เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 ข้อมูลสะสมระหว่างวันที่ 9 -15 ก.ย. 2567 ทั้งสิ้น 9 อำเภอ 35 ตำบล 167 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (52 ชุมชน) ได้แก่ โดยตลาดชุมชนเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบเบื้องต้น 53,209 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 14,138 ไร่ เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 2 ราย โรงเรียน จำนวน 31 แห่ง ถนน 7 จุด และคอสะพาน 4 จุด

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง หลายวัน ทำให้วันนี้ (15 กันยายน 2567) ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ อ.เมืองเชียงราย, อ.เชียงแสน, อ.เชียงของ, อ.แม่จัน, อ.แม่ฟ้าหลวง, อ.แม่สาย, อ.ดอยหลวง, อ.เทิง และอ.เวียงแก่น เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ช่วยโมง ที่สายด่วน 1784
 
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 และสถานการณ์ในวันนี้ (15 ก.ย. 67) ดังนี้
อ.เมืองเชียงราย ได้รับผลกระทบ 3 ตำบล 6 หมู่บ้าน (ในเขตเทศบาลนครเชียงราย สถานการณ์คลี่คลาย) เขตเทศบาลนครเชียงราย พื้นที่ได้รับผลกระทบสะสม 52 ชุมชน เสียชีวิต 1 ราย สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ บางชุมชนมีน้ำผุดท่อเนื่องจากท่อระบายน้ำอุดตัน เทศบาลนครเชียงรายดำเนินการ Big Cleaning Day จุดที่น้ำลดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 67 เป็นต้นมา
 
– แจ้งปิดใช้สะพานเนื่องจากน้ำท่วมสูง จำนวน 5 จุด/ คลี่คลายแล้วทุกจุด รถสามารถสัญจรผ่านได้ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายโครงสร้าง จุดที่ 1 สะพานแม่ฟ้าหลวง (ศาลากลางจังหวัดเชียงราย) เปิดใช้งานทั้งสองเลนส์ ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 67 คอสะพานบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยวัยที่ 3 ชุมชนน้ำลัด ขาด ผ่านไม่ได้ จุดที่ 2 สะพานขัวพญาเม็งราย (แยกบ้านใหม่ถึงแยกสถานีตำรวจภูธรเชียงราย) คลี่คลายแล้ว ในวันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 3 สะพานข้ามแม่น้ำกก (แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 1 ถึง 5 แยกพ่อขุนเม็งราย) คลี่คลายแล้ว ในวันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 4 สะพานเฉลิมพระเกียรติ (เส้นทางสนามกีฬากลาง โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย
 
ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย) คลี่คลายแล้ว ในวันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 5 สะพานใหม่บ้านหนองด่าน (ฮ่องอ้อ) จากแยกวัดห้วยปลากั้ง ไปทางโรงเรียนสามัคคี 2) คลี่คลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 67
 
– โรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงรายประกาศหยุดเรียนจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เบื้องต้น 11 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1- 8/ รร.สามัคคีวิทยาคม/ รร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา)/ รร.อบจ.เชียงราย (ปัจจุบันยงคงปิดการเรียนการสอนอยู่)
 
– การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย หยุดระบบการผลิตและระบบจ่ายน้ำ (ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. 67 เวลา 15.59 น.) อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัย ได้รับผลกระทบเต็มพื้นที่/ วันที่ 15 ก.ย. 67 กปภ. สาขาเชียงราย เริ่มจ่ายน้ำในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัยบางส่วน ประชาชนจะได้ใช้น้ำประมาณ 48,109 ราย
 
ต.รอบเวียง หมู่ที่ 1 – 5 ลำน้ำกก ลำน้ำกรณ์ และลำน้ำลาว ระดับน้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และในพื้นที่ของหาดเชียงราย/ สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ต.ดอยฮาง หมู่ที่ 2,3,4,5,6 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตร บางหมู่บ้าน ถูกตัดขาด ใช้การลำเลียงน้ำและอาหารโดยรถยกสูง และอากาศยาน ต.แม่ยาว หมู่ที่ 1 -20 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน เร่งอพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง /สะพานแขวนฮาแหล่จ่ะ (สะพานไม้) ขาด ไม่สามารถสัญจรได้/ บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร บ้านแคววัวดำ และบ้านอาดี่ (บ้านบริวารบ้านผาสุก หมู่ที่ 20) ใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยอากาศยาน
 
วันที่ 15 ก.ย. 67 ดำเนินการปรับเกลี่ยดินสไลด์เพื่อเปิดใช้เส้นทาง ต.ห้วยชมภู หมู่ที่ 1,4,5,6,10,11,16 น้ำป่าไหลหลากและดินสไลด์ปิดทับเส้นทาง/ บ้านจะคือ หมู่ที่ 10 ใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยอากาศยาน เนื่องจากเส้นทางถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิงต.ริมกก หมู่ที่ 1-7 วันที่ 11 ก.ย. 67 น้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร/ บ้านเมืองงิม ม.4 พนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ อบต.ริมกก ดำเนินการจัดทำแนวตลิ่งเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร พร้อมทั้งอพยพคนออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมสูง วันที่ 12 ก.ย. 67 น้ำเพิ่มระดับสูงขึ้น ไหลเชี่ยวและแรง บางจุดไม่สามารถอพยพประชาชนออกมาได้ ต้องใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร 
 
โดยใช้โดรน และเจ๊ตสกี / วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ถนนสามารถสัญจรผ่านได้ ภาพรวมสามารถฉีดล้างทำความสะอาดบ้านเรือนได้แล้ว ยังคงท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำบางส่วน ต.บ้านดู่ ม. 1,10,12,15,16,17,20 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ต.แม่ข้าวต้ม ม. 3,4 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลายบางส่วน ต.นางแล ม. 1,4,5,6,11,16 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลาย
 
อ.เชียงแสน จำนวน 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน โรงเรียน 1 แห่ง พื้นที่เกษตร 14,138 ไร่ ถนน 2 สาย สะพาน 1 จุด คอสะพาน 1 จุด น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่เกษตร และเกิดดินสไลด์ ในพื้นที่ ดังนี้ ต.เวียง ม.1, 2, 3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8 , 9 น้ำล้นตลิ่งและเกิดดินสไลด์บ้านสบรวก ร้านค้า จำนวน 16 ร้าน ต.โยนก ม.1 ,2 ,4 ,6 ,7 ต.บ้านแซว ม.7 ,8 ,10 ,14 ต.ป่าสัก ม.1 ,2, 3, 5, 6 ,7 ,11 ,12, 13
 
ต.ศรีดอนมูล ม.1, 2 ,3 ,5 ,9 ,10 ,12, 13 ต.แม่เงิน ม.1, 5, 10 ปิดเส้นทางสัญจร ปิดเส้นทางสะพานโยนกนาคนคร ม.1 และ ม.4 ต.โยนก เส้นบายพาส เนื่องจากแม่น้ำกกหนุนสูง ท่วมปิดเส้นทางไม่สามารถสัญจรได้/ วันที่ 14 ก.ย. 67/ วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์ปกติ สามารถสัญจรผ่านได้
 
ปิดเส้นทางหมายเลข 1290 ตอนแม่สาย – กิ่วกาญจน์ ระหว่าง กม.20+000 – กม.20+500 บ้านเวียงแก้ว ม.5 ต.ศรีดอนมูล – บ้านวังลาว ม.4 ต.เวียง เนื่องจากแม่น้ำรวกล้นตลิ่งท่วมถนน รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้/ อยู่ระหว่างดำเนินการซ่อมแซม
อ.เชียงของ จำนวน 2 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.เวียง หมู่ที่ 1 แม่น้ำโขงล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณท่าเรือบั๊ค บริเวณสวนสาธารณะปลาบึก 7 สี และบ้านเรือนราษฎรติดริมฝั่งโขง / ทต.เวียง อพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง เรียบร้อยแล้ว และต.ศรีดอนไชย น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ได้รับผลกระทบ
 
อ.แม่จัน แม่น้ำจัน-คำ หลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตรเป็นวงกว้าง ในพื้นที่ 7 ตำบล 15 หมู่บ้าน โรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 โรงเรียน/ สถานการณ์คลี่คลาย ยังคงค้างในพื้นที่ลุ่มต่ำของตำบลแม่คำ
 
อ.แม่ฟ้าหลวง จำนวน 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน (เสียชีวิตจากสะสม 5 ราย เกิดจากน้ำป่าไหลหลาก 1 ราย/
ดินสไลด์ 4 ราย) ถนนเสียหาย 4 จุด คอสะพาน 3 จุด โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน (ดินสไลด์ปิดเส้นทางเข้า-ออก)/ บ้านจะตี ต.เทอดไทย ดินปิดสไลด์เส้นทาง ใช้อากาศยานในการขนส่ง ต.แม่ฟ้าหลวง ม. 12,16,17 ต.แม่สลองนอก ม.7 ต.แม่สลองใน ม.3,4,5,15 และ ต.เทอดไทย ม.6,7,15,16
 
อ.แม่สาย น้ำท่วมพื้นที่ตลาดสายลมจอย และพื้นที่เศรษฐกิจ จำนวน 4 ตำบล 37 หมู่บ้าน (ชุมชนได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ ชุมชนแม่สาย ชุมชนเหมืองแดง ชุมชนเกาะทราย ชุมชนไม้ลุงขน) จำนวน 4 ตำบล โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน ต. แม่สาย ม.2,3,6,7,8,10 ต.เวียงพางคำ ม.1-10 ต.เกาะช้าง ม. 1-13 และต.ศรีเมืองชุม ม.1-8 วันที่ 15 ก.ย. 67 สถานการณ์คลี่คลาย ระดับแม่น้ำสายลดลงจากเดิมประมาณ 50 เซนติเมตร พื้นที่วิกฤติ ได้แก่ ชุมชนเกาะทราย ซ.7, ชุมชนไม้ลุงขน, ชุมชนเกาะสวรรค์ ซ.4,5,6 ระดับน้ำลดลง บางจุดยังมีน้ำท่วมขังแต่สามารถเดินเท้าผ่านได้ ยังคงค้างตะกอนดินโคลนเป็นจำนวนมาก สามารถลำเลียงน้ำ/อาหาร และเคลื่อนย้ายประชาชนโดยใช้รถทหาร(FTS) ได้แล้ว ไม่ต้องใช้เรือ/ อำเภอแม่สายดำเนินการ Big Cleaning Day จุดที่น้ำลดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 67 เป็นต้นมา
 
อ.ดอยหลวง จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.หนองป่าก่อ หมู่ที่ 8 น้ำกัดเซาะถนนชำรุด ไม่สามารถสัญจรได้ อยู่ระหว่างซ่อมแซม
 
อ.เทิง จำนวน 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน (สถานการณ์คลี่คลาย อยู่ระหว่างการซ่อมแซม) ต.งิ้ว ม.7,18 น้ำล้นออกจากอ่างเก็บน้ำขอนซุง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร ต.ปล้อง ม.2 น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร และต.ตับเต่า ม.8 เสาค้ำสะพานสะพานเบลีย์ชำรุด/ เวลาประมาณ 14.00 น. หมวดทางหลวงเทิง แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 2 และศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 1 (พิจิตร) เข้ามาดำเนินการซ่อมแซม หากไม่มีมีฝนตกคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 วัน (วันที่ 16 ก.ย. 67)
 
อ.เวียงแก่น จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.ปอ ม.2 น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
 
การให้ความช่วยเหลือ
– กองทัพเรือสนับสนุนเรือและยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเร่งดำเนินการติดตั้งเคลื่อนย้ายเรือผลักดันน้ำ JET จำนวน 10 ลำ ยกจากเครนวางตามแนวลำน้ำอิง ประสิทธิภาพการไหลได้ วันละ 1 ล้านลูกบาก์เมตร เริ่มดันน้ำได้วันที่11 ก.ย.67 เวลา15.00 น. ณ สะพานข้ามแม่น้ำอิง อ.เทิง จ.เชียงราย
– สภากาชาดไทย สนับสนุนครัวสนามเคลื่อนที่ 1 คัน จุดตั้งโรงครัว ณ วัดพระสิงห์ ถ.ท่าหลวง ต.เวียง
อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ประกอบเลี้ยงตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 67 จะประกอบเลี้ยงถึงวันอังคารที่ 17 ก.ย. 67 (มื้อกลางวัน)
– มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ตั้งครัวพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และ อบจ.เชียงราย สนับสนุนรถครัวประกอบเลี้ยงอาหาร ณ จุดเดียวกัน บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ตะเคียนคู่) ต.สันทราย อ.เมืองเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 67 และสนับสนุนถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 3,500 ถุง ถุงยังชีพสำหรับพระภิกษุสงฆ์ 105 ถุง จะประกอบเลี้ยงถึงวันอังคารที่ 17 ก.ย. 67 (มื้อกลางวัน)
 
– กองทัพเรือ/หน่วยซีล สนับสนุน เรือ 9 ลำ รถบรรทุก 4 คัน ถุงยังชีพ 1,000 ชุด (ของ 918 150 ชุด) กำลังพล 50 นาย
– ฮ.ปภ.32 สนับสนุนภารกิจขนย้ายผู้ประสบภัย ลำเลียงน้ำและอาหารส่งมอบให้แก่ผู้ประสบภัย ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอแม่ฟ้าหลวง
– ฮ.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร/ฮ.ทอ./ ฮ.ตชด. 327/ ฮ.ทส. ปฏิบัติภารกิจลำเลียงน้ำและอาหาร อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอแม่ฟ้าหลวง
– ศูนย์ ปภ.เขต 15 เชียงราย /เขต 1 ปทุมธานี/ เขต 2 สุพรรณบุรี /เขต 3 ปราจีนบุรี/ เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์/ เขต 8 กำแพงเพชร /เขต 9 พิษณุโลก /เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 16 ชัยนาท สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยด้านปฏิบัติการ (อุทกภัย) และกำลังพล / วันที่ 15 ก.ย. 67 สนับสนุน Big Cleaning Day สูบน้ำท่วมขัง ลำเลียงน้ำและอาหารให้แก่ผู้ประสบภัย และศูนย์ ปภ. เขต 15 เชียงราย สนับสนุนชุดปฏิบัติการ ERT ภารกิจวาง Big Bag จุดแนวกระสอบทรายชำรุดบริเวณจุดสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 ไทย – เมียนมา
 
– เทศบาลนครเชียงราย จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทน.เชียงราย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ จุดโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ และจุดโรงเรียน อบจ. เชียงราย โดยมีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์
– ศูนย์พักพิง อ.แม่สาย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน 17 แห่ง รวมทั้งสิ้น 1,343 ราย (โดยเป็นศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ จำนวน 7 ศูนย์)
ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สาย จำนวน 53 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.เชียงแสน/ รพ.สต.ฮ่องแฮ่/ รพ.สต.บ้านด้าย)
ศูนย์พักพิงวัดพรหมวิหาร จำนวน 341 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.แม่สาย, ทีม MCATT,
 
รพ.ดอยหลวง, รพ.ค่ายเม็งรายมหาราช)
ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สายมิตรภาพ จำนวน 16 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.แม่สาย)
 
ศูนย์พักพิงวัดน้ำจำ จำนวน 61 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.โป่งผา)
ศูนย์พักพิง รพ.สต.เกาะช้าง จำนวน 56 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.เกาะช้าง)
 
ศูนย์พักพิงวัดมงคลธรรมกายาราม จำนวน 14 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.โป่งงาม และ รพ.สต.บ้านถ้ำ)
 
ศูนย์พักพิงวัดเจติยาราม*(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.ศรีเมืองชุม)
– ศูนย์พักพิงวัดป่าซางงาม จำนวน 150 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดป่าแดง จำนวน 80 ราย
– ศูนย์พักพิงบ้านป่าแดง จำนวน 70 ราย
– ศูนย์พักพิงโบสถ์คริสต์ จำนวน 40 ราย
– ศูนย์พักพิงบ้านสันหลวงใต้ จำนวน 50 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดสันหลวง จำนวน 48 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดหิรัญญาวาส จำนวน 60 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดสันธาตุ จำนวน 83 ราย
– ศูนย์พักพิงหอประชุม อบต.โป่งผา จำนวน 61 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดถ้ำผาจม จำนวน 160 ราย
 
– นพค.31 /นพค.32/นพค.34 สนับสนุนกำลังพล รถครัวสนาม และรถสุขาเคลื่อนที่
– มูลนิธิสมาคมกู้ชีพกู้ภัย อาสาสมัคร จิตอาสาภาคประชาชน ร้านค้า/ผู้ประกอบการ สนับสนุนปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ให้ที่พักพิงชั่วคราว มอบอาหารปรุงสำเร็จ และถุงยังชีพ
 
– กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ณ ห้องประชุม 1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Webex) โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุม และนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมจังหวัดเชียงราย
 
– จิตอาสาราชทัณฑ์ (จอส.รท.) จัดส่งเจ้าหน้าที่และนักโทษเด็ดขาดหรือผู้ต้องกักขังที่ได้รับอนุมัติจ่ายออกทำงานสาธารณะหรือได้รับอนุญาตให้ออกทำงานนอกเรือนจำ สนับสนุนภารกิจลำเลียงน้ำและอาหาร รวมทั้งร่วมกิจกรรม Big Cleaning Day รวมทั้งสิ้น 35 นาย
 
การอำนวยการ/สั่งการ
จังหวัดเชียงราย กำหนด Big Cleaning Day ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย ดังนี้ วันอาทิตย์ที่ 15 ก.ย. 2567 Kick Off ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดเชียงราย (จุดที่ 1) และบริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช (จุดที่ 2) ระหว่างวันที่ 16 – 18 ก.ย. 67 กำหนดแผนปฏิบัติการทำความสะอาดพื้นที่เมืองเชียงราย โดยกำหนดโซนดำเนินการเป็น 4 โซน ดังนี้ โซนที่ 1 ได้แก่ ชุมชนร่องเสือเต้น ชุมชนบ้านใหม่ หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนสันตาลเหลือง ชุมชนสันต้นเปา และชุมชนป่าตึงริมกก โซนที่ 2 ได้แก่ ชุมชนป่าแดง ชุมชนฝั่งหมิ่น 
 
หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนรั้วเหล็กใต้, ชุมชนรั้วเหล็กเหนือ ชุมชนกกโท้งใต้ และชุมชนกองยาว โซนที่ 3 ได้แก่ ชุมชนน้ำลัด หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนเกาะลอย ชุมชนป่างิ้ว ชุมชนเทิดพระเกียรติ ชุมชนราชเดชดารง ชุมชนทวีรัตน์ ชุมชนบ้านไร่ ชุมชนฮ่องลี่ และชุมชนดอยทอง โซนที่ 4 ได้แก่ ชุมชนแควหวาย ชุมชนมุสลิมกกโท้ง หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ ชุมชนบ้านไร่ ชุมชนเกาะทอง ชุมชนริมน้ำกก ชุมชน ชุมชนวังดิน และชุมชนร่องปลาค้าว) แผนปฏิบัติการลำเลียงน้ำและอาหาร (อาหารแห้ง) สำหรับพื้นที่ถูกตัดขาดเส้นทางโดยสิ้นเชิง บ้านจะคือ หมู่ที่ 10 ต.ห้วยชมภู อ.เมืองเชียงราย ให้อำเภอเมืองเชียงรายสำรวจหย่อมบ้านที่ยังคงมีความต้องการ และร้องขอผ่านศูนย์บัญชาการฯ โดยให้อำเภอเมืองเชียงรายลำเลียงเสบียงไปส่งยังตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย 
 
เพื่อใช้รถเดินทางต่อไปยังบ้านจะคือ/ บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร บ้านอาดี่ บ้านแคววัวดำ ต.แม่ยาว อ.มืองชร. และบ้านจะเด้อ ต.ดอยฮาง อยู่ระหว่างเปิดใช้เส้นทางและดำเนินการเรียบร้อยแล้วเป็นบางจุด ให้ใช้การสัญจรทางบกในการลำเลียงเป็นหลัก/ สำหรับพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง ได้มีการกระจายเสบียงไปก่อนล่วงหน้านี้แล้ว คาดว่าเพียงพอและทั่วถึง หากมีการร้องขอเรื่องน้ำและอาหารเร่งด่วนฉุกเฉิน จำเป็นต้องใช้อากาศยาน มอบให้ ตชด.327 รับประสานการปฏิบัติ ทั้งนี้ สำหรับพื้นที่ที่ถูกตัดขาดเส้นทางโดยสิ้นเชิงนั้น ให้เจ้าของสายทางและหน่วยงานสนับสนุนดำเนินการเร่งรัดเปิดใช้เส้นทางโดยเร็วที่สุด
 
การปฏิบัติการทางอากาศ ให้ใช้กรณีฉุกเฉินเร่งด่วน เช่น การลำเลียงผู้ป่วยวิกฤติ สำหรับการขนส่งน้ำและอาหารพิจารณาเป็นรายกรณีเนื่องจากจัดสรรลงไปอย่างเพียงพอและทั่วถึงแล้ว
 
ในระยะนี้เป็นช่วงฟื้นฟูบูรณะ และ Big Cleaning Day ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม มอบหมาย สนง.ปภ.จ.เชียงราย จัดสรรสิ่งของและอุปกรณ์ทำความสะอาดที่ได้รับบริจาคกระจายลงไปทั่วทุกจุด อปท.ที่ไม่ได้ประสบสาธารณภัยรวมทั้งหน่วยงานที่มีรถน้ำให้สนับสนุนภารกิจจนกว่าจะแล้วเสร็จ ให้ตำรวจสอดส่องและรักษาความปลอดภัยให้กับบ้านและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อป้องกันโจรลักขโมย ด้านเกษตรให้เร่งรัดการสำรวจความเสียหาย และจัดประชุม ก.ช.ภ.อ. และ ก.ช.ภ.จ. ต่อไป
 
แนวโน้มสถานการณ์
สถานการณ์อยู่ในระดับคลี่คลาย-เฝ้าระวัง ไม่มีฝนตก ระดับน้ำสาย/น้ำกกลดลง/น้ำโขง แนวโน้มลดลง กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
 
แจ้งเตือนทุกอำเภอเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากน้ำล้นตลิ่งอย่างต่อต่อเนื่อง เตรียมความพร้อม เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ กำลังพลพร้อมให้ความช่วยเหลือทันที ตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อได้รับการร้องขอ และเตรียมการทำความสะอาดพื้นที่ประสบภัย สำหรับ อปท. ที่ไม่ได้ประสบภัยให้สนับสนุนภารกิจ เร่งสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือตามระเบียบต่อไป
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME