Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

เปิดโครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการจัดทำแผนพัฒนา อบจ.เชียงราย

เปิดโครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการจัดทำแผนพัฒนา อบจ.เชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.30 น. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยมี นายรามิล พัฒนมงคลเชฐ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ณ ห้องประชุมธรรมปัญญา ในการนี้ นายจีรพงษ์ พุทธวงค์ วิทยากรจากสำนักงานจังหวัดเชียงราย บรรยายและให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในภาพรวมของจังหวัด ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้จัดโครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมและบูรณาการร่วมกัน ในการแก้ไขปัญหาความต้องการและความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายอย่างเป็นรูปธรรม ถูกต้องตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

ประธาน​แม่บ้าน​มหาดไทย​เชียงราย​ ลง​พื้นที่​ ติดตาม “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา”

ประธานแม่บ้านมหาดไทยเชียงราย ลงพื้นที่ ติดตาม “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา”

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจสมาชิกศิลปาชีพ และกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอพญาเม็งราย โดยมีนายชูสวัสดิ์ สวัสดี นายอำเภอพญาเม็งราย พร้อมด้วยนางโสภิชา หงษ์คำ พัฒนาการอำเภอพญาเม็งราย แม่บ้านมหาดไทยอำเภอพญาเม็งราย ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้า สมาชิกกลุ่มศิลปาชีพ ในพื้นที่อำเภอพญาเม็งราย ร่วมให้การต้อนรับและนำเสนอข้อมูลการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ในการนี้ นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางอำไพ บัวระดก ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และทีมงานนักวิชาการสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ร่วมลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนข้อมูลเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามแนวทาง หลักเกณฑ์การประกวด รวมทั้งส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มและชุมชนอย่างยั่งยืน
 
ในโอกาสนี้ นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย และคณะ ได้พบปะและมอบแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้แก่กลุ่ม และเชิญชวนส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน
 
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถส่งผลงานและใบสมัครเข้าร่วมการประกวดฯ ได้ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 4 สิงหาคม 2566
Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Cddchiangrai

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

เชียงราย เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชุมชน-ตอบโจทย์ นักเดินทางกำลังซื้อสูง

เชียงราย เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชุมชน-ตอบโจทย์ นักเดินทางกำลังซื้อสูง

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ที่ร้านสวรรค์บนดิน ฟาร์ม แอนด์ ที ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย นายสมหวัง บุญระยอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดโครงการบูรณาการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ไมซ์สร้างสรรค์ รวมพลังชุมชนภาคเหนือยกระดับการพัฒนา และการมีส่วนร่วม สู่ Product MICE Premium จังหวัดเชียงราย โดยมีนางศุภาดา ชัยวงษ์ ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) นำหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เข้าร่วม ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับความรู้จากวิทยากรผู้ชำนาญการ รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ประกอบการด้วยกัน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมช่องทางการตลาดอีกด้วย

นางศุภาดา ชัยวงษ์ ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า Product MICE Premium โปรเจ็กต์ของทีเส็บ (TCEB) สำนักงานภาคเหนือ เป็นโครงการสนับสนุนการนำอัตลักษณ์ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าโดยช่างฝีมือท้องถิ่น เช่น อาหาร ของชำร่วย หรือของฝาก ตอบโจทย์นักเดินทางไมซ์ (นักท่องเที่ยวกำลังซื้อสูง) ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ยกระดับการพัฒนาสินค้าผ่านวัฒนธรรม วิถีชีวิต และทรัพยากรชุมชนให้เกิดประโยชน์ กระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างความแตกต่างให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเกิดความประทับใจ

ด้านนายสมหวัง บุญระยอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายเป็น 1 ใน 4 ของพื้นที่ภาคเหนือ ที่ทางทีเส็บให้ความสำคัญ ในฐานะเมืองที่มีศักยภาพ ทั้งยังเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ มีพรมแดนเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว และเมียนมา) ซึ่งสามารถใช้กลไกไมซ์ เป็นเครื่องมือสร้างเครือข่ายในการบริหารจุดแข็งร่วมกัน และเตรียมพร้อมสู่การขยายความร่วมมือไปยังประเทศในกลุ่มอนุภาคลุ่มน้ำโขง หรือ Greater Mekong Subregion (GMS) ในอนาคต และยังเป็นชุมชนที่มีเอกลักษณ์หลากหลายทางชาติพันธุ์ ซึ่งสินค้าของที่ระลึก หรือของชำร่วยเป็นหนึ่งในสินค้าที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว หากได้รับการพัฒนาให้สินค้าที่สามารถสะท้อนอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ของจังหวัดเชียงรายได้ จะทำให้เป็นที่จดจำสำหรับผู้มาเยือน

รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวต่อไปว่า การพัฒนาสินค้าหรือของชำร่วย จึงจำเป็นต้องดำเนินการโดยอ้างอิงข้อมูลอื่น ที่เป็นตัวตนของจังหวัดเชียงราย ทำให้สินค้าหรือของชำร่วยของเรา มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น เป็นที่จดจำ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มคุณค่าสินค้าให้ดูดี น่าใช้ น่าซื้อ อยู่ในระดับพรีเมี่ยม และสามารถนำไปใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน ต่อไป
Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

ผลงานโครงการโรงเรียนเชียงรายรู้เท่าทันภัยออนไลน์

ผลงานโครงการโรงเรียนเชียงรายรู้เท่าทันภัยออนไลน์

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ที่ห้องประชุมภูชี้ฟ้า โรงแรมภูฟ้าวารีเชียงราย รีสอร์ท ตำบลท่าสุด อำเภอเมืองเชียงราย นายวัลลภ ไม้จำปา ศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานพิธีเปิด “เวทีนำเสนอผลงานโครงการโรงเรียนเชียงรายเท่าทันภัยออนไลน์” ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยทางมูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการโรงเรียนเชียงรายเท่าทันภัยออนไลน์ ร่วมกับ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ซึ่งเป็นโครงการที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อน และผลักดันให้มีการจัดการเรียนรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ เท่าทันภัยออนไลน์ ในสถานศึกษา จำนวน 20 แห่ง ในจังหวัดเชียงราย 

รวมถึงพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถนำกระบวนการ ทักษะความรู้ไปขยายผลต่อในสถานศึกษา และมีทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผ่านกระบวนการ Active Learning ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับสถานศึกษา ครูผู้สอน และเด็กนักเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการ โดยมี นางสาวเกษณี จันทร์ต๊ะ ผู้จัดการโครงการมูลนิธิ ECPAT ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน เข้าร่วมนำเสนอผลงานฯ ในครั้งนี้ด้วย

นางสาวเกษณี จันทร์ตระกูล ผู้จัดการโครงการมูลนิธิ ECPAT กล่าวว่า โครงการ “โรงเรียนเชียงรายเท่าทันภัยออนไลน์” ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งดำเนินการในพื้นที่ 20 โรงเรียนของจังหวัดเชียงราย ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ระยะเวลาโครงการ 1 ปี คือ มิถุนายน 2565 – พฤษภาคม 2566 เป้าหมายของโครงการ คือ 

เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดกระบวนการเรียนการสอน เรื่อง รู้เท่าทันภัยออนไลน์ ส่งเสริมให้สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอน เรื่อง รู้เท่าทันภัยออนไลน์ แก่เด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และจัดให้มีสื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับภัยออนไลน์สำหรับสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และเด็กนักเรียนสามารถเข้าถึงได้
ทางด้าน นายวัลลภ ไม้จำปา ศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย กล่าวอีกว่า 

โครงการโรงเรียนเชียงรายเท่าทันภัยออนไลน์ ที่สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ ความสำเร็จ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งกับเด็กนักเรียน ครูผู้สอน และสถานศึกษา ซึ่งจากการดำเนินงานโครงการ พบว่า เด็กนักเรียนที่ได้เรียนเรื่องเท่าทันภัยออนไลน์มีความรู้และทักษะในการดูแลปกป้องตนเองจากภัยออนไลน์ได้ดีขึ้น รู้จักแหล่งให้ความช่วยเหลือ ครูผู้สอนสามารถทำหน้าที่เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างดี เน้นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม สื่อวิดีโอ ข่าว และการคิดวิเคราะห์ และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนตามความเหมาะสมตามวัยของเด็กนักเรียน ยิ่งกว่านั้นสถานศึกษาเองก็ให้ความสำคัญและส่งเสริมครู ส่งเสริมนักเรียนในการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง และสอดคล้องกับทักษะการใช้สื่อในศตวรรษที่ 21
Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

ประกันสังคม จ.เชียงราย เพิ่มศักยภาพ ขับเคลื่อนความคุ้มครองแรงงานอิสระ

ประกันสังคม จ.เชียงราย เพิ่มศักยภาพ ขับเคลื่อนความคุ้มครองแรงงานอิสระ

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 นางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายประกันสังคม ประจำปี 2566 ที่โรงแรมทีค การ์เด้น รีสอร์ท ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายประกันสังคม ประจำปี 2566 จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 90 คน เพื่อยกระดับบทบาทหน้าที่ของแกนนำเครือข่ายประกันสังคม 

ในฐานะตัวแทนขับเคลื่อนการขยายความคุ้มครองประกันสังคม สู่แรงงานนอกระบบในระดับพื้นที่ เพิ่มศักยภาพและเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามกฎหมาย เทคนิคการทำงาน รวมทั้งเทคโนโลยีที่จำเป็นในการปฏิบัติงานประกันสังคมมาตรา 40 ให้กับแกนนำเครือข่ายประกันสังคม สามารถนำไปขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแกนนำเครือข่ายประกันสังคม ในการขับเคลื่อนการขยายความคุ้มครองประกันสังคม สู่แรงงานนอกระบบในระดับพื้นที่โดยตรง

นางวิไลพร วงษ์อัยรา ประกันสังคมจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายมีเครือข่ายประกันสังคมมาตรา 40 รวมทั้งสิ้น 225 ราย สำนักงานประกันสังคมมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างกลไกในการมีส่วนร่วมของภาครัฐ และภาคประชาชน ที่เป็นกระบอกเสียงกระจายในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจ รณรงค์ และโน้มน้าวกระตุ้นให้แรงงานอิสระตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างหลักประกันทางสังคม และคุณภาพชีวิต ทั้งในวัยทำงาน และวัยเกษียณ ที่ดีขึ้น ตลอดจนสามารถนำไปสู่การขยายผลการให้ความคุ้มครองประกันสังคมมาตรา 40 ได้อย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องตามนโยบายประกันสังคมทั่วไทยของประเทศ 

เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการประกันสังคมมาตรา 40 ด้วยการให้บุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และมีการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่บุคคลภายนอกที่มาร่วมเป็นเครือข่ายตามความเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายประกันสังคมมาตรา 40 ภาคประชาชนแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอย่างทุ่มเท เสียสละ และอุทิศตน ในการร่วมผลักดัน และขับเคลื่อนการให้ความคุ้มครองแรงงานอิสระให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ มีผลงานประจักษ์ (Best Practice) ต่อไป
Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

เชียงราย ถอดบทเรียนปัญหาหมอกควันไฟป่า และ PM2.5 เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

เชียงราย ถอดบทเรียนปัญหาหมอกควันไฟป่า และ PM2.5 เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ผศ.ดร.นิอร ศิริมงคลเลิศกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเชียงราย ผศ.ดร.จิราพร ขุนศรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผศ.ดร.นพชัย ฟองอิสสระ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดร.อภิญญา ดิสสะมาน สถาบันพระปกเกล้า ได้เป็นวิทยากรในการ ถอดบทเรียน การเผาและการจัดการเชื้อเพลิงกับปัญหาไฟและฝุ่นในชุมชน ด้วยวิธี “การประชาเสวนา” (Citizen Dialogue) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การยกระดับการบริหารเชื้อเพลิงหรือการชิงเผาด้วยนวัตกรรม Burn Check ในชุมชนเสี่ยงต่อการเผา” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย เป็นหัวหน้าโครงการ

ในการถอดบทเรียนในครั้งนี้ ได้มี นายอุดม ปกป้องบวรกุล นายอำเภอแม่สรวย ได้นำคณะวิจัย พบปะกับ ผู้บริหาร ผู้นำชุมชนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ และองค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เพื่อร่วมกันถอดบทเรียนการเกิดปัญหาหมอกควันไฟป่า ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ในพื้นที่ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เพื่อเป็นการนำข้อมูลที่ได้มานำเสนอเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหาในปีต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม และถาวร

นายอุดม ปกป้องบวรกุล กล่าวว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้ทุกตำบลให้ไปถอดบทเรียนว่าไฟป่ามันเกิดจากอะไรแล้วยังมีวิธีจัดการหรือแก้ไขปัญหายังไงในเบื้องต้น จึงได้ชวน สถาบันการศึกษาในพื้นที่มาถอดบทเรียน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีข้อมูลการเกิดจุดความร้อนหรือฮอตปอตในพื้นที่ ตำบลท่าก๊อ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ถึง 30 เมษายน ซึ่งมากกว่าทุกตำบลในแม่สรวย และช่วงบ่ายก็จะไปถอดบทเรียนในพื้นที่ตำบลแม่พริกซึ่งมีข้อมูลการเกิดฝุ่นความร้อนน้อยที่สุดของทั้งอำเภอแม่สรวย ซึ่งบริบทของ อำเภอแม่สรวย อยู่ในเขตป่าไม้ 9-18.6% เหลือพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในเขตป่าไม่ถึง 2% หรือประมาณ 14,000 ไร่ แต่ข้อมูลการออกโฉนดมีมากกว่า เพราะบางพื้นที่อาจจะมีการออกโฉนดทับซ้อนที่ในป่าสงวน บางพื้นที่มีการยึดถือครอบครองทำประโยชน์มาก่อนแล้ว ไม้เข้ามาประกาศทีหลังอันนี้เป็นประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญ การแก้ไขปัญหาจึงขึ้นกับบริบทแต่ละพื้นที่เพราะฉะนั้น จึงได้มีการเชิญนักวิชาการจาก 3 สถาบัน มาทำวิจัยเรื่องการบริหารจัดการเชื้อเพลิงผ่านระบบแอปพลิเคชั่นเบิร์นเช็ค โดยจะนำความคิดเห็นของประชาชนมาประกอบ เป็น 5 เหตุปัญหาการแก้ไขปัญหาและก็การกระบวนการในอนาคตของภาพรวมทั้ง อำเภอแม่สรวยและเราก็จะนำความเห็นเหล่านี้ไปนำเสนอ ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนจังหวัดให้ได้พิจารณา

นายชยพล สุกิจยา หน.ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต.ท่าก๊อ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการจัดการและป้องกันการเกิดปัญหาไฟป่า เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ตัดสินใจใช้อำนาจอย่างเด็ดขาดเกินบทบาทของท้องถิ่น และได้พยายามได้ประสานส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ในปีนี้ทางอำเภอ และทางฝ่ายอุทยานที่เกี่ยวข้องเข้าได้เข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งปีนี้อาจจะไม่ทันแต่ปีหน้าต้องมาวางแผนกันใหม่ ซึ่งปัญหามันเกิดขึ้นภาพรวมเป็นวงกว้างแต่การบริหารจัดการคือต่างคนต่างทำโดยที่ไม่ได้มาสรุปกันว่าเราจะทำยังไง เช่นถ้าขาดแคลนการปฏิบัติหน้าที่กำลังด้านงบประมาณท้องถิ่นจะสนับสนุนอะไร ฝ่ายปกครองจะสนับสนุนอะไร ป่าไม้อุทยานมีหน้าที่โดยตรงมีการสนับสนุนด้านกำลังคนหรืองบประมาณก็นำมาหารือกันเพื่อวางแผนแล้วก็แบ่งหน้าที่การทำงาน

“วิธีแก้ไขแนวทางระยะยาวในพื้นที่ของตำบลท่า คือให้ทุกหน่วยงานมาวางแผนร่วมกันและหาหามาตรการวิธีการในการป้องกันปัญหาไฟป่าทำเป็นระยะยาวนะครับไม่ใช่ว่ามาสถานการณ์ไปป่าหมอกควันครั้งหนึ่งอยากให้มีการขับเคลื่อนเป็นภาพรวมขับเคลื่อนไปตลอดทั้งปี”หน.ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต.ท่าก๊อ

ด้าน ว่าที่ร้อยตรี ชลิต ศรีจันทร์แก้ว รองปลัด อบต.แม่พริก กล่าวว่า ในส่วนของอบตแม่พริกได้มีการระดมความร่วมมือภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจุดเด่นของตำบลแม่พริกที่สามารถบริหารจัดการไฟป่าได้ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่งนั่นก็คือผู้นำท้องถิ่นผู้นำท้องที่แล้วก็รวมถึงประชาชนทุกภาคส่วนร่วมในพื้นที่ ดังนั้นเมื่อมีนโยบายจากภาครัฐในการสั่งการในเรื่องการจัดการป้องกันไฟฟ้าในพื้นที่ก็จะสามารถระดมความร่วมมือบูรณาการได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ทางอบตแม่พริกก็ยังมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องของการจัดการพื้นที่ป่า ชุมชนใดมีการตัดไม้ทำลายป่าหรือว่าเผาป่าก็จะถูกปรับ 

โดยงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่หมู่บ้านก็เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่าง อบต.ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่และประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและมีการถือปฏิบัติจนถึงทุกวันนี้ ในส่วนบทบาทของท้องถิ่นในการป้องกันปัญหาไฟป่าก็คงจะเหมือนกับท้องถิ่นอื่นๆแต่ในส่วนของตำบลแม่พริกที่เรามีการสนับสนุนส่งเสริมที่อาจจะแตกต่างจากพื้นที่อื่นคือเราได้มีการส่งเสริมในเรื่องของการให้มีอาชีพในชุมชน เพื่อที่เขาจะสามารถลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและก็ลดความเหลื่อมล้ำทางอาชีพ เราได้มีการประสานไปยังโครงการหลวงประสานไปยังหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเป็นสำนักงานพลังงานจังหวัดเชียงราย รวมไปถึงหน่วยงานต่างๆ ได้เข้าไปบูรณาการทำงานร่วมกันในพื้นที่ในการสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในไฟป่า ปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นในตำบลมีการลักลอบตัดแล้วก็มีการเผาป่าเพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น เช่นการบริโภคในครัวเรือนหรือการขายซึ่งตรงนี้ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุนั่นก็คือความยากจนถ้าเราสามารถแก้ปัญหาคนกลุ่มเหล่านี้ได้เราก็จะสามารถให้เขามีอาชีพที่ไม่ต้องไปเผาป่าอีกต่อไป
 
“ข้อเสนอในเชิงนโยบายอยากจะให้ภาครัฐได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีมาใช้โดยเปลี่ยนจากการเผาป่าให้พืชให้ผลิตไม้ต่างๆมีมูลค่าในการทำรายได้ให้กับคนในชุมชน อยากจะเสนอในเชิงนโยบายในเรื่องของการให้มีนวัตกรรมมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมในพื้นที่แต่ละชุมชนเพราะว่าในแต่ละชุมชนก็จะมีปัญหาที่เกิดจากไฟป่าไม่เหมือนกัน จึงอยากจะขอเสนอให้ทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการลงพื้นที่โดยนักศึกษาร่วมกันแล้วก็กำหนดเป็นแนวทางเป็นนวัตกรรมที่เหมาะสมก็จะสามารถได้เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสภาพในพื้นที่แล้วปัจจัยตรงนี้จะช่วยให้สิ่งที่ชาวบ้านมองว่าเป็นขยะเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าให้เป็นมูลค่ามีรายได้ในชุมชนเขาก็จะไม่เผาป่าเพราะเขามองว่าสิ่งที่เขาเผาป่ามันคือสิ่งที่มีมูลค่ามีรายได้ให้กับเขา”รองปลัด อบต.แม่พริก

นายสรวิชญ์ ธิวงศ์ ผญบ.บ้านโฮ่ง ม.10 ต.แม่พริก กล่าวว่า หลังจากได้ร่วมให้ข้อมูลกับทางทีมวิจัยในวันนี้ก็ได้สรุปปัญหาที่ในชุมชนตำบลในพริกได้ดำเนินการมา แต่ก็ในบริบทของตำบลในพริกมีการบริหารจัดการเรื่องการเผาหรือว่าการป้องกันถือว่าอยู่ในระดับที่ระดับที่ดีในการที่จะส่งเสริมหรือสนับสนุนในการใช้งานงบประมาณหรือว่านวัตกรรมใหม่ๆที่เกี่ยวกับการดับไฟหรือว่าป้องกันภัยที่ดีที่สุดที่ผ่านมานี่พี่น้องประชาชนเข้าใจเข้าใจในกฎระเบียบของชุมชนไม่ว่าจะเป็นของทางภาครัฐ หรือว่าทางตำบล
Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

เทศบาลนครเชียงรายส่งทีมป้องกันไข้เลือดออกจากยุงลาย

เทศบาลนครเชียงรายส่งทีมป้องกันไข้เลือดออกจากยุงลาย

Facebook
Twitter
Email
Print

  เทศบาลนครเชียงรายป้องกันไข้เลือดออกจากยุงลาย นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย มอบหมายให้นางพรทิพย์ จันทร์ตระกูล รก.ผอ.กองการแพทย์เทศบาลนครเชียงราย ออกรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงโรคไข้เลือดออกซึ่งมาจากยุงลาย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เป็นต้นมา โดยให้ความรู้ ให้คำแนะนำ และออกฉีดพ่นหมอกควัน กำจัดลูกน้ำยุงลาย เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง 65 ชุมชมในเขตเทศบาลนครเชียงราย โดยร่วมกับ อสม. แกนนำประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย แจกสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนปราศจากโรคภัย

  ทั้งนี้ งานเวชกรรมสังคม กองการแพทย์เทศบาลนครเชียงราย การใช้สารเคมีป้องกันควบคุมยุงพาหะนำโรค เช่น พ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย มีความจำเป็นในการหยุดการแพร่ระบาดของโรคไม่ให้กระจายเป็นวงกว้าง และป้องกันไม่ให้ยุงมีเชื้อไปกัดและแพร่โรคให้คนอื่นต่อการพ่นสารเคมี ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง ทันท่วงที และได้มาตรฐาน ในขอบเขตการระบาด นอกจากนี้ การพ่นต้องเลือกใช้สารเคมีและความเข้มข้นตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ และได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. ไม่พ่นบ่อยครั้งโดยไม่จำเป็น เพื่อป้องกันการดื้อของยุงต่อสารเคมี

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : เทศบาลนครเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

มทบ.37 จัดกำลังพลสนับสนุน บ้านธารทอง สร้างอาคารโรงผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

มทบ.37 จัดกำลังพลสนับสนุน บ้านธารทอง สร้างอาคารโรงผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 66 เวลา 09.00 น. ร.ต. ไพบูลย์ สายหงษ์ หน.ชป.ประสานงานและคุ้มครองป้องกันชุมชน สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ.ธารทอง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พร้อมด้วยกำลังพล สนับสนุนเจ้าหน้าที่เกษตรในพระองค์ ทำการก่อสร้างอาคารโรงผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้ในสำนักงานโครงการ สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ.ธารทอง ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

น่าชื่นชม “มทบ.37” เชียงราย ลุยพื้นที่ มอบของให้ประชาชนในพื้นที่ต่างอำเภอ

น่าชื่นชม “มทบ.37” เชียงราย ลุยพื้นที่ มอบของให้ประชาชนในพื้นที่ต่างอำเภอ

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 66 เวลา 09.00 น. ร.อ.จรัญ นาคจาด นายทหารประสานงานศอป.โครงการ พมพ.แม่ฟ้าหลวง – แม่จัน พร้อมด้วยกำลังพล มอบผ้าห่มให้กับราษฎรผู้ยากไร้ นายลีตู่ อู่ยื่อ และนางละตะ อู่ยื่อ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ณ บ้านเทอดไทย ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

ต่อมามทบ.37 จัดกำลังพล นำข้าวสารแจกจ่ายใเวลา 10.30 น.  ร.ต. วชิรศักดิ์ ตันชัยสิริมณีกุล หน.ชป.ประสานงานและคุ้มครองป้องกันชุมชน สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ.ห้วยหยวกป่าโซ ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย พร้อมด้วยกำลังพล นำข้าวสารแจกจ่ายให้กับราษฎรบ้านเล่าลิ่ว หมู่ที่ 14 ต.แม่สลองใน นางบู่ผะ ยูสึ อายุ 74 ปี และ นางอาแม มาเยอะ อายุ 48 ปี เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ขาดแคลนคุณทรัพย์

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

“วันดีดี วันแห่งความสุขที่ได้แบ่งปัน ครั้งที่ 2” โชว์รูม โตโยต้า เชียงราย

“วันดีดี วันแห่งความสุขที่ได้แบ่งปัน ครั้งที่ 2” โชว์รูม โตโยต้า เชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 66 เวลา 09.00 น. ศอ.จอส.พระราชทาน มทบ.37 ร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย จัดกำลังพลจิตอาสา ร่วมกิจกรรมบริจาคโลหิต “วันดีดี วันแห่งความสุขที่ได้แบ่งปัน ครั้งที่ 2” ณ โชว์รูม โตโยต้าเชียงราย สำนักงานใหญ่ อ.เมืองเชียงราย จว.ช.ร. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการสำรองโลหิตให้กับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้โลหิตในการรักษา ในการบริจาคโลหิตครั้งนี้ ศอ.จอส.พระราชทาน มทบ.37 จัดกำลังพลจิตอาสา ร่วมกิจกรรมบริจาคโลหิต ได้ปริมาณโลหิต จำนวน 3,150 ซีซี

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE