Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เชียงราย เปิดงาน “กว่าง” ยอดนักสู้แห่งล้านนา

 
วันศุกร์ ที่ 8 กันยายน 2566 ที่ป่าในเมือง สวนป่าประชารัฐเพื่อความสุขของคนไทย สวนรุกขชาติโป่งสลี ตำบลสันทราย อำเภอเมืองเชียงราย นายชุติเดช กมนณชนุตม์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 เชียงราย เป็นประธานเปิดงาน “กว่าง” ยอดนักสู้แห่งล้านนา Chiang Rai Beetles Festival 2023 กิจกรรมการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีศิลปะวิถีชีวิตล้านนาอย่างสร้างสรรค์ ตามโครงการพัฒนากิจกรรมและการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยมี นายกวี ประสมพล ประธานคณะกรรมการจัดงาน พร้อมด้วยนางสาวนัทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และนักเรียนนักศึกษา เข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง
 
 
สำหรับการจัดงาน “กว่าง” ยอดนักสู้แห่งล้านนา Chiang Rai Beetles Festival 2023 ในปีนี้ จัดขึ้นเป็นปีที่ 4 เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานอัตลักษณ์ ประเพณีของชาวล้านนาให้คงอยู่ รวมถึงสามารถต่อยอดนำไปสู่การสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนจังหวัดเชียงรายได้เข้ามาใช้บริการโครงการป่าในเมือง สวนป่าประชารัฐฯ เพิ่มมูลค่าด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อีกทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนให้แก่ประชาชน ชุมชน และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างรายได้จากการท่องท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้นแก่ประชาชนและจังหวัดเชียงราย โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 9 กันยายน 2566
 
ภายในงานมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับด้วงกว่าง ศิลปะการชนกว่าง การแสดงภาพวาดกว่างที่ได้รับรางวัล รวมถึงการจำหน่ายสินค้าจากด้วงกว่างในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนนิทรรศการของหน่วยงานราชการ การประกวดการแข่งขันเกี่ยวกับด้วงกว่าง อาทิ การประกวดกว่างชนสง่างาม การประกวดกว่างแปลก การประกวดกว่างกิเล็ก การประกวดกว่างไทยตัวผู้ใหญ่ยักษ์ การประกวดกว่างแม่พันธุ์ใหญ่ การประกวดวาดภาพกว่าง การแข่งขันวิ่งกว่าง และการแข่งขันกว่างชนลีลาเด็ด พร้อมกันนี้ ในพิธีได้มีการมอบรางวัลการประกวดภาพวาดระบายสี ในหัวข้อ “กว่าง กับวิถีชีวิตแห่งล้านนา” แก่ผู้ที่ได้รับรางวัล ทั้ง 6 ประเภท รวมจำนวน 32 รางวัล 
 
ซึ่งได้ ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ พร้อมด้วยนายกสุวิทย์ ใจป้อม และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสมาคมขัวศิลปะ ร่วมตัดสินผลงาน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยมีผลงานที่ส่งเข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 541 ชิ้นงาน ตามประเภทการประกวด 6 ประเภท ได้แก่ ระดับประถมศึกษาตอนต้น ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรืออาชีวศึกษา ระดับอุดมศึกษา และระดับประชาชนทั่วไป
 

สำหรับการเลี้ยงกว่าง และการชนกว่าง เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวล้านนา ที่นิยมเล่นกันเป็นเวลานาน ได้สืบทอดกันมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น ในอดีตการเล่นชนกว่างของชาวล้านนา นิยมเล่นกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และมีให้เล่นกันเฉพาะในฤดูฝน คือช่วงประมาณเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม พอออกพรรษาแล้วก็ค่อย ๆ ปล่อยไป หรือเริ่มตายตามวัฏจักร แต่ปัจจุบันได้มีกลุ่มที่ชื่นชอบการเพาะเลี้ยงด้วงกว่างได้พัฒนาองค์ความรู้ในการเพาะพันธุ์ด้วงกว่างจนสามารถทำให้มีด้วงกว่างออกมาได้ตลอดทั้งปี และมีการต่อยอดนำไปสู่การสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจได้หลากหลาย 

ทั้งด้านการเพาะเลี้ยงปรับปรุงสายพันธุ์ เกมก็ฬา ของที่ระลึก ศิลปะ อุปกรณ์การเลี้ยงด้วงกว่าง รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งจังหวัดเชียงรายได้ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีศิลปะวิถีชีวิตในท้องถิ่น โดยมุ่งรักษาอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมนี้ให้คงอยู่สืบไป รวมถึงการต่อยอดเพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับด้วงกว่างให้กับประชาชนชาวจังหวัดเชียงรายและนักท่องเที่ยวที่มาเยือนอีกด้วย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

ก.อุตฯ โชว์อัตลักษณ์ผ้าไหมไทย “มัดทอใจ มรดกผ้าไทยร่วมสมัย”

 
กระทรวงอุตสาหกรรม จัดงาน “มัดทอใจ มรดกผ้าไทยร่วมสมัย (Mud Tor Jai : Premium Thai Silk)” ภายใต้โครงการพัฒนาผ้าไหมไทยร่วมสมัย (Premium Thai Silk ประจำปี 2566 พร้อมเปิด “Collection 2023 : The art & heart of Thai silk” เน้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ผ่านการพัฒนาและออกแบบบพื้นฐานอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเป็นไทย พร้อมผสานเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่า สนองตอบความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน“มัดทอใจ มรดกผ้าไทยร่วมสมัย (Mud Tor Jai : Premium Thai Silk)” 
 
ภายใต้โครงการพัฒนาผ้าไหมไทยร่วมสมัย Premium Thai Silk ประจำปี 2566 ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมายให้สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (สสท.) ดำเนินการยกระดับพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและผ้าพื้นเมืองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม และแผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้ดำเนินการมาในปีงบประมาณ 2566 ทั้งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมมัดหมี่ไทยรูปแบบใหม่เน้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผ่านการพัฒนาและออกแบบบนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทย ผสานเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่า 
 
เพื่อให้ชุมชนผ้าไหมไทยสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน พร้อมเป็นรากฐานที่สำคัญของวงการแฟชั่นผ้าไหมไทย ตอบสนองและเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่วัยทำงานได้ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ในปี 2566 กระทรวงฯ มุ่งขยายตลาดผ้าไหมไทยไปสู่ระดับสากล ด้วยการส่งตัวอย่างผ้าไหม ภายใต้โครงการนี้ เพื่อการเจรจาซื้อขายและเผยแพร่ไปยังตลาดประเทศต่าง ๆ เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น รัสเซีย อิตาลี และยุโรป คาดว่าจะได้รับการตอบรับจากตลาดดังกล่าวเป็นอย่างดี ทั้งนี้ โครงการฯ เน้นในเรื่องการนำรายได้และความยั่งยืนกลับสู่ชุมชน 
 
โดยการเพิ่มทักษะทางอาชีพให้กับคนในชุมชนต่าง ๆ ที่ทำอาชีพที่เกี่ยวกับผ้าไหม เช่น ช่างย้อม ช่างมัด ช่างทอ รวมถึงผู้จำหน่าย เน้นให้ความรู้และทักษะด้วยการใส่ความเป็นไทยลงไปในลวดลายผ้า พร้อมนำแรงบันดาลใจจากเอกลักษณ์ ในชุมชน รวมถึงการเลือกใช้สีธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นในการย้อมผ้าเพื่อรักษาอัตลักษณ์ของผ้าไหมไทยไว้ ซึ่งจะทำให้วิสาหกิจชุมชนสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 400,000 -1,700,000 บาทต่อชุมชน “กระทรวงอุตสาหกรรม 
 
โดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้พัฒนาและออกแบบผ้าไหมไทย ร่วมสมัย อาทิ ผ้าไหมแพรวา ผ้าไหมขิด ผ้าไหมยกดอก ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมแต้มหมี่ ผ้าไหมบาติก ที่ออกแบบลวดลายใหม่ทั้งหมด เน้นอัตลักษณ์ไทย ผสานเทคนิคการผลิตแบบใหม่ จำนวน 24 ผลิตภัณฑ์ มาจัดแสดงโชว์ภายในงาน “มัดทอใจ มรดกผ้าไทยร่วมสมัย (Mud Tor Jai : Premium Thai Silk) ภายใต้คอลเลกชั่นใหม่ : The art & heart of Thai silk” ที่เน้นความเป็นไทย ทั้งการออกแบบลายผ้าไหมสมัยใหม่บนศิลปะและ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทย ซึ่งทั้ง 24 ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาภายใต้โครงการฯ จากผู้ประกอบการทั้ง 8 วิสาหกิจชุมชนคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 7,395,000 บาท” 
 
นางสาวณัฏฐิญา กล่าว งาน “มัดทอใจ มรดกผ้าไทยร่วมสมัย (Mud Tor Jai : Premium Thai Silk)” ภายใต้โครงการพัฒนาผ้าไหมไทย ร่วมสมัย Premium Thai Silk ประจำปี 2566 และนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่ได้รับการพัฒนาสู่ระดับสากล กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 -17 กันยายน 2566 ณ หอศิลป์วัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยผู้สนใจสามารถเข้าชมงานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงอุตสาหกรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

อบจ.เชียงราย อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เปิดงานประเพณีโล้ชิงช้า ครั้งที่ 11

 
วันที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น. นายกฤศ โพธสุธน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดงานประเพณีโล้ชิงช้า ครั้งที่ 11 โดยมีว่าที่ ร.ต.เมธี กาบุญค้ำ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 คณะผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู ผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่และผู้สนับสนุนโครงการ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ณ โรงเรียนดอยแสนใจ (ตชด.อนุสรณ์) ตำรวจตระเวนชายแดนอนุสรณ์
 
สำหรับโครงการโรงเรียนวิถีชีวิตชาติพันธุ์อาข่า เป็นจุดเริ่มต้นส่วนหนึ่ง ที่เป็นผลให้เด็กและเยาวชนมีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่บรรพบุรุษได้มีไว้ให้เป็นมรดกไม่ให้สูญหายไป การสร้างความร่วมมือร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าและเผยแพร่ให้กับผู้สนใจ นอกจากนี้การเรียนรู้วิถีชีวิตชาติพันธุ์อาข่าจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนรู้จักบทบาทหน้าที่
 
ของตนเอง และการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม สามารถอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคมได้อย่างปกติสุขมีความรู้สึกรักและภาคภูมิใจในชนเผ่าของตนตลอดจนพยายามเผยแพร่วัฒนธรรมที่ดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาติพันธุ์ของตนเองให้สาธารณชนได้รับรู้สืบไป
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมกะเหรี่ยง “ต่าลือต่าหล่า ปว่าเก่อญอ”

 
เมื่อวันที่ (6 กันยายน 66) นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย รศ.ดร.ไพโรจน์ ด้วงนคร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมกันเปิดกิจกรรม “ต่าลือต่าหล่า ปว่าเก่อญอ” มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมกะเหรี่ยง จังหวัดเชียงราย ภายใต้โครงการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ประจำปี พ.ศ. 2566 ณ ภายในสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 
 
โดยมี นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย ส่วนราชการ ผู้นำและพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยง จากอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย และอำเภอดอยหลวง เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ในด้านอัตลักษณ์ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม การสืบทอด ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม และการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนในพื้นที่หรือนำความต้องการเร่งด่วนในพื้นที่เป็นหลักในการทำงาน สืบทอดภูมิปัญญาด้านพิธีกรรม / ความเชื่อด้านวิถีวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยง ที่ทำให้ป่าไม้ ธรรมชาติ อุดมสมบูรณ์ ไม่มีการทำลาย ไปสู่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป และส่งเสริมให้เยาวชน ประชาชนชาวกะเหรี่ยง ได้เห็นคุณค่าและภูมิใจในวัฒนธรรมอันดีงามของตนเอง โดยการจัดกิจกรรมในการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างเหมาะสม
 
สำหรับการจัดกิจรรมครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (เชียงราย) สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าฟ้าหลวง และนายกสมาคมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวชาติพันธุ์จังหวัดเชียงราย โดยภายงานจัดให้มีบูธ ดิสเพลของชุมชน และการสาธิตของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง การจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานและองค์ความรู้ ประกอบด้วย นิทรรศการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม การจัดนิทรรศการผลงานวิชาการประชาสัมพันธ์ 
 
โดย นายปรัชญาณินทร์ วงศ์อทิติกุล อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประธานแขนงวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย การจัดนิทรรศการเศรษฐกิจสร้างสรรค์กลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยงจังหวัดเชียงราย โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง การเสนาส่งเสริมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง จังหวัดเชียงราย และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

เปิด “กาดไตลื้อ” คึกคัก ด้วยมนต์เสน่ชาวไตลื้อ

 
วันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับชุมชนศรีดอนชัยไทลื้อ อำเภอเชียงของ เทศบาลตำบลศรีดอนชัย สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โรงเรียนเชียงของวิทยาคม และเครือข่ายวัฒนธรรม ได้ผนึกความร่วมมือเปิดตลาดวัฒนธรรมชุมชน “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” ภายใต้โครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการเริ่มต้น จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
 
ชุมชนศรีดอนชัยไทลื้อ เป็นพื้นที่ชุมชนและท้องถิ่นที่มีศักยภาพ มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม “ไทลื้อ” ที่เด่นชัด จึงได้มีแนวคิดเปิดพื้นที่ตลาดใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนมีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม กิจกรรมการแสดง บริการ ที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ผ่านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว และเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำมาสู่ความภาคภูมิใจ รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน โดยมุ่งหวังที่จะให้ตลาดวัฒนธรรมชุมชน “กาดไตลื้อ” เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นที่น่าจดจำทั้งชาวเชียงราย ชาวไทยและต่างประเทศ โดยคณะกรรมการฯ ร่วมพัฒนาตลาดวัฒนธรรมชุมชนของเราในนามชื่อ “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” กำหนดจัดตลาดทุกวันเสาร์แรกของเดือนนับแต่เดือนกันยายน 2566 นี้เป็นต้นไป
 
กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย ของเรามีแนวคิดในการพัฒนาเป็นตลาดวัฒนธรรม “เสน่ห์ศรีดอนชัยไตลื้อ มนต์ขลัง ที่ยังมีชีวิต” ให้เป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สนใจมาเยือน ดังคำกล่าวของชาวศรีดอนชัยที่ได้กล่าวไว้ว่า “มาศรีดอนชัย เหมือนได้ไปสิบสองปันนา” สำหรับในวันนี้ ถือเป็นปฐมฤกษ์อันดี จึงได้เปิดตัว “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” อย่างเป็นทางการ เพื่อให้รับรู้และเป็นที่รู้จักแพร่หลายต่อไปในวงกว้าง กิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วย
 
เวทีเสวนา “เสน่ห์ศรีดอนชัยไตลื้อ มนต์ขลัง ที่ยังมีชีวิต” ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย พระครูสุจิณวรคุณ เจ้าคณะตำบลศรีดอนชัย นายวิรุฬห์ สิทธิวงศ์ นายอำเภอเชียงของ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสลักจฤฏดิ์ ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย และนายสมชาย วงค์ชัย ประธานคณะกรรมการดำเนินงานชุมชนโครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ชุมชนศรีดอนชัยไทลื้อ ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมี นายสุตนันท์ จำปาทอง เป็นผู้ดำเนินรายการ https://fb.watch/mPClJt5l6g/
 
พิธีเปิดตัวตลาดวัฒนธรรมชุมชน “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” อย่างเป็นทางการ โดยมีนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวเปิด นายสมชาย วงค์ชัย ประธานคณะกรรมการดำเนินงานชุมชนฯ กล่าวรายงาน ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมนายวิรุฬห์ สิทธิวงศ์ นายอำเภอเชียงของ ได้ทำสัญลักษณ์เปิดกาดไตลื้อพร้อมกัน ภายในกาดไตลื้อ มีแสดงศิลปวัฒนธรรม อาทิ การฟ้อนลื้อลายเจิง การตีกลองสะบัดชัย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายสาธิตผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม CPOT อาหารพื้นถิ่น พืชผัก ผลไม้ ของชาวศรีดอนชัย พร้อมนี้พ่อค้าแม่ขาย ผู้ประกอบการ ผู้ร่วมงาน และนักท่องเที่ยว ร่วมกันแต่งกายด้วยชุดไทลื้อ ชุดพื้นถิ่น พร้อมหิ้วตะกร้ามาร่วมกิจกรรมเป็นการสร้างบรรยากาศเสน่ห์ที่ยังมีมนต์ขลังของชาวไทลื้อศรีดอนชัยได้อย่างน่าประทับใจยิ่ง https://fb.watch/mPCljEVJYA/
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจรับชมบรรยากาศย้อนหลัง สามารถติดตามผ่านเพจเฟซบุ๊ค “กาดไตลื้อ”
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

กฤษยา จันแดง, สุพรรณี เตชะตน : รายงาน
ก้อนหินในน้ำ, เชียงของทีวี, หนึ่ง เจ้าขุน : ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการ
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดงาน “งานตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 18 ประจำปี 2566

 
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566 นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนายสุชาย ศิริมาตร หัวหน้าหน่วยส่งเสริมหม่อนไหมเชียงราย เข้าร่วมเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิด “งานตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานใหมไทย” ครั้งที่ 18 ประจำปี 2566 ณ ฮอลล์ 6-7 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารกรมหม่อนไหม ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมหม่อนไหม ส่วนราชการ และเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเฝ้าฯ รับเสด็จ
 
การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาที่คุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566 ที่ทรงสืบสาน และทรงให้ความสำคัญกับผ้าไหมไทย พร้อมผลักดันมาตรฐานใหมไทย มุ่งสร้างชื่อเสียง สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การจัดงานในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด”ไหมไทยล้ำค่า สายใยแห่งภูมิปัญญา พัฒนาสู่สากล” โดยมีกิจกรรมภายในงานอาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ การจัดแสดงเครื่องหมายตรานกยูงพระราชทาน การออกร้านค้าจำหน่ายผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมยกดอกลำพูนผ้าไหมแพรวา ผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหม การประกวดเส้นไหม และผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน เป็นต้น
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

ร่วมพิธีฮ้องขวัญ​ พลายศักดิ์สุรินทร์​ รับขวัญทูตสันถวไมตรี​ ไทย – ศรีลังกา

 

วันที่ 28 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 น. นายวราวุธ​ ศิลปอาชา​ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​ (รมว.ทส.)​ พร้อมภริยา เป็นประธานในพิธี​  “ฮ้องขวัญ พลายศักดิ์สุรินทร์” ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.)​ จัดขึ้นเพื่อเป็นการต้อนรับพลายศักดิ์สุรินทร์อย่างเป็นทางการ เพื่อความเป็นสิริมงคล และเรียกขวัญพลายศักดิ์สุรินทร์ ทูตสันถวไมตรี​ ไทย – ศรีลังกา ให้อยู่เย็นเป็นสุข มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสภาพจิตใจเป็นปกติ และประสบความสำเร็จในการรักษาอาการป่วย ตามคติความเชื่อของวิถีการเลี้ยงช้าง  โดยมีนางสาวกัญจนา ศิลปอาชา​ ที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​ นายยุทธพล​ อังกินันทน์​ ที่ปรึกษา​ รมว.ทส.​ พร้อมด้วยนายจตุพร​ บุรุษพัฒน์​ ปลัดกระทรวงฯ นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง​ คณะผู้บริหาร​ระดับสูง​ พนักงาน เจ้าหน้าที่ในสังกัด​ ตลอดจนสื่อมวลชน​และประชาชน​ เข้าร่วมพิธี​ ณ สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ (ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย) อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 


นายวราวุธ กล่าวว่า การช่วยเหลือดูแลสัตว์เหล่านี้ ถือเป็นอีกหนึ่งบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของกระทรวงฯ การกลับมายืนบนผืนแผ่นดินไทยของช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ ได้รับการต้อนรับที่อบอุ่นจากประชาชนคนไทยจำนวนมาก และเฝ้าติดตามดูชีวิตความเป็นอยู่ตั้งแต่วันแรกที่มาถึงจนกระทั่งวันนี้ กระทรวงฯ ขอขอบคุณความร่วมมือจากทุกฝ่าย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าภารกิจต่อจากนี้ที่จะลงนามความร่วมมือให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านวิชาการและทักษะความรู้แก่ประเทศศรีลังกาเพื่อให้ช้างไทยและช้างที่อยู่ในประเทศศรีลังกามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจะประสบความสำเร็จต่อไปด้วยดี ทั้งนี้​ สุขภาพของพลายศักดิ์สุรินทร์ตอนนี้​ ได้พ้นระยะกักตัวและมีสุขภาพดีขึ้น​ ไม่มีเชื้อโรค​ ไม่มีโรคติดต่อ​ ซึ่งสิ่งที่จะต้องทำต่อไป​ คือ​ การตรวจสุขภาพภายในโดยการเอ็กซเรย์อย่างละเอียด เพื่อจะได้ทำการรักษาพลายศักดิ์สุรินทร์​ต่อไป​ 


สำหรับ พิธีฮ้องขวัญในครั้งนี้​ จัดขึ้นโดยเรียบง่าย​ มีการเลี้ยงขันโตก ทั้งกล้วย อ้อย ข้าวโพด ฟักทอง หญ้า​ ให้กับพลายศักดิ์สุรินทร์​  อีกทั้ง​ มีการแสดง “ฟ้อนขันดอก” เพื่อเฉลิมฉลองให้กับพลายศักดิ์สุรินทร์​ อีกด้วย สำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว​ที่สนใจ​เข้าเยี่ยมชมพลายศักดิ์สุรินทร์​ สามารถเข้าเยี่ยมชมได้​  ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม​ 2566 นี้เป็นต้นไป โดยเปิดให้เยี่ยมชมวันละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เวลา 14.00 -16.00 น.​ ของทุกวัน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

ครม. รับรองวัดคาทอลิก 21 จังหวัด รวม 49 แห่ง

 

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 23 ส.ค. 66 ได้ ให้ความเห็นชอบการรับรองวัดคาทอลิก เป็นวัดคาทอลิกตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564  จำนวน 49 แห่ง  ซึ่งเมื่อรวมกับที่ ครม.ได้ให้การรับรองทั่วประเทศไปแล้วก่อนหน้านี้ ในการประชุม ครม. วันที่ 23 ส.ค. 65, 8 พ.ย. 65, 21 ก.พ. 66 และ 16 พ.ค. 66 จำนวน 155 แห่ง  จะให้มีวัดคาทอลิกที่ได้รับการรับรองตามระเบียบฯ รวมแล้วมีทั้งสิ้น 204 แห่ง
 
สำหรับวัดคาทอลิกทั้ง 49 แห่งที่ได้รับการรับรองครั้งนี้ ได้ผ่านการพิจารณาคำขอจากคณะกรรมการกลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิก เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 66 โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าทั้งหมด มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ได้แก่ 1)ได้รับความเห็นชอบให้ยื่นคำขอรับรองจากสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย 2)มีข้อมูลที่ตั้งวัด 3)มีข้อมูลที่ดินที่ตั้งวัดและการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน 4) มีรายชื่อบาทหลวงซึ่งจะไปประกอบศาสนกิจประจำวัด และ 5) มีข้อมูลอื่นที่จำเป็นเกี่ยวกับการรับรองวัดคาทอลิก เช่น มีใบอนุญาตหรือใบรับรองการก่อสร้างอาคารหรือเอกสารรับรองความมั่นคงแข็งแรงของอาคารวัด/ มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เอื้อ มีอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการประกอบศาสนพิธี
 
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับวัดคาทอลิกที่ได้รับการรับรองทั้ง 49 แห่ง อยู่ใน 21 จังหวัด ประกอบด้วย อุบลราชธานี 9 แห่ง, เชียงราย 7 แห่ง, ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ สกลนคร จังหวัดละ 3 แห่ง กรุงเทพฯ จันทบุรี ภูเก็ต  ยะลา นครพนม และมุกดาหาร จังหวัดละ 2 แห่ง, สมุทรปราการ เพชรบูรณ์ ลำปาง ชุมพร พังงา ตรัง สงขลา ปัตตานี และสุรินทร์ จังหวัดละ 1 แห่ง
 
สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากการรับรองวัดคาทอลิกนั้น นอกจากจะเป็นสถานประกอบศาสนพิธีต่างๆ แล้ว ยังจะสนับสนุนให้วัดเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจเพื่อความสงบและพัฒนาจิตใจของชุมชนและท้องถิ่น เป็นแหล่งศึกษาด้านวัฒนธรรมประเพณีของคาทอลิกแก่นักเรียนและประชาชน เป็นแหล่งเรียนรู้พระธรรมคำสอนคริสต์ศาสนา ตลอดจนเป็นสถานที่พบปะส่งผลให้เกิดความสามัคคีในชุมชน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

กองทัพบก จับมือ กรุงไทย เปิดตัวแอปฯ “OOMSUB”

 
“กองทัพบก” ร่วมกับ “ธนาคารกรุงไทย” เปิดตัวแอปพลิเคชัน OOMSUB (ออมทรัพย์) ให้บริการกับกำลังพล สมาชิกกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก (อทบ.) กรมสวัสดิการทหารบก ที่จะช่วยบริหารจัดการด้านการเงิน ครบ จบ ง่าย ในแอปฯเดียว ทั้งจัดการข้อมูลสมาชิก ตรวจสอบยอดเงินฝาก เงินกู้ และถอนดอกเบี้ย รวมถึงยื่นขอกู้ ได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา พร้อมฟีเจอร์พิเศษ “คู่คิด” ที่จะช่วยให้สมาชิก คิดคำนวณ ต่อยอดวางแผนด้านการเงิน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับข้าราชการกองทัพบก เตรียมพร้อมชีวิตหลังวัยเกษียณราชการได้อย่างมีความสุข

พลเอกณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา กองทัพบก ได้รับความร่วมมือจากธนาคารกรุงไทยในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินมาช่วยสนับสนุนภารกิจของกองทัพบก และการให้บริการกับกำลังพลมาโดยตลอด โดยในปีที่ผ่านมา ธนาคารกรุงไทย ได้เปิดสาขากองบัญชาการกองทัพบก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกำลังพล และในครั้งนี้ จากนโยบายการปฏิบัติงานการพัฒนาด้านกำลังพล ในการส่งเสริมสวัสดิการและยกระดับคุณภาพชีวิตของข้าราชการกองทัพบก จึงได้ประสานความร่วมมือกับทางธนาคารกรุงไทย ในการร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชัน OOMSUB (ออมทรัพย์) แอปฯที่จะช่วยให้กำลังพลซึ่งเป็นสมาชิกกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก (อทบ.) สามารถบริหารจัดการเงิน อทบ. ได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย  ผ่านสมาร์ทโฟนด้วยตัวเอง ได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า กรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ของรัฐ มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและวิสัยทัศน์ด้านดิจิทัลของภาครัฐ ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกกลุ่ม รวมถึงข้าราชการกองทัพบก โดยที่ผ่านมาธนาคารได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินมาสนับสนุนบริการแก่กองทัพบกในหลายด้าน ทั้งด้านการบริหารจัดการทางการเงิน บนระบบ Krungthai Corporate Online ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านงบประมาณและการเงินของหน่วยงานในกองทัพบก การพัฒนาบริการในระบบนิเวศที่สำคัญในชีวิตประจำวัน ทั้ง Smart Hospital กับโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก  และ Smart Academy กับหน่วยงานด้านการศึกษา

ในครั้งนี้ ธนาคารได้ร่วมมือกับกองทัพบก พัฒนาแอปฯ OOMSUB (ออมทรัพย์)  ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของข้าราชการกองทัพบกที่เป็นสมาชิก อทบ. ให้จัดการเงิน อทบ. ได้อย่างมั่นใจ โดยแอปฯ OOMSUB (ออมทรัพย์) ให้บริการอยู่บนระบบคลาวด์ ที่มีความปลอดภัยสูง ด้วยการเข้ารหัสข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูงระดับมาตรฐานสากล ทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินรวดเร็ว และปลอดภัย บนช่องทางดิจิทัลครบวงจร  

แอปฯ OOMSUB (ออมทรัพย์)  ครอบคลุมการให้บริการ ทั้งการตรวจสอบสถานภาพสมาชิก ตรวจสอบยอดเงิน อทบ. ทั้งเงินฝาก เงินกู้ และดอกเบี้ยสะสม สามารถยื่นเรื่องกู้เงิน และตรวจสอบสถานะการยื่นกู้ ที่ทำได้ง่าย ด้วยตนเอง ทุกที่ ทุกเวลา แบบออนไลน์ เรียลไทม์ รวมถึงสามารถส่งเงินฝากสะสมเพิ่ม หรือชำระหนี้ก่อนกำหนด ผ่านระบบรับชำระเงินจากทุกธนาคาร นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ “คู่คิด”  ที่ช่วยให้สมาชิกวางแผนด้านการเงิน ทั้งด้านการเก็บออมเงินและด้านการกู้เงิน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับข้าราชการกองทัพบก เตรียมพร้อมชีวิต หลังวัยเกษียณราชการได้อย่างมีความสุข สามารถทำธุรกรรมได้อย่างมั่นใจ

โดยบริการทั้งหมดนี้เป็นการสนับสนุน วิสัยทัศน์และภารกิจด้านดิจิทัลของกองทัพบก เพื่อมุ่งหวังที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตทางด้านการเงินให้กับข้าราชการกองทัพบกให้ดีขึ้นในทุกวัน เตรียมพร้อมชีวิตหลังวัยเกษียณราชการได้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับภารกิจของธนาคาร ตามวิสัยทัศน์ “กรุงไทยเคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน”

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ธนาคารกรุงไทย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

“งานตรานกยูงพระราชทาน ฯ ครั้งที่ 18”

 

   นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำคณะผู้บริหารกรมหม่อนไหมเข้าพบนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เพื่อประชาสัมพันธ์ “งานตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 18 ประจำปี 2566 โดยมี นายศรัญญู พูลลาภ รองอธิบดีกรมหม่อนไหม นำเสนอนิทรรศการฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงสืบสานและทรงให้ความสำคัญกับผ้าไหมไทย เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ้าไหมไทยคุณภาพผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหม รวมทั้งภารกิจและผลงานของกรมหม่อนไหมให้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทาน ผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหมของเกษตรกรให้ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง


            สำหรับการจัด “งานตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 18 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ไหมไทยล้ำค่า สายใยแห่งภูมิปัญญา พัฒนาสู่สากล” ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 3 กันยายน 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 20.00 น. ณ ฮอลล์ 6-7 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีกิจกรรมภายในงานที่น่าสนใจมากมาย อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ การจัดแสดงเครื่องหมายตรานกยูงพระราชทาน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน ประเภทผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมยกดอกลำพูน ผ้าไหมแพรวา ผลงานการประกวด เส้นไหม ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานและผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ประจำปี 2566 ผลงานของกรมหม่อนไหม และการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับหม่อนไหม เป็นต้น รวมทั้งยังมีการออกร้านจำหน่ายผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมไทย และสินค้าหม่อนไหม มากกว่า 200 ร้านค้า


            นายศรัญญู พูลลาภ รองอธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า กรมหม่อนไหม มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาไหมไทยตามความต้องการของตลาด ทั้งภายในประเทศและในระดับสากล โดยไฮไลท์สำคัญของการจัดงานตรานกยูงพระราชทานฯ ในครั้งนี้ คือ นิทรรศการการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เป็นการนำเสนอนิทรรศการพันธุ์หม่อน พันธุ์ไหมอนุรักษ์ ที่กรมหม่อนไหมได้รวบรวมและอนุรักษ์ให้คงอยู่ การนำเสนอไหมกินใบหม่อนและไหมที่กินใบพืชชนิดอื่น เช่น ไหมกระท้อน ไหมดาหลา ไหมมันสำปะหลัง และไหมอีรี่ เป็นต้น การนำเสนอการพัฒนาพันธุ์ไหมที่เหมาะสมในการผลิตผ้าห่มใยไหม ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดูดความชื้น ระบายเหงื่อและน้ำมันจากร่างกาย จึงทำให้รู้สึกแห้งสบายตัว และเย็นแม้ในค่ำคืนของฤดูร้อน นิทรรศการงานวิจัยผลิตภัณฑ์วัสดุทางการแพทย์จากไหมไทย ในส่วนของโครงร่างกระดูกและเต้านม นิทรรศการผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์ ซึ่งกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือ “จากพันธุ์ไม้ สู่แพรพรรณ” ซึ่งเป็นข้อมูลการออกแบบลายผ้าดอกเอเดลไวส์ ประกอบด้วย 5 เทคนิค ได้แก่ มัดหมี่ ยกดอก จก ขิด และ บาติก โดยกรมหม่อนไหมจัดทำขึ้น เพื่อส่งต่อให้ช่างทอผ้าไหมของทุกภูมิภาคได้สานต่องานทอผ้าให้มีความหลากหลาย และเพิ่มมูลค่าให้แก่  ผ้าไหมไทย


            นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการ Silk Home ที่เป็นการจำลองการใช้ชีวิตประจำวันใน ห้องรูปแบบ Studio คอนโดมิเนียม โดยมีผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหมเป็นหลัก ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ซึ่งผลิตภัณฑ์ใน Silk Home จะมีรายละเอียดของสินค้าและช่องทางการจำหน่ายที่สามารถเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวได้ภายในงานที่ได้รับการการันตีคุณภาพและมาตรฐาน ตลอดจน มีการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ของทูตอัตลักษณ์ไหมไทย ซึ่งเป็นบุคคลที่ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ และสวมใส่ผ้าไหมไทย ในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งยังประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไหมไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกอีกด้วย         

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News