Categories
ENTERTAINMENT

วธ. ชวนเที่ยวตามรอยเช็คอินซีรีส์ King The Land

 

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ประเทศไทยมีทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย สวยงามและทรงคุณค่าเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวทั่วโลก รัฐบาลจึงมอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมมือกับทุกหน่วยงาน องค์กรเครือข่ายต่างๆ ขับเคลื่อนและส่งเสริมงาน Soft Power ความเป็นไทยสู่ระดับชาติมาตลอดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ 5F ได้แก่ F-Food อาหาร, F-Film ภาพยนตร์และวีดิทัศน์, F-Fashion การออกแบบแฟชั่นไทย, F-Fighting ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย และ F-Festival เทศกาลประเพณีไทย สู่ระดับโลกเพื่อช่วยสร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ ตลอดจนนโยบายขับเคลื่อนงานการใช้สื่อบันเทิงนำเสนอวัฒนธรรมของประเทศ ส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย อีกทั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศในประเทศไทย ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้แก่นักแสดงชาวต่างชาติที่ถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย เป็นระยะเวลา 5 ปี และมาตรการคืนเงินในการลงทุนที่มีเนื้อหาส่งเสริมภาพลักษณ์ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ผลปรากฏว่ามีผู้ประกอบการต่างประเทศสนใจและพร้อมเดินทางมาถ่ายทำในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

นายอิทธิพล กล่าวว่า ซึ่งขณะนี้ เป็นที่น่ายินดีและน่าภูมิใจสำหรับคนไทย ที่ซีรีย์เกาหลีชื่อดังอย่าง King The Land ที่นำแสดงโดย อี จุนโฮ และอิม ยุนอา ในตอนที่ 10 เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 ได้เผยแพร่ความสวยงามของประเทศไทย ได้เผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ ส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมของไทยจนได้กระแสตอบรับอย่างล้นหลาม ครบจบใน 1 ตอน เป็นเวลา 1 ชั่วโมงเต็มๆ โดยตลอดทั้งตอนนี้ตัวละครหลักและเพื่อนๆได้พาไปชมสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นไฮไลต์ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โชว์ภาพวิวสวยๆ ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ รวมถึงกิจกรรมสนุกๆ สำหรับนักท่องเที่ยว การนั่งรถตุ๊กๆซึ่งเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นอย่างหนึ่งของประเทศไทยในการทัวร์รอบเมืองกรุงเทพ เผยแพร่ภาพสถานที่ท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน วัด แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตของไทย สถานที่พัก ร้านอาหาร ตลอดจนสถานท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของเหล่านักท่องเที่ยว อาทิ วัดอรุณราชวราราม, โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร, วัดปากน้ำภาษีเจริญ, ลานแสดงน้ำพุ ไอคอนสยาม, สยามสแควร์, ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง, แม่น้ำเจ้าพระยายามค่ำคืน, ถนนข้าวสาร, เสาชิงช้า และวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรวิหาร, เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ, ตลาดร่มหุบ, ร้านอาหารคุณแดงก๋วยจั๊บญวณ, โรงแรมสิริ ศาลา ไพรเวท วิลล่า, โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ, เอเชียทีค เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำเสนออาหารไทย ทั้งแบบสตรีทฟู้ด ไปจนถึงอาหารสุดหรู ได้อย่างสวยงามและน่ารับประทาน

นายอิทธิพล กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมขอชื่นชมซีรีย์เกาหลี เรื่อง King The Land ที่สามารถนำเอาวัฒนธรรม วิถีชีวิตของไทย เก็บรายละเอียดความเป็นไทยถ่ายทอดออกมาผ่านอุตสาหกรรมภาพยนตร์และซีรีย์ได้อย่างดี รวมถึงยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาให้มาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น จึงขอเชิญชวนเหล่าแฟนคลับที่ชมซีรีย์เรื่องนี้ ตลอดจนแฟนคลับของนักแสดงในเรื่องดังกล่าว มาท่องเที่ยวตามรอย ณ โบราณสถาน วัด แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตของไทย ทำให้เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพิ่มรายได้ให้ประเทศ เกิดภาพลักษณ์ที่ดี พร้อมดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาท่องเที่ยวด้วยทุนทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นของประเทศไทย

ทั้งนี้ นอกจากประเทศสาธารณเกาหลี (เกาหลีใต้) แล้ว ยังมีอีกหลายๆประเทศที่จะเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์หรือซีรีย์ต่างๆในประเทศไทย ซึ่งจากข้อมูลจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (Cannes Film Festival 2023) ณ เมืองคานส์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 16-27 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา มีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมคูหาประเทศไทยจำนวนมากกว่า 600 ราย รวมถึงมีผู้ผลิตภาพยนตร์ที่สนใจและมีแผนจะเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักรไทย จำนวน 21 ราย จาก 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส กรีซ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ อินเดียและออสเตรเลีย โดยมีแผนใช้เงินลงทุนรวมกว่า 3,800 ล้านบาท

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ซีรีย์ เรื่อง King the Land Ep.10 จาก Netflix 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
CULTURE

วธ.เตรียมเผยหนังสือหายาก“ปกีรณำพจนาดถ์และอนันตวิภาค””

 

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริม สืบสาน และธำรงรักษาอัตลักษณ์ความเป็นไทยด้วยภาษาไทย เพื่อหารือเตรียมจัดกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566 ว่า เนื่องในวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้ดำเนินการจัดงานเนื่องใน วันภาษาไทยแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อน้อมนำพระบรมราโชบายและพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทรงงาน เพื่อสืบสาน รักษาและต่อยอดแนวพระราชดำริ ด้านภาษาไทยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมถึงเพื่อกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และประชาชนชาวไทย ตลอดจนสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทยและใช้ให้ถูกต้อง ร่วมทั้งอนุรักษ์ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติให้งดงามอย่างยั่งยืน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า สำหรับงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2566 กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนบูรณาการองค์ความรู้ และแนวคิดร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้คนไทย ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เกิดความรักและหวงแหนความเป็นไทย ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยจะมีพิธีมอบโล่เกียรติยศและโล่รางวัลแก่หน่วยงานและผู้ได้รับรางวัลด้านภาษาไทย อาทิ รางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นชาวไทย ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย พุทธศักราช 2566 ด้านการประกวดหรือแข่งขันทักษะทางภาษาไทย อาทิ รางวัลสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2566 หัวข้อ “มนต์รักษ์ภาษาไทย” รูปแบบคลิปวิดีโอเพลงแรป รางวัลเพชรในเพลง  รวมถึงรางวัลอ่านทำนองเสนาะ “สดับถ้อยร้อยกรองไทย ครั้งที่ 2” ที่จัดประกวดด้วยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ตลอดจนการเผยแพร่วีดิทัศน์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย โดยจะมีการมอบเกียรติบัตรให้แก่สถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยด้วย

นายอิทธิพล กล่าวว่า นอกจากนี้ กรมศิลปากร ได้จัดพิมพ์หนังสือเก่าหายาก เรื่อง “ปกีรณำพจนาดถ์และอนันตวิภาค” (ปะ- กี- ระ -นำ- พด -จะ -นาด และ อะ- นัน.-ตะ -วิ พาก) จัดพิมพ์สูจิบัตร และกรมส่งเสริมวัฒนธรรมจัดพิมพ์หนังสือประวัติผลงานปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นชาวไทย ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย พุทธศักราช 2566 และได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดละครเพลงเรื่อง “หัวใจอภัยมณี” Heart of Stone The Musical รำลึกกวีเอก สุนทรภู่ สืบสานการใช้ภาษาไทย ในวันที่ 19 – 20 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นับได้ว่าผู้ที่ได้รับรางวัล ผู้ที่ร่วมงานทุกคน ตลอดจนหน่วยงานที่ในความร่วมมือร่วมจัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566 มีส่วนสำคัญที่ได้ร่วมกันถ่ายทอดวัฒนธรรมภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นแบบอย่างที่ดีของการสร้างความตระหนักในคุณค่าของภาษาไทย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

“งานลอยกระทงสุโขทัย” และ “งานพลุเมืองพัทยา” คว้ารางวัลระดับเอเชียจากสมาคม IFEA-ASIA

วธ. ร่วมแสดงความยินดี “งานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จากจังหวัดสุโขทัย” และ “งานพลุนานาชาติของเมืองพัทยา” คว้ารางวัล Gold Prize งานเทศกาลที่มีศักยภาพ (ธีมงานกลางคืน) ประจำปี 2023 ระดับเอเชียจากสมาคม IFEA-ASIA ณ สาธารณรัฐเกาหลี เตรียมยกระดับอีก 16 เทศกาลประเพณีให้เป็นที่รู้จักระดับโลก

 

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาล โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินนโยบายผลักดัน Soft Power ความเป็นไทยสู่ระดับโลก ซึ่งล่าสุดเป็นที่น่ายินดีที่ งานเทศกาลประเพณีของประเทศไทย ได้แก่ “งานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จากจังหวัดสุโขทัย” และ “งานพลุนานาชาติของเมืองพัทยา” ได้สร้างชื่อเสียงและคว้ารางวัล Gold Prize งานเทศกาลที่มีศักยภาพ (ธีมงานกลางคืน) ประจำปี 2023 จากสมาคมการจัดงานอีเวนท์และเทศกาลนานาชาติ หรือ International Festival & Events Association (IFEA) ภูมิภาคเอเชีย (ASIA Chapter) ณ เมืองทงยอง (City of Tongyeong) จังหวัด คยองซังใต้ (Gyeongsangnam-do) สาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea) ซึ่งเบื้องหลังความสำเร็จมีสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สสปน. หรือทีเส็บ ได้ดำเนินงานร่วมกับจังหวัดสุโขทัย สนับสนุนและดำเนินการส่งเข้าประกวดในครั้งนี้ ทั้งนี้ นับเป็นการตอกย้ำว่าเทศกาลลอยกระทงของสุโขทัย มีเสน่ห์และศักยภาพของเทศกาลลอยกระทงที่เป็นสีสันยามค่ำคืน และเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายปลายทางที่ดึงดูดผู้คนให้มาเยือนเพื่อสัมผัสประสบการณ์ของเทศกาลแห่งความสุขและความสนุกสนานดังกล่าวมาตลอด และยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการดึงนักเดินทางต่างชาติให้มาท่องเที่ยวมากขึ้น เกิดตลาดการลงทุนและท่องเที่ยวใหม่ๆ อาทิ ประเทศเกาหลีและภูมิภาคเอเชีย 

 

ทั้งนี้ จังหวัดสุโขทัย ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี 2562 ตลอดจนจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ กรุงเทพฯ และเพชรบุรี ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ ด้านอาหาร หัตถกรรมพื้นบ้าน และการออกแบบจากเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network : UCCN) เป็นการสะท้อนเอกลักษณ์ที่มีศักยภาพของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย และถือเป็นอีกความสำเร็จจากความร่วมมือตั้งแต่ระดับชุมชน ไปจนถึงภาครัฐ และภาคเอกชน ที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับจังหวัดหรือเมืองอื่น ๆ อีกด้วย

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า สำหรับในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการกับทุกภาคส่วน ทั้งจังหวัด ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันยกระดับเทศกาลประเพณีไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ เช่น การถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดนิทรรศการ การแสดงและการสาธิตทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ตลอดจนส่งเสริมด้านการประชาสัมพันธ์ ทำให้เกิดช่องทางการรับรู้ให้มากขึ้น โดยเป็นการประกาศยกระดับเทศกาลประเพณีของไทยไปแล้ว 16 จังหวัด ประกอบด้วย 

1. ประเพณีกตัญญูคู่ฟ้า มหาสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จังหวัดปัตตานี 

2. เทศกาลมรดกโลกบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี 

3. ประเพณีหกเป็งนมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง จังหวัดน่าน 

4. ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก “มาฆบูชาอารยธรรมอีสาน” จังหวัดยโสธร 

5. ประเพณีแห่ผ้าพระบฏพระราชทานถวายพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 

6. เทศกาลโคราชเมืองศิลปะ KORAT Street Art จังหวัดนครราชสีมา 

7. เทศกาลตามรอยอารยธรรมขอมโบราณปราสาทศิลา “สด๊กก๊อกธม” จังหวัดสระแก้ว 

8. เทศกาลเมืองคราม สกลนคร (KRAM & CRAFT SAKON FESTIVAL) นครหัตถศิลป์โลก เจ้าแห่งครามธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร 

9. เทศกาลอาหารอร่อยเมืองภูเก็ต เมืองสร้างสรรค์แห่งวิทยาการอาหาร จังหวัดภูเก็ต 

10. ประเพณีบุญกลางบ้าน สืบสานตำนานเมืองพนัส จังหวัดชลบุรี 

11. เทศกาล “นาฏยแห่งศรัทธา กิ่งกะหร่า น้อมบูชา วิสาขปุรณมี” จังหวัดแม่ฮ่องสอน 

12. ประเพณีบวงสรวงพญาศรีสัตตนาคราช เลาะตลาดคนเมืองไทนคร จังหวัดนครพนม 

13. เทศกาลไทลื้อ “โฮ่มฮีต โตยฮอย ร้อยใจไทลื้อ” จังหวัดพะเยา 

14. ประเพณีตักบาตรดอกไม้เข้าพรรษา จังหวัดสระบุรี 

15. เทศกาลอาหารผสานศิลป์ เมืองเพชร เมืองสร้างสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี และ

16. เทศกาลโคมแสนดวง ที่เมืองลำพูนจังหวัดลำพูน 

 

ซึ่งหลังจากนี้ วธ. พร้อมสนับสนุนและยกระดับเทศกาลประเพณีของไทยอื่นๆ สู่ระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายการปรับบทบาทจากกระทรวงสังคม สู่กระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจด้วยวัฒนธรรม ผลักดัน “Soft Power” ความเป็นไทยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ 5F ประกอบด้วย F-Food อาหาร, F-Film ภาพยนตร์และวีดิทัศน์, F-Fashion การออกแบบแฟชั่นไทย, F-Fighting ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย และ F-Festival เทศกาลประเพณีไทย สู่ระดับโลก 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ENTERTAINMENT

​ช่อง 3 เดินหน้าซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านละคร “หมอหลวง”

​ช่อง 3 เดินหน้าซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านละคร “หมอหลวง”

Facebook
Twitter
Email
Print

กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3  จัดงานเสวนา “ส่งเสริมอำนาจละมุน Soft Power ผ่านละครไทย หมอหลวง โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานในงานเสวนา และมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจโทรทัศน์ บริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) นายเขมทัตต์ พลเดช นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ผู้บริหาร ผู้กำกับ ผู้จัดละคร ตัวแทนนักแสดง แขกผู้เกียรติ เครือข่ายทางวัฒนธรรม และสื่อมวลชน เข้าร่วม ทั้งนี้เสวนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและผลักดันผลิตภัณฑ์ด้านวัฒนธรรมออกสู่ระดับสากล เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ และกระจายรายได้สู่ชุมชนทั่วประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ที่ปลุกกระแสสำคัญคืออุตสาหกรรมสื่อบันเทิง ทั้งละครโทรทัศน์ ซีรีส์ ภาพยนตร์ ฯลฯ ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างความสำเร็จในการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ให้กับประเทศไทย โดยงานจัดขึ้นในวันที่ 2 มิถุนายน 2566 ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม

ละครหมอหลวงออกอากาศในช่วงตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ช่อง 33 และ ทางแอปพลิเคชัน CH3Plus ผลิตโดยบริษัท โซนิกซ์ บูม 2013 โดย ชุดาภา จันทเขตต์ และ ปิยะ เศวตพิกุล ละครหมอหลวงนับเป็นหนึ่งในซอฟท์พาวเวอร์ที่ทรงพลังของยุคปัจจุบัน ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการสร้างสรรค์ผลงานละครโดยบูรณาการภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเข้าไว้เป็นหนึ่งเดียว จนทำให้เกิดปรากฏการณ์และเป็นกระแสความสนใจอย่างล้นหลาม 
ไม่ว่าจะเป็นเรตติ้งความนิยม การตอบรับอย่างถล่มทลายในทุกครั้งที่จัดกิจกรรม  และละครหมอหลวงยังมีการจำหน่ายลิขสิทธิ์เพื่อไปออกอากาศต่อยังแพลตฟอร์มของต่างประเทศ โดยละครหมอหลวงสามารถผลักดันเรื่องสมุนไพร อาหารไทยที่เป็นประโยชน์ และแพทย์แผนไทย ให้เป็นที่สนใจในวงกว้างของผู้ชมทั้งในและต่างประเทศ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เล็งเห็นว่า “หมอหลวง” ถือเป็นกรณีศึกษาที่ดีในการใช้สื่อบันเทิงเป็นแพลตฟอร์มหลักที่ช่วยส่งเสริมและผลักดันซอฟต์พาวเวอร์จากสื่อบันเทิง ให้เป็นที่แพร่หลาย ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของกระทรวงวัฒนธรรม จึงได้จัดงานเสวนาครั้งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการถอดบทเรียนจากละครหมอหลวง ที่จะเป็นแนวทางในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ในอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงและคอนเทนต์ของไทยต่อไปในอนาคต และแสดงให้เห็นถึงการบูรณาการความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของภาครัฐและภาคเอกชนในการดำเนินงานส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์อย่างเป็นรูปธรรม 

โดยมีประเด็นการเสวนาเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมสื่อบันเทิงอย่างละครและภาพยนตร์สู่สากล ทั้งจากกระทรวงวัฒนธรรมและตัวแทนผู้ประกอบการ เบื้องหลังและความสำเร็จในการพัฒนาละครที่สอดแทรกความรู้ด้านแพทย์แผนไทย โดยทีมผู้ผลิตละครหมอหลวง โดยมี นายเขมทัตต์ พลเดช นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เข้าเสวนาเสวนาร่วมกับตัวแทนจากกระทรวงวัฒนธรรม ผู้จัด ผู้กำกับ และนักแสดงจากละครหมอหลวง โดยมี เซน เมจกา สุพิชญางกูร เป็นผู้ดำเนินรายการ

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยถึงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ว่า “ขณะนี้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง ซึ่งจากข้อมูลล่าสุด (2564) สร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้กับประเทศกว่า 312,827 ล้านบาท และในปี 2566 วธ.จะดำเนินงานโครงการเพื่อส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ความนิยมไทยของประเทศไทย โดยสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลกว่า 971.55 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ 58.25 ล้านบาท โครงการพัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 893.41 ล้านบาท และโครงการด้านการต่างประเทศ 19.88 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานรัฐอื่น ๆ ที่ได้รับงบประมาณเพื่อร่วมส่งเสริม Soft Power ของประเทศไทย ในมิติต่าง ๆ อีกจำนวน ไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาท คาดว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ด้านวัฒนธรรมไปสู่ตลาดต่างประเทศ สร้างงาน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้สู่ชุมชนและประเทศได้อย่างต่อเนื่อง”

ทางด้าน นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจโทรทัศน์ บริษัท บีอีซีเวิล์ด จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ละครหมอหลวง ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยความนิยมนั้นนอกจากความสนุกสนานของละครแล้ว ละครยังสร้างกระแสความภาคภูมิใจให้กับคนไทย และความสนใจในเรื่องของสมุนไพรและแพทย์แผนไทยให้เกิดขึ้นอย่างมากทั้งในและต่างประเทศ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เห็นว่าโอกาสนี้เป็นนิมิตรหมายที่ดีในการจัดงานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการผลักดันอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง ให้เป็นแกนหลักในการส่งออกซอฟต์พาวเวอร์ด้านวัฒนธรรมไปสู่ตลาดต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิผลต่อไป”               

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

ไทยชู Soft Power เนื้อหอมเทศกาลเมืองคานส์ เปิดโต๊ะเจรจาการค้ากว่า 2,000 ล้านบาท

ไทยชู Soft Power เนื้อหอมเทศกาลเมืองคานส์ เปิดโต๊ะเจรจาการค้ากว่า 2,000 ล้านบาท

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการที่ วธ. ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งในและต่างประเทศภายใต้ตราสัญลักษณ์ Content Thailand ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (Cannes Film Festival 2023) ณ เมืองคานส์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 16-27 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า ประเทศไทยสามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทย และขยายตลาดภาพยนตร์ไทยสู่ระดับนานาชาติ และผลักดัน “Soft Power” ความเป็นไทยได้ตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศผ่านอุตสาหกรรมวัฒนธรรม 5F ได้แก่ อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่น (Fashion) มวยไทย (Fighting) และเทศกาลประเพณี (Festival) ได้อย่างเป็นรูปธรรม

นายอิทธิพล กล่าวว่า สำหรับการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีว่ามีภาคเอกชนเข้าร่วมงาน 12 บริษัท อาทิ Benetone Films, BrandThink, Film Frame Productions, GDH 559, Halo Productions, Kantana Motion Pictures, M Pictures, Right Beyond, Sahamongkolfilm International และ Yggdrazil Group  เนรมิตรหนัง ฟิล์ม และเวลา เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ซึ่งให้ความร่วมมือในหลากหลายกิจกรรม อาทิ กิจกรรมตลาดซื้อขายภาพยนตร์ และนิทรรศการคูหาประเทศไทย (Thailand Pavilion) โดยมีมูลค่าการเจรจาการค้ารวมกว่า 2,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ไฮไลท์ของคูหาประเทศไทย คือการจัดกิจกรรม Thai Film Pitching Project 2023 นำเสนอโครงการการสร้างภาพยนตร์เพื่อการร่วมลงทุน 2 เรื่อง ได้แก่ ทองหล่อคิดส์ โดย อาทิตย์ อัสสรัตน์ และ เจ้าหงิญ โดย เอมอัยย์ พลพิทักษ์ ซึ่งขณะนี้มี 43 บริษัท ที่สนใจเข้าร่วมลงทุนมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า ตลอดการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ในครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมคูหาประเทศไทยจำนวนมากกว่า 600 ราย รวมถึงมีผู้ผลิตภาพยนตร์ที่สนใจและมีแผนจะเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักรไทย จำนวน 21 ราย จาก 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส กรีซ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ อินเดียและออสเตรเลีย โดยมีแผนใช้เงินลงทุนรวมกว่า 3,800 ล้านบาท 

โดยรายละเอียดการเข้ามาติดต่อสอบถามในประเด็นหลัก ๆ อาทิ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในประเทศไทย การร่วมทุนผลิต (Co-Production) และการหาทุนในการสร้างภาพยนตร์ในประเทศไทย การจัดเทศกาลภาพยนตร์ในระดับประเทศและระดับนานาชาติในประเทศไทย (Film Festival) และการสนับสนุนด้านเงินทุนในการผลิตภาพยนตร์ (Film Funding) นอกจากนี้ ในวันเปิดคูหาประเทศไทยยังมีอาหารไทยให้ผู้ประกอบการ นักลงทุน นักท่องเที่ยว ได้ลิ้มลอง ได้แก่ ส้มตำ ข้าวผัดกุ้ง ข้าวเหนียวมะม่วง และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทย ช่วยสร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศสร้างความมั่งคั่ง มั่นคงตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

วธ. ร่วมกับภาครัฐ เอกชน จัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทั่วประเทศ

วธ. ร่วมกับภาครัฐ เอกชน จัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทั่วประเทศ

Facebook
Twitter
Email
Print

วธ. ร่วมกับภาครัฐ เอกชน จัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทั่วประเทศ บำเพ็ญกุศลถวายพระราชกุศล กิจกรรมทางศาสนา นิทรรศการ การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ชมนิทรรศการอาภรณ์ 5 การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม : สุโขทัย ณ หอศิลป์ราชดำเนิน น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างค่านิยม อัตลักษณ์ไทยและความเป็นไทย รวมทั้งสืบสาน รักษาและต่อยอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทย วธ.จึงร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชน และเครือข่ายทางวัฒนธรรม จัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 3 มิถุนายน 2566 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย ทางวธ.จึงจัดกิจกรรมทางศาสนาเฉลิมพระเกียรติในหลายพื้นที่เพื่อเป็นสิริมงคล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยหน่วยงานต่าง ๆ สังกัดวธ. จัดตกแต่งสถานที่ ประดับธงชาติคู่กับธงพระนามาภิไธย ส.ท. จัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระฉายาลักษณ์พร้อมเครื่องราชสักการะ ซึ่งในส่วนกลางจัดกิจกรรม ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมจัดทำวีดีทัศน์และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ พิธีถวายราชสักการะและลงนามถวายพระพร นอกจากนี้ กรมการศาสนา ได้เชิญชวนผู้นำองค์การทางศาสนา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนพสกนิกรทุกหมู่เหล่าทั่วประเทศ ร่วมกันบำเพ็ญกุศลถวายพระราชกุศล ในส่วนกลางจัดที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ในวันที่ 1 มิถุนายน 2566 โดยจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ และกิจกรรมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด อาทิ พระพุทธชินราช พระประธานในพระอุโบสถ รวมถึงจัดงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา พุทธศักราช 2566 ระหว่างวันที่ 2-3 มิถุนายน 2566 ณ วัดสระเกศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การสาธิตสืบสานประเพณีกวนข้าวทิพย์ การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย การสาธิตและจัดแสดงผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้านสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจัดนิทรรศการอาภรณ์ 5 การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม : สุโขทัย เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ ณ หอศิลป์ร่วมสมัย ราชดำเนิน ขณะเดียวกัน ในส่วนภูมิภาคจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ เช่น พิธีเจริญพระพุทธมนต์สมโภชพระเจดีย์หรือพระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัด นิทรรศการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหรือวีดีทัศน์ที่เกี่ยวข้อง 

ทั้งนี้ วธ.ขอเชิญชวนเครือข่ายทางวัฒนธรรม พสกนิกรชาวไทยร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 3 มิถุนายน 2566 ผ่านระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์หน่วยงานราชการในพระองค์ www.royaloffice.th และร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณโดยพร้อมเพรียงกัน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

วธ. เร่งสร้างการรับรู้ Thailand Biennale 2023 ที่ จ.เชียงราย ตลอด 5 เดือน

วธ. เร่งสร้างการรับรู้ Thailand Biennale 2023 ที่ จ.เชียงราย ตลอด 5 เดือน

Facebook
Twitter
Email
Print

วธ. เร่งสร้างการรับรู้ประเทศไทยจัดงานงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ตลอด 5 เดือน มุ่ง “เปิดโลก” สร้างการรับรู้ทางศิลปะ ผ่านผลงานของศิลปินทั่วโลก พร้อมกิจกรรมทางการศึกษา แสดงงานศิลปะ ทั้งภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง ดนตรี และอีกมากมาย

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ในการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ที่ประชุมได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ว่า สำหรับการจัดงานครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้น ณ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567 ซึ่งเป็นการจัดงานต่อเนื่องจาก 

– ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดกระบี่ Thailand Biennale, Krabi 2018 มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 2.6 ล้านคน สร้างรายได้ไปกว่า 864 ล้านบาท 

– ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดนครราชสีมา Thailand Biennale, Korat 2021 มีผู้เข้าร่วมงานเกือบ 2 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 3 พันล้านบาท 

– ครั้งที่ 3 คาดหวังว่าจะสามารถสร้างมูลค่าให้แก่งานศิลปะร่วมสมัย และสร้างความเข้มแข็งให้แก่จังหวัดเชียงรายทั้งในด้านเศรษฐกิจที่คาดการณ์ว่า จะมีนักท่องเที่ยวกว่า 5 ล้านคน เกิดการจ้างงานไม่น้อยกว่า 8,000 อัตรา และมีเงินหมุนเวียนเศรษฐกิจของเชียงรายและกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน (พะเยา แพร่ น่าน) ไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาท ในด้านสังคม เกิดการส่งเสริมความร่วมมือในชุมชน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายและองค์กรศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติในอนาคต และในด้านต่างประเทศ จะเป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์ เสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์อันดี ทั้งในระดับภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และเครือข่ายศิลปิน รักษาการเป็นหมุดหมายสำคัญของการจัดแสดงงานศิลปะนานาชาติระดับโลกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้รับความร่วมมือและความพร้อมจากทุกภาคส่วน สำหรับเตรียมจัดงาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ด้วยแนวคิดจัดนิทรรศการภายใต้แนวคิด The Open World  “เปิดโลก” การรับรู้ทางศิลปะ ผ่านผลงานของศิลปินจากทั่วโลก ที่จะมาร่วมเปิดมิติทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเชียงรายสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับโลก โดยที่ผ่านมาสำหรับการเตรียมพร้อมจัดงานอย่างยิ่งใหญ่นั้น มีการจัดพิธีเปิดตัวธงสัญลักษณ์โครงการฯ เปิดตัวผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์และภัณฑารักษ์ วางศิลาฤกษ์หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย 

การจัดเสวนาวิชาการเพื่อสร้างการรับรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ การลงพื้นที่ของคณะผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ ภัณฑารักษ์ ศิลปินทั้งชาวไทยและต่างชาติ การแถลงข่าวการเปิดตัวแนวคิดการจัดงาน (Curatorial theme) และประกาศรายชื่อศิลปินรอบแรก 20 คน พร้อมจัดทำศูนย์ข้อมูล ณ หอศิลป์แทนคุณ วัดร่องขุ่น เพื่อเป็นสถานในการให้ข้อมูลของการจัดงาน ทั้งนี้ แผนในระยะต่อไปได้เตรียมจัดทำศูนย์ข้อมูลในแห่งที่ 2 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย จะจัดทำการลงนามข้อตกลงระหว่างสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกับศิลปิน การสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน และการเตรียมจัดงานเปิดงานในวันที่ 9 ธันวาคม 2566 พร้อมกันนี้ยังเตรียมกิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 5 เดือนของการจัดงาน อาทิ กิจกรรมทางการศึกษา แสดงงานศิลปะ ทั้งภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และดนตรี เป็นต้น

นายอิทธิพล กล่าวต่อไปอีกว่า ที่ประชุมรายงานว่านิทรรศการของงาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ 

1.นิทรรศการหลักที่จัดขึ้นโดยทีมภัณฑารักษ์ ในสถานที่ต่างๆทั่วตัวเมืองอำเภอ เชียงราย และอำเภอเชียงแสน 

2.pavilion หรือศาลา แสดงผลงานของกลุ่มศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงการจัดในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย ซึ่งเป็นนิทรรศการคู่ขนานกันไปกับนิทรรศการหลัก 

3.Collateral Events ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในช่วงการแสดงงานทั้ง 5 เดือน ช่วงที่จัดงานเบียนนาเล่ 

โดยจะเป็นกิจกรรม อาทิเทศกาลดนตรีชาติพันธุ์ร่วมกับมรภ.เชียงราย งานฉายภาพยนตร์ร่วมกับหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และการแสดงสดอื่นๆ ขณะเดียวกันผู้ชมจะมีโอกาสเยี่ยมชมบ้านและสตูดิโอศิลปินเชียงราย           ซึ่งกระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ ของเชียงราย สำหรับผู้สนใจสามารถกดติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ https://www.facebook.com/thailandbiennale

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ธนาคารกรุงไทย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE