Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ต้นแบบระดับจังหวัดเชียงราย ธนาคารขยะฮอมบุญบ้านหนองบัว แม่ลาว

 
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย และ ว่าที่ร้อยตรี ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่โครงการขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ณ ธนาคารขยะฮอมบุญบ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 ตำบลป่าก่อดำ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นชุมชน หมู่บ้าน ต้นแบบในการขับเคลื่อนโครงการธนาคารขยะระดับจังหวัด ตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดงานประกาศความสำเร็จการจัดตั้งธนาคารขยะภายใต้หุ้นส่วนการพัฒนาระหว่างสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย โดยปลัดกระทรวงมหาดไทย มีข้อสั่งการผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัด ขับเคลื่อนโครงการธนาคารขยะอย่างต่อเนื่องและจัดสวัสดิการที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยมี นายเจตณรงค์ อินกัน ท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย นายรุ่งโรจน์ ตันวุฒิ นายอำเภอแม่ลาว นายสุริยัน ตื้อยศ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าก่อดำ ตลอดจนผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น และประชาชนในพื้นเข้าที่ร่วมพิธี พร้อมรับมอบป้ายธนาคารขยะสำหรับการจัดตั้งธนาคารขยะในเขตพื้นที่ อบต.ป่าก่อดำ จากทั้ง 7 หมู่บ้าน ที่ได้มีการดำเนินการธนาคารขยะมาแล้ว จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 บ้านสันหนองล้อม หมู่ที่ 6 และบ้านแม่ผง หมู่ที่ 5 และมีการขยายผลไปยังหมู่บ้านที่เหลืออีก 4 หมู่บ้าน โดยได้เริ่มดำเนินการธนาคารขยะ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 67 ได้แก่ บ้านโป่งมอญ หมู่ที่ 1 บ้านต้นม่วง หมู่ที่ 3 บ้านท่าขี้เหล็ก หมู่ที่ 4 และบ้านสันหนองบัว หมู่ที่ 11 จากผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย อีกด้วย
 

      นายสุริยัน ตื้อยศ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าก่อดำ กล่าวว่า เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดความยั่งยืน และเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานธนาคารขยะให้กับประชาชนได้เห็นคุณค่า และให้ความสำคัญในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของธนาคารขยะ จังหวัดเชียงรายได้คัดเลือกธนาคารขยะบ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 ตำบลป่าก่อดำ ภายใต้การสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าก่อดำ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เป็นธนาคารขยะต้นแบบในระดับจังหวัด เพื่อถอดบทเรียนการขับเคลื่อนธนาคารขยะและผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีปริมาณขยะที่นำฝากผ่านธนาคารขยะทั้ง 3 หมู่บ้าน มีจำนวนเฉลี่ย 335 กิโลกรัมต่อเดือน มีเงินทุนในธนาคารขยะ จำนวนกว่า 4,000 บาท ที่หมุนเวียนกลับไปให้สมาชิกในรูปแบบการสังคมสงเคราะห์ เช่น กรณีเสียชีวิตช่วยรายละ 500 บาท ถุงอุปโภคบริโภคเพื่อการยังชีพให้กับผู้ด้อยโอกาส และสมทบเพื่อสาธารณประโยชน์ในหมู่บ้าน ต่อไป
 

      สำหรับการขับเคลื่อนธนาคารขยะในพื้นที่ อบต.ป่าก่อดำ ได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ชุมชน ครัวเรือน และภาคีเครือข่ายฯ ในพื้นที่ร่วมสนับสนุนเพื่อสร้างกลไก สร้างความเข้มแข็งของระบบการบริหารจัดการขยะ และธนาคารขยะให้เกิดความยั่งยืน เป็นรูปธรรม ซึ่งนอกจากการขับเคลื่อนธนาคารขยะแล้ว อบต.ป่าก่อดำ ได้มีการบริหารจัดการขยะภายในครัวเรือนโดยเน้นให้ทุกครัวเรือนได้ช่วยกันลดปริมาณขยะมูลฝอยและคัดแยกขยะในครัวเรือนอย่างเข้มข้น อีกทั้งได้สนับสนุนให้ทุกครัวเรือนใช้ประโยชน์จากถังขยะเปียกลดโลกร้อนเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยได้มีการใช้สมุดบันทึกประจำครัวเรือนรักษ์โลก เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการตรวจติดตามการบริหารจัดการขยะของทุกครัวเรือน นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง และที่สำคัญคือมีการจัดทำหลักสูตร EF บูรณาการในการปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อที่จะได้เป็นพลังในการสร้างสรรค์ชุมชนให้น่าอยู่สืบไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

วช.-ภาคีเครือข่าย ร่วมแถลง “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว”

 

เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2567 ที่ผ่านมาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ และมูลนิธิมดชนะภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดแถลงข่าวกิจกรรม “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว” พร้อมประกาศเจตนารมณ์ “ภาคี เครือข่าย ร่วมมือ ร่วมใจ สู้ภัย แผ่นดินไหว ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์

โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการวช. เป็นประธาน ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย, นายฐิติพันธ์ จูจันทร์โชติ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี น.ส.ชัชดาพร บุญพีระณัช รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, นายนัฐวุฒิ แดนดี ผู้อำนวยการกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา

นายนพดล น้อยไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 2 กรมชลประทาน, นายชานนท์ โตเบญจพร ผู้แทน กรมโยธาธิการและผังเมือง, ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ และรศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ประธานมูลนิธิมดชนะภัย ร่วมแถลงข่าวจัดกิจกรรม “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว” ในระหว่างวันที่ 5 – 7 พ.ค. ที่ จ. เชียงราย

ดร.วิภารัตน์กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนแผนงานการพัฒนาศูนย์กลางกำลังคนระดับสูง (Hub of Talents) และศูนย์กลางการเรียนรู้(Hub of Knowledge) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญแบบสหวิทยาการที่มีความหลากหลาย เสริมสร้างเครือข่ายในระดับนานาชาติของสถาบันวิจัย หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยวช. ได้สนับสนุนและร่วมขับเคลื่อนศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (EARTH) ร่วมมือกับ มูลนิธิมดชนะภัย และหน่วยงานภาคีเครือที่เกี่ยวข้อง ทั้งจ.เชียงราย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรธรณี กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จ.เชียงราย

ร่วมกันจัดกิจกรรม “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว” ในระหว่างวันที่ 5 – 7 พ.ค. ที่จ.เชียงราย เพื่อรำลึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวแม่ลาว และสร้างความเข้าใจ ความตระหนักรู้ และเตรียมความพร้อมรับมือในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติแผ่นดินไหว รวมถึงถอดบทเรียนจากอดีตถึงปัจจุบัน และเผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการด้านแผ่นดินไหว พร้อมทั้งลงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว จ.เชียงราย ไปสู่การขับเคลื่อนสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ โดยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมแผนในการรับมือต่อไปในอนาคต

นายประเสริฐ กล่าวว่า จ.เชียงราย เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 5 พ.ค. ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่คนเชียงรายไม่มีวันลืม สำนักงานจ.เชียงราย ในฐานะหน่วยงานบริการภาครัฐเพื่อประชาชนจ.เชียงราย ร่วมจัดกิจกรรม “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหว” เป็นการรำลึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวแม่ลาว ครบรอบ 10 ปี และสร้างความตระหนักรู้ ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ตรง ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนนำไปสู่การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

ศ.ดร.เป็นหนึ่งกล่าวว่า ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (Earthquake Research Center of Thailand : EARTH) วช. เป็นศูนย์รวมบุคลากรวิจัยที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ จากสหสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหว ภายใต้การพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก วช. ร่วมจัดกิจกรรม “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหว” จัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหว และการประชุมวิชาการเผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการด้านแผ่นดินไหว รวมทั้งแสดงต้นแบบการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ร่วมกับหน่วยงานภาคีวิจัย ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม

รศ.ดร.สุทธิศักดิ์กล่าวว่า มูลนิธิมดชนะภัย ตั้งอยู่ที่บ้านสิงหไคล จ.เชียงราย เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อร่วมส่งเสริมด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรมให้จ.เชียงรายเป็นเมืองที่น่าอยู่ และเป็นเมืองศิลปะ รวมทั้งมุ่งเน้นการใช้วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์เข้ามามีส่วนช่วยเหลือประชาชนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ โดยทางมูลนิธิมดชนะภัยได้ร่วมจัดกิจกรรม “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหว” เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภัยพิบัติแผ่นดินไหว ผ่านสื่อศิลปะและวิทยาศาสตร์ ให้กับผู้ที่สนใจตลอดเดือนพ.ค.นี้ และเป็นจุดเชื่อมต่อไปสู่เรื่องราวเหตุการณ์แผ่นดินไหวแม่ลาว ระหว่างภาคประชาสังคม ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อเป็นการสะท้อนให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของการจัดการ ภัยพิบัติที่ดีร่วมกัน “แผ่นดินไหว เราไหวอยู่”

ถัดมาเป็นกิจกรรมการเสวนาวิชาการในหัวข้อ“การเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติแผ่นดินไหวจากอดีตถึงปัจจุบัน” โดย ศ.ดร.เป็นหนึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหว

วช. ขอประชาสัมพันธ์และเชิญเข้าร่วมกิจกรรม “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว” ระหว่างวันที่ 5-7 พ.ค. ที่จ.เชียงราย ดังนี้

  • วันอาทิตย์ที่ 5 พ.ค. ที่บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย จ.เชียงราย พบกับการบรรยายพิเศษ “รู้ทันแผ่นดินไหว” และการเสวนา “สิบปีผ่านไป แผ่นดินไหว เราไหวอยู่” โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาวิชา และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง พร้อมชมนิทรรศการพิเศษเกี่ยวกับภัยพิบัติแผ่นดินไหวและการรับมือในทุกมิติ อาทิ รถจำลองแผ่นดินไหว, แผนที่เสี่ยงภัยพิบัติแผ่นดินไหวกับกิจกรรม “จำได้ไหม?-จำได้ไหว”, การพยาบาลในสถานะการณ์แผ่นดินไหว เป็นต้น (เฉพาะวันอาทิตย์ที่ 5 พ.ค.นี้ เท่านั้น) และรับชมนิทรรศการฟรีตลอดเดือนพ.ค. อาทิ นิทรรศการภาพเล่าเรื่อง, นิทรรศการเชิงศิลปะสะท้อนภาพเหตุการณ์, นิทรรศการเชิงวิทยาศาสตร์ ที่บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย จ.เชียงราย
  • วันจันทร์ที่ 6 พ.ค. ที่โรงแรม The Heritage Chiang Rai พบกับการประชุมวิชาการเผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการด้านแผ่นดินไหวในประเด็นต่างๆ โดยผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (EARTH: Earthquake Research Center of Thailand) วช. อาทิ การเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติแผ่นดินไหวจากอดีตถึงปัจจุบัน, การออกแบบก่อสร้างอาคารให้ต้านทานแผ่นดินไหว, ธรรมชาติแผ่นดินไหว : ความเสี่ยง, การเสริมกำลังอาคารที่มีอยู่, การเตรียมพร้อมเผชิญเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหว (highlight), การตรวจติดตามสุขภาพโครงสร้างอาคารสูงในจ.เชียงใหม่และเชียงราย และการขับเคลื่อนภาคประชาสังคมกรณีตัวอย่างเขื่อนแม่สรวยและชุมชนชนบท
  • วันอังคารที่ 7 พ.ค. พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว จ.เชียงราย ขอเชิญลงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือภัยพิบัติแผ่นดินไหว ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาวิชา จุดเริ่มเต้นจาก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ > โรงเรียนชุมชนบ้านป่าก่อดำ > วัดดงมะเฟือง > เขื่อนแม่สรวย และสิ้นสุดที่ โรงเรียนศรีถ้อยสุนทรราษฎร์วิทยา (รับจำนวนจำกัด 50 ท่าน)

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงและป้องกันไฟป่าหมอกควัน อ.แม่ลาว

 

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 67 ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอแม่ลาว พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ สมาชิกวุฒิสภาพร้อมคณะลงพื้นที่อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ในโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน คณะที่ 2 ได้ร่วมประชุมเพื่อหารือข้อราชการและรับฟังการรายงานจากส่วนราชการในประเด็นต่างๆ โดยมี นายรุ่งโรจน์ ตันวุฒ นายอำเภอแม่ลาว พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำ อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ เพื่อหารือในการเตรียมการป้องกันการเผาป่า การแก้ไขปัญหาหมอกควัน PM2.5 การดูแลสุขภาพประชาชน และการส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษเพื่อเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang rai Wellness City) และประเด็นอื่นๆ ที่สำคัญ

 

ในการนี้ พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ สมาชิกวุฒิสภา คณะที่ 2 พร้อมคณะลงพื้นที่ไปยังบ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 ตำบลป่าก่อดำ อำเภอแม่ลาว ซึ่งเป็นบ้านของนางแก้วรัตน์ ไพยราช ที่ได้มีการส่งเสริมการผลิตปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษหลายชนิดภายในบริเวณรอบบ้านเต็มไปด้วยพืชผักสวนครัว สมุนไพร การเลี้ยงปลาธรรมชาติ และอื่นๆ อีกมายแบบครบวงจร เพื่อเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang rai Wellness City) ต่อไป
 
 
หลังจากนั้น คณะสมาชิกวุฒิสภา คณะที่ 2 ได้ลงื้นที่ไปยังบ้านป่าซ่างเหนือ หมู่ที่ 1 ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว เพื่อเยี่ยมชมและให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน PM2.5 ที่มีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อป้องกันไฟป่าได้เป็นอย่างดี เช่น การทำแนวป้องกันไฟป่าเขตติดต่อระหว่างอำเภอ การจัดเวรยามเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าระวังไฟป่า ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้อำเภอแม่ลาว ยังไม่พบว่ามีการเผาป่าหรือพบจุดความร้อนแต่อย่างใด จึงขอชื่นชมนายอำเภอแม่ลาว และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ได้ช่วยกันป้องกันปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ได้อย่างเข้มแข็ง
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News