Categories
AROUND CHIANG RAI

วธ. รวมใจ 5 ศาสนา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ จ.เชียงราย

 

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 08.00 น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานพิธีมอบเครื่องสมณบริขาร เครื่องอุปโภคบริโภค และของใช้ที่จําเป็น ช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดเชียงราย โดยนําเครื่องสมณบริขาร เครื่องอุปโภค-บริโภค มอบให้แก่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัด เชียงราย จํานวน 2 แห่ง ได้แก่ วัดพรหมวิหาร อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดย พระครูวิสุทธิธรรมภาณี เจ้าคณะอําเภอแม่สาย เจ้าอาวาสวัดวิเชตร์มณี เพื่อนําไปถวายให้พระภิกษุสงฆ์ สามเณรท่ีได้รับความเดือดร้อน และสํานักงาน วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย อําเภอเมือง มอบให้ศาสนิกชนผู้ประสบภัยน้ําท่วมในพ้ืนที่ ณ จังหวัดเชียงราย โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพล สุขเอ่ียม อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหารกระทรวง วัฒนธรรม พร้อมด้วย ผู้แทนองค์การทางศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาซิกข์ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม

 

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากที่ อ.แม่สาย และอีกหลายอำเภอ ในพื้นที่ จ.เชียงราย ทําให้บ้านเรือนพี่น้องประชาชน สถานที่ราชการ หน่วยงานต่าง ๆ สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ และศาสนสถานหลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างหนัก กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ร่วมกับ ดร. สมศักดิ์ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล วัดและองค์กรเครือข่ายทางศาสนา 5 ศาสนา ประกอบด้วย องค์การทางศาสนา ทั้ง 15 องค์การ ได้แก่ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) พุทธสมาคมแห่ง ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ สำนักจุฬาราชมนตรี สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย สภาคริสตจักรในประเทศไทย สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย สำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง สมาคมฮินดูสมาช สมาคมฮินดูธรรมสภา สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา สมาคมนามธารีสังคัตแห่งประเทศไทย วัดชินวราราม วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก วัดวชิรธรรมสาธิต วัดหัวลำโพง วัดบำเพ็ญเหนือ วัดลาดปลาเค้า วัดคลองเตยนอก วัดเวฬุวนาราม วัดบรมสถล วัดโพธิ์ลอย วัดเทพสรธรรมาราม วัดสะพาน มูลนิธิวัดพระศรีมหาอุมาเทวี วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ บริษัท มาดามฟิน จำกัด และมูลพิธิพุทธไธสวรรย์ อยุธยา จัดพิธีมอบสมณบริขาร เครื่องอุปโภคบริโภค และของใช้ที่จำเป็น เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ผู้นำ ศาสนา และศาสนิกชนผู้ประสบภัย เป็นการแสดงออกถึงความห่วงใยและเอื้ออาทรต่อกัน ถึงแม้อยู่ต่างพื้นที่ ต่างศาสนา หรือ ต่างความเชื่อในฐานะพี่น้องประชาชนคนไทยด้วยกัน

ทั้งนี้ จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า ศาสนสถานในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ได้รับ ผลกระทบอย่างหนัก กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ได้นำเครื่องสมณบริขาร จำนวน 200 ชุด ประกอบด้วย ผ้าไตร จีวร ผ้าห่ม ผ้าขนหนู อังสะไหมพรม ถุงเท้า ย่าม และสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ประกอบด้วย ข้าวสาร จำนวน 3,000 ถุง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จำนวน 500 ลัง อาหารกระป๋อง จำนวน 6,000 กระป๋อง น้ำดื่ม ไฟฉาย ยาสามัญประจำบ้าน เครื่องอุปโภคบริโภค และเสื้อผ้า ไปช่วยเหลือในครั้งนี้ เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติในเบื้องต้นอีกด้วย

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวทิ้งท้ายว่า การจัดพิธีมอบเครื่องสมณบริขาร เครื่องอุปโภคบริโภค และ ของใช้ที่จำเป็น ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดเชียงรายครั้งนี้แสดงถึงความห่วงใยของภาครัฐ องค์การทางศาสนา ทุกศาสนา และองค์กรเครือข่ายภาคเอกชนที่มีต่อประชาชนชาวไทย ซึ่งที่ผ่านมา องค์การทางศาสนาต่าง ๆ ในสังคม พหุวัฒนธรรม ได้ร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยมุ่งหวังที่จะบรรเทาความเดือดร้อนให้กับ ศาสนิกชน เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างหน่วยงานของรัฐและ ศาสนิกชนทุกศาสนา ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่ประชาชน บนพื้นฐาน

 

หลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นการสร้างความรัก ความสามัคคีในสังคมไทย โดยทุกองค์การ ศาสนาในประเทศไทยต้องร่วมกันสร้างสังคม แห่งความเอื้ออาทร มีน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่งเสริมให้ศาสนิกชนนำ หลักธรรมทางศาสนาไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ศาสนิกชนเป็นคนดี มีคุณธรรม ร่วมเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ร่วมทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนต่าง ศาสนา ทำให้ประเทศมีความสงบร่มเย็นในมิติศาสนาอย่างยั่งยืนสืบไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

ผู้ว่าฯ เชียงราย เร่งฟื้นฟูชุมชนฮ่องลี่ พร้อมขนขยะวันละ 100 เที่ยว

 

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ปลัดจังหวัดเชียงราย และเจ้าหน้าที่จากส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมชุมชนฮ่องลี่ ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงราย เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากอุทกภัยครั้งนี้ โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ติดกับแม่น้ำกก ทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก ประชาชนในหลายหลังคาเรือนยังคงได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมขัง

ทั้งนี้ ประชาชนในชุมชนต้องเร่งทำความสะอาดพื้นที่บ้านของตนเอง โดยเฉพาะการล้างดินโคลนที่ทับถมอยู่ในตัวบ้าน ห้องนอน และบริเวณรอบ ๆ บ้าน สถานการณ์ในตอนนี้แม้ว่าน้ำจะลดลงแล้ว แต่ก็ยังคงมีการขนดินโคลนออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในแต่ละวันจะมีการใช้รถบรรทุก 6 ล้อในการขนดินโคลนและเศษขยะออกไปจากชุมชนมากกว่า 100 เที่ยว

เศษไม้และขยะต่าง ๆ ที่ถูกพัดมากับน้ำท่วมจะถูกขนไปทิ้งที่ศูนย์กำจัดขยะของเทศบาลนครเชียงราย เพื่อให้กระบวนการฟื้นฟูดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้เน้นย้ำว่า ทุกชุมชนและทุกจุดที่ได้รับผลกระทบต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการจัดหาน้ำสะอาดเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ในชีวิตประจำวัน

สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ยังไม่สามารถประเมินค่าได้ชัดเจน เนื่องจากต้องรอการสำรวจเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ รัฐบาลและหน่วยงานในพื้นที่จะร่วมมือกันฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุด

การทำความสะอาดพื้นที่และขนย้ายดินโคลนยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีเจ้าหน้าที่จิตอาสาและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมด้วย ในช่วงนี้ เจ้าหน้าที่ของเทศบาลนครเชียงรายได้ระดมทรัพยากรและกำลังคนในการจัดการกับขยะและเศษซากที่ตกค้างอยู่ในชุมชน โดยการขนย้ายขยะเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำท่วม

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือของประชาชนและหน่วยงานท้องถิ่นจะเป็นสิ่งสำคัญในการเร่งฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาสู่สภาพปกติ และเน้นให้ความสำคัญกับการจัดการขยะที่ถูกพัดมากับน้ำท่วม รวมถึงการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากสภาพน้ำท่วมขังในบางพื้นที่

นอกจากนี้ หน่วยงานในพื้นที่ยังคงทำงานอย่างหนักเพื่อสำรวจความเสียหายและจัดทำแผนฟื้นฟูในระยะยาว โดยเบื้องต้นจะเน้นไปที่การจัดหาน้ำสะอาดสำหรับใช้ในครัวเรือน และการจัดการกับปัญหาสุขภาพของประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการท่วมขังของน้ำ ในขณะเดียวกัน ความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรจิตอาสา ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในชุมชนฮ่องลี่และพื้นที่ใกล้เคียง.

มาตรการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพจะเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยประชาชนให้ฟื้นตัวจากเหตุการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดและส่วนงานที่เกี่ยวข้องจะคอยติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและทั่วถึงในทุกชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

สรุปน้ำท่วม 7 วัน ใน จ.เชียงราย 53,209 ครัวเรือน ได้รับผลกระทบ

 

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 ข้อมูลสะสมระหว่างวันที่ 9 -15 ก.ย. 2567 ทั้งสิ้น 9 อำเภอ 35 ตำบล 167 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (52 ชุมชน) ได้แก่ โดยตลาดชุมชนเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบเบื้องต้น 53,209 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 14,138 ไร่ เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 2 ราย โรงเรียน จำนวน 31 แห่ง ถนน 7 จุด และคอสะพาน 4 จุด

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง หลายวัน ทำให้วันนี้ (15 กันยายน 2567) ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ อ.เมืองเชียงราย, อ.เชียงแสน, อ.เชียงของ, อ.แม่จัน, อ.แม่ฟ้าหลวง, อ.แม่สาย, อ.ดอยหลวง, อ.เทิง และอ.เวียงแก่น เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ช่วยโมง ที่สายด่วน 1784
 
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 และสถานการณ์ในวันนี้ (15 ก.ย. 67) ดังนี้
อ.เมืองเชียงราย ได้รับผลกระทบ 3 ตำบล 6 หมู่บ้าน (ในเขตเทศบาลนครเชียงราย สถานการณ์คลี่คลาย) เขตเทศบาลนครเชียงราย พื้นที่ได้รับผลกระทบสะสม 52 ชุมชน เสียชีวิต 1 ราย สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ บางชุมชนมีน้ำผุดท่อเนื่องจากท่อระบายน้ำอุดตัน เทศบาลนครเชียงรายดำเนินการ Big Cleaning Day จุดที่น้ำลดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 67 เป็นต้นมา
 
– แจ้งปิดใช้สะพานเนื่องจากน้ำท่วมสูง จำนวน 5 จุด/ คลี่คลายแล้วทุกจุด รถสามารถสัญจรผ่านได้ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายโครงสร้าง จุดที่ 1 สะพานแม่ฟ้าหลวง (ศาลากลางจังหวัดเชียงราย) เปิดใช้งานทั้งสองเลนส์ ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 67 คอสะพานบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยวัยที่ 3 ชุมชนน้ำลัด ขาด ผ่านไม่ได้ จุดที่ 2 สะพานขัวพญาเม็งราย (แยกบ้านใหม่ถึงแยกสถานีตำรวจภูธรเชียงราย) คลี่คลายแล้ว ในวันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 3 สะพานข้ามแม่น้ำกก (แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 1 ถึง 5 แยกพ่อขุนเม็งราย) คลี่คลายแล้ว ในวันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 4 สะพานเฉลิมพระเกียรติ (เส้นทางสนามกีฬากลาง โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย
 
ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย) คลี่คลายแล้ว ในวันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 5 สะพานใหม่บ้านหนองด่าน (ฮ่องอ้อ) จากแยกวัดห้วยปลากั้ง ไปทางโรงเรียนสามัคคี 2) คลี่คลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 67
 
– โรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงรายประกาศหยุดเรียนจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เบื้องต้น 11 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1- 8/ รร.สามัคคีวิทยาคม/ รร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา)/ รร.อบจ.เชียงราย (ปัจจุบันยงคงปิดการเรียนการสอนอยู่)
 
– การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย หยุดระบบการผลิตและระบบจ่ายน้ำ (ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. 67 เวลา 15.59 น.) อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัย ได้รับผลกระทบเต็มพื้นที่/ วันที่ 15 ก.ย. 67 กปภ. สาขาเชียงราย เริ่มจ่ายน้ำในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัยบางส่วน ประชาชนจะได้ใช้น้ำประมาณ 48,109 ราย
 
ต.รอบเวียง หมู่ที่ 1 – 5 ลำน้ำกก ลำน้ำกรณ์ และลำน้ำลาว ระดับน้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และในพื้นที่ของหาดเชียงราย/ สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ต.ดอยฮาง หมู่ที่ 2,3,4,5,6 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตร บางหมู่บ้าน ถูกตัดขาด ใช้การลำเลียงน้ำและอาหารโดยรถยกสูง และอากาศยาน ต.แม่ยาว หมู่ที่ 1 -20 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน เร่งอพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง /สะพานแขวนฮาแหล่จ่ะ (สะพานไม้) ขาด ไม่สามารถสัญจรได้/ บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร บ้านแคววัวดำ และบ้านอาดี่ (บ้านบริวารบ้านผาสุก หมู่ที่ 20) ใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยอากาศยาน
 
วันที่ 15 ก.ย. 67 ดำเนินการปรับเกลี่ยดินสไลด์เพื่อเปิดใช้เส้นทาง ต.ห้วยชมภู หมู่ที่ 1,4,5,6,10,11,16 น้ำป่าไหลหลากและดินสไลด์ปิดทับเส้นทาง/ บ้านจะคือ หมู่ที่ 10 ใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยอากาศยาน เนื่องจากเส้นทางถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิงต.ริมกก หมู่ที่ 1-7 วันที่ 11 ก.ย. 67 น้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร/ บ้านเมืองงิม ม.4 พนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ อบต.ริมกก ดำเนินการจัดทำแนวตลิ่งเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร พร้อมทั้งอพยพคนออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมสูง วันที่ 12 ก.ย. 67 น้ำเพิ่มระดับสูงขึ้น ไหลเชี่ยวและแรง บางจุดไม่สามารถอพยพประชาชนออกมาได้ ต้องใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร 
 
โดยใช้โดรน และเจ๊ตสกี / วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ถนนสามารถสัญจรผ่านได้ ภาพรวมสามารถฉีดล้างทำความสะอาดบ้านเรือนได้แล้ว ยังคงท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำบางส่วน ต.บ้านดู่ ม. 1,10,12,15,16,17,20 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ต.แม่ข้าวต้ม ม. 3,4 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลายบางส่วน ต.นางแล ม. 1,4,5,6,11,16 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลาย
 
อ.เชียงแสน จำนวน 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน โรงเรียน 1 แห่ง พื้นที่เกษตร 14,138 ไร่ ถนน 2 สาย สะพาน 1 จุด คอสะพาน 1 จุด น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่เกษตร และเกิดดินสไลด์ ในพื้นที่ ดังนี้ ต.เวียง ม.1, 2, 3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8 , 9 น้ำล้นตลิ่งและเกิดดินสไลด์บ้านสบรวก ร้านค้า จำนวน 16 ร้าน ต.โยนก ม.1 ,2 ,4 ,6 ,7 ต.บ้านแซว ม.7 ,8 ,10 ,14 ต.ป่าสัก ม.1 ,2, 3, 5, 6 ,7 ,11 ,12, 13
 
ต.ศรีดอนมูล ม.1, 2 ,3 ,5 ,9 ,10 ,12, 13 ต.แม่เงิน ม.1, 5, 10 ปิดเส้นทางสัญจร ปิดเส้นทางสะพานโยนกนาคนคร ม.1 และ ม.4 ต.โยนก เส้นบายพาส เนื่องจากแม่น้ำกกหนุนสูง ท่วมปิดเส้นทางไม่สามารถสัญจรได้/ วันที่ 14 ก.ย. 67/ วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์ปกติ สามารถสัญจรผ่านได้
 
ปิดเส้นทางหมายเลข 1290 ตอนแม่สาย – กิ่วกาญจน์ ระหว่าง กม.20+000 – กม.20+500 บ้านเวียงแก้ว ม.5 ต.ศรีดอนมูล – บ้านวังลาว ม.4 ต.เวียง เนื่องจากแม่น้ำรวกล้นตลิ่งท่วมถนน รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้/ อยู่ระหว่างดำเนินการซ่อมแซม
อ.เชียงของ จำนวน 2 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.เวียง หมู่ที่ 1 แม่น้ำโขงล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณท่าเรือบั๊ค บริเวณสวนสาธารณะปลาบึก 7 สี และบ้านเรือนราษฎรติดริมฝั่งโขง / ทต.เวียง อพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง เรียบร้อยแล้ว และต.ศรีดอนไชย น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ได้รับผลกระทบ
 
อ.แม่จัน แม่น้ำจัน-คำ หลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตรเป็นวงกว้าง ในพื้นที่ 7 ตำบล 15 หมู่บ้าน โรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 โรงเรียน/ สถานการณ์คลี่คลาย ยังคงค้างในพื้นที่ลุ่มต่ำของตำบลแม่คำ
 
อ.แม่ฟ้าหลวง จำนวน 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน (เสียชีวิตจากสะสม 5 ราย เกิดจากน้ำป่าไหลหลาก 1 ราย/
ดินสไลด์ 4 ราย) ถนนเสียหาย 4 จุด คอสะพาน 3 จุด โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน (ดินสไลด์ปิดเส้นทางเข้า-ออก)/ บ้านจะตี ต.เทอดไทย ดินปิดสไลด์เส้นทาง ใช้อากาศยานในการขนส่ง ต.แม่ฟ้าหลวง ม. 12,16,17 ต.แม่สลองนอก ม.7 ต.แม่สลองใน ม.3,4,5,15 และ ต.เทอดไทย ม.6,7,15,16
 
อ.แม่สาย น้ำท่วมพื้นที่ตลาดสายลมจอย และพื้นที่เศรษฐกิจ จำนวน 4 ตำบล 37 หมู่บ้าน (ชุมชนได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ ชุมชนแม่สาย ชุมชนเหมืองแดง ชุมชนเกาะทราย ชุมชนไม้ลุงขน) จำนวน 4 ตำบล โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน ต. แม่สาย ม.2,3,6,7,8,10 ต.เวียงพางคำ ม.1-10 ต.เกาะช้าง ม. 1-13 และต.ศรีเมืองชุม ม.1-8 วันที่ 15 ก.ย. 67 สถานการณ์คลี่คลาย ระดับแม่น้ำสายลดลงจากเดิมประมาณ 50 เซนติเมตร พื้นที่วิกฤติ ได้แก่ ชุมชนเกาะทราย ซ.7, ชุมชนไม้ลุงขน, ชุมชนเกาะสวรรค์ ซ.4,5,6 ระดับน้ำลดลง บางจุดยังมีน้ำท่วมขังแต่สามารถเดินเท้าผ่านได้ ยังคงค้างตะกอนดินโคลนเป็นจำนวนมาก สามารถลำเลียงน้ำ/อาหาร และเคลื่อนย้ายประชาชนโดยใช้รถทหาร(FTS) ได้แล้ว ไม่ต้องใช้เรือ/ อำเภอแม่สายดำเนินการ Big Cleaning Day จุดที่น้ำลดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 67 เป็นต้นมา
 
อ.ดอยหลวง จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.หนองป่าก่อ หมู่ที่ 8 น้ำกัดเซาะถนนชำรุด ไม่สามารถสัญจรได้ อยู่ระหว่างซ่อมแซม
 
อ.เทิง จำนวน 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน (สถานการณ์คลี่คลาย อยู่ระหว่างการซ่อมแซม) ต.งิ้ว ม.7,18 น้ำล้นออกจากอ่างเก็บน้ำขอนซุง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร ต.ปล้อง ม.2 น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร และต.ตับเต่า ม.8 เสาค้ำสะพานสะพานเบลีย์ชำรุด/ เวลาประมาณ 14.00 น. หมวดทางหลวงเทิง แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 2 และศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 1 (พิจิตร) เข้ามาดำเนินการซ่อมแซม หากไม่มีมีฝนตกคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 วัน (วันที่ 16 ก.ย. 67)
 
อ.เวียงแก่น จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.ปอ ม.2 น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
 
การให้ความช่วยเหลือ
– กองทัพเรือสนับสนุนเรือและยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเร่งดำเนินการติดตั้งเคลื่อนย้ายเรือผลักดันน้ำ JET จำนวน 10 ลำ ยกจากเครนวางตามแนวลำน้ำอิง ประสิทธิภาพการไหลได้ วันละ 1 ล้านลูกบาก์เมตร เริ่มดันน้ำได้วันที่11 ก.ย.67 เวลา15.00 น. ณ สะพานข้ามแม่น้ำอิง อ.เทิง จ.เชียงราย
– สภากาชาดไทย สนับสนุนครัวสนามเคลื่อนที่ 1 คัน จุดตั้งโรงครัว ณ วัดพระสิงห์ ถ.ท่าหลวง ต.เวียง
อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ประกอบเลี้ยงตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 67 จะประกอบเลี้ยงถึงวันอังคารที่ 17 ก.ย. 67 (มื้อกลางวัน)
– มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ตั้งครัวพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และ อบจ.เชียงราย สนับสนุนรถครัวประกอบเลี้ยงอาหาร ณ จุดเดียวกัน บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ตะเคียนคู่) ต.สันทราย อ.เมืองเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 67 และสนับสนุนถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 3,500 ถุง ถุงยังชีพสำหรับพระภิกษุสงฆ์ 105 ถุง จะประกอบเลี้ยงถึงวันอังคารที่ 17 ก.ย. 67 (มื้อกลางวัน)
 
– กองทัพเรือ/หน่วยซีล สนับสนุน เรือ 9 ลำ รถบรรทุก 4 คัน ถุงยังชีพ 1,000 ชุด (ของ 918 150 ชุด) กำลังพล 50 นาย
– ฮ.ปภ.32 สนับสนุนภารกิจขนย้ายผู้ประสบภัย ลำเลียงน้ำและอาหารส่งมอบให้แก่ผู้ประสบภัย ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอแม่ฟ้าหลวง
– ฮ.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร/ฮ.ทอ./ ฮ.ตชด. 327/ ฮ.ทส. ปฏิบัติภารกิจลำเลียงน้ำและอาหาร อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอแม่ฟ้าหลวง
– ศูนย์ ปภ.เขต 15 เชียงราย /เขต 1 ปทุมธานี/ เขต 2 สุพรรณบุรี /เขต 3 ปราจีนบุรี/ เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์/ เขต 8 กำแพงเพชร /เขต 9 พิษณุโลก /เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 16 ชัยนาท สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยด้านปฏิบัติการ (อุทกภัย) และกำลังพล / วันที่ 15 ก.ย. 67 สนับสนุน Big Cleaning Day สูบน้ำท่วมขัง ลำเลียงน้ำและอาหารให้แก่ผู้ประสบภัย และศูนย์ ปภ. เขต 15 เชียงราย สนับสนุนชุดปฏิบัติการ ERT ภารกิจวาง Big Bag จุดแนวกระสอบทรายชำรุดบริเวณจุดสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 ไทย – เมียนมา
 
– เทศบาลนครเชียงราย จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทน.เชียงราย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ จุดโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ และจุดโรงเรียน อบจ. เชียงราย โดยมีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์
– ศูนย์พักพิง อ.แม่สาย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน 17 แห่ง รวมทั้งสิ้น 1,343 ราย (โดยเป็นศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ จำนวน 7 ศูนย์)
ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สาย จำนวน 53 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.เชียงแสน/ รพ.สต.ฮ่องแฮ่/ รพ.สต.บ้านด้าย)
ศูนย์พักพิงวัดพรหมวิหาร จำนวน 341 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.แม่สาย, ทีม MCATT,
 
รพ.ดอยหลวง, รพ.ค่ายเม็งรายมหาราช)
ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สายมิตรภาพ จำนวน 16 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.แม่สาย)
 
ศูนย์พักพิงวัดน้ำจำ จำนวน 61 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.โป่งผา)
ศูนย์พักพิง รพ.สต.เกาะช้าง จำนวน 56 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.เกาะช้าง)
 
ศูนย์พักพิงวัดมงคลธรรมกายาราม จำนวน 14 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.โป่งงาม และ รพ.สต.บ้านถ้ำ)
 
ศูนย์พักพิงวัดเจติยาราม*(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.ศรีเมืองชุม)
– ศูนย์พักพิงวัดป่าซางงาม จำนวน 150 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดป่าแดง จำนวน 80 ราย
– ศูนย์พักพิงบ้านป่าแดง จำนวน 70 ราย
– ศูนย์พักพิงโบสถ์คริสต์ จำนวน 40 ราย
– ศูนย์พักพิงบ้านสันหลวงใต้ จำนวน 50 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดสันหลวง จำนวน 48 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดหิรัญญาวาส จำนวน 60 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดสันธาตุ จำนวน 83 ราย
– ศูนย์พักพิงหอประชุม อบต.โป่งผา จำนวน 61 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดถ้ำผาจม จำนวน 160 ราย
 
– นพค.31 /นพค.32/นพค.34 สนับสนุนกำลังพล รถครัวสนาม และรถสุขาเคลื่อนที่
– มูลนิธิสมาคมกู้ชีพกู้ภัย อาสาสมัคร จิตอาสาภาคประชาชน ร้านค้า/ผู้ประกอบการ สนับสนุนปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ให้ที่พักพิงชั่วคราว มอบอาหารปรุงสำเร็จ และถุงยังชีพ
 
– กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ณ ห้องประชุม 1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Webex) โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุม และนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมจังหวัดเชียงราย
 
– จิตอาสาราชทัณฑ์ (จอส.รท.) จัดส่งเจ้าหน้าที่และนักโทษเด็ดขาดหรือผู้ต้องกักขังที่ได้รับอนุมัติจ่ายออกทำงานสาธารณะหรือได้รับอนุญาตให้ออกทำงานนอกเรือนจำ สนับสนุนภารกิจลำเลียงน้ำและอาหาร รวมทั้งร่วมกิจกรรม Big Cleaning Day รวมทั้งสิ้น 35 นาย
 
การอำนวยการ/สั่งการ
จังหวัดเชียงราย กำหนด Big Cleaning Day ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย ดังนี้ วันอาทิตย์ที่ 15 ก.ย. 2567 Kick Off ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดเชียงราย (จุดที่ 1) และบริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช (จุดที่ 2) ระหว่างวันที่ 16 – 18 ก.ย. 67 กำหนดแผนปฏิบัติการทำความสะอาดพื้นที่เมืองเชียงราย โดยกำหนดโซนดำเนินการเป็น 4 โซน ดังนี้ โซนที่ 1 ได้แก่ ชุมชนร่องเสือเต้น ชุมชนบ้านใหม่ หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนสันตาลเหลือง ชุมชนสันต้นเปา และชุมชนป่าตึงริมกก โซนที่ 2 ได้แก่ ชุมชนป่าแดง ชุมชนฝั่งหมิ่น 
 
หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนรั้วเหล็กใต้, ชุมชนรั้วเหล็กเหนือ ชุมชนกกโท้งใต้ และชุมชนกองยาว โซนที่ 3 ได้แก่ ชุมชนน้ำลัด หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนเกาะลอย ชุมชนป่างิ้ว ชุมชนเทิดพระเกียรติ ชุมชนราชเดชดารง ชุมชนทวีรัตน์ ชุมชนบ้านไร่ ชุมชนฮ่องลี่ และชุมชนดอยทอง โซนที่ 4 ได้แก่ ชุมชนแควหวาย ชุมชนมุสลิมกกโท้ง หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ ชุมชนบ้านไร่ ชุมชนเกาะทอง ชุมชนริมน้ำกก ชุมชน ชุมชนวังดิน และชุมชนร่องปลาค้าว) แผนปฏิบัติการลำเลียงน้ำและอาหาร (อาหารแห้ง) สำหรับพื้นที่ถูกตัดขาดเส้นทางโดยสิ้นเชิง บ้านจะคือ หมู่ที่ 10 ต.ห้วยชมภู อ.เมืองเชียงราย ให้อำเภอเมืองเชียงรายสำรวจหย่อมบ้านที่ยังคงมีความต้องการ และร้องขอผ่านศูนย์บัญชาการฯ โดยให้อำเภอเมืองเชียงรายลำเลียงเสบียงไปส่งยังตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย 
 
เพื่อใช้รถเดินทางต่อไปยังบ้านจะคือ/ บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร บ้านอาดี่ บ้านแคววัวดำ ต.แม่ยาว อ.มืองชร. และบ้านจะเด้อ ต.ดอยฮาง อยู่ระหว่างเปิดใช้เส้นทางและดำเนินการเรียบร้อยแล้วเป็นบางจุด ให้ใช้การสัญจรทางบกในการลำเลียงเป็นหลัก/ สำหรับพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง ได้มีการกระจายเสบียงไปก่อนล่วงหน้านี้แล้ว คาดว่าเพียงพอและทั่วถึง หากมีการร้องขอเรื่องน้ำและอาหารเร่งด่วนฉุกเฉิน จำเป็นต้องใช้อากาศยาน มอบให้ ตชด.327 รับประสานการปฏิบัติ ทั้งนี้ สำหรับพื้นที่ที่ถูกตัดขาดเส้นทางโดยสิ้นเชิงนั้น ให้เจ้าของสายทางและหน่วยงานสนับสนุนดำเนินการเร่งรัดเปิดใช้เส้นทางโดยเร็วที่สุด
 
การปฏิบัติการทางอากาศ ให้ใช้กรณีฉุกเฉินเร่งด่วน เช่น การลำเลียงผู้ป่วยวิกฤติ สำหรับการขนส่งน้ำและอาหารพิจารณาเป็นรายกรณีเนื่องจากจัดสรรลงไปอย่างเพียงพอและทั่วถึงแล้ว
 
ในระยะนี้เป็นช่วงฟื้นฟูบูรณะ และ Big Cleaning Day ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม มอบหมาย สนง.ปภ.จ.เชียงราย จัดสรรสิ่งของและอุปกรณ์ทำความสะอาดที่ได้รับบริจาคกระจายลงไปทั่วทุกจุด อปท.ที่ไม่ได้ประสบสาธารณภัยรวมทั้งหน่วยงานที่มีรถน้ำให้สนับสนุนภารกิจจนกว่าจะแล้วเสร็จ ให้ตำรวจสอดส่องและรักษาความปลอดภัยให้กับบ้านและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อป้องกันโจรลักขโมย ด้านเกษตรให้เร่งรัดการสำรวจความเสียหาย และจัดประชุม ก.ช.ภ.อ. และ ก.ช.ภ.จ. ต่อไป
 
แนวโน้มสถานการณ์
สถานการณ์อยู่ในระดับคลี่คลาย-เฝ้าระวัง ไม่มีฝนตก ระดับน้ำสาย/น้ำกกลดลง/น้ำโขง แนวโน้มลดลง กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
 
แจ้งเตือนทุกอำเภอเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากน้ำล้นตลิ่งอย่างต่อต่อเนื่อง เตรียมความพร้อม เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ กำลังพลพร้อมให้ความช่วยเหลือทันที ตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อได้รับการร้องขอ และเตรียมการทำความสะอาดพื้นที่ประสบภัย สำหรับ อปท. ที่ไม่ได้ประสบภัยให้สนับสนุนภารกิจ เร่งสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือตามระเบียบต่อไป
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

เทศบาลนครเชียงรายเร่งช่วยน้ำท่วมมอบเงินครอบครัวละ 2,500 บาท

 

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย ได้เปิดเผยถึงการดำเนินการเร่งด่วนในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงราย ซึ่งมีทั้งหมด 52 ชุมชน โดยมีบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมากกว่า 10,000 หลังคาเรือน เบื้องต้น เทศบาลได้อนุมัติการช่วยเหลือครอบครัวละ 2,000 บาทสำหรับการฟื้นฟูและทำความสะอาดบ้านเรือน พร้อมมอบค่ายารักษาโรคอีก 500 บาท รวมเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นครอบครัวละ 2,500 บาท

นายวันชัย กล่าวว่า เทศบาลนครเชียงรายได้ดำเนินการป้องกันและช่วยเหลือประชาชนมาตั้งแต่เริ่มเกิดอุทกภัยน้ำท่วม โดยได้ตั้งศูนย์พักพิงและศูนย์กระจายอาหารและน้ำให้กับผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทั้งนี้ ศูนย์ช่วยเหลือยังคงเปิดให้บริการต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลง

ในระหว่างนี้ ภาครัฐและเอกชน รวมถึงพี่น้องประชาชน ต่างร่วมแรงร่วมใจนำสิ่งของมาบริจาคที่ศูนย์ช่วยเหลือที่สถานีดับเพลิง เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือไปยังผู้ประสบภัย โดยเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่เพื่อเปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและลงทะเบียนรับความช่วยเหลือแล้ว

นายวันชัยยังได้แจ้งให้ประชาชนในทั้ง 52 ชุมชนที่ถูกน้ำท่วมให้นำขยะจากน้ำท่วมมาวางรวมไว้ริมถนนหรือบนฟุตบาท และจุดที่เทศบาลกำหนด เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้ามาเก็บขยะเหล่านั้นได้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเก็บขยะทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน โดยมีการระดมกำลังเจ้าหน้าที่จากเทศบาลและภาคส่วนต่าง ๆ มาช่วยกันฟื้นฟูพื้นที่

ทั้งนี้ เทศบาลนครเชียงรายยังได้จัดส่งจิตอาสาและเจ้าหน้าที่เข้าทำความสะอาดถนนในเขตเทศบาล รวมถึงบ้านเรือนประชาชนที่ถูกน้ำท่วมและได้รับความเสียหาย ทรัพย์สินภายในบ้านหลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างหนักเนื่องจากไม่สามารถขนย้ายขึ้นที่สูงได้ทัน นายกเทศมนตรีฯ จึงได้ประสานให้มีการจัดเก็บขยะและสิ่งของเสียหายให้ครบถ้วนภายในกรอบเวลาที่กำหนด

ภายหลังจากที่น้ำลดลง สถานการณ์ในเขตเทศบาลนครเชียงรายเริ่มฟื้นตัว แต่ยังคงต้องมีการทำความสะอาดและฟื้นฟูเพิ่มเติมเพื่อคืนสภาพเดิมให้กับเมืองเชียงราย โดยทางเทศบาลและชุมชนจะร่วมมือกันต่อไปในการฟื้นฟูพื้นที่และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง.

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : เทศบาลนครเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

ปศุสัตว์เชียงรายเร่งช่วยสัตว์เลี้ยงประสบภัยน้ำท่วม ให้การดูแลอย่างเต็มที่

 

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2567 ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้ลงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะสุนัขและแมวที่ถูกทิ้งไว้ในบ้านเนื่องจากเจ้าของไม่สามารถนำออกมาได้ หรือไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ทางกรมปศุสัตว์จึงได้ประสานกับคุณโรเจอร์ โลหน์นทน์ สมาคมพิทักษ์สัตว์ไทยและองค์กรต่าง ๆ ในการจัดส่งทีมอาสาและผู้เชี่ยวชาญในการจับสัตว์อย่างปลอดภัย เพื่อช่วยเหลือสัตว์ที่ประสบปัญหาและนำไปฟื้นฟูสุขภาพที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวจนกว่าจะแข็งแรงและพร้อมกลับคืนสู่เจ้าของ

นายพืชผล น้อยนาฝาย ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า ขณะนี้มีความร่วมมือจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ในการจัดเตรียมอุปกรณ์และทรัพยากรต่าง ๆ เช่น อาหารสุนัขและแมว รวมถึงเครื่องมือในการจับสัตว์เลี้ยงเพื่อให้แน่ใจว่าสัตว์ได้รับการดูแลที่ดี โดยในระยะนี้เจ้าของสัตว์สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทันทีหากพบว่าสัตว์เลี้ยงของตนถูกกักขังในพื้นที่น้ำท่วม ทางเจ้าหน้าที่พร้อมเข้าช่วยเหลือและนำสัตว์เลี้ยงออกมาอย่างปลอดภัย

นอกจากนี้ ปัญหาที่พบมากในช่วงนี้คือมีการโพสต์ผ่านโซเชียลมีเดียจากบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของสัตว์ ทำให้การเข้าช่วยเหลือเกิดความล่าช้า เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดต่อกับเจ้าของสัตว์โดยตรงได้ นายสัตวแพทย์บุญญกฤชขอความร่วมมือจากประชาชนที่โพสต์หรือเห็นสัตว์ติดค้างในบ้านให้ประสานกับเจ้าของสัตว์โดยตรง เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ นายสัตวแพทย์บุญญกฤชได้กล่าวขอบคุณผู้มีจิตศรัทธาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้บริจาคอาหารสัตว์และให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ โดยทางกรมปศุสัตว์จะดำเนินการช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงรายโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และจะดูแลสัตว์เลี้ยงจนกว่าสภาพร่างกายของสัตว์จะดีขึ้นและสามารถกลับคืนสู่เจ้าของได้อย่างปลอดภัย

สำหรับเจ้าของสัตว์ที่ต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-5371-1604 ทางทีมงานพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่

สุดท้ายนี้ นายสัตวแพทย์บุญญกฤชยังเน้นย้ำว่า การช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงที่ประสบภัยในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมทั้งขอให้เจ้าของสัตว์ที่ประสบอุทกภัยมั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงของตนจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

อบจ.เชียงราย เร่งช่วยเหลือน้ำท่วม บ้านปางลาวและบ้านฟาร์มสัมพันธกิจ

 

เมื่อวันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 16.30 น. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (อบจ.เชียงราย) พร้อมด้วยนายรามิล พัฒนมงคลเชฐ ปลัด อบจ.เชียงราย และสิบเอกวิมล รู้ทำนอง ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ อบจ.เชียงราย รวมถึงบุคลากร อบจ.เชียงราย และน้องๆ จิตอาสาจากศูนย์เยาวชน อบจ.เชียงราย ได้ลงพื้นที่เพื่อให้กำลังใจและมอบความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมในชุมชนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา

ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบหลักๆ ในครั้งนี้เป็นชุมชนบ้านปางลาว ตำบลบ้านดู่ และบ้านฟาร์มสัมพันธกิจ ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย หลังจากที่น้ำในแม่น้ำกกได้ล้นตลิ่งและไหลเข้าสู่หมู่บ้าน ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ประสบความเดือดร้อนอย่างหนัก บ้านเรือนและทรัพย์สินได้รับความเสียหายอย่างมาก เนื่องจากกระแสน้ำไหลเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถเคลื่อนย้ายสิ่งของทัน ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่

เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ และคณะ ได้ส่งมอบน้ำดื่มและอาหารที่ได้รับบริจาคจากผู้ใจบุญ รวมถึงสิ่งของจำเป็นอื่นๆ เพื่อช่วยให้ชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบสามารถดำรงชีวิตได้ในระหว่างการฟื้นฟูชุมชน โดยอาหารและน้ำดื่มเหล่านี้ถูกนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัยทุกครัวเรือนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนัก ทั้งบ้านปางลาวและบ้านฟาร์มสัมพันธกิจ

นอกจากการมอบสิ่งของยังชีพ นางอทิตาธร และคณะยังได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ความเสียหายและติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เพื่อให้การฟื้นฟูชุมชนเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พร้อมเน้นย้ำถึงความสำคัญของการช่วยเหลือที่ทันท่วงที เนื่องจากยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมซ้ำในกรณีที่มีฝนตกหนักเพิ่มขึ้น

จากการประเมินสถานการณ์ในเบื้องต้น พบว่า น้ำในพื้นที่เริ่มลดระดับลงบ้างแล้ว แต่ยังคงมีน้ำขังในบางส่วน โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มต่ำ ทาง อบจ.เชียงราย ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อระดมความช่วยเหลือด้านเครื่องจักรในการระบายน้ำและทำความสะอาดพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด

การลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานเชิงรุกขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายในการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยอย่างรวดเร็วและทั่วถึง นอกจากนี้ ยังได้มีการวางแผนร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นและกลุ่มจิตอาสาในการฟื้นฟูสภาพพื้นที่และจัดการปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากอุทกภัย รวมถึงการสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมในระยะยาว

นางอทิตาธร กล่าวเพิ่มเติมว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย จะยังคงติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนในด้านการจัดหาน้ำสะอาด อาหาร และการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนและสะพานที่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ทาง อบจ.เชียงราย ยังได้ร่วมมือกับชุมชนและองค์กรภาคเอกชนในการวางแผนระยะยาวเพื่อป้องกันน้ำท่วมและเพิ่มความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติในอนาคต

สำหรับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบและยังคงต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้จากหน่วยงานท้องถิ่นที่อยู่ใกล้เคียงหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เพื่อรับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติกู้ระบบประปาเชียงรายหลังน้ำท่วม

 

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2567 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามการปรับปรุงระบบจ่ายน้ำของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม ทำให้ไม่สามารถจ่ายน้ำให้กับประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่เวลา 15.30 น. ของวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา โดยมี นายทวีศักดิ์​ สุขก้อน​ ผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย​ ได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการฟื้นฟูระบบประปา รวมถึงแผนการบริหารจัดการที่กำลังดำเนินอยู่

ดร.สุรสีห์ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการฟื้นฟูระบบจ่ายน้ำ โดยได้กล่าวว่า หลังจากที่นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ได้ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำที่จังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ผ่านมา ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ถูกมอบหมายให้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเร่งกู้คืนระบบประปาให้กลับมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว โดยในการประชุมวานนี้ มีการขอความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เช่น กรมทรัพยากรน้ำ กองทัพพัฒนาภาคที่ 3 กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมทางหลวง เพื่อจัดหาเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากบ่อพักของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย ซึ่งทางกรมทางหลวงยังได้สนับสนุนรถน้ำเพื่อให้บริการน้ำสะอาดแก่โรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเป็นการชั่วคราว

ในขณะนี้ทางการประปาส่วนภูมิภาคกำลังระดมกำลังเร่งฟื้นฟูระบบ โดยเฉพาะในส่วนของระบบไฟฟ้าที่จะทำให้ระบบปั๊มน้ำสามารถกลับมาทำงานได้ ดร.สุรสีห์ ได้คาดการณ์ว่าการจ่ายน้ำจะสามารถเริ่มได้ในช่วงเย็นของวันนี้ โดยเริ่มต้นที่พื้นที่ใกล้เคียงกับการประปาส่วนภูมิภาคเชียงรายก่อน อย่างไรก็ตาม สำหรับการจ่ายน้ำในพื้นที่เมืองเชียงรายทั้งหมด อาจต้องใช้เครื่องส่งน้ำที่มีกำลังสูง ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการเร่งติดตั้ง คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในคืนนี้หรืออย่างช้าในวันพรุ่งนี้ ทั้งนี้หากระบบส่งน้ำประปาพร้อมใช้งาน การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงรายจะเร่งดำเนินการจ่ายน้ำให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด

สำหรับมาตรการที่ได้ดำเนินการในขณะนี้ การประปาส่วนภูมิภาคเชียงรายยังได้จัดส่งรถน้ำเคลื่อนที่ไปให้บริการน้ำสะอาดแก่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยหากมีเหตุการณ์ใดๆ เพิ่มเติมหรือระบบส่งน้ำเกิดปัญหา การประปาจะเร่งดำเนินการแก้ไขทันที เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้น้ำประปาได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

ด้านการประปาส่วนภูมิภาคยังได้แสดงความขอบคุณต่อความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชุมชนที่ให้ความร่วมมือในการอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม โดยขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถรับทราบข้อมูลและเตรียมตัวได้ทันท่วงที

การฟื้นฟูระบบน้ำประปาในครั้งนี้ ถือเป็นภารกิจสำคัญในการดูแลชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดจากเหตุอุทกภัยที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง

ทั้งนี้ หาก กปภ.เชียงราย ดำเนินการจ่ายน้ำแล้ว ถ้าพบเห็นท่อน้ำแตกในเขตอำเภอเมืองเชียงราย แจ้งได้ที่การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย 053-711655

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI

เทศมนตรีแม่ยาวนำทีมช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเชียงราย

 

เมื่อวันศุกร์ ที่ 13 กันยายน 2567 เวลา 15.30 น. นายอภิรักษ์ อินต๊ะวัง เทศมนตรีตำบลแม่ยาว นำทีมบริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลแม่ยาว พร้อมกับกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่เพื่อมอบน้ำดื่มและอาหารให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยในพื้นที่ตำบลแม่ยาว บ้านแคววัวดำ บ้านลอบือ บ้านจะสอป่า บ้านผาสุข และบ้านห้วยหลุหลวง โดยจัดตั้งจุดรับแจกสิ่งของที่โรงเรียนแม่ยาววิทยา

เหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าวเกิดขึ้นจากฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชนและพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวจึงต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ทั้งในด้านอาหาร น้ำดื่ม และการดูแลสุขภาพ เนื่องจากพื้นที่ประสบอุทกภัยอยู่ห่างไกลและเข้าถึงได้ยาก

เทศมนตรีตำบลแม่ยาว นายอภิรักษ์ อินต๊ะวัง กล่าวเพิ่มเติมว่า เทศบาลตำบลแม่ยาวได้ร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในการนำความช่วยเหลือไปยังพื้นที่ประสบภัยโดยเร็วที่สุด โดยไม่เพียงแต่มอบน้ำดื่มและอาหารเท่านั้น แต่ยังเน้นให้ความสำคัญกับการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในช่วงสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อให้ประชาชนได้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างปลอดภัย

นอกจากนี้ นายอภิรักษ์ยังได้กล่าวว่า การฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจะเป็นภารกิจที่สำคัญหลังน้ำลด โดยเทศบาลตำบลแม่ยาวและกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจะร่วมมือกันในการซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเสียหายให้กลับคืนมาอย่างเร็วที่สุด รวมถึงการจัดเตรียมมาตรการป้องกันน้ำท่วมในอนาคต เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป

ประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่างแสดงความขอบคุณต่อความช่วยเหลือที่ได้รับจากทั้งภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการจัดส่งน้ำดื่มและอาหารที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตเช่นนี้ หลายคนได้กล่าวว่าความช่วยเหลือนี้ทำให้พวกเขามีกำลังใจที่จะผ่านพ้นสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ไปได้

นอกจากนี้ เทศบาลตำบลแม่ยาวยังได้จัดเตรียมทีมงานช่วยเหลือในด้านอื่น ๆ อาทิ การตรวจสอบและซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เช่น ถนน ระบบประปา และไฟฟ้า รวมถึงการดูแลด้านสุขอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคที่อาจเกิดขึ้นหลังจากน้ำลดลง

ในอนาคต เทศบาลตำบลแม่ยาวและกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมีแผนที่จะพัฒนาโครงการป้องกันน้ำท่วมเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างความพร้อมให้กับชุมชนในการเผชิญกับเหตุการณ์ธรรมชาติที่ไม่คาดคิด โดยการดำเนินการดังกล่าวจะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน เพื่อให้ได้มาตรการที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

เหตุการณ์นี้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือกันในภาวะวิกฤต ซึ่งทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในชุมชนต่างช่วยกันอย่างเต็มที่ในการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม และการฟื้นฟูหลังน้ำลด ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและมีความพร้อมในการเผชิญกับวิกฤตในอนาคต

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI FEATURED NEWS

CPCRT ร่วมใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม แจกถุงยังชีพเชียงราย

 

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 เวลา 15.00 น. ธุรกิจ CPCRT (ธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ) ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ร่วมส่งมอบความห่วงใยและความช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย โดย CPCRT ได้มอบข้าวตราฉัตร จำนวน 1,720 กิโลกรัม และสิ่งของจำเป็นที่บรรจุลงในถุงยังชีพ เช่น ยาพาราเซตามอล, เกลือแร่, อาหารกึ่งสำเร็จรูป, น้ำดื่มซี.พี. และข้าวตราฉัตร เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงราย

นอกจากนี้ CSR SPIRIT จิตอาสาในเครือเจริญโภคภัณฑ์ยังได้ร่วมมือกับ CPCRT ในการจัดบูธแจกจ่ายข้าวไข่เจียวตราฉัตรให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยมีการแจกจ่ายอาหารจำนวนทั้งสิ้น 1,000 กล่อง ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากจิตอาสาในการประกอบอาหารและแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในเรื่องของอาหาร และช่วยให้พวกเขาได้รับพลังใจในช่วงเวลาที่ยากลำบากจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้

สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงรายครั้งนี้ถือเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง หลายพื้นที่ได้รับความเสียหาย ทั้งจากการที่น้ำป่าไหลหลากและน้ำในแม่น้ำล้นตลิ่ง ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากต้องอพยพจากบ้านเรือน และขาดแคลนสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวัน การสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการช่วยเหลือจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน

CPCRT พร้อมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์วิกฤต โดยการส่งมอบข้าวตราฉัตรและสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ เป็นการส่งมอบความห่วงใยและกำลังใจให้กับผู้ประสบภัยในพื้นที่ พร้อมทั้งมีการประกาศให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ เพื่อลดความเดือดร้อนและให้ความช่วยเหลือในทุกมิติ

สุดท้าย CPCRT และ CSR SPIRIT จิตอาสา เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้เน้นย้ำว่า การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในครั้งนี้เป็นเพียงก้าวแรกในการยื่นมือช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ และเครือเจริญโภคภัณฑ์จะคงเดินหน้าสนับสนุนและร่วมฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยเพื่อให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติโดยเร็วที่สุด พร้อมส่งกำลังใจและความหวังให้กับทุกคนว่า “เราจะผ่านเหตุการณ์นี้ไปด้วยกัน”

ในช่วงนี้ จึงขอเชิญชวนภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงจิตอาสาทั้งหลาย ร่วมมือร่วมใจกันในการฟื้นฟูชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลืออย่างทั่วถึง

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : CPTG.CSR.PR@CPTG.CO.TH

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ทหารเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย น้ำท่วม อ.แม่สาย ส่งอาหารทางอากาศ

 

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 เวลา 10.00 น. พล.ต.บุญญฤทธิ์ เกษตรเวทิน ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 37 (ผบ.มทบ.37) ได้จัดกำลังพลจากมณฑลทหารบกที่ 37 (มทบ.37) ตำรวจน้ำ และกองพันทหารราบที่ 17 กรมทหารราบที่ 3 (ร.17 พัน.3) ลงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือครอบครัวเจ้าหน้าที่มูลนิธิชัยพัฒนา และประชาชนในบริเวณตลาดสายลมจอย ซึ่งเป็นจุดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างรุนแรงในเขตพื้นที่แม่สาย จังหวัดเชียงราย

จุดดังกล่าวนับเป็นหนึ่งในจุดวิกฤติที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นจากฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากต่อเนื่อง ส่งผลให้บ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนในชุมชนใกล้เคียงได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง ขณะเดียวกัน พล.ต.บุญญฤทธิ์ ยังได้จัดกำลังพลเข้าชี้จุดสำคัญเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ในพื้นที่อุทกภัย และส่งอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของจำเป็นทางอากาศยานผ่านเฮลิคอปเตอร์ (ฮ.) ให้กับผู้ที่ความช่วยเหลือยังเข้าไม่ถึง

สำหรับภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่นี้ถือเป็นการปฏิบัติการเร่งด่วน เนื่องจากน้ำป่าที่หลากลงมายังสร้างอุปสรรคในการเข้าถึงพื้นที่หลายจุด ทำให้การใช้เฮลิคอปเตอร์และเรือเป็นวิธีหลักในการเข้าถึงและจัดส่งสิ่งของจำเป็นให้กับผู้ที่ยังคงติดอยู่ในพื้นที่อันตราย หน่วยทหารและเจ้าหน้าที่ต่างเร่งดำเนินการอย่างเต็มกำลังเพื่อให้การช่วยเหลือสามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างทันท่วงที

ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แห่งนี้ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และมีการรายงานสถานการณ์เป็นระยะเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถประเมินและวางแผนการช่วยเหลือในระยะต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ พล.ต.บุญญฤทธิ์ เน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ และการสนับสนุนจากภาคประชาชน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครั้งนี้เกิดผลสำเร็จสูงสุด

ทั้งนี้ การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมยังคงดำเนินต่อไป ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ได้เตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำที่อาจยังคงอยู่ และจะจัดส่งรายงานความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News