Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

พช.เชียงราย เฝ้าฯ รับเสด็จ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปทอดพระเนตรนิทรรศการและการจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคเหนือ

 

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 น. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปทอดพระเนตรนิทรรศการและการจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมภูมิปัญญาชุมชนภาคเหนือ ตามโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงภูมิปัญญาชุมชนไทย ณ สวนซากุระ และสวน 80 สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง หมู่ที่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 

 

โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายพิชัย คำเกิด หัวหน้าสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง นางสาวธนนนท์ นิรามิษ ภริยารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นางกุลทรัพย์ ชื่นโกสุม ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นางกุสุมาล พงษ์สิทธิถาวร ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชน เฝ้าฯ รับเสด็จ

 

ในการนี้ นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย นางอำไพ บัวระดก พัฒนาการจังหวัดเชียงราย ได้นำกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าชาติพันธุ์ จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสตรีทอผ้าศรีดอนชัย อ.เชียงของ (ชาติพันธุ์ไทลื้อ) กลุ่มปักผ้าด้วยมือบ้านสันกอง อ. แม่จัน (ชาติพันธุ์อาข่า) กลุ่มผ้าเขียนเทียน บ้านห้วยหาน อำเภอเวียงแก่น (ชาติพันธุ์ม้ง) กลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านทุ่งพร้าว อ.แม่สรวย (ชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ) และกลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยงแคววัวดำ อำเภอเมืองเชียงราย (ชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ) เฝ้าฯ รับเสด็จฯ
 
 
จังหวัดเชียงราย ได้น้อมนำแนวพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด พัฒนาผ้าไทยสู่ความยั่งยืน ในการใช้สีและวัตถุดิบมาจากธรรมชาติตามแนวพระดำริแฟชั่นยั่งยืน (Sustainable Fashion) ที่พระราชทานแนวทางไว้ในการเสด็จเยี่ยมเยียนในปีที่ผ่านมา อันเป็นการลดปัญหาภาวะโลกร้อน โดยผลงานทุกชิ้นมีตราสัญลักษณ์ Sustainable Fashion ที่ทรงออกแบบและพระราชทานให้กระทรวงมหาดไทยเชิญไปมอบให้ทุกกลุ่มที่ดำเนินการพัฒนาผลงานตามพระดำริ และภายหลังจากทรงมีพระวินิจฉัยและพระราชทานคำแนะนำเสร็จสิ้นแล้ว เสด็จไปทอดพระเนตรการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น ชุด ฟ้อนถิ้งบ้อง โดยนักเรียนโรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ จึงเสด็จกลับ
 
 
ทั้งนี้ ในช่วงเวลาตั้งแต่ 09.00 น. และตลอดทั้งวัน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โปรดให้คณะทำงานโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุกในพระดำริ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นดีไซเนอร์และผู้มีความรู้ความสามารถด้านการออกแบบ ตัดเย็บ ถักทอ และด้านสีธรรมชาติ เป็นวิทยากรให้ความรู้และคำแนะนำแก่กลุ่มทอผ้าและสมาชิกกลุ่มศิลปาชีพเพื่อเพิ่มมูลค่าของผืนผ้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังผลทำให้มีรายได้ในการดูแลตนเองและสมาชิกในครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กลุ่​มงาน​ส่งเสริม​การพัฒนา​ชุมชน​ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เชียงราย ติดตามการดำเนินงาน “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามพระดำริ

 
วันที่ 25 ตุลาคม 2566 เวลา 13.30 น. นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ติดตามการดำเนินงาน “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ณ ศูนย์เรียนรู้สมุมไพรกลุ่มไทยเฮิร์ปแอทเชียงราย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยนายวิรุฬห์ สิทธิวงศ์ นายอำเภอเชียงของ นางพรรณี ราชคม นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ รักษาราชการแทนพัฒนาการอำเภอเชียงของ ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเชียงของ ให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน
 
 
ในการนี้ นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และนางสาวแสงวรรณ สมปาน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ร่วมติดตามสนับสนุนการดำเนินงานด้วย
 
 
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย และคณะได้เยี่ยมชมการแปรรูปเส้นใยสับปะรด เส้นใหญ่สมุนไพรธรรมชาติและการย้อมสีธรรมชาติ ตามแนวทาง BCG คือการพัฒนาเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ในการนี้ นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย ได้ทดลองย้อมผ้าใย สับปะรดสีธรรมชาติจากไม้ฝาง และอุดหนุนสินค้าที่ผลิตจากใยสับปะรด ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กลุ่​มงาน​ส่งเสริม​การพัฒนา​ชุมชน​ สำนักงาน​พัฒนา​ชุมชน​จังหวัด​เชียงราย​

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

พช.เชียงราย ร่วมงานประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา”

 
วันที่ 19 สิงหาคม 2566 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานการดำเนินกิจกรรมโครงการยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชน การประกวดผ้าลายพระราชทาน ผ้าลายดอกรักราชกัญญา และงานหัตถกรรม โดยมี นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายกัมปนาท จักรวาล วิเวศ ศรีพุทธา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม คณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมงาน
 
ในการนี้ นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ได้เข้าร่วมงาน ดังกล่าว จังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ได้ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ส่งผลงานประเภทผ้าและงานหัตถกรรมเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 154 ชิ้น แยกเป็น ประเภทผ้า จำนวน 114 ผืน ประเภทงานหัตถกรรม จำนวน 40 ชิ้น
 
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า “นับเป็นความโชคดีของประชาชนคนไทย ที่ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่พระองค์ทรงมีความรักความเมตตาและความห่วงใย ทรงได้ทุ่มเทพระสติปัญญาและพระวรกายเพื่อที่จะ “สืบสาน รักษาและต่อยอด” พระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทำให้ชีวิตของคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้สืบสานงานแบ่งเบาพระราชภาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสืบสานและอนุรักษ์ผ้าไทย ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 3 ปีที่ผ่านมา 
 
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงได้ “สืบสาน รักษา และต่อยอด” รื้อฟื้นอนุรักษ์ผ้าไทยให้กลับมาอีกครั้ง โดยการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการผ้า ผู้ผลิตผ้า พัฒนาลายผ้าใหม่ ๆ ให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับการสวมใส่ในทุกวัยและทุกโอกาส แสดงให้เห็นการฟื้นคืนชีพของผ้าไทยไปสู่ความรุ่งเรืองจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยสำคัญแห่งการขับเคลื่อนผ้าไทยที่พระองค์ได้พระราชทาน คือ “คน” ซึ่งประกอบไปด้วยข้าราชการ คณะทำงาน และพี่น้องประชาชน
 
กระทรวงมหาดไทย น้อมนำแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการเป็นแฟชั่นที่ยั่งยืน (Sustainable Fashion) โดยสวมใส่ผ้าไทยที่ย้อมสีธรรมชาติ ร่วมกันรณรงค์อนุรักษ์โลก ลดภาวะโลกร้อน และอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทย สวมใส่ได้ทุกโอกาส ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ตามโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”
นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวต่ออีกว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงริเริ่มผลักดันผ้าไทยให้เกิดแฟชั่นใหม่ที่ยังคงภูมิปัญญาเดิมของคนไทย โดยการพระราชทานแบบลายผ้า “ลายขอสิริวัณณวรี” ให้ประชาชนคนไทยได้นำไปพัฒนาและออกแบบจนเกิดเป็นความนิยมเกิดขึ้นในประเทศไทย 
 
ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ในผ้า แต่ยังเกิดขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ จากนั้นต่อมาได้พระราชทาน “ลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” “ลายดอกรักราชกัญญา” และลายบาติกพระราชทานอื่น ๆ อีกมากมาย ทรงแสดงให้เห็นว่าแฟชั่นลายใหม่นั้นทำให้เกิดเป็นที่นิยม เป็นที่ต้องการ สามารถสร้างรายได้สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน โดยเริ่มจากให้ผู้ผลิตผ้า ผู้ประกอบการผ้า ออกแบบใส่จินตนาการเพื่อให้เกิดชิ้นงานใหม่ ดังคำว่า “ต่อยอด” ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำด้วยการปลูกฝ้าย ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ใช้สีธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการส่งเสริม สนับสนุนให้มีความรู้ในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
 
การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ผ้าไทย เพื่อให้ได้รับการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความตระหนักให้รู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนทอผ้า คนย้อมผ้า และอาจส่งไปถึงผู้สวมใส่หากใช้ สารเคมีในการย้อมผ้า อีกทั้งยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
 
“การจัดประกวดลายพระราชทาน มีจุดประสงค์หลัก คือ การกระตุ้นให้ผู้ประกอบการผ้าได้มีการฝึกฝนพัฒนาทักษะในการทอผ้าอีกทั้งเป็นเวทีให้แสดงความเป็นศิลปหัตถกรรม สร้างความใส่ใจในผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่งเสริมการแข่งขันและความเป็นเลิศ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผ้าไทยให้ดีขึ้นต่อไป ดังนั้นผู้ที่เป็นข้าราชการในฐานะข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทำหน้าที่เป็นคนเชื่อมโยงนำสิ่งที่ดีไปสู่พี่น้องประชาชน และช่วยผลักดันภารกิจหน้าที่ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้เกิดความสำเร็จ ด้วยการช่วยกันทำสิ่งที่ดี ด้วยความแน่วแน่มุ่งมั่นตั้งใจ มีแรงปรารถนา (Passion) ช่วยกันและกันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Fashion) พร้อมส่งเสริมผลักดันร่วมกับภาคีเครือข่าย ทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการก้าวเดินร่วมกันต่อไปโดยเฉพาะงานหัตถศิลป์หัตถกรรม 
 
โครงการผ้าไทย เพราะเราอยากเห็นคนไทยทุกคนมีความสุข บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง พร้อมช่วยกันดูแลสังคมดูแลโลกใบนี้ ทำให้ประชาชนคนไทยได้อยู่ในชุมชนยั่งยืน เพื่อให้ 76 จังหวัด ในประเทศไทยทุกจังหวัดเป็นประเทศไทยที่ยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว
 
นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินโครงการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” โดยมีเป้าหมายกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ช่างทอผ้า และงานหัตถกรรม ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ ร่วมโครงการฯ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชน โดยดำเนินการพัฒนาผ่านการประกวด ผ้าลายพระราชทาน แบ่งเป็น 4 กิจกรรม ประกอบด้วย 
 
1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ด้านผ้าไทย และงานหัตถกรรม (Coaching) “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” 
2) กิจกรรมประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม 
3) กิจกรรมบันทึกและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานผ้าและงานหัตถกรรมที่ได้รับการคัดเลือก 
และ 4) กิจกรรมสนับสนุนการพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในการพัฒนาผ้าและงานหัตถกรรม 
 
โดยจะดำเนินการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม ในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ได้แก่ 
1) ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมมีเลีย เชียงใหม่ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 
2) ภาคกลาง จังหวัดราชบุรี ในวันที่ 26 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรม ณ เวลา ตำบลดอนตะโก อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 
3) ภาคใต้ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 2 กันยายน 2566 ณ โรงแรมลากูน่า แกรนด์ โฮเทล แอนด์ สปา ตำบลพะวง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ 
4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 10 – 11 กันยายน 2566
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กลุ่​มงาน​ส่งเสริม​การพัฒนา​ชุมชน​ สำนักงาน​พัฒนา​ชุมชน​จังหวัด​เชียงราย​

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

เชียงราย สนับสนุนโครงการ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” พื้นที่อำเภอเวียงแก่น

 
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 เวลา 11.00 น.นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ติดตามการดำเนินงานการน้อมนำแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” สร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน และกิจกรรมพัฒนาชุมชนในพื้นที่อำเภอเวียงแก่น ณ บ้านหล่ายงาว หมู่ที่ 1 ตำบลหล่ายงาว อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลหล่ายงาว และนายนรสิงห์ สวยไธสงค์ รักษาราชการแทนพัฒนาการอำเภอเวียงแก่น พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเวียงแก่น ให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน
 
ในการนี้ นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายสุเมท นิลสวิท นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย และทีมงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ร่วมติดตามสนับสนุนการดำเนินงานด้วย
นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย และคณะ ได้ร่วมปลูกพืชผักสวนครัว ได้แก่ พริกขี้หนู มะเขือเจ้าพระยา มะเขือยาว สาระแหน่ ผักแพว ต้นหอม ในพื้นที่ซอย 14 หมู่บ้านหล่ายงาว ซึ่งเป็น “เส้นทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” ของหมู่บ้าน จากนั้นได้ไปยังครัวเรือนต้นแบบ การน้อมนำแนวพระราชดำริฯ ปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางอาหาร (ครัวเรือนนายปั๋น ยาละ) 
 
พื่อให้กำลังใจและเยี่ยมชมภายในบริเวณบ้านที่มีการปลูกผักสวนครัวอย่างเป็นรูปธรรม ก่อนจะเดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้เฮือนฮอมฮัก วัดดอยสันกู่ บ้านหล่ายงาว เพื่อร่วมปลูกไม้ผลสำหรับเป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชน ประกอบด้วย ต้นอโวคาโด้ ต้นมะขามยักษ์ เงาะ และลิ้นจี่ป่า รวมทั้งเยี่ยมชมและให้กำลังใจแก่กลุ่มทอผ้าผู้สูงอายุบ้านหล่ายงาว กลุ่มปู่ยมูลใส้เดือนวัดดอยสันกู่ กลุ่มสบู่สมุนไพรวัดดอยสันกู่ และกลุ่มปักผ้าบ้านไทยเจริญ ที่ได้ดำเนินการภายในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ฯ และนำผลิตภัณฑ์มาร่วมกิจกรรม
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Cddchiangrai

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News