เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การชุมนุมหลังจัดตั้งรัฐบาล” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-16 มิถุนายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการชุมนุมหลังจัดตั้งรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น 97%

จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการชุมนุมต่อต้านนายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลใหม่ พบว่า ตัวอย่าง 

26.72%   ระบุว่า จะมีการชุมนุมต่อต้าน แต่ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น รองลงมา 

25.42% ระบุว่า จะไม่มีการชุมนุมต่อต้านใด ๆ ทั้งสิ้น 

25.19% ระบุว่า ไม่มั่นใจ 

22.44% ระบุว่า จะมีการชุมนุมต่อต้าน และมีความรุนแรงเกิดขึ้น 

และ 0.23% ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ   

 

 

ด้านสิ่งที่จะทำหากรัฐบาลใหม่ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองที่เลือก พบว่า ตัวอย่าง 

38.63% ระบุว่า ยอมรับในรัฐบาลใหม่อย่างเต็มใจ รองลงมา 

22.52% ระบุว่า ไม่ยอมรับ แต่จะไม่เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใหม่ 

16.87% ระบุว่า จำใจต้องยอมรับในรัฐบาลใหม่ 

14.43% ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาล

7.02% ระบุว่า ไม่ยอมรับ และจะเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใหม่แน่นอน 

และ0.53% ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ  

 

 

สำหรับความกังวลของประชาชนหากเกิดการชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลใหม่ พบว่า ตัวอย่าง 

56.87% ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง รองลงมา 

37.18% ระบุว่า การเกิดความรุนแรงจากการชุมนุม (เช่น การทำลายทรัพย์สิน การทำร้ายซึ่งกันและกัน) 

32.98% ระบุว่า การเกิดความขัดแย้งของคนในชาติ 

29.16% ระบุว่า การก่อรัฐประหาร 

21.45% ระบุว่า การกระทำที่ไม่เคารพกฎหมาย และ/หรือละเมิดสิทธิผู้อื่น

18.63% ระบุว่า สภาพการจราจรที่ติดขัดจากการชุมนุม 

12.21% ระบุว่า การแทรกแซงจากต่างชาติ 

3.82% ระบุว่า ไม่มีความกังวล 

และ1.98% ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

 

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเบื่อหน่ายกับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง 

57.71% ระบุว่า เบื่อมาก รองลงมา 

20.46% ระบุว่า ค่อนข้างเบื่อ 

12.75% ระบุว่า ไม่เบื่อเลย 

8.09% ระบุว่า ไม่ค่อยเบื่อ 

และ0.99% ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

 

 

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง48.09% เป็นเพศชาย และ51.91% เป็นเพศหญิง  พบว่า 

8.55% มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ 

18.24% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง

18.32% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ 

33.44% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

13.74% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ 

และ 7.71%  มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก 

 

 

โดยได้สำรวจ

1.อายุ 18-25 ปี 12.90% 

2.อายุ 26-35 ปี 17.79%  

3.อายุ 36-45 ปี 18.93%  

4.อายุ 46-59 ปี 26.64%

และ5.อายุ 60 ปีขึ้นไป 23.74%

ตัวอย่าง 95.72% นับถือศาสนาพุทธ / 3.59% นับถือศาสนาอิสลาม และ0.69% นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

 

ตัวอย่าง 32.06% สถานภาพโสด 65.95% สมรส และ1.99% หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง 24.81% จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 36.49% จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 8.32% จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า 25.50% จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และ4.88% จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

 

ตัวอย่าง 8.09% ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 17.18% ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน  19.77% ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ 12.44% ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง 16.26% ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 19.3% เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ6.95% เป็นนักเรียน/นักศึกษา

 

ตัวอย่าง 21.91% ไม่มีรายได้ 19.3% รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท  28.78% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท 10.76% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท 4.12% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้2.83% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และ12.29% ไม่ระบุรายได

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : นิด้าโพล

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME