Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

‘บัตรคอนเสิร์ต’ เรื่องร้องทุกข์อันดับ 1 ของผู้บริโภค ในปี 66

 
 

ภาพที่ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ได้รับความเป็นธรรม การได้รับข้อมูลที่ไม่เพียงพอหรือไม่จนไม่สามารถตัดสินใจเลือกใช้หรือเลือกซื้อสินค้าและบริการได้อย่างถูกต้องหรือมีคุณภาพ กลายเป็นภาพสะท้อนที่พบเห็นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันและอาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ขณะที่การโฆษณาหรือรีวิวสินค้าของบุคคลมีชื่อเสียงที่ผลิตและเผยแพร่คลิปวิดีโอสินค้าต่าง ๆ เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคอยากได้ อยากมี และตัดสินใจซื้อสินค้า จนทำให้หลาย ๆ ครั้ง ผู้บริโภคอาจไม่ได้สังเกตรายละเอียดของข้อมูลหรือไม่ได้ศึกษาข้อมูลก่อนการซื้อจนทำให้ถูกละเมิดสิทธิผู้บริโภคของตัวเองหรือถูกเอารัดเอาเปรียบ

            ในปีงบประมาณ 2566 (เดือนตุลาคม 2565 – เดือนกันยายน 2566) สภาผู้บริโภคจึงได้รวบรวมข้อมูลและรายงานสถานการณ์ผู้บริโภคจากการรับเรื่องร้องทุกข์ทั่วประเทศ ได้แก่ สำนักงานสภาผู้บริโภค หน่วยงานประจำจังหวัดใน 15 จังหวัด และองค์กรสมาชิกของสภาผู้บริโภค โดยในปีนี้มีผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิผู้บริโภคได้ร้องทุกข์เข้ามาเป็นจำนวน 16,142 เรื่อง ซึ่งสภาผู้บริโภคได้ช่วยเหลือผู้บริโภคให้ได้รับการชดเชยเยียวยาเสร็จสิ้นทั้งหมด 12,837 เรื่อง หรือคิดเป็นร้อยละ 79 และสามารถคิดรวมเป็นมูลค่าความสำเร็จในการคุ้มครองผู้บริโภคได้ถึง 71,703,984.46 บาท ส่วนที่เหลืออีก 3,305 เรื่อง อยู่ระหว่างการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค อย่างไรก็ตามกรณีใดที่ไม่สามารถไกล่เกลี่ยหรือยุุติปัญหาได้ สภาผู้บริโภคจะเดินหน้าสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในการฟ้องคดีให้กับผู้บริโภค

 

            เมื่อลงรายละเอียดในภาพรวมเรื่องร้องทุกข์ที่ผู้บริโภคร้องทุกข์เข้ามาในปีงบประมาณ 2566 ปัญหาที่มีผู้ร้องทุกข์เข้ามาที่สภาผู้บริโภคมากที่สุด คือ ปัญหาด้านสินค้าและบริการทั่วไป จำนวน 10,150 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 62.88 เกินครึ่งหนึ่งของเรื่องร้องทุกข์ทั้งหมด ซึ่งมากกว่าเรื่องร้องทุกข์ในปีงบประมาณ 2565 ถึง 7,875 เรื่อง

 

            ในสถานการณ์โควิด19 ที่เริ่มซาลง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริการบันเทิง อาทิ คอนเสิร์ต แฟนมีตตี้ง หรืองานอีเว้นท์ต่าง ๆ ได้เริ่มกลับมาจัดงาน เมื่อผู้บริโภคตัดสินใจซื้อบริการเหล่านี้ก็ได้พบกับปัญหาที่ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับ ‘ข้อสัญญา’ เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงผังคอนเสิร์ต การสมัครสมาชิกแต่ไม่ได้รับสิทธิตามที่ระบุ การจัดงานที่ไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้ในครั้งแรก ไม่สามารถคืนบัตรได้ แจ้งราคาบัตรโดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าธรรมเนียม การประชาสัมพันธ์ไม่ชัดเจน รวมถึงราคาบัตรที่แพงเกินไป ซึ่งเมื่อคนเหล่านี้เป็นกลุ่มคนได้รับความเดือดร้อนในปัญหาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันจึงได้ส่งเสียง ส่งต่อช่องทางและร้องทุกข์เข้ามาที่สภาผู้บริโภคถึง 5,906 เรื่อง ในอีกทางนั้นการที่ผู้บริโภคร้องทุกข์เข้ามาในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจคอนเสิร์ตเป็นจำนวนมาก อาจสะท้อนได้ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ร้องทุกข์เข้ามาในประเด็นปัญหาข้างต้นอยู่ในวัยที่โตมากับเทคโนโลยีและมีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างคล่องแคล่ว จึงเข้าถึงข้อมูลว่าตัวเองกำลังถูกผู้ประกอบการเอารัดเอาเปรียบและต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ตัวเองได้รับความเป็นธรรม จนกระทั่งการเข้าถึงช่องทางการช่วยเหลือและใช้เครื่องมือการสื่อสารเพื่อร้องทุกข์ได้อย่างรวดเร็ว

 

            อย่างไรก็ตาม ปัญหาข้างต้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับ ‘ข้อสัญญา’ สภาผู้บริโภคจึงได้ติดต่อและประสานงานกับบริษัทผู้จัดงานหรือบริษัทที่จัดจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตต่าง ๆ ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและแนวทางการชดเชยเยียวยาความเสียหาย รวมถึงการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หน่วยงานกำกับดูแลให้เข้ามาจัดการปัญหา ผ่านการออกหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติเรื่องการทำสัญญาระหว่างภาคธุรกิจกับผู้บริโภค โดยจะกำหนดสิ่งที่ต้องระบุในสัญญาและสิ่งที่ห้ามระบุในสัญญา เช่น การซื้อสินค้าแล้วไม่รับเปลี่ยนหรือคืน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ และหากสัญญาไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ถือว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะเพื่อให้การใช้สิทธิของผู้บริโภคในทุกประเด็นไม่มีข้อจำกัด นอกจากนี้ธุรกิจที่ต้องควบคุมสัญญาไม่ควรพิจารณาเป็นรายธุรกิจหรือรายกิจการ เพราะการแก้ปัญหาในลักษณะดังกล่าวเสมือนเป็นการไล่ตามปัญหาและต้องแก้ไขกันไม่จบไม่สิ้น ดังนั้นการแก้ปัญหาเชิงป้องกันด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์กลางด้านสัญญาจึงเป็นผลดีกว่าในหลายมิติ

 

            นอกจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสัญญาในด้านสินค้าฯ ข้างต้น ปัญหาการซื้อสินค้าทางออนไลน์และปัญหาที่ผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากการเข้าไปใช้บริการเสริมความงามเป็นปัญหาที่ผู้บริโภคร้องทุกข์เข้ามาในจำนวนใกล้เคียงกัน 1,474 เรื่อง และ 1,110 ตามลำดับ สำหรับการซื้อขายสินค้าทางออนไลน์นั้นส่วนใหญ่เป็นกรณีการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยเฉพาะการซื้อสินค้าในเฟซบุ๊กแฟนเพจ แต่ไม่ได้รับสินค้าและไม่ได้รับเงินคืน หรือการได้รับสินค้าไม่ตรงตามที่สั่งซื้อไป ซึ่งผู้บริโภคมักถูกหลอกหลวงจากการที่มิจฉาชีพซื้อโฆษณาบนเฟซบุ๊กโปรโมทสินค้าหรือเปิดเฟซบุ๊กแฟนเพจขายสินค้า โดยในช่วงแรกทำทีส่งสินค้าให้เพื่อให้มีเครดิตว่าเป็นร้านค้าที่ไม่ได้คิดจะหลอกลวง เพราะมีผู้บริโภคการันตีว่าได้รับสินค้า แต่เมื่อผ่านไปสักพักจนผู้บริโภครายอื่น ๆ หลงเชื่อ จึงจะหลอกให้โอนเงินแต่สุดท้ายกลับไม่ส่งสินค้าให้ ส่วนในกรณีการได้รับความเสียหายจากการเข้าไปใช้บริการเสริมความงามนั้นจะมีความคล้ายคลึงกับกรณีของการจองหรือกดบัตรคอนเสิร์ต แต่คลินิกหรือสถานเสริมความงามกลับผิดสัญญาตามที่ตกลงไว้ตั้งแต่ครั้งแรก โดยผู้บริโภคที่เข้ามาร้องเรียนกรณีสถานเสริมความงามนั้นได้รับความเสียหายจากการที่คลินิกหรือสถานเสริมความงามอ้างว่าปิดปรับปรุงหรือปิดกิจการทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถใช้บริการได้ อาทิ กรณีอาร์ฑิชัยคลินิกที่อ้างปิดปรับปรุงชั่วคราว หรือกรณีคลินิกเอสเตลล่าที่ปิดดำเนินการโดยไม่แจ้งลูกค้าล่วงหน้า จนทำให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อน เป็นต้น

 

            ทั้งนี้ ในกรณีของการซื้อขายสินค้าในออนไลน์ สภาผู้บริโภคได้ประสานความร่วมมือทั้งกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อจัดการแก้ไขปัญหา รวมทั้งยังมีการทำสื่อเผยแพร่เพื่อให้ความรู้และเตือนภัยผู้บริโภค อีกทั้งหน่วยงานประจำจังหวัดรวมถึงองค์กรสมาชิกของสภาองค์กรของผู้บริโภคลงพื้นที่ให้ความรู้ทั้งเรื่องสิทธิผู้บริโภค และการรับมือกับกลโกงออนไลน์เพื่อให้ผู้บริโภครู้เท่าทันและมีข้อมูลในการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังมีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย เป็นต้น เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค ขณะที่กรณีของเรื่องร้องทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการที่สถานเสริมความงามนั้น สภาผู้บริโภคได้ติดต่อเพื่อเจรจากับบริษัททั้งสอง โดยที่การเจรจากับคลินิกอาร์ฑิชัยมีผลสรุปออกมาได้ 2 ทาง ได้แก่ คลินิกเสนอให้ผู้บริโภคที่ยังเหลือคอร์สเสริมความงามอยู่สามารถเข้าไปใช้บริการต่อได้ ส่วนผู้บริโภคที่ไม่ต้องการใช้บริการต่อแล้วและต้องการเงินคืนสามารถใช้สิทธิทางศาลต่อสู้และเรียกร้องเงินคืนได้ โดยที่สภาผู้บริโภคจะเป็นตัวแทนผู้บริโภคในการฟ้องร้องเป็นคดีแบบกลุ่ม (Class Action) ขณะที่กรณีคลินิกเอสเตลล่าที่ปิดดำเนินการโดยไม่แจ้งลูกค้าล่วงหน้านั้น คณะอนุกรรมการด้านคดีผู้บริโภค สภาผู้บริโภคมีมติเดินหน้าฟ้องร้องเป็นคดีแบบกลุ่ม เนื่องจากเห็นว่ามีผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากและไม่สามารถเจรจาหรือไกล่เกลี่ยกับบริษัทเพื่อให้คลินิกคืนเงินให้ผู้บริโภคได้

 

            ส่วนปัญหาที่มีผู้ร้องเรียนมากเป็นอันดับที่ 2 ได้แก่ ปัญหาด้านการเงินและการธนาคาร จำนวน 2,084 กรณี หรือคิดเป็นร้อยละ 12.91 ซึ่งสัดส่วนการร้องทุกข์เข้ามานั้นน้อยกว่าในปีงบประมาณ 2565 แต่กลับเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงโควิด19 และในปัจจุบันยังคงมีผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการเคลมประกันโควิดหรือถูกปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทน สภาผู้บริโภคจึงได้ช่วยเหลือผู้เอาประกันที่ถูกปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ดังนี้ 1) ติดต่อและประสานงานกับบริษัทประกันภัยซึ่งเป็นเจ้าของกรมธรรม์เพื่อให้จ่ายค่าสินไหมให้กับผู้บริโภค แต่ทั้งนี้จากการเจรจาไกล่เกลี่ยพบว่าบางกรณีมีปัญหาเรื่องการออกใบรับรองแพทย์ สภาผู้บริโภคจึงได้แจ้งผู้เอาประกันเข้าไปแก้ไขใบรับรองแพทย์และยื่นขอเคลมค่าสินไหมอีกครั้ง 2) สภาผู้บริโภคเป็นที่ปรึกษาให้ผู้บริโภคที่ยื่นฟ้องคดีด้วยตนเอง กรณีที่บริษัทฯ ที่ไม่สามารถจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนได้ และ 3) ฟ้องคดีให้กับผู้บริโภค ในการยื่นฟ้องทิพยประกันภัยที่ขอยื่นเป็นคดีกลุ่มนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างศาลชั้นต้นนัดไต่สวนผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายและตัวแทนจากบริษัททิพยประกันภัย

 

            อันดับที่ 3 เป็นปัญหาด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 918 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 5.69 กรณีการถูกหลอกลวงจากข้อความสั้น (SMS) ที่มิจฉาชีพส่งเข้ามาบนโทรศัพท์ของผู้บริโภคและแนบลิงก์มาให้กด ยังเป็นปัญหาที่ผู้บริโภคพบไม่เว้นแต่ละวัน เมื่อเผลอกดอาจสูญเงินหรือถูกขโมยข้อส่วนตัว และประเด็นปัญหาที่ผู้บริโภคร้องทุกข์เข้ามาในด้านการสื่อสารฯ มากไม่แพ้กันคือ การถูก ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ โทรเข้ามาและอ้างว่ามาจากหน่วยงานหรือองค์กรของภาครัฐ รวมถึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงโดยใช้เทคโนโลยีปลอมเป็นเสียงของบุคคลที่รู้จักและหลอกให้โอนเงิน ทั้งนี้เนื่องจากการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับเงินคืนหรือได้รับการชดเชยเยียวยา ดังนั้น สภาผู้บริโภคจึงได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) บก.ปคบ. บช.สอท. รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อให้ติดตามและสกัดเส้นทางการเงินที่ผู้บริโภคถูกหลอกให้โอนเงิน

 

            ขณะที่เรื่องร้องทุกข์ที่เหลือนั้นจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพบสิ่งปนเปื้อนในอาหารที่เป็นซากแมลง เศษพลาสติกหนังยาง หรือของแปลกปลอมอื่น ๆ อีกทั้งยังพบประเด็นที่ไม่สามารถใช้สิทธิรักษาสุขภาพได้หรือการถูกเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลทั้งที่โรงพยาบาลไม่มีสิทธิในการเรียกเก็บเพิ่มเติม รวมถึงปัญหาด้านการขนส่งและยานพาหนะที่ผู้บริโภคมักพบกับปัญหาค่าโดยสาร ถูกให้นั่งเบาะเสริม คนขับพูดจาไม่สุภาพ หรือขับรถเร็วเกินกำหนด นอกจากนี้ผู้บริโภคยังพบกับปัญหาในประเด็นความไม่เป็นธรรมในการทำสัญญาซื้อขายบ้านหรืออาคารชุดต่าง ๆ ปัญหาบ้านร้าว หรือแม้แต่ปัญหาการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ในพื้นที่ชุมชน

 

            หากมองภาพรวมของการช่วยเหลือผู้บริโภคของสภาผู้บริโภคในการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้บริโภคได้ช่วยเหลือผู้บริโภคเป็นรายบุคคลและกลุ่มเฉพาะที่พบปัญหาในลักษณะเดียวกัน ผ่านการรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคในทุกช่องทางโดยการให้คำปรึกษา คำแนะนำ การช่วยเจรจาและไกล่เกลี่ย รวมถึงหากไม่สามารถตกลงได้จะเดินหน้าฟ้องร้องคดีแทนและสนับสนุนการฟ้องร้องคดีให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้สภาผู้บริโภคเดินหน้าคุ้มครองผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องโดยเน้นว่ากระบวนการเอาเปรียบต้องยุติเร็วที่สุดและผู้บริโภคต้องสูญเสียน้อยที่สุด

 

            นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าสภาผู้บริโภคยังได้ดำเนินการที่ทำให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคที่ครอบคลุมประชาชนทั้งประเทศในหลายกรณี เนื่่องจากการแก้ไขความเสียหาย หรือการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นทำให้ผู้บริโภคทั้งประเทศได้รับการคุ้มครองผ่านการจัดทำข้อเสนอแนะ ข้อเสนอเชิงนโยบาย และมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ในปีงบประมาณ 2566 สภาผู้บริโภคได้จัดทำนโยบายระดับจังหวัดและระดับประเทศ รวม 36 เรื่อง แบ่งเป็นนโยบายระดับประเทศ 25 เรื่อง และนโยบายระดับจังหวัด 9 เรื่อง

 

            เมื่อลงรายละเอียดนโยบายระดับประเทศ 25 ข้อ แบ่งได้เป็นข้อเสนอแนะ 10 ข้อ เช่น เรียกร้องให้สถานพยาบาลแสดงรายละเอียดต้นทุนค่าบริการรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP) เพื่อนำไปประเมินกลไกการควบคุมราคาค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน กรณี UCEP ให้มีความเหมาะสมโดยคำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคมากขึ้น รวมถึงการแก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 65 พ.ศ. 2558 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพื่อปรับปรุงกฎหมายเรื่องควบคุมอาคารให้สอดคล้องกับบริบทและลักษณะทางกายภาพของเมืองมากขึ้น เป็นต้น ข้อเสนอเชิงนโยบาย 8 ข้อ เช่น การยกระดับสิทธิประโยชน์ด้านบริการทันตกรรมของผู้ประกันตน โดยเสนอให้ปรับสิทธิประโยชน์ให้ทัดเทียมกับสิทธิบัตรทอง รวมไปถึงการจัดตั้งกองทุนบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ ที่เสนอให้รัฐบาลจัดสรรเงินบำนาญถ้วนหน้า เดือนละ 3,000 บาทให้กับผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นต้น มาตรการคุ้มครองผู้บริโภค 7 มาตรการ เช่น การควบคุมการใช้กัญชา – กัญชงในอาหาร การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย สินค้าออนไลน์ เป็นต้น

 

            ส่วนข้อเสนอแนะนโยบายระดับจังหวัด 9 ข้อ แบ่งเป็น ข้อเสนอแนะ 1 ข้อ ได้แก่ เรื่องการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐโดยเฉพาะสิทธิการรักษาพยาบาลเมื่ออยู่ระหว่างการรับรองสถานะชาติไทย ของหน่วยงานประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 3 ข้อ เช่น การแก้ไขปัญหาตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มาตรการคุ้มครองผู้บริโภค 5 มาตรการ เช่น การแก้ไขปัญหาการเลี่ยงจัดสรรที่ดินของผู้ประกอบการธุรกิจ บ้านจัดสรรในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รณรงค์เรื่องการมีถุงลมนิรภัยที่ปลอดภัย ของหน่วยงานจังหวัดพะเยา เป็นต้น

 

            ปัจจุบันข้อเสนอแนะ ข้อเสนอเชิงนโยบาย และมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้เสนอไปในปีงบประมาณ 2566 ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 9 ประเด็น ดังนี้ 1) มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการนำพืชกัญชา และกัญชงมาเป็นวัตถุดิบในอาหาร 2) การเร่งยุติการจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซีดาฟในแพลตฟอร์มออนไลน์ 3) ข้อเสนอให้ผู้ประกอบการสถานพยาบาลแสดงรายละเอียดต้นทุนค่ารักษาบริการสิทธิ UCEP ในงบการเงิน 4) การออกใบอนุญาตติดตั้งตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในเขตกรุงเทพมหานคร 5) การแก้ไขปัญหากรณีการขายทุเรียนอ่อนในจังหวัดกาญจนบุรี 6) การจำหน่ายยาในตลาดนัด ร้านค้า และท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม 7) ปัญหาการเลี่ยงขอจัดสรรที่ดินบ้านจัดสรร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 8) การรณรงค์เรื่องถุงลมนิรภัยไม่ปลอดภัย ในจังหวัดพะเยา และ 9) การใช้สารเคมีที่ปลอดภัย ในจังหวัดลำพูน

 

            ทั้งนี้ สภาผู้บริโภคยังคังเดินหน้าเสนอแนะ ผลักดันนโยบาย และมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการผลักดันเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและแรงผลักดันจากประชาชนทุกคนในการกระตุ้นและกดดันให้รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบายและยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สภาองค์กรของผู้บริโภค

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ภาครัฐ-เอกชน จับมือสืบสานวัฒนธรรม ต่อยอดสู่สากลอย่างยั่งยืน

 
เมื่อค่ำวันที่ (22 พฤศจิกายน 2566) นายวิลาศ เตโช ผู้อำนวยการสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน พร้อมด้วย รศ.ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายยุทธการ ตั้งปัญญาศักดิ์ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย นางนงเยาว์ เนตรประสิทธิ์ นายกสมาคมสหพันธ์การท่องเที่ยวภาคเหนือ จ.เชียงราย นางสาวไอร์ฬดา กฤตยา รักษาการแทนนายกสมาคมอัตลักษณ์ผ้าไทยล้านนา นางสาวพิไลวรรณ พิมพ์ภูลาด ผู้ก่อตั้งสถาบันนานาชาติพลี นางศรีบังอร ตุงคศิริวัฒน์ นายกสมาคมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวชาติพันธุ์จังหวัดเชียงราย และ นางดวงสมร ไชยรัตน์ รักษาการแทนนายกสมาคมส่งเสริมบริการสุขภาพเชียงใหม่ ร่วมกันลงนามความร่วมมือ “สืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พัฒนาต่อยอดสู่สากลอย่างยั่งยืน” ณ ห้องประชุม โรงแรมซีแอนด์ซี ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยมีสักขีพยานเข้าร่วมจำนวนมาก
 
 
โดยนายวิลาศ เตโช ผู้อำนวยการสมาคม กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้ จะเป็นอีกก้าว ของการร่วมมือกัน ในการขับเคลื่อน โครงการเชียงรายเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang Rai Wellness City) สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน หรือ PDA จะขอเป็นศูนย์กลางประสานงาน กับองค์กรภาคีเครือข่าย ด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้การฝึกอบรม เพิ่มทักษะ (Skills) การพัฒนาต่อยอด เพิ่มศักยภาพฝีมือ สร้างอาชีพ ด้านอาหารไทย นวดไทย การถักทอผ้าการออกแบบและการตัดเย็บผ้าพื้นเมือง รูปแบบฝึกเตรียมพร้อมเข้าทำงาน ตามมาตรฐานฝีมือแรงงานของไทยและ ต่างประเทศ ภายใต้แนวคิด Hard Skills เพิ่มทักษะหรือความสามารถที่ใช้ในการทำงาน ซึ่งสามารถวัดประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม Soft Skills เพิ่มทักษะ หรือความสามารถของบุคลากร ด้านความคิดสร้างสรรค์การเป็นผู้นำ การบริหารเวลามนุษย์สัมพันธ์ การปรับตัว การควบคุมอารมณ์เป็นต้น และเป็น Soft Power การขับเคลื่อนโครงการเชียงรายเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang Rai Wellness City)
 
 
“สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน หรือ PDA เป็นองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์จัดตั้งขึ้น เมื่อปี 2517 เพื่อดำเนินงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตชนบทและเขตเมือง ผ่านการดำเนินงานโครงการต่างๆ มามากกว่า 300 โครงการอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม (social enterprise) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตชนบทและเขตเมือง พร้อมได้จัดตั้ง C&C HEALTH NORT เป็นศูนย์กลางประสานงาน กับองค์กรภาคีเครือข่าย ต่างๆ และยังครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ มิติการบริหารจัดการ, มิติสังคม-เศรษฐกิจ, มิติวัฒนธรรม และมิติสิ่งแวดล้อม สะท้อนจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามเป้าหมาย Sustainable Tourism Goals สร้างระบบนิเวศด้านการท่องเที่ยววิถีใหม่ ที่สามารถรองรับ นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้อย่างมั่นคงและสมดุลในทุกมิติและสนอง นโยบายโครงการระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสของประเทศไทย การขับเคลื่อนสุขภาพให้เกิด “For All Well-Being” โดยคำนึงถึงขอบเขตปัจจัยด้านบุคคล สังคม เศรษฐกิจ ประชากร กระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ส่งออกผลิตภัณฑ์สปำ สมุนไพรไทยและบริการสุขภาพไปยังตลาดโลก โดยพีดีเอ และสมาพันธ์โลกเวลเนสและนวดไทย ซึ่งประกอบด้วยสมาชิดกว่า 50 ประเทศ จะเป็นกำลังสำคัญในการเชื่อมโยงด้านการส่งเสริม การจัดกิจกรรม การตลาดและประชาสัมพันธ์กระตุ้นการรับรู้ในระดับสากลทั่วโลก”
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

น้อมนำพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด พัฒนาผ้าไทยสู่ความยั่งยืน

 

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย นำสมาชิกแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย และหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงานโรงทอผ้า โรงย้อมผ้า และชมผลิตผลจากการน้อมนำพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด พัฒนาผ้าไทยตามแนวพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการส่งเสริมการสวมใส่ผ้าไทย ตามแนวคิดการขับเคลื่อนการพัฒนาแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ (BCG) และพัฒนาต่อยอดลายผ้าพระราชทาน และผ้าอัตลักษณ์จังหวัดเชียงราย

 

นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานฯ ในครั้งนี้ เพื่อให้สมาชิกแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย ได้เรียนรู้ เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด ขยายผลการขับเคลื่อนการพัฒนาแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ (BCG) ที่เน้นการลดการใช้ทรัพยากร หรือใช้แล้วต้องปลูกทดแทน ใช้วัสดุที่คุ้นเคยอย่างคุ้มค่า โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาผ้าไทย ซึ่งจังหวัดเชียงราย ได้มีการพัฒนากลุ่มทอผ้าในจังหวัดเชียงราย ให้มีเทคนิคในการทอผ้า การพัฒนาผ้าไทยไปในทิศทางใหม่ เกี่ยวกับโทนสีรวมถึงการใช้วัสดุจากธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมี อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการปลูกพืชวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผ้า และปลูกพืชสมุนไพรที่ใช้ในการย้อมสี ให้หันมาใช้ประโยชน์จากทุนธรรมชาติ ประเภทพืชให้สีทดแทน ด้วยการย้อมวัสดุสีที่มีในท้องถิ่น เป็นการสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สร้าง Soft Power เอกลักษณ์ผ้าไทย สวมใส่ได้ทุกที่ ทุกโอกาส
 
 
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมชูปถัมภ์ มุ่งมั่นดำเนินงานการจัดงาน (Events) ตามหลักความยั่งยืน (Sustainability) เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจ โดยพัฒนาให้คนเข้าถึงและดูแลทุนธรรมชาติ ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม ส่วนด้านสังคม ได้ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียม แบ่งปันความรู้ สานต่อแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม มูลนิธิฯ มุ่งขับเคลื่อนและส่งเสริมให้เกิดการจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วม โดยในครั้งนี้ ได้จัดวิทยากร นำชม และบรรยายให้ความรู้ทั้งส่วนของโรงทอผ้า โรงย้อมผ้า และโซนที่มีการจัดการขยะอย่างเป็นระบบอีกด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

เชียงใหม่-เชียงราย ติดมหาลัย มีนักศึกษามากสุดในประเทศ ปี 66

 
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูล สถิติจำนวนนักศึกษารวม ทุกชั้นปี ทุกระดับการศึกษา ที่มีสถานภาพกำลังศึกษาและรักษาสถานภาพ โดยสรุปจากข้อมูลรายบุคคลที่สถาบันอุดมศึกษาจัดส่ง มายังสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ข้อมูลปีการศึกษา 2566 ภาคการเรียนที่ 1 กำหนดการเก็บข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤษจิกายน 2566 จากการมีจำนวนสถาบัน ที่ส่งข้อมูลให้อว. แบ่งเป็น รัฐ 83 แห่ง จัดส่งแล้ว 54 แห่ง  ยังไม่จัดส่ง 29 แห่ง  เอกชน 71 แห่ง ส่งแล้ว 56 แห่ง นอกสังกัด 18 แห่ง ส่งแล้ว 9 แห่ง
 
โดยยังมีจำนวนสถาบัน ที่ส่งข้อมูลให้อว. แบ่งเป็น รัฐ 83 แห่ง จัดส่งแล้ว 54 แห่ง เอกชน 71 แห่ง ส่งแล้ว 56 แห่ง นอกสังกัด 18 แห่ง ส่งแล้ว 9 แห่งมีรายละเอียดดังนี้ สถาบันอุดมศึกษารัฐที่ยังไม่ได้ส่งข้อมูล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยขอนแก่น,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) รัตนโกสินทร์, มทร.อีสาน,มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) จันทรเกษม,มรภ.ชัยภูมิ,มรภ.เทพสตรี,มรภ.ธนบุรี,มรภ.นครราชสีมา,มรภ.นครศรีธรรมราช,มรภ.บุรีรัมย์,มรภ.พิบูลสงคราม,มรภ.มหาสารคาม,มรภ.ร้อยเอ็ด,มรภ.วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์,มรภ.ศรีสะเกษ,มรภ.สงขลา,มรภ.สุราษฏร์ธานี,มรภ.สุรินทร์,มรภ.อุดรธานี,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
 
10 อันดับจำนวนนักศึกษามากสุดในสถาบันอุดมศึกษารัฐ
  1. มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีนักศึกษารวม 336,761 คน
  2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีนักศึกษารวม 68,562 คน
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีนักศึกษารวม  51,360 คน
  4. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  มีนักศึกษารวม  43,082 คน
  5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนักศึกษารวม 42,595 คน
  6. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มีนักศึกษารวม 38,143 คน
  7. มหาวิทยาลัยมหิดล  มีนักศึกษารวม  29,674 คน
  8. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีนักศึกษารวม 29,410 คน
  9. มหาวิทยาลัยศิลปากร  มีนักศึกษารวม  29,402 คน
  10. มหาวิทยาลัยบูรพา มีนักศึกษารวม 27,479 คน
10 อันดับจำนวนนักศึกษามากสุดในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  1. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีนักศึกษารวม 51,360 คน
  2. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีนักศึกษารวม 16,443 คน
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีนักศึกษารวม 15,624 คน
  4. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีนักศึกษารวม 12,715 คน
  5. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีนักศึกษารวม 10,675 คน
  6. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มีนักศึกษารวม 9,864 คน
  7. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีนักศึกษารวม 9,684 คน
  8. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีนักศึกษารวม 9,639 คน
  9. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีนักศึกษารวม 8,678 คน
  10. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีนักศึกษารวม 7,486 คน
10 อันดับจำนวนนึกศึกษามากสุดในมหาวิทยาลัยเอกชน
  1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีนักศึกษารวม 44,133 คน
  2. มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีนักศึกษารวม  34,530 คน
  3. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีนักศึกษารวม  17,169 คน
  4. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มีนักศึกษารวม 13,925 คน
  5. มหาวิทยาลัยสยาม มีนักศึกษารวม 9,565 คน
  6. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีนักศึกษารวม 8,326 คน
  7. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มีนักศึกษารวม 7,995 คน
  8. มหาวิทยาลัยเกริก มีนักศึกษารวม 7,843 คน
  9. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีนักศึกษารวม 7,120 คน
  10. มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต มีนักศึกษารวม  6,145 คน

สามารถติดตามรายละเอียดที่ : https://info.mhesi.go.th/homestat_std.php

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI FEATURED NEWS

ชาวประมงเชียงของ จับกระเบนแม่น้ำโขง 1 ใน 96 ชนิด พันธุ์ปลาหายาก ที่ยังคงมีในเชียงราย

 
เช้าวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ทางสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต (LRA) ได้รับแจ้งจากนักวิจัยชาวบ้าน ชาวประมงแม่น้ำโขงดอนที่ หมู่ที่ 3 บ้านดอนที่ ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ว่าได้จับปลากระเบนแม่น้ำโขงหรือกระเบนลาว ขนาด 1.7 กิโลกรัมปลากระเบนลาว หรือ ปลากระเบนแม่น้ำโขง ชาวบ้านเรียกว่าปลาฝาไม มีชื่ออังกฤษเรียกว่า Mekong stingray, Mekongและ freshwater stingray เป็นปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง ปลาฝาไมที่ชาวบ้านจับได้มีรูปร่างส่วนหัวออกเป็นรูปทรงห้าเหลี่ยม ตาโต หางมีริ้วหนังบาง ๆ โคนหางมีเงี่ยงแหลมมีพิษ 2 ชิ้น ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลนวล กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ลำตัวด้านล่างสีขาว และมีปื้นสีเหลืองอ่อนหรือส้มปน น้ำหนักมากที่สุดชาวบ้านดอนที่เคยจับได้ประมาณเกือบ 30 กิโลกรัม
 
 
ปลาฝาไม จากงานวิจัยชาวบ้านองค์ความรู้พันธุ์ปลาแม่น้ำโขงในปีพ.ศ. 2547 เป็น 1 ในพันธุ์ปลาหายากในจำนวนพันธุ์ปลาจาก 96 ชนิด ในปีพ.ศ. 2565 ทางสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตร่วมกับกลุ่มรักษ์เชียงของ สถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง ได้ทำงานวิจัยร่วมกับชุมชนในงานวิจัยชาวบ้านแม่น้ำโขงสายน้ำที่เปลี่ยนแปลง พื้นที่จังหวัดเชียงรายพบพันธุ์ปลา 100 ชนิดเป็นพันธุ์ปลาท้องถิ่น 90 ชนิด จากการเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขงทั้งจากการสร้างเขื่อน การระเบิดเกาะแก่ง การเดินเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ได้ส่งผลให้ระดับน้ำขึ้นลงผิดปกติ ระบบนิเวศน์น้ำโขงเปลี่ยนรูป ส่งผลทำให้ปลาหลายชนิดลดจำนวนลงทั้งชนิดพันธุ์และปริมาณ จากการจับได้ของชาวประมง ปลาลดลงส่งผลโดยตรงต่อวิถีชีวิตชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง
 
 
สถานการณ์พันธุ์ปลาในแม่น้ำโขง โดยเฉพาะปลาฝาไม หรือกระเบนแม่น้ำโขง สถานภาพใกล้สูญพันธุ์ จากสถิติการจับได้น้อยมาก หลายชุมชนไม่เคยจับได้อีกเลย แต่ในการทำวิจัยชาวบ้านที่ผ่านมาได้สร้างความแปลกใจให้กับทีมงานผู้ช่วยนักวิจัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากชุมชนบ้านดอนที่ ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ยังคงมีการจับได้ปลากระเบนปีละไม่ต่ำกว่า 30 ตัว จับได้ทั้งลูกปลาและปลาขนาดใหญ่น้ำหนักมากถึง 31 กิโลกรัม ทางตัวแทนชุมชนบ้านดอนที่ได้เข้ามาทำการศึกษาวิจัยชาวบ้าน เป็นคณะทำงานนักวิจัยชาวบ้านในการศึกษาเรื่องสถานการณ์ของพันธุ์ปลา ทำให้มีการบันทึกสถิติปลาฝาไมหรือปลากระเบนยังคงมีการจับได้ที่แม่น้ำโขงจังหวัดเชียงราย
นายสมศักดิ์ นันทรักษ์ นักวิจัยชาวบ้าน บ้านดอนที่ ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ได้เล่าถึงปลากระเบนที่ชุมชนจับได้ว่า
“ปลาฝาไม ในแม่น้ำโขง ตัวนี้จับได้บริเวณตอนมะเต้า เป็นระบบนิเวศน์คกมีน้ำวน ประธานกลุ่มประมงดอนที่พ่อวันดีจับได้เมื่อเช้านี้ ตัวประมาณ 1.7 กิโลกรัม โดยการใส่มองยังหรือตาข่ายที่ดักไว้ ปลาฝาไมได้เอาเงี่ยงของมันมาพันติดกับตาข่ายมอง ช่วงนี้เริ่มจับปลาฝาไมได้เพราะน้ำเริ่มลดใหม่ๆ ประมาณเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม ปีนี้ชุมชนเราจับได้ 4 ตัวแล้วได้บริเวณโซนใกล้ๆกัน ตัวแรก 0.5 กิโลกรัม ตัวที่สอง 14 กิโลกรัม และตัวที่สาม 16 กิโลกรัม ปลาฝาไม มีราคาแพงกิโลกรัมละ 400 บาท การจับปลาฝาไมมันจับได้น้อยมาก นอกจากเนื้อเป็นที่นิยมแล้ว หางปลาผาไมชุมชนเชื่อว่าสามารถนำไปใช้ไล่ผีกะได้ หางปลาขายหางละ 200 บาท ส่วนใหญ่ใครได้ก็จะเก็บไว้”
 
 
ระบบนิเวศน์พื้นที่หาปลาของบ้านดอนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่แก่งคอนผีหลง เป็นระบบนิเวศน์เฉพาะ มีลักษณะเป็นหมู่แก่งหินขนาดเล็ก ใหญ่ และดอนทรายเป็นจำนวนมาก ช่วงความยาวประมาณ 1.6 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่บ้านดอนที่ ไปยังบ้านเมืองกาญจน์ ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีระบบนิเวศย่อยตามความรู้ท้องถิ่นแบ่งเป็น 11 ระบบนิเวศน์ คือ ผา คก ดอน หาด ร้อง หลง หนอง แจ๋ม น้ำห้วย ริมฝั่ง และกว๊าน ชุมชนเชื่อว่าในพื้นที่คอนผีหลงเป็นที่อยู่อาศัยสำคัญของปลาในแม่น้ำโขงจังหวัดเชียงราย ทำให้บ้านดอนที่กลายเป็นแหล่งหาปลาแม่น้ำโขงที่สำคัญ องค์ความรู้การจับปลากระเบนจะใช้เครื่องมืออยู่ 3 ชนิด ได้แก่ เบ็ดระแวง 
 
 
โดยการแขวนเบ็ดขอเปล่าไว้ใต้ผิวน้ำนิ่งที่เป็นดินโคลน การไหลมองหรือตาข่าย ปลากระเบิดจะติดมองโดยเงี่ยงปลากระเบนจะพันกับตาข่ายมอง และวิธีที่สาม การใส่เบ็ดค่าว เชือกยาวไว้ใต้น้ำมีเหยื่อล่อเป็นปลา ไส้เดือน หอย เป็นต้น ชุมชนจับปลากระเบนได้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ช่วงน้ำลด
 
 
ในวันที่ 6 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมาทางสมาคมได้ประสานงานกับทางนักวิชาการ รศ.ดร.มัสลิน โอสถานันต์กุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ รศ.ดร.ฉัตรมงคล สุวรรณภูมิ คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ทำการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรม (DNA) จากซากปลากระเบน และเก็บตัวอย่างน้ำ เมือกปลา เพื่อเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมจากน้ำ (EDNA) ไว้เป็นต้นแบบสำหรับการศึกษาสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยของปลากระเบนในระบบนิเวศน์แม่น้ำโขง และทางสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตได้ดำเนินโครงการเสริมศักยภาพชุมด้วยองค์ความรู้ท้องถิ่นและวิทยาศาสตร์ในการคุ้มครองถิ่นที่อยู่ปลากระเบนน้ำโขง พื้นที่คอนผีหลงและแม่น้ำโขงจังหวัดเชียงราย เพื่อ ศึกษาองค์ความรู้ปลากระเบน เสริมศักยภาพการตั้งรับปรับตัวของชาวประมงที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง โดยการสร้างมูลค่าจากปลาในแม่น้ำโขง เพื่อเพาะขยายพันธุ์เพื่อสร้างรายได้ รวมถึงการสร้างความร่วมมือกกับทางผู้เชี่ยวชาญด้านประมงในจังหวัดเชียงรายต่อไป
รูปภาพจากกลุ่มประมงพื้นบ้านดอนที่
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE WORLD PULSE

นับถอยหลัง Thailand Biennale 2023 พร้อมโชว์ผลงานสร้างสรรค์ ให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

 

 

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการแถลงข่าวเปิดตัว 20 ศิลปิน ชุดสุดท้ายของ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ และภัณฑารักษ์ พร้อมด้วยศิลปินและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ โรงแรมแสน จังหวัดเชียงราย

 

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผย การจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ได้คัดเลือกศิลปินจากทุกทวีปทั่วโลก 21 ประเทศ จำนวน 60 คน เข้าร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ในวันนี้เป็นการเปิดตัวศิลปิน 20 คนสุดท้าย ซึ่งจากการติดตามความก้าวหน้าของการเตรียมงาน และการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าการจัดงานมีความพร้อมอย่างมาก ทั้งในด้านสถานที่การจัดงาน และการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินที่เริ่มสร้างผลงานไปตามแผนงาน พร้อมที่จะอวดผลงานแก่ทุกคนตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567 นี้ 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อไปว่า จากแนวคิดหลักของ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ซึ่งเกิดมาจากการลงพื้นที่ศึกษา และค้นหาบริบทของเชียงรายมีข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธรูปปางเปิดโลก ที่ประดิษฐาน ณ วัดป่าสัก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพหุวัฒนธรรม ที่แสดงถึงอิทธิพลจากวัฒนธรรมหลากหลายในเอเชียจนเป็นที่มาของแนวคิด The Open World หรือ เปิดโลก ในครั้งนี้ เป็นจุดสำคัญที่เราจะนำเรื่องราวทางศิลปวัฒนธรรมของไทย สอดแทรกไปกับการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน ส่งเสริมให้จังหวัดเชียงรายกลายเป็น‘เมืองศิลปะระดับโลก’และเป็นจุดหมายที่นักเดินทางทั่วโลกอยากมาเยี่ยมชมสร้างการบูรณาการ  ระหว่างศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ในการพัฒนาสินค้าและท่องเที่ยวให้ชุมชนเกิดรายได้ผ่านการจัดกิจกรรมในรูปแบบของเทศกาลศิลปะนานาชาติ เป็นการตอบสนองนโยบายประเทศไทย ๔.๐ ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของวธ. และการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วย Soft power ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก ดังนั้นตลอดระยะเวลา 5 เดือนของการจัดงาน จังหวัดเชียงรายจะเต็มไปด้วยผลงานศิลปะจากผลงานหลักของ 60 ศิลปิน กิจกรรมคู่ขนาน อาทิ การแสดงดนตรีชาติพันธุ์ ศิลปะการแสดง การฉายภาพยนตร์ กิจกรรมการศึกษา พาวิลเลี่ยน 13 พาวิลเลี่ยน และการเปิดบ้านของศิลปินเชียงรายอีกกว่า 80 หลัง วันนี้จึงเป็นการนับถอยหลังเข้าสู่การจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023  ขอเชิญชวนชาวไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปิดโลกแห่งการรับรู้ทางศิลปะ เปิดประเทศ และเปิดเมืองเชียงราย เชื่อมโยงศิลปะสู่วิถีชีวิต ร่วมกันบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ครั้งนี้ และร่วมเป็นเจ้าภาพที่ดีไปพร้อม ๆ กับพี่น้องชาวเชียงราย 

 

 

ด้าน นายพุฒิพงศ์  ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ในฐานะเจ้าบ้าน จังหวัดเชียงราย  ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการจัดงานในครั้งนี้ทุก ๆ กิจกรรม โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อาทิ ศิลปินเชียงราย ขัวศิลปะ องค์การบริหารส่วนตำบล หอการค้า ห้างร้าน มูลนิธิ สมาคมต่าง ๆ จนทำให้ขณะนี้พร้อมต้อนรับคณะศิลปิน และนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาชมงานในครั้งนี้ ในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสถานที่จัดงานความพร้อมของผู้คนชุมชนโดยมั่นใจว่าหากได้มาเยือนจะหลงรักเชียงราย เพราะนอกจากความสวยงามของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น น้ำตก ป่าไม้ วัดวาอาราม แหล่งประวัติศาสตร์ รวมถึงวิถีชีวิต จังหวัดเชียงราย  เป็นเมืองสำคัญที่มีความอุดมสมบูรณ์มีศักยภาพด้านทุนทางวัฒนธรรม ที่มีประวัติศาสตร์ อันยาวนาน งดงามด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนา มีสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่และเป็นเอกลักษณ์ มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และที่น่าภูมิใจยิ่ง คือเป็นถิ่นของปราชญ์ของแผ่นดิน และศิลปินหลากสาขา เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ล้วนได้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีคุณค่าให้ปรากฏอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เชียงรายได้รับการยอมรับในฐานะ “เมืองศิลปะ” เมืองศิลปิน ถิ่นทองของศิลปะร่วมสมัยอย่างแท้จริง

 

 

ด้านผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ (Artistic Director) คุณกฤติยา กาวีวงศ์ และภัณฑารักษ์ (Curators)  คุณอังกฤษ อัจฉริยโสภณ และคุณมนุพร เหลืองอร่าม เน้นย้ำถึงที่มาของแนวคิด The Open World หรือ เปิดโลก ว่า เกิดขึ้นจากการลงพื้นที่และศึกษาข้อมูลของจังหวัดเชียงรายได้พบข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธรูปปางเปิดโลก   ซึ่งประดิษฐาน ณ วัดป่าสัก สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๓๘ ในสมัยพญาแสนภู ผู้สร้างเมืองเชียงแสนซึ่งเป็นหลานของพญามังราย โดยพุทธลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปปางเปิดโลก ประทับยืนอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ทั้งสองข้างห้อยลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองไปข้างหน้า เป็นกิริยาทรงเปิดโลกทั้ง 3 ได้แก่ เทวโลก ยมโลก และมนุษยโลก ให้มองเห็นถึงกันหมดด้วยพุทธานุภาพ แสดงให้เห็นถึงปัญญาและการตื่นรู้ จึงกล่าวได้ว่า “เปิดโลก” หรือ The Open world  มีความหมายที่ตรงไปตรงมา แต่สามารถตีความได้แบบปลายเปิด ที่สื่อถึงการเปิดโลกการรับรู้ทางศิลปะที่เชื่อมโยงความจริงในสังคมและนำไปสู่การตั้งคำถามด้วยผลงานศิลปะร่วมสมัยว่าเราจะสามารถจินตนาการถึงความเป็นไปได้ในอนาคตที่ดีกว่าอีกครั้งได้หรือไม่

 

นอกจากนี้“เปิดโลก” หรือ The Open World ยังหมายถึง ความสำคัญของการเรียนรู้จากอดีต ทั้งในแง่มุมทางประวัติศาสตร์อันซับซ้อนของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของประเพณีและมรดกทางวัฒนธรรมของล้านนา ด้านสถาปัตยกรรม วัฒนธรรมและศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องเล่าความเชื่อและมิติอันหลากหลายทางวัฒนธรรม ตลอดจนระบบนิเวศของเมืองในปัจจุบัน โดยเฉพาะชุมชนศิลปินเชียงรายซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี โดยมีอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี และอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติผู้มีชื่อเสียงระดับโลก เป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจที่สำคัญในการกลับมาสร้างสรรค์บ้านเกิดเมืองนอนให้เข้มแข็งและมีศักยภาพความพร้อมในมิติของการเป็นพื้นที่จัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 อีกด้วย

 

ส่วนพาวิลเลี่ยน ซึ่งถือว่าเป็นจุดสำคัญที่พัฒนาเพิ่มเติมจากการจัดงาน 2 ครั้งที่ผ่านมาThailand Biennale, Chiang Rai 2023 มีการแสดงผลงานของพาวิลเลี่ยนที่เข้าร่วม 13 พาวิลเลี่ยน 

1.กลุ่มศิลปินแม่ลาว 

2.กลุ่มศิลปินสีน้ำนานาชาติ (ขัวศิลปะ) 

3.กลุ่มสล่าเมืองพาน 

4.เดอะคาโนปี้ โปรเจกต์  

5.โปรดักชัน โซเมีย 

6.พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม 

7.พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่วอร์ซอร์ 

8.พุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 

9.แม่ญิงอาร์ตติสคอลเลคทีฟ 

10.รูบาน่า 

11.ศาลาสล่าขิ่น 

12.Korean pavilion 

และ13.PLUVIOPHILE  

 

สำหรับ 20 ศิลปินชุดสุดท้ายใน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ได้แก่ 1. อัลมากุล เมนลิบาเยวา (อัลมาตี/เบอร์ลิน) 2. อริญชย์ รุ่งแจ้ง (กรุงเทพฯ) 3. อัททา ความิ (อักกรา/ลัฟบะระ) 4. ชาไคอา บุคเคอร์ (นิวยอร์ก) 5. เฉิง ซินห้าว (คุนหมิง) 6. กรกฤต อรุณานนท์ชัย (กรุงเทพฯ/นิวยอร์ก) 7. วุธ ลีโน (พนมเปญ) 8. มาเรีย เทเรซา อัลเวซ (เบอร์ลิน/เนเปิลส์) 9. พาโบล บาร์โธโลมิว (นิวเดลี) 10. ปิแอร์ ฮุยจ์ (นิวยอร์ก/ซันดิเอโก) 11. ซาราห์ ซี (นิวยอร์ก) 12. ชิมาบุกุ (นาฮะ) 13. สมลักษณ์ ปันติบุญ (เชียงราย) 4 ทรงเดช ทิพย์ทอง (เชียงราย) 15. ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ (เชียงใหม่) 16. โทมัส ซาราเซโน (เบอร์ลิน) 17. เซอริน เชอร์ปา (แคลิฟอร์เนีย/กาฐมาณฑุ) 18. อุบัติสัตย์ (เชียงใหม่) 19. หวัง เหวิน จื้อ (เจียอี้) 20. ซิน หลิว (ลอนดอน)

 

ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thailandbiennale.org Facebook https://www.facebook.com/thailandbiennale/ และสายด่วนวัฒนธรรม 1765

 

Countdown to the Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 and reveal the final 20 artists who will showcase their creative works aiming to gain global recognition. The exhibition will be held on December 9, 2023 until April 30, 2024.

On November 19, 2023, H.E. Mr. Sermsak Pongpanit, Minister of Culture, presided over the press conference on the final 20 artists of the Thailand Biennale, Chiang Rai 2023. This event was attended by Mrs. Yupha Taweewattanakitborvon, Permanent Secretary for Culture, Mr. Puttipong Sirimart, the Governor of Chiang Rai Province, Mrs. Khunying Patama Leeswadtraku, the Chairperson of the Contemporary Art Promotion Fund, Mr. Prasop
Riang-ngoen, the Director-General of the Office of Contemporary Art and Culture, as well as executives from the Ministry of Culture, artistic directors, curators, artists and representatives from relevant agencies at Sann Hotel, Chiang Rai.

The Minister of Culture said that the 60 artists from 21countries were selected from around the world in order to create their own artworks. Following the on-site visits last week, the festival is making good progress and the venue is well-prepared.  The artists have been actively working on their creations according to the schedule. They are ready to showcase their works to the public from December 9, 2023, to April 30, 2024.

The Minister of Culture stated that the core concept of Thailand Biennale, Chiang Rai 2023, originated from on-site studies and exploration of Chiang Rai’s context, which reveals an information specifically about the Open World Posture Buddha image, located at Wat Pa Sak, which symbolizes the multicultural influence from various Asian cultures and serves as the inspiration for “The Open World” theme. In this edition, it is a crucial point to integrate the cultural narrative of Thailand with the artistic creations of the participating artists, promoting Chiang Rai Province to become a ‘world-class art city’ and a destination that global travelers would want to visit, fostering integration between art and local culture with innovative creativity. This initiative aims to develop products and tourism, generating income for the community through the organization of international art festivals, aligning with Thailand 4.0 policy to promote the creative industry of the Ministry and drive Thailand forward with soft power, making it a global focal point. Therefore, during the 5-month event period, Chiang Rai Province will be filled with artworks from the primary creations of 60 artists, along with collateral events and activities such as traditional music performances, performing arts, film screenings, educational activities, as well as 13 Pavilions, and more than 80 local artists’ open houses. Today marks the countdown to the international contemporary art festival, Thailand Biennale, Chiang Rai 2023. We would like to invite Thai citizens to be part of this event, opening the world to artistic perception, showcasing the country, and connecting Chiang Rai, while linking art to lifestyle. Together, let’s make this a historical event and be good hosts alongside the people of Chiang Rai.

Mr. Puttipong Sirimart, the Governor of Chiang Rai Province states that as the host province, Chiang Rai has prepared thoroughly for the event with the collaboration of various sectors. This includes local artists, cultural organizations, sub-district administrative organizations, chambers of commerce, foundations, and various associations. The community made all-round preparations and is currently ready to welcome artists and tourists in every aspect. The governor is confident that visitors will fall in love with Chiang Rai, which, aside from its nature’s beauty, historical sites and the local way of life, is a city with cultural richness and potential. Chiang Rai has a long history with a diverse Lanna cultural heritage unique architecture, various ethnic groups, and a reputation as a hub for wisdom and a diverse range of artists. Chiang Rai has actively contributed to the continuous creation of valuable artworks, gaining recognition worldwide. Chiang Rai has been recognized as the “City of Art,” a genuine city of contemporary artists, and a true artistic hub.

Miss Gridthiya Gaweewong, Artistic Director, Mr. Angkrit Ajchariyasophon, Curators and Miss Manuporn Luengaram emphasize the origin of the concept of “The Open World”, stating that it emerged from on-site exploration and the study of information about in Chiang Rai. It was discovered that the idea was inspired by the iconic Buddha statue at Wat Pa Sak, known as the Open World Posture Buddha image, which was established in the year 1838 during the reign of Phya Saen Phu, the founder of Chiang Saen city and the grandson of Phaya Mengrai. The Buddha Image stands on a lotus flower, with both hands hanging gracefully on both sides of the body, forming the gesture of opening the world. This symbolic gesture represents the three worlds: the divine world, the celestial world, and the human world. It serves as a visual representation of Buddhist wisdom and awareness, suggesting the opening of the world in all three aspects. The term “The Open World” is considered quite literal, but it can also be interpreted metaphorically to convey the idea of opening up perceptions through art that connects reality in society and leads to questioning through contemporary art. It raises the question of whether, through contemporary art, we can imagine a better future. 

In addition, “The Open World” also signifies the importance of learning from the past, particularly in the intricate historical aspects of Chiang Rai which serves as the birthplace of traditions and cultural heritage in the Lanna region. This encompasses various aspects, including architecture, cultural practices, and diverse art forms, as well as a multitude of cultural beliefs and perspectives. This rich cultural tapestry extends to the present-day urban systems, notably within the artistic communities of Chiang Rai. The artistic community in Chiang Rai, with a solid foundational structure led by renowned artists such as Ajarn Thawan Duchanee and Ajarn Chalermchai Kositpipat, who are globally acclaimed national artists, serves as a crucial model and inspiration. They play a significant role in revitalizing their hometown, making it robust and ready to participate in the multifaceted dimensions of hosting the international contemporary art festival, Thailand Biennale, Chiang Rai 2023.

The pavilions, considered pivotal developments from the past two editions. This edition Thailand Biennale, Chiang Rai 2023  plays a crucial role in the upcoming event. There will be exhibitions from 13 pavilions, featuring diverse and influential artistic groups: 1. **Laos Artists Group** 2. **International Watercolor Artists Group (Art Bridge) ** 3. **Sala Mueang Phan Group** 4. **The Khon Phej Project** 5. **Production S.O.M.A.** 6. **New Energetic Contemporary Art Museum** 7. **New Walsh Gallery Contemporary Art Museum** 8. **Buddhist Arts, Mae Fah Luang University** 9. **Mae Ying Artist Collective** 10. **Rubana** 11. **Sala Salla Kin** 12. **Korean Pavilion** 13. **PLUVIOPHILE**. Each pavilion represents a unique perspective and artistic contribution, making Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 a diverse and enriching cultural experience.

For the final 20 artists in Thailand Biennale, Chiang Rai 2023, namely: 1. Almagul Menlibayeva (Almaty/Berlin) 2. Arin Rungjang (Bangkok) 3. Atta Kwami (Accra/ Loughborough) 4. Chakaia Booker (New York) 5. Cheng Xinhao (Kunming) 6. Korakrit Arunanondchai (Bangkok/ New York) 7. Vuth Lyno (Phnom Penh) 8. Maria Theresa Alves (Berlin/ Naples) 9. Pablo Bartholomew (New Delhi) 10. Pierre Huyghe (New York / San Diego) 11. Sarah Sze (New York) 12. Shimabuku (Naha) 13. Somluk Pantiboon (Chiang Rai) 14. Songdej Thipthong (Chiang Rai) 15. Tawatchai Puntusawasdi (Chiang Mai) 16. Tomás Saraceno (Berlin) 17. Tsherin Sherpa (California/Kathmandu) 18. Ubatsat (Chiang Mai) 19. Wang Wen-Chih (Chiayi) 20. Xin Liu (London)

For more additional details and information at www.thailandbiennale.org Facebook https://www.facebook.com/thailandbiennale/  and  M-Culture Hotline 1765

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
WORLD PULSE

จับตา 3 แนวทางในเวทีผู้นำเอเปค ความยั่งยืน-การค้าที่เปิดกว้าง-ความเชื่อมโยง

 

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 11.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่นนครซานฟรานซิสโก ซึ่งช้ากว่าเวลาที่กรุงเทพฯ 15 ชั่วโมง) ณ ศูนย์ประชุม Moscone Center นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในรูปแบบ Retreat (APEC Economic Leaders’ Retreat (Session II)) ในหัวข้อ “Interconnectedness and Building Inclusive and Resilient Economies” พร้อมร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 30 โดยก่อนการกล่าวถ้อยแถลงของ นายกฯ (ลำดับที่ 18 ต่อจากจีนไทเป ก่อน ปธน. เวียดนาม) นาง Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) นำเสนอภาพรวมเศรษฐกิจโลกใน ค.ศ. 2023 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้

 
ท่ามกลางความไม่แน่นอนของโลก ประเทศไทยยังคงมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ต่อระบบการค้าพหุภาคีและเอเปค เพื่อมุ่งสู่ประชาคมเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น และสงบสุข โดยวานนี้ ได้มีการหารือและสนทนาเกี่ยวกับวิธีการต่อสู้กับปัญหาสภาพภูมิอากาศ ซึ่งนายกฯ เห็นพ้องกับผู้นำทุกคนว่า ถึงเวลาที่ต้องลงมือแล้ว โดยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว นายกฯ ได้เสนอ 3 มุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อเอเปค
 
1. ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสานต่อพัฒนาการเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเอเปคมีความก้าวหน้าอย่างมากในปีนี้ จากโครงการมากกว่า 280 โครงการที่ตอบสนองต่อเป้าหมายฯ นี้ ในขณะที่ ABAC เดินหน้าผลักดันการจัดทำ BCG Pledge รวมถึงการจัดการประชุม Sustainable Future Forum ครั้งแรก เพื่อกระตุ้นธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ
 
2. เปิดการค้าและการลงทุนอย่างเติบโตและรุ่งเรือง เอเปคสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีที่ยึดกฎเกณฑ์ โดยมี WTO เป็นแกนกลางนั้น ถือเป็นกุญแจสำคัญ ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมไปสู่ผลลัพธ์ที่มีความหมายในการประชุมรัฐมนตรีครั้งต่อไป (the Thirteenth Ministerial Conference (MC13))
ซึ่ง ไทย ผลักดันความพยายามอย่างต่อเนื่องในเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) เพื่อความก้าวหน้าในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค และ ไทยจะเร่งเจรจา FTA อื่นๆ ในเชิงรุก รวมทั้งยกระดับการเจรจาที่มีอยู่เพื่อรับมือกับความท้าทายทางการค้าที่จะเกิดขึ้นใหม่ 
 
3. เสริมสร้างความเชื่อมโยง เพื่อเศรษฐกิจและห่วงโซ่อุปทานที่มีความยืดหยุ่น โดย ไทยกำลังเดินหน้าโครงการ Landbridge เชื่อมมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งยังได้อนุมัติวีซ่าฟรี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสนับสนุนความต่อเนื่องของบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค (APEC Business Travel Card) ให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อสนับสนุน MSMEs และสตาร์ทอัพอีกด้วย
 
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรียินดีกับสหรัฐฯ ในการเป็นเจ้าภาพการประชุมที่เป็นประโยชน์ครั้งนี้ โดยไทยพร้อมร่วมประสานความร่วมมือกับเปรูเพื่อสานต่อความสำเร็จนี้ต่อไป  

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

อสม.ดอยหลวง เวียงเชียงรุ้ง ยิ้มรับ อบจ.เชียงราย มอบกระเป๋าโฮงยาใกล้บ้าน

 

18 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นประธานมอบกระเป๋าโฮงยาใกล้บ้าน ในโครงการคัดกรอง เฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โดยมี นายชัยสิทธิ์ ชัยเนตร เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย นายสมเกียรติ กันธิพันธ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อำเภอดอยหลวง เขต 1 และเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข องค์การบริหารหารส่วนจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่ ณ หอประชุมอเนกประสงค์ที่ว่าการอำเภอดอยหลวง ตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

 

ต่อมา ในเวลา 13.30 น. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายชัยสิทธิ์ ชัยเนตร เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข องค์การบริหารหารส่วนจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่ ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลดงมหาวัน ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
จากการสำรวจและคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน พบว่าประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแลรักษาโรค โดยนโยบายระดับชาติเพื่อควบคุมโรคเหล่านี้ 
 
 
คือ การตรวจค้นหาคัดกรองสุขภาพของประชาชน และการควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดของโรคเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นกลุ่มองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด และเป็นผู้ที่รู้ปัญหาความต้องการของประชาชนในชุมชนได้เป็นอย่างดี สามารถให้บริการแก่ประชาชนขั้นพื้นฐานในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขภาพพร้อมทั้งกระจายข่าวสารด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในเขตที่ตัวเองรับผิดชอบได้รับทราบ เพื่อให้บริการที่ทั่วถึงและทันเวลา
 
 
สำหรับกิจกรรมในการลงพื้นที่ให้บริการด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับ อสม. ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ อาทิ กิจกรรมวัดความดันโลหิต เจาะเลือดตรวจน้ำตาลในเลือด การเยี่ยมบ้าน การนัดให้ไปรับบริการต่างๆ ที่ รพ.สต. ฯลฯ ซึ่งในแต่ละกิจกรรมต้องมีอุปกรณ์ในการให้บริการ เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด หรืออื่นๆ ที่สนับสนุนการให้บริการ ในขณะเดียวกันความพร้อมของอุปกรณ์ยังไม่เพียงพอในการให้บริการประชาชน
 
 
ดังกล่าว โครงการคัดกรอง เฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาและสนับสนุนครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ในการป้องกัน ควบคุม โรคไม่ติดต่อในการคัดกรองสุขภาพ ประกอบด้วย เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด และเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่ ได้อย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนมีความสะดวกในการรับบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการที่จะ
เข้าถึงบริการในกรณีที่จำเป็น รวมถึงการให้บริการในช่วงเวลาที่มีการรณรงค์ตรวจสุขภาพในพื้นที่อีกด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
TOP STORIES

สภาผู้บริโภคเอาจริง จ่อยื่น ป.ป.ช. ถอดถอน กสทช. เอื้อผูกขาดอินเทอร์เน็ต

 

18 พฤศจิกายน 2566 สภาผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายองค์กรของผู้บริโภค จัดงานแถลงข่าว “ความล้มเหลวของ กสทช. ในการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีการควบรวมธุรกิจโทรคมนาคม” เพื่อแสดงความผิดหวังและแสดงความเห็นต่อมติของคณะกรรมการ กสทช.  พร้อมออกแถลงการณ์ร่วมกันและเตรียมเสนอคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้ถอดถอนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (คณะกรรมการ กสทช.) ออกจากตำแหน่งทั้งคณะ เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจเข้าข่ายบกพร่องและไม่กำกับดูแล ได้สร้างผลกระทบร้ายแรงต่อผู้บริโภค ทั้งกรณีมีมติรับทราบการควบรวมทรู – ดีแทค และการอนุญาตให้ควบรวม AWN – 3BB

 

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ประธานคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาผู้บริโภค กล่าวว่า การทำงานของ กสทช.ชุดปัจจุบัน หากสะท้อนจากมุมมองของคนนอกจะเหมือนเป็นสงครามตัวแทน (proxy war) ระหว่างสองรายใหญ่เพราะคนที่ได้ประโยชน์ชัดเจนคือ ผู้ประกอบการทั้งสองราย ในทางกลับกัน กลับไม่เห็นความพยายามในการปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภคในกสทช. ที่ชัดเจน แม้แต่กรรมการ กทสช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

 

“สิ่งที่น่าเสียใจคือ การปฏิรูปกิจการคลื่นความถี่โทรคมนาคมในประเทศไทยดูเหมือนจะมีความคืบหน้า แต่ในความเป็นจริงกลับถอยหลัง และเป็นการถอยหลังที่มองไม่เห็นอนาคตว่าจะไปอย่างไรกันต่อ โดยเฉพาะเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมือนจะไม่มีความหวัง ไม่มีพื้นที่เหลือสำหรับการเป็นปากเสียงให้ผู้บริโภคในองค์กรอิสระที่มีศักดิ์ศรีและได้รับการคุ้มครองความอิสระตามเจตนารมณ์ในรัฐธรรมนูญ” นางสาวสุภิญญาระบุ

 

นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือ ภาวะความขัดแย้งและความเห็นต่างในองค์กรอิสระเป็นเรื่องปกติเนื่องจากกรรมการแต่ละท่านต่างมีจุดยืนของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งของกสทช.ชุดนี้กลับมองไม่เห็นว่าเชื่อมโยงกับประโยชน์สาธารณะอย่างไรและมีผลประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างไร  

 

  “ปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้าผู้บริโภคในยุค 5G และ 6G และขณะนี้กำลังจะเข้าสู่ยุค AI และ Internet of Things ปัญหารุมเร้าทั้งในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มิจฉาชีพที่มาจากแก๊งคอลเซนเตอร์ สแกมเมอร์และสแปมต่าง ๆ รวมไปถึงคุณภาพในการให้บริการ ผู้บริโภคถึงกับมืดมนว่าจะพึ่งใคร ถ้าองค์กรที่ควรจะเป็นที่พึ่งอย่าง กสทช.กลายเป็นทไวไลท์โซนหรือแดนสนธยาที่แสงอาทิตย์ส่องเข้าไปไม่ถึง เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเป็นความหวังให้กับเราได้อย่างไร นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา”นางสาวสุภิญญากล่าว

 

ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวว่า ความล้มเหลวของ กสทช.ในการคุ้มครองผู้บริโภคมี 3 ประการ ประการแรกคือ การลงมติ “รับทราบ” การรวมธุรกิจระหว่างทรู – ดีแทค โดยให้เหตุผลว่าไม่เป็นการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน แต่ในการประชุมลงมติกรณี AWN – 3BB ที่ประชุมได้มีมติเสียงข้างมาก 5:2 เห็นว่าเป็นการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน สะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติหน้าที่ที่บกพร่องมีการตัดสินที่ผิดพลาดในเบื้องต้น ยิ่งไปกว่านั้นยังได้อนุญาตให้เกิดการควบรวมระหว่างค่าย AWN – 3BB ที่เป็นความผิดพลาดครั้งที่สอง เพราะเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชนในการรับบริการโทรคมนาคมที่ถูกเอาเปรียบการมีอำนาจเหนือตลาดของธุรกิจเอกชน

 

“ที่ผ่านมาภาคประชาชน รวมทั้งนักวิชาการและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้มีความพยายามอย่างเต็มที่ ในการคัดค้าน กสทช.ไปจนถึงการฟ้องคดีที่ศาลปกครอง เพื่อให้ กสทช.ใช้อำนาจของตัวเอง แต่สุดท้ายกสทช.ก็ทำหน้าที่เพียงรับทราบ และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ กสทช. ไม่สามารถกำกับหรือควบคุมให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคได้ตามมาตรการที่ตัวเองออกแบบไว้”
สารีกล่าว

 

ความล้มเหลวประการที่สองคือการมีมติอนุญาตให้ AWN – 3BB ควบรวมกิจการได้ โดยไม่คำนึงว่าจะทำให้เกิดการผูกขาดอินเทอร์เน็ตตามมา ซึ่งทำให้บริษัทที่ควบรวมได้รับประโยชน์โดยตรงที่สำคัญ กล่าวคือทำให้ บริษัท AWN มีส่วนแบ่งในตลาดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตประจำที่มากถึงร้อยละ 44.44 ในขณะที่ลำดับที่สองและสาม คือ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด (TICC) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 37.47 และ 15.44 ตามลำดับ

 

นอกจากนี้ การควบรวม AWN – 3BB ยังส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับประโยชน์จากการไม่ต้องลงทุนโครงข่ายซ้ำซ้อนคิดเป็นเงินไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาทในเวลา 5 ปี การที่คณะกรรมการ กสทช. ได้กำหนดมาตรการให้นำเงินที่ประหยัดได้นี้ไปลงทุนสร้างโครงข่ายเพิ่มในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งหากพิจารณาอย่างผิวเผินจะเห็นว่าประชาชนได้รับประโยชน์ แต่ทางกลับกันจะทำให้บริษัท AWN ที่มีส่วนแบ่งตลาดมากถึงเกือบครึ่งหนึ่งของตลาดทั้งหมด มีโอกาสใช้เงินทุนที่เหนือกว่าคู่แข่งที่เป็นผลพวงจากการได้รับอนุญาตให้ควบรวมกิจการ ทำลายพื้นที่การแข่งขันของผู้ให้บริการเจ้าอื่นได้เช่นกัน โดยเฉพาะ NT

 

“จากเอกสารที่ กสทช. ใช้ชี้แจงต่อองค์กรผู้บริโภคจะว่าการควบรวมครั้งนี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคด้านราคาโดยมีงานวิจัยหลายชิ้นที่สะท้อนผลกระทบด้านราคาเพิ่มขึ้นหลังจากควบรวม และตัวเลขที่ถูกคาดการณ์มีทั้งที่บอกว่า ค่าบริการจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 – 13.4 เปอร์เซนต์ หรือบางงานวิจัยบอกว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 – 45 หรืองานวิจัยของ 101 PUB ที่ระบุว่าจะราคาจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 – 22.9  ซึ่ง กสทช.กำลังจะบอกว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเหล่านี้สามารถจัดการได้ แต่พวกเราไม่มีความมั่นใจเลยและไม่เชื่อว่ากสทช. จะทำได้จริง” สารีกล่าว

 

ความล้มเหลวประการที่สาม คือ ความล้มเหลวในการกำกับหรือสั่งการสำนักงาน กสทช. หลักฐานเชิงประจักษ์คือ ถึงแม้กรรมการเสียงข้างมากจะมีมติให้ดำเนินการกับรักษาการเลขาธิการ แต่ก็ไม่มีผลในการใช้บังคับ หรือกรณีการควบรวมทรู – ดีแทคที่สำนักงาน กสทช. ไม่สามารถกำกับดูแลบริษัทให้ทำตามมาตรการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ได้ นำมาสู่คำถามและข้อกังขาว่ากรณีการควบรวม AWN – 3BB กสทช. จะสามารถควบคุมไม่ให้บริษัทขึ้นราคาได้หรือไม่ และเห็นชัดเจนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นสร้างภาระให้กับผู้บริโภคในการตรวจสอบ

 

ความล้มเหลวประการสุดท้ายถูกสะท้อนจากการคัดเลือกเลขาธิการ กสทช. ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากปัญหาภายใน ดังนั้น ต้องยอมรับว่าปัจจุบัน กสทช. ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะกรรมการ กสทช. ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค แต่กลับไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ยกตัวอย่างเช่น มาตรการหลังการควบรวมทรู – ดีแทคที่กำหนดให้บริษัทต้องลดราคาลงร้อยละ 12 ภายใน 90 วันหลังการควบรวม หรือการกำหนดให้แสดงแหล่งที่มาของเอสเอ็มเอสจะต้องบอกเพื่อลดปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถกำกับให้บริษัทปฏิบัติตามมาตรการหรือเงื่อนไขดังกล่าวได้

นางสาวนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า  ปัจจุบันมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้สำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคในเรื่องการควบรวมโดยมีข้อมูลการสำรวจตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน ถึงปัจจุบันมีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามประมาณ 2,700 คน โดยปัญหาพบปัญหาคุณภาพการใช้บริการลดลง ค่าโปรโมชั่นแพงขึ้น โดยหลังจากนี้จะมีการเปิดเผยผลสำรวจที่ลงลึกมากขึ้น

 

ด้าน นายฉัตร คำแสง ผู้อำนวยการ 101 PUB กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการควบรวมระหว่างกิจการโทรคมนาคม 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเป็นการควบรวมระหว่างทรู – ดีแทคซึ่งหลังจากการควบรวมพบว่าตลาดมีความกระจุกตัวสูง ทำให้เหลือผู้แข่งขันหรือผู้ให้บริการหลักเพียง 2 ราย ทั้งนี้ยังพบว่าดัชนีการกระจุกก็เพิ่มขึ้นอย่างมากอยู่ในระดับที่ผู้กำกับดูแลโดยทั่วไปของโลกรับไม่ได้ โดยมีการประเมินว่าอาจมีผลกระทบต่อผู้บริโภค โดยในการกรณีที่มีการแข่งขันตามปกติในตลาดโทรคมนาคมอย่างในปัจจุบัน ค่าบริการอาจจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7 – 10 เปอร์เซ็นต์ แต่หากมีการ “ฮั้วราคา” อาจจะทำให้ค่าบริการเพิ่มขึ้นได้ถึงในร้อยละ 20

 

“การฮั้วราคากันซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นการฮั้วแบบที่มีลายลักษณ์อักษรแต่มานั่งคุยกันก็ได้ แต่ว่าเมื่อมองตาแล้วรู้ใจว่า ถ้าเราขึ้นราคาแล้วเขาจะขึ้นราคาตามก็มีโอกาสเหมือนกันที่จะทำให้ราคาแพงขึ้นซึ่งอาจจะเป็นค่าบริการเฉลี่ยแพงขึ้น แพ็กเกจต่ำอาจถูกตัดออก หรือในอนาคตแม้ต้นทุนถูกลงแต่ราคาลดลงไม่เท่าก็เป็นไปได้ รวมไปถึงการให้บริการคุณภาพก็อาจจะแย่ลง เราคาดการณ์สิ่งเหล่านี้ไว้ตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ซึ่งตอนนี้เราก็เห็นสิ่งเหล่านี้ค่อนข้างชัดเจน” นายฉัตรกล่าว

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สภาผู้บริโภค

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
BREAKING NEWS

ข่าวเด่นน่าติดตามวันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2566

คลิกที่ภาพ

 

ข่าวเด่นน่าติดตามวันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2566

1.สภาผู้บริโภค จ่อยื่น ป.ป.ช. ถอดถอน กสทช. เอื้อผูกขาดกิจการโทรคมนาคม

 

2.อนุทิน” มอบนโยบาย 4 กระทรวง พร้อมเพิ่มเกณฑ์คัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน จงรักภักดีต่อสถาบันสำคัญของชาติ

 

3.เศรษฐา” เซลฟี่ “ไบเดน” เป็นโอกาสดีพูดคุยผู้นำทรงอิทธิพล ขอบคุณต้อนรับอบอุ่นในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ครั้งที่ 30

 

4.แพทองธาร-ชัชชาติ” รัฐมนตรีเพื่อไทย สวมชุดอินเดีย ชวนร่วมเทศกาลดิวาลี 2023 ตั้งเป้าไทยเป็นศูนย์กลางของการจัดเฟสติวัล

 

5.อิ๊งค์” ยันสัมพันธ์ “ลุงเหลิม” ไม่มีปัญหา ปัดตอบเงินดิจิทัล ให้รัฐบาลเป็นคนแจง

 

  1. “เจ้าสัวธนินท์” หนุนรัฐบาลเศรษฐา แจกเงินดิจิทัล 10,000 ชี้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

7.เศร้า อิสราเอลยันพบศพตัวประกันรายที่ 2 ทหารหญิงวัย 19 ใกล้ รพ. อัลชีฟ

 

8.แผ่นดินไหวฟิลิปปินส์ ขนาด 6.9 เขย่าเกาะมินดาเนา ไม่มีคำเตือนสึนามิ

 

9.รบ.เกาหลีใต้เตรียมยื่นร่างกฎหมายห้ามกินเนื้อสุนัข หลังโดนวิจารณ์มานาน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News