Categories
AROUND CHIANG RAI SPORT

Chiang Rai Sport City Fight 2024 ดันเชียงรายเป็นเมืองกีฬาอย่างเต็มตัว

 

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2567 การกีฬาแห่งประเทศไทยจัดกิจกรรม “Chiang Rai Sport City Fight 2024” ณ ลานกาสะลอง ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลในการผลักดันมวยไทยให้เป็น Soft Power โดยมี นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในการเปิดกิจกรรม และกล่าวแสดงความยินดีที่ได้เห็นความพร้อมเพรียงของชาวเชียงรายที่เข้าร่วมส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมกีฬาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย

นางอุบลรัตน์ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมแข่งขันมวยไทยในครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันมวยไทยให้เป็นหนึ่งใน Soft Power ที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในระดับสากล รวมถึงเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยผ่านกีฬามวยไทย และเปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนได้มีทัศนคติที่ดีต่อกีฬามวยไทย พร้อมทั้งสร้างสังคมมวยไทยที่เข้มแข็ง

นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงราย โดยการจัดการแข่งขัน “Chiang Rai Sport City Fight 2024” เป็นความร่วมมือของสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงราย, สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเชียงราย, จังหวัดเชียงราย และศูนย์การค้าเซ็นทรัลเชียงราย

สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ มีนักมวยจากสังเวียนดังทั้ง 8 จังหวัดภาคเหนือเข้าร่วมชิงชัยใน 14 คู่ อาทิ

  • น้ำหวาน ส.คงกระพันธ์ (เชียงราย) พบกับ บ่าวบาย บัญชาเมฆ (เชียงใหม่)
  • เพชรโพธิ์ทอง โบว์เมืองบาน (เชียงราย) พบกับ ฉายตะวัน บุญลานามวยไทย (เชียงใหม่)
  • ยอดธง ยอดทัพเชียงราย (พะเยา) พบกับ ไผ่เงิน เกียรติ สปป (ลำปาง)

การแข่งขันในครั้งนี้ยังมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬามวยไทยให้มีคุณภาพสูงสุด เพื่อยกระดับการแข่งขันสู่ระดับนานาชาติ รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ในกีฬามวยไทย และส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อกีฬามวยไทยในชุมชน โดยหวังว่าการแข่งขันครั้งนี้จะทำให้เชียงรายกลายเป็นเมืองกีฬา (Sport City) ตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมผลักดันเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงกีฬาแบบยั่งยืน

จุดประสงค์ของการจัดการแข่งขัน:
  • สร้างทัศนคติที่ดีต่อกีฬามวยไทยในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
  • ผลักดันมวยไทยให้เป็น Soft Power เพื่อสร้างชื่อเสียงในระดับนานาชาติ
  • ฟื้นฟูเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย และกระตุ้นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
  • พัฒนาศักยภาพของนักกีฬามวยไทยให้ก้าวสู่การแข่งขันระดับสากล

การแข่งขันชกมวยไทยรายการนี้ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการยกระดับเชียงรายสู่การเป็นเมืองกีฬาที่มีศักยภาพสูง และยังคงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการกีฬาระดับประเทศ

นางอุบลรัตน์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า การแข่งขันนี้จะไม่เพียงแค่เป็นการสร้างความบันเทิงและสนับสนุนความนิยมในกีฬามวยไทย แต่ยังแสดงถึงศักยภาพของชาวเชียงรายในการส่งเสริมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจได้อย่างสมบูรณ์แบบ

การแข่งขันจะมีขึ้นตลอดช่วงเทศกาลท่องเที่ยวของเชียงราย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจองห้องพัก การใช้จ่าย และการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอีกด้วย

การแข่งขันชกมวยไทยครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้มาตรการความปลอดภัย:
  • มีการคัดกรองนักกีฬาและผู้เข้าชมตามมาตรฐานการจัดงานระดับสากล
  • เน้นการสร้างความปลอดภัยในทุกมิติ ทั้งด้านสุขภาพและการรักษาความปลอดภัยในสถานที่จัดการแข่งขัน

ทั้งนี้ ผู้จัดหวังว่า การจัดงานในครั้งนี้จะทำให้ประชาชนในจังหวัดเชียงรายและนักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่ดี พร้อมเปิดโอกาสให้มวยไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรม:
  • จัดขึ้น ณ ลานกาสะลอง ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2567
  • เปิดให้เข้าชมฟรีเพื่อกระตุ้นการเข้าร่วมกิจกรรมจากชาวเชียงรายและนักท่องเที่ยว

กิจกรรมนี้จะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเชียงรายให้ก้าวสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านกีฬาอย่างแท้จริง

หวังว่าการแข่งขันนี้จะช่วยส่งเสริมให้เชียงรายกลายเป็นหนึ่งใน Sport City ของประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบในอนาคตอันใกล้นี้

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
FEATURED NEWS

วช.ปักธง Soft Power หนุนตั้งฮับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร

 

รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร เปิดเผยว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เปิดตัวโครงการ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร (Hub of Talent Gastronomy Tourism) ในงาน อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. มุ่งใช้ “อาหารเป็นตัวช่วยสร้างการท่องเที่ยวระดับท้องถิ่น”

ทั้งนี้ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการลิ้มลองอาหารเท่านั้น แต่เป็นการเดินทางเพื่อสัมผัสประสบการณ์ทางด้านอาหารในแต่ละพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ความบันเทิงและสันทนาการ ทั้งการรับประทานอาหาร เยี่ยมชมสถานที่ทำอาหาร เทศกาลอาหาร ตลาด งานแสดงและสาธิตการทำอาหาร หรือกิจกรรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับอาหาร ที่ครอบคลุมไปถึงการผลิต ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เยี่ยมชมแหล่งผลิตแบบพื้นถิ่น การเลือกสรรวัตถุดิบจากแปลงเกษตรต่าง ๆ การปรุงอาหาร ซึ่งนำเสนอผ่านรูปแบบของครัวเปิด หรือการให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปรุงอาหารไปจนถึงขั้นหลังการบริโภค ซึ่งต่อยอดไปสู่การผลิตสินค้าที่ระลึกเพิ่มมูลค่า ตลอดจนการจัดการเศษอาหารเหลือทิ้งด้วยวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารตลอดห่วงโซ่นี้ จะเป็นโอกาสอันดีให้นักท่องเที่ยวได้เติมเต็มประสบการณ์ เก็บเกี่ยว วัฒนธรรมท้องถิ่น และสัมผัสกิจกรรมท่องเที่ยวอันหลากหลายที่เกี่ยวเนื่องมาจากอาหาร ซึ่งสอดแทรกประโยชน์ให้เกิดกับสังคมเศรษฐกิจของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแต่ละภูมิภาค โดยมี 4 เสาหลักเป็นองค์ประกอบ คือ การผลิตอาหารและการเกษตร เรื่องเล่าอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยมีความโดดเด่นและเอกลักษณ์ของอาหารไทยอันเกิดจากรากเหง้าของความเป็นเมืองพหุวัฒนธรรม ผสมผสานการใช้เครื่องเทศ วัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต การประยุกต์อาหารจากหลายชาติให้เข้ากับวัตถุดิบในท้องถิ่นไทย ผนวกกับการคิดค้นกรรมวิธีการปรุง ความประณีตในการจัดตกแต่งอาหาร งานแกะสลักที่เริ่มมีลักษณะเฉพาะในราชสกุลของกลุ่มชนชั้นสูงตามวังของขุนนางต่าง ๆ ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นและตอนกลาง จึงทำให้อาหารไทยในปัจจุบันมีความหลากหลาย รสชาติกลมกล่อม และมีรูปร่างหน้าตาอาหารที่ดูน่ารับประทาน ที่สามารถนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจภาคธุรกิจอาหารและการท่องเที่ยว ตามนโยบายของรัฐบาลในการใช้ “วัฒนธรรมอาหารไทย” เป็นกลไกให้เกิด Soft Power  บนพื้นฐานของทุนมนุษย์ที่เข้มแข็งยอมเป็นส่วนสำคัญต่อการแข่งขันกับตลาดโลก

“การจัดตั้งศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญในครั้งนี้จึงมีส่วนสำคัญในการนำองค์ความรู้เชิงวิชาการ ศักยภาพของนักวิทยาศาสตร์การอาหาร นักวิชาการการท่องเที่ยวและแขนงอื่น ๆ มาช่วยเพิ่มศักยภาพและเสริมความเข้มแข็งตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมศาสตร์ด้านอาหารและการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาสังคมและประเทศอย่างยั่งยืน” รศ. ดร.พรรณีระบุ

ทั้งนี้ กิจกรรมหนึ่งที่สำคัญในงาน อว.แฟร์ คือ การฝึกอบรมและการทดสอบ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา ผู้จัดการสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร รวมถึงสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ที่ร่วมเปิดการทดสอบแก่ผู้สัมผัสอาหาร เพื่อขึ้นทะเบียนผ่านการอบรมหลักสูตรสำหรับผู้ประกอบกิจการตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร โดยผู้ผ่านเกณฑ์จะได้รับหนังสือรับรองผู้สัมผัสอาหารเป็นเครื่องยืนยันถึงความเชี่ยวชาญและมาตรฐานของบุคลากรในการให้บริการอาหาร ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในการยกระดับความเชี่ยวชาญของบุคลากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารสู่มาตรฐานสากล และส่งเสริมการสร้าง Soft Power ด้านอาหารไทยที่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SPORT

The ICONiC Run Fest Thailand เดิน วิ่ง กินเที่ยว เพื่อสุขภาพ

 

เมื่อวันที่  29 มิ.ย. 2567 ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังเก่า อ.เมือง จ.เชียงราย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (องค์การมหาชน) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมการค้าผู้จัดกีฬามวลชน สมาพันธ์เดินวิ่งเพื่อสุขภาพไทย สมาคมการค้าส่งเสริมการจัดมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย และภาคีเครือข่าย จ.เชียงราย จัดเทศกาลงานวิ่ง The ICONiC Run Fest Thailand Series ChiangRai 2024 กิจกรรม เดิน วิ่ง กิน เที่ยว เพื่อสุขภาพ ภายใต้แนวคิด รวมพลังสร้างสุขภาพดี เศรษฐกิจดี สร้างเมืองสู่ความยั่งยืน ต้นแบบกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับประเทศ ปลูกฝังค่านิยมลดพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ (NCDs) และส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้กับชุมชน

 

โดยมี นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย ว่าที่ ร.ต. ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลล์ ผู้จัดการกองทุน สสส. หัวหน้าส่วนราชการ สื่อมวลชน ประชาชน เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

 

 

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ประธานเปิดกิจกรรม กล่าวว่า The ICONiC Run Fest Thailand Series ChiangRai 2024 ถือเป็นมิติใหม่ในการบูรณาการแนวคิดทั้งการเดินวิ่ง และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเชิงเศรษฐกิจ นอกจากช่วยสร้างกระแสส่งเสริม สุขภาพ เพิ่มอัตราการมีกิจกรรมทางกาย ส่งต่อองค์ความรู้การบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ ยังทำให้เกิดประโยชน์กับ จ.เชียงราย โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว จ.เชียงราย เป็น 1 ในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญและเป็นที่นิยมของคนไทยและนานาชาติ ทำให้มีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานกว่า 2,000 คนในเวลาที่รวดเร็วคาดการณ์ว่าจะมีเงินสะพัดหลายล้านบาท ซึ่งความสำเร็จการจัดงานครั้งนี้ มาจากการสานพลังความร่วมมือ ทั้งจากหน่วยงานระดับท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม โดยเฉพาะคนในชุมชน ช่วยยกระดับ จ.เชียงราย เป็นต้นแบบสร้างเสริมสุขภาพจุดประกายให้เกิดการงานเทศกาลเดินวิ่ง กิน เที่ยว เพื่อสุขภาพใน พื้นที่อื่นๆ และส่งต่อความสำคัญขยายผลไปในระดับประเทศ ถือเป็นก้าวสำคัญสู่เป้าหมายการจัดทำ “แผน ยุทธศาสตร์จังหวัดในการสร้างเศรษฐกิจชุมชนจากการสร้างงานเทศกาลแบบบั่งยืน” ต่อไป

 

 

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลล์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส. มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเด็นสุขภาพให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีทุกมิติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่เพียงพอกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 Actives 1.Active People ส่งเสริมให้คนกระฉับกระเฉง 2.Active Environment ส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อกิจกรรมทางกาย และ 3.Active Society สร้างค่านิยมให้สังคมกระฉับกระเฉง ผ่านนวัตกรรม องค์ความรู้ งานวิชาการ จากรายงานสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2566 โดยศูนย์พัฒนาความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย พบว่า โควิด-19 ทำให้อัตราการมีกิจกรรมทางกายลดลงจาก 74.6% ในปี 2562 เหลือ 54.3% ในปี 2563 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 62.0% ในปี 2565 และ 68.1% ในปี 2566 

 

ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างแนวทางและโอกาสเพิ่ม อัตราของกิจกรรมทางกายในรูปแบบเทศกาล รวมถึงเป็นพื้นที่ต้นแบบสร้างมาตรฐานและขยายผลสู่การพัฒนา คู่มือการจัดงานในรูปแบบของเทศกาลสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ลดความเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต

 

 

งาน “The ICONiC Run Fest Thailand Series 2024 ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมโอกาสสร้างรายได้เชิงเศรษฐกิจท่องเที่ยวจากการมีส่วนร่วมของชุมชน ประเดิมสนามแรกที่ จ.เชียงราย สนามต่อไปที่จ.สุโขทัย วันที่ 24-25 ส.ค. 2567 จ.นครราชสีมา วันที่ 7-8 ก.ย. 2567 จ.มุกดาหาร วันที่ 5-6 ต.ค. และจ.นครศรีธรรมราช วันที่ 26-27 ต.ค. 2567 มีเส้นทางการวิ่งระยะทาง 10 กม. และ 5 กม. เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วม 2,000 คน ต่อจังหวัด โดยนักวิ่งจะได้รับเสื้อ BIB และเหรียญที่สะท้อนอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดเป็นของที่ระลึกสามารถสมัครร่วมกิจกรรมได้ที่ http://thaift ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ theiconicrunfest” ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว

 

 

ด้าน ว่าที่ ร.ต. ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นการนำเสนอศิลปวัฒนธรรมของ จ.เชียงราย ในรูปแบบตลาดนัด Healthy Community ที่รวบรวมผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกเพื่อสุขภาพ หมอนใบชา ข้าวอินทรีย์ นมงาขาว ผักและผลไม้ปลอดสาร ซึ่งภายในงานมีการสาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพในท้องถิ่น “อ๊อกปลานิลสมุนไพร” และ “แกงแคไก่” ที่มีผักและสมุนไพรไฟเบอร์สูง ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีปริมาณไขมันต่ำ ช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงเส้นทางวิ่งที่ผ่านสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่สักการะ สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีตอกย้ำความเป็นเมืองสุขภาวะ (Wellness City) ช่วยเปิดโอกาสเสริมสร้างเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว และเป็นประโยชน์ต่อ ชุมชนในทุกด้านอย่างมหาศาล

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SPORT

นายก นก” ยกมวยไทย Soft Power สามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจมหาศาล

 
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน 2567 เวลา 19.30 น. นายก นก อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย เป็นประธานเปิดโครงการกีฬาและนันทนาการประชาชน จ.เชียงราย กิจกรรมที่ 25 การแข่งขันกีฬามวยไทย อบจ.เชียงราย ไฟท์ จากรากหญ้าสู่สากล ณ สนามมวยชั่วคราว สนามกีฬากลาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย พร้อมด้วย นายญาณาฤทธิ์ หนสมสุข รองปลัด อบจ.เชียงราย นายปภาณ นัยติ๊บ รองประธานสภา อบจ.เชียงราย
 
 
โดยมีนางสาวมินทิรา ภดาประสงค์ นายอำเภอเวียงเชียงรุ้ง เป็นผู้กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย นายศรีวรรณ์ วงศ์จินา นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน จ.เชียงราย นายสมภพ ทิศอุ่น นายก อบต.ทุ่งก่อ นายสมควร นัยติ๊บ นายก อบต.ป่าซาง นายสงกรานต์ โสภามา นายก อบต.ดงมหาวัน นางสาวเบญจพร หากันต์ ปลัด อบต.ทุ่งก่อ น้องโน้ต อดิเรก เรือนปิน Miss LGBT Thailand 2024 และมีนายณรงค์ศักดิ์ ขันทะ หัวหน้าฝ่ายการกีฬา กองการท่องเที่ยวและกีฬา อบจ.เชียงราย ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการฯ ในครั้งนี้ด้วย
 
 
อบจ.เชียงราย และ อ.เวียงเชียงรุ้ง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาชน มีสุขภาพดี ให้ทุกภาคมีส่วนร่วมบูรณาการ ทุกภาคส่วน สร้างกระบวนการเรียนรู้เน้นการมีส่วนร่วม สื่อสาธารณะ สร้างความสามัคคีและความเข้มแข็งทางจิตใจ จึงได้ส่งเสริม กีฬามวยไทย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
 
 
เป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยมไปทั่วโลก และเพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการเผยแพร่กีฬามวยไทยให้มีความนิยมมากยิ่งขึ้น ผ่านโครงการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยสู่ต่างประเทศตามนโยบายของรัฐที่จะส่งเสริม Sofe Power พร้อมเร่งผลักดันให้กีฬามวยไทยได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งชนิดกีฬา ในการแข่งขันในมหกรรม กีฬาโอลิมปิกเกมส์ ปี 2032 ณ เมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย เพื่อเป็นการพัฒนา ศักยภาพช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมกีฬามวยไทยในระดับนานาชาติอย่างครบวงจร ภายในงานมี กิจกรรมสุดพิเศษ เช่น การประกวด Miss สงกรานต์ เวียงเชียงรุ้ง รำวงย้อนยุค การแสดงดนตรี และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
EDITORIAL

โอกาสและการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านอุตสาหกรรมบันเทิงไทย

ประเด็นสำคัญ

ที่ผ่านมา ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ถูกกล่าวถึงในฐานะของหนึ่งในเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย แต่กลไกสำคัญในกระบวนการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ ไม่ใช่แค่การกำหนดนโยบายที่เหมาะสมเท่านั้น แต่ต้องมีกลไกที่ผสานกันระหว่าง ‘ความคิดสร้างสรรค์’ และ ‘เทคโนโลยี’ จึงจะสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้พัฒนาทั้งรายได้และคุณภาพชีวิตของผู้คน ที่ทำให้ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยไปสู่ระดับโลกได้อย่างแท้จริง

ทำไมต้อง ‘Soft Power’ ?

ศาสตราจารย์โจเซฟ ไนย์ (Joseph S. Nye) อาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ได้อธิบายคำว่า ‘Soft Power’ ไว้ว่า ‘การทูตสาธารณะ (Public Diplomacy)’ คือเครื่องมือที่สำคัญในการส่งเสริมการใช้อำนาจการโน้มน้าวใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยเครื่องมือหลัก ได้แก่ ภาพยนตร์ สิ่งพิมพ์ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม วิทยุ และโทรทัศน์

คำนี้เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ในช่วงยุคสงครามเย็นและหลังสงครามเย็น ในฐานะกลยุทธ์ทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย โดยมีทั้งการใช้กำลังทหารหรือเรียกว่าฮาร์ดพาวเวอร์ (Hard Power) และมีการสร้างอิทธิพลเพื่อให้ประเทศอื่น ๆ ยอมทำในสิ่งที่ต้องการโดยยินยอมพร้อมใจ อย่างซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ควบคู่กันมานับตั้งแต่นั้น

ปัจจุบันซอฟต์พาวเวอร์ถูกนำมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ ในประเทศไทยซอฟต์พาวเวอร์ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในระดับประเทศ เช่นในช่วงที่ผ่านมาถูกกล่าวถึงในฐานะนโยบายสำคัญที่รัฐบาลจะผลักดัน ‘1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์’

โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางทางรวมเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ซอฟต์เพาเวอร์ของประเทศอีกด้วย

ซอฟต์พาวเวอร์ที่ขาดหายในประเทศไทย

แม้ประเทศไทยจะมีศักยภาพในด้านซอฟต์พาวเวอร์หลายด้านเป็นต้นทุนเดิม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่ควรจะเป็น ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายมิติ

1) สังคมไทยยังขาดความเข้าใจในเรื่องซอฟต์พาวเวอร์

2) การถูกนำไปผูกโยงกับการเมือง

และ 3) ขาดการบูรณาการและวางแผนระยะยาว

 

Soft Power ที่โซเชียลมีเดียกล่าวถึง
การจัดอันดับ Global Soft Power Index

จากการจัดอันดับ Global Soft Power Index ประจำปี 2566 ในด้านวัฒนธรรมและมรดก อันประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 

1) ผู้อิทธิพลในด้านศิลปะและความ บันเทิง 

2) อาหารที่ทั่วโลกชื่นชอบ 

3) สถานที่ที่ดีเยี่ยมใน การเยี่ยมชม 

4) มรดกอันยาวนาน 

5) วิถีชีวิตที่น่าดึงดูด ใจ 

และ 6) ผู้นำด้านกีฬา โดยได้มีการจัดอันดับและการ ให้คะแนนเต็มอยู่ที่ 10 คะแนน 

 

ผ่านการรวบรวมคำตอบ จากผู้คนกว่า 110,000 คน ในกว่า 100 ประเทศ ด้วยวิธี สำรวจการรับรู้ของแบรนด์ระดับประเทศจากทั่วโลก ผลการสำรวจ พบว่า ประเทศที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ในอุตสาหกรรมบันเทิง 5 อันดับ โดยอันดับแรก คือ ประเทศฝรั่งเศส 7 คะแนน รองลงมาจะเป็นประเทศ สหรัฐอเมริกาและประเทศอิตาลี 6.9 คะแนน ประเทศ สเปน 6.6 คะแนน และประเทศอังกฤษ 6.5 คะแนน โดย เรียงตามอันดับ สำหรับในเอเชียประเทศที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจใน อุตสาหกรรมบันเทิงสูงที่สุด ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น 6 คะแนน (อันดับที่ 6 ของโลก) สาธารณรัฐประชาชนจีน 5.3 คะแนน (อันดับที่ 10 ของโลก) ประเทศเกาหลีใต้ 5 คะแนน (อันดับที่ 17 ของโลก) และประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 32 ซึ่งมีคะแนนอยู่ที่ 4.4 คะแนน

 

ภาพรวมสื่อบันเทิงในไทยและระดับโลก

จากการสำรวจของ Intellias Global Technology Partner ในด้านสื่อและอุตสาหกรรมบันเทิงในปี 2567 พบว่าสื่อบันเทิงในรูปแบบสตรีมมิ่งมีการเติบโตและมีความ หลากหลายและจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น 

 

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาภาพรวมภูมิทัศน์สื่อไทยปี 2566 – 2567 พบว่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ที่ ดาหน้าเข้าสู่วงการสื่อมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ตลาด อินฟลูเอนเซอร์จึงยังได้คงรับความนิยมจากทั้งแบรนด์และ เอเจนซี่ต่าง ๆ ส่งผลให้ “แฟนด้อม มาร์เก็ตติ้ง” (Fandom Marketing) หรือกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ ผ่านทางแฟนคลับถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพราะความ เคลื่อนไหวของเหล่าด้อมได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วถึง “บทบาท และอำนาจการซื้อ” ในการสนับสนุนศิลปินหรืออินฟลูเอน เซอร์ในดวงใจจากหลายแคมเปญ สำหรับแพลตฟอร์ม สื่อต่าง ๆ นั้น โซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก ยูทูบ ติ๊กต๊อก สามารถครองใจผู้ใช้โซเชียลมีเดียในไทย แต่ยูทูบเป็น แพลตฟอร์มยอดนิยมในการสร้างรายได้ อย่างไรก็ดี การ ที่ติ๊กต๊อกเข้าสู่วงการอีคอมเมิร์ซและผลักดันให้กระแส Live-Commerce หรือการไลฟ์ขายของออนไลน์ถูกใจผู้ใช้ งานติ๊กต๊อกในไทยที่ชื่นชอบการชอปปิงออนไลน์อยู่เป็นทุน เดิมอยู่แล้ว ก็เป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่น่าติดตาม

ถอดบทเรียนซอฟต์พาวเวอร์ ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ทำอย่างไรให้สำเร็จ
การโปรโมตซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศญี่ปุ่น

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Global Asia ที่รายงานเกี่ยวกับ ความเคลื่อนไหวในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ระบุว่า ประเทศญี่ปุ่นได้ดำเนินนโยบายการโปรโมท ซอฟพาวเวอร์ของตัวเองผ่านแคมเปญที่มีชื่อว่า คูล เจแปน (Cool Japan) โดยที่ผ่านมาญี่ปุ่นจะใช้งบ ประมาณสาธารณะสนับสนุนในสิ่งที่ เรียกกันว่า ‘วัฒนธรรมชั้นสูง’ ของตัวเองมาโดยตลอด ต่อมา รัฐบาลญี่ปุ่นก็ต้องการทำแบบเดียวกันกับวัฒนธรรม ‘Pop culture’ ของตัวเองให้เป็นที่รู้จัก รัฐบาลญี่ปุ่น จึงได้มีการสนับสนุนกิจกรรมการแข่งขัน คอสเพล ย์จากทั่วโลกให้มาแข่งที่ญี่ปุ่น และยังได้มอบรางวัล นานาชาติประจำปีให้กับศิลปินวาดการ์ตูน มัง

การโปรโมตซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศเกาหลีใต้

ซอฟต์พาวเวอร์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยยกระดับจาก ประเทศเกาหลีใต้ จากที่เคยต้องกู้เงินกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (IMF) มาถึง 57 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 แต่ปัจจุบันเกาหลีใต้กลาย เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ เป็นอันดับที่ 12 ของโลก มีมูลค่ากว่า 1.63 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

เกาหลีใต้ผ่านวิกฤตินี้ไปได้จากการมุ่งพัฒนา อุตสาหกรรมบันเทิงอย่างจริงจัง จนเกิดเป็นกระแส Korean Wave หรือ ฮันรยู (Hallyu) โดยรัฐบาล เกาหลีใต้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการจัดการและส่ง เสริมอย่างเต็มที่ รวมถึงมีการก่อตั้ง ‘Korea Creative Content Agency (KOCCA)’ หรือสำนักงานส่งเสริม คอนเทนต์เกาหลี เมื่อปี 2009 ที่ส่งเสริมและช่วยเหลือ ด้านเงินทุนให้แก่ภาคเอกชนในการสร้างคอนเทนต์และ พัฒนากลยุทธ์และถ่ายทอดเนื้อหาสาระความเป็นเกาหลี ในคอนเทนต์ทุกรูปแบบสู่สายตาคนทั่วโลก

กรณีศึกษา มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจาก
Korean Wave หรือ ฮันรยู (Hallyu)

ซอฟต์พาวเวอร์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ GDP ของ เกาหลีใต้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ ด้านการ ท่องเที่ยว อิทธิพลของ Korean Wave ที่เกิดขึ้น จากภาพยนตร์ วงดนตรี ละคร ที่ทำให้คนมีโอกาส ได้เห็นหลายแง่มุมของประเทศผ่านสื่อบันเทิง เช่น ความปลอดภัย ระบบขนส่งสาธารณะ ความทัน สมัยของเทคโนโลยี เป็นต้น ยิ่งส่งเสริมการท่องเที่ยว ในของเกาหลีใต้หรือ K-Travel ให้มีชื่อเสียงในทางที่ดี ขึ้นอย่างชัดเจน

 

ขณะที่ ด้านภาษาและวัฒนธรรม ด้วยพลังของ ซอฟต์พาวเวอร์ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ปัจจุบันผู้คน ทั่วโลกจึงให้ความสนใจและเข้าใจในวัฒนธรรมและ ภาษาเกาหลีมากขึ้น จากรายงานของ Duolingo แอปพลิเคชันสอนภาษาพบว่าภาษาเกาหลีได้รับ ความนิยมมากเป็นอันดับที่ 7 ของโลกไปแล้ว

ซอฟต์พาวเวอร์ไทยอยู่ตรงไหนของโลก

ซอฟต์พาวเวอร์สามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมจุดยืน ของประเทศในเวทีโลกผ่านการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ของประเทศ จากการจัดอันดับ Global Soft Power Index 2023 โดย Brand Finance ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 41 ของโลก ซึ่งตกลงจาก เดิมซึ่งได้ที่ 35 ในปีก่อน 6 อันดับ

ด้าน ดร.ชาคริต พิชยางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่ง เสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ได้ อธิบายถึงประเด็น ที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัด Global Soft Power Index ที่ต้องมองแบบองค์รวม “ เมื่อพูดถึง Soft Power คนมักจะคิดว่าเป็นเรื่องทุนวัฒนธรรม แต่ ถ้าเราดูจากการจัดโครงสร้างดัชนีในการจัดอันดับ Global Soft Power Index จะมีการแบ่งนํ้าหนักคะแนน เป็น 5 ส่วน คือ Familiarity 10% หมายความว่า คุณต้องมีความคุ้นเคย Reputation 10% คือความ มีชื่อเสียงเชิงบวก Influence 30% คือคุณต้องรู้สึกว่า สินค้าและบริการสามารถชักจูงให้คุณเชื่อถือและชื่นชม ได้ และให้นํ้าหนัก 7 Soft Power Pillars อีก 40% ฉะนั้นต้องมองเป็น holistic view คือ มุมมองแบบองค์ รวมในการขับเคลื่อน Soft Power ”

ข้อเสนอแนะ
ด้านอุตสาหกรรมบันเทิง

หม่อมราชวงศ์ เฉลิมชาตรี ยุคล ตัวแทนผู้ขับเคลื่อน Soft Power สาขาภาพยนตร์ ได้กล่าวว่า “หาก ต้องการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์วงการบันเทิงไทยให้ไป สู่สายตาชาวโลกและเชื่อมั่นว่า ‘ของไทยดีจริง’ จะต้องมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) พัฒนาบุคลากรในประเทศให้มี ความสามารถ 2) การเปิดตลาดให้ใหญ่ขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และ 3) เพิ่มบทบาทของรัฐด้วยการเข้า มาเป็นตัวกลางเพื่อสนับสนุนการขายคอนเทนต์ และ สร้างพื้นฐานของทรัพยากรในประเทศไทยให้แข็งแรง”

 

ดร.ไพบูลย์ ปิตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “มองว่าการสร้าง ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยให้มีอิทธิพล ควรมีองค์ ประกอบ 3 อย่างที่ร่วมมือกัน 1) ภาคธุรกิจเอกชน B : Business จำเป็นต้องมีความเชื่อมต่อกัน ระหว่างทรัพยากร 2) ภาครัฐ G : Government มี ความสำคัญมากในบทบาทของการจัดองค์กร ภายในประเทศ เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบให้เป็น ระบบ เปลี่ยนโครงสร้างจัดตั้งกลไก และบูรณาการ ได้ทุกกระทรวง และ 3) พลเมือง C : Citizen เกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งตัวเองในการใช้การทูต สาธารณะ โดยใช้พลเมืองเกาหลีที่มีโอกาสออกไป อยู่ในต่างประเทศเป็นทูตในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ได้ด้วยตัวเอง นับเป็นการทำการทูตโดยอัตโนมัติ”

 

จากข้อเสนอแนะจากหลายฝ่ายในข้างต้นกำลัง สะท้อนว่าประเทศไทยเริ่มมองเห็นความสำคัญแต่ ยังไม่สามารถผลักดันให้ซอฟต์พาวเวอร์กลายเป็น พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เต็มที่ ดังนั้นจึงควรมี แนวทางในการขับเคลื่อนทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนี้

 

การขับเคลื่อนจากภาคเอกชน

ด้านสินค้าและบริการ ธุรกิจไทยหลายแห่งมุ่งเน้นการ พัฒนาสินค้าและบริการที่สอดแทรกเอกลักษณ์ของ ไทยเข้าไปผสมผสานกับนวัตกรรมใหม่ ๆ การสนับสนุนงานศิลปะและวัฒนธรรม เช่น แสดงงาน ศิลปะและวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งระดับประเทศและระดับ นานาชาติ การสื่อสารผ่านสื่อ ภาคเอกชนไทยใช้สื่อเป็นสื่อกลาง ที่มีพลังสำคัญในการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ของ ประเทศไปสู่สายตาชาวโลก การพัฒนาบุคลากร ภาคเอกชน โดยเฉพาะในภาค บริการให้มีคุณภาพตรงความต้องการของตลาด และ เพียงพอต่อความต้องการ

 

การขับเคลื่อนจากภาครัฐ

การขับเคลื่อนจากภาครัฐต้องมีบทบาทสำคัญใน การเป็น ‘Facilitator’ หรือผู้สนับสนุนการขับเคลื่อนของ ภาคเอกชน ผ่านนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ดังนี้ ปรับปรุงกฎเกณฑ์ เนื่องจากปัจจุบันยังมีกฎเกณฑ์ บางข้อในประเทศไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ซอฟต์พาวเวอร์ เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ใน ประเทศไทยไทยยังมีความซับซ้อน และควร สนับสนุนการระดมทุนสำหรับโครงการซอฟต์พาว เวอร์ผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น เงินอุดหนุน การยกเว้น ภาษี หรือการจัดตั้งกองทุนสนับสนุน เป็นต้น พัฒนาบุคลากร การพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการ ส่งเสริมการศึกษา พัฒนาหลักสูตร มีทุน สนับสนุนการพัฒนา นอกจากนี้รัฐยังสามารถ สนับสนุนในการสร้างเครือข่ายระหว่างภาครัฐและ ภาคเอกชนด้วย

 

เอกสารอ้างอิง

Brand Finance. GLOBAL SOFT POWER INDEX 2023. สืบค้นจาก https://brandirectory.com/softpower/nation

Intellias. 2024 Media & Entertainment Industry Qutlook + Key Trends. สืบค้นจาก https://intellias.com/media-entertainment-industry-trends/

dataxet infoquest. ภาพรวมภูมิทัศน์สื่อไทยปี 2566 – 2567. สืบค้นจาก https://www.dataxet.co/media-landscape/2024-th

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นซอฟท์พาวเวอร์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก https://nida.ac.th/economy-into-soft-power-for-sustainable-development/

 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

​เสริมศักดิ์ ปลื้ม! แลนด์มาร์ค Thailand Biennale ในน้ำมีปลา ในนามีแมว”

 

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้ขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรมตามกรอบนโยบายหลัก “วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจ”พร้อมทั้งขับเคลื่อน Soft Power สร้างเสน่ห์วิถีไทย ครองใจคนทั้งโลก โดยการสำรวจรวบรวมทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์และยกระดับงานวัฒนธรรมเดิมให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นการเปิดมุมมองแห่งความสำเร็จจากการใช้วัฒนธรรมสร้างพลังแห่งอนาคตตามเป้าหมายในปี 2567
นอกเหนือจากการโครงการส่งเสริมการสร้างรายได้ด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแล้ว งาน “Thailand Biennale Chiangrai 2023” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธ.ค. 66 – 30 เม.ย. 67 เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่จะช่วยเปิดโลกศิลปะวัฒนธรรมของประเทศไทยให้ชาวโลกได้รับรู้ และส่งเสริมให้จังหวัดเชียงรายก้าวกระโดดสู่นิเวศของการเป็น “เมืองศิลปะระดับโลก” นอกจากนิทรรศการหลักของศิลปินทั้ง 60 คนและ 13 พาวิลเลี่ยนแล้ว 

 

ยังมีการนำเสนอผลงานศิลปะในลักษณะ Collateral Event จัดแสดงคู่ขนานเกิดขึ้นอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะงานศิลปะบนนาข้าว(Tanbo Art)  ในคอนเซปต์ “ในน้ำมีปลา ในนามีแมว”ที่โด่งดังในกระแสโซเชียล สร้างความสนใจให้สื่อต่างประเทศนำไปเผยแพร่ เชิญชวนให้มาท่องเที่ยว แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของไทย ซึ่งอยู่ใกล้กับ “ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน” พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหลักของ“Thailand Biennale Chiangrai 2023”อีกแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย

 


“ในน้ำมีปลา ในนามีแมว”เป็นไอเดียที่น่าชื่นชมของคุณธันยพงศ์  ใจคำ เจ้าของ”เกี้ยวตะวัน ธัญฟาร์ม” ในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ที่ทำงานร่วมกับศิลปินนักออกแบบชาวเชียงราย นักปราชญ์  อุทธโยธา และทีมงานอีกกว่า 200 คน โดยนำงานวิจัยพันธุ์ข้าวสรรพสีจากโครงการ MOU เพื่อทำวิจัยร่วมกับทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ทั้งหมด 7 สายพันธุ์มีสายพันธุ์ดั้งเดิม 2 สายพันธุ์และอีก 5 สายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัย เป็นการผสมผสานงานวัฒนธรรมการปลูกข้าว เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ จนกลายเป็นงานศิลปะที่โดดเด่นด้วย สีสันของพันธุ์ข้าวสีรุ้ง ที่มีหลากหลายเฉดสี ตั้งแต่สีม่วงเข้มไปจนถึงสีเหลืองอ่อน ซึ่งขณะนี้ข้าวสรรพสีพากันออกรวงสีทองอร่ามงามตา ต้อนรับการมาเยือนของนักเที่ยว โดยคาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงระยะเวลา 145 วันหลังการเพาะปลูกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2566 ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงเสร็จสิ้นงานงาน “Thailand Biennale Chiangrai 2023”ในช่วงเดือนเมษายน 2567    

 


ศิลปะบนนาข้าวจึงเป็น อีกหนึ่งสำคัญในการนำซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศมาพัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างมูลค่า สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริม การต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนโดยเริ่มต้นจากต้นข้าวเล็กๆ เติบโตสู่พื้นที่สร้างสรรค์งานศิลปะให้งอกงามและเบ่งบานอยู่ในใจผู้คนอย่างมีคุณค่า  

 

นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ จินตโสภณ โฆษกกระทรวงวัฒนธรรม (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กระทรวงวัฒนธรรมกำลังเร่งเดินหน้าผลักดัน Soft Power ศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างต่อเนื่องใน “งานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ครั้งที่ 4 Thailand Biennale 2025” ซึ่งจังหวัดภูเก็ต เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน โดยเฉพาะการนำเอา Soft Power ที่มีพลังในความเป็นไทย และความภาคภูมิใจของภูเก็ต ส่งผ่านงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เชื่อมไทย เชื่อมโลก ก้าวไปสู่การเป็นหมุดหมายสำคัญของการจัดแสดงงานศิลปะนานาชาติระดับโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต รวมทั้งการนำงานศิลปะร่วมสมัยทั้ง 9 สาขามาขับเคลื่อน Soft Power สร้างเสน่ห์วิถีไทยครองใจคนทั้งโลก อาทิ ส่งเสริมให้เกิด 1 ครอบครัว 1 ทักษะ Soft power การผลีกดัน Bangkok เมืองแฟชั่น และการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

วธ.เผยแผนพัฒนา Soft Power ปี 66-70 ดัน GDP 1 ใน 15 ของประเทศ

 

วธ. เผยแผนพัฒนา Soft Power ปี 66-70 ดัน GDP สินค้าและบริการทางวัฒนธรรมจากร้อยละ 8.9 เป็นร้อยละ 15 และเป็น 1 ใน 15 ประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมสูงสุดในตลาดโลก หนุนไทยเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยววัฒนธรรมที่สำคัญของโลก พร้อมจับมือสถาบันศึกษาปั้นเด็กสู่อุตสาหกรรมบันเทิง

 

 ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “แนวทางสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในมุมมองของกระทรวงวัฒนธรรม” ในการเสวนาหัวข้อ “นโยบายภาครัฐและความต้องการของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ของไทยสู่คอนเทนต์โลก กรณีศึกษา ด้านภาพยนตร์” ในเทศกาลหนังเมืองแคน ครั้งที่ ๗ เมื่อเร็วๆนี้ ว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้เริ่มดำเนินการใช้ Soft Power ความเป็นไทยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน บนแนวคิดนำทุนวัฒนธรรมดั้งเดิม มาพัฒนาใส่ความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การขับเคลื่อนเป็น Soft Power ผ่านกลไกในการร่างแผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย (2566-2570) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 4 (2566-2570) โดยตั้งเป้าหมายสัดส่วน GDP สินค้าและบริการทางวัฒนธรรมจากร้อยละ 8.9 เป็นร้อยละ 15 และเป็น 1 ใน 15 ประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมสูงสุดในตลาดโลก รวมถึงตั้งเป้าให้อันดับโลกด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมดีขึ้น ไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่อเที่ยววัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของโลก

 

ปลัดวธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับ  Soft Power ความเป็นไทยที่ผ่านมา วธ. ได้พัฒนา ได้แก่ 5F อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) เทศกาลประเพณีไทย (Festival) และมีการพัฒนาเพิ่มเติมอีก คือ 5F พลัส ได้แก่ ท่องเที่ยวชุมชน ศิลปะการแสดง และศิลปะ ซึ่งในปี 2566 นี้ก็พร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน Soft Power ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อพัฒนาผู้ที่มีทักษะด้านวัฒนธรรมให้มีทักษะฝีมือสูงขึ้นใน 11 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ ได้แก่ 1. แฟชั่น 2. หนังสือ 3. ภาพยนตร์ ละครและซีรีส์ 4. เฟสติวัล 5. อาหาร 6. ออกแบบ 7. ท่องเที่ยว 8.เกม 9.ดนตรี 10. ศิลปะ และ 11.กีฬา โดยขณะนี้ได้มีร่างแผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย (2566-2570) เป็นครั้งแรก อาทิ มีการศึกษาประเทศที่ประสบความสำเร็จด้าน Soft Power ศึกษาการตลาด พัฒนาบุคลากร ตามแผนของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำไปใช้ขับเคลื่อนได้จริงและได้ทันที ซึ่ง Soft Power ความเป็นไทยที่มีศักยภาพ นอกจาก 5 F แล้วก็มี 5F+2 ได้แก่ ศิลปะการแสดง และความเชื่อ ตำนาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาทิ เส้นทางท่องเที่ยวสายบุญ การจัดงานมหกรรมเชียงรายเบียนนาเล่ เป็นต้น 

 

ทั้งนี้  ในส่วนของการส่งเสริมอุตสาหกรรมบันเทิงนั้น จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ เพิ่มช่องทางการตลาดและการเจรจาธุรกิจ โดยการนำผู้ประกอบการเข้าร่วมเทศกาลภาพยนตร์ในต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมามูลค่าทางเศรษฐกิจจากการเจรจาในต่างประเทศ อาทิ งานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ฝรั่งเศส มูลค่า 1,986 ล้านบาท เทศกาลภาพยนตร์ปักกิ่ง มูลค่า 1,976 ล้านบาท งาน Hong Kong International Film & TV Market มูลค่า 1,378 ล้านบาท งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว มูลค่า 500 ล้านบาท งานแสดงสินค้าลิขสิทธิ์นานาชาติฮ่องกง มูลค่า 93 ล้านบาท  งานเทศกาลภาพยนตร์เซี่ยงไฮ้มูลค่า  5 ล้านบาท เป็นต้น โดย วธ. พร้อมให้ความร่วมมือทุกภาคีเครือข่ายในการพัฒนาอุตสาหกรรมบันเทิงไทย ไม่ว่าจะเป็นงบสนับสนุน พัฒนาบุคลากร ช่องทางการตลาด ที่สำคัญจะมีการศึกษาแนวทางความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศในการอบรมพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญในอุตสาหกรรมบันเทิงในอนาคต

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

นายกฯ ยกระดับยี่เป็งเชียงใหม่ ชูอัตลักษณ์ประเพณีล้านนา

 
วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เวลา 20.30 น. ณ บริเวณเวทีกลางริมแม่น้ำปิง หน้าสำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย นาวสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมงานประเพณีลอยกระทง และชมการประกวดขบวนกระทงใหญ่ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว งานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2566 
 
 
ภายใต้แนวคิด “ค่ำคืนแห่งสายนที วิถีแห่งวัฒนธรรม” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ บำรุงรักษา ศิลปวัฒนธรรม จารีต ขนบธรรมเนียมประเพณีล้านนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สืบทอดมาอย่างอย่างนาน โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายอัศนีย์ บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กงสุลใหญ่ประจำประเทศไทย ผู้บริหารจากบริษัท Tesla ผู้แทนจากองค์กร หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ประชาชนเข้าร่วม โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าว แสดงความยินดีที่ได้มาร่วมงานประเพณีลอยกระทง และการประกวดขบวนกระทงใหญ่ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
 
 
ซึ่งเป็นงานประเพณีเดือนยี่เป็งของจังหวัดเชียงใหม่ได้ยินชื่อเสียงมานานแล้วว่า เป็นประเพณีที่ควรจะต้องมา ซึ่งเป็นต้นทุนใหญ่ของ soft power ของประเทศไทยเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาจากทั่วโลกทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกันนี้ นายกฯ กล่าว อวยพรขอให้ทุกคนที่มาร่วมพิธีลอยกระทงมีแต่ความสุข ความปลอดภัย มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นขอให้ลอยความทุกข์ ความโศกและถ้าหากใครมีโรคภัยก็ขอให้ลอยไปกับกระทงนี้ ขอให้ปีต่อๆ ไปเป็นปีที่ดีขึ้น ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเจ้ามาเที่ยวมากมาย ขอให้ทุกคนต้อนรับรักท่องเที่ยวอย่างดีสร้างความประทับใจ สร้างรอยยิ้มให้แก่นักท่องเที่ยว และอยากกลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทยอีกครั้ง จากนั้น นายกฯ และคณะร่วมลอยกระทง ณ ริมน้ำปิง ทั้งนี้ ก่อนเดินทางกลับเข้าที่พัก นายกรัฐมนตรีได้ทักทายประชาชนที่มาร่วมงานอย่างเป็นกันเอง
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TRAVEL

“กาดหมั้ว คัวเงิน คัวเขิน” เปิดตัว ‘ตลาดบก’ สืบสานวัฒนธรรมไทย

 
นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดตลาดบกวัฒนธรรม สืบสานวัฒนธรรมไทย ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ “กาดหมั้ว คัวเงิน คัวเขิน ชุมชนวัดศรีสุพรรณ ชุมชนวัดหมื่นสาร และชุมชนวัดนันทาราม” (ย่านวัวลาย) โดยมี นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวรายงาน และ นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ จัดในวันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 ณ ตลาดวัฒนธรรมวัดศรีสุพรรณ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

 กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะกรรมการ 3 วัด 3 ชุมชน ดำเนินงานโครงการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรม “การสร้างเสริมอัตลักษณ์ชุมชน อัตลักษณ์ไทย สู่เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม : 10 ตลาดบก 6 ตลาดน้ำ สืบสานวัฒนธรรมไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชน จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ผ่านตลาดบกและตลาดน้ำ และตลาดวัฒนธรรมชุมชนวัดศรีสุพรรณ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับคัดเลือกให้เป็นตลาดบกที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชน อัตลักษณ์ไทย สู่เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยมีนายสุรพล เกียรติไชยากร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

 

วัฒนธรรมจังหวัด 16 จังหวัดภาคเหนือ ผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายทางวัฒนธรรม ผู้นำชุมชน สื่อมวลชน และประชาชนเข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

  1. การแสดงศิลปวัฒนธรรม ชุด “กึกก้องเภรี นาฏยดนตรี วิถีกาดบก ชุมชนวัดศรีสุพรรณ” โดย วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่
  2. พิธีตอกดุนลายแผ่นโลหะ โดย พ่อครูดิเรก สิทธิการ ศิลปินแห่งชาติ
  3. ประธานในพิธีมอบของที่ระลึกให้แก่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
  4. พิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้สนับสนุนการขับเคลื่อนตลาดบกฯ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่

         4.1 พ่อครูดิเรก สิทธิการ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (งานสลักดุนเครื่องเงินและโลหะ) พุทธศักราช 2565 ผู้แทนชุมชนคุณธรรมวัดศรีสุพรรณ

        4.2 ดร.อุไร ไชยเสน ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  1. ประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรให้แก่ทูตวัฒนธรรม จำนวน 12 คน
  2. การแสดงศิลปวัฒนธรรม ชุด “ฟ้อนคัวเงินงาม” โดย นักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดศรีสุพรรณ
  3. การสาธิตภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและเยี่ยมชมตลาด โดยมี พระครูพิทักษ์สุทธิคุณ (สุพล สุทธฺสีโล) เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ เมตตาบรรยายให้ข้อมูลสำคัญ
  4. กิจกรรมขันโตกล้านนา กาดหมั้ว เครื่องเงิน เครื่องเขิน ของฝาก และของที่ระลึก
  5. การแสดงดนตรีพื้นเมืองล้านนา
  6. สักการะพระพุทธปาฏิหาร์ (พระเจ้าเจ็ดตื้อ) และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  7. กิจกรรมนั่งรถราง”ชมงานศิลป์เยือนถิ่นวัวลาย” 3 วัด 3 ชุมชน
  8. การออกร้านอาหารพื้นเมือง เมนูเชิดชูอาหารถิ่น “ตำจิ้นแห้ง”

 

     นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นางสุภัสสร ประภาเลิศ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางสาวณพิชญา นันตาดี นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายจิรัฏฐ์ ยุทธ์ธนประวิช นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายวรพล จันทร์คง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นางสาวสุทธิดา ตราชื่นต้อง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และ นายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานฯ และประชาสัมพันธ์การจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale Chiang Rai 2023 ซึ่งจะมีขึ้น ณ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 9 ธ.ค.2566 ถึง 30 เมษายน 2567 ในงานดังกล่าวด้วย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

นายกฯ หนุนอาหารให้ไทยเป็น Soft Power เปิดโอกาส Start up

 

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566 เวลา 11.30 น. ที่ผ่านมา ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยนางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับฟังการนำเสนอ Thailand Soft Power Halal & Future Food จากนายบุญเลิศ อ่องไพบูลย์ รองประธานคณะกรรมการธุรกิจอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต (PFC) สภาหอการค้าไทย 

นายบุญเลิศ กล่าวว่า อุตสาหกรรมฮาลาล ครอบคลุมสินค้าและบริการ ได้แก่ การเงิน อาหาร แฟชั่น สื่อและสันทนาการ ยาและการแพทย์ ท่องเที่ยว เครื่องสำอาง ฯ มีอัตราการเติบโต 7.5% (2021-2025) มีมูลค่าประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (2025) ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาล และอุตสาหกรรมฮาลาลไทย ได้รับการยอมรับในหลายประเทศ โดยอาหารฮาลาล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของการส่งออกอาหารทั้งหมดของประเทศไทย และร้อยละ 60 ของการส่งออกอาหารฮาลาลไปยังประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน คิดเป็นมูลค่าเกือบ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564/2565 

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีกล่าวว่ารัฐบาลมองเห็นโอกาสในสินค้า Halal ที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ซึ่งมีผู้บริโภคจำนวนมาก มีศักยภาพในการจับจ่ายสูง และในกลุ่ม Future food ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เราอยากใช้อุตสาหกรรมอาหารมาเป็นส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศ และอยากผลักดัน Gastronomy Diplomacy โดยไทยเป็นประเทศแรกที่ผลักดันการทูตเชิงอาหาร (Gastronomy diplomacy) แต่ประเทศเกาหลีใต้ผลักดันได้ไกลกว่าประเทศไทย โดยรัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญทั้งเงินทุน การตลาด การทำหลักสูตร การทำ Certificate การส่งออกอาหาร จะช่วยทำให้สินค้าการเกษตรมีราคาที่ดีขึ้น เพราะเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าในประเทศทำให้พี่น้องเกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง สร้างองค์ความรู้ด้านอาหารให้ประเทศไทยเป็น Soft Power โดยอาหารไทยรูปแบบใหม่ ๆ จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยว เปิดโอกาสให้ Start up ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร สามารถเกิดขึ้นได้

นายกรัฐมนตรีฝากให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนภาคเอกชน โดยให้บูรณาการการทำงาน กำหนดแผน กำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคงด้านอาหาร เป็นแหล่งผลิตอาหารฮาลาลที่หลายประเทศมีความต้องการ

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News