Categories
TOP STORIES

ตำรวจท่องเที่ยวปัดเอี่ยวรับส่วยทัวร์ผี-ไกด์เถื่อน ลั่นฟันไม่เลี้ยง หากตรวจพบ

 

กลุ่มมัคคุเทศก์ภาษาจีน ร่วมถกตำรวจท่องเที่ยวหาแนวทางแก้ปัญหาบริษัททัวร์ผี-ไกด์เถื่อน ก่อนยิงตรงถาม “ตำรวจท่องเที่ยว มีเรียกรับส่วยหรือไม่” ด้าน ผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ลั่น หากรู้ว่าใครรับส่วย จ่อลงโทษหนัก “ไล่ออกจากตำรวจ”
พล.ต.ท.สุคุณ พรหมายน ผู้บัญชาการบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว เป็นประธานในที่ประชุมการแก้ปัญหาทัวร์ผี ,ไกด์เถื่อน และบริษัทบริษัททัวร์นอมินี โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ,สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) ,สมาคมผู้ประกอบการสัมพันธ์ไทยจีน ,สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ,ชมรมไกด์ภาษาอินเดีย ,ชมรมไกด์ภาษาเวียดนาม ,ชมรมไกด์ภาษาเกาหลี และชมรมไกด์ภาษาจีน โดยมีนายสายชล ชื่นชู เป็นตัวแทน ที่กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (16 มิ.ย.66)
โดยที่ประชุมได้หารือประเด็นสำคัญคือ 1.การประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่ได้รับอนุญาต ,2.การประกอบอาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาต และ 3.การประกอบธุรกิจนำเที่ยวในลักษณะเป็นตัวแทนอำพราง ซึ่งหัวข้อเหล่านี้ทางกลุ่มมัคคุเทศก์ และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี และปัญหาเพิ่งจะเบาบางลงในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา
 
ซึ่งหลังจากสถานการณ์คลี่คลายลง จึงทำให้กลุ่มทุนจีนเทา และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่ทำผิดกฎหมาย อาศัยจังหวะที่ตลาดการท่องเที่ยวของไทยเปิด เข้ามาก่อเหตุในลักษณะดังกล่าวอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย จึงทำให้กลุ่มมัคคุเทศก์ และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวชาวไทย สงสัยว่าเหตุใดกลุ่มคนที่ทำผิดกฎหมายยังคงลอยนวลเต็มบ้านเต็มเมือง โดยไม่มีการปราบปรามตามยุทธวิธีที่วางไว้ก่อนที่ผู้แทนภาคเอกชนจะยิงคำถามถึง ผู้บัญชาการบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ว่า “ตำรวจท่องเที่ยวมีการเรียกรับส่วยจากผู้กระทำผิดกฎหมายเหล่านี้หรือไม่” จนทำให้ผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ถึงกับตอบด้วยน้ำเสียงหนักแน่นว่า “ในยุคสมัยนี้ คงไม่มีใครทำอะไรแบบนี้ ถ้าใครไปทำแบบนี้ ก็ต้องรับผิดชอบในการกระทำของตัวเอง เพราะมีกฎระเบียบวางไว้ชัดเจนอยู่แล้ว”
 
ทั้งนี้ ผู้แทนภาคเอกชน มองว่า คำตอบที่ได้รับยังคงคลุมเครือ จึงฝากถึงผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ให้กำชับตำรวจในสังกัดเข้มงวดกวดขันในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องปรามไม่ให้กลุ่มคนที่กระทำการผิดกฎหมายเข้ามาก่อเหตุ ซึ่งเป็นการแย่งอาชีพคนไทย และความเสียหายให้กับภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยโดยรวม
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ข่าววงการท่องเที่ยว

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
GALLERY

อาจารย์เฉลิมชัยฯ ประเดิมถ่ายรูปตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าขัวศิลปะ

 
อาจารย์เฉลิมชัยฯ ประเดิมถ่ายรูปตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าขัวศิลปะ ร่วมประชาสัมพันธ์งานศิลปะระดับโลกของเชียงราย

The open world “เปิดโลก”
มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย 2023 Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

9 ธันวาคม 2566 – 30 เมษายน 2567

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ขัวศิลปะ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
FOLLOW ME
Categories
SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงราย พร้อมเยาวชน 400 ชีวิต ขึ้นดอยอินทรีย์ปลูกป่าครั้งที่ 2

 

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566 ณ วัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายจิรชัย มูลทองโร่ย สมาชิกวุฒิสภา นายรามิล พัฒนมงคลเชฐ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

น้องๆสภาเยาวชนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เยาวชนเชียงราย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่าย ร่วม ”โครงการปลุก(ปลูก) อนาคตเจียงฮาย ครั้งที่ 2 “ เนื่องด้วยปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาป่า การใช้พลังงานต่างๆ การสูญเสียพื้นที่สีเขียว ทางเกษตรกรรม การกำจัดของเสีย และการตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น สาเหตุดังกล่าว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล ปัญหาสุขภาพ ความยากจนและคุณภาพชีวิตตกต่ำ ล้วนเกิดจากปัญหาดังกล่าวข้างต้นด้วยเช่นกัน การรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะเป็นการสร้างเสริมองค์ความรู้ ปลูกจิตสำนึกของเด็ก เยาวชน และประชาชนให้ตระหนักถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อรองรับและบรรเทาปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

มทบ.37 จัดกำลังพลขนย้ายตะแกรงเหล็ก โรงผลิตกระแสไฟฟ้าบ้านธารทอง

 

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. ร.ต. ไพบูลย์ สายหงษ์ หน.ชป.โครงการฯ บ้านธารทอง จัดกำลังพลร่วมกับ เจ้าหน้าที่เกษตรในพระองค์ฯ ทำการขนย้ายรั้วตะแกรงเหล็กของอาคารโรงผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เดิม เพื่อนำมาก่อสร้างเป็นอาคารสำนักงานของโครงการฯ บ้านธารทอง ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SPORT

ศูนย์พัฒนากีฬา มทบ.37 จัดกิจกรรมเยาวชนกอล์ฟรุ่นที่ 3

 

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. พล.ต. ประพัฒน์ พบสุวรรณ ผบ.มทบ.37 /ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์พัฒนากีฬา มทบ.37 ดำเนินการจัดกิจกรรม ตามนโยบายของ ผบ.ทบ. ที่ให้หน่วยใช้ศักยภาพด้านกีฬาที่มี สนับสนุนให้กับเยาวชนในพื้นที่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกเยาวชนกอล์ฟรุ่นที่ 3 ค่ายเม็งรายมหาราช วันที่ 6 โดย มทบ.37 และ ฝ่ายกีฬากอล์ฟ สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเชียงราย เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างในห้วงปิดเทอมค้นหาตัวตนให้เกิดประโยชน์ ได้เรียนรู้ สัมผัสกีฬากอล์ฟ ของเยาวชน ทราบถึงวิธีการเล่นกอล์ฟ ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงเทคนิคการเล่นต่างๆ รวมทั้ง กฎ กติกา มารยาท ณ สนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ศพก.มทบ.37 ค่ายเม็งรายมหาราช มีเยาวชนที่ศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ ซึ่งปิดภาคเรียนในห้วงเวลานี้ เข้ารับการฝึกอบรม 20 คน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ สิทธิพิเศษ สำหรับเยาวชนทุกคนที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับเสื้อคนละ 1 ตัว หมวกแก๊ป 1 ใบ และอุปกรณ์ต่างๆ ในการฝึกซ้อม พร้อมด้วยอาหารว่าง คนละ 1 ชุดต่อวัน อีกทั้งจะได้เป็นสมาชิกเยาวชนของสนามแม่กกกอล์ฟ เข้ามาไดร์ฟกอล์ฟในราคา 50% ของราคาปกติ จนถึงอายุครบ 18 ปี
โดยการฝึกวันที่ 6 ได้แก่
– ยืดเส้น วอร์มร่างกาย ก่อนการฝึก
– เน้นย้ำความปลอดภัย กติกา มารยาทในการเล่นกอล์ฟ
– ทบทวนท่ายืน ท่าจับไม้ สวิงลูก
– ทบทวนพื้นฐานการใช้พัดเตอร์
– ปฏิการฝึกซ้อมตีลูกจริงบนพรม

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS UPDATE

เปิดการประชุมผู้ปกครองนักเรียนรร.ทบอ.บ.ว.

 

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566 เวลา 09.30 น. พ.อ. บุญญฤทธิ์ เกษตรเวทิน รอง ผบ.มทบ.37 เป็นประธานเปิดกิจกรรม การประชุมผู้ปกครองนักเรียน รร.ทบอ.บ.ว. ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ ต่างๆ การเรียนการสอน และพบปะครูประจำชั้น

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SPORT

เชียงราย จัดแข่งวู้ดบอล “SAT WOODBALL CHIANG RAI 2023”

 

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566 ที่สนามฟุตบอล 1 สนามกีฬากลางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย นางรัตนา จงสุทธานามณี อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงานการแข่งขันกีฬาวู้ดบอล รายการ “SAT WOODBALL CHIANG RAI 2023” โดยมีนางชญาณ์นันท์ เชื้อศิริถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงาน พร้อมด้วยนายโชติศิริ ดารายน นายกสมาคมนักสื่อสารมวลชนและนักประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเชียงราย ผู้บริหารสิงค์ปาร์คเชียงราย สื่อมวลชน และนักกีฬากว่า 270 คนเข้าร่วม

นางชญาณ์นันท์ เชื้อศิริถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงราย กล่าวว่าสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงราย ร่วมกับสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเชียงราย จัดการแข่งขันวู้ดบอล รายการ SAT WOODBALL CHIANGRAI 2023 ในครั้งนี้เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดกิจกรรมกีฬาภายในจังหวัด ให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย และการนำกีฬามวลชนเพื่อสร้างรายได้เศรษฐกิจชาติ ยกระดับความเป็นเลิศ สร้างแนวทางบูรณาการระหว่างชุมชนเมืองกับหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ พร้อมทั้งยังสร้างแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาแบบยั่งยืน รวมถึงการต่อยอดการสร้างเศรษฐกิจจากแหล่งท่องเที่ยว และการค้าธุรกิจท้องถิ่นที่สามารถจับต้องได้ และสร้างภาพลักษณ์เมืองในรูปแบบ Sports Tourism ตามนโยบายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่ได้ประกาศให้จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองกีฬา Chiangrai Sports City
 
นางรัตนา จงสุทธานามณี อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าขอขอบคุณ และขอชื่นชมคณะผู้จัดกิจกรรมทุกท่าน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่เห็นความสำคัญสุขภาพของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการเล่นกีฬา การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และกล่าวต่อไปว่าการแข่งขันวู้ดบอล รายการ SAT WOODBALL CHIANG RAI 2023 ทำให้นักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันซึ่งมาจากหลากหลายจังหวัดในภาคเหนือ ได้สัมผัสถึงบรรยากาศอากาศที่ดี ได้สัมผัสศิลปะและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงราย ทำให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และการเล่นกีฬานอกจากจะทำให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีแล้ว ยังทำให้เป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะนักกีฬาด้วยกันอีกด้วย
 
ทั้งนี้การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ แบ่งการแข่งขันเป็นประเภทบุคคล จำนวน 4 รุ่น ได้แก่ 1. ทั่วไปชาย อายุ 64 ปี ลงมา 2. ทั่วไปหญิง อายุ 64 ปี ลงมา 3. อาวุโสชาย อายุ 65 ปี ขึ้นไป และ 4. อาวุโสหญิง อายุ 65 ปี ขึ้นไป และการแข่งขันประเภททีมผสมไม่จำกัดอายุ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 50,000 บาท
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

AIS เปิดผลสำรวจชี้ “คนไทย” พบ 44% ยังเสี่ยงภัยด้านไซเบอร์

 

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566 นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) กล่าวว่า มีการประมาณการว่า จำนวนผู้ใช้งานดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มจำนวนเป็น 1.5 พันล้านคน จาก 1.2 พันล้านคน ภายในปี 2025 และการที่จำนวนผู้ใช้งานดิจิทัลเพิ่มขึ้นทุกปี ผลักดันให้ AIS พัฒนาโครงการด้านความปลอดภัยทางดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง

“ดิจิทัลเป็นเครื่องมือเดียวที่ทำให้ไทย สามารถพัฒนาและแข่งขันกับนานาประเทศได้ แต่มันมีทั้งประโยชน์มหาศาลและโทษอย่างมากถ้าใช้ไม่ถูกต้อง ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราได้ทำงานเกี่ยวกับการใช้งานดิจิทัลอย่างปลอดภัย เริ่มตั้งแต่ปี 2562 ที่เราเปิดตัวภารกิจอุ่นใจ CYBER”

“ทำไมเราต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าการใช้งานดิจิทัลเพิ่มขึ้นทุกปี มีการประมาณการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่า จำนวนผู้ใช้งานดิจิทัลมีถึง 1.2 พันล้านคน และในปี 2025 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า จำนวนผู้ใช้งานจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 พันล้านคน พูดง่าย ๆ คือดิจิทัลแทรกซึมไปกับทุกคนแล้ว”

ล่าสุด AIS ยกระดับการทำงานด้านความปลอดภัยทางดิจิทัลด้วยการสร้าง “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล” (Thailand Cyber Wellness Index หรือ TCWI) ร่วมกับ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” และนักวิชาการด้านเทคโนโลยี สุขภาพ สื่อสารมวลชน การศึกษา และการประเมินผล เพื่อออกแบบกรอบการศึกษาและการวิเคราะห์ผล

ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล ชี้ให้เห็นถึงทักษะดิจิทัลที่ครอบคลุมพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคนไทย 7 ด้าน ดังนี้

1. ทักษะการใช้ดิจิทัล (Digital Use)
2. ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy)
3. ทักษะด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล (Digital Communication and Collaboration)
4. ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights)
5. ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security and Safety)
6. ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying)
7. ทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Relationship)

วิธีการสำรวจจะเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายทั้งช่วงอายุ (อายุ 10-60 ปีขึ้นไป) และกลุ่มอาชีพจากทุกจังหวัด ทั่วประเทศกว่า 21,862 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 48.24% และผู้หญิง 51.76%

ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล แบ่งระดับสุขภาวะดิจิทัลของคนไทยเป็น 3 ระดับ

สุขภาวะดิจิทัลระดับสูง (Advanced): ผู้ที่มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย สร้างสรรค์ รู้เท่าทันการใช้งานและภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบ และยังสามารถแนะนําให้คนรอบข้างเกิดทักษะในการใช้งานดิจิทัลได้เป็นอย่างดี

สุขภาวะดิจิทัลระดับพื้นฐาน (Basic): ผู้ที่มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและโลกไซเบอร์ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์

สุขภาวะดิจิทัลระดับที่ต้องพัฒนา (Improvement): ผู้ที่มีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอที่จะใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล มีความเสี่ยงต่อการใช้งานในโลกไซเบอร์

ผลการศึกษาจากดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล

ภาพรวมระดับสุขภาวะดิจิทัลของ “คนไทย” อยู่ในระดับ “พื้นฐาน” (0.51)

แบ่งตามภูมิภาค พบว่า 

  • ภูมิภาคที่มีระดับสุขภาวะดิจิทัลอยู่ในระดับ “พื้นฐาน” ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (0.59), ภาคตะวันออก (0.52), กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (0.61), ภาคใต้ (0.49) และภาคกลาง (0.50)
  • ภูมิภาคที่มีระดับสุขภาวะดิจิทัลอยู่ในระดับ “ต้องพัฒนา” ได้แก่ ภาคเหนือ (0.33) และภาคตะวันตก (0.40)

แบ่งตามกลุ่มอายุ พบว่า

  • ระดับสุขภาวะดิจิทัลของคนอายุ 10-12 ปี อยู่ในระดับ “พื้นฐาน” (0.52)
  • ระดับสุขภาวะดิจิทัลของคนอายุ 13-15 ปี อยู่ในระดับ “พื้นฐาน” (0.56)
  • ระดับสุขภาวะดิจิทัลของคนอายุ 16-18 ปี อยู่ในระดับ “พื้นฐาน” (0.59)
  • ระดับสุขภาวะดิจิทัลของคนอายุ 19-22 ปี อยู่ในระดับ “พื้นฐาน” (0.58)
  • ระดับสุขภาวะดิจิทัลของคนอายุ 23-59 ปี อยู่ในระดับ “พื้นฐาน” (0.52)
  • ระดับสุขภาวะดิจิทัลของผู้สูงวัย (อายุ 60 ปีขึ้นไป) อยู่ในระดับ “ต้องพัฒนา” (0.28)

แบ่งตามกลุ่มอาชีพ พบว่า

  • อาชีพที่มีระดับสุขภาวะดิจิทัลอยู่ในระดับ “พื้นฐาน” ได้แก่ นักเรียน/นักศึกษา (0.59), ข้าราชการ (0.67), ข้าราชการบำนาญ (0.47) และพนักงานของรัฐ (0.78)
  • อาชีพที่มีระดับสุขภาวะดิจิทัลอยู่ในระดับ “ต้องพัฒนา” ได้แก่ คนว่างงาน (0.42), พนักงานรัฐวิสาหกิจ (0.31), พนักงานบริษัทเอกชน (0.41), ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว (0.38), รับจ้างทั่วไป (0.33) และเกษตรกร (0.24) ซึ่งกลุ่มอาชีพเหล่านี้ มีสุขภาวะทางดิจิทัลระดับเดียวกับผู้สูงวัย

โครงการนี้เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากภารกิจหลักของ AIS อุ่นใจ CYBER ที่มุ่งสร้างทักษะด้านดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาบริการดิจิทัล คัดสรรโซลูชัน และเครื่องมือป้องกันภัยไซเบอร์ให้กับคนไทยมาอย่างต่อเนื่อง วันนี้ได้ยกระดับการทำงานขึ้นไปอีกขั้นด้วยการสร้างมาตรวัดทักษะทางดิจิทัลขึ้นเป็นฉบับแรกของไทยกับ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) ด้วยที่ระดมความคิดในการออกแบบกรอบการศึกษา ขั้นตอนและวิธีการเก็บผล กลุ่มตัวอย่าง รวมถึงการวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา จนออกมาเป็นดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ที่เป็นไปตามมาตรฐาน แม่นยำ และถูกต้องตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นมาตรฐานใหม่ในการสร้างพลเมืองดิจิทัลและสังคมการใช้งานดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ยังเดินหน้าผสานกำลังส่งมอบดัชนีนี้ไปยังเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันนำองค์ความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจในการใช้งานดิจิทัลให้แก่คนไทยทุกกลุ่มต่อไป

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : บริษัท AIS ร่วมกับ มจธ.(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS UPDATE

เปิดโพลนิด้า 56.87% หวั่นเศรษฐกิจย่ำแย่ลง เบื่อชุมนุมต้านรัฐบาลเกินครึ่ง

 

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การชุมนุมหลังจัดตั้งรัฐบาล” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-16 มิถุนายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการชุมนุมหลังจัดตั้งรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น 97%

จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการชุมนุมต่อต้านนายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลใหม่ พบว่า ตัวอย่าง 

26.72%   ระบุว่า จะมีการชุมนุมต่อต้าน แต่ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น รองลงมา 

25.42% ระบุว่า จะไม่มีการชุมนุมต่อต้านใด ๆ ทั้งสิ้น 

25.19% ระบุว่า ไม่มั่นใจ 

22.44% ระบุว่า จะมีการชุมนุมต่อต้าน และมีความรุนแรงเกิดขึ้น 

และ 0.23% ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ   

 

 

ด้านสิ่งที่จะทำหากรัฐบาลใหม่ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองที่เลือก พบว่า ตัวอย่าง 

38.63% ระบุว่า ยอมรับในรัฐบาลใหม่อย่างเต็มใจ รองลงมา 

22.52% ระบุว่า ไม่ยอมรับ แต่จะไม่เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใหม่ 

16.87% ระบุว่า จำใจต้องยอมรับในรัฐบาลใหม่ 

14.43% ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาล

7.02% ระบุว่า ไม่ยอมรับ และจะเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใหม่แน่นอน 

และ0.53% ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ  

 

 

สำหรับความกังวลของประชาชนหากเกิดการชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลใหม่ พบว่า ตัวอย่าง 

56.87% ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง รองลงมา 

37.18% ระบุว่า การเกิดความรุนแรงจากการชุมนุม (เช่น การทำลายทรัพย์สิน การทำร้ายซึ่งกันและกัน) 

32.98% ระบุว่า การเกิดความขัดแย้งของคนในชาติ 

29.16% ระบุว่า การก่อรัฐประหาร 

21.45% ระบุว่า การกระทำที่ไม่เคารพกฎหมาย และ/หรือละเมิดสิทธิผู้อื่น

18.63% ระบุว่า สภาพการจราจรที่ติดขัดจากการชุมนุม 

12.21% ระบุว่า การแทรกแซงจากต่างชาติ 

3.82% ระบุว่า ไม่มีความกังวล 

และ1.98% ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

 

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเบื่อหน่ายกับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง 

57.71% ระบุว่า เบื่อมาก รองลงมา 

20.46% ระบุว่า ค่อนข้างเบื่อ 

12.75% ระบุว่า ไม่เบื่อเลย 

8.09% ระบุว่า ไม่ค่อยเบื่อ 

และ0.99% ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

 

 

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง48.09% เป็นเพศชาย และ51.91% เป็นเพศหญิง  พบว่า 

8.55% มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ 

18.24% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง

18.32% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ 

33.44% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

13.74% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ 

และ 7.71%  มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก 

 

 

โดยได้สำรวจ

1.อายุ 18-25 ปี 12.90% 

2.อายุ 26-35 ปี 17.79%  

3.อายุ 36-45 ปี 18.93%  

4.อายุ 46-59 ปี 26.64%

และ5.อายุ 60 ปีขึ้นไป 23.74%

ตัวอย่าง 95.72% นับถือศาสนาพุทธ / 3.59% นับถือศาสนาอิสลาม และ0.69% นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

 

ตัวอย่าง 32.06% สถานภาพโสด 65.95% สมรส และ1.99% หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง 24.81% จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 36.49% จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 8.32% จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า 25.50% จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และ4.88% จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

 

ตัวอย่าง 8.09% ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 17.18% ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน  19.77% ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ 12.44% ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง 16.26% ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 19.3% เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ6.95% เป็นนักเรียน/นักศึกษา

 

ตัวอย่าง 21.91% ไม่มีรายได้ 19.3% รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท  28.78% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท 10.76% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท 4.12% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้2.83% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และ12.29% ไม่ระบุรายได

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : นิด้าโพล

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

นายกฯ ห่วงกลุ่มเปราะบางปรับตัวไม่ทันเศรษฐกิจ แจ้งนโยบายหน่วยงานเน้นดูแล

 

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้ขณะนี้ข้อมูลเศรษฐกิจไทยหลายด้านจะปรับตัวดีขึ้น อาทิ  การท่องเที่ยว การจ้างงาน อัตราเงินเฟ้อ แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ยังคงมีความห่วงใยประชาชนในกลุ่มเปราะบางที่รายได้ฟื้นตัวช้า มีภาระหนี้สูง ที่ต้องมีการดูความสามารถในการชำระหนี้ให้ดี เนื่องจากเวลานี้อยู่ในช่วงที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจให้มีความเหมาะสม

นายกรัฐมนตรีได้ให้แนวนโยบายแก่หน่วยงานเกี่ยวข้อง ให้เน้นการดูแลประเด็นหนี้สินครัวเรือนพุ่งเป้าไปที่กลุ่มเปราะบางเฉพาะกลุ่ม รวมถึงกลุ่มผู้เป็นหนี้นอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบเพื่อให้ทางการเห็นข้อมูลและมีมาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสม ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกกระทำการที่ผิดกฎหมาย

“นายกรัฐมนตรีได้รับทราบตามรายงานของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ อาทิ กระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ว่าในเรื่องของเสถียรภาพระบบการเงิน การชำระหนี้ในภาพรวมทั้งประเทศตอนนี้อยู่ในระดับที่ดี ไม่น่ากังวล ไม่จำเป็นต้องมีมาตรการใหม่หรือมาตรการที่ใช้ในวงกว้างเหมือนช่วงมีการแพร่ระบาดของโควิด19 แต่ให้มีมาตรการพุ่งเป้าดูแลแบบเฉพาะกลุ่มครัวเรือนเปราะบางที่อาจยังปรับตัวไม่ได้ รวมถึงกลุ่มหนี้นอกระบบ”น.ส.ไตรศุลี กล่าว

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด19 กระทรวงการคลัง ธปท. ได้ร่วมกับสถาบันการเงิน ทั้งธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบการด้านการเงินแต่ไม่ใช่ธนาคาร(นอนแบงก์) และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้เป็นหนี้ในระบบผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การปรับโครงสร้างนี้ การผ่านปรนเกณฑ์การชำระหนี้ ครอบคลุมลูกหนี้ทุกประเภท ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ เอสเอ็มอี และลูกหนี้รายย่อย และมีการปรับปรุงมาตรการให้สอดคล้องสถานการณ์มาโดยต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่1/66  มีผู้ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐ แยกเป็นการช่วยเหลือผ่านธนารพาณิชย์และนอนแบงก์ 1.94 ล้านบัญชี ยอดภาระหนี้ 1.89 ล้านล้านบาท ผ่านธนาคารเฉพาะกิจ 3.32 ล้านบัญชี ยอดภาระหนี้ 1.48 ล้านล้านบาท รวมการได้รับความช่วยเหลือทั้งสิ้น 5.26 ล้านบัญชี วงเงินรวม 3.37 ล้านล้านบาท

ส่วนการให้ความช่วยเหลือผู้เป็นหนี้นอกระบบธนาคารเฉพาะกิจก็ได้มีโครงการออกมาให้ความช่วยเหลือต่อเนื่อง เช่นกรณีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)  ได้เปิดจุดให้คำปรึกษาเกี่ยวกับหนี้นอกระบบแก่ครอบครัวเกษตรกรที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ และล่าสุดได้มีโครงการ “มีหนี้นอกบอก ธ.ก.ส.” เพิ่มความสะดวกให้ผู้ต้องการใช้บริการให้ดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ได้ โดยลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่าน www.baac.or.th หรือ Line Official Account: BAAC Family กรอกข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็น ภาระหนี้สิน และช่องทางติดต่อกลับในระบบ จากนั้นธนาคารจะติดต่อกลับเพื่อนัดหมายเข้าพบพูดคุยให้คำปรึกษาในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งตั้งแต่มีโครงการช่วยเหลือครอบครัวเกษตรกรที่เป็นหนี้นอกระบบ ธ.ก.ส. ได้ช่วยผู้อยู่นอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบแล้ว 710,123 ราย เป็นเงิน 59,759.77 ล้านบาท ซึ่งผู้สนใจโครงการสามารถสอบถามที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศและ Call Center ธ.ก.ส. 02 555 0555

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News