Categories
NEWS UPDATE

นิตยสารชื่อดังให้ไทยติดอันดับ 1 ประเทศที่น่าเยี่ยมชมที่สุดประจำปี 2024

 
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2567 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ขอบคุณทุกการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนไทยทุกคนที่เป็นเจ้าภาพที่ดีจนไทยได้รับการจัดให้เป็นอันดับ 1 ประเทศที่น่าเยี่ยมชมที่สุดในปี 2024 (World’s Best Countries To Visit In Your Lifetime, 2024) รวมทั้งเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงทุกปัจจัยที่ส่งเสริมศักยภาพด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย

 

ขณะเดียวกัน การจัดอันดับในครั้งนี้ดำเนินการโดยนิตยสาร CEOWORLD ซึ่งเป็นนิตยสารด้านธุรกิจชื่อดัง โดยใช้วิธีจัดอันดับโดยการเก็บข้อมูลความคิดเห็นจากผู้อ่านมากกว่า 295,000 ราย ที่มีต่อ 67 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ และประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่น่าเยี่ยมชมที่สุด เป็นอันดับ 1 (World’s Best Countries To Visit In Your Lifetime) ในปีนี้ ด้วยคะแนนร้อยละ 72.15

 

โดยทางนิตยสาร CEOWORLD ระบุว่า การท่องเที่ยวในประเทศไทย ทำให้ได้รับประสบการณ์ท่องเที่ยวหลากหลาย เช่น สีสันยามค่ำคืน อาหารอร่อย ศิลปะและวัฒนธรรมที่มีชีวิตชีวา แหล่งช็อปปิ้งที่ขึ้นชื่อ แม่น้ำลำคลองที่คดเคี้ยวอย่างสวยงาม วัดของศาสนาพุทธ ตลาดกลางคืน ตลาดน้ำ และสวนสาธารณะสุดพิเศษ

 

สำหรับผลการจัดอันดับประเทศที่น่าเยี่ยมชมที่สุดประจำปี 2024 โดยนิตยสาร CEOWORLD ที่น่าสนใจ 10 อันดับแรก มีดังนี้

  1. ประเทศไทย ได้คะแนนร้อยละ 15
  2. กรีซ ร้อยละ 22
  3. อินโดนีเซีย ร้อยละ 15
  4. โปรตุเกส ร้อยละ 32
  5. ศรีลังกา ร้อยละ 53
  6. แอฟริกาใต้ ร้อยละ 76
  7. เปรู ร้อยละ 76
  8. อิตาลี ร้อยละ 77
  9. อินเดีย ร้อยละ 65
  10. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ร้อยละ 38

 

ด้าน นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลผลักดันไทยสู่การเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวของภูมิภาค หรือ Tourism Hub ซึ่งการเป็น Tourism Hub นั้น ถือเป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ประเทศไทยที่รัฐบาลมุ่งนำพาประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในทุกมิติ โดยในปีนี้รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายรายได้ทางการท่องเที่ยว 3.5 ล้านล้านบาท และจะทวีเพิ่มมากขึ้นในปีต่อ ๆ ไป ด้วย 5 กลยุทธ์สำคัญ คือ

 

การยกระดับประสบการณ์ โปรโมตการท่องเที่ยวไทยในทุกมิติ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทยก่อนการเดินทาง ให้ข้อมูลสำคัญกับนักท่องเที่ยวตั้งแต่บนเครื่องบิน เพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการในสนามบิน สร้างความประทับใจด้วยมัคคุเทศก์ และผู้นำเที่ยวที่มีมาตรฐาน สร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง

 

อีกทั้งยังมีการชูเอกลักษณ์ไทย หรือ เสน่ห์ไทย นำเสนอเรื่องราว และเพิ่มมูลค่าด้วยการนำจุดแข็งทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมมาเป็นจุดขาย ได้แก่ Must Beat มวยไทย, Must Eat อาหารไทย, Must Seek วัฒนธรรมไทย, Must Buy ผ้าไทย และ Must See โชว์ไทย นอกจากนี้ เมืองหลัก และเมืองน่าเที่ยว เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวจากเมืองหลักสู่เมืองใกล้เคียง อาทิ เส้นทาง Lanna Culture เชียงใหม่-ลำพูน-ลำปาง เส้นทาง UNESCO Heritage Trail มรดกไทย มรดกโลก ผ่านเส้นทางสุโขทัย-กำแพงเพชร และนครราชสีมา เส้นทาง NAGA Legacy นครพนม สกลนคร บึงกาฬ ตามรอยตำนานศรัทธาพญานาคเส้นทาง Paradise Islands ตรัง-สตูล หมู่เกาะแห่งอันดามันใต้ สวรรค์แห่งท้องทะเล เส้นทาง The Wonder of Deep South ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส ใต้สุดแห่งสยาม มนต์เสน่ห์แห่งพหุวัฒน

 

ขณะเดียวกันยังมุ่งเน้น Hub of ASEAN เปิดประตูการท่องเที่ยวสู่อาเซียนให้สามารถเชื่อมโยงการเดินทางกับประเทศเพื่อนบ้าน เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานให้การเดินทางท่องเที่ยว ไร้รอยต่อ

 

ตลอดจน World Class Event Hub ให้ไทยเป็นศูนย์รวม World Class Experience จากการนำ Event ระดับโลกเข้ามาจัดแสดงในประเทศ ทั้งด้านดนตรี กีฬา อาหาร ไลฟ์สไตล์ ศิลปและวัฒนธรรม อาทิ จัดงานวิสาขบูชาโลก ประจำปี 2567 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพSummer Sonic Bangkok 2024, KAWS Arts, Moto GP, Volleyball World Championship เป็นต้น เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับประเทศ

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI TRAVEL

“กาดหมั้ว คัวเงิน คัวเขิน” เปิดตัว ‘ตลาดบก’ สืบสานวัฒนธรรมไทย

 
นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดตลาดบกวัฒนธรรม สืบสานวัฒนธรรมไทย ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ “กาดหมั้ว คัวเงิน คัวเขิน ชุมชนวัดศรีสุพรรณ ชุมชนวัดหมื่นสาร และชุมชนวัดนันทาราม” (ย่านวัวลาย) โดยมี นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวรายงาน และ นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ จัดในวันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 ณ ตลาดวัฒนธรรมวัดศรีสุพรรณ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

 กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะกรรมการ 3 วัด 3 ชุมชน ดำเนินงานโครงการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรม “การสร้างเสริมอัตลักษณ์ชุมชน อัตลักษณ์ไทย สู่เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม : 10 ตลาดบก 6 ตลาดน้ำ สืบสานวัฒนธรรมไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชน จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ผ่านตลาดบกและตลาดน้ำ และตลาดวัฒนธรรมชุมชนวัดศรีสุพรรณ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับคัดเลือกให้เป็นตลาดบกที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชน อัตลักษณ์ไทย สู่เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยมีนายสุรพล เกียรติไชยากร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

 

วัฒนธรรมจังหวัด 16 จังหวัดภาคเหนือ ผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายทางวัฒนธรรม ผู้นำชุมชน สื่อมวลชน และประชาชนเข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

  1. การแสดงศิลปวัฒนธรรม ชุด “กึกก้องเภรี นาฏยดนตรี วิถีกาดบก ชุมชนวัดศรีสุพรรณ” โดย วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่
  2. พิธีตอกดุนลายแผ่นโลหะ โดย พ่อครูดิเรก สิทธิการ ศิลปินแห่งชาติ
  3. ประธานในพิธีมอบของที่ระลึกให้แก่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
  4. พิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้สนับสนุนการขับเคลื่อนตลาดบกฯ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่

         4.1 พ่อครูดิเรก สิทธิการ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (งานสลักดุนเครื่องเงินและโลหะ) พุทธศักราช 2565 ผู้แทนชุมชนคุณธรรมวัดศรีสุพรรณ

        4.2 ดร.อุไร ไชยเสน ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  1. ประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรให้แก่ทูตวัฒนธรรม จำนวน 12 คน
  2. การแสดงศิลปวัฒนธรรม ชุด “ฟ้อนคัวเงินงาม” โดย นักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดศรีสุพรรณ
  3. การสาธิตภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและเยี่ยมชมตลาด โดยมี พระครูพิทักษ์สุทธิคุณ (สุพล สุทธฺสีโล) เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ เมตตาบรรยายให้ข้อมูลสำคัญ
  4. กิจกรรมขันโตกล้านนา กาดหมั้ว เครื่องเงิน เครื่องเขิน ของฝาก และของที่ระลึก
  5. การแสดงดนตรีพื้นเมืองล้านนา
  6. สักการะพระพุทธปาฏิหาร์ (พระเจ้าเจ็ดตื้อ) และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  7. กิจกรรมนั่งรถราง”ชมงานศิลป์เยือนถิ่นวัวลาย” 3 วัด 3 ชุมชน
  8. การออกร้านอาหารพื้นเมือง เมนูเชิดชูอาหารถิ่น “ตำจิ้นแห้ง”

 

     นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นางสุภัสสร ประภาเลิศ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางสาวณพิชญา นันตาดี นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายจิรัฏฐ์ ยุทธ์ธนประวิช นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายวรพล จันทร์คง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นางสาวสุทธิดา ตราชื่นต้อง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และ นายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานฯ และประชาสัมพันธ์การจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale Chiang Rai 2023 ซึ่งจะมีขึ้น ณ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 9 ธ.ค.2566 ถึง 30 เมษายน 2567 ในงานดังกล่าวด้วย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News