Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เทศกาลดอกฝ้ายบานที่บ้านศรีดอนชัยประเพณีมหาบุญไทลื้อ

 

วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 17.00 น.  นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนางสาวณพิชญา นันตาดี นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางกัลยา แก้วประสงค์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายยุทธนา สุทธิสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ลงพื้นที่ ณ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ร่วมกิจกรรม ดังนี้

  1. ร่วมพิธีอัญเชิญพระอุปคุตในงานมหาบุญกุลกฐินถิ่นไทลื้อศรีดอนชัย ครั้งที่ 19 และเปิดกาดไตลื้อศรีดอนชัย
  2. ส่งมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ประกอบการผ้าทอไทลื้อศรีดอนชัย และผู้ประกอบการกระเป๋าและตุ๊กตาไทลื้อศรีดอนชัย ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นชุมชนต้นแบบการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CULTURAL PRODUCT OF THAILAND : CPOT) ประจำปีพุทธศักราช 2566
  3. ส่งมอบแผ่นพับประชาสัมพันธ์ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย จำนวน 2,000 ฉบับ แก่ผู้นำชุมชนฯ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
CULTURE

เชียงราย 3 ปีซ้อน หลังวัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน ถูกเลือกเป็น 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ ปี 66

 

วันที่ 20 ก.ย. 2566 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มุ่งขับเคลื่อนการดำเนินโครงการชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร เน้นใช้ “พลังบวร” เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชน และได้ดำเนินการส่งเสริมพัฒนาชุมชนคุณธรรมฯ ในระดับต่าง ๆ รวมจำนวนกว่า 27,000 ชุมชน ทั่วประเทศ ในปี 2566 นี้ วธ. จึงดำเนินโครงการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปี 2566 มุ่งเน้นยกระดับชุมชนคุณธรรมฯ สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อคัดเลือกชุมชนคุณธรรมฯ ที่มีศักยภาพ และความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ จำนวน 10 ชุมชน จากชุมชนคุณธรรมฯ ทั่วประเทศ เพื่อประกาศยกย่อง เชิดชูเกียรติ สร้างขวัญกำลังใจแก่ชุมชนและผู้ในการสนับสนุนการขับเคลื่อน พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดและขยายผลความสำเร็จไปยังชุมชนที่ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้อยู่ดีมีสุข ดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม ปลุกกระแสการท่องเที่ยววิถีชุมชน สร้างโอกาส สร้างรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ต่อไป

นายเสริมศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกดังกล่าว อาทิ การมีผู้นำชุมชนเป็นศูนย์กลางบริหารจัดการชุมชนที่ดี สมาชิกมีส่วนร่วมจัดกิจกรรม หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด (สวจ.) มีส่วนร่วมขับเคลื่อน มีอัตลักษณ์ของชุมชนมีความโดดเด่น อาทิ เป็นชุมชนที่มีความเชื่อหรือประวัติศาสตร์ชุมชนเป็นที่น่าสนใจ มีสถานที่ สถาปัตยกรรม หรืออื่นๆ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว มีวัฒนธรรมและประเพณีที่สร้างประสบการณ์ร่วมให้กับนักท่องเที่ยวสนุกสนาน น่าสนใจ สร้างความประทับใจ มีศิลปะการแสดง ผลิตภัณฑ์ชุมชน สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน มีภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้ที่สามารถถ่ายทอดให้กับคนในชุมชน รวมถึงอาหาร การบริการการท่องเที่ยว มีนักเล่าเรื่อง/ผู้นำทางแนะนำอัตลักษณ์ของชุมชนได้ เส้นทางคมนาคมที่สะดวก ง่ายต่อการเข้าถึง มีรถรับจ้าง รถสาธารณะบริการในชุมชน ตลอดจนที่พัก/โฮมสเตย์มีมาตรฐาน สะอาด สวยงาม เป็นต้น

 

สำหรับผลการคัดเลือกดังกล่าว ปรากฏว่าผลการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปี 2566 จำนวน 10 ชุมชน ซึ่งเป็นชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ และมีผลการดำเนินงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ มีดังนี้

1.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดท่าขนุน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

2.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านปากน้ำชุมพร ต.ปากน้ำ อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร

3.ชุมชนคุณธรรมฯวัดพระธาตุผาเงา ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

4.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

5.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านฟ้าหยาด ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชัยชนะ จังหวัดยโสธร

6.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดบ้านหงาว ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง

7.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านท่ามะขาม ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

8.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

9.ชุมชนคุณธรรม ฯ บ้านท่าฉลอม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 10.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านโนนกอก ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

“ขอแสดงความยินดีแก่ 10 ชุมชนทีได้รับรางวัล ถือเป็นชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ ซึ่งทางกระทรวงวัฒนธรรมพร้อมสนับสนุน และจะประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ชุมชนได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ดึงดูดนักท่องเที่ยว ตลอดจนประชาชนเดินทางมาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และมุ่งหวังให้การท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” จะสามารถสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” รมว.วธ. กล่าว

ทั้งนี้ จะมีพิธีมอบโล่ ให้แก่ผู้แทน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 2566 และลงพื้นที่เปิดชุมชนที่ได้รับคัดเลือกแต่ละแห่ง ในช่วงปลายปี 2566 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ และเป็นโมเดลต้นแบบขยายไปสู่ชุมชนอื่น ๆ ต่อไป

 

ซึ่งทางเพจ สวท. เชียงราย ได้โพสต์แจ้งข้อมูลว่า จังหวัดเชียงราย คว้า 3 ปีซ้อน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 66 ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ทั้งนี้ ตลอดสามปีที่ผ่านมา จังหวัดเชียงราย ได้รับการพิจารณาให้เป็น สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ต่อเนื่องทั้งสามปี โดย

ปี 2564 ได้แก่ ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย 

ปี 2565 ได้แก่ ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเมืองรวง จังหวัดเชียงราย 

และปี 2566 ล่าสุด ได้แก่ ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ทุกท่านสามารถเที่ยววัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

โดยมีรายละเอียดค่าบริการ
1.มีค่าบริการรถรับส่งท่านละ 30 บาท ขึ้น/ลง
2. แล้วก็บัตรเข้าชมสกายวอล์คท่านละ 40 บาท
เข้าขึ้นชมฟรี! สำหรับ
– ผู้สูงอายุ 80 ปี
– เด็กส่วนสูงไม่เกิน 120 เซนติเมตร
– พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
หมายเหตุ : คุณครูโรงเรียนถ้าจะพานักเรียนมา ทัศนศึกษาให้ทำใบขอมาก่อนล่วงหน้า แล้วก็แต่งกายใสชุด ประจำโรงเรียน
 
ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โทร 0612081998
เปิดให้เข้าชมสกายวอล์ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 07.30 น.
เวลาปิดทำการ : 17.30 น.
 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์ / คนเก็บภาพ แม่สาย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

ขับเคลื่อนวัฒนธรรมบ้านศรีดอนชัย พัฒนาต่อยอด 10 สุดยอดเที่ยวชุมชนยลวิถี

 
วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม 2566ณ ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสาวกฤษยา จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ พร้อมด้วยนางกัลยา แก้วประสงค์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ รับผิดชอบงานขับเคลื่อนเที่ยวชุมชน ยลวิถี และงานพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย และนางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการรับผิดชอบงานชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ (ตลาดวัฒนธรรม) ให้ลงพื้นที่ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย ดำเนินการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม ดังนี้
 
ร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินการจัด “กาดลื้อศรีดอนชัย” ภายใต้โครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยมีพระครูสุจิณวรคุณ เจ้าคณะตำบลศรีดอนชัย/เจ้าอาวาสวัดท่าข้ามศรีดอนชัย เป็นประธานปรึกษาหารือ ที่ประชุมเห็นพ้องกำหนดจัดกาดลื้อศรีดอนชัย ครั้งที่ 1 ในวันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 ณ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย
 
ปรึกษาหารือแนวทางการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทย ของชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย ร่วมกับนางแว่นแก้ว ภิรมย์พลัด ประธานกลุ่มสตรีทอผ้าศรีดอนชัย และนางผดุง สุทธิประทีป ประธานกลุ่มสัมมาชีพ
และติดตามการถ่ายทำสื่อวีดิทัศน์ “ข้ามทุกข์ พบสุข ที่วัดท่าข้ามศรีดอนชัย” กิจกรรมการนำอัตลักษณ์ชุมชน มาสร้างเสน่ห์ด้านการท่องเที่ยวการนำทุนทางวัฒนธรรม (5F/5F+) มาพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม โดยการคิดค้นหรือพัฒนาจุดแข็งวัฒนธรรมใหม่ๆ สร้างโอกาสด้านการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและความพร้อมสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” จังหวัดเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

กฤษยา จันแดง, กัลยา แก้วประสงค์, สุพรรณี เตชะตน : รายงาน/ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการ
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

วธ. ปลื้มกระแสตอบรับบ้านศรีดอนชัย “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” จ.เชียงราย

 

วธ. ปลื้มกระแสตอบรับ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 64-65 ดีเกินคาด สร้างรายได้ท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 134.27 รายได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.19 เกิดนักท่องเที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.64 ด้านบ้านเชียง จ.อุดรธานี , บ้านศรีดอนชัย จ.เชียงราย , บ้านถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู ได้รับความนิยมสูงสุด ผู้คนติดใจเสน่ห์บรรยากาศของชุมชน อาหาร และสินค้าชุมชน 

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ ทางคณะทำงานโครงการ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ได้ทำแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด เครือข่ายทางวัฒนธรรม นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดที่ชุมชนได้รับการคัดเลือกเป็นสุดยอดชุมชนต้นแบบ ฯ จำนวน 19 จังหวัด และในพื้นที่จังหวัดที่ชุมชนไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นสุดยอดชุมชนต้นแบบ ฯ จำนวน 57 จังหวัด รวมจำนวน 3,089 คน ซึ่งเป็นการสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ ประสบการณ์ ความประทับใจ การมีส่วนร่วม ตลอดจนมุมมองความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชุมชน

ปลัด วธ. กล่าวว่า ผลปรากฏว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เคยได้ยินหรือรับรู้รับทราบเกี่ยวกับโครงการ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ดังกล่าวมาบ้างแล้ว โดยผู้ที่อยู่ในพื้นที่ชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” จะมีการรับรู้รับทราบมากกว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่นอกพื้นที่ ในส่วนของชุมชนที่ได้รับความนิยมและมีผู้เคยไปท่องเที่ยวมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี 2.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย จ.เชียงราย และ3.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู ด้านชุมชนที่ส่วนใหญ่คิดว่าจะไปเพิ่มเติมมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย จังหวัดเชียงราย 2.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านผาบ่อง จ.แม่ฮ่องสอน 3.ชุมชนคุณธรรมฯ แหลมสัก จ.กระบี่ นอกจากนี้ ด้านเสน่ห์ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบจากการที่ได้ไปท่องเที่ยว ณ สุดยอดชุมชนต้นแบบฯ ได้แก่ “บรรยากาศของชุมชน” รองลงมา คือ “อาหาร” และ “สินค้าชุมชน” ตามลำดับ

นางยุพา กล่าวต่อไปว่า สำหรับการจัดโครงการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ในปี 2564 และ 2565 รวม 20 ชุมชน นั้น ทำให้ระดับการพัฒนาของสุดยอดชุมชนต้นแบบฯ ทั้ง 20 ชุมชน มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้น สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวชุมชน จากเดิมการก่อนได้รับคัดเลือก 133,033,148 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 311,659,739 บาท คิดเป็นร้อยละ 134.27 รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) เดิม 8,929,479 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 14,214,750 บาท คิดเป็นร้อยละ 59.19 จำนวนนักท่องเที่ยว เดิม 678,008 คน เพิ่มขึ้นเป็น 1,360,376 คน คิดเป็นร้อยละ 100.64 โดยเป็นการเปรียบเทียบจากข้อมูลรายได้ภายหลัง 1 ปี ของชุมชนที่ได้รับรางวัลสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 2564 และครึ่งปีของชุมชนที่ได้รับรางวัลสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 2565 นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามยังได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่มีบรรยากาศของชุมชนมากขึ้น การเดินทางสะดวก ชุมชนแสดงออกถึงอัตลักษณ์ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

“ขณะนี้ วธ. กำลังคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทั่วทั้งประเทศ ทั้งนี้ วธ. จะมุ่งส่งเสริมพัฒนาสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ที่มีบรรยากาศของชุมชน มีภูมิทัศน์น่าสนใจและรื่นรมย์ รวมถึงส่งเสริมให้ชุมชนนำอัตลักษณ์และทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน มาพัฒนาเป็นจุดขายแก่นักท่องเที่ยวมากขึ้น เน้นให้ความสำคัญในเรื่องการเดินทางสะดวกเข้าถึงได้ง่าย เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน พร้อมด้วยการจัดพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติจากนายกรัฐมนตรี เป็นการการันตีชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และทำให้มีผู้มาเยือนเพิ่มมากขึ้น” ปลัด วธ.กล่าว

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

กระทรวงวัฒนธรรม ยกระดับผลิตภัณฑ์ บ้านศรีดอนชัย และบ้านเมืองรวง เชียงราย

เมื่อวันที่ 5-8 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม เอส รัชดา เลเชอร์ กรุงเทพมหานคร

กระทรวงวัฒนธรรม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) ประจำปี พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 5- 8 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม เอส รัชดา เลเชอร กรุงเทพมหานคร เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ในด้านการออกแบบ ประโยชน์ใช้สอย รวมถึงการขยายช่องทางการตลาดให้ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยว เตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะเข้ามาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
 
วันที่ 6 มิถุนายน 2566 นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีนางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางสุภัทร กิจเวช ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม วิทยากร ผู้ประกอบการ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เข้าร่วม จำนวน 70 คน
 
การอบรมฯ ในวันนี้มุ่งเน้นการเรียนรู้การนำทุนทางวัฒนธรรมมาพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าทางวัฒนธรรม การพัฒนาต่อยอดสินค้าทางวัฒนธรรม การยื่นคำขอจดลิขสิทธิ์ การขยายช่องทางการจำหน่ายและสร้างเครือข่ายทางการค้า
 
วันที่ 7 มิถุนายน 2566 กิจกรรม Workshop เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไทย นำเสนอแบบแนวคิดในการพัฒนาสินค้า
 
วันที่ 8 มิถุนายน 2566 ศึกษาดูงาน ณ ชุมชนคุณธรรมฯ วัดเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี และชุมชนคุณธรรมฯ บ้านจอมปลวก จังหวัดสมุทรสงคราม
 
ในการนี้ จังหวัดเชียงราย มีผู้ประกอบการเข้าร่วมประชุม จำนวน 2 แห่ง คือ
1. ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย สุดยอดเที่ยวชุมชน ยลวิถี ปี 2564 ผู้ประกอบการ จำนวน 2 ราย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ผ้าทอไทลื้อศรีดอนชัย และผลิตภัณฑ์ กระเป๋าและตุ๊กตาไทลื้อศรีดอนชัย
 
2. ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเมืองรวง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สุดยอดเที่ยวชุมชน ยลวิถี ปี 2565 ผู้ประกอบการ จำนวน 2 ราย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ กาแฟอาข่ามิโน และผลิตภัณฑ์ ผ้าปักเมืองรวง
 
ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางกัลยา แก้วประสงค์ และนายจิรัฏฐ์ ยุทธ์ธนประวิช นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ กลุ่มกิจการพิเศษ เข้าร่วมอบรมและอำนวยความสะดวกเครือข่ายวัฒนธรรมตลอดการจัดกิจกรรมนี้

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

กฤษยา จันแดง,กัลยา แก้วประสงค์ : รายงาน
จิรัฏฐ์ ยุทธ์ธนประวิช : ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News