premium & High Quality) มีลวดลายที่ประณีตสวยงาม (story-material-look & feel) ขณะเดียวกันมุ่งยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในระดับพรีเมี่ยม ด้วยการสร้างและนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทยลงบนผืนผ้าให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ  

 

แนวทางการพัฒนาในปีนี้ เรามีเป้าหมายพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้จำนวน 24 ผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการออกแบบและผลิตผ้าไหมร่วมสมัยแบบใหม่ ผสมผสานการใช้ทุนทางวัฒนธรรมและแนวโน้มของตลาด ควบคู่กับการพัฒนาการผลิตและการนำเทคนิคใหม่  เข้าไปใช้ในการทอผ้าไหม นอกจากนี้ เรายังมีการยกระดับผู้ประกอบการสิ่งทออีกจำนวน 8 ราย ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ทั้งในด้านการออกแบบและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การแปรรูปสินค้า และการตลาดที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงานได้ เพราะเราเชื่อว่าผ้าไหมไทย ไม่ได้มีไว้สำหรับผู้สูงอายุหรือวัยผู้ใหญ่เท่านั้น แต่คนรุ่นใหม่ วัยทำงาน ก็สามารถสวมใส่ได้เช่นกัน หากมีการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาออกแบบให้ทันสมัย สวยงาม ก็จะเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยในปี2566 มีเป้าหมายในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อิตาลี” นางสาวณัฏฐิญา กล่าว

ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และผ้าไหมพื้นเมือง ยังคงเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น : กลุ่มผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติบ้านหนองหญ้าปล้อง (ผ้าไหมอีรี่มัดหมี่วิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย (ผ้าไหมแต้มจังหวัดนครราชสีมา : กลุ่มหัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่ (ผ้าไหมมัดหมี่จังหวัดหนองบัวลำพู : กลุ่มทอผ้าแม่เอื้อมคำ by เมเม่ (ผ้าไหมขิดจังหวัดกาฬสินธุ์ : กลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านโพนแพรวา (ผ้าไหมแพรวาและจังหวัดสุรินทร์ : กลุ่มสตรีทอผ้าไหมลายยกดอกบ้านดู่นาหนองไผ่ และกลุ่มจันทร์หอม (ผ้าไหมยกดอก

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงอุตสาหกรรม

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

อุตสาหกรรมไทยรับแนวคิด BCG สร้างมูลค่าเพิ่มจากปลาทูน่า ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

อุตสาหกรรมไทยรับแนวคิด BCG สร้างมูลค่าเพิ่มจากปลาทูน่า ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบความคืบหน้าและพัฒนาการของภาคอุตสาหกรรมอาหารไทย ทั้งนี้ สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย (Thai Tuna Industry Association : TTIA) และสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย (Thai Pet food Trade Association : TPFA) ได้นำสินค้าไปจัดแสดงในงาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 พฤษภาคม 2566 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ยืนยันความเป็นผู้นำอันดับ 1 ของโลกด้านอุตสาหกรรมปลาทูน่าของไทยที่มีคุณภาพ มาตรฐานระดับสากล ทั้งนี้ ในงานต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มจากส่วนสูญเสียและขยะอาหาร (Food loss food waste) ที่ได้จากปลาทูน่า นำไปผลิตเป็นสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงเกรดพรีเมี่ยมเพื่อส่งออกเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับสุนัขและแมว โดยใช้แนวคิด BCG ควบคู่การผลิต เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้ในหลายประเภท

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยเข้าร่วมงาน THAIFEX – ANUGA ASIA เป็นประจำทุกปี เพื่อนำเสนอศักยภาพของประเทศไทยในเป็นผู้นำการผลิตและส่งออกสินค้าทูน่าให้แก่นักธุรกิจและประชาชนที่เข้าร่วมงาน ซึ่งในปี 2566 นี้ เน้นการนำแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจหมุนเวียน – เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมปลาทูน่าและอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงเพื่อให้เกิดผลผลิตที่คุ้มค่ามากที่สุด ด้วยการใช้ประโยชน์สูงสุดจากปลาทูน่าทั้งตัว ซึ่งมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ดังนี้
– ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) นำส่วนสูญเสียไปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นสินค้าอื่น ๆ เช่น น้ำนึ่งปลาทูน่า นำมาสกัดเข้มข้นใช้เป็นส่วนผสมเพิ่มโปรตีนและความน่ากินในสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยง
– ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) นำส่วนของเนื้อปลาทูน่าไปผลิตเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงได้โดยตรง หรือนำส่วนของเครื่องใน เช่น ซากกระดูก ก้างของปลาทูน่า ไปเป็นวัตถุดิบผสมในอาหารสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงการสกัดน้ำมันปลาทูน่า
– ด้านเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มีการลงทุนในกลุ่มพลังงานทดแทน พลังงานสะอาด และเทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงาน เช่น ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ (Solar roof top) การเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังความร้อนใช้ในระบบทำความเย็นและไอน้ำ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycled) และการใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล เช่น กล่องกระดาษ รวมถึงการศึกษาและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไบโอพลาสติกด้วย

ซึ่งจากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ ภาพรวมปี 2565 ที่ผ่านมา (เดือนมกราคม – ธันวาคม 2565) ไทยส่งออกปลาทูน่าไปจำนวน 514,071 ตัน สร้างมูลค่าได้กว่า 79,409 ล้านบาท ขณะที่อาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับสุนัขและแมว (TPFA Wet petfood) ส่งออกไปจำนวน 336,309 ตัน สร้างมูลค่าได้กว่า 52,024 ล้านบาท 

นอกจากนี้ ในงานมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ในด้านกฎหมาย กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม หลักการและแนวคิด BCG แนวทางการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมและห่วงโซ่การผลิต การศึกษางานวิจัยปัญหาโลกร้อนที่จะส่งผลกระทบต่อวัตถุดิบในอุตสาหกรรมทูน่าและอาหารสัตว์เลี้ยง เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและปรับตัวเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ  

“นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นในศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารของไทย ซึ่งปลาทูน่าเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ โดยการนำแนวคิด BCG ที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาประยุกต์ใช้จะเป็นอีกโอกาสของการพัฒนา ในการใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ครอบคลุมทุกกระบวนการการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมทั้งยังสามารถใช้องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) ให้กับสินค้ามีจุดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

UNESCO ขึ้นทะเบียนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองสร้างสรรค์

UNESCO ขึ้นทะเบียนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองสร้างสรรค์

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ 5 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ กรุงเทพฯ สุโขทัย และเพชรบุรี ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ ด้านอาหาร หัตถกรรมพื้นบ้าน และการออกแบบจากเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network : UCCN) สะท้อนการทำงานของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (https://en.unesco.org/creative-cities) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2547 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ต่อยอดมาจากการขึ้นทะเบียนมรดกโลกขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) หรือยูเนสโก โดยเป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ผ่านนโยบายระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับนานาชาติที่เชื่อมโยงกับเมืองต่าง ๆ กว่า 300 เมืองทั่วโลก เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งเมืองสมาชิกจะต้องตรวจสอบความก้าวหน้าและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ของโครงการทุก 4 ปี โดยแบ่งออกเป็น 7 สาขา ได้แก่ หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Crafts & Folk Art) การออกแบบ (Design) ภาพยนตร์ (Film) อาหาร (Gastronomy) วรรณกรรม (Literature) สื่อศิลปะ (Media Arts) และดนตรี (Music) ซึ่งปัจจุบันยูเนสโกขึ้นทะเบียน 5 จังหวัดของไทย เป็นเมืองสร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

– จังหวัดภูเก็ต ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร เมื่อปี 2558 โดยภูเก็ตมีวัฒนธรรมการทำอาหารแบบดั้งเดิมและเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ส่งผ่านระหว่างรุ่น สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจท้องถิ่นจากอาหารได้กว่า 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี

– จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี 2560 โดยตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เชียงใหม่ยังคงสืบสานและสนับสนุนอุตสาหกรรมงานฝีมือ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดมายาวนาน ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเงิน ไม้แกะสลัก การปักไหม และเครื่องเขิน โดยปัจจุบันเชียงใหม่เป็นแหล่งจ้างงานหลักของอุตสาหกรรมงานฝีมือของผู้ประกอบการถึง 159 แห่ง

– กรุงเทพมหานคร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ เมื่อปี 2562 โดยกรุงเทพฯ มีความหลากหลายของประชากร มีการผสมผสานระหว่างสุนทรียภาพแบบดั้งเดิมและแบบใหม่ ทำให้เกิดวิวัฒนาการการออกแบบของเมือง ผ่านช่างฝีมือ ผู้ประกอบการ และชุมชนการผลิตเชิงสร้างสรรค์มีอยู่ทั่วเมือง 

– จังหวัดสุโขทัย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี 2562 โดยสุโขทัยมีมรดกทางศิลปะและหัตถกรรมดั้งเดิมอันยาวนาน และเป็นศูนย์กลางการผลิตช่างฝีมือซึ่งมีกว่า 1,300 คนที่ทำงานในชุมชน เช่น ผ้าทอ เครื่องประดับทองและเงิน เซรามิก และเครื่องสังคโลก โดยงานฝีมือดังกล่าวสะท้อนถึงภูมิปัญญาโบราณ และการยกระดับเศรษฐกิจของสุโขทัย

– จังหวัดเพชรบุรี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร เมื่อปี 2564 โดยเพชรบุรีมีความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ และระบบนิเวศ ขึ้นชื่อเรื่องวัตถุดิบคุณภาพสูง มีสูตรอาหารดั้งเดิมของชุมชน และการผสมผสานประเพณีเข้ากับการพัฒนาเศรษฐกิจสมัยใหม่ ทำให้อาหารท้องถิ่นได้รับการดัดแปลงให้แพร่หลายมากขึ้นในระดับชาติและระดับโลก 

“นายกรัฐมนตรียินดีกับผลการขึ้นทะเบียนดังกล่าว ซึ่งสะท้อนเอกลักษณ์ที่มีศักยภาพของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย และถือเป็นอีกความสำเร็จจากความร่วมมือตั้งแต่ระดับชุมชน ไปจนถึงภาครัฐ และภาคเอกชน ที่ต่างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับจังหวัดหรือเมืองอื่น ๆ ทั้งนี้ รัฐบาลมีแนวทางในการผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มขีดความสามารถให้แก่ชุมชนในประเทศ พร้อมสนับสนุนภาคสังคมให้เข้มแข็ง สร้างสรรค์พัฒนาผลงานเป็นธุรกิจ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับพื้นที่ต่อไป” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : UNESCO Creative Cities Network : UCCN

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 มุ่ง “เปิดโลก” ผ่านผลงานศิลปินทั่วโลก

Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 มุ่ง “เปิดโลก” ผ่านผลงานศิลปินทั่วโลก

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อ4 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ส่งเสริมการจัดงานโครงการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ภายใต้แนวคิดหลัก The Open World “เปิดโลก” สร้างการรับรู้ทางศิลปะ ผ่านผลงานของศิลปินทั่วโลก ณ จ. เชียงราย ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567 จัดอย่างต่อเนื่อง 5 เดือน เชื่อมั่นมีผู้เข้าชมหลักล้าน รวมทั้งสร้างมูลค่าให้แก่งานศิลปะร่วมสมัย และมีตัวเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจเชียงรายและกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน (พะเยา แพร่ น่าน) ถึง 30,000 ล้านบาท

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า การจัดงาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ในแนวคิดหลัก The Open World ได้รับแรงบันดาลใจจาก พระพุทธรูปปางเปิดโลก ที่ประดิษฐาน ณ วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมุ่งสื่อความหมายถึงปัญญา การตื่นรู้ เปิดโลกการรับรู้ทางศิลปะ 

ในการจัดงานครั้งนี้ ได้บูรณาการการทำงานและรับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยรูปแบบของงาน ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 1. นิทรรศการหลักที่จัดขึ้นโดยทีมภัณฑารักษ์ ในสถานที่ทั่วตัวเมืองอำเภอเชียงราย และอำเภอเชียงแสน 2. pavilion หรือศาลา แสดงผลงานของกลุ่มศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศ ในพิพิธภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย คู่ขนานกับการจัดนิทรรศการหลัก และ 3. Collateral Events เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในช่วงการแสดงงานทั้ง 5 เดือน ช่วงที่จัดงาน Biennale โดยจะเป็นกิจกรรม อาทิ เทศกาลดนตรีชาติพันธุ์ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย งานฉายภาพยนตร์ร่วมกับหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และการแสดงสดอื่น ๆ

ทั้งนี้ เพื่อยกระดับเชียงรายสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับโลก การจัดงานนี้จะสร้างความเข้มแข็งให้จังหวัดเชียงรายในหลายด้าน ด้านเศรษฐกิจ คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวกว่า 5 ล้านคน และเกิดการจ้างงานไม่น้อยกว่า 8,000 อัตรา รวมทั้งเชื่อว่าจะมีเงินหมุนเวียนเศรษฐกิจของเชียงรายและกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน (พะเยา แพร่ น่าน) ถึง 30,000 ล้านบาท ด้านสังคม เชื่อว่าจะเกิดความร่วมมือในชุมชน มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาขึ้นเป็นเครือข่ายและองค์กรศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติในอนาคต และด้านต่างประเทศ จะเป็นโอกาสเผยแพร่ภาพลักษณ์ พัฒนาความสัมพันธ์อันดี ทั้งในระดับภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และเครือข่ายศิลปิน สร้างความเชื่อมั่นในการจัดงานแสดงศิลปะนานาชาติระดับโลกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“นายกรัฐมนตรีส่งเสริมการจัดงาน Thailand Biennale ถือเป็นความสำเร็จของร่วมกันจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน รัฐ เอกชน และประชาสังคม และการจัดงานที่ผ่านมาเห็นผลสำเร็จ เห็นประโยชน์ที่ส่งถึงประชาชน ทั้งด้านเศรษฐกิจต่อชีวิต ความเป็นอยู่ระชาชนอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดกลไกความร่วมมือทางสังคมในชุมชน โดยนายกรัฐมนตรีขอบคุณความร่วมมือที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของประเทศ และชื่นชมศิลปินไทยที่ช่วยกันขับเคลื่อนวงการศิลปะ ให้เข้มแข็ง และมีศักยภาพ เป็นชื่อเสียงของประเทศ” นายอนุชาฯ กล่าว

อนึ่ง โครงการเเสดงศิลปกรรมร่วมสมัยนานาชาติได้จัดงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2018 (พ.ศ. 2561) ได้จัดงาน Thailand Biennale, Krabi 2018ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดกระบี่ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 2.6 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 864 ล้านบาท และในปี 2021 (พ.ศ. 2564) ได้จัดงาน Thailand Biennale, Korat 2021 ครั้งที่ 2 ณ จังหวัด นครราชสีมา มีผู้เข้าร่วมเกือบ 2 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 3 พันล้านบาท โดยกระทรวงวัฒนธรรมเชื่อว่า ในครั้งที่ 3 ปี 2023 นี้ จะมีนักท่องเที่ยวกว่า 5 ล้านคน เป็นโอกาสเผยแพร่ภาพลักษณ์ และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างยั่งยืน สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ https://www.facebook.com/thailandbiennale

โดยได้จัดคณะภัณฑารักษ์โครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ได้แก่ นายฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช และนางกฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ นายอังกฤษ อัจฉริยโสภณและนางสาวมนุพร เหลืองอร่าม ภัณฑารักษ์ มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 พร้อมบูรณาการความร่วมมือภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ในระดับสากล เพื่อให้จังหวัดเชียงรายก้าวสู่การเป็นเมืองศิลปะ และวัฒนธรรมที่ยกระดับสู่การเป็นทางเลือกใหม่ด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ของนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก โดยงานครั้งนี้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Thailand Biennale

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS NEWS UPDATE

4 มหาวิทยาลัยไทย จุฬาฯ-มหิดล-มช.-มข. ติดอันดับ Top 100 เวทีโลก

4 มหาวิทยาลัยไทย จุฬาฯ-มหิดล-มช.-มข. ติดอันดับ Top 100 เวทีโลก

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อ4 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ Times Higher Education (THE) ซึ่งเป็นผู้จัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาที่ดีที่สุดโลกที่เป็นที่ยอมรับแห่งหนึ่ง ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) หรือ THE Impact Rankings ประจำปี 2566 โดยมีสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก เข้าร่วมการจัดอันดับทั้งสิ้น 1,591 แห่ง จาก 112 ประเทศ และสถาบันอุดมศึกษาไทยเข้ารับการจัดอันดับทั้งสิ้น 65 แห่ง เพิ่มขึ้นจากเดิมในปี 2022 ซึ่งมีจำนวน 52 แห่ง โดยสถาบันอุดมศึกษาไทยในปีนี้ที่ติดอันดับ Top 100 แบบคะแนนรวม มีจำนวน 4 สถาบัน เพิ่มจากปีที่แล้วที่ติดอันดับ Top 100 มีจำนวน 2 สถาบัน ได้แก่ 

– จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอันดับที่ 17 

– มหาวิทยาลัยมหิดล ติดอันดับที่ 38 

– มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดอันดับที่ 74 

– มหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดอันดับที่ 97


นอกจากนี้ ยังมีสถาบันอุดมศึกษาของไทย ที่ได้รับการจัดอันดับ Top 10 ของโลกในด้านต่าง ๆ อีก 6 ประเด็น ดังนี้ 
-มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 3 ใน SDG3 เรื่องสร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย รวมทั้งอันดับ 5 ใน SDG7 เรื่องสร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยาว์ และยังได้อันดับ 5 ใน SDG17 เรื่องเสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  
-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้อันดับที่ 4 ใน SDG1 เรื่องขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ 
-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันดับที่ 7 ใน SDG5 เรื่องบรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมอำนาจให้แก่สตรีและเด็กหญิง และ
-มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้อันดับที่ 9 ใน SDG2 เรื่อวยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

“นายกฯ ยินดีและชื่นชมสถาบันอุดมศึกษาของไทย ที่มีความโดดเด่นไม่แพ้ชาติใด ทุกสถาบันต่างมีความแตกต่างและความเป็นเลิศที่เฉพาะตัว โดยเฉพาะการมุ่งสู่ความยั่งยืนในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาของไทยมีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล ทั้งนี้ ประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาที่มีพื้นฐานที่ดี ในการทำงานที่ตอบโจทย์ของประเทศรวมทั้งความยั่งยืนที่กำหนดโดยสหประชาชาติ ซึ่งรัฐบาล และ อว. พร้อมสนับสนุนอย่างเต็มกำลังเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาไทยก้าวสู่ความสำเร็จและเป็นกลไกสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนต่อไป” 
นายอนุชาฯ กล่าว 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Times Higher Education (THE)

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงราย เปิดกิจกรรม วันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ.2566

อบจ.เชียงราย เปิดกิจกรรม วันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ.2566

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 ณ วัดมงคลธรรมกายาราม หมู่ที่ 1 ตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายนางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ.2566 โดยมี พระครูวรมาตุ โสภณ รองเจ้าอาวาสวัดมงคลธรรมกายาราม นายอำนาจ สิทธิมงคล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม หน่วยงานราชการ และพี่น้องประชาชน ให้การต้อนรับ และร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

สำหรับ กิจกรรมในครั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้เชิญชวนให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มีส่วนร่วมในกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญวันดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชน และหน่วยงานทุกภาคส่วนตระหนัก และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขลดปัญหาภาวะโลกร้อน โดยการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตพื้นที่ตำบลโป่งงาม เพื่อสร้างความสามัคคีและการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่ตำบลโป่งงาม

ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 200 คน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน จิตอาสา กลุ่มมวลชน ประชาชนทุกหมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลโป่งงาม โดยองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม ได้การสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ซึ่งได้ประสานงานสนับสนุนกล้าไม้ จำนวนทั้งสิ้น 1,000 กล้า อีกด้วย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงราย ร่วมมือ ปรับปรุงพื้นที่ในอำเภอแม่สาย

อบจ.เชียงราย ร่วมมือ ปรับปรุงพื้นที่ในอำเภอแม่สาย

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมโรงเรียนเทศบาล 1 วัดพรหมวิหาร อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายนางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนายรามิล พัฒนมงคลเชฐ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย นายชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย และนายสมพล ธาตุอินจันทร์ รองปลัดเทศบาลตำบลแม่สาย 

ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ปรับปรุงพื้นที่บริเวณสนามกีฬากลางอำเภอแม่สาย สวนสุขภาพพระเจ้าพรหมมหาราช หมู่ที่ 10 ตำบลเวียงพางคำ และหอประชุมเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าพรหมมหาราช ชุมชนเหมืองแดง หมู่ที่ 2 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และเทศบาลตำบลแม่สาย โดยมีนายอนุชา ยอดเชียงคำ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อำเภอแม่สาย เขต 1 นายฐิติวัชร ไลศิริพันธ์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นายอมรรัตน์ บุตรดี หัวหน้าฝ่ายเครื่องจักรกล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพี่น้องประชาชน ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในครั้งนี้

สำหรับบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนการปรับปรุงพื้นที่ จำนวน 3 แห่ง เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลเวียงพางคำและตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ร่วมกับเทศบาลตำบลแม่สาย โดยการบูรณาการร่วมกัน ในการปรับปรุงพื้นที่บริเวณสนามกีฬากลางอำเภอแม่สาย สวนสุขภาพพระเจ้าพรหมมหาราช หมู่ที่ 10 ตำบลเวียงพางคำ และหอประชุมเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าพรหมมหาราช ชุมชนเหมืองแดง หมู่ที่ 2 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 

ซึ่งใช้บุคลากร เครื่องจักรกลและยานพาหนะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยเทศบาลตำบลแม่สาย เป็นผู้สนับสนุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือการปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว ในพื้นที่ตำบลเวียงพางคำและตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ขึ้น เพื่อบูรณาการดำเนินงานร่วมกัน ต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ( พม.) 

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News