Categories
NEWS UPDATE

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566-2567

เมื่อวันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2567 สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ณ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยมีผู้แทนสมาชิกสมาคมเข้าร่วมประชุม 38 องค์กร เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ สมัยที่ 13 (ปี 2567) รายงานสถานะการเงินประจำปี 2566-2567, แต่งตั้งผู้สอบบัญชี และแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมาย

การขับเคลื่อนโครงการปี 2567

ทั้งนี้ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ สมัยที่ 13 มีรายละเอียดโครงการประกอบด้วย

  1. กิจกรรมสัมมนา “กระชับสัมพันธ์ SONP” ระดมสมองทิศทางการดำเนินงานปี 67 ณ เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ
  2. กิจกรรม One Day Training ครั้งที่ 1: หัวข้อ “Digital Journalism in the context of Influencer Economy Business Model & Monetization”, ครั้งที่ 2: หัวข้อ “ความสำคัญของ MarTech กับอุตสาหกรรมสื่อดิจิทัล ในยุค Digital Era” ส่วนครั้งที่ 3 หัวข้อ “Navigating Change: Strategies for Survival of Online News Providers in the Evolving Media Landscape” และครั้งที่ 4 หัวข้อ: Cyber Security & กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  3. โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการผู้ผลิตข่าวรุ่นเยาว์ ประจำปี 2567 รุ่นที่ 8 (Young Digital News Providers 2024) ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี
  4. โครงการประกวด รางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม ประจำปี 2567 (Digital News Excellence Awards 2024) ณ ห้องมรกต โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ โดยในปีนี้เป็นปีแรกที่ต่อยอดจากโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวรุ่นเยาว์ เปิดเวทีให้นิสิต นักศึกษา ผู้เข้าอบรมในโครงการฯ ส่งผลงานเข้าประกวด ในประเภท “รางวัลผู้ผลิตข่าวรุ่นเยาว์” เพื่อเตรียมความพร้อมกับการก้าวเข้ามาทำงานในวงการข่าวดิจิทัลอย่างมืออาชีพ

การจับมือพันธมิตรด้านสื่อสารมวลชนเพื่อสังคม

นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังเข้าร่วมกับพันธมิตรด้านสื่อสารมวลชน จัดทำโครงการเพื่อสังคม และพันธมิตรสื่อต่างประเทศ อาทิ

  1. ร่วมเวที Media Forum กฎบัตรปารีสเรื่องจริธรรมสื่อในยุค AI และ บริบทของไทย จัดโดย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ
  2. ร่วมเป็นกรรมการ (ร่าง) แนวปฏิบัติ เรื่อง การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับสื่อมวลชน โดย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติพร้อมเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น
  3. ร่วมประชุมความร่วมมือระหว่างองค์กรสื่อของไทยและกัมพูชา
  4. พบปะหารือกับทีมโฆษกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย
  5. เปิดตัวโครงการเพื่อสังคม ภายใต้ชื่อ: Cyber Booster #สร้างภูมิสู้ภัยไซเบอร์

ความท้าทายด้านเทคโนโลยี สมาคมฯ

นายนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา นายกสมาคมฯ กล่าวขอบคุณ “คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ สมาชิกสมาคมฯ ทุกองค์กรที่ร่วมกันขับเคลื่อน และผลักดันวิชาชีพด้านสื่อออนไลน์ จากความท้าทายด้านเทคโนโลยี สมาคมฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนในหลาย ๆ ด้าน เนื่องจากปัจจุบันได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้น จึงต้องมีผู้ดูแลบริหารจัดการงานสมาคมฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ อุปนายกดูแลเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านมาตรฐานวิชาชีพ ด้านพัฒนาธุรกิจ และด้านวิชาการ รวมถึงมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการบริหารสมาคมฯ ด้วย”

สำหรับการดำเนินงานของสมาคมฯ ในปี 2567 นั้น นโยบายหลักของสมาคมฯ คือ การพัฒนาให้ความรู้กับบุคลากรของสมาชิก โดยในปีนี้ได้มีความร่วมมือกับพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐ หรือองค์กรเอกชน รวมถึงแพลตฟอร์มต่าง ๆ ให้ความรู้กับสมาชิกฯ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจ รวมถึงการสร้างสรรค์ผลิตคอนเทนต์ อาทิ การอบรม One Day Training ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับหน่วยงานราชการ และภาคเอกชน จัดทำโครงการเพื่อประโยชน์ต่อสังคม อย่างเช่น โครงการ Cyber Booster #สร้างภูมิสู้ภัยไซเบอร์ สร้างความปลอดภัย เสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยเหลือประชาชนให้รู้ทันภัยไซเบอร์จากมิจฉาชีพออนไลน์ เพื่อลดปัญหาอาชญากรรมทางออนไลน์ โดยร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  รายการสถานีประชาชน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส  และ บริษัท เทลสกอร์ จำกัด ซึ่งเป็นโครงการฯ ต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไป ส่วนการหารายได้ยังมีการหารือร่วมกับทาง Google พร้อมทั้งเน้นย้ำอุปนายกด้านพัฒนาธุรกิจ ระดมกรรมการตั้ง Core Team เพื่อหาแนวทางการสร้างรายได้ใหม่ ๆ ให้กับสมาชิก

“ขอชื่นชมโครงการประกวด “รางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม” ครั้งที่ 10 มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดมากขึ้น รวมถึงสมาชิกสมาคมฯ ที่ส่งผลงานเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอที่ชวนติดตามตั้งแต่วินาทีแรกจนจบคลิป แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาด้านการสร้างสรรค์ของหลายสื่อสมาชิก และมียอดการรับชมที่สูง แต่ไม่ได้ลดคุณภาพของเนื้อหาการทำหน้าที่สื่อ และสุดท้ายขอขอบคุณสมาชิกทุกองค์กรที่ให้ความช่วยเหลืองานกิจกรรมสมาคมฯ มาตลอดทั้งปี”

จากนั้น ในที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้ที่ปรึกษา และ สมาชิกสมาคมฯ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งหารือให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ เพื่อนำไปพัฒนา ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในปีต่อไป

การวางทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อ

นายระวี ตะวันธรงค์ ที่ปรึกษา สมาคมฯ กล่าวว่า “ขอชื่นชมการทำงานของนายกฯ และคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ในปีหน้าจะเป็นปีที่แนวโน้มเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ซึ่งจะมีผลต่อธุรกิจโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของเทคโนโลยีที่กระทบต่ออุตสาหกรรมสื่อ ทางสมาคมฯ ควรมีการวางทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อ เพื่อช่วยเหลือบุคลากรด้านสื่อที่อาจจะตกงานเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือวิทยุ จึงขอฝากสมาคมฯ เรื่องของการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งองค์กร และบุคลากร”

หลักสูตรระยะสั้น เพื่อช่วยเหลือบุคลากร

นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษา สมาคมฯ กล่าวเสนอ “ให้จัดทำหลักสูตรระยะสั้น เพื่อช่วยเหลือบุคลากรในวิชาชีพที่ได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างธุรกิจสื่อ และหรือบุคคลที่ต้องการทำสำนักข่าวออนไลน์ เนื้อหาหลักสูตรต้องครบกระบวนการผลิตข่าวออนไลน์ ที่รวมถึงเรื่องการตลาด แนวทางการสร้างรายได้ แนะนำแหล่งเงินทุน รวมทั้งเรื่องของกฎหมาย จริยธรรมเข้าไปด้วย ซึ่งสมาคมฯ มีศักยภาพในการบริหารจัดทำหลักสูตร”

ทางรอดของสื่อต้องเน้นการทำข่าวเชิงสืบสวน

นางสาวชุตินธรา วัฒนกุล ที่ปรึกษา สมาคมฯ กล่าวว่า “ขอแบ่งปันการเข้าร่วมสัมมนาที่ประเทศเยอรมัน เรื่อง “เสรีภาพสื่อ” ซึ่งพบว่าสื่อจากหลายประเทศ ไม่ค่อยมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าว ทั้งยังมีการพูดถึงเรื่อง AI และเรื่องการทำข่าวเชิงสืบสวนในยุคที่ AI เข้ามาคุกคาม โดยมองว่าทางรอดของสื่อต้องเน้นการทำข่าวเชิงสืบสวน สื่อต้องปรับตัว เนื่องจากในตลาดมีทั้ง Influencer รวมทั้ง User generated content ดังนั้นสื่อต้องทบทวนว่า คอนเทนต์ที่นำเสนอไปนั้นแตกต่างจากคนเหล่านี้หรือไม่ ทั้งเรื่องข่าวเชิงสืบสวนหรือ Solution journalism นอกจากเรื่องนี้ยังมีเรื่อง Fact checking และที่น่าสนใจคือเรื่อง การใช้วัฒนธรรม POP Culture ส่ง Message สื่อสารเชื่อมต่อกับคนรุ่นใหม่”

ปัจจุบันสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ https://www.sonp.or.th/ มีสมาชิกทั้งสิ้น 50 องค์กร ซึ่งประกอบไปด้วยองค์กรสื่อ และองค์กรที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการผลิตข่าวออนไลน์ โดยในปีนี้สมาคมฯ ได้เริ่มเปิดรับสมาชิกวิสามัญ ประเภท Corporate member หรือสมาชิกองค์กร อีกด้วย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
FOLLOW ME
MOST POPULAR
Categories
FEATURED NEWS

“สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์” เชิญร่วมงานประกาศผล “รางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม ประจำปี 2567”

 

 “สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์” จัดโครงการประกวด “รางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม ประจำปี 2567” (Digital News Excellence Awards 2024) เพื่อส่งเสริมสื่อมวลชนออนไลน์ ที่มีความทุ่มเทในการทำงาน สร้างสรรค์และพัฒนาวงการข่าวออนไลน์ โดยการผลิต “ข่าวดิจิทัลคุณภาพ” ตรงกับมาตรฐานวิชาวารสารศาสตร์ จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งจะจัดให้มีงานประกาศผลรางวัลพร้อมด้วยโล่เกียรติยศ ทั้งนี้ จำนวนผลงานประกวด “รางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม ประจำปี 2567” โดยในปีนี้มีผลงานส่งเข้าประกวดจำนวนทั้งสิ้น  176 ผลงาน 

โดยแบ่งออกเป็น 6 ประเภทข่าว ประกอบด้วย

1. ข่าวหรือสารคดีออนไลน์เชิงข่าวสืบสวนยอดเยี่ยม (Investigative News & News Feature) (จำนวน 22 ผลงาน)
2. ข่าวออนไลน์จากประเด็นในสื่อสังคมออนไลน์ยอดเยี่ยม (News Development from Social Media Agenda) ซึ่งเป็นการพัฒนาข่าวจากวาระข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ (จำนวน 28 ผลงาน)
3. ข่าวออนไลน์ส่งเสริมสังคมยอดเยี่ยม (Social Development News) (จำนวน 31 ผลงาน)
4. ข่าวออนไลน์ที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอยอดเยี่ยม (Video Clip News) (จำนวน 27 ผลงาน)
5. ข่าวออนไลน์ที่นำเสนอในรูปแบบอินโฟกราฟิกยอดเยี่ยม (Infographic News) (จำนวน 37 ผลงาน)
6. ภาพข่าวออนไลน์ยอดเยี่ยม (Photojournalist) (จำนวน 31 ผลงาน)

โดยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการตัดสิน

  1. อาจารย์ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม รองคณบดี ด้านวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
  4. คุณ น.รินี เรืองหนู นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
  5. คุณระวี ตะวันธรงค์ ที่ปรึกษา สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
  6. คุณอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ Chief Product Officer, Pantip.com
  7. คุณกล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด
  8. คุณวสันต์ วณิชชากร ช่างภาพ สำนักข่าวต่างประเทศ

และในปีนี้จัดให้มี รางวัลพิเศษ รางวัล “ผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ยอดเยี่ยม” (Young Digital News Providers Award) เป็นการต่อยอดจากโครงการประกวดและอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาร่วมโครงการได้นำความรู้ ประสบการณ์ กลับไปพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานสกู๊ปข่าวออนไลน์ ส่งเข้าร่วมประกวดรางวัลดังกล่าวเป็นปีแรก

 

รวมทั้งเวทีเสวนา หัวข้อ Thailand Digital Newsroom 2025 การปรับตัว อนาคตห้องข่าวดิจิทัล ความท้าทาย ก้าวต่อไปของวงการสื่อไทย โดยมีผู้ร่วมเสวนา คุณฤทธิกร มหาคชาภรณ์ บรรณาธิการบริหาร ไทยรัฐออนไลน์, คุณคณิศ บุณยพานิช บรรณาธิการบริหารด้านข่าวสืบสวน ThaiPBS, รองศาสตราจารย์ พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล นักวิจัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Cofact (ประเทศไทย), คุณณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว THE STANDARD ดำเนินรายการโดย คุณรังสิมา ศฤงคารนฤมิตร ผู้ประกาศข่าว อมรินทร์ ทีวี

 โดยงานจะจัดขึ้นในวันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องมรกต ชั้น 3 โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ

สำหรับงานประกาศผลรางวัลในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชนชั้นนำ ที่ร่วมสนับสนุนอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์ ยกระดับคุณภาพ ให้คุณค่าข่าวดิจิทัล ส่งเสริมสื่อมวลชนออนไลน์ ที่มีความทุ่มเทในการทำงาน

โดยได้ให้การสนับสนุนรางวัล รวมทั้งการจัดงาน ได้แก่  กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, โคแฟค ประเทศไทย (Cofact Thailand), บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท คอนโทรล ดาต้า (ประเทศไทย) จำกัด, ธนาคารออมสิน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริษัท ที.เอช.นิค จำกัด

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

ผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ ปีที่ 8 Young Digital News Providers 2024

 

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2567 สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) ปิดฉากโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ ปีที่ 8 (Young Digital News Providers 2024) ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2567

โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นนิสิต นักศึกษา รวม 13 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสมุทรสาคร, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์,  มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เขตรังสิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 52 คน

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ ปีที่ 8 (Young Digital News Providers 2024)  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผู้ผลิตข่าวดิจิทัลยุคใหม่ได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะในทุกมิติของการผลิตข่าวบนโลกออนไลน์ พร้อมก้าวสู่การทำงานอย่างมืออาชีพ  มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าจากทั่วประเทศ  

สำหรับกิจกรรมโครงการได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับแนวหน้าของประเทศ มาร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ประกอบด้วย:

  1. คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล (ผู้ผลิตรายการสารคดี และผู้ก่อตั้ง เถื่อน Channel)
  2. คุณอรรถพล ไข่ทอง (เบลล์ ขอบสนาม ผู้ก่อตั้งเพจ ขอบสนาม) และคุณปฐพร ทรัพย์ไพฑูลย์ อดีตบรรณาธิการบริหารเดอะ เนชั่น
  3. คุณชุตินธรา วัฒนกุล (บรรณาธิการบริหารข่าวออนไลน์ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส)
  4. คุณอัยยา ตันติเสรีรัตน์ (Head of Partnerships & Co-Managing Director บริษัท เทลสกอร์ จำกัด)
  5. คุณธัญญารัตน์ ถาม่อย (ผู้ประกาศข่าว PPTV)
  6. คุณอทิตย์ เกษรามัญ Environmental Dimension Analyst, SCG
  7. คุณอธิวัตร จิรจริยาเวช นักวิจัย สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช.
  8. อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ อาจารย์พิเศษด้านกฎหมาย และเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  9. คุณมนตรี สถาพรกุล หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

วันที่ 17 สิงหาคม 2567 ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริง ณ งาน Sustain Asia Week 2024 ที่ไบเทค บางนา เพื่อหาข้อมูล แหล่งข่าว และผลิตคอนเทนต์ในรูปแบบที่ตนเองถนัด ไม่ว่าจะเป็นสกู๊ปข่าวที่เป็นคลิปวิดีโอ หรือการ Photo Story ประกอบบทความ โดยมีพี่เลี้ยงซึ่งเป็นสื่อมืออาชีพจากกองบรรณาธิการสำนักข่าวชั้นนำที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์คอยให้คำแนะนำในแต่ละกลุ่ม

วันที่ 18 สิงหาคม 2567 วันสุดท้ายของโครงการ ผู้เข้าร่วมแต่ละกลุ่มได้นำเสนอผลงานภายใต้หัวข้อ “Climate Crisis กู้วิกฤติโลกเดือด” พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย:

  • คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี (ประธานที่ปรึกษา) ตัวแทนจากไทยรัฐ
  • คุณนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา (นายกสมาคม) ตัวแทนจากอมรินทร์
  • คุณชุตินธรา วัฒนกุล (ที่ปรึกษา) ตัวแทนจากไทยพีบีเอส
  • คุณจีรพงศ์ ประเสริฐพลกรัง (อุปนายก ด้านมาตรฐานวิชาชีพ) ตัวแทนจากฐานเศรษฐกิจ
  • คุณเอกพล บรรลือ (อุปนายก ด้านพัฒนาเนื้อหา) ตัวแทนจากเดอะ สแตนดาร์ด
  • คุณอรพิน เหตระกูล (เลขาธิการ) ตัวแทนจากเดลินิวส์

 

คุณนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า “โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายที่อยากถ่ายทอดความรู้ในทุกมิติของการผลิตข่าวบนโลกดิจิทัล และส่งเสริมผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ที่จะเป็นอนาคตของวงการสื่อในอนาคต เรามุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การตรวจสอบข้อเท็จจริง และการนำเสนอข่าวสารอย่างสร้างสรรค์และมีจริยธรรม นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับการเข้าใจเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคสื่อ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ความต้องการของผู้รับสารในยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

คุณนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา กล่าวต่อว่า “ความสำคัญของการวางกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤติสภาพภูมิอากาศ โดยเน้นย้ำว่าผู้ผลิตสื่อจำเป็นต้องเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคข่าวสาร และปรับวิธีการนำเสนอให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย”

โดยผู้เข้าอบรมในรุ่นนี้ทั้งหมด จะนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และคำแนะนำจากคณะกรรมการ กลับไปต่อยอด และพัฒนาผลงานส่งเข้าประกวดในเวทีประกวดรางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม ประจำปี 2567 ในหมวดหมู่ผู้ผลิตข่าวรุ่นเยาว์ ซึ่งจะเริ่มเปิดรับผลงานในปลายเดือนสิงหาคม 2567 เป็นต้นไป และประกาศผลในงาน “ประกาศผลรางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม ประจำปี 2567” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 เป็นการยกระดับ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แสดงศักยภาพในเวทีที่กว้างขึ้น 

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ ปีที่ 8  ถือเป็นโอกาสอันดีสำหรับเยาวชนที่มีความสนใจในวงการข่าวดิจิทัล ให้ได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะ และรับประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญในวงการ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ผลิตข่าวมืออาชีพที่มีคุณภาพ มีความถูกต้อง และเข้าใจบทบาทภารกิจที่แท้จริงของผู้ผลิตข่าวออนไลน์ในอนาคต

สนับสนุนโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตฬร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. หรือ NSTDA), บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน), มูลนิธิ SCG, สวนอุตสาหกรรม 304 และ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการได้ทางช่องทางการสื่อสารอย่างเป็นทางการของสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) www.https://www.sonp.or.th 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก :  สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP)

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

SONP จับมือพันธมิตร ร่วมพัฒนาสร้างผู้ผลิตข่าวรุ่นเยาว์

 

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช. หรือ NSTDA), บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และ มูลนิธิเอสซีจี  จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ หรือ Young Digital News Providers รุ่นที่ 8 ประจำปี 2567 ขับเคลื่อนพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อเพื่อสร้างระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สำหรับนิสิต นักศึกษา ในวันที่ 16-18 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี บริหารจัดการหลักสูตรโดย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อถ่ายทอดความรู้ในทุกมิติของการผลิตข่าวบนโลกดิจิทัล อาทิ ทิศทางในการนำเสนอข่าวสารและพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคดิจิทัล, การใช้เครื่องมือบนเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ, แนวทางการสร้างตัวตนบนสื่อออนไลน์, เรียนรู้จริยธรรมการนำเสนอข่าวที่ถูกต้องและเหมาะสม, การวางแผนการตลาด ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ข่าว และสื่อสังคมออนไลน์ ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติจริงภายใต้โจทย์ “Climate Crisis กู้วิกฤติโลกเดือด” ในงาน Sustain Asia Week 2024 พร้อมต่อยอดส่งผลงานเข้าประกวดในเวที ประกวดรางวัลข่าวดิจิทัล ประจำปี 2567 ในหมวดหมู่ “ผู้ผลิตข่าวรุ่นเยาว์” ที่จะจัดขึ้นในปลายปีนี้

 

นายนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมของโครงการฯ ดังกล่าว ในระหว่างการประชุมประจำเดือนกรกฎาคม 2567 ว่า ในปีนี้ได้รับความร่วมมือจากวิทยากรแถวหน้าระดับประเทศ ประกอบด้วย คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ผู้ผลิตรายการสารคดีและผู้ก่อตั้ง เถื่อนChannel , คุณอรรถพล ไข่ทอง หรือ เบลล์ ขอบสนาม ผู้ก่อตั้งเพจขอบสนาม , คุณชุตินธรา วัฒนกุล บรรณาธิการบริหารข่าวออนไลน์ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และคุณอัยยา ตันติเสรีรัตน์ Head of Partnership & Co-Managing Director บริษัท เทลสกอร์ จำกัด, Influencer สายข่าว คุณธัญญารัตน์ ถาม่อย ผู้ประกาศข่าว PPTV

 

ในปีนี้ มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจากสถาบันระดับอุดมศึกษา จำนวน 13 สถาบัน รวม 25 ทีม ทางคณะกรรมการได้คัดเลือกผู้ที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสมุทรสาคร         

  1. นายนนทภูมิ จิตต์สถาน
  2. นางสาวพรหมพร ศุภสร
  3. นายพศวัต อินต๊ะเสาร์
  4. นางสาวสุกฤตา วิเศษฤทธิ์

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์       

  1. นางสาวธีมาพร มาลาล้ำ
  2. นายนันทิพัฒน์นพ โสภณ
  3. นางสาวอารยา กฤตาคม
  4. นางสาวปุญญิศา อำนวย

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต          

  1. นางสาวจุฬารัตน์ สุขเสน
  2. นางสาวเสาวลักษณ์ หนูเมือง
  3. นายปุญญพัฒน์ สาธุ
  4. นายสมประสงค์ เรือนทอง

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี      

  1. นางสาวฐาปนี เสนารักษ์
  2. นางสาวสุธิดา แจ่มเจริญ
  3. นางสาวสไลลา เจริญวัย
  4. นายธีระ บุญเสริม

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา          

  1. นายศิววุฒิ แซ่ลิ้ม
  2. นายเกียรติชัย ศรีสุข
  3. นายรักษ์สิทธิ์ จินดาเจริญโต
  4. นายธนวรชัย ยิ่งวิทูร

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร     

  1. นางสาวอารียา ถวิลกิต
  2. นางสาวพนิตธิดา วงค์นคร
  3. นายกีรติ เรืองเดช
  4. นางสาวสุวนันท์ นพกาล

มหาวิทยาลัยบูรพา        

  1. นายสิรวิชญ์ สุนันท์วิริยาภรณ์
  2. นางสาวนพวรรณ วรรณสกุล
  3. นางสาวตุลยดา โพธิ์มณี
  4. นางสาวพรชนิตา พงษ์พันธ์

 

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย        

  1. นางสาวธารหงส์ เหมือนประสาท
  2. นางสาวปีย์วรา ศรีมุล
  3. นางสาวโยธกา พันธุ์เธียร
  4. นางสาววิมลรัศมิ์ ฮวบนรินทร์

 

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

  1. นางสาวมณีรัตน์ คุ้มวงศ์
  2. นางสาวจุฑามาศ ติธรรมม
  3. นายจักรพันธ์ ปานหลิม
  4. นายธีรวัฒน์ แก่นจันทร์

 

มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เขตรังสิต       

  1. นางสาวสุภาวดี บุญทนาวงค์
  2. นางสาวธัญยพร ช่างสอน
  3. นางสาวแพรวา หมื่นขันธ์
  4. นางสาวอารดา วงศ์แสนใส

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม     

  1. นายวรากร บัวงาม
  2. นายนนทพัทธ์ สาฤทธิชัย
  3. นายสุทิวัส ขยันการ
  4. นายยุทธการ รัตนะ

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี  

  1. นางสาวพัทริกา พรมชะนะ
  2. นางสาวโชติกา คชรินทร์
  3. นางสาวจิรพร กรปรีชา
  4. นางสาวอลิสา คชายุทธ

 

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

  1. นายณัฏฐากร ขวัญสังข์
  2. นายปรเมษฐ์ จอมหนองแปน
  3. นายกิตกนก สวัสดี
  4. นายพูศักดิ์ แดงสี

 

ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ จะแจ้งรายละเอียดให้กับผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมอบรม ตามประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกอย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นการยืนยันอีกครั้ง

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ 081 700 2601 คุณธัญฉัต

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP)

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

CP All มอบทุนการศึกษาวิชาชีพสายสื่อมวลชน ให้กับสมาชิกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

 
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา คุณธานี ลิมปนารมณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และรศ.ดร.จินตวีร์ เกษมศุข คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ร่วมมอบทุนการศึกษาวิชาชีพสายสื่อมวลชน หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ปีการศึกษา 2567 ให้กับสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ซึ่งในปีนี้ผู้ผ่านการคัดเลือกได้รับทุนฯ 
 
 
ได้แก่ นายกันณพงศ์ ก.บัวเกษร ผู้ก่อตั้งสำนักข่าวนครเชียงรายนิวส์ และหัวหน้ากลุ่มธุรกิจ มีเดียแบรนด์ส คอนเท็นต์ สตูดิโอ (MBCS Thailand) บริษัท – ไอพีจี มีเดีย แบรนด์ส ประเทศไทย : IPG Mediabrands Thailand โดยมี คุณชนิดา จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) ร่วมเป็นเกียรติ ที่อาคาร Convention Hall สถาบันการจัดการปัญญภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม)
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS NEWS

ประชุมบอร์ด SONP เดือนมีนาคม 67 “Agency” อัปเดตเทรนด์เม็ดเงินโฆษณา

 

เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) สมัยที่ 13 ครั้งที่ 3/2567 ณ ห้องประชุม WR PRIDE ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ประเทศไทย อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ 2 ชั้น 28

โดยมี ดร. สร เกียรติคณารัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย (Initiative Thailand) และ ดร.ธราภุช จารุวัฒนะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ประเทศไทย ให้การต้อนรับ และบรรยายอัพเดทเม็ดเงินโฆษณาในอุตสาหกรรมสื่อ และแนะนำการวางแผนปรับตัวเทรนด์ ปี 2024

 

 

จากนั้น นายนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เป็นประธานการประชุมประจำเดือนมีนาคม โดยมีวาระที่สำคัญ ได้แก่ รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคม สมัยที่ 13 ครั้งที่ 2/2567 รายงานสถานะการเงิน เรื่องสืบเนื่องความคืบหน้าด้านการพัฒนาธุรกิจ ภายใต้โครงการ Premium Publisher Network- PPN

 

 

ส่วนด้านกิจกรรม ได้แก่ แนวทางการสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ ของสมาคมฯ โครงการเรียนรู้กับกูรูออนไลน์ (One Day Training) ปีที่ 8 ครั้งที่ 4 หัวข้อ Cyber Security โดย สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ร่วมกับ SRAN

 

นอกจากนี้มีการรายงานความคืบหน้า กิจกรรมประจำปี 2567 อาทิโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวรุ่นเยาว์ รุ่นที่ 8 และโครงการประกวด “รางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม ประจำปี 2567 ซึ่งมีการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกเพื่อนำไปพัฒนากิจกรรมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

 

ในครั้งนี้นางมนรัตน์ ก.บัวเกษร และ นายกันณพงศ์ ก.บัวเกษร ในฐานะผู้ก่อตั้ง สำนักข่าวนครเชียงรายนิวส์ เป็นตัวแทนสื่อภูมิภาคเข้าร่วม รวมถึงเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมครั้งนี้อีกด้วย

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดกิจกรรมสัมมนา “กระชับความสัมพันธ์ SONP” ระดมสมองทิศทางการดำเนินงานปี 67

 

เมื่อวันที่ 18-19 ก.พ. 2567 สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) จัดกิจกรรมสัมมนา “กระชับความสัมพันธ์ SONP” โดยมีกรรมการบริหาร ที่ปรึกษา และสมาชิก เข้าร่วมการสัมมนา ณ ห้องอิรวดี เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ

 

นายนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า “การสัมมนาครั้งนี้เป็นการเปิดพื้นที่ระดมสมอง รับฟังความคิดเห็นจากสมาชิก SONP เพื่อขับเคลื่อนสมาคมฯ ภายใต้การบริหารรูปแบบใหม่ เน้นสร้างการมีส่วนร่วม และตอบโจทย์ความต้องการของสมาชิก ยกระดับวงการสื่อมวลชนและสร้างประโยชน์ให้กับสังคม

 

ทั้งนี้ ในการสัมมนาดังกล่าว ประกอบด้วยกิจกรรมสันทนาการ ละลายพฤติกรรม  กระชับความสัมพันธ์ รวมทั้งการระดมสมอง โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.ด้านการสร้างมาตรฐานวิชาชีพ 2.ด้านพัฒนาเนื้อหา อาทิ โครงการหลักที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เช่น One Day Training แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกูรูออนไลน์ เป็นโครงการที่เน้นการพัฒนาทักษะ บุคลากรของสมาชิกให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี, โครงการอบรมผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ โครงการที่จะบ่มเพาะผู้ผลิตข่าวรุ่นใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพก่อนที่จะก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมอย่างมืออาชีพ, โครงการประกวดรางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม เวทีในการส่งเสริม สนับสนุน และให้กำลังใจสื่อมวลชนออนไลน์ ที่ให้ความสำคัญกับการผลิตข่าวออนไลน์ที่มีคุณภาพ ทั้งในเชิงลึกและสร้างสรรค์ สร้างแรงกระเพื่อม ส่งผลกระทบ กระตุ้น และส่งเสริมสังคมเชิงบวกมากขึ้น  และ 3. แนวทางการพัฒนาธุรกิจ เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจให้กับองค์กรสมาชิก มองหาแนวทาง และพันธมิตรในการการหารายได้ใหม่ ๆ ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างเป็นอย่างดี รวมทั้งได้รับข้อเสนอใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์

 

นายนันทสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ ต้องขอขอบพระคุณ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) และ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

SONP จัดอบรมเชิงปฏิบัติการระดับผู้บริหารองค์กรสื่อดิจิทัล

 

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องฟอร์จูน 3-4 ชั้น 3 โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพฯ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในโครงการความร่วมมือองค์กรสื่อขับเคลื่อนพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อเพื่อสร้างระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดให้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในระดับผู้บริหารองค์กรสื่อดิจิทัล สมาชิกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ SONP รวมทั้งนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน องค์กร หน่วยงานและบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารการตลาด ให้ความสนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์

 

โครงการ One Day Training แลกเปลี่ยน – เรียนรู้กับกูรูออนไลน์ ประจำปี 2566 ครั้งที่ 3 หัวข้อ “Navigating Change: Strategies for Survival of Online News Providers in the Evolving Media Landscape” ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะได้แลกเปลี่ยน ทำความเข้าใจแนวโน้มและความท้าทายในปัจจุบันของอุตสาหกรรมข่าวออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, สำรวจกลยุทธ์ที่เป็นนวัตกรรมสำหรับการสร้างและการเผยแพร่เนื้อหาในยุคดิจิทัล, สำรวจแหล่งรายได้ที่แตกต่างกันนอกเหนือจากการโฆษณาแบบเดิม ๆ แนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ผลิตข่าวออนไลน์
 
 
การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณ Chia Ting Ting, CEO of FG Media (Exclusive Business Arm for Malaysiakini Group) Experienced Leader Driving Commercial Success in Media Innovation มาเป็นวิทยการ
คุณ Chia Ting Ting กล่าวในเวทีสัมมนา โดยให้คำแนะนำว่า เทรนด์โลกตอนนี้เป็นเรื่องการแชร์ข่าวเข้าสู่แพลตฟอร์มส่วนตัว เช่น Line whatsapp คนรุ่นใหม่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มส่วนตัว ดังนั้นผู้ผลิตคอนเทนต์ต้องทำความเข้าใจตรงนี้ แม้แต่ข่าวสถานการณ์ทั่วไปหรือข่าวที่แชร์บนโซเชียลมีเดีย กลุ่มวัยรุ่นก็ยังแชร์เข้ามาในพื้นที่ส่วนตัวเพื่อถกเถียงหาข้อสรุปและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ผลกระทบของโซเซียลมีเดียกว้างมาก ฉะนั้นทำยังไงเราจะสร้างและกระจายตรงนี้ไปได้ ต้องเลือกรูปแบบของแพลตฟอร์มใหม่ และทำยังไงให้ข้อมูลเข้าถึงผู้ฟัง
 
 
“ยกตัวอย่าง ไลฟ์สไตล์ปัจจุบันคนทั่วไปมักจะใส่หูฟังตลอดเวลา ดังนั้นเราจะต้องทำยังไงให้คอนเทนต์หมาะสำหรับคนที่ฟังหูฟังตลอดเวลา หรือบางกลุ่มเบื่อการเมือง แต่สนใจเรื่องทำมาหากิน หรือสิ่งที่ตัวเองทำมากกว่า หรือออกกำลังกายแล้วสามารถฟังข่าวสารใกล้ตัวไปด้วย บางทีข่าวการเมืองหรือข่าวแย่ ๆ ทำให้คนเลิกอ่านข่าวไปเลย เพราะเบื่อข่าวซ้ำ ๆ ทั้งที่มาเลเซียและที่ไทยก็มีเหตุการณ์เหมือนกัน”
 
 
คุณ Chia Ting Ting แนะว่า ผู้ผลิตคอนเท้นท์ยุคนี้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงแต่ข่าวเดียวหรือข่าวซ้ำ ๆ ควรดู trending ในช่วงเวลานั้นว่าคนสนใจเรื่องอะไร เราก็ผลิตคอนเทนต์ที่เข้าถึงความสนใจ เช่น เรื่องความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม สังคม สิทธิมนุษยชน สิ่งที่น่าสนใจของคน การช่วยเหลือคน การอพยพของผู้คน มีเรื่องราวหลายอย่างเกี่ยวกับชีวิตของคน หรือการหลอกลวง scramble โดยการนำเสนอจะต้องทำให้เห็นว่าการใช้สื่อจะมีประโยชน์ต่อเขาอย่างไร การนำเสนอเรื่องการหลอกลวงต่าง ๆ เพื่อให้เขาสามารถป้องกันตัวได้อย่างไร ไม่ใช่มีเพียงแต่ข่าวการเมือง ข่าวรายวันเท่านั้น
 
 
นอกจากนั้น คุณ Chia Ting Ting ยังพูดถึงโมเดลการสร้างรายได้บนคอนเทนต์ออนไลน์ด้วยรูปแบบของการบอกรับสมาชิก (Subscription) ว่า เราต้องหาทางให้ได้ว่าทำยังไงให้เขายอมจ่าย จะให้คนจ่ายเขาต้องรู้ว่าจะได้ข่าวพิเศษอย่างไร สิ่งสำคัญต้องรู้ว่ามีสิทธิพิเศษอะไรให้ผู้สมัครบ้าง และเราจะมีส่วนร่วมกับข่าวหรือคอนเทนต์ ของเราได้อย่างไร
“เราต้องแยกให้ออกระหว่าง คนดูทั่วไป กับคนที่สมัครสมาชิก คนสมัครเขาย่อมต้องการอะไรที่มากกว่าคนเสพข่าว เขาไม่ได้แค่ต้องการเสพข่าวเขาต้องการ ดีเบต การโต้วาที มีปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ เขาถึงจะเห็นว่าคุ้มค่าในการเข้ามาตามเรา ต้องดึงดูดให้เขามามีส่วนร่วม”
 
 
เรื่องของเทรนด์คอนเท้นท์ในปี 2024 คุณ Chia Ting Ting เชื่อว่าเราจะหนีไม่พ้น AI อย่างแน่นอน ในฐานะผู้ผลิตข่าว ในที่สุดแล้ว เทคโนโลยียังไงก็ต้องมีเข้ามาในงานของเรา ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำมาประยุกต์ใช้ยังไง ไม่ใช่แค่มารอแต่ Traffic คนเข้ามาดูเยอะ ๆ อย่างเดียว เราต้องเตรียมตัวให้มาก ต้องดูว่าเราเตรียมตัวแค่ไหนในการรับมือแต่เราต้องตระหนักว่าจะนำมาใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคอนเท้นท์นั้น ๆ ได้อย่างไร
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

SONP จับมือ MarTech เสริมแกร่งทักษะสื่อยุคดิจิทัล One Day Training ครั้งที่ 2

 

เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2566  ณ ห้องแมนดาริน ซี ชั้น 1 โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในโครงการความร่วมมือองค์กรสื่อขับเคลื่อนพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อเพื่อสร้างระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดให้มีการฝึกอบรม One Day Training แลกเปลี่ยน – เรียนรู้กับกูรูออนไลน์ ประจำปี 2566 ครั้งที่ 2  หัวข้อ “ความสำคัญของ MarTech กับอุตสาหกรรมสื่อดิจิทัล ในยุค Digital Era” โดยได้รับความร่วมมือจากสมาคมเทคโนโลยีเพื่อการตลาด (MerTech)  ในการจัดอบรมในครั้งนี้ วัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาทักษะให้แก่บุคลากรด้านการผลิตข่าว การตลาด รวมทั้งการสร้างรายได้ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อในยุคดิจิทัล มีสมาชิกผู้เข้าอบรม จำนวน 58 ท่าน

การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณชุตินธรา วัฒนกุล ที่ปรึกษาสมาคมฯ และบรรณาธิการบริหารข่าวออนไลน์ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) กล่าวต้อนรับวิทยากร และผู้เข้ารับการอบรม

 

          คุณชุตินธรา กล่าวว่า “ในยุคที่เทคโนโลยีสื่อสารเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เรามีข้อมูลขนาดมหาศาลที่เรียกว่า Big Data เกิดขึ้น การตลาดดิจิทัลก็พัฒนาไปอย่างรวดเร็วแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีเครื่องมือมากมายเลยสำหรับการทำการตลาด สามารถจะเอามาใช้ในการวิเคราะห์ในการวางกลยุทธ์ เราจะนำคอนเท้นท์ไปถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างไร จะหากลุ่มเป้าหมาย อย่างไร และจะนำเสนอผ่านแพลตฟอร์มอะไร เราจะปรับปรุงพัฒนาตัวคอนเท้นท์ของเราให้มีประสิทธิภาพอย่างไร เครื่องมือการตลาดสามารถช่วยตอบคำถามเหล่านี้ได้ หวังว่าความรู้และทักษะที่ผู้อบรมจะได้รับจากผู้บรรยาย จะสามารถที่นำไปประยุกต์ พัฒนา ปรับปรุงเนื้อหาของเราให้มีคุณภาพ วางแผนกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นพร้อมรับมือ AI ที่กำลังจะมา”

 

            ด้าน คุณนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า “นับว่าเป็นโอกาสดีที่ผู้บริหารคนรุ่นใหม่กลุ่ม Start up ในสมาคมเทคโนโลยีเพื่อการตลาดได้มาแชร์ความรู้ ประสบการณ์ทำงาน ในด้าน MerTech เพื่อตอบคำถามของสื่อมวลชนว่า เป้าหมายการทำงานต่อจากนี้จะเป็นไปในทิศทางไหน แกนหนึ่งที่สำคัญคือ  “เรื่องของข้อมูล” เป็นสิ่งสำคัญในยุคนี้อย่างยิ่ง สามารถไปต่อยอดในด้านกลยุทธ์หรือการขายก็ได้  เช่น  ข้อมูลของเพจ “ส่องสื่อ” ที่รวมรวม Engagementโดยจัดเรียงอันดับ ทำให้เราเห็น ความสัมพันธ์ของจำนวนการโพสต์ กับจำนวนผู้ติดตามในแต่ละเพจอย่างชัดเจน ” 

 

         การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณจิตติพงศ์ เลิศประดิษฐ์ นายกสมาคมเทคโนโลยีเพื่อการตลาด หรือ MarTech มาบรรยายถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีด้านการตลาดมาช่วยในการปรับปรุง หรือ สร้างวิธีการทำงานแบบใหม่ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด  “MarTech คือ เครื่องมือที่ทำให้การทำการตลาดยุคใหม่ไม่ต้องใช้วิธี Manual เราสามารถทำแบบ Automation ได้ ซึ่ง MarTech มาจากการความก้าวหน้าของการใช้  Software ที่อยู่บนคลาวด์ SAAS (Software AS A Services)  ใช้ประโยชน์ได้มากมาย อาทิเช่น การเก็บข้อมูลจาก Social การช่วยตัดสินใจในธุรกิจ (Data Driven Business) ช่วยในการเก็บข้อมูลลูกค้า การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) การทำการตลาดอัตโนมัติ (Marketing Automation)”

 

          คุณกล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Wisesight ให้มุมมองเรื่องการทำงานที่ท้าทายในปัจจุบัน Trend ของ Social media ไม่ได้หยุดแค่ Social Media  เพราะบริบทของ Social Media หมายถึง ผู้บริโภคทั้งหมด What Next 2024 มาดูกันว่า ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และคอนเท้นท์บน Social media มีการปรับเปลี่ยนไปอย่างไร บริบทของสังคมในภาพใหญ่ ปรับเปลี่ยนอย่างไร เพื่อให้เราสามารถวางแผนกลยุทธ์ หรือวาง Tactic ได้ว่าในปี 2024  เราควรจะปรับตัวเรื่องอะไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงในเชิงปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI Disruption ถ้าใครปรับตัวใช้งานปัญญาประดิษฐ์ได้ก่อน ก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในปี 2024 ค่อนข้างมาก “ในอนาคต งานจะเหมือนเดิม แต่วิธีการทำงานจะเปลี่ยน ถ้าเราทำเหมือนเดิม เราจะตกยุค”

 

          คุณณัฐกรณ์ รัตนชัยสิทธิ์  ผู้บริหารและหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท พรีดิกทีฟ  (Predictive) ผู้ให้บริการด้าน Data Intelligent กล่าวถึง “การนำเครื่องมือ เทคโนโลยีการตลาดมาใช้ ทั้งในด้าน กระบวนการ วิธีคิด และกลยุทธ์ ในฐานะสื่อจะสามารถสร้างรายได้มากขึ้นจากการใช้ข้อมูล ไม่ว่าจากการวิเคราะห์ Segmentation ต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เข้ามาบนเว็บไซต์ ว่าเขาต้องการอะไรบ้าง ทั้งในแกนของ นักการตลาดและแกนของผู้ใช้งาน  พวกเขามีความคาดหวังอย่างไรบ้าง เราสามารถนำข้อมูล มาสร้างมูลค่าเพิ่มในการหารายได้อย่างไร ซึ่งกระบวนการคิดจะเริ่มจาก ต้องรู้ว่าปัจจุบันข้อมูลที่มีอยู่ในองค์กร ที่จัดเก็บมาเป็นสิบๆ ปีมีตรงไหนบ้าง นำมาสร้างมูลค่าให้เราได้ การนำข้อมูลไปสร้างธุรกิจใหม่ๆ หรือสามารถ Monetized เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกิดขึ้น เช่น การทำ CPM ถ้าเรานำข้อมูลมาวิเคราะห์แยกแยะประเภทของข้อมูลให้ละเอียดมากขึ้น เราก็จะอาจจะขายได้ในมูลค่าที่มากกว่าเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เราวางกลยุทธ์ไว้ สามารถนำไปสร้างรายได้อย่างไรบ้าง ข้อมูลไม่ได้มาฟรี ๆ คุณต้องลงทุนเพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและพฤติกรรมของลูกค้า ”

 

          คุณภาวัต พุฒิดาวัฒน์  ผู้บริหาร บริษัท โกเซล  (Gosell) สตาร์ทอัพผู้ให้บริการด้าน ระบบจัดการคำสั่งซื้อและการจัดส่งสินค้าออนไลน์ กล่าวถึงการทำการตลาด  Ecommerce & Affiliated Marketing ว่า สื่อทุกค่ายมี Follower หรือผู้ติดตามจำนวนมากอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยังขาดไปคือ การเพิ่มช่องทางการขาย เช่นการทำ Affiliate การเพิ่มรายได้จากฝั่ง E commerce นำไปปรับใช้กับธุรกิจสามารถสร้างรายได้ให้เติบโตมากขึ้น และแพลตฟอร์มที่น่าสนใจที่สุดในเวลานี้คือ TikTok ที่ Disruption วิธีการขาย Affiliate แบบเก่า กลายมาเป็นรูปแบบของคลิปวีดีโอ ซึ่งสามารถสร้างรายได้เป็นจำนวนมากให้กับกลุ่ม Influencer

 

          คุณชนกานต์ ชินชัชวาล ผู้บริหาร บริษัท Robolingo (ZWIZ.AI) ผู้ให้บริการระบบ AI Chat Bot และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก บรรยายในหัวข้อ “ Social Commerce” แนะการหารายได้ บนช่องทาง Social Media เช่น Facebook  Line, IG, TikTok และ การนำ Automation Tool  มาช่วยในการขาย เช่น ออกรายการทีวีแล้วปิดการขายผ่าน Line ผ่าน Chat Facebook มีตัวช่วยเยอะมาก ถ้าสื่อบวกกับ MarTech ในเชิงการใช้เครื่องมือต่าง ๆ จะช่วย Brand และผู้ประกอบการ เรื่องยอดขายได้มากขึ้น เพิ่ม Reach การเข้าถึงได้มากขึ้น การออกแบบโครงสร้าง Chatbot ให้ดี ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และนำไปสู่การเพิ่มยอดขายได้

 

          คุณอัจฉริยะ ดาโรจน์ ผู้บริหารบริษัท AIYA บรรยายในหัวข้อ Proximity Marketing หรือการทำการตลาดแบบใกล้ชิด โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น  การทำ Location base Marketing ใน Line Application เป็นการตลาดที่น่าสนใจ มุ่งเน้นไปที่การเจาะกลุ่มลูกค้าตามโลเคชั่นเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง สามารถวัดสถิติได้ เป็นการสื่อสารที่ไม่มีค่าใช้จ่าย และสามารถสร้างผู้ติดตามใน Line

กล่าวโดยสรุป การใช้เทคโนโลยีในการทำการตลาดยุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจ มีความสำคัญต่อการปรับตัวขององค์กรสื่อ เพื่อมองหาโอกาสในการหารายได้เพิ่ม และเรียนรู้เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงเนื้อหา เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เล็งเห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการพัฒนาบุคคลากรองค์กรสื่อให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น และโครงการ One Day Training เป็นหนึ่งในโครงการที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพดังกล่าวให้เกิดขึ้น

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

SONP ร่วมกับกองทุนสื่อฯ เชิญ Tellscore เสริมทักษะยุคดิจิทัล

 

 เมื่อวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566 สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดโครงการฝึกอบรม One Day Training แลกเปลี่ยน – เรียนรู้กับกูรูออนไลน์ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ Digital Journalism in the context of Influencer Economy Business Model & Monetization เพื่อเสริมสร้างพัฒนาทักษะให้แก่บุคลากรด้านงานข่าวให้สอดคล้องกับการปรับตัวขององค์กรสื่อบนความเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อในยุคดิจิทัล โดยเชิญ Tellscore เอเจนซี่ ด้าน Influencer marketing ครบวงจร มาร่วมแลกเปลี่ยนให้ความรู้ในการอบรมครั้งนี้

คุณนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้ถูกจัดขึ้นทั้งหมด 4 ครั้งในหัวข้อที่แตกต่างกันไป โดยสมาคมมุ่งหวังเพื่อพัฒนาทักษะ และยกระดับให้สมาชิกผู้ผลิตข่าวออนไลน์ได้รับความรู้ใหม่ในยุคดิจิทัล และสามารถนำไปปรับใช้ได้ทันกับเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่มีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว รวมถึงให้สมาชิกพัฒนาบุคลากรขององค์กรจนเองในการสร้างเนื้อหาการายงานข่าวที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ด้าน คุณสุวิตา จรัญวงศ์ CEO & CO – Founder, Tellscore ร่วมบรรยายในหัวข้อ Current & Trend Influencer Economy and The New Age Journalism โดยระบุว่า สื่อในยุคดิจิทัลต้องรับมือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่ได้มีเพียงการรับมือกับแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา แต่ยังต้องแข่งขันกับ Influencer ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในมุมธุรกิจที่บางแบรนด์สินค้าหันมาใช้บริการ Influencer ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชนหรือ Influencer ยังมีความท้าทายเดียวกันคือการสร้างคอนเทนต์อย่างสร้างสรรค์ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำสื่อยุคดิจิทัล

“การผลิตคอนเทนต์ที่แข็งแรงยังเป็นหัวใจสำคัญในการทำสื่ออย่างยั่งยืน และอยากให้มองแพลตฟอร์มเป็นเพียงภาชนะใส่คอนเทนต์เท่านั้น ในอนาคตยังมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นการเล่าเรื่องที่ดียังเป็นสิ่งสำคัญที่สุด” คุณสุวิตา กล่าว

ขณะที่ คุณอัยยา ตันติเสรีรัตน์ Head of Partnership & Co – Managing Director, Tellscore บรรยายในหัวข้อ Opportunity in Digital Journalism The Rise of Content Creator Economy โดยระบุตอนหนึ่งว่า พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนไป ทำให้ Influencer มีบทบาทสำคัญมากขึ้น เช่น สร้างความเชื่อมั่นและเชื่อถือให้กับผู้สนใจมากกว่าแบรนด์พูดเอง , เล่าเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายทำให้เข้าถึงผู้คนได้ง่าย และรวมกลุ่มคนให้เกิดเป็นชุมชนการสื่อสาร ซึ่งทำให้เกิดอิทธิพลมากขึ้น

โดยปัจจุบันมีคำกล่าวว่า ใครๆ ก็สามารถเป็น Influencer ได้ แต่สื่อมวลชนและองค์กรสื่อถือว่ามีข้อได้เปรียบกว่าคนอื่น โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว การกลั่นกรองข้อมูล เพื่อนำเสนอแต่ข้อเท็จจริง และยังมีความน่าเชื่อถือภายใต้กรอบจรรยาบรรณทางวิชาชีพ นอกจากนี้ยังหวังว่าในอนาคตจะเห็นสื่อมวลชนในยุคดิจิทัลจะรับมือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นในฐานะ Content Creator หรือ Influencer ก็ตาม

นอกจากนี้ในการฝึกอบรมยังได้รับเกียรติจาก คุณพิชิตชัย โพธิ์ศิริ หรือ เบลล์ Influencer แพลตฟอร์ม Tiktok เจ้าของช่อง @somethingjingglebell มาร่วมแชร์ความรู้ เทคนิคการเล่าเรื่องผ่านคลิปวิดีโอสั้นให้น่าสนใจ

คุณพิชิตชัย กล่าวว่า ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำคลิปวิดีโอได้ง่ายมากขึ้น และปฏิเสธไม่ได้ว่าคลิปแนวตั้ง ยังคงเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจในเวลานี้ และคาดว่าจะยังได้รับคาวมนิยมต่อเนื่องในปีหน้า

ทั้งนี้มี 3 แนวคิดสำคัญที่จะทำให้การผลิตคลิปวิดีโอมีประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบด้วย 1.มนุษย์ชอบรู้เรื่องของมนุษย์เป็นแนวคิดที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกคอนเทนต์ได้เป็นอย่างดี 2.คำนึงถึงความยาวของคลิป ต้องไม่สั้นหรือยาวเกินไป และ 3.สร้างเนื้อหาที่ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกันของผู้ชม เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้คอนเทนต์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News