Categories
SOCIETY & POLITICS

ก้าวไกลยก 9 ข้อ สู้คดียุบพรรค ก่อนศาลอ่านคำวินิจฉัย 7 ส.ค. 67

 

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 เวลา 16.00 น. ที่อาคารอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกล นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ร่วมกันแถลงข่าวชี้แจงเนื้อหา และสรุปข้อต่อสู้ในเอกสารคำแถลงปิดคดี ที่พรรคก้าวไกลส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนที่จะมีการอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรควันที่ 7 ส.ค.นี้

โดยนายชัยธวัชได้แถลงย้ำถึง 9 ข้อต่อสู้ ทั้งในแง่ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคดียุบพรรคว่า พรรคก้าวไกลยืนยัน ว่า

1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย 2.การยื่นคำร้องนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 3.คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 ไม่มีผลผูกพันในการพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ 4.นอกจากการเสนอนโยบายแก้ไขกฎหมายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แล้ว การกระทำอื่นตามคำร้องมิได้เป็นการกระทำของพรรคก้าวไกล 5.การกระทำตามที่ กกต.กล่าวหา มิได้เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเป็นการกระทำอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6.ศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรยุบพรรคก้าวไกล 7.แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งยุบพรรค ก็ไม่มีอำนาจกำหนดระยะเวลาการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค 8.การกำหนดระยะเวลาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคต้องพอสมควรแก่เหตุ และ 9.การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องเพิกถอนเฉพาะของกรรมการบริหารพรรคที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด

นายชัยธวัชขยายความในการแถลงว่า กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้างว่ามีอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมืองนั้น เราขอยืนยันว่า กฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้ไปเพิ่มขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ นอกเหนือจากที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ นี่จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งย่อมไม่สามารถที่จะนำคำวินิจฉัยคดี 3/2567 หรือคดียุบพรรคอนาคตใหม่มาเป็นบรรทัดฐาน หรือเหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องในคดีนี้ได้

นายชัยธวัชย้ำถึงการยื่นคำร้องคดีนี้ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่ามิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการไม่รับฟังคู่ความคดีทุกฝ่าย ถือไม่เป็นผล ขอยืนยันว่า เมื่อพิจารณาในหลักของความเป็นที่สุดของคำพิพากษา ทั้งในแง่มูลเหตุและข้อเท็จจริง ย่อมชัดเจนว่า ไม่อาจการรับฟังข้อเท็จจริงในคดีที่ 3/2567 มาผูกพันในคดีนี้ได้

ส่วนข้ออ้างที่ กกต.กล่าวหาว่าล้มล้างการปกครอง หรือมีการกระทำที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบการปกครองนั้น ถือเป็นข้อกล่าวหาใหม่ที่ศาลไม่เคยวินิจฉัยมาก่อน การนำผลคำวินิจฉัยในคดีก่อนมาปิดปากวินิจฉัยคดีนี้ จะต้องมีมาตรฐานที่เข้มข้นกว่า หรือระดับเดียวกัน ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานพิสูจน์จนสิ้นสงสัย

“ดังนั้น พรรคก้าวไกลขอยืนยันว่า กกต.ไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าข้อเท็จจริงตามคดี 3/2567 เป็นข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัย ไม่มีเหตุที่จะรับฟังได้เป็นอย่างอื่น และมีผลผูกพันให้ตนเองต้องเสนอต่อศาล โดยที่ไม่จำเป็นต้องแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องรับฟังผู้ถูกร้องอีกด้วย”

สำหรับการกระทำที่นอกเหนือจากการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทั้งหมด ไม่ได้เป็นการกระทำของพรรคก้าวไกล เนื่องจากไม่ได้เป็นมติของคณะกรรมการบริหารพรรค ทั้งกรณีที่มี ส.ส.เป็นนายประกันของผู้ถูกกล่าวหาในคดี 112 หรือการแสดงออกส่วนตัวอื่นๆ ขอยืนยันว่าพรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นผู้สั่งการ หรือบงการแต่อย่างใด นี่จึงเป็นเพียงการกล่าวอ้างที่ศาลไม่สามารถรับฟังได้ และไม่ได้เป็นการล้มล้างการปกครอง แต่เป็นการเสนอโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ ในอดีตก็มีการเสนอแก้อยู่หลายครั้งแต่ไม่เคยนำไปสู่การล้มลางการปกครองแต่อย่างใด

นายชัยธวัชยังยกตัวอย่างกรณีที่ ศ.ดร.อุดม รัฐอมฤต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาในงานวิจัยที่ได้เสนอให้สำนักเลขาธิการ เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจในการใช้ดุลพินิจพิจารณา ให้มีการเริ่มดำเนินคดีอาญาผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดมาตรา 112 แทนพระมหากษัตริย์ โดยมีหลักการเดียวกันกับร่างแก้ไขมาตรา 112 ที่พรรคก้าวไกลเสนอ และ “ตนไม่เชื่อว่า นายอุดมจะมีความคิดล้มล้างการปกครอง”

นายชัยธวัชชี้ว่า นี่จึงเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า เมื่อพิจารณาตามสภาววิสัยตามความเชื่อของวิญญูชนทั่วไป หรือตามความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับกฎหมายพรรคการเมืองโดยตรงอย่าง กกต.นั้นการกระทำของผู้ถูกร้องในคดีนี้ หรือพรรคก้าวไกล ไม่ได้เป็นการกระทำที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบการปกครองแต่อย่างใด

นอกจากนี้ หากพิจารณาคำวินิจฉัย 3/2567 โดยละเอียด เป็นเพียงการสั่งให้เลิกกระทำเท่านั้น มิได้ให้พรรคก้าวไกลยกเลิกนโยบายเสนอแก้ไขมาตรา 112 เป็นนโยบายหาเสียงแต่อย่างใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พรรคก้าวไกลไม่ได้กระทำ เนื่องจากหากศาลเห็นเป็นเช่นนั้นก็ควรที่จะมีการสั่งห้ามไม่ให้มีการนำเสนอนโยบายนี้ด้วยในอนาคต

นายชัยธวัชกล่าวว่า การยุบพรรคควรเกิดขึ้นเมื่อไม่มีมาตรการอื่นที่จะยับยั้งการกระทำที่รุนแรงได้อย่างทันท่วงทีแล้วเท่านั้น มิเช่นนั้นจะเป็นการทำลายหลักการระบอบประชาธิปไตย ยืนยันว่าการกระทำของพรรคก้าวไกลไม่ใช่การกระทำที่รุนแรงถึงขนาดที่จะต้องยุบพรรค ยิ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีสถานะยิ่งกว่าวิญญูชน ซึ่งต่างเคยเห็นมาก่อนว่าการกระทำของพรรคก้าวไกลไม่เป็นการกระทำที่ขัดกับมาตรา 92 ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง

สุดท้ายแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งยุบพรรค ก็ไม่มีอำนาจในการกำหนดระยะเวลาการเพิกถอนสิทธิรับสมัครเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคแต่อย่างใด ซึ่งหากจะมีการจำกัดสิทธิ ก็ต้องเป็นการกระทำตามกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น โดยเมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญประกอบกับหลักที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวางหลักเอาไว้ จึงไปจำกัดสิทธิและตัดสิทธิไม่ได้ เพราะต้องกระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น และหากศาลเห็นว่ามีอำนาจกำหนดระยะเวลาเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง แต่การกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ต้องอยู่บนหลักความพอสมควรแก่เหตุ ซึ่งไม่ควรเกิน 5 ปี ไม่ใช่ 10 ปี ตามที่ กกต.ร้องขอ

พรรคก้าวไกลมิได้รู้หรือควรรู้ได้ว่า การกระทำในคดีนี้เป็นการกระทำต้องห้ามตามมาตรา 92 ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง เนื่องจากก่อนหน้านี้ กกต.เคยวินิจฉัยยกคำร้องข้อกล่าวหาในลักษณะเดียวกันนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กกต.เองในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐก็ยังเคยให้ความเห็นว่า การกระทำนี้ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งย่อมอยู่ในวิสัยที่สามารถเชื่อได้ว่า การกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นตามคำร้องในคดีนี้ ก็ย่อมชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน และการเพิกถอนนั้น ต้องเพิกถอนเฉพาะกรรมการบริหารพรรคที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด

ทั้งนี้ ระหว่างการแถลงข่าวของนายชัยธวัชนั้น นายพิธาได้ยืนติดตามฟังการแถลงอยู่ข้างเวทีแถลง พร้อมกับทีมกฎหมายของพรรคก้าวไกลในการต่อสู้คดี

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
NEWS TOP STORIES

“วิษณุ” ชี้กรณีศาลตีตก พ.ร.ก.อุ้มหาย ครม.ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะยุบสภาแล้ว

“วิษณุ” ชี้กรณีศาลตีตก พ.ร.ก.อุ้มหาย ครม.ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะยุบสภาแล้ว

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 23 พฤษภาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญตีตกร่าง พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย (พ.ร.บ.อุ้มหาย) คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องรับผิดชอบอะไรหรือไม่ ว่าหากสภาและรัฐบาลยังอยู่ รัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยวิธีลาออก หรือยุบสภา แต่เมื่อตอนนี้ยุบสภาไปแล้ว รัฐบาลสิ้นสุดแล้ว และรัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐบาลอยู่รักษาการก็ต้องอยู่ รัฐมนตรีแต่ละคนอาจจะลาออกได้ แต่คณะรัฐมนตรีพ้นไปไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีรัฐมนตรีที่จะทำงาน เพราะจะตั้งรัฐมนตรีใหม่ก็ตั้งไม่ได้ ฉะนั้น ความรับผิดชอบตรงนี้จบไปพร้อมกับการยุบสภา

ผู้สื่อข่าวถามว่าให้รัฐมนตรีรักษาการลาออกเพื่อให้ปลัดกระทรวงต่างๆ มาทำหน้าที่แทน นายวิษณุกล่าวว่า ทำไม่ได้ ปลัดกระทรวงขึ้นมาใช้อำนาจรัฐมนตรีไม่ได้ เว้นแต่กรณีเดียวที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ซึ่งไม่ใช่เรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม 3 เดือนที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เตรียมการหาอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ก่อนที่ศาลจะตัดสิน แม้จะไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม และวันนี้ก็มีการเสนอเข้าที่ประชุม ครม.แต่งตั้งคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.อุ้มหาย มา 6-7 คน

Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE