Categories
EDITORIAL

สกสว.หนุนนักวิจัยปรับระบบเตือนภัย น้ำท่วม-ดินถล่ม เร่งทำ แผนที่น้ำท่วม

 

3 ตุลาคม 2567 รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรม (สกสว.) เป็นประธานเปิดการประชุมและแถลงข่าว “แนวทางการปรับปรุงระบบเตือนภัยพิบัติเพื่อลดความเสียหาย (น้ำท่วม ดินถล่ม)” ณ ห้องประชุม สกสว. เพื่อรับทราบสถานะของระบบป้องกันและแจ้งเตือนภัยในปัจจุบัน เทคโนโลยีของการป้องกันและเตือนภัย ข้อจำกัดและการปรับปรุงที่ควรมี ตลอดจนแนวทางการจัดการในพื้นที่ และงานวิจัยที่ควรดำเนินการในอนาคต

 

ผู้อำนวยการ สกสว. ระบุว่า ระบบป้องกันและเตือนภัยพิบัติน้ำท่วมและดินถล่มในปัจจุบันยังบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานไม่ทันกาล ทำให้การประมวลผลและตัดสินใจล่าช้า รวมถึงปัญหาความแม่นยำของการคาดการณ์สถานการณ์ และโครงสร้างพื้นฐานทั้งอุปกรณ์ตรวจวัดและระบบเครือข่ายยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยง จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง และใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัยเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์และเพิ่มความแม่นยำในการคาดการณ์ สกสว.เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวและได้หนุนเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาระบบป้องกันและแจ้งเตือนภัยพิบัติที่มาโดยตลอด การจัดประชุมและแถลงข่าวในครั้งนี้ได้ระดมความเห็นจากหน่วยงานในระดับปฏิบัติการ ภาควิชาการ และผู้นำท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การวางแผนและจัดสรรงบประมาณสนับสนุนทุนวิจัยในการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์แก่หน่วยงานต่าง ๆ และชุมชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความแม่นยำและแจ้งเตือนได้ทันท่วงทีต่อสถานการณ์ และลดความสูญเสียต่อประชาชน

ด้าน รศ. ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ผู้อำนวยการแผนงานการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ ด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า ระบบเตือนภัยของไทยยังมีปัญหาในระดับปฏิบัติการ การเชื่อมโยง ข้อมูลที่เข้าถึงพื้นที่ยังไม่เพียงพอและไม่ทันการณ์ สื่อสารไม่ทั่วถึงและเข้าใจยากสำหรับชุมชน กระทรวง อว.จึงควรเข้ามามีบทบาทหนุนเสริมทางวิชาการโดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ พัฒนาระบบเตือนภัย และร่วมพัฒนาความสามารถของชุมชนในพื้นที่ให้สามารถตอบโจทย์ในพื้นที่ ทั้งการสนองต่อสถานการณ์ได้จริงและเข้าถึงประชาชนได้ง่าย โดยจากนี้ไปจะต้องจัดลำดับความสำคัญเพื่อพัฒนางานวิจัยและทำงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระยะสั้น-กลาง-ยาว เพื่อให้เห็นว่าวิชาการช่วยประชาชนในพื้นที่ได้จริง โดยมีสถาบันการศึกษาในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยง สิ่งสำคัญที่สุดคือการจัดทำแผนที่น้ำท่วมเพื่อเตรียมรับมือในพื้นที่เสี่ยงสูง

ที่ผ่านมา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน. )ได้พัฒนาขีดความสามารถของเทคโนโลยีเฝ้าระวังและคาดการณ์อุทกภัย ทั้งการคาดการณ์จากดัชนีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและปริมาณฝนล่วงหน้า 6-12 เดือน เทคโนโลยีข้อมูลจากการสำรวจ โทรมาตร ดาวเทียมและเรดาร์ รวมถึงระบบคาดการณ์ 1-7 วัน เพื่อเตือนภัยและสนับสนุนการปฏิบัติงาน พัฒนาต่อยอดเพื่อใช้งานทุกระดับและเป็นระบบคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติและศูนย์ข้อมูลน้ำจังหวัดที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา สสน.ได้เชื่อมโยงข้อมูลกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้ดี มีข้อมูลออกสู่สาธารณชนมากขึ้น และเริ่มถึงเชิงลึกรายพื้นที่ แต่ปัญหาในพื้นที่เฉพาะยังไม่ตอบสนองสถานการณ์ได้เพียงพอ มีผู้ประสบภัยติดอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม และรถจมน้ำจำนวนมาก ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงประสิทธิภาพของระบบเตือนภัยและการบริหารจัดการน้ำท่วม

 

ขณะที่ รศ. ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า การปรับปรุงระบบเตือนภัยและบริหารจัดการน้ำต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากชุมชน โดยมีภาควิชาการเข้าไปช่วยเหลือ ชุมชนต้องแข็งแรงและมีความรู้ ไม่เน้นเทคนิคมากมายแต่เน้นการพัฒนาชุมชนให้มีระบบเตือนภัยฐานชุมชน ซักซ้อมเพื่อช่วยเหลือกันเอง รวมถึงสนับสนุนปราชญ์ชุมชนด้านภัยพิบัติ และพร้อมรับข้อมูลจากวิทยาการภายนอกเข้าเสริม เช่นเดียวกับ รศ. ชูโชค อายุพงศ์ หัวหน้าศูนย์วิชาการสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึง ระบบเตือนภัยน้ำท่วมสำหรับพื้นที่เสี่ยงสูงต้องเริ่มมาจากการพยากรณ์น้ำล่วงหน้าที่แม่นยำและมีเวลามากพอ มีเครื่องมือสนับสนุนให้ประชาชนตะหนักถึงความลึกของระดับน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นในบริเวณต่าง ๆ โดยเครื่องที่ทำได้ก่อนใช้งบประมาณและเวลาไม่มาก ได้แก่ แผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมและหมุดหมายระดับน้ำท่วมครอบคลุมพื้นที่น้ำท่วม ซึ่ง อว. สามารถสนับสนุนองค์ความรู้ให้ภาคส่วนต่าง ๆ ได้

สำหรับเสียงสะท้อนจากตัวแทนผู้นำชุมชนซึ่งเป็นเครือข่ายวิจัย พบว่าทิศทางการพัฒนาระบบเตือนภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพจะต้องได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการและวิชาการ  ปัจจุบันชาวบ้านในชุมชนเ                                                                                                                                                                          น้     นการแจ้งเตือนกันเองตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น การโทรศัพท์ ใช้วิทยุสื่อสาร รวมถึงปัญหาสำคัญในการสื่อสารด้วยศัพท์ทางวิชาการของหน่วยงานที่เข้าใจยาก การสื่อสารข้อมูลจากส่วนกลางที่น่าเชื่อถือ รับฟังและนำไปปฏิบัติได้ยังเป็นจุดอ่อนที่ต้องหาทางแก้ไข นอกจากนี้ยังต้องซ้อมแผนเผชิญเหตุในเชิงนโยบายและระบุอำนาจของผู้นำ อปท. ว่าสามารถดำเนินการอะไรได้บ้าง และจะมีหน่วยงานใดเข้าไปช่วยเหลือได้ทันที

ทั้งนี้ นายอาร์ม จินตนาดิลก ผู้อำนวยการส่วนวิชาการการเตือนภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เสริมว่า ปกติจะมีการทบทวนแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุก 5 ปี แต่ประชาชนต้องให้ความตระหนักในการฝึกซ้อมด้วย รวมถึงส่งเสริมอุปกรณ์ที่จำเป็นตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ขณะนี้แผนของจังหวัดมีอยู่แล้วแต่แผนของ อปท. ยังไม่ครอบคลุมแต่จะส่งเสริมให้เต็มทั่วทุกพื้นที่ และจะรื้อฟื้นเครือข่าย “มร.เตือนภัย” ให้ใช้ได้อีกครั้ง

นอกจากนี้ในเวทียังมีข้อเสนอในระยะยาวว่าควรออกกฎหมายการควบคุมการก่อสร้างในพื้นที่เสี่ยง การควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินและวางระบบการบริหารจัดการน้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยง โดยปรับโครงสร้างเดิมที่จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจตาม พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำมาเป็นสถาบันมืออาชีพ  มีกลไกจัดการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินเนื่องจากเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและต้องทำจากพื้นที่ เพื่อจะได้ทราบว่ามีพื้นที่ใหม่ ๆ ที่น้ำท่วมอยู่ตรงไหน และหารือเรื่องออกผังน้ำกับกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อปรับเปลี่ยนเกณฑ์การก่อสร้าง พื้นที่สีเขียว การวางระบบจัดการ การควบคุมการใช้ที่ดิน และการจัดการของชุมชนให้ไปด้วยกันอย่างเหมาะสม มีการแบ่งอำนาจส่วนกลางกับท้องถิ่นให้สอดคล้องและชัดเจน ซึ่งรัฐบาลต้องเข้าใจและวางระบบบริหารจัดการภัยพิบัติใหม่ และหวังว่านักการเมืองจะเริ่มเข้าใจถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารจัดการภัยพิบัติตามแนวคิดใหม่

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรม (สกสว.) 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
SOCIETY & POLITICS

นักวิจัย ม.เชียงใหม่ ค้นพบ “กระดังงา” ชนิดใหม่ของโลกตั้งชื่อ “เฉลิมพระเกียรติ”

 

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) สนับสนุนคณะผู้วิจัย เพื่อดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของพรรณไม้วงศ์กระดังงา (Annonaceae) ในประเทศไทยที่หายากและยังไม่เป็นที่รู้จัก เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน”

โดยการวิจัยพบพืชชนิดใหม่ของโลกในวงศ์กระดังงาจากจังหวัดสตูล ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Orophea chalermprakiat Damth., Chanthamrong & Chaowasku และคณะผู้วิจัยได้ตั้งคำระบุชนิดว่า “chalermprakiat” และตั้งชื่อไทยว่า “เฉลิมพระเกียรติ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ หรือ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567

ดร.ฉัตรธิดา วิยา นักวิชาการ สังกัดองค์การสวนพฤกษศาสตร์ นายอรุณ สินบำรุง นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นายธานี ใจสมุทร สังกัดวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหาญ และนายกิติศักดิ์ ฌานธำรง นักวิจัยอิสระ โดยการค้นพบครั้งสำคัญนี้ยังได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Phytotaxa เล่มที่ 658 ฉบับที่ 3 หน้าที่ 296-300 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2567 อีกด้วย

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู สังกัดภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ต้น “เฉลิมพระเกียรติ” มีลักษณะเด่นคือ เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 เมตร กลีบดอกมีสีครีม กลีบชั้นในประกบกัน ปลายกลีบแยกออก โคนกลีบคอดเรียว จึงเกิดช่องเปิดระหว่างกลีบ ทำให้เห็นเกสรเพศผู้และเพศเมียอย่างชัดเจน

 

พืชชนิดใหม่นี้พบขึ้นในหลุมยุบภายในถ้ำทะลุ ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล พื้นที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานธรณีสตูล ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทย

 

นอกจากนี้ “เฉลิมพระเกียรติ” ยังเป็นพืชหายาก พบเพียง 15-20 ต้น โดยทุกภาคส่วนต้องช่วยกันอนุรักษ์  ไม่ให้สูญพันธุ์ พืชชนิดนี้สามารถพัฒนาเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ เนื่องจากมีทรงพุ่มสวย และมีดอกรูปทรงสวยงาม นอกจากนี้ ควรมีการศึกษาพฤกษเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นเฉลิมพระเกียรติ เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นพืชสมุนไพรต่อไป

 

สำหรับคณะผู้วิจัยที่ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในครั้งนี้นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู สังกัดภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.อานิสรา ดำทองดี นักวิจัยหลังปริญญาเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรจง ทองสร้าง อาจารย์ ดร.สุวรรณี พรหมศิริ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS UPDATE

สกสว. ประกาศแต่งตั้ง “ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์” ให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ

 

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง แต่งตั้ง “ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์” ให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ สกสว. และปฏิบัติงานหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (O-Science) และมอบหมายให้กำกับดูแล กลุ่มภารกิจพัฒนา ววน, ด้านกำลังคนและสถาบันความรู้ (O-Brain)  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

สำหรับ ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ มีประสบการณ์การทำงานด้านวิทยาศาสตร์มากว่า 20 ปี ได้รับการยอมรับในวงการวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม  รวมถึงมีบทบาทด้านการพัฒนาและบริหารองค์กรด้านการศึกษาในมหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อนเข้าดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ สกสว. ดร.ณิรวัฒน์ ดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (O-Science) ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจพัฒนา ววน, ด้านกำลังคนและสถาบันความรู้ (O-Brain) ในบริบทของงานด้านการศึกษา ได้รับตำแหน่งสำคัญ เช่น รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุรวิวัฒน์ รองผู้อำนวยการเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตลอดจนเป็นคณะกรรมการในองค์คณะสำคัญต่างๆ อาทิ 1) กรรมการผู้แทน สกสว. ในคณะกรรมการฐานข้อมูลด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2) กรรมการผู้แทน สกสว. ในคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสถาบันอุดมศึกษาเป็นกลุ่ม ชุดที่ 2 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม 3) อนุกรรมการ สป.อว. ด้านการพัฒนาและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 4) อนุกรรมการ บพค. ด้านการยกระดับสถาบันวิจัยและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมถึง 5) อนุกรรมการขับเคลื่อนและประเมินผลนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศ

ในส่วนของรางวัลสำคัญที่ได้รับ อาทิ 1) Gold Prize, Seoul International Invention Fair 2016 (พ.ศ. 2559) ประเทศเกาหลีใต้ 2) รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ด้านผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีมาก พ.ศ. 2559 
3) รางวัลคนดีศรี วท. พ.ศ. 2557 โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4) รางวัล Anglo-Thai Society Educational Award พ.ศ. 2553  สาขาวิทยาศาสตร์ โดยเอกอัคราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน และสมาคม Anglo-Thai Society และ 5) รางวัล Balliol College Domus Award 2008 (พ.ศ.2551) โดย Balliol College มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร เป็นต้น

ทั้งนี้ ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมี (เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทุนโครงการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และได้รับทุนศึกษาระดับปริญญาโท-เอก ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศึกษาต่อในสาขาเคมีอนินทรีย์ (Doctor of Philosophy in Inorganic Chemistry) ณ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร (University of Oxford, UK)  ทั้งนี้ได้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.) รุ่นที่ 22 จากสถาบันพระปกเกล้า และหลักสูตร “WiNS 3” โครงการพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รุ่นที่ 3

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักพัฒนากองทุนและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ สกสว.

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

ไทยดึงบริษัทเกาหลีใต้มาลงทุนในไทยได้เพิ่มเติม

ไทยดึงบริษัทเกาหลีใต้ลงทุนในไทยได้เพิ่มเติม

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ต่างชาติให้ความสนใจลงทุนในประเทศไทย โดย 4 เดือนแรกของปี 2566 มีการลงทุนกว่า 38,702 ล้านบาท พร้อมชื่นชม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ที่สามารถดึงดูดบริษัทกลุ่มเป้าหมายจากเกาหลีใต้มาลงทุนในประเทศไทยได้เพิ่มเติม

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม-เมษายน) มีต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยกว่า 38,702 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 6 หรือคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้น 2,321 ล้านบาท เกิดการจ้างงานคนไทย 2,419 คน โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่ 

1) ญี่ปุ่น 55 ราย (ร้อยละ 25) เงินลงทุน 14,024 ล้านบาท 

2) สิงคโปร์ 35 ราย (ร้อยละ 16) เงินลงทุน 4,854 ล้านบาท 

3) สหรัฐอเมริกา 34 ราย (ร้อยละ 15) เงินลงทุน 1,725 ล้านบาท 

4) จีน 14 ราย (ร้อยละ 6) เงินลงทุน 11,230 ล้านบาท และ 

5) สมาพันธรัฐสวิส 11 ราย (ร้อยละ 5) เงินลงทุน 1,692 ล้านบาท ส่วนชาติอื่น ๆ มี 68 ราย (ร้อยละ 33) เงินลงทุน 5,177 ล้านบาท


นอกจากนี้ จากการเดินทางไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนที่ประเทศเกาหลีใต้ และพบปะหารือกับบริษัทกลุ่มเป้าหมาย ระหว่างวันที่ 15–18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) สามารถดึงดูดนักลงทุน 4 ราย ที่สนใจลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 

1) นักลงทุนจากกลุ่มผู้ประกอบกิจการผลิตรถตุ๊ก ๆ ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 

2) นักลงทุนจากกลุ่มผู้ประกอบกิจการผลิตที่เคลือบกระจกรถยนต์แบบพิเศษกันฝ้า 

3) นักลงทุนจากกลุ่มผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับเครื่องมือทางการแพทย์ และเทคโนโลยีที่ใช้ เกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์ และ 

4) นักลงทุนจากกลุ่มผู้ประกอบกิจการผลิตอะไหล่ยานยนต์ 


ซึ่งข้อมูลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) พบว่า นักลงทุนทั้ง 4 ราย สนใจจะเช่าพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และบริเวณใกล้เคียง ด้วยเงินลงทุนจำนวนกว่า 2,000 ล้านบาท และยังมีนักลงทุนอีก 1 ราย ที่สนใจลงทุนกับ กนอ. โดยจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม และพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพลังงานทางเลือก มูลค่าการลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาทอีกด้วย

“นายกรัฐมนตรี สั่งการให้อำนวยความสะดวก ส่งเสริมการค้า และการลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาคเอกชนจากต่างชาติมองเห็นถึงศักยภาพ และความพร้อมของนิคมอุตสาหกรรมในไทย โดยการเข้ามาลงทุนเหล่านี้ จะนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีเฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทยอีกด้วย นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่าต่างชาติจะยังคงเชื่อมั่นขยายการลงทุนในไทย ด้วยโครงสร้างการพัฒนา ข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ และปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE