Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ในหลวง โปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์เชิญเครื่องสังฆทาน ผ้าไตร และเครื่องไทยธรรมพระราชทานแด่พระสงฆ์ พระครูบาบุญชุ่ม

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทานไปถวายแด่เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ต.สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง(5) เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทาน และเครื่องเขียนพระราชทาน ไปถวายแด่ พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร ในวันศุกร์ ที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 10.30 น. ณ วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

   พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร เป็นประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ และเมตตากล่าวสัมโมทนียกถา

   นายคฑาสิทธิ์ เนื่องหล้า นายอำเภอเชียงแสน พร้อมด้วย นางมัทนา เนื่องหล้า ภริยา หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น ศิษยานุศิษย์ เข้าร่วมพิธีฯ ในครั้งนี้

   ในโอกาสมงคลนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายพิพัฒน์ สุ่มมาตย์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายวิชชากรณ์ กาศโอสถ นายสานุพงศ์ สันทราย นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมพิธี อำนวยความสะดวกแด่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมพิธีฯ ทั้งนี้ การดำเนินงานพิธีฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุผลสำเร็จทุกประการ

     ประวัติ พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร เกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2508 เวลา 09.00 น. ที่หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนโตของนายคำหล้าและนางแสงหล้า ทาแกง แม้ครอบครัวจะยากจนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่โยมมารดาก็ปลูกฝังท่านให้ทำบุญ สวดมนต์ ทำสมาธิอยู่เสมอ ทำให้ท่านสนใจออกบวช หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ขณะอายุได้ 11 ปี ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2526 ต่อมาได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เวลา 919 น. ณ อุโบสถวัดพระเจ้าเก้าตื้อ (ปัจจุบันรวมกับวัดสวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่) โดยมีพระราชพรหมาจารย์ (ดวงคำ ธมฺมทินฺโน) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเวฬุวันพิทักษ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระครูศรีปริยัตินุรักษ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ นับแต่ออกบวช ครูบาบุญชุ่มมุ่งเน้นเรียนกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายองค์ ได้จาริกไปหลายท้องที่ทั้งภาคเหนือของไทย พม่า เนปาล อินเดีย ภูฏาน ฯลฯ เมื่อพบเห็นวัดใดทรุดโทรมก็เป็นผู้นำในการบูรณะ และได้สร้างพระธาตุเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป ไว้หลายแห่งในภาคเหนือ รัฐชาน สิบสองปันนา และประเทศลาว

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ในหลวง โปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์เชิญเครื่องสังฆทาน ผ้าไตร และเครื่องไทยธรรมพระราชทานแด่พระสงฆ์ สำนักศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทานไปถวายแด่เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

 

   พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ต.สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง (5) เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทาน และเครื่องเขียนพระราชทาน ไปถวายแด่ พระทวีวัฒน์ จารุวณฺโณ ประธานสำนักศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา ในวันศุกร์ ที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 13.30 น ณ สำนักศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

   พระทวีวัฒน์ จารุวณฺโณ ประธานสำนักศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา เป็นประธานในพิธีสงฆ์ โดยมี พล.อ.ต.สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง (5) เป็นประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส

 

   นายบุญธรรมทองพิจิตร นายอำเภอเมืองเชียงราย พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชน และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมพิธีฯ อย่างพร้อมเพรียง

 

   ในโอกาสมงคลนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายพิพัฒน์ สุ่มมาตย์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสานุพงศ์ สันทราย นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายวิชชากรณ์ กาศโอสถ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมพิธี อำนวยความสะดวกแด่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ทั้งนี้ การดำเนินงานพิธีฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุผลสำเร็จทุกประการ

 

     ประวัติ พระทวีวัฒน์ จารุวณฺโณ (จารุวณฺโณ ภิกขุ) หรือเรียกกันในกลุ่มลูกศิษย์ว่า พระอาตารย์ต้น อดีตได้รับการอุปสทบทเมื่ออายุ 24 ปี ณ พระอุโบสถวัดสุมังคลาราม ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ได้รับฉายาว่า จารุวณฺโณ ปี 2543 ได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข วัดซับคำกอง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ (หลวงปู่คำสุข เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล) ระยะเวลาอุปสมบทถึงปีปัจจุบัน 2566 จำนวน 23 พรรษา ในปัจจุบันพระคุณเจ้าเป็นประธานสงฆ์ 4 สำนัก ประกอบด้วย พุทธอุทยานดอยเวียงเกี๋ยงวนา อำเภอเชียงของ สถานศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ที่พักสงฆ์ป่านาโสกฮัง และที่พักสงฆ์ป่านาหนองพี่ อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ ได้รับรางวัล ปี 2564 “คุณสัมปันโน” มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) และมีผลงานการจัดตั้งกลุ่มพุทธยุวชนและกลุ่มพุทธรัตตัญญชน นอกจากนี้ยังมีผลงานการเขียนหนังสือราชการ ได้แก่ อริยสัจภาวนา, ธรรมนาวา, ชีวิต จิต มนุษย์ ภาวนา, รู้อัตตาเพื่อละอัตตา, อริยสัจ 4 ในชีวิตจริง, เข้าใจอริยสัจ 4 เพื่อความหลุดพ้น, การพิจารณากายเพื่อความรู้แจ้ง,        ปฏิจจสมุปบาท, ทาน ศีล ภาวนา, อุปาทานในอุปาทานขันธ์, แก้ที่จิต, เอ่ยถ้อย วลีธรรม, อยู่อย่างไม่ประมาท, สร้างปัญญาเพื่อดับทุกข์ และความสำคัญของวิสาขปูรณมี เป็นต้น

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ในหลวง โปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์เชิญเครื่องสังฆทาน ผ้าไตร และเครื่องไทยธรรมพระราชทานแด่พระสงฆ์ เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทานไปถวายแด่เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ต.สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง (5) เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทาน และเครื่องเขียนพระราชทาน ไปถวายแด่ พระไพศาลประชาทร วิ. (พบโชค ติสฺสวํโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง ในวันศุกร์ ที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 14.30 น. ณ วัดห้วยปลากั้ง ตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

พระไพศาลประชาทร วิ. (พบโชค ติสฺสวํโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง เป็นประธานในพิธีสงฆ์ และเมตตากล่าวสัมโมทนียกถานายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายบุญธรรม ทองพิจิตร นายอำเภอเมืองเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมพิธีฯ อย่างพร้อมเพรียง

 

ในโอกาสมงคลนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายพิพัฒน์ สุ่มมาตย์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายยุทธนา สุทธิสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายนิติกร ปันแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายสานุพงศ์ สันทราย นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และ นายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมพิธี อำนวยความสะดวกแด่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ทั้งนี้ การดำเนินงานพิธีฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุผลสำเร็จทุกประการ

 

 

ประวัติ พระไพศาลประชาทร วิ. มีนามเดิมว่า พบโชค มาไพศาลกิจ เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 บ้านตลาดสำรอง ตำบลพังตรุ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี พระคุณท่านได้สมณศักดิ์ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ สำหรับการจัดตั้งวัดได้เริ่มก่อตั้งสำนักสงฆ์ห้วยปลากั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 และจนกระทั้งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 พระคุณท่านได้เดินทางมาปฏิบัติธรรมและเริ่มมีการก่อตั้งศาสนวัตถุ เริ่มแต่กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ หอฉัน เจดีย์และเมื่อ วันที่ 24 กรกฎาคม 2552 ทางสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มีประกาศแต่งตั้งให้เป็นวัดโดยชื่อว่า วัดห้วยปลากั้ง ปัจจุบันวัดห้วยปลากั้งเป็นวัดที่มีศรัทธา จากต่างจังหวัด ต่างประเทศ เข้ามากราบไหว้นมัสการ และปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ถือเป็นจุดกำเนิดพุทธศาสนาในเชียงรายแห่งหนึ่งที่สำคัญ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย และพระคุณท่านได้จัดสร้างโรงพยาบาลห้วยปลากั้ง ขึ้นเพื่อเป็นโรงพยาบาลเพื่อประชาชน และนอกจากนี้ยังบำเพ็ญประโชยน์ต่อชุมชนด้านสังคมสงเคราะห์อีกด้วย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

เสนอพระนาม “ในหลวง ร.9” ให้ยูเนสโก ประกาศยกย่อง ร่วมเฉลิมฉลองวาระ 100 ปี

เสนอพระนาม “ในหลวง ร.9” ให้ยูเนสโก ประกาศยกย่อง ร่วมเฉลิมฉลองวาระ 100 ปี

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี (6  มิถุนายน 2566) เห็นชอบหลักการเสนอพระนามพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลอง ในวาระ 100 ปี วันพระบรมราชสมภพ ในปี 2570    โดยให้ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำร่างเอกสารเสนอพระนามต่อองค์การ UNESCO ต่อไป
 
กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดประชุมหารือร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น  กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นต้น มีมติเห็นชอบการเสนอ พระนามพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้องค์การ UNESCO ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลอง ในวาระ 100 ปี วันพระราชสมภพ ในปี 2570  เนื่องจากทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ อย่างล้นพ้นต่อประเทศไทย ทรงอุทิศพระองค์เพื่อปฏิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ นานัปการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกร นอกจากนี้ พระราชกรณียกิจ ของพระองค์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และการดำเนินงานขององค์การ UNESCO ทั้ง 5 ด้าน  คือ การศึกษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ตลอดจนมีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมสันติภาพ ความเท่าเทียม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งนานาชาติและองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ให้การยอมรับในฐานะพระมหากษัตริย์นักพัฒนา โดยกระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมการดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
(1) ยกร่างข้อมูลเพื่อเสนอพระนามฯ ให้องค์การ UNESCO โดย จะต้องจัดส่งเอกสารการเสนอพระนามฯ ภายในปี 2567 เพื่อนำเข้าที่ประชุม คณะกรรมการบริหารขององค์การ UNESCO เพื่อพิจารณาภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 ก่อนที่ประชุมสมัยสามัญขององค์การ UNESCO พิจารณาให้ความเห็นชอบ ในเดือน พฤศจิกายน 2568
(2) เตรียมการด้านต่าง ๆ โดยได้จัดทำร่างแผนการดำเนินงานการเสนอพระนามฯ เพื่อให้การดำเนินการที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ด้วยความเรียบร้อยและสอดคล้อง ตามหลักเกณฑ์และกำหนดการขององค์การ UNESCO
 
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า  ไทยมีบุคคลสำคัญที่ได้รับการประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลอง โดยองค์การ UNESCO เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์ โดยรัฐบาลรับเป็นเจ้าภาพจัดงานเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปี ซึ่งตรงกับวันประสูติ 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News