Categories
SOCIETY & POLITICS

กอ.รมน.เชียงราย ประชุมปรับแผนปฏิบัติ รองรับภัยคุกคามความมั่นคงระดับตำบล

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 นรากร หายโศก จนท.ปฏิบัติการฯ พร้อมด้วย จนท.กอ.รมน.จังหวัด ชร. จัดกิจกรรมโครงการกำกับ ติดตาม และประเมินผล โดย กอ.รมน. ภายใต้งานบริหารจัดการขับเคลื่อนแผนงานตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของ กอ.รมน.จังหวัด ชร. “การประชุมเชิงปฏิบัติการส่วนราชการเพื่อจัดทำ/ปรับปรุงแผนปฏิบัติการรองรับภัยคุกคามความมั่นคงระดับตำบล” โดยเชิญคณะทำงานระดับตำบล และผู้นำชุมชน เข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมเสนอแนะปัญหาภัยคุกคาม 5 ด้าน ได้แก่

1.ด้านการเสริมสร้างความมั่นคงสถาบันหลักของชาติ
2.ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
3.ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4.ด้านการเสริมสร้างสุขภาวะ/การสาธารณสุขระดับตำบล
5.ด้านการบริหารจัดการ
และพิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับภัยคุกคามความมั่นคงระดับตำบล ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลท่าข้าม อ.เวียงแก่น จ.ชร. โดยมี นายธนพงษ์ เจริญทรัพย์อนันต์ นายก ทต.ท่าข้าม เป็นประธานฯ

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
SOCIETY & POLITICS

กรมกงสุล มูลนิธิปวีณาฯเร่งช่วยเหยื่อ ถูกหลอกทำงานในรัฐฉานเขตทุนจีนสีเทา

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566

ณ ห้องประชุมโรงแรมแม่โขง เดลต้า บูทีค อ.แม่สาย จ.เชียงราย นายรุจ ธรรมงคล อธิบดีกรมกงสุล พร้อมด้วยข้าราชการสถานเอกอัคราชฑูต ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณา หงสกุล เพื่อเด็กเเละสตรี ข้าราชการพื้นที่ชายแดนด้าน จ.เชียงราย น.ส.ผกายมาศ เวียร์รา รองประธานหอการค้า จ.เชียงราย และประธานหอการค้า อ.แม่สาย ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ จ.เชียงราย ฯลฯ ได้จัดประชุมเพื่อบูรณาการความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาคนไทยถูกหลอกไปทำงานและตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในประเทศเมียนมา
 
ซึ่งที่ประชุมได้สรุปสภาพปัญหาว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีคนไทยที่หลงเชื่อสื่อสาธารณะหรือโซเซียลมีเดียร์ว่าจะมีงานที่ทำให้มีรายได้มาก และสวัสดิการดีในเมืองต่างๆ ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมา ซึ่งอยู่ในเขตของชนกลุ่มน้อย และมีกลุ่มทุนจีนเข้าไปลงทุนสถานบันเทิง เมื่อไปทำงานกลับประสบกับความทุกข์ยากต่างๆ เช่น ได้เงินไม่ตรงตามเป้า บังคับให้ค้าประเวณี บริการในคาราโอเกะแต่เมื่อทำยอดเงินไม่ได้ก็ถูกขายต่อ ฯลฯ จึงเห็นควรให้ทุกฝ่ายบูรณาการช่วยเหลือ โดยกรณีของมูลนิธิปวีณาฯ พบว่ามีผู้แจ้งว่าถูกหลอกไปทำงานจำนวน 32 ราย สามารถช่วยเหลือกลับมาได้เพียง 5 ราย ส่วนที่เหลืออีก 27 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ รายล่าสุดชื่อ น.ส.แนน ชาว จ.ชลบุรี ถูกหลอกไปทำงานที่เมืองเล้าไก่หรือล็อกกิ่ง รัฐฉาน ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค.ซึ่งนางปวีณาได้สื่อสารทางโทรศัพท์ติดต่อด้วยทราบว่าได้ถูกบังคับทำงาน ทำร้ายร่างกายและเสพยาเสพติดด้วยซึ่งนางปวีณารับปากว่าจะพยายายช่วยเหลือกลับประเทศไทยให้ได้ต่อไป
 
ขณะที่ฝ่ายปกครอง อ.แม่สาย ระบุว่ามีอยู่จำนวน 1 ราย ที่ข้ามไปทำงานแล้วถูกเรียกค่าไถ่เป็นเงิน 300,000 บาท โดยทางญาติได้แจ้งเจ้าหน้าที่ให้ได้รับทราบว่าหากไม่ไถ่ตัวจะถูกนำไปขายต่อและปัจจุบันคาดว่าเหยื่อยังอยู่ที่เมืองเล้าไก่ รัฐฉาน
 
วันเดียวกันคณะที่ประชุมได้ประสานกับคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นไทย-เมียนมา (TBC) ฝ่ายไทย อ.แม่สาย และ TBC ฝ่ายเมียนมา เพื่อเดินทางข้ามไปหารือกับนายอู่ มิ้น ไหน่ ผู้ว่าการ จ.ท่าขี้เหล็ก และหน่วยงานในประเทศเมียนมา ติดกับ อ.แม่สาย และเป็นพื้นที่สำคัญที่กลุ่มคนไทยมักข้ามพรมแดนไปก่อนกระจายไปทำงานตามเมืองต่างๆ ในรัฐฉาน เพื่อประสานขอความช่วยเหลือคนไทยที่ตกค้างดังกล่าวต่อไป
 
นายรุจ กล่าวว่าการช่วยเหลือระยะสั้นคงต้องประสานกับทางการเมียนมาเป็นหลักก่อนส่วนระยะยาวจะมีการประชาสัมพันธ์และร่วมกับอีกหลายหน่วยงานแจ้งเตือนคนไทยให้ทราบถึงสถานการณ์ที่แท้จริงต่อไป
 
น.ส.พิมพ์ ไชยสาส์น เลขานุการเอก (รับผิดชอบฝ่ายกงสุล) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง กล่าวว่าปัจจุบันงานที่นิยมชักชวนคนไทยไปทำงานคือประเภทคอลเซ็นเตอร์ และต่อมาคือโรแมนซ์สแกมเมอร์ สาเหตุที่คนไปทำงานกันมากนั้นพบว่าแม้ภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศเมียนมาจะไม่ดึงดูดทางเศรษฐกิจ แต่ก็มีธุรกิจสีเทาในบางพิ้นที่ที่รัฐบาลเมียนมาเข้าไปดูแลไม่ทั่วถึงโดยมีรัฐต่างๆ และเขตปกครองตนเอง โดยเหยื่อที่ถูกหลอกหรืออ้างว่าถูกหลอกมักจะถูกส่งไปทำงานที่เมืองป๊อก เมืองลา เมืองเล้าไก่ ชเวโก๊กโก่ ฯลฯ และล่าสุดไปถึงเมืองย่างกุ้งแล้ว แรงดึงดูดสำคัญคือการอ้างว่าจะให้เงินจำนวนมากและทำสัญญาจ้างงานเป็นภาษาจีน เมื่อหาเงินไม่ได้ตามเป้าก็จะถูกขายต่อ
 
ด้านนางปวีณาได้นำภาพของเมืองเล้าไก่มาแสดงว่ากำลังมีการก่อสร้างใหญ่โต และเป็นจุดสำคัญที่คนไทยโดยเฉพาะผู้หญิงถูกหลอกไปทำงาน พร้อมระบุว่านับเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าปัจจุบันหญิงไทยถูกหลอกให้เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์และค้าประเวณีในประเทศเมียนมา ซึ่งสาเหตุเกิดจากกลุ่มทุนจีนสีเทาที่เข้าไปสร้างอาณาจักรของตัวเองตามเมืองต่างๆ เช่น เมืองป๊อก เมืองเล้าไก่ เมืองเมียวดี ฯลฯ และมีอีกหลายจุด ทำให้การช่วยเหลือคนไทยออกมาต้องใช้วิธีพิเศษโดยประสานกับฝ่ายทหาร
 
นางปวีณายังได้ยกตัวอย่างเหยื่อหลายราย เช่น มีเด็กหญิงไทยชาว จ.บุรีรัมย์ อายุ 16 ปี ถูกเด็กหญิงอายุ 17 ปีหลอกทางเฟซบุ๊กชักชวนให้ไปเที่ยวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก ก่อนหลอกพาไปกินข้าวฝั่ง จ.เมียวดี แล้วถูกจับไปทำงานในสถานบันเทิงครบวงจรที่มีซ่องโสเภณีอยู่นับ 10 แห่ง กระทั่งผ่านไปหลายวันเจ้าหน้าที่ไทยช่วยเหลือกลับมาได้ในสภาพสะบักสะบอมจนต้องพาไปฟื้นฟูสภาพจิตใจ และอีกรายปลายปี 2565 มีหญิงไทยถูกหลอกให้ไปทำงานที่เมืองเล้าไก่ชายแดนประเทศเมียนมา-จีนโดยถูกบังคับให้ค้าประเวณีเมื่อไม่ยอมก็ให้อดข้าว 3 วัน ทำร้ายร่างกาย เมื่อยินยอมทำงานก็ให้เสพยาเสพติดกระทั่งได้รับการช่วยเหลือกลับด้าน อ.แม่สาย ได้แล้ว ฯลฯ

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

ชาวเชียงราย รวมใจปลูกต้นไม้ วันต้นไม้ประจำปีของชาติ ปี 2566

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ที่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา บ้านร่มแก้ว ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย นางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมวันต้นไม้ เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2566 โดยมีนายนิกร ศิรโรจนานนท์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (เชียงราย) นางสาวมินทิรา ภดาประสงค์ นายอำเภอดอยหลวงนำหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักเรียน และประชาชนจิตอาสา ประมาณ 300 คน ร่วมกันปลูกกล้าไม้ จำนวน 1,000 ต้น ประกอบด้วย ต้นรวงผึ้ง ยางนา ตะเคียนทอง กาสะลองคำ หว้า มะขามป้อม มะเกี๋ยง มะกอกน้ำ สัก พะยูง เพื่อเป็นการสร้าง และกระตุ้นจิตสำนึกให้ประชาชน เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ได้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ของชาติ เป็นการปลูกต้นไม้ในใจคน รวมทั้งช่วยป้องกันและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดมลภาวะเป็นพิษจากฝุ่นและหมอกควัน
.
วันต้นไม้แห่งชาติ ตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี เป็นวันสำคัญของชาติที่ประชาชนทุกคน จะได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยเพิ่มพูนทรัพยากรป่าไม้ อันเป็นประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ อีกทางหนึ่งด้วย โดยคณะรัฐมนตรี กำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้คนไทย ตระหนักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ นำไปสู่การอนุรักษ์ และรู้จักการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่า เพื่อเก็บรักษาไว้สืบต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

สำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด ฉลองครบรอบปี ที่ 1 แห่งการสถาปนา

สำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย จัดกิจกรรม เนื่องในโอกาสครบรอบการสถาปนา “ก้าวใหม่กับงานอาสาสมัครกาชาดเพื่อสังคมไทย” โดยมีกิจกรรมมากมาย ณ อาคาร อปร.คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
 
นางสุนันทา ศรอนุสิน ผู้อำนวยการสำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด กล่าวว่า ตามที่สภากาชาดไทยได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารจัดการหน่วยงานภายใต้องค์กรของสภากาชาดไทย เพื่อการขับเคลื่อนให้สอดคล้องและดำเนินงานตามภารกิจหลัก รวมทั้งเพื่อเป็นการตอบโจทย์ของโลกปัจจุบันอันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบางทั่วประเทศ ให้เข้าถึงการช่วยเหลือ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข บำบัดโรค กำจัดภัย ได้อย่างทันท่วงที ทั้งในยามเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ และยามที่เกิดภาวะโรคติดต่อร้ายแรง สภากาชาดไทย จึงได้จัดตั้ง“สำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด” ขึ้น เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2565 จึงเป็นการหลอมรวมงานอาสาสมัครเป็นหนึ่งเดียวกัน 
 
โดยรวมงานของสำนักงานยุวกาชาดเดิม ซึ่งดำเนินงานมาอย่างยาวนานกว่า 100 ปี 1 ศตวรรษ และงานของสำนักงานอาสากาชาดเดิม ที่เดินทางมากว่า 83 ปี พร้อมที่จะขับเคลื่อนงานอาสาสมัครกาชาดพร้อมกันใหม่อย่างเป็นเอกภาพและส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม เป็นก้าวใหม่กับงานอาสาสมัครกาชาดเพื่อสังคมไทย ที่เข้มแข็งและอยู่เคียงข้างประชาชนในยามเดือดร้อนต่อไป
 
ในโอกาสครบรอบ 1 ปีของการสถาปนาสำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาดดังกล่าว สำนักงานฯ จึงกำหนดจัดงานเฉลิมฉลอง ในวันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2566 ณ อาคาร อปร. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เหรัญญิกสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธี มีการมอบโล่เกียรติยศให้แก่ปูชนียบุคคล จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ คุณประกาย อติแพทย์ คุณมณี ชื่นประดิษฐ์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นแบบอย่างและสมฐานะอาสาสมัครกาชาดอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยและธำรงค์ไว้ซึ่งความศรัทธาในงานอาสาสมัครของสภากาชาดไทย จึงสมควรยกย่องเป็นปูชนียบุคคลที่มีคุณูปการต่องานอาสาสมัครอย่างยอดเยี่ยม และ โล่เกียรติยศ 2 หน่วยงาน ได้แก่ โรงเรียนราชินี สถาบันการศึกษาที่เปิดหมู่อนุกาชาดเป็นสถานศึกษาแรก จวบจนปัจจุบันยังคงมีกิจกรรมของชุมนุมอาสายุวกาชาด และ โรงเรียนราชินีบน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีคุณูปการต่องานอาสาสมัครของสภากาชาดไทย
 
ภายในงานยังได้จัดให้มีการแสดงนิทรรศการ เล่นเกม ให้ความรู้ และมีของรางวัลมามอบให้แก่ผู้ร่วมงาน จากภาคีเครือข่าย อาสาสมัครกาชาด ชมรมอาสายุวกาชาด ที่มาร่วมจัดกิจกรรมเพื่อความสุข สนุกสนานและยังประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากมาย อาทิ กิจกรรมจาก Youth Volunteer International กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นโดยอาสาสมัครกาชาดกิจกรรมจาก บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ศูนย์ขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า บริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด มูลนิธิเมาไม่ขับ และยังมีการถ่ายภาพเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกฟรี นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังจะได้ความรู้ทั้งในเรื่องประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของกิจการยุวกาชาด และอาสากาชาด จากอดีตสู่ปัจจุบันจนมาถึงยุคของอาสาสมัครกาชาดก้าวใหม่ในวันนี้ ความรู้ในเรื่องของอาสายุวกาชาดซึ่งเป็นที่พึ่งพาได้ของชุมชน และบูธนิทรรศการของอาสาสมัครกาชาดที่แสดงออกถึงความเข้มแข็ง ด้วยการทำงานของอาสาสมัครทุกช่วงวัย อีกด้วย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยออนไลน์ “ทำงานง่าย รายได้ดี ไม่มีอยู่จริง”

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยออนไลน์ “ทำงานง่าย รายได้ดี ไม่มีอยู่จริง”

Facebook
Twitter
Email
Print
วันที่ 7 มิถุนายน 2566 พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.  หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  และ พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. พร้อมด้วยคณะทำงาน แถลงข่าวเตือนภัย  เนื่องจากยังมีประชาชนหลงเชื่อและถูกหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวอยู่ และมีการหลอกลวงในรูปแบบอื่นๆ อีกจำนวนมาก เนื่องจากในทุกรอบสัปดาห์ มีการรับแจ้งความออนไลน์คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ เป็นจำนวนมาก และอยู่ในลำดับที่ 2 ของทุกสัปดาห์ ซึ่ง พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์  กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. เป็นห่วงพี่น้องประชาชน ที่อาจจะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพโดยอาศัยความต้องการมีรายได้พิเศษของประชาชนเป็นกลโกงในการหลอกลวง
  
เนื่องจากยังมีประชาชนหลงเชื่อและถูกหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวอยู่ และมีการหลอกลวงในรูปแบบอื่นๆ อีกจำนวนมาก
พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.กล่าวว่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 พ.ค.-3 มิ.ย.2566) มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุดยังเป็นคดีเดิมๆ 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1) คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ 2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ 3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) และ 5) คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับคดีออนไลน์ที่มิจฉาชีพนำมาหลอกลวงซ้ำเติมประชาชนในช่วงนี้ คือ คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ โดยมีรูปแบบการหลอกลวงมาก่อนหน้านี้ เช่น หลอกให้ทำงานหารายได้พิเศษในการสต๊อกสินค้าให้ศูนย์กระจายสินค้าของ Shopee Lazada โดยให้ผู้เสียหายกดไลค์ กดแชร์สินค้าที่กำหนด และโอนเงินค่าสินค้าเพื่อเป็นการสต๊อกสินค้า โดยอ้างว่าผู้เสียหายจะได้ค่าคอมมิชชัน ของราคาสินค้า, หลอกให้ทำงานกดสั่งสินค้าใส่ตะกร้าใน Shopee จากนั้นคนร้ายให้บันทึกหน้าจอส่งให้ดูพร้อมโอนเงินตามมูลค่าสินค้านั้นๆเข้าบัญชีคนร้าย โดยอ้างว่าผู้เสียหายจะได้ค่าคอมมิชชัน, หลอกลวงให้ทำงานหารายได้พิเศษจากการขายสินค้าใน Wish Shop โดยให้เลือกสินค้ามาขาย ตามเงื่อนไขและจำนวนที่จะทำให้ผ่านภารกิจ และต้องเติมเงินก่อนขายทุกครั้ง โดยอ้างว่าผู้เสียหายจะได้กำไรจากการขายสินค้า ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนต้องย้ำเตือนให้ประชาชนได้รับทราบ
พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผบก.ตอท.บช.สอท. กล่าวถึงรายละเอียดภัยออนไลน์ที่มิจฉาชีพหลอกลวงให้ประชาชนโอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ ดังนี้

1. “หลอกให้สมัครงาน สุดท้ายอ้างคนเต็ม ให้ทำภารกิจลงทุนแทน” มิจฉาชีพโฆษณารับสมัครงาน
ทาง Facebook โดยใช้รูปและโปรไฟล์ที่น่าเชื่อถือชักชวนให้ทำงาน โดยมีเงื่อนไขในการสมัครงานง่าย รายได้ดี ผู้เสียหายหลงเชื่อทักสอบถามรายละเอียด มิจฉาชีพคนที่ 1 ให้เพิ่มเพื่อนไลน์มิจฉาชีพคนที่ 2 มิจฉาชีพคนที่ 2 อ้างว่ามีคนทำงานตามที่โฆษณาเต็มแล้ว เสนอให้ผู้เสียหายทำภารกิจซื้อพอร์ตหุ้นในเว็บไซต์ปลอม Liberator https://fhwbziuvdrldd.com/account/register (เปิดเมื่อ 2023-02-07) โดยจะได้ผลตอบแทน 20% ผู้เสียหายหลงเชื่อกดลิงก์สมัครและลงทุนในเว็บไซต์ตามคำแนะนำของมิจฉาชีพ ครั้งแรกลงทุน 100 บาท ได้ 130 บาท ถอนเงินออกได้ ครั้งที่สองลงทุน 300 บาท ถอนเงินออกได้ 390 บาท ครั้งที่ 3 ลงทุน 800 บาท จำนวนเงินขึ้นในเว็บไซต์ 960 บาท แต่ยังถอนไม่ได้ มิจฉาชีพแจ้งว่าต้องลงทุนเพิ่มอีก 6 ครั้ง ในแต่ละครั้งต้องลงทุนเพิ่มเป็น 2 เท่า ของครั้งก่อนผู้เสียหายลงทุนเพิ่มเรื่อยๆ สุดท้ายเมื่อทำเรื่องถอน มิจฉาชีพอ้างว่าสลิบไม่บันทึกตามที่แอดมินแจ้ง ต้องโอนเงินเพิ่มเพื่อแก้ไข และต่อมาก็อ้างข้อผิดพลาดต่างๆ และไม่คืนเงินให้ผู้เสียหาย
1.1 จุดสังเกต
1.1.1 มิจฉาชีพโฆษณารับสมัครงานทาง Facebook โดยมีเงื่อนไขง่าย รายได้ดี เพื่อจูงใจ
1.1.2 เมื่อผู้เสียหายกดลิงก์เพิ่มเพื่อนไลน์(Line) มิจฉาชีพจะอ้างเหตุผลต่างๆ เพื่อให้ทำ
ภารกิจลงทุนในเว็บไซต์ที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นมา โดยนำโลโก้บริษัทโบรกเกอร์ liberater มาใช้
1.1.3 บัญชีธนาคารที่ใช้โอนเงินเป็นชื่อบัญชีบุคคลธรรมดา ไม่ใช่บัญชีหน่วยงานหรือองค์กร
1.1.4 เว็บไซต์ของปลอมคือ https://fhwbziuvdrldd.com/account/register แต่เว็บไซต์
ของจริงคือ https://www.liberater.co.th
1.2 วิธีป้องกัน
1.2.1 มิจฉาชีพโฆษณาชักทางทาง Facebook จึงต้องตรวจสอบกฎเหล็ก Facebook ดังนี้
1) ตรวจสอบว่าเป็นบัญชีทางการ (Official) และมีเครื่องหมาย ✔ หรือไม่ หากเป็นของปลอมมักไม่ใช่บัญชีทางการและไม่มีเครื่องหมาย ✔ แสดง

2) ตรวจสอบการกดอิโมชันแสดงอารมณ์ หากเป็นของจริงจะมีการกดอิโมชันแสดงอารมณ์ด้านบวก หากเป็นของปลอมจะมีการกดอิโมชันแสดงอารมณ์ด้านลบ (โกรธ)

3) ตรวจสอบความโปร่งใสของเพจ
– ประวัติการสร้างเพจ : ของจริงจะสร้างเพจมานาน แต่ของปลอมมักสร้างเพจมาไม่นาน
– ประวัติการเปลี่ยนชื่อ : ของปลอมมักเปลี่ยนชื่อเพจบ่อยเพื่อหลอกไปเรื่อยๆ
– คนจัดการเพจ : ของจริงที่อยู่ของคนจัดการเพจมักอยู่ในประเทศที่สอดคล้องกับเพจ เช่น เพจของคนไทย คันจัดการเพจส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย แต่ของปลอมคนจัดการเพจมักมีที่อยู่ต่างประเทศ หรืออยู่หลายประเทศ
– ในข้อมูลเพิ่มเติมของเพจ(about) : ของปลอมมักสร้างยอดการกดถูกใจและผู้ติดตามใน about เพื่อให้เข้าใจผิดว่ามีการกดถูกใจและผู้ติดตามจำนวนมาก
1.2.2 มิจฉาชีพให้ทำภารกิจในเว็บไซต์ปลอม จึงไม่ควรกดลิงก์ดาวน์โหลดเว็บไซต์ที่มิจฉาชีพส่ง
มาให้ หากต้องการลงทุนควรเข้าเว็บไซต์ https://www.liberater.co.th
1.2.3 หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชัน liberater ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store
หรือ Apple Apps Store เท่านั้น ไม่ควรดาวน์โหลดจากลิงก์หรือข้อความที่มีคนส่งให้
1.2.4 ควรลงทุนในบริษัทหรือผู้ให้บริการในตลาดทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. โดย
ตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://www.set.or.th

2. “สมัครทำงานพิเศษ แต่ต้องเสียเงินค่าทำสัญญา ค่าบัตร ค่าประกันสินค้า” มิจฉาชีพเปิดเพจFacebook ปลอมโดยนำโลโก้กรมการจัดหางานมาประกอบการโฆษณารับสมัครพนักงานแพ็คสบู่ โดยได้ค่าตอบแทนสูง ตามแพคเกจ โดยมีแพคเกจเริ่มต้นที่ก้อนละ 10 บาท ชุดละ 400 ก้อน(บางกรณีหลอกจัดเตรียมสินค้าหรือแพคสินค้า) ผู้เสียหายหลงเชื่อทักแชทสนทนา มิจฉาชีพคนที่ 1 ให้เพิ่มเพื่อนไลน์มิจฉาชีพคนที่ 2 เพื่อแจ้งรายละเอียดการทำงาน มิจฉาชีพคนที่ 2 ให้ทำสัญญาเป็นเงิน 2,099 บาท ค่าบัตรพนักงาน 1,299 บาท และค่าประกันสินค้า 599 บาท โดยจะคืนเงินทั้งหมดเมื่อทำภารกิจสำเร็จ เมื่อผู้เสียหายโอนเงินให้ไปแล้ว จะอ้างเรื่องต่างๆ เพื่อให้ผู้เสียหายโอนเงินเพิ่ม สุดท้ายปิดกั้นผู้เสียหายหรือปิดเพจหนีไป
2.1 จุดสังเกตุ
2.1.1 มิจฉาชีพโฆษณารับสมัครงานทาง Facebook โดยมีเงื่อนไขง่าย รายได้ดี เพื่อจูงใจ
2.1.2 เมื่อผู้เสียหายกดลิงก์เพิ่มเพื่อนไลน์(Line) มิจฉาชีพจะส่งแพคเกจที่มีโลโก้กรมการจัดหางานมาประกอบการหลอกลวงเพื่อให้น่าเชื่อถือ จากนั้นจะอ้างเหตุผลต่างๆ เพื่อให้ทำภารกิจ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายก่อนการทำงาน
1.1.3 บัญชีธนาคารที่ใช้โอนเงินเป็นชื่อบัญชีบุคคลธรรมดา ไม่ใช่บัญชีหน่วยงานหรือองค์กร
2.2 วิธีป้องกัน
2.2.1 มิจฉาชีพโฆษณาชักชวนทาง Facebook จึงควรตรวจสอบกฎเหล็ก Facebook ดังนี้
1) ตรวจสอบว่าเป็นบัญชีทางการ (Official) และมีเครื่องหมาย ✔ หรือไม่ เนื่องจากของปลอมมักไม่ใช่บัญชีทางการและไม่มีเครื่องหมาย ✔ แสดง
2) ตรวจสอบการกดอิโมชันแสดงอารมณ์ หากเป็นของจริงจะมีการกดอิโมชัน แสดงอารมณ์ด้านบวก หากเป็นของปลอมจะมีการกดอิโมชันแสดงอารมณ์ด้านลบ (โกรธ)
3) ตรวจสอบความโปร่งใสของเพจ
– ประวัติการสร้างเพจ : ของจริงจะสร้างเพจมานาน แต่ของปลอมมักสร้างเพจมาไม่นาน
– ประวัติการเปลี่ยนชื่อ : ของปลอมมักเปลี่ยนชื่อเพจบ่อยเพื่อหลอกไปเรื่อยๆ
– คนจัดการเพจ : ของจริงที่อยู่ของคนจัดการเพจมักอยู่ในประเทศที่สอดคล้องกับเพจ เช่น เพจของคนไทย คันจัดการเพจส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย แต่ของปลอมคนจัดการเพจมักมีที่อยู่ต่างประเทศ หรืออยู่หลายประเทศ
– ในข้อมูลเพิ่มเติมของเพจ(about) : ของปลอมมักสร้างยอดการกดถูกใจและผู้ติดตามใน about เพื่อให้เข้าใจผิดว่ามีการกดถูกใจและผู้ติดตามจำนวนมาก
2.2.2 หากต้องการทำงานให้เข้าเว็บไซต์ https://www.doe.go.th หรือทางแอปพลิเคชัน “ไทยมีงานทำ”กรณีมีข้อสงสัยให้ติดต่อสอบถามกรมการจัดหางาน หรือโทรสายด่วน 1506 กด 2
2.2.3 หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชัน “ไทยมีงานทำ” ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play
store หรือ Apple Apps Store เท่านั้น ไม่ควรดาวน์โหลดจากลิงก์หรือข้อความที่มีคนส่งให้

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ต้องการมีรายได้พิเศษอาจตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกลวงให้ทำงานในรูปแบบต่าง โดยมีเงื่อนไขในการสมัครงานง่าย รายได้ดี มาจูงใจให้อยากทำงาน จากนั้นมิจฉาชีพจะหลอกให้ทำภารกิจต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว สุดท้ายหลอกให้โอนเงิน วิธีการของมิจฉาชีพจะเปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงไปเรื่อยๆ และอาจมาในรูปแบบ ดังนี้
1. มิจฉาชีพใช้ชื่อบัญชี RB Shopee VIP 034 ติดต่อผู้เสียหายทางแอปพลิเคชัน Telegram เพื่อ
หลอกให้ทำงานรีวิวสินค้าแล้วจะได้รับเงินค่าคอมมิชชั่นในการทำงาน ผู้เสียหายหลงเชื่อมิจฉาชีพจึงดึงเข้ากลุ่ม VIP 5 คน(หน้าม้า) มีเงื่อนไขต้องลงทุนทำภารกิจโดยให้โอนเงินเข้าพร้อมๆ กัน ในการโอนเงินนั้น หน้าม้าจะใช้สลิปปลอมส่งเข้ากลุ่มหลอกว่าโอนเงินแล้ว ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินเข้าไป มิจฉาชีพจะอ้างว่าผู้เสียหายโอนผิดหลักเกณฑ์และอ้างเหตุผลต่างๆ เพื่อให้ผู้เสียหายโอนเงินเพิ่มไปเรื่อยๆ
2. มิจฉาชีพโฆษณารับสมัครงานทาง Facebook ชักชวนทำงานหารายได้พิเศษ เช่น ร้อยลูกปัด มัดยาง
คนท้องก็สามารถทำงานอยู่ที่บ้านได้ ฯลฯ มีค่าคอมมิชชั่นตอบแทนสูง และมีการแอบอ้าง Jobthai โดยให้ทดลองทำงานกดโปรโมทขายสินค้าและโอนเงินเท่าจำนวนสินค้าที่กดโปรโมท ในตอนแรกจะได้รับเงินลงทุนพร้อมผลตอบแทนคืน ต่อมาจะให้กดลิงก์เข้าเว็บไซต์ทดลองงานในขั้นที่ 2 โดยต้องโอนเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายจะอ้างว่าทดลองงานไม่ผ่าน อ้างเหตุผลต่างๆ และต้องโอนเงินปิดระบบการทดลองงาน

จะเห็นได้ว่ามิจฉาชีพจะเปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงให้ทำภารกิจไปเรื่อยๆ แต่ให้สังเกตุว่าในตอนแรกจะเสนอค่าตอบแทนจากการทำงานหารายได้พิเศษจำนวนมากๆ เพื่อให้หลงเชื่อ จากนั้นจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานหรือทำภารกิจเพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินให้มิจฉาชีพไป จึงขอแจ้งเตือนให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารถึงวิธีการของมิจฉาชีพ และหากต้องการลงทุนในการเทรดหุ้น ควรลงทุนในบริษัทหรือผู้ให้บริการในตลาดทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. โดยตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://www.set.or.th กรณีต้องการทำงานหารายได้พิเศษ ควรติดต่อจากเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน หรือกรมการจัดหางานได้ที่เว็บไซต์ https://www.doe.go.th หรือทางแอปพลิเคชัน “ไทยมีงานทำ”กรณีมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามกรมการจัดหางาน หรือโทรสายด่วน 1506 กด 2 และเพื่อให้รู้เท่าทันภัยออนไลน์ในรูปแบบใหม่ สามารถติดตามข้อมูลการแจ้งเตือนภัยออนไลน์ได้จาก เว็บไซต์ และเพจ เตือนภัยออนไลน์ หรือโทรสายด่วน 1441

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

กรมการกงสุล ลงพื้นที่จ.เชียงราย หลังพบคนไทย ถูกหลอกไปทำงานรัฐฉานพุ่ง 140 ราย

กรมการกงสุล ลงพื้นที่จ.เชียงราย หลังพบคนไทย ถูกหลอกไปทำงานรัฐฉานพุ่ง 140 ราย

Facebook
Twitter
Email
Print
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 นายรุจ ธรรมมงคล อธิบดีกรมการกงสุล นำคณะเข้าประชุมหารือกับนายสมหวัง บุญระยอง รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย น.ส.ภาณี จันทร์ตัน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.เชียงราย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาคนไทยถูกหลอกไปทำงานและตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในประเทศเมียนมา โดยช่วงแรกจะเป็นการรับทราบสถานการณ์ล่าสุดและติดตามผลการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ที่ผ่านมาเพื่อจะได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาต่อไป
.
โดย พ.ต.อ.สัญญา เนียมประดิษฐ์ ผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจ ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา และ น.ส.พิมพ์ ไชยสาร์น กงสุลสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง แจ้งต่อที่ประชุมว่าในปัจจุบันมีคนไทยลักลอบเข้าไปทำงานในประเทศเมียนมาโดยผิดกฎหมายและหลายรายหลงเชื่อการรับสมัครงานผ่านสื่อสาธารณะหรือโซเซียลมีเดียต่างๆ ที่เสนอรายได้และสวัสดิการที่ดี เหยื่อส่วนใหญ่เป็นคนภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยไม่มีคนในพื้นที่ จ.เชียงราย เหยื่อบางรายมีการนัดสัมภาษณ์งานผ่านวิดีโอทางไกลเพื่อให้น่าเชื่อถือแต่เมื่อไปทำงานจริงกลับพบว่าเป็นงานที่ไม่ตรงกับที่ตกลงกันเอาไว้ กระนั้นเนื่องจากได้ถูกยึดหนังสือเดินทางระหว่างประเทศหรือพาสปอร์ตไปแล้วและทำสัญญาจ้างงาน รวมทั้งถูกข่มขู่ทำให้จำใจต้องทำงาน ทั้งนี้ข้อมูลกลุ่มบุคคลที่ถูกหลอกไปทำงานพบว่าส่วนใหญ่เป็นคนจากพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด
.
นายอำนาจ พละพลีวัลย์ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กล่าวว่าปัญหาสำคัญคือไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ที่ร้องทุกข์เป็นเหยื่อจริงหรือไม่ แต่ส่วนใหญ่เขียนคำร้องทุกข์ถึงเจ้าหน้าที่ไปในทิศทางเดียวกันคือถูกหลอกให้ไปทำงาน ดังนั้นจึงเสนอให้จัดตั้งศูนย์สอบสวนเพื่อลงโทษผู้ที่แจ้งความเท็จอย่างจริงจังและอยากให้ลดขั้นตอนการช่วยเหลือเหลังจากเดิมใช้เวลารายละ 2-3 เดือน เนื่องจากมีเบาะแสแล้วถึง 140 ราย แต่ช่วยเหลือกลับมาได้พียง 63 ราย
.
ด้านด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) จ.เชียงราย แจ้งว่าปัญหาหลักคือผู้ที่ลักลอบเข้าไปทำงานออกไปตามช่องทางธรรมชาติที่ไม่ใช่ด่านหลักทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดตามบุคคลได้โดยง่าย และผู้ที่ลักลอบก็มักจะเต็มใจที่จะไปทำงานแต่เมื่อครบสัญญาจ้างแล้วอาจไม่ได้รับค่าจ้างตรงกับที่คาดการณ์ไว้จึงจะเดินทางกลับประเทศไทย แต่เนื่องจากกระทำผิดด้วยการหลบหนีออกเมืองจึงไม่อยากถูกดำเนินคดี จึงได้แจ้งญาติให้บอกเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นเหยื่อถูกหลอกไปทำงานเพื่อให้รับการช่วยเหลือกลับประเทศไทย ซึ่งพบบางรายหลังจากได้รับช่วยเหลือแล้วยังกลับไปทำงานซ้ำอีก ทั้งนี้ได้มีการประสานความร่วมมือระหว่างไทยและเมียนมาในการช่วยเหลือคนไทยที่ถูกหลอกไปทำงานในประเทศเมียนมา พร้อมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่สืบสวนจับกุมกลุ่มขบวนการ Callcenter และอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ทั้งต่างชาติและบุคลสัญชาติไทย โดยได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหยุดหลงเชื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มขบวนการ พร้อมออกตรวจประชาสัมพันธ์สถานที่เสี่ยง อาทิ ร้านให้บริการโทรศัพท์มือถือที่มีการจำหน่าย ชิมการ์ด และสถาบันทางการเงินในพื้นที่อีกด้วย
.
รายงานข่าวแจ้งว่าช่วงปลายปี 2565-2566 คณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นไทย-เมียนมา (TBC) ฝ่ายไทย อ.แม่สาย จ.เชียงราย ได้ประสานไปยัง TBC ฝ่ายเมียนมา จำนวน 6 ครั้ง เพื่อขอความช่วยเหลือคนไทยจำนวน 18 คน ได้รับการช่วยเหลือแล้ว 11 คน โดยช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.2565 และเดือน ม.ค.2566 พบมีผู้ถูกหลอกให้ไปทำงานค้าประเวณีและแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และไมได้รับการช่วยเหลืออีก 7 คน บางรายไปเป็นกลุ่ม 5 คน ส่วนที่เหลือรายละ 1 คน ส่วนใหญ่มีอายุน้อยตั้งแต่ 20-30 ปี
.
เหยื่อส่วนใหญ่ทราบประกาศรับคนงานทางเฟซบุ๊ก,Line,TIKTOK ให้ไปทำงานที่ จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ติดกับ อ.แม่สาย อ้างว่าจะมีเงินเดือนๆ ละขั้นต่ำ 10,000 บาท มีที่พักและอาหารฟรี แต่เมื่อไปทำงานจริงกลับถูกส่งไปทำงานตามเมืองใหญ่ๆ ในรัฐฉานซึ่งตั้งอยู่ห่างไกลชายแดน เช่น เมืองปางซาง เมืองล็อกกิ่งหรือเล่าไก ฯลฯ บางรายถูกให้ลงนามในสัญญาที่เป็นภาษาจีนจึงไม่ทราบรายละเอียด แท้จริงสัญญาระบุให้ทำงาน 6 เดือน หากอยากลาออกต้องจ่ายเงินให้ผู้จ้าง 50,000-200,000 บาท หากไม่มีให้ต้องทำงานจนกว่าจะหมดหนี้ บางรายปฏิเสธงานตั้งแต่ต้นก็ต้องเสียเงินให้นายหน้ารายละ 50,000 บาท ไม่รวมค่าเดินทางกลับด้วย.

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
GALLERY

“ปาเเอ่ววัดก่อนฝนลง” วัดร่องเสือเต้น Blue Temple

Categories
ENTERTAINMENT

​ช่อง 3 เดินหน้าซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านละคร “หมอหลวง”

​ช่อง 3 เดินหน้าซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านละคร “หมอหลวง”

Facebook
Twitter
Email
Print

กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3  จัดงานเสวนา “ส่งเสริมอำนาจละมุน Soft Power ผ่านละครไทย หมอหลวง โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานในงานเสวนา และมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจโทรทัศน์ บริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) นายเขมทัตต์ พลเดช นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ผู้บริหาร ผู้กำกับ ผู้จัดละคร ตัวแทนนักแสดง แขกผู้เกียรติ เครือข่ายทางวัฒนธรรม และสื่อมวลชน เข้าร่วม ทั้งนี้เสวนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและผลักดันผลิตภัณฑ์ด้านวัฒนธรรมออกสู่ระดับสากล เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ และกระจายรายได้สู่ชุมชนทั่วประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ที่ปลุกกระแสสำคัญคืออุตสาหกรรมสื่อบันเทิง ทั้งละครโทรทัศน์ ซีรีส์ ภาพยนตร์ ฯลฯ ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างความสำเร็จในการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ให้กับประเทศไทย โดยงานจัดขึ้นในวันที่ 2 มิถุนายน 2566 ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม

ละครหมอหลวงออกอากาศในช่วงตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ช่อง 33 และ ทางแอปพลิเคชัน CH3Plus ผลิตโดยบริษัท โซนิกซ์ บูม 2013 โดย ชุดาภา จันทเขตต์ และ ปิยะ เศวตพิกุล ละครหมอหลวงนับเป็นหนึ่งในซอฟท์พาวเวอร์ที่ทรงพลังของยุคปัจจุบัน ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการสร้างสรรค์ผลงานละครโดยบูรณาการภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเข้าไว้เป็นหนึ่งเดียว จนทำให้เกิดปรากฏการณ์และเป็นกระแสความสนใจอย่างล้นหลาม 
ไม่ว่าจะเป็นเรตติ้งความนิยม การตอบรับอย่างถล่มทลายในทุกครั้งที่จัดกิจกรรม  และละครหมอหลวงยังมีการจำหน่ายลิขสิทธิ์เพื่อไปออกอากาศต่อยังแพลตฟอร์มของต่างประเทศ โดยละครหมอหลวงสามารถผลักดันเรื่องสมุนไพร อาหารไทยที่เป็นประโยชน์ และแพทย์แผนไทย ให้เป็นที่สนใจในวงกว้างของผู้ชมทั้งในและต่างประเทศ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เล็งเห็นว่า “หมอหลวง” ถือเป็นกรณีศึกษาที่ดีในการใช้สื่อบันเทิงเป็นแพลตฟอร์มหลักที่ช่วยส่งเสริมและผลักดันซอฟต์พาวเวอร์จากสื่อบันเทิง ให้เป็นที่แพร่หลาย ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของกระทรวงวัฒนธรรม จึงได้จัดงานเสวนาครั้งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการถอดบทเรียนจากละครหมอหลวง ที่จะเป็นแนวทางในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ในอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงและคอนเทนต์ของไทยต่อไปในอนาคต และแสดงให้เห็นถึงการบูรณาการความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของภาครัฐและภาคเอกชนในการดำเนินงานส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์อย่างเป็นรูปธรรม 

โดยมีประเด็นการเสวนาเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมสื่อบันเทิงอย่างละครและภาพยนตร์สู่สากล ทั้งจากกระทรวงวัฒนธรรมและตัวแทนผู้ประกอบการ เบื้องหลังและความสำเร็จในการพัฒนาละครที่สอดแทรกความรู้ด้านแพทย์แผนไทย โดยทีมผู้ผลิตละครหมอหลวง โดยมี นายเขมทัตต์ พลเดช นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เข้าเสวนาเสวนาร่วมกับตัวแทนจากกระทรวงวัฒนธรรม ผู้จัด ผู้กำกับ และนักแสดงจากละครหมอหลวง โดยมี เซน เมจกา สุพิชญางกูร เป็นผู้ดำเนินรายการ

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยถึงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ว่า “ขณะนี้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง ซึ่งจากข้อมูลล่าสุด (2564) สร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้กับประเทศกว่า 312,827 ล้านบาท และในปี 2566 วธ.จะดำเนินงานโครงการเพื่อส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ความนิยมไทยของประเทศไทย โดยสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลกว่า 971.55 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ 58.25 ล้านบาท โครงการพัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 893.41 ล้านบาท และโครงการด้านการต่างประเทศ 19.88 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานรัฐอื่น ๆ ที่ได้รับงบประมาณเพื่อร่วมส่งเสริม Soft Power ของประเทศไทย ในมิติต่าง ๆ อีกจำนวน ไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาท คาดว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ด้านวัฒนธรรมไปสู่ตลาดต่างประเทศ สร้างงาน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้สู่ชุมชนและประเทศได้อย่างต่อเนื่อง”

ทางด้าน นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจโทรทัศน์ บริษัท บีอีซีเวิล์ด จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ละครหมอหลวง ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยความนิยมนั้นนอกจากความสนุกสนานของละครแล้ว ละครยังสร้างกระแสความภาคภูมิใจให้กับคนไทย และความสนใจในเรื่องของสมุนไพรและแพทย์แผนไทยให้เกิดขึ้นอย่างมากทั้งในและต่างประเทศ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เห็นว่าโอกาสนี้เป็นนิมิตรหมายที่ดีในการจัดงานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการผลักดันอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง ให้เป็นแกนหลักในการส่งออกซอฟต์พาวเวอร์ด้านวัฒนธรรมไปสู่ตลาดต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิผลต่อไป”               

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

รัฐบาลชวนลูกหนี้ค้างชำระ ร่วมโครงการ คลินิกแก้หนี้ จบเบ็ดเสร็จในที่เดียว

รัฐบาลชวนลูกหนี้ค้างชำระ ร่วมโครงการ คลินิกแก้หนี้ จบเบ็ดเสร็จในที่เดียว

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน และบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) จัดให้มีโครงการคลินิกแก้หนี้ (โครงการ) เพื่อให้ลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้เบ็ดเสร็จในที่เดียว ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน และได้ปรับเกณฑ์การช่วยเหลือลูกหนี้ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่เห็นถึงความสำคัญของปัญหาหนี้ครัวเรือน และต้องการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง 

โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้กำหนดให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือน เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขหนี้ครัวเรือน และบูรณาการความร่วมมือระหว่างหลายหน่วยงานจัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้ให้กับประชาชนและผู้ประกอบการได้อย่างเบ็ดเสร็จ อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยโดยรวมจะปรับดีขึ้น แต่ครัวเรือนบางส่วนยังเปราะบางจากค่าครองชีพและภาระหนี้ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะลูกหนี้กลุ่มบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันและมีเจ้าหนี้หลายราย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืน ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการคลินิกแก้หนี้ จึงปรับเกณฑ์คุณสมบัติให้ลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระมากกว่า 120 วันขึ้นไป สามารถเข้าร่วมโครงการได้ จากเดิมที่ต้องมีสถานะเป็นหนี้เสียก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เท่านั้น

นายอนุชาฯ กล่าวย้ำว่า นอกจากนี้โครงการได้เพิ่มทางเลือกแผนการชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ในโครงการที่เริ่มมีปัญหาในการผ่อนชำระ ซึ่งหากผิดนัดชำระซ้ำจะต้องกลับไปดำเนินการแก้ไขหนี้โดยตรงกับเจ้าหนี้ โดยโครงการจะพิจารณาเหตุผลความจำเป็น เพื่อแนะนำแผนการชำระหนี้ใหม่ที่เหมาะสมให้กับลูกหนี้เป็นรายกรณี เพื่อให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ต่อเนื่องจนปลดหนี้ได้ในที่สุด ทั้งนี้ การปรับแผนการชำระหนี้ดังกล่าวจะจำกัดจำนวนครั้งและความถี่ อีกทั้งในระยะแรกของการปรับโครงสร้างหนี้ โครงการมีเงื่อนไขไม่ให้ลูกหนี้ก่อหนี้ใหม่ เพื่อสร้างวินัยและความรับผิดชอบ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกหนี้ได้อย่างยั่งยืน โดยในส่วนของลูกหนี้ที่ยังมีความสามารถชำระได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยแนะนำให้ชำระหนี้ต่อไปเพื่อไม่ให้เป็นหนี้เสีย ซึ่งจะกระทบประวัติทางการเงินและความสามารถในการกู้ยืมในอนาคต 

“สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการมี ดังนี้ (1) เป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ อายุไม่เกิน 70 ปี (2) เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันของสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ (3) เป็นหนี้เสีย (NPL) ค้างชำระมากกว่า 120 วัน (ตามรายงานเครดิตบูโร ณ เดือนปัจจุบันต้องมีสถานะค้างชำระตั้งแต่ 121-150 วันขึ้นไป) (4) หนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท และ (5) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ทั้งนี้ การปรับปรุงโครงการดังกล่าว มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป โดยประชาชนที่สนใจสามารถติดตามข้อมูล หรือสมัครผ่านเว็บไซต์ (www.คลินิกแก้หนี้.com) LINE (@debtclinicbysam) และ Facebook (คลินิกแก้หนี้ by SAM) รวมทั้ง Call Center โทร. 1443 ได้ทุกวัน เวลา 09.00-19.00 น. พร้อมขอให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ประชาสัมพันธ์ให้ลูกหนี้รู้จักโครงการและรับทราบสิทธิในการสมัครเข้าร่วม เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น ก่อนที่จะถูกขายหนี้หรือถูกบังคับคดี” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : โครงการคลินิกแก้หนี้ 

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

เสนอพระนาม “ในหลวง ร.9” ให้ยูเนสโก ประกาศยกย่อง ร่วมเฉลิมฉลองวาระ 100 ปี

เสนอพระนาม “ในหลวง ร.9” ให้ยูเนสโก ประกาศยกย่อง ร่วมเฉลิมฉลองวาระ 100 ปี

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี (6  มิถุนายน 2566) เห็นชอบหลักการเสนอพระนามพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลอง ในวาระ 100 ปี วันพระบรมราชสมภพ ในปี 2570    โดยให้ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำร่างเอกสารเสนอพระนามต่อองค์การ UNESCO ต่อไป
 
กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดประชุมหารือร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น  กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นต้น มีมติเห็นชอบการเสนอ พระนามพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้องค์การ UNESCO ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลอง ในวาระ 100 ปี วันพระราชสมภพ ในปี 2570  เนื่องจากทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ อย่างล้นพ้นต่อประเทศไทย ทรงอุทิศพระองค์เพื่อปฏิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ นานัปการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกร นอกจากนี้ พระราชกรณียกิจ ของพระองค์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และการดำเนินงานขององค์การ UNESCO ทั้ง 5 ด้าน  คือ การศึกษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ตลอดจนมีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมสันติภาพ ความเท่าเทียม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งนานาชาติและองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ให้การยอมรับในฐานะพระมหากษัตริย์นักพัฒนา โดยกระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมการดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
(1) ยกร่างข้อมูลเพื่อเสนอพระนามฯ ให้องค์การ UNESCO โดย จะต้องจัดส่งเอกสารการเสนอพระนามฯ ภายในปี 2567 เพื่อนำเข้าที่ประชุม คณะกรรมการบริหารขององค์การ UNESCO เพื่อพิจารณาภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 ก่อนที่ประชุมสมัยสามัญขององค์การ UNESCO พิจารณาให้ความเห็นชอบ ในเดือน พฤศจิกายน 2568
(2) เตรียมการด้านต่าง ๆ โดยได้จัดทำร่างแผนการดำเนินงานการเสนอพระนามฯ เพื่อให้การดำเนินการที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ด้วยความเรียบร้อยและสอดคล้อง ตามหลักเกณฑ์และกำหนดการขององค์การ UNESCO
 
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า  ไทยมีบุคคลสำคัญที่ได้รับการประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลอง โดยองค์การ UNESCO เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์ โดยรัฐบาลรับเป็นเจ้าภาพจัดงานเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปี ซึ่งตรงกับวันประสูติ 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News