Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เชียงราย จัดกิจกรรม”ค่ายเยาวชน TO BE NUMBER ONE IDOL รุ่นที่ 8

 
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ที่ โรงแรมเชียงรายแกรนด์รูม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีปิดกิจกรรมค่ายเยาวชนต้นแบบเก่งและดี TO BE NUMBER ONE IDOL ประจำปี 2567 โดยมีหัวหน้า สนง.เลขานุการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเชียงราย (ศอ.ปส.จ.ชร.) คณะทำงานโครงการTO BE NUMBER ONE จังหวัดเชียงราย คณะครู คณะวิทยากร และผู้เข้ารับการฝึกอบรม เข้าร่วมพิธี

 

โครงการ TO BE NUMBER ONE จังหวัดเชียงราย โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเชียงราย ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ดำเนินการจัดกิจกรรม”ค่ายเยาวชนต้นแบบเก่งและดี TO BE NUMBER ONE IDOL (Pre – IDOL) ประจำปี 2567″ อย่างต่อเนื่องซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการมาเป็น รุ่นที่ 8 โดยกิจกรรมครั้งนี้เป็นการสร้างความเป็นผู้นำให้กับ

แกนนำเยาวชน ตลอดเป็นการยกระดับความสามารถด้านทักษะความสามารถพิเศษเช่น การร้องเพลง การเต้น การเข้าสังคม การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ การสร้างและพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้เก่งและดี การเป็นแบบอย่างที่ดีของเยาวชนแกนนำ สามารถเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยงในปัจจุบัน ตามคำขวัญสโลแกนของโครงการที่ว่า “เป็นหนึ่ง โดยไม่พึ่งยาเสพติด ” 

 

สำหรับกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ 25 ถึง วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 100 คน จาก 20 โรงเรียน 

 

นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) ของจังหวัดเชียงราย สามารถผลักดันเยาวชนให้ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบระดับประเทศได้ถึง 2 คน เป็นการสร้างและพัฒนาศักยภาพเยาวชนผ่านรูปแบบกิจกรรม TO BE NUMBER ONE IDOL นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากเป็นการส่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน และเป็นรูปแบบกิจกรรมที่เยาวชนให้ความสนใจ ถือว่าเป็น “การใช้สื่อบุคคล” ในการทำหน้าที่เป็นแกนนำเยาวชนในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ของโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนต่อไป

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เชียงรายเตรียมจัดกิจกรรมเดินวิ่ง ปั่น ธงตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติ

 
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2567  ที่ห้องประชุมจอมกิตติ ชั้น3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานจัดกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น ธงตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ผู้แทนนายอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อรับทราบการจัดกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น ธงตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมแจ้งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการในการจัดกิจกรรม อีกทั้งเพื่อพิจารณาการเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรม การกำหนดเส้นทาง รูปแบบ พิธีการเปิดกิจกรรม รูปแบบขบวน รูปแบบธงตราสัญลักษณ์ รวมถึงการมอบหมายภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น ธงตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมพระเกียรติ

 

           ด้วยกระทรวงมหาดไทยได้จัดโครงการเดิน วิ่ง ปั่น ธงตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาที่คุณ รวมทั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยให้ทุกจังหวัดจัดกิจกรรมในห้วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม 2567 โดยจังหวัดเชียงรายกำหนดจัดกิจกรรมขึ้นในวันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน ถึงวันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2567 โดยในวันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2567 พิธีเปิด ณ ด่านพรมแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และเริ่มออกเดิน วิ่ง ปั่น จากด่านพรมแดนอำเภอแม่สาย ไปยังพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 (ศาลากลางหลังแรก) อำเภอเมืองเชียงราย และในวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน 2567 จัดให้มีนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมเฉลิมฉลองธงตราสัญลักษณ์ ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 (ศาลากลางหลังแรก) และในวันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2567 เริ่มออกเดิน วิ่ง ปั่น จากศาลากลางหลังแรก ไปยังจุดส่งมอบธงตราสัญลักษณ์หน้า อบต.แม่เย็น อำเภอพาน เพื่อส่งต่อให้จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดถัดไป

 

ทั้งนี้จังหวัดเชียงรายขอเชิญชวนส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนทุกหมู่เหล่า ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาที่คุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยความสมัครสมานสามัคคีอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

อบจ.เชียงราย ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี โฮงฮอมผญ๋าล้านนา ประจำปี 2567

 
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00 น. นางทรงศรี คมขำ รองนายก อบจ.เชียงราย เป็นตัวแทน อบจ.เชียงราย ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี โฮงฮอมผญ๋าล้านนา ประจำปี 2567 โดยมี รองเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงราย เจ้าอาวาสวัดฝั่งหมิ่น พระครูขันติพลาธร เป็นประธานสงฆ์ในพิธีถวายองค์ผ้าป่า และ นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ณ โฮงฮอมผญ๋า โฮงยาหมอเมืองล้านนา ต.นางแล จ.เชียงราย
 
ในการนี้ คณะผู้บริหาร และบุคลากร อบจ.เชียงราย ได้ร่วมอนุโมทนาบุญ ถวายปัจจัยในการจัดงานทอดผ้าป่าดังกล่าว เพื่อสมทบทุนซ่อมแซมอาคาร ศาลาศูนย์การเรียนรู้หมอพื้นบ้าน และพระคิลานุปัฏฐาก จ.เชียงราย ทั้งยังช่วยเหลือกองทุนเพื่อกิจกรรมพิเศษด้านการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ สามเณร และชุมชน อีกทั้งเป็นการรำลึกถึงผู้ก่อตั้งโฮงฮอมผญ๋า อีกด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก :  อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

วช. รำลึก “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว” “สิบปีผ่านไป แผ่นดินไหว เราไหวอยู่”

 
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ มูลนิธิมดชนะภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดกิจกรรมรำลึกถึง “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว” จัดให้มีบรรยายพิเศษ “รู้ทันแผ่นดินไหว” และการเสวนาในหัวข้อ “สืบปีผ่านไปปีผ่านไป แผ่นดินไหว เราไหวอยู่ และผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพบัติได้มาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พร้อมทั้งนิทรรศการพิเศษแผ่นดินไหว ณ บ้านสิงคไคล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยมี นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธี และยังมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ประธานมูลนิธิมดชนะภัย พร้อมทั้งหน่วยงานกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมชลประทาน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม 
 

         นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงราย ถือว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากตั้งอยู่ในแนวเขตรอยเลื่อนของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ โดยเฉพาะรอยเลื่อนแม่จัน ที่เป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศไทย และยังมีรอยเลื่อนพะเยาที่อยู่พื้นที่ข้างเคียงและยังมีพลัง โดยเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 รอยเลื่อนพะเยาได้เกิดแรงสั่น ทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ขนาด 6.3 ริกเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ลึกประมาณ 7 กิโลเมตร ส่งผลทำให้ส่งผลทำให้ครั้งนั้นเส้นทางคมนาคม โบราณสถาน และบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียงได้รับผลกระทบ ทั้งหมด 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง และจังหวัดกำแพงเพชร อีกทั้งถนนหลายสายเกิดการทรุดตัวและเกิดรอยแยกเป็นทางยาว ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นการรำลึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวแม่ลาว  ครบรอบ 10 ปี และสร้างความตระหนักรู้ ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ตรง ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนนำไปสู่การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
 

          รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ประธานมูลนิธิมดชนะภัย กล่าวอีกว่า มูลนิธิมดชนะภัย ตั้งอยู่บ้านสิงหไคล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อร่วมส่งเสริมสังคมและศิลปวัฒนธรรมให้จังหวัดเชียงราย เป็นเมืองน่าอยู่ และเป็นเมืองศิลปะ รวมทั้งมุ่งเน่นการใช้วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เข้ามาช่วยเหลือประชาชนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ โดยทางมูลนิธิมดชนะภัย ได้ร่วมจัดกิจกรรม “1 ทศวรรษแผ่นดินไหว” เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภัยพิบัติแผ่นดินไหว ผ่านสื่อศิลปะและวิทยาศาสตร์ ให้กับผู้ที่สนใจตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ และเป็นจุดเชื่อมต่อไปสู่เรื่องราวเหตุการณ์แผ่นดินไหวแม่ลาว ระหว่างภาคประชาสังคม ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อเป็นการสะท้อนให้ประชาชนได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการภัยพิบัติที่ดีร่วมกัน ภายใต้ชื่อว่า “แผ่นดินไหว เราไหวอยู่” 
 

          สำหรับกิจกรรมภายในงานจัดให้มีการบรรยายพิเศษ “รู้ทันแผ่นดินไหว” และการเสวนาในหัวข้อ “สิบปีผ่านไปแผ่นดินไหว เราไหวอยู่” โดยมี นายประจญ ปรัชญ์สกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตลอดจนผู้บริหารหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ให้ข้อมูลความรู้ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าแผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ดังนั้นจึงควรศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหวที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้นิทรรศการพิเศษ “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว” ได้จัดให้มีการออกนิทรรศการภาพเล่าเรื่อง นิทรรศการเชิงศิลปะสะท้อนภาพเหตุการณ์ และ นิทรรศการเชิงวิทยาศารต์ การสาธิตการเกิดเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งจะจัดขึ้นตลอดเดือนพฤษภาคม ณ บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย อำเภอเมืองเชียงราบ จังหวัดเชียงราย ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมได้ฟรี ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

อีก 26 วัน ผู้ว่าเชียงราย สั่งคุมเข้ม ตั้งเป้าให้เกิดจุดฮอตสปอต น้อยที่สุด

 

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการหมอกควันไฟป่า และ PM 2.5 จังหวัดเชียงราย ครั้งที่ 9/2567 โดยมีนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ศูนย์ปฏิบัติการหมอกควันไฟป่า และ PM 2.5 จังหวัดเชียงราย ชั้น1 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ซึ่งมีนายอำเภอ เจ้าหน้าที่จาก 18 อำเภอ เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์


ในที่ประชุมได้รายงานสถานการณ์หมอกควันไฟป่า และ PM 2.5 ของจังหวัดเชียงราย ในห้วงที่ผ่านมา และการรายงานการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการดำเนินงานของทั้ง 18 อำเภอ โดยเฉพาะอำเภอที่เกิดจุดความร้อนสูง และอำเภอที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า ทบทวนถึงปัจจัยการเกิดจุดความร้อน จุดความร้อนที่เกิดซ้ำซาก วางแผนการดำเนินการจัดการจุดความร้อนที่ยากต่อการควบคุม วางแผนการทำงานรับมือสถานการณ์ ห้วงเดือนเมษายนนี้
 
 
นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะอำเภอให้ประสานไปยังกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการควบคุมไฟป่า เพิ่มการลาดตระเวน เน้นมาตรการกดดันในพื้นที่เสี่ยง และเฝ้าระวังในเขตรอยต่อ เพื่อป้องกันไฟป่าข้ามแดน เพิ่มความเข้มข้นการปฏิบัติในห้วงเวลาที่เหลือจนถึง 30 เมษายนนี้ พร้อมทั้งจัดกำลังเสริมเข้าไปปฏิบัติงานสนับสนุนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยง หากได้รับความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจากการปฏิบัติหน้าที่ ให้อำเภอรวบรวมข้อมูลรายงานมายังจังหวัด 
 
 
โดยด่วน และเน้นย้ำการติดตามประเมินสุขภาพของอาสาดับไฟป่า ให้ผู้ที่มีสภาพร่างกายที่พร้อมเท่านั้น ที่จะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ อุปกรณ์ป้องกันผู้ปฏิบัติงานดับไฟป่าชองเจ้าหน้าที่ก็ต้องพร้อมเพื่อการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย นอกจากยังเน้นย้ำให้ทุกอำเภอ ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนได้ทราบถึงช่องทางการรักษาหากได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5
 
 
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ยังได้ให้แนวทางการปฏิบัติ โดยให้นำสถิติของปีที่ผ่านมา มาปรับใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมได้เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนช่วยรักษาสถิติของจังหวัดเชียงราย ซึ่งทำได้ดีในห้วงที่ผ่านมา เน้นให้เกิดจุดฮอตสปอตน้อยที่สุด และให้ลดลงมากกว่า 50% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา พบว่า จังหวัดเชียงรายมีจุดฮอตสปอต ลดลงกว่า 70% โดยขอความร่วมมือประชาชนชาวเชียงราย และทุกภาคส่วน ช่วยกันรักษาและภาคภูมิใจถึงความสมัครสมานสามัคคีในการป้องกันไฟป่าฯ นำไปสู่ความสำเร็จในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าของจังหวัดเชียงราย ต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

ผู้ว่าฯ เชียงราย สั่งเตรียมเฮลิคอปเตอร์ จากเชียงใหม่เสริมภารกิจดับไฟป่า

 

เมื่อวันที่20 มีนาคม 2567 ที่ห้องศูนย์ปฏิบัติการหมอกควันไฟป่า และ PM2.5 จังหวัดเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์หมอกควันไฟป่า และฝุ่นPM2.5 โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ KA-32 (Kamov Ka-32 ) ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย 

 

ในการดับไฟป่ากรณีพื้นที่สูงชัน หรือพื้นที่ ที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ และเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ดูแลเป็นกรณีพิเศษในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่จัน เมืองเชียงราย แม่สรวย และอำเภอเวียงป่าเป้า และเตรียมการรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในโอกาสเสด็จมา ทรงประกอบพิธีตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถบุญชุ่มรัตนปุรีศรีธรรมราชา ณ วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ในวันที่ 30 มี.ค. 67 โดยมีนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายครรชิต ชมภูแดง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย/ พ.อ.พักตร์พงษ์ เงสันเที๊ยะ หน.กลุ่มงานนโยบายแผนและการข่าวฯ กอ.รมน. /นายสุรศักดิ์ วณิชอนุกูล ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม ทสจ.ชร. และทีมนักบินผู้เชียวชาญเข้าร่วมประชุม

 

ทั้งนี้ KA-32 สามารถทำการบินต่อเนื่องได้นาน 2 ชั่วโมง 45 นาที ความเร็วเดินทาง 222 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งสมรรถนะภาพดับไฟป่าโดยตัวเครื่องมี 2 ใบพัด “Coaxial Rotors” ใบพัด 2 ชั้นหมุนไปในทิศทางตรงข้ามกัน มีท่อดูดน้ำยาว 42 เมตร สูบน้ำ 1 นาที บรรจุได้ 3,000 ลิตร เพื่อนำน้ำไปทิ้งในพื้นที่เกิดไฟไหม้ และฉีดน้ำได้ไกลถึง 50 เมตร โดยเฮลิคอปเตอร์ “Kamov Ka-32” จะถูกใช้ในการปฏิบัติภารกิจป้องกันสาธารณภัย เช่น การควบคุมไฟป่าในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ รวมถึงเหตุสาธารณภัยอื่น ๆ รวมถึงภารกิจการช่วยเหลือและขนย้ายผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่เข้าถึงด้วยความยากลำบาก เนื่องจากมีสมรรถนะในการทรงตัวสูง บินช้า ลอยตัวนิ่งได้นานกว่าเฮลิคอปเตอร์รุ่นอื่น ทนต่อสภาวะอากาศเลวร้ายได้ดี นอกจากนี้ Kamov Ka-32 ได้ทำการบินอย่างเป็นทางการเที่ยวแรกในภารกิจการฝึกควบคุมไฟป่าหมอกควันร่วมกับกองทัพอากาศ ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2563
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

ผู้ว่าฯเชียงราย สั่งคนเผชิญไฟป่า สุขภาพไม่พร้อมให้งดปฏิบัติหน้าที่ทันที

 
เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการหมอกควันไฟป่าและPM 2.5 จังหวัดเชียงราย ชั้น1 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุม โดยมีนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ และนายอำเภอ ผู้แทนนายอำเภอ จากทั้ง 18 อำเภอ ร่วมประชุมผ่านระบบวิดีโอ conference
 
 
ในที่ประชุมฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้รับฟังการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกำชับและเตรียมพร้อมการยกระดับมาตรการ ถึงแม้จุดความร้อนจะน้อยก็ตาม เนื่องจากคุณภาพอากาศในห้วงนี้ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง พร้อมทั้งจะมีการ Kick off ทั้ง 18 อำเภอในวันที่ 20 มีนาคมนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นเน้นย้ำห้ามเผาแก่ประชาชน พร้อมทั้งสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ที่เผชิญกับไฟป่า กำชับต้องมีการตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่ดับไฟทุกราย หากเกณฑ์สุขภาพไม่พร้อมที่จะสามารถปฏิบัติงานได้ ให้งดปฏิบัติหน้าที่ทันทีเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งการดูแลในเรื่องของสวัสดิการ และค่าตอบแทนหากเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุอันใดจากการปฏิบัติงาน
 
.
ทั้งนี้จังหวัดเชียงรายได้สั่งการให้นายอำเภอ ยกระดับการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ตามที่กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย (กอปภ.จ.ชร.) ได้มีประกาศฯลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เรื่อง ห้ามการเผาในที่โล่งทุกชนิดโดยเด็ดขาด “76วันปลอดการเผา ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย” ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2567 ทั้งนี้สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่ายังมีปริมาณฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ ต่อเนื่องติดต่อกันตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2567 เป็นต้นมา จึงให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอดำเนินการยกระดับปฏิบัติการเพื่อควบคุมการเผาในพื้นที่อย่างเข้มข้น จริงจัง บังคับใช้มาตรการทางกฎหมายห้ามเผาอย่างเด็ดขาด ประสานผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดดำเนินการหาตำแหน่ง และสาเหตุการเกิดจุดความร้อน (Hotspots ) ในพื้นที่ ทั้งนี้ หากพบจุดความร้อนให้เร่งเข้าปฏิบัติการดับไฟโดยทันที 
 
 
เพื่อไม่ให้เกิดการลุกลามและขยายวงกว้าง และเมื่อควบคุมสถานการณ์ได้แล้วให้จัดชุดเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ และในพื้นที่เสี่ยงเกิดไฟป่ารุนแรง หรือเกิดไฟป่าซ้ำซาก ให้เพิ่มรอบการลาดตะเวน และจัดชุดเฝ้าระวังประจำจุดตรวจ จุดสกัด ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งให้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยบริการสาธารณสุขอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ดำเนินการแจกจ่ายหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือหน้ากากอนามัยชนิด N95 ให้แก่พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบาง และจัดพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) หรือห้องปลอดฝุ่นไว้บริการประชาชน รวมทั้งเพิ่มความถี่ในการให้คำแนะนำในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ และช่องทางการเข้ารับบริการห้องปลอดฝุ่น หรือคลินิกมลพิษ จัดชุดเคลื่อนที่เร็ว “อสม. เคาะประตูบ้าน” เพิ่มรอบการตรวจเยี่ยม เพื่อยกระดับการแจ้งข่าวและสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งดูแลผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปรับรูปแบบการเรียนการสอน หรือปิดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ให้สอดคล้อง เหมาะสมกับสถานการณ์
 
 
.
อีกทั้งกำชับหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ให้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด เพื่อป้องกันและลดมลพิษจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ทั้งการเผาในที่โล่ง ภาคคมนาคมขนส่ง ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง และประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือประชาชน ตลอดจนภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการสอดส่อง
ดูแลหมู่บ้าน ชุมชน โดยงดการเผาและงดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 พร้อมทั้งสร้างการรับรู้ ให้ประชาชนทราบถึงมาตรการและผลการปฏิบัติของภาครัฐในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ตลอดจนช่องทางในการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

กมธ.ที่ดิน ลงพื้นที่ อ.พาน ตรวจสอบ ที่ตั้งโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะป่าหุ่ง

 

เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 67  ที่ผ่านมานายอภิชาติ ศิริสุนทร ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจสอบที่ตั้งโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง ในพื้นที่ตำบลป่าหู่ง หมู่ที่ 12 ตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยมีนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายวุฒิกร คำมา นายอำเภอพาน ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบ และรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับที่ตั้งโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน ตลอดจนปัญหาด้านสุขภาพ สุขนามัย และวิถีชีวิตของชุมชนที่อาจเปลี่ยนไปในอนาคต โดยมีตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่มารวมตัวกันคัดค้านการก่อสร้างโครงการดังกว่า 300 คน

 

ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง ได้เล็งเห็นปัญหาขยะมูลฝอยชุมชนที่นับวันจะมีปริมาณที่มากขึ้น และ พื้นที่หรือวิธีการกำจัดที่ไม่พอเพียงและมีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนข้อมาตรการ ที่ระบุตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ในการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายโดยส่งเสริมให้ อปท. จังหวัด มีระบบจัดเก็บ รวบรวม ขนส่ง และกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง จัดตั้งโครงการบริหารและจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เป็นพลังงานไฟฟ้าระบบปิด ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม ดังกล่าวนี้ขึ้นมา
 
 
ปัจจุบันทางองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง ได้ดำเนินการจัดการขยะโดยเลือกวิธีแบบเทกอง ซึ่งไม่มีความเป็นระเบียบ ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และด้วยการบริหารจัดการที่ไม่ดี งบประมาณไม่เพียงพอของภาครัฐจึงเห็นควรว่า ให้เอกชนมาเป็นผู้ลงทุนในกิจการบริการสาธารณะของภาครัฐ จึงได้มีการศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาและการเดินทางศึกษาดูงานเพื่อที่ได้นำข้อมูลต่าง ๆ มาเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินการโครงการดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์กับทางราชการสูงสุด ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง ได้นำแบบอย่าง ขอบเขตงานของเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินโครงการด้วย
 
 
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวสภาองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่งได้เห็นชอบในคราวประชุมสภา และได้ร่วมทำข้อตกลง กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (MOU) ที่ได้เข้าร่วมโครงการซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มพื้นที่ในการจัดการขยะมูลฝอย อย่างไรก็ตาม หากจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะในพื้นที่ตำบลป่าหุ่ง หมู่ 12 จริง จะต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์ขอความเห็นจากประชาชนในพื้นที่อีกหนึ่งรอบ ซึ่งหากประชาชนในพื้นที่ไม่ต้องการให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าขยะในพื้นที่ก็สามารถคัดค้านได้ในขั้นตอนต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
All

ศูนย์กลางภารกิจช่วยเหลือ (ฝูงบิน 416) ภาคเหนือตอนบน สนามบินเชียงราย

 

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีเปิดงานแสดงขีดความสามารถสนามบินเชียงราย (ฝูงบิน 416) เพื่อเป็นการรองรับการเป็นศูนย์กลางภารกิจการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ณ ฝูงบิน 416 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 

 

โดยมี นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ หัวหน้าหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้แทนชุมชน ประชาชน และนักเรียนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เข้าร่วมกิจกรรม กว่า 500 คน

 

สำหรับกิจกรรม ประกอบด้วย การประชุมร่วมกับหน่วยงาน ส่วนราชการ ผู้แทนชุมชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงแนวทางการพัฒนาสนามบินเชียงราย (ฝูงบิน 416) การปฏิบัติการมวลชนสัมพันธ์ การสาธิตการบินควบคุมและดับไฟป่า การบินค้นหาและช่วยชีวิต การลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ การบรรยายสรุปการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือประชาชนของกองทัพอากาศ การจัดแสดงที่ใช้ในภารกิจการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ 
 
 
การตั้งแสดงอากาศยานและขีดความสามารถกองทัพอากาศในการช่วยเหลือประชาชน การบินทิ้งน้ำและสารควบคุมไฟป่า การบินค้นหาและช่วยชีวิต และการบินรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศ การจัดหน่วยมิตรประชากองทัพอากาศ ให้บริการประชาชน ได้แก่ การตรวจรักษาโรคและให้คำแนะนำด้านสุขภาพ การวัดสายตาพร้อมแจกแว่นตา การให้บริการตัดผม การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถจักรยานยนต์ การแสดงดนตรีจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ การมอบอุปกรณ์กีฬา และอุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นต้น
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

“วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน” เชียงรายจัดกิจกรรมถนนอย่างปลอดภัย

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2567 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์เนื่องใน “วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน” ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ภาคประชาสังคม เครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ ภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิ และคณะครู นักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย เข้าร่วม พร้อมถ่ายทอดสดการจัดกิจกรรมรณรงค์ฯ ร่วมกับส่วนกลาง ผ่านระบบ Zoom Meeting พร้อมกันทั่วประเทศ

ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 กำหนดให้วันที่ 21 มกราคมของทุกปีเป็นวันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดเชียงราย จึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน ประจำปี พ.ศ. 2567 ของจังหวัดเชียงรายขึ้น เพื่อเป็นการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน
 
 
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อลดการบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางถนน โดยการสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัย เมื่อถึงทางข้าม ทางม้าลาย และสื่อสารวันความปลอดภัย ของผู้ใช้ถนนไปยังประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน ให้ระลึกถึงความสูญเสียจากอุบัติเหตุ และร่วมกันสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ใช้ถนน เพื่อไปถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนไม่เกิน 12 คน ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ. 2570
 
 
รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า อุบัติเหตุทางถนนยังคงเป็นประเด็นที่น่ากังวล ซึ่งสร้างความสูญเสียในทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน สังคม และเศรษฐกิจของประเทศ การขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน จึงจำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม อีกทั้งจำเป็นต้องเร่งสร้างการร่วมแรง ร่วมใจให้เกิดความตระหนักรู้สู่สาธารณชน
 
 
การที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ใช้รถใช้ถนนนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการผลักดัน ประชาสัมพันธ์ และกำหนดมาตรการให้กับประชาชนทุกช่วงวัย ให้มีองค์ความรู้ในด้านการใช้รถ ใช้ถนนที่ปลอดภัยควบคู่กันไป และขอให้หน่วยงาน และภาคีเครือข่าย ได้กำหนดมาตรการให้กับบุคลากรในสังกัดปฏิบัติตามกฎจราจรเพื่อสร้างกระแสให้เกิดเป็นวัฒนธรรม ในการใช้รถ ใช้ถนนอย่างปลอดภัย และเพื่อประชาชนจะได้นำไปเป็นแบบอย่างที่ดี ต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News