Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

คณะทูต เยือนศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ โคก หนอง นา ชุมชนดอยอินทรีย์

 
เมื่อวันที่ 19ก.พ. 67 ที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบคนทุกช่วงวัย โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน พุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ต.ดอยฮาง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย นำหัวหน้าส่วนราชการให้การต้อนรับ คณะทูตและกงสุลต่างประเทศประจำประเทศไทยพร้อมคู่สมรสที่ลงพื้นที่ศึกษาดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเรียนรู้เกี่ยวกับศักยภาพและความสำเร็จของประเทศไทยด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำปี 2567
 
 
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบคนทุกช่วงวัย โคก หนองนา พัฒนาชุมชน พุทธอุทยานดอยอินทรีย์ บ้านห้วยกีด ตำบลดอยฮาง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย(พื้นที่ดอยอินทรีย์ขนาด 8,025 ไร่) เป็นพื้นที่ป่าไม้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งแต่เดิมประชาชนในพื้นที่ได้รุกล้ำพื้นที่ป่าไม้โดยการแผ้วถางเผาป่า ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำเข้าไปทำเกษตรเชิงเดียว ได้แก่ การปลูกข้าวโพด การปลูกสับปะรด การปลูกถั่วเหลือง อีกทั้งยังมีการใช้สารเคมีแหล่งพื้นที่สร้างอาหารถูกทำลาย สัตว์ป่าเสียชีวิต
 
 
พระอาจารย์วิบูลย์ ธัมเมเตโช ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดพุทธดอยอินทรีย์ จึงได้หาวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานราชการ ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ประชาชนจิตศรัทธา เพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำทำนุบำรุงรักษาผืนป่า จึงขอรับการสนับสนุนจากสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินองค์การมหาชน ในการจัดสรรที่ดินให้ครอบครัวที่ไม่มีที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัยครอบครัวละ 1 ไร่ แล้วเปลี่ยนแนวคิดของคนในชุมชน ให้เกิดการรักษาทรัพยากรที่ก่อเกิดแหล่งอาหารก่อเกิดสิ่งมีชีวิตโดยน้อมนำแนวทางศาสตร์พระราชา เกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สู่แนวคิด“เขียนตำราลงดิน”มาเป็นแนวทางปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
 
 
ผลการดำเนินงานในหลักทฤษฎีขั้นพื้นฐานโดยรูปแบบการพัฒนาพื้นที่แต่ละครัวเรือนได้นำรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ตามพระราชดำริ เกษตรทฤษฎีใหม่ โดยจัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 30-30-30-10 ให้มีการกักเก็บน้ำปลูกผักสวนครัวปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง สร้างความสมดุลย์ของระบบนิเวศหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2563 มีการขยายผลสู่การดำเนินงานตามหลักทฤษฎีขั้นกลางโดยการพัฒนาพื้นที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นาพัฒนาชุมชนจำนวน 15 ไร่ ได้รับงบประมาณจากงบกู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลผ่านกระทรวงมหาดไทยมาต่อ ยอดการพัฒนาขั้นพื้นฐานโดยมีการพัฒนาบุคลากรประสานภาคีการพัฒนามาร่วมบูรณาการพัฒนาพื้นที่พัฒนาฐานการเรียนรู้ต่างๆให้มีความพร้อมสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัย ซึ่งใช้ระยะเวลาดำเนินการเพียง 6 เดือน พื้นที่แห่งนี้สามารถกักเก็บน้ำฝนได้ 9,078 ลูกบาศก์เมตร ปลูกป่าปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 5,000 ต้น มีพืชผักสวนครัวพืชสมุนไพร และมีรายได้จากการศึกษาเรียนรู้ดูงาน และฝึกปฏิบัติ มีรายได้กว่า 3,600 บาทถึง 25,000 บาทต่อเดือน
 
 
ซึ่งส่งผลสำเร็จที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูดิน น้ำ ป่า และพื้นที่แห่งนี้กำลังจะได้รับการขยายผลไปในระดับจังหวัด คือ เป็นพื้นที่ขยายผลเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ตามนโยบายรัฐบาลซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมใน 3 มิติ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียวภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ซึ่งถือเป็นการพัฒนาตามหลักที่ใหม่ ขั้นก้าวหน้า จึงมั่นใจว่าการดำเนินงานในระยะต่อไปจะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ไม่น้อยกว่า 3 เท่า ภายใน 3 ปีซึ่งเพิ่มพื้นที่สีเขียวจากโครงการอื่นๆ เช่น ปลูกป่าในใจคน ป่านี้มีผลผู้คนรักกัน ดินโลกคนอยู่ร่วมกับป่า สร้างแหล่งน้ำได้อย่างยั่งยืนทั้งน้ำกิน น้ำใช้ และน้ำเพื่อการเกษตร
 
 
อีกทั้งยังสามารถสร้างความสามัคคีปรองดองให้แก่คนและชุมชนผ่านกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาและช่วยให้ชุมชนตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันสาธารณภัยผ่านกิจกรรมจิตอาสาภัยพิบัติผ่านการรวมกลุ่มชาวบ้านและภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีโดยมีภาครัฐสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานอีกด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดกิจกรรมสัมมนา “กระชับความสัมพันธ์ SONP” ระดมสมองทิศทางการดำเนินงานปี 67

 

เมื่อวันที่ 18-19 ก.พ. 2567 สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) จัดกิจกรรมสัมมนา “กระชับความสัมพันธ์ SONP” โดยมีกรรมการบริหาร ที่ปรึกษา และสมาชิก เข้าร่วมการสัมมนา ณ ห้องอิรวดี เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ

 

นายนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า “การสัมมนาครั้งนี้เป็นการเปิดพื้นที่ระดมสมอง รับฟังความคิดเห็นจากสมาชิก SONP เพื่อขับเคลื่อนสมาคมฯ ภายใต้การบริหารรูปแบบใหม่ เน้นสร้างการมีส่วนร่วม และตอบโจทย์ความต้องการของสมาชิก ยกระดับวงการสื่อมวลชนและสร้างประโยชน์ให้กับสังคม

 

ทั้งนี้ ในการสัมมนาดังกล่าว ประกอบด้วยกิจกรรมสันทนาการ ละลายพฤติกรรม  กระชับความสัมพันธ์ รวมทั้งการระดมสมอง โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.ด้านการสร้างมาตรฐานวิชาชีพ 2.ด้านพัฒนาเนื้อหา อาทิ โครงการหลักที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เช่น One Day Training แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกูรูออนไลน์ เป็นโครงการที่เน้นการพัฒนาทักษะ บุคลากรของสมาชิกให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี, โครงการอบรมผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ โครงการที่จะบ่มเพาะผู้ผลิตข่าวรุ่นใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพก่อนที่จะก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมอย่างมืออาชีพ, โครงการประกวดรางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม เวทีในการส่งเสริม สนับสนุน และให้กำลังใจสื่อมวลชนออนไลน์ ที่ให้ความสำคัญกับการผลิตข่าวออนไลน์ที่มีคุณภาพ ทั้งในเชิงลึกและสร้างสรรค์ สร้างแรงกระเพื่อม ส่งผลกระทบ กระตุ้น และส่งเสริมสังคมเชิงบวกมากขึ้น  และ 3. แนวทางการพัฒนาธุรกิจ เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจให้กับองค์กรสมาชิก มองหาแนวทาง และพันธมิตรในการการหารายได้ใหม่ ๆ ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างเป็นอย่างดี รวมทั้งได้รับข้อเสนอใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์

 

นายนันทสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ ต้องขอขอบพระคุณ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) และ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

ผอ.สกสว. ปิดโครงการ ลกส. รุ่นที่ 1 ยันการสนับสนุนสภาการสื่อมวลชนฯ

 
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ การจัดอบรม โครงการ “เพิ่มองค์ความรู้สื่อมวลชนเรื่อง : โลกาภิวัตน์ในกระบวนทัศน์ใหม่ของสื่อ” ได้จัดให้มีการนำเสนอโครงงานของผู้เข้ารับการอบรม และปิดการอบรมหลักสูตรโครงการดังกล่าว โดยดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ประธานคณะกรรมการหลักสูตร กล่าวปัจฉิมนิเทศว่า ครั้งแรกที่หารือกันในที่ประชุมกรรมการสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ เรื่องอยากจะให้ระดมพลคนสื่อมาเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ซึ่งตอนนั้นใช้คำว่าโลกาภิวัตน์ กรรมการทุกคนเห็นด้วยอย่างยิ่ง จนทำให้เกิดเป็นวันนี้ขึ้นมา

ดร.พิเชฐ กล่าวอีกว่า การนำคน 20-30 คนมาอยู่ด้วยกัน คงมีโอกาสไม่มากนัก ประกอบกับต้องขยายขอบเขตให้คนที่ไม่ได้เป็นสื่อเข้ามาอยู่ในวงด้วยจนเกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นคุณค่าที่จับต้องไม่ได้ แต่สำคัญยิ่ง นับเป็น Real Power ของพวกเราอย่างมาก เมื่อเรามีรุ่นแรก ก็น่าจะเป็นความคิดให้พวกเราช่วยกันมองอนาคตของสื่อที่จะทำอย่างไรให้เข้มแข็ง และขยายโอกาสไปให้กลุ่มอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วย หัวข้อในอนาคตอาจเป็นเรื่องอื่นๆ เพราะตอนนี้เราอยู่ในโลกที่มีความหลากหลายอย่างมาก ศาสตร์เดียวเอาไม่อยู่ เราต้องเรียนรู้กันตลอดชีวิต เพราะปัจจุบันมีหลายเรื่องเกิดขึ้น ทั้ง Geopolitics ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ทุกประเทศต้องหาจุดยืน สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันกัน สิ่งแวดล้อมก็เป็นเงื่อนที่สำคัญยิ่ง แต่การตกลงในกรอบความร่วมมือต่างๆ ของโลกกลับยังไม่เห็นผลอะไร แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเยอะ หรือเรื่องของเทคโนโลยี ไม่เรียนรู้ก็ไม่ได้ ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งสำหรับลูกหลานในอนาคต จึงเป็นเรื่องของพวกเราต้องช่วยกันบอกสังคมให้ตระหนักรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะเหล่านี้คือเรื่องของอนาคตจริงๆ

 

ดร.พิเชฐ กล่าวว่า ขอบคุณทุกคนที่ทำให้รุ่น 1 เป็นจริงขึ้น ทุกคนล้วนบอกว่าสนุกสนานมีความสุข เพิ่มพูนองค์ความรู้ได้ดี นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ ก็หวังว่าในอนาคตจะช่วยกันสื่ออะไรที่สำคัญให้สังคมทราบ เพิ่มเครือข่ายการทำงานและความร่วมมือแบบนี้ ให้เพิ่มมากขึ้นอีก

 ส่วนช่วงบ่ายมีการนำเสนอโครงงานกลุ่มของผู้เข้ารับการอบรม กลุ่มที่ 1 ศักยภาพผู้สูงอายุไทยที่ไม่มีวัน…เกษียณแก้โจทย์แรงงานไทย หยุดตีกรอบวัยทำงาน สร้างทางเลือกหลังเกษียณ กลุ่มที่ 2 โอกาสและการขับเคลื่อน SOFT POWER ผ่านอุตสาหกรรมบันเทิงไทย กลุ่มที่ 3 วิกฤตการเกิด เรื่องกำเนิด…ใครกำหนด?

กลุ่มที่ 4 PM 2.5 วิกฤติฝุ่นพิษ “ข้ามแดน” ปัญหาไร้ทางออก? และกลุ่มที่ 5 ผีน้อยส่งออก “Made in Thailand” ผลผลิตจากสังคมไทยไร้โอกาส ซึ่งทั้ง 5 กลุ่มได้นำเสนอให้อาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำ และปรับปรุงแก้ไขมาก่อนหน้านี้ โดยวันนี้กรรมการหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมให้ความเห็นเพิ่มเติมด้วย

 รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวปิดการอบรมว่า ในนามสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติมาเป็นประธานปิดการอบรมโครงการ “เพิ่มองค์ความรู้สื่อมวลชนเรื่อง: โลกาภิวัตน์ในกระบวนทัศน์ใหม่ของสื่อ” ซึ่งจัดโดยสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติร่วมกับสกสว. ในวันนี้ 

ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า สกสว.เป็นองค์กรที่มุ่งยกระดับศักยภาพและขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ ววน. ของประเทศ เพื่อส่งมอบคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน รวมถึงผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว การสนับสนุนสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติจัดหลักสูตรอบรมในครั้งนี้ จึงถือว่าสอดคล้องกับพันธกิจของ สกสว. ในการที่จะช่วยยกระดับศักยภาพของสังคมทุกภาคส่วนในการใช้ความรู้และนวัตกรรมร่วมขับเคลื่อนประเทศ  โดยที่สื่อมวลชนไทย ในฐานะที่ท่าน ที่มีหน้าที่สำคัญในการเป็นสื่อกลางให้ข้อมูลความรู้แก่สังคม  สามารถเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม โดยเฉพาะองค์ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและระเบียบโลก  สภาการสื่อมวลสามารถเป็นสื่อกลางให้กับสื่อมวลชนไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสื่อมวลชนและบุคลากรในหน่วยงาน ในการรายงานและวิเคราะห์ข่าว ความเคลื่อนไหวในมุมต่าง ๆ ของระเบียบโลกที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน และเป็นไปตามหลักจริยธรรมของสื่อมวลชน อีกทั้งเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสื่อมวลชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  

 

ผอ.สกสว. กล่าวต่อว่า ส่วนตัวชอบทำงานกับคนรุ่นใหม่ อนาคตของประเทศ ซึ่งทั้ง 5 หัวข้อเลือกมาเป็นประเด็นที่มีความสำคัญและมีความหมายกับประเทศ ดีใจที่ทุกคนได้มีโอกาสสืบค้นข้อมูล สื่อมวลชนกับนักวิจัยมีส่วนคล้ายๆ กัน คือ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล และการสื่อสาร ว่าสิ่งที่ได้จากข้อมูลคืออะไร แต่สิ่งที่ต่างกันมากๆ คือนักวิชาการอาจเข้าถึงยากกำลังพูดหรือเขียนอะไร แต่สื่อมวลชนมีทั้งศาสตร์และศิลป์น่าจะเป็นหน่วยงานที่สำคัญที่จะทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ตนเชื่อพลังของการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม ที่เมื่อก่อนเปลี่ยนโลก  สร้างแรงบันดาลใจได้ ยุคสมัยผ่านไปวรรณกรรมอาจอยู่เฉพาะคนบางกลุ่ม แต่สื่อมวลชน คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายกว่า แล้วสื่อมวลชนจะสื่อสารเรื่องอะไร กรณีแบบนี้สื่อมวลชนอาจยากกว่านักวิชาการ งานวิจัยนักวิชาการจบ 1 เรื่อง แต่การทำความเข้าใจกับสาธารณะ ต้องบูรณาการหลายเรื่อง ถึงแก้ปัญหาได้ จะเห็นภาพเชิงระบบเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะและทางออกที่ดีกว่า สื่อมวลชนมีบทบาทช่วยได้มากในเรื่องนี้ ถ้าจะสร้างสังคมที่ดีกว่า คือการสร้างปัญญา การหาข้อเสนอหรือทางออก นักวิชาการกับสื่อจึงควรทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ในการนำข้อมูลที่น่าสนใจและข้อมูลเชิงลึกต่างๆ เสนอให้สาธารณะรับทราบ

 

ผอ.สกสว. กล่าวอีกว่า หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านจะได้นำความรู้และประสบการณ์อันมีคุณค่าไปใช้ในการรายงานข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน พร้อมกันนี้ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลจากการรายงานผลงานกลุ่มทุกท่าน และหวังว่าจะมีการเผยแพร่ผลงานดังกล่าวต่อสาธารณชนหรือภาคนโยบาย เพื่อร่วมกันสร้างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของประเทศในประเด็นที่ท้าทายภายใต้ระเบียบโลกใหม่ และหวังว่าสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติจะจัดการอบรมหลักสูตรที่เป็นประโยชน์เช่นนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง เราอาจจะมาช่วยกันวิเคราะห์สถานการณ์  วิเคราะห์ข้อมูลและเลือกหัวข้อสำหรับการจัดอบรมในครั้งต่อๆไป 

 

ผอ.สกสว. กล่าวว่า สกสว. เป็นหน่วยงานบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน ขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของประเทศในทุกด้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน

นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการนี้ เป็นโครงการนำร่องที่สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติตั้งใจจะเพิ่มองค์ความรู้ด้านโลกาภิวัตน์หรือความเปลี่ยนแปลงของโลกให้แก่สื่อมวลชนไทยและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การรายงานข่าวของสื่อมวลชนไทยมีความรอบด้านและครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่สะท้อนได้อย่างดีว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่คือ ผลงานที่ผู้เข้ารับการอบรมผลิตตามที่หลักสูตรมอบหมาย

“ต้องขอบคุณทาง สกสว.เป็นอย่างมากที่เข้าใจและให้ความสำคัญต่อโครงการนี้ เชื่อว่าการสนับสนุนจาก สกสว.จะเป็นเริ่มต้นของการร่วมงานที่เป็นรูปธรรมในการเสริมสร้างความรู้และศักยภาพของสื่อมวลชนไทย ซึ่งผลที่ตามมาคือ การที่สาธารณชนจะได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนที่สมบูรณ์มากขึ้น” ประธานสภาการสื่อมวลชนฯกล่าว.

ซึ่งในการอบรมครั้งนี้ ทางนายกันณพงศ์ ก.บัวเกษร ผู้ก่อตั้ง สำนักข่าวนครเชียงรายนิวส์ ได้เข้าร่วมฝึกอบรมแลกเปลี่ยนในโครงการครั้งนี้ด้วย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
EDITORIAL

โอกาสและการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านอุตสาหกรรมบันเทิงไทย

ประเด็นสำคัญ

ที่ผ่านมา ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ถูกกล่าวถึงในฐานะของหนึ่งในเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย แต่กลไกสำคัญในกระบวนการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ ไม่ใช่แค่การกำหนดนโยบายที่เหมาะสมเท่านั้น แต่ต้องมีกลไกที่ผสานกันระหว่าง ‘ความคิดสร้างสรรค์’ และ ‘เทคโนโลยี’ จึงจะสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้พัฒนาทั้งรายได้และคุณภาพชีวิตของผู้คน ที่ทำให้ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยไปสู่ระดับโลกได้อย่างแท้จริง

ทำไมต้อง ‘Soft Power’ ?

ศาสตราจารย์โจเซฟ ไนย์ (Joseph S. Nye) อาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ได้อธิบายคำว่า ‘Soft Power’ ไว้ว่า ‘การทูตสาธารณะ (Public Diplomacy)’ คือเครื่องมือที่สำคัญในการส่งเสริมการใช้อำนาจการโน้มน้าวใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยเครื่องมือหลัก ได้แก่ ภาพยนตร์ สิ่งพิมพ์ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม วิทยุ และโทรทัศน์

คำนี้เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ในช่วงยุคสงครามเย็นและหลังสงครามเย็น ในฐานะกลยุทธ์ทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย โดยมีทั้งการใช้กำลังทหารหรือเรียกว่าฮาร์ดพาวเวอร์ (Hard Power) และมีการสร้างอิทธิพลเพื่อให้ประเทศอื่น ๆ ยอมทำในสิ่งที่ต้องการโดยยินยอมพร้อมใจ อย่างซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ควบคู่กันมานับตั้งแต่นั้น

ปัจจุบันซอฟต์พาวเวอร์ถูกนำมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ ในประเทศไทยซอฟต์พาวเวอร์ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในระดับประเทศ เช่นในช่วงที่ผ่านมาถูกกล่าวถึงในฐานะนโยบายสำคัญที่รัฐบาลจะผลักดัน ‘1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์’

โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางทางรวมเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ซอฟต์เพาเวอร์ของประเทศอีกด้วย

ซอฟต์พาวเวอร์ที่ขาดหายในประเทศไทย

แม้ประเทศไทยจะมีศักยภาพในด้านซอฟต์พาวเวอร์หลายด้านเป็นต้นทุนเดิม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่ควรจะเป็น ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายมิติ

1) สังคมไทยยังขาดความเข้าใจในเรื่องซอฟต์พาวเวอร์

2) การถูกนำไปผูกโยงกับการเมือง

และ 3) ขาดการบูรณาการและวางแผนระยะยาว

 

Soft Power ที่โซเชียลมีเดียกล่าวถึง
การจัดอันดับ Global Soft Power Index

จากการจัดอันดับ Global Soft Power Index ประจำปี 2566 ในด้านวัฒนธรรมและมรดก อันประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 

1) ผู้อิทธิพลในด้านศิลปะและความ บันเทิง 

2) อาหารที่ทั่วโลกชื่นชอบ 

3) สถานที่ที่ดีเยี่ยมใน การเยี่ยมชม 

4) มรดกอันยาวนาน 

5) วิถีชีวิตที่น่าดึงดูด ใจ 

และ 6) ผู้นำด้านกีฬา โดยได้มีการจัดอันดับและการ ให้คะแนนเต็มอยู่ที่ 10 คะแนน 

 

ผ่านการรวบรวมคำตอบ จากผู้คนกว่า 110,000 คน ในกว่า 100 ประเทศ ด้วยวิธี สำรวจการรับรู้ของแบรนด์ระดับประเทศจากทั่วโลก ผลการสำรวจ พบว่า ประเทศที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ในอุตสาหกรรมบันเทิง 5 อันดับ โดยอันดับแรก คือ ประเทศฝรั่งเศส 7 คะแนน รองลงมาจะเป็นประเทศ สหรัฐอเมริกาและประเทศอิตาลี 6.9 คะแนน ประเทศ สเปน 6.6 คะแนน และประเทศอังกฤษ 6.5 คะแนน โดย เรียงตามอันดับ สำหรับในเอเชียประเทศที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจใน อุตสาหกรรมบันเทิงสูงที่สุด ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น 6 คะแนน (อันดับที่ 6 ของโลก) สาธารณรัฐประชาชนจีน 5.3 คะแนน (อันดับที่ 10 ของโลก) ประเทศเกาหลีใต้ 5 คะแนน (อันดับที่ 17 ของโลก) และประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 32 ซึ่งมีคะแนนอยู่ที่ 4.4 คะแนน

 

ภาพรวมสื่อบันเทิงในไทยและระดับโลก

จากการสำรวจของ Intellias Global Technology Partner ในด้านสื่อและอุตสาหกรรมบันเทิงในปี 2567 พบว่าสื่อบันเทิงในรูปแบบสตรีมมิ่งมีการเติบโตและมีความ หลากหลายและจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น 

 

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาภาพรวมภูมิทัศน์สื่อไทยปี 2566 – 2567 พบว่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ที่ ดาหน้าเข้าสู่วงการสื่อมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ตลาด อินฟลูเอนเซอร์จึงยังได้คงรับความนิยมจากทั้งแบรนด์และ เอเจนซี่ต่าง ๆ ส่งผลให้ “แฟนด้อม มาร์เก็ตติ้ง” (Fandom Marketing) หรือกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ ผ่านทางแฟนคลับถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพราะความ เคลื่อนไหวของเหล่าด้อมได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วถึง “บทบาท และอำนาจการซื้อ” ในการสนับสนุนศิลปินหรืออินฟลูเอน เซอร์ในดวงใจจากหลายแคมเปญ สำหรับแพลตฟอร์ม สื่อต่าง ๆ นั้น โซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก ยูทูบ ติ๊กต๊อก สามารถครองใจผู้ใช้โซเชียลมีเดียในไทย แต่ยูทูบเป็น แพลตฟอร์มยอดนิยมในการสร้างรายได้ อย่างไรก็ดี การ ที่ติ๊กต๊อกเข้าสู่วงการอีคอมเมิร์ซและผลักดันให้กระแส Live-Commerce หรือการไลฟ์ขายของออนไลน์ถูกใจผู้ใช้ งานติ๊กต๊อกในไทยที่ชื่นชอบการชอปปิงออนไลน์อยู่เป็นทุน เดิมอยู่แล้ว ก็เป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่น่าติดตาม

ถอดบทเรียนซอฟต์พาวเวอร์ ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ทำอย่างไรให้สำเร็จ
การโปรโมตซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศญี่ปุ่น

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Global Asia ที่รายงานเกี่ยวกับ ความเคลื่อนไหวในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ระบุว่า ประเทศญี่ปุ่นได้ดำเนินนโยบายการโปรโมท ซอฟพาวเวอร์ของตัวเองผ่านแคมเปญที่มีชื่อว่า คูล เจแปน (Cool Japan) โดยที่ผ่านมาญี่ปุ่นจะใช้งบ ประมาณสาธารณะสนับสนุนในสิ่งที่ เรียกกันว่า ‘วัฒนธรรมชั้นสูง’ ของตัวเองมาโดยตลอด ต่อมา รัฐบาลญี่ปุ่นก็ต้องการทำแบบเดียวกันกับวัฒนธรรม ‘Pop culture’ ของตัวเองให้เป็นที่รู้จัก รัฐบาลญี่ปุ่น จึงได้มีการสนับสนุนกิจกรรมการแข่งขัน คอสเพล ย์จากทั่วโลกให้มาแข่งที่ญี่ปุ่น และยังได้มอบรางวัล นานาชาติประจำปีให้กับศิลปินวาดการ์ตูน มัง

การโปรโมตซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศเกาหลีใต้

ซอฟต์พาวเวอร์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยยกระดับจาก ประเทศเกาหลีใต้ จากที่เคยต้องกู้เงินกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (IMF) มาถึง 57 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 แต่ปัจจุบันเกาหลีใต้กลาย เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ เป็นอันดับที่ 12 ของโลก มีมูลค่ากว่า 1.63 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

เกาหลีใต้ผ่านวิกฤตินี้ไปได้จากการมุ่งพัฒนา อุตสาหกรรมบันเทิงอย่างจริงจัง จนเกิดเป็นกระแส Korean Wave หรือ ฮันรยู (Hallyu) โดยรัฐบาล เกาหลีใต้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการจัดการและส่ง เสริมอย่างเต็มที่ รวมถึงมีการก่อตั้ง ‘Korea Creative Content Agency (KOCCA)’ หรือสำนักงานส่งเสริม คอนเทนต์เกาหลี เมื่อปี 2009 ที่ส่งเสริมและช่วยเหลือ ด้านเงินทุนให้แก่ภาคเอกชนในการสร้างคอนเทนต์และ พัฒนากลยุทธ์และถ่ายทอดเนื้อหาสาระความเป็นเกาหลี ในคอนเทนต์ทุกรูปแบบสู่สายตาคนทั่วโลก

กรณีศึกษา มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจาก
Korean Wave หรือ ฮันรยู (Hallyu)

ซอฟต์พาวเวอร์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ GDP ของ เกาหลีใต้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ ด้านการ ท่องเที่ยว อิทธิพลของ Korean Wave ที่เกิดขึ้น จากภาพยนตร์ วงดนตรี ละคร ที่ทำให้คนมีโอกาส ได้เห็นหลายแง่มุมของประเทศผ่านสื่อบันเทิง เช่น ความปลอดภัย ระบบขนส่งสาธารณะ ความทัน สมัยของเทคโนโลยี เป็นต้น ยิ่งส่งเสริมการท่องเที่ยว ในของเกาหลีใต้หรือ K-Travel ให้มีชื่อเสียงในทางที่ดี ขึ้นอย่างชัดเจน

 

ขณะที่ ด้านภาษาและวัฒนธรรม ด้วยพลังของ ซอฟต์พาวเวอร์ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ปัจจุบันผู้คน ทั่วโลกจึงให้ความสนใจและเข้าใจในวัฒนธรรมและ ภาษาเกาหลีมากขึ้น จากรายงานของ Duolingo แอปพลิเคชันสอนภาษาพบว่าภาษาเกาหลีได้รับ ความนิยมมากเป็นอันดับที่ 7 ของโลกไปแล้ว

ซอฟต์พาวเวอร์ไทยอยู่ตรงไหนของโลก

ซอฟต์พาวเวอร์สามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมจุดยืน ของประเทศในเวทีโลกผ่านการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ของประเทศ จากการจัดอันดับ Global Soft Power Index 2023 โดย Brand Finance ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 41 ของโลก ซึ่งตกลงจาก เดิมซึ่งได้ที่ 35 ในปีก่อน 6 อันดับ

ด้าน ดร.ชาคริต พิชยางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่ง เสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ได้ อธิบายถึงประเด็น ที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัด Global Soft Power Index ที่ต้องมองแบบองค์รวม “ เมื่อพูดถึง Soft Power คนมักจะคิดว่าเป็นเรื่องทุนวัฒนธรรม แต่ ถ้าเราดูจากการจัดโครงสร้างดัชนีในการจัดอันดับ Global Soft Power Index จะมีการแบ่งนํ้าหนักคะแนน เป็น 5 ส่วน คือ Familiarity 10% หมายความว่า คุณต้องมีความคุ้นเคย Reputation 10% คือความ มีชื่อเสียงเชิงบวก Influence 30% คือคุณต้องรู้สึกว่า สินค้าและบริการสามารถชักจูงให้คุณเชื่อถือและชื่นชม ได้ และให้นํ้าหนัก 7 Soft Power Pillars อีก 40% ฉะนั้นต้องมองเป็น holistic view คือ มุมมองแบบองค์ รวมในการขับเคลื่อน Soft Power ”

ข้อเสนอแนะ
ด้านอุตสาหกรรมบันเทิง

หม่อมราชวงศ์ เฉลิมชาตรี ยุคล ตัวแทนผู้ขับเคลื่อน Soft Power สาขาภาพยนตร์ ได้กล่าวว่า “หาก ต้องการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์วงการบันเทิงไทยให้ไป สู่สายตาชาวโลกและเชื่อมั่นว่า ‘ของไทยดีจริง’ จะต้องมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) พัฒนาบุคลากรในประเทศให้มี ความสามารถ 2) การเปิดตลาดให้ใหญ่ขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และ 3) เพิ่มบทบาทของรัฐด้วยการเข้า มาเป็นตัวกลางเพื่อสนับสนุนการขายคอนเทนต์ และ สร้างพื้นฐานของทรัพยากรในประเทศไทยให้แข็งแรง”

 

ดร.ไพบูลย์ ปิตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “มองว่าการสร้าง ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยให้มีอิทธิพล ควรมีองค์ ประกอบ 3 อย่างที่ร่วมมือกัน 1) ภาคธุรกิจเอกชน B : Business จำเป็นต้องมีความเชื่อมต่อกัน ระหว่างทรัพยากร 2) ภาครัฐ G : Government มี ความสำคัญมากในบทบาทของการจัดองค์กร ภายในประเทศ เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบให้เป็น ระบบ เปลี่ยนโครงสร้างจัดตั้งกลไก และบูรณาการ ได้ทุกกระทรวง และ 3) พลเมือง C : Citizen เกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งตัวเองในการใช้การทูต สาธารณะ โดยใช้พลเมืองเกาหลีที่มีโอกาสออกไป อยู่ในต่างประเทศเป็นทูตในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ได้ด้วยตัวเอง นับเป็นการทำการทูตโดยอัตโนมัติ”

 

จากข้อเสนอแนะจากหลายฝ่ายในข้างต้นกำลัง สะท้อนว่าประเทศไทยเริ่มมองเห็นความสำคัญแต่ ยังไม่สามารถผลักดันให้ซอฟต์พาวเวอร์กลายเป็น พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เต็มที่ ดังนั้นจึงควรมี แนวทางในการขับเคลื่อนทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนี้

 

การขับเคลื่อนจากภาคเอกชน

ด้านสินค้าและบริการ ธุรกิจไทยหลายแห่งมุ่งเน้นการ พัฒนาสินค้าและบริการที่สอดแทรกเอกลักษณ์ของ ไทยเข้าไปผสมผสานกับนวัตกรรมใหม่ ๆ การสนับสนุนงานศิลปะและวัฒนธรรม เช่น แสดงงาน ศิลปะและวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งระดับประเทศและระดับ นานาชาติ การสื่อสารผ่านสื่อ ภาคเอกชนไทยใช้สื่อเป็นสื่อกลาง ที่มีพลังสำคัญในการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ของ ประเทศไปสู่สายตาชาวโลก การพัฒนาบุคลากร ภาคเอกชน โดยเฉพาะในภาค บริการให้มีคุณภาพตรงความต้องการของตลาด และ เพียงพอต่อความต้องการ

 

การขับเคลื่อนจากภาครัฐ

การขับเคลื่อนจากภาครัฐต้องมีบทบาทสำคัญใน การเป็น ‘Facilitator’ หรือผู้สนับสนุนการขับเคลื่อนของ ภาคเอกชน ผ่านนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ดังนี้ ปรับปรุงกฎเกณฑ์ เนื่องจากปัจจุบันยังมีกฎเกณฑ์ บางข้อในประเทศไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ซอฟต์พาวเวอร์ เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ใน ประเทศไทยไทยยังมีความซับซ้อน และควร สนับสนุนการระดมทุนสำหรับโครงการซอฟต์พาว เวอร์ผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น เงินอุดหนุน การยกเว้น ภาษี หรือการจัดตั้งกองทุนสนับสนุน เป็นต้น พัฒนาบุคลากร การพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการ ส่งเสริมการศึกษา พัฒนาหลักสูตร มีทุน สนับสนุนการพัฒนา นอกจากนี้รัฐยังสามารถ สนับสนุนในการสร้างเครือข่ายระหว่างภาครัฐและ ภาคเอกชนด้วย

 

เอกสารอ้างอิง

Brand Finance. GLOBAL SOFT POWER INDEX 2023. สืบค้นจาก https://brandirectory.com/softpower/nation

Intellias. 2024 Media & Entertainment Industry Qutlook + Key Trends. สืบค้นจาก https://intellias.com/media-entertainment-industry-trends/

dataxet infoquest. ภาพรวมภูมิทัศน์สื่อไทยปี 2566 – 2567. สืบค้นจาก https://www.dataxet.co/media-landscape/2024-th

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นซอฟท์พาวเวอร์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก https://nida.ac.th/economy-into-soft-power-for-sustainable-development/

 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

สืบสานวัฒนธรรมล้านนา เปิดโฮงเฮียนวัดดอนแก้ว

 

เมื่อวันที่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (ประธานฝ่ายฆราวาส) เป็นประธานเปิดโครงการโฮงเฮียนสืบสานวัฒนธรรมล้านนา วัดดอนแก้ว พร้อมด้วยพระครูรัตนธรรมนุสรณ์ เจ้าอาวาสวัดดอนแก้ว (ประธานฝ่ายสงฆ์) นายชัยสิทธ์ ชัยเนตร เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ โดยมี นายมานพ อุบลศิลป์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเทิง เป็นผู้กล่าวรายงาน

 

สำหรับโครงการจัดงานโฮงเฮียนสืบสานวัฒนธรรมล้านนา วัดดอนแก้ว มีวัตถุประสงค์ในการจัดงาน เพื่อส่งเสริม สืบสานภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมล้านนาให้เด็กเยาวชน และประชาชน ได้เรียนรู้และร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นสืบไป เพื่อส่งเสริมความสามัคคีของชุมชน ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจตระหนักในคุณค่าความเป็นเจ้าของภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นตนเอง เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน
 
 
โดยในการจัดงานประกอบด้วยกิจกรรม การแสดงด้านวัฒนธรรมล้านนาและดนตรีพื้นบ้าน อาทิ ปี่พาทย์ล้านนา กลองสะบัดชัย ฟ้อนดาบฟ้อนเจิง ฟ้อนสาวไหม รวมถึงการแสดงนิทรรศการส่งเสริมการเรียนรู้ การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมล้านนา อาทิ ต้มลานจ๋านธรรม ปั่นฝ้ายทอผ้า ดนตรีพื้นเมือง การจักสาน ขนมและอาหารล้านนา การทำดาบและอาวุธล้านนา อักษรล้านนา และวิถีตลาดย้อนยุค กาดหมั้วคัวแลง อีกด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เปิดกิจกรรมวันสามเณร เชียงรายสัมพันธ์ ครั้งที่ 20

 

เมื่อวันที่วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 08.30 น. นายเกรียงศักดิ์ วันไชยธนวงศ์ รองนายก อบจ.เชียงราย เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และมอบเกียรติบัตรขอบคุณแก่ผู้สนับสนุนกิจกรรม ในกิจกรรมวันสามเณรเชียงรายสัมพันธ์ ครั้งที่ 20 ประจำปีการศึกษา 2566 ตามโครงการพัฒนาการเรียนรู้สามเณรเพื่อบูรณาการสู่ชุมชน โดยมีพระเดชพระคุณ พระพุทธิญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีพระครูวิสิฐวรนารถ ประธานกลุ่มโรงเรียน ปส.ชร. ร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ด้วย

 

อบจ.เชียงราย เล็งเห็นความสำคัญของการเรียนรู้สามเณร จึงได้สนับสนุน ในหลายๆช่องทาง ไม่ว่าการสนับสนุนอุปกรณ์ สื่อการเรียนในหลายครั้งที่ผ่านๆมา การเปิดโอกาสให้เข้าศึกษาเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ของ อบจ.เชียงราย ตลอดจน การสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการสู่ชุมชนในครั้งนี้ มีการแสดงผลงานความสามารถด้านต่างๆ มีการแข่งขันทั้งด้านทักษะฝีมือและด้านวิชาการ เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนต่อไป ซึ่งกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จ.เชียงราย ได้จัดงานแข่งขันทักษะและวิชาการ ในกิจกรรมวันสามเณรเชียงรายสัมพันธ์ ครั้งที่ 20 ประจำปีการศึกษา 2566 ตามโครงการพัฒนาการเรียนรู้สามเณรเพื่อบูรณาการสู่ชุมชน มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จ.เชียงราย ทั้ง 21 โรงเรียนโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบจ.เชียงราย กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 15 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ณ โรงเรียนวัดเจดีย์หลวงวิทยา วัดเจดีย์หลวง ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
 
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

“ธรรมนัส” ผลักดัน Soft power ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ม.ราชภัฏเชียงราย

 

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม “Innovation for Sustainable Local Development : นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 2 Soft power กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : วิถีถิ่นเชียงราย ศิลปะ ดนตรี กวี วิจัย” โดยได้รับเกียรติจาก ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นโยบายการเพิ่มมูลค่าทางการเกษตร กับ Soft Power เพื่ออนาคตประเทศไทย” โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พร้อมทั้งผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมกิจกรรม ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

 

โดยการจัดงานครั้งนี้ เพื่อแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ในด้านต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะในด้านการเกษตร ซึ่งนับว่าภาคการเกษตรเป็นรากฐานสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งภายในงานมีการจัดแสดงและนำเสนอผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยด้านการเกษตรที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) รวมถึงสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก อาทิ 
 
 
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการตลาดข้าวจาปอนิกาหรือญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงราย นวัตกรรมการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวเหนียวเขี้ยวงูจังหวัดเชียงราย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไซรัปเพื่อสุขภาพจากเยื่อหุ้มเมล็ดโกโก้ เครื่องดื่มฟังก์ชันจากเปลือกเมล็ดโกโก้ เครื่องดื่มอัดแก๊สจากใบกัญชาและดอกฮ๊อพส์ การเพิ่มมูลค่าปลีกล้วยน้ำหว้าด้วยการแปรรูปเป็นเนื้อเทียมอรรถประโยชน์สูง ที่มีการดัดแปรเชิงหน้าที่โปรตีนด้วยเอนไซน์จากสัปปะรด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผงอาซาอิด้วยนวัตกรรมเอนแคปซูเลชัน รวมถึงการพัฒนาสแน็คจากเศษมะคาเดเมีย ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าของเสียจากกระบวนการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
 
 
กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่เชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และจะช่วยผลักดันผลงานวิจัยจากอัตลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของจังหวัดเชียงราย โดยมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนต่างๆ ในหัวข้อ “วิถีถิ่นเชียงราย ศิลปะ ดนตรี กวี วิจัย” ได้แก่ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เช่น การพัฒนาพาสต้าดัชนีน้ำตาลต่ำจากปลายข้าวหอมมะลิ 105 การสร้างมูลค่าใหม่กาแฟปางขอน การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเชียงรายแบรนด์ (Chiang Rai Brand) 
 
 
รวมถึงการออกแบบของที่ระลึกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผลงานนวัตกรรมกับการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวจาปอนิกา ผลิตภัณฑ์ต้นแบบไซรัปเพื่อสุขภาพจากเยื่อหุ้มเมล็ดโกโก้ การเพิ่มมูลค่าปลีกล้วยน้ำหว้าด้วยการแปรรูปเป็นเนื้อเทียม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผงอาซาอิด้วยนวัตกรรมเอนแคปซูเลชัน รวมถึงการพัฒนาสแน็คจากเศษมะคาเดเมียในพื้นที่ดอยช้าง ผลงานนวัตกรรมการขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในเรื่องผ้า และทุนทางวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่าจังหวัดเชียงราย และผลงานการวิจัยที่เกิดจากการร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดเชียงราย เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย และสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
All

ศูนย์กลางภารกิจช่วยเหลือ (ฝูงบิน 416) ภาคเหนือตอนบน สนามบินเชียงราย

 

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีเปิดงานแสดงขีดความสามารถสนามบินเชียงราย (ฝูงบิน 416) เพื่อเป็นการรองรับการเป็นศูนย์กลางภารกิจการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ณ ฝูงบิน 416 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 

 

โดยมี นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ หัวหน้าหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้แทนชุมชน ประชาชน และนักเรียนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เข้าร่วมกิจกรรม กว่า 500 คน

 

สำหรับกิจกรรม ประกอบด้วย การประชุมร่วมกับหน่วยงาน ส่วนราชการ ผู้แทนชุมชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงแนวทางการพัฒนาสนามบินเชียงราย (ฝูงบิน 416) การปฏิบัติการมวลชนสัมพันธ์ การสาธิตการบินควบคุมและดับไฟป่า การบินค้นหาและช่วยชีวิต การลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ การบรรยายสรุปการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือประชาชนของกองทัพอากาศ การจัดแสดงที่ใช้ในภารกิจการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ 
 
 
การตั้งแสดงอากาศยานและขีดความสามารถกองทัพอากาศในการช่วยเหลือประชาชน การบินทิ้งน้ำและสารควบคุมไฟป่า การบินค้นหาและช่วยชีวิต และการบินรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศ การจัดหน่วยมิตรประชากองทัพอากาศ ให้บริการประชาชน ได้แก่ การตรวจรักษาโรคและให้คำแนะนำด้านสุขภาพ การวัดสายตาพร้อมแจกแว่นตา การให้บริการตัดผม การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถจักรยานยนต์ การแสดงดนตรีจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ การมอบอุปกรณ์กีฬา และอุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นต้น
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

“BALLOON LOVE 2024″ เปิดบอลลูนเฟสติวัล สิงห์ปาร์คเชียงราย

 

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 67 ที่ลานสิงห์ปาร์คเชียงราย ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมืองเชียงราย ว่าที่ร้อยตรี ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ร่วมเป็นสักขีพยานให้กับคู่รัก และร่วมถ่ายภาพในกิจกรรม Balloon Love2024 เทศกาลบอลลูนนานาชาติ โดยมีนายวันชัย จงสุทธนามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย และผู้บริหารบริษัทสิงห์ปาร์ค เชียงราย จำกัด ร่วมงาน ท่ามกลางบรรยากาศที่อบอุ่น

 

โอกาสนี้ “สิงห์ปาร์ค เชียงราย” ได้จัดกิจกรรมบอกรักบนฟ้า BALLOON LOVE 2024 ให้กับ 14 คู่รัก ผู้โชคดีจากการได้รับรางวัลคัดเลือกจากคู่รักกว่า130 คู่ที่ร่วมลุ้นรางวัล ซึ่งคู่รักทั้ง 14 คู่ จะได้ขึ้นไปสัมผัสความสวยงามของน่านฟ้าเชียงรายยามเช้า ดื่มด่ำกับความโรแมนติก พร้อมเหล่าบอลลูนจาก 11 ประเทศทั่วโลก กว่า 20 ลูก ตระการตาเต็มท้องฟ้า หน้าเนินสิงห์สีทอง ซึ่งจัดขึ้นพิเศษเฉพาะวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์นี้เท่านั้น
 
 
 
สำหรับงานสิงห์ปาร์ค เชียงราย อินเตอร์เนชั่นแนล บอลลูน เฟสติวัล 2024 ปีนี้จัดกิจกรรม Highlight ตลอดทั้ง 5 วัน ระหว่างวันที่ 14 – 18 กุมภาพันธ์ มีการจัดแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง และการแข่งขันบอลลูนจากนักบอลลูนชั้นนำระดับโลกและในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมพิเศษ คือ การแสดงโขนริมทะเลสาบ สิงห์ปาร์ค เชียงราย โดยกลุ่มศิลปินวังหน้ากว่า 100 ชีวิต เรื่องรามเกียรติ์ ชุด “พระจักรีทรงกลดปฐมบทรามเกียรติ์” จัดขึ้น วันที่ 16 – 17 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 18.00 – 19.15 น. เพื่อน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในฐานะองค์ปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูการแสดงโขนด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

USAID – BIRD เฉลิมฉลองรับวาเลนไทน์ จัดเวทีแลกเปลี่ยนการรณรงค์เชิงสร้างสรรค์

 

[English below]

เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 67 ทางเจ้าหน้าที่จากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) รู้สึกตื่นเต้นที่ได้มีโอกาสเฉลิมฉลองวันวาเลนไทน์

 
ที่จังหวัดสงขลา! ดร.สตีเว่น จี. โอลีฟ ผู้อำนวยการ USAID สำนักงานภาคพื้นเอเชีย และทีมงาน ได้เข้าพบนายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เพื่อแนะนำโครงการ USAID Enhance นอกจากนี้ ผู้อำนวยการโอลีฟและทีมงานยังได้เข้าร่วมการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการรณรงค์เชิงสร้างสรรค์และความร่วมมือเชิงพันธมิตร (Forum on Constructive Advocacy and Strategic Partnership Collaboration) กับองค์กรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาครัฐทั้งหมด 47 องค์กร จากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย

USAID และองค์กรที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ได้หารือเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยขยายเสียงของประชาชน ระบุบริบทโดยรวมของความพยายามด้านการรณรงค์ขององค์กรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงสำรวจความเป็นไปได้ของการเป็นภาคีเพื่อยกระดับประเด็นที่มีความสำคัญต่อชุมชนท้องถิ่น
การร่วมแบ่งปันความรักด้วยการสร้างภาคีที่เข้มแข็งเป็นสิ่งที่ USAID ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการทำงานของ USAID เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการบริหารจัดการการปกครองท้องถิ่นโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง USAID และภาคีทำงานร่วมกันเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและขับเคลื่อนโดยชุมชน
 
 
 
Excited to celebrate Valentine’s Day

 
in Songkhla this February 14! USAID Asia Mission Director Dr. Steven G. Olive and team met with Mr. Amnuay Pinsuwan, Songkhla Vice Governor, to introduce the USAID Enhance project to Songkhla. Mission Director Olive and team also attended the Forum on Constructive Advocacy and Strategic Partnership Collaboration with 47 non-governmental stakeholders across the North, Northeast, and Deep South region.
 
 
At this forum, we discussed ways to amplify citizens’ voices, identify the overall context of advocacy efforts between non-governmental stakeholders and local administrative organizations, and explore possibilities of partnerships to elevate issues of importance to local communities. Let’s spread love by building meaningful partnerships!
Collaboration with local government and non-governmental stakeholders is crucial as we work to strengthen citizen-centric governance. Together we’re forging a shared vision for sustainable and community-driven development.
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : USAID Asia

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News