Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

​เสริมศักดิ์ ปลื้ม! แลนด์มาร์ค Thailand Biennale ในน้ำมีปลา ในนามีแมว”

 

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้ขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรมตามกรอบนโยบายหลัก “วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจ”พร้อมทั้งขับเคลื่อน Soft Power สร้างเสน่ห์วิถีไทย ครองใจคนทั้งโลก โดยการสำรวจรวบรวมทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์และยกระดับงานวัฒนธรรมเดิมให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นการเปิดมุมมองแห่งความสำเร็จจากการใช้วัฒนธรรมสร้างพลังแห่งอนาคตตามเป้าหมายในปี 2567
นอกเหนือจากการโครงการส่งเสริมการสร้างรายได้ด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแล้ว งาน “Thailand Biennale Chiangrai 2023” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธ.ค. 66 – 30 เม.ย. 67 เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่จะช่วยเปิดโลกศิลปะวัฒนธรรมของประเทศไทยให้ชาวโลกได้รับรู้ และส่งเสริมให้จังหวัดเชียงรายก้าวกระโดดสู่นิเวศของการเป็น “เมืองศิลปะระดับโลก” นอกจากนิทรรศการหลักของศิลปินทั้ง 60 คนและ 13 พาวิลเลี่ยนแล้ว 

 

ยังมีการนำเสนอผลงานศิลปะในลักษณะ Collateral Event จัดแสดงคู่ขนานเกิดขึ้นอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะงานศิลปะบนนาข้าว(Tanbo Art)  ในคอนเซปต์ “ในน้ำมีปลา ในนามีแมว”ที่โด่งดังในกระแสโซเชียล สร้างความสนใจให้สื่อต่างประเทศนำไปเผยแพร่ เชิญชวนให้มาท่องเที่ยว แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของไทย ซึ่งอยู่ใกล้กับ “ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน” พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหลักของ“Thailand Biennale Chiangrai 2023”อีกแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย

 


“ในน้ำมีปลา ในนามีแมว”เป็นไอเดียที่น่าชื่นชมของคุณธันยพงศ์  ใจคำ เจ้าของ”เกี้ยวตะวัน ธัญฟาร์ม” ในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ที่ทำงานร่วมกับศิลปินนักออกแบบชาวเชียงราย นักปราชญ์  อุทธโยธา และทีมงานอีกกว่า 200 คน โดยนำงานวิจัยพันธุ์ข้าวสรรพสีจากโครงการ MOU เพื่อทำวิจัยร่วมกับทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ทั้งหมด 7 สายพันธุ์มีสายพันธุ์ดั้งเดิม 2 สายพันธุ์และอีก 5 สายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัย เป็นการผสมผสานงานวัฒนธรรมการปลูกข้าว เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ จนกลายเป็นงานศิลปะที่โดดเด่นด้วย สีสันของพันธุ์ข้าวสีรุ้ง ที่มีหลากหลายเฉดสี ตั้งแต่สีม่วงเข้มไปจนถึงสีเหลืองอ่อน ซึ่งขณะนี้ข้าวสรรพสีพากันออกรวงสีทองอร่ามงามตา ต้อนรับการมาเยือนของนักเที่ยว โดยคาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงระยะเวลา 145 วันหลังการเพาะปลูกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2566 ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงเสร็จสิ้นงานงาน “Thailand Biennale Chiangrai 2023”ในช่วงเดือนเมษายน 2567    

 


ศิลปะบนนาข้าวจึงเป็น อีกหนึ่งสำคัญในการนำซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศมาพัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างมูลค่า สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริม การต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนโดยเริ่มต้นจากต้นข้าวเล็กๆ เติบโตสู่พื้นที่สร้างสรรค์งานศิลปะให้งอกงามและเบ่งบานอยู่ในใจผู้คนอย่างมีคุณค่า  

 

นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ จินตโสภณ โฆษกกระทรวงวัฒนธรรม (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กระทรวงวัฒนธรรมกำลังเร่งเดินหน้าผลักดัน Soft Power ศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างต่อเนื่องใน “งานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ครั้งที่ 4 Thailand Biennale 2025” ซึ่งจังหวัดภูเก็ต เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน โดยเฉพาะการนำเอา Soft Power ที่มีพลังในความเป็นไทย และความภาคภูมิใจของภูเก็ต ส่งผ่านงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เชื่อมไทย เชื่อมโลก ก้าวไปสู่การเป็นหมุดหมายสำคัญของการจัดแสดงงานศิลปะนานาชาติระดับโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต รวมทั้งการนำงานศิลปะร่วมสมัยทั้ง 9 สาขามาขับเคลื่อน Soft Power สร้างเสน่ห์วิถีไทยครองใจคนทั้งโลก อาทิ ส่งเสริมให้เกิด 1 ครอบครัว 1 ทักษะ Soft power การผลีกดัน Bangkok เมืองแฟชั่น และการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
CULTURE

เชียงใหม่ เปิดกิจกรรมตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา วัดพระสิงห์

 

เมื่อวันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2567 เวลา 18.00 น. จังหวัดเชียงใหม่ จัดพิธีเปิดกิจกรรมตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา สักการะพระธาตุประจำปีเกิด ภายใต้โครงการจาริกเส้นทางบุญในมิติทางศาสนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้คัดเลือกวัดที่ร่วมโครงการ ดังนี้

  1. วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร พระมหาธาตุเจดีย์พระธาตุประจำปีเกิดปีมะโรง
  2. วัดเจ็ดยอด พระเจดีย์ศรีมหาโพธิ์พุทธคยา พระธาตุประจำปีเกิดปีมะเส็ง
  3. วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร พระบรมธาตุดอยสุเทพ พระธาตุประจำปีเกิดปีมะแม
  4. วัดเกตการาม พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี พระธาตุประจำปีเกิดปีจอ

 

 

โดยมีพระพรหมเสนาบดี เจ้าคณะภาค 7 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวรายงาน พร้อมด้วยนางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัดภาคเหนือ 16 จังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กร ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าร่วมพิธี ณ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

 

ในการนี้ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดย นายพิสันต์  จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ เข้าร่วมงานดังกล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

‘ลาลีวรรณ’ นำทีม ก.วัฒนธรรม ลงพื้นที่มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ 2023 เชียงราย

 
เมื่อวันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2566 ณ พื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นางลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ข้าราชการและบุคลากรสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายเพื้อเยี่ยมชมงานศิลปะโครงการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมลงพื้นที่ต้อนรับคณะและนำชมงานศิลปะของศิลปิน จำนวน 4 แห่ง ดังนี้

  1. ศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังเก่า รัชกาลที่ 5 ตำบลเวียง
  2. ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ตำบลห้วยสัก
  3. หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย (CIAM) ตำบลริมกก
  4. ขัวศิลปะเชียงราย ตำบลริมกก

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายอภิชาต กันธิยะเขียว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ข้าราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมลงพื้นที่ติดตามและอำนวยความสะดวกให้แก่คณะผู้บริหาร ดังกล่าว

จังหวัดเชียงราย ร่วมกับ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินงานโครงการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 เพื่อส่งเสริมต่อยอด และแสดงศักยภาพในการสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยของศิลปิน บูรณาการความร่วมมือเชิงรุกของทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นการใช้มิติทางศิลปะสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างรายได้จากต้นทุนและทรัพยากรทางวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรม  

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

3 เครือข่ายภาครัฐและเอกชนหนุน พัฒนางานศิลปะร่วมสมัยผ่านนิทรรศการเครือข่าย

 

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนางานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ประจำปี 2567 ระหว่างกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมกับธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) บริษัท ไอคอนสยาม จำกัดและกลุ่ม Chat Lab โดยมีคุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย นางวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Retail and Brand ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) นายสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ไอคอนสยาม จำกัด และนายณัฏฐาปกรณ์ คะปูคำ สถาปนิกผู้แทนกลุ่ม Chat Lab ร่วมลงนามความร่วมมือ 

 

โดยมีนายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ  ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นางลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นางสุภัทร กิจเวช ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ จินตโสภณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ศิลปินและผู้แทนหน่วยงานเครือข่ายที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ศิลปิน แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพฯ 

 

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับองค์กรเครือข่ายและศิลปินทุกท่าน ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตลอดจนความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นจากพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในวันนี้ ระหว่าง กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายทั้ง 3 หน่วยงานได้แก่ 1. ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด 3. กลุ่ม Chat Lab และการจัดนิทรรศการแสดงผลงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนในปี 2566 จะทำให้การขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ของรัฐบาล โดยการนำศิลปะร่วมสมัยมาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และส่งเสริมพลังความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้พัฒนาไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการบนพื้นฐานของทุนทางสังคมและวัฒนธรรม อันเป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันและเสริมสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทยให้แพร่หลายในประชาคมโลกและยังเป็นก้าวสำคัญในการบูรณาการความร่วมมือเชิงรุก 
ที่สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต 
 
 
 
คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูลประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งทุนที่ให้การส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยแก่ศิลปินและเครือข่ายฯ ทั้งภาครัฐและเอกชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561- 2566 โดยได้ให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ รวมทั้งสิ้น 162 โครงการ เป็นงบประมาณรวมกว่า 43 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2567 มีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย จำนวนทั้งสิ้น 27 โครงการ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,950,000 บาท ครอบคลุม 4 แนวทางหลัก ได้แก่ แนวทางที่ 1 วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และ/หรือนำงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม  แนวทางที่ 2 ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่า มูลค่าทางเศรษฐกิจ แนวทางที่ 3 สร้างความร่วมมือเครือข่ายเพื่อยกระดับคุณค่าที่หลากหลายทางสังคมและชุมชน  แนวทางที่ 4 ส่งเสริมการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยไทยผ่านสื่อแขนงต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
 
โครงการที่ได้รับการส่งเสริมล้วนมีแนวทางการดำเนินงานที่มุ่งเน้นการให้เกิดการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายในระดับชุมชน ระดับชาติ และระดับนานาชาติ และต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งก่อให้เกิดการบูรณาการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยเชิงรุกผ่านระบบนิเวศศิลปะ ช่วยยกระดับคุณค่าทางสังคมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
 
 
ทั้งนี้ นิทรรศการโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เปิดให้เข้าชมผลงานโดยไม่เสียค่าเข้าชม ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2566 จนถึงวันที่ 5 มกราคม 2567  ณ ห้องปฏิบัติการ 1 และ 2 บริเวณชั้น 2 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพฯ 
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

วธ.เผยแผนพัฒนา Soft Power ปี 66-70 ดัน GDP 1 ใน 15 ของประเทศ

 

วธ. เผยแผนพัฒนา Soft Power ปี 66-70 ดัน GDP สินค้าและบริการทางวัฒนธรรมจากร้อยละ 8.9 เป็นร้อยละ 15 และเป็น 1 ใน 15 ประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมสูงสุดในตลาดโลก หนุนไทยเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยววัฒนธรรมที่สำคัญของโลก พร้อมจับมือสถาบันศึกษาปั้นเด็กสู่อุตสาหกรรมบันเทิง

 

 ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “แนวทางสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในมุมมองของกระทรวงวัฒนธรรม” ในการเสวนาหัวข้อ “นโยบายภาครัฐและความต้องการของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ของไทยสู่คอนเทนต์โลก กรณีศึกษา ด้านภาพยนตร์” ในเทศกาลหนังเมืองแคน ครั้งที่ ๗ เมื่อเร็วๆนี้ ว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้เริ่มดำเนินการใช้ Soft Power ความเป็นไทยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน บนแนวคิดนำทุนวัฒนธรรมดั้งเดิม มาพัฒนาใส่ความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การขับเคลื่อนเป็น Soft Power ผ่านกลไกในการร่างแผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย (2566-2570) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 4 (2566-2570) โดยตั้งเป้าหมายสัดส่วน GDP สินค้าและบริการทางวัฒนธรรมจากร้อยละ 8.9 เป็นร้อยละ 15 และเป็น 1 ใน 15 ประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมสูงสุดในตลาดโลก รวมถึงตั้งเป้าให้อันดับโลกด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมดีขึ้น ไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่อเที่ยววัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของโลก

 

ปลัดวธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับ  Soft Power ความเป็นไทยที่ผ่านมา วธ. ได้พัฒนา ได้แก่ 5F อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) เทศกาลประเพณีไทย (Festival) และมีการพัฒนาเพิ่มเติมอีก คือ 5F พลัส ได้แก่ ท่องเที่ยวชุมชน ศิลปะการแสดง และศิลปะ ซึ่งในปี 2566 นี้ก็พร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน Soft Power ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อพัฒนาผู้ที่มีทักษะด้านวัฒนธรรมให้มีทักษะฝีมือสูงขึ้นใน 11 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ ได้แก่ 1. แฟชั่น 2. หนังสือ 3. ภาพยนตร์ ละครและซีรีส์ 4. เฟสติวัล 5. อาหาร 6. ออกแบบ 7. ท่องเที่ยว 8.เกม 9.ดนตรี 10. ศิลปะ และ 11.กีฬา โดยขณะนี้ได้มีร่างแผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย (2566-2570) เป็นครั้งแรก อาทิ มีการศึกษาประเทศที่ประสบความสำเร็จด้าน Soft Power ศึกษาการตลาด พัฒนาบุคลากร ตามแผนของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำไปใช้ขับเคลื่อนได้จริงและได้ทันที ซึ่ง Soft Power ความเป็นไทยที่มีศักยภาพ นอกจาก 5 F แล้วก็มี 5F+2 ได้แก่ ศิลปะการแสดง และความเชื่อ ตำนาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาทิ เส้นทางท่องเที่ยวสายบุญ การจัดงานมหกรรมเชียงรายเบียนนาเล่ เป็นต้น 

 

ทั้งนี้  ในส่วนของการส่งเสริมอุตสาหกรรมบันเทิงนั้น จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ เพิ่มช่องทางการตลาดและการเจรจาธุรกิจ โดยการนำผู้ประกอบการเข้าร่วมเทศกาลภาพยนตร์ในต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมามูลค่าทางเศรษฐกิจจากการเจรจาในต่างประเทศ อาทิ งานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ฝรั่งเศส มูลค่า 1,986 ล้านบาท เทศกาลภาพยนตร์ปักกิ่ง มูลค่า 1,976 ล้านบาท งาน Hong Kong International Film & TV Market มูลค่า 1,378 ล้านบาท งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว มูลค่า 500 ล้านบาท งานแสดงสินค้าลิขสิทธิ์นานาชาติฮ่องกง มูลค่า 93 ล้านบาท  งานเทศกาลภาพยนตร์เซี่ยงไฮ้มูลค่า  5 ล้านบาท เป็นต้น โดย วธ. พร้อมให้ความร่วมมือทุกภาคีเครือข่ายในการพัฒนาอุตสาหกรรมบันเทิงไทย ไม่ว่าจะเป็นงบสนับสนุน พัฒนาบุคลากร ช่องทางการตลาด ที่สำคัญจะมีการศึกษาแนวทางความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศในการอบรมพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญในอุตสาหกรรมบันเทิงในอนาคต

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

เสริมสิริมงคลทั่วไทย-ทั่วโลก สมเด็จพระสังฆราชประทานไฟพระฤกษ์ สวดมนต์ข้ามปี

 

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 เวลา 13.00 น. ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระบัญชาโปรดให้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ ประทานไฟพระฤกษ์ให้แก่กระทรวงวัฒนธรรม โดยมี นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นผู้เข้ารับการประทานไฟพระฤกษ์ให้กระทรวงวัฒนธรรมและถวายเจ้าคณะจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ สำหรับจุดในพิธีสวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคลทั่วไทย ต้อนรับศักราชใหม่ 2567

 

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม ได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานไฟพระฤกษ์ให้แก่กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อจุดเทียนมงคลในพิธีสวดมนต์ข้ามปีในส่วนกลาง ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดอรุณราชวราราม และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และประทานกล่องไม้ขีดไฟประทับตราสมเด็จพระสังฆราช (ออป.) 

 

เพื่อมอบให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ นำไปประกอบพิธีจุดเทียนมงคลในกิจกรรมดังกล่าว สร้างขวัญกำลังใจแก่พุทธศาสนิกชนที่เข้าร่วมในพิธี และเป็นสิริมงคลในการเข้าสู่ศักราชใหม่ โดยกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคลทั่วไทย ต้อนรับศักราชใหม่ 2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2567 เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ต้อนรับปีใหม่และขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว 

 

ได้เริ่มต้นปีด้วยความเป็นสิริมงคลในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ด้วยการทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน ในช่วงเทศกาลวันปีใหม่ อันมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ เพราะถือเป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศให้มาเที่ยวในประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย รวมทั้งกิจกรรมดังกล่าว ได้จัดขึ้นในจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศอาเซียน 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย  ตราด  ตาก  นครพนม นราธิวาส บึงกาฬ ยะลา  ระนอง  เลย  ศรีสะเกษ  สงขลา  สตูล สุรินทร์  หนองคาย  อุบลราชธานี  มุกดาหาร  และจังหวัดแม่ฮ่องสอน  ซึ่งจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประเทศที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน 

 

อีกทั้ง กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีฯ ยังเป็นการส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย Soft Power สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล Thailand Creative Content Agency (THACCA) ด้วยการนำทุนทางวัฒนธรรมในมิติศาสนา สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการและแรงงานในท้องถิ่น โดยส่งเสริมให้ประชาชนสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยดอกไม้ธูปเทียน และจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกจากร้านค้าชุมชนโดยรอบวัด ตลอดจนการเดินทางไปสวดมนต์ตามสถานที่จัดกิจกรรมทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมรายได้ให้กับผู้ประกอบการในการขายสินค้าและบริการต่าง ๆ ก่อให้เกิดรายได้ของประเทศในภาพรวมในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ พุทธศักราช 2567

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวทิ้งท้ายว่า การจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีในปีนี้จะเป็นกิจกรรมสำคัญที่ประชาชนจะได้ร่วมก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ด้วยความเป็นสิริมงคล ลดความเสี่ยงจากอบายมุขและอุบัติเหตุในเทศกาลปีใหม่ ถือเป็นการทำบุญใหญ่ให้กับชีวิตทั้งทางกาย ทางจิตและทางปัญญา ส่งท้ายปีเก่าด้วยธรรมะ ต้อนรับปีใหม่ด้วยศีล เริ่มต้นชีวิตด้วยสิ่งที่เป็นสิริมงคลอันจะส่งผลให้ได้พบสิ่งที่เป็นมงคลตลอดทั้งปี รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่เป็นเมืองพระพุทธศาสนาและมีประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาที่ควรค่าแก่การสืบทอดอย่างต่อเนื่องให้เกิดความเข้มแข็งอย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไป

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

กิจกรรมเปิดงาน “พลัดถิ่น ดินแดนใคร” Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2566 กิจกรรมเปิดงาน “พลัดถิ่น ดินแดนใคร”  ณ ลานกิจกรรมสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ครั้งที่ 3 โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ จังหวัดเชียงราย ภายใต้ธีม “เปิดโลก”

มีนายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึงการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023  ร่วมถึงนายเชาว์วัฒน์ รัตนการุณจิต ปลัดอำเภอเชียงแสน (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) ปฏิบัติราชการแทน นายอำเภอเชียงแสน กล่าวต้อนรับ ท่านกงสุล กฤษณะ จัยตัญญา กงสุลอินเดียประจำจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวพบปะผู้มีเกียรติและศิลปินผู้เข้าร่วมงานคุณนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ศิลปิน กล่าวถึงผลงานและเล่าถึงป๊อเฒ่าติ๊บ สรนันท์

 

โอกาสนี้ คุณกฤษ์ฤทธิ์ ตีระวานิช ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ พร้อมด้วย คุณกฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ คุณอังกฤษ อัจฉริยโสภณ ภัณฑารักษ์ คุณมนุพร เหลืองอร่าม ภัณฑารักษ์ และคณะบุคลากรจากสำนักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงกัน

 

จัดโดยคุณนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ศิลปิน และทีมงานสตูดิโอเค จัดพิธีเปิดงานในผลงานชุดนี้ยังเป็นส่วนขยายของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชุมชนพลัดถิ่นในพื้นที่เขตติดต่อชายแดนภาคเหนือตอนบนของไทย โดยผลงานส่วนแรกได้นำไปจัดแสดงที่ศูนย์ศิลปะแห่งเมืองเกาสง ประเทศไต้หวัน ต่อเนื่องมาถึงงานที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ ได้เลือกพื้นที่ประวัติศาสตร์ของเมืองเก่าเชียงแสน ในการออกเดินทางเพื่อศึกษาความเป็นมาของชุมชนบริเวณริมน้ำโขง โครงการนี้ยังได้ขยายขอบเขตไปยังเมืองเชียงตุงและเมืองชนบทอื่น ๆ ในเขตรัฐฉานของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

 

โดยมีเป้าหมายในการสำรวจวิถีชีวิตและการย้ายถิ่นฐานของชาวไต ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของชนชาติไทย ศิลปินยังได้สำรวจการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ รวมถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่เป็นคิงส์โรมัน ประสบการณ์จากผู้คนที่ศิลปินได้พบปะตลอดการเดินทาง

 

ซึ่งบ่อยครั้งมักเกี่ยวพันกับภูมิหลังส่วนตัวและรากเหง้าของบรรพบุรุษก่อเกิดเป็นกระบวนการทางศิลปะที่เชื่อมระหว่างศิลปะและชุมชนเข้าด้วยกัน ประวัติศาสตร์ของชุมชนและการตั้งถิ่นฐานของผู้คนหลากหลายกลุ่มในพื้นที่นี้ร้อยเรียงขึ้นเป็นชุดผลงานศิลปะผ่านบันทึกการเดินทางของศิลปินจนเกิดเป็นผลงานจิตรกรรมแนวโปสเตอร์หนังอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปินและทีมงานสตูดิโอเค

 

นำโดยช่างวาดภาพโรงหนังยุคสุดท้ายของไทยเชื่อมต่อกับภาพยนตร์สารคดีซึ่งประพันธ์ขึ้นจากจดหมายฉบับหนึ่งที่ศิลปินเขียนถึงชาวเชียงแสน เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ในการเดินทาง การทำเสียงบรรยายภาพยนตร์สารคดีชุดนี้ศิลปินเลือกใช้ภาษาถิ่นทางภาคเหนือด้วยสำเนียงที่แตกต่างกันผสมผสานกับภาษาอื่น ๆ ของกลุ่มคนพลัดถิ่นรวมทั้งชนกลุ่มน้อยเพื่อสะท้อนถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของผู้คนชาวเชียงแสน

 

จัดแสดงอยู่ในพื้นที่จุดชมวิวสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน ซึ่งเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกอันเป็นเขตติดต่อระหว่างไทย ลาว เมียนมา สอดคล้องกับชื่อผลงาน “พลัดถิ่น ดินแดนใคร” ชี้ให้เห็นแนวคิดเรื่องเขตแดนที่เปลี่ยนแปลงไปจากโลกในอดีตอันส่งผลต่อวิถีชีวิตและการโยกย้ายถิ่นฐานผู้คนในแต่ละยุคสมัย วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และมุมมองทางสังคมที่หลากหลาย ซึ่งการจัดงานดังกล่าว มีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

  1. การแสดงดนตรีของ พ่อเฒ่าติ๊บ สรนันท์ และคณะ
  2. รำนกรำโต โดย กลุ่มเยาวชนบ้านสบรวก
  3. รำกลองมองเซิง โดยชุมชนชาวไต บ้านสบรวก
  4. การฉายภาพยนตร์ “พลัดถิ่น ดินแดนใคร” จดหมายจากนาวินถึงชาวเชียงแสน
  5. การแสดงนิทรรศการภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเชียงแสน โดย แสนศิลป์เชียงราย
  6. นิทรรศการและการแสดง โดย กลุ่มชาตพันธุ์ในเชียงแสน
  7. การถ่ายภาพที่ระลึกกับชาวเชียงแสน
  8. การบริการอาหารและเครื่องดื่ม อาหารพื้นเมืองอัตลักษณ์ของท้องถิ่น

ในโอกาสนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นางกัลยา แก้วประสงค์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมงาน ดังกล่าว

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา, สุพจน์ ทนทาน : รายงาน 
พร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ : ภาพ 
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว 
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
TOP STORIES

UNESCO ประกาศขึ้นทะเบียน “สงกรานต์ไทย” มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

 

6 ธันวาคม 2566 เวลาประมาณ 15.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ณ เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา ในช่วงระหว่างการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศขึ้นทะเบียน “สงกรานต์ในประเทศไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) ให้เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) โดยนายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญ ดังนี้ 

 

นายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณในนามของรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทย ขอบคุณทุกภาคส่วนสำหรับการอุทิศตนและความมุ่งมั่น ทั้งจากฝ่ายประเมินผลและคณะกรรมการฯ ที่ได้คัดเลือกให้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” อยู่ในรายการบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ รวมไปถึงสำนักเลขาธิการสำหรับการทำงานอย่างหนักทั้งหมดที่ผ่านมา โดยสงกรานต์เป็นประเพณีในวันปีใหม่ไทย มีการเฉลิมฉลองในช่วงกลางเดือนเมษายนทั่วประเทศ เป็นประเพณีที่ได้รับการฝึกฝนและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นโดยคนไทยและชุมชนชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นประเพณีอันงดงามและมีความหมาย สะท้อนถึงคุณค่าของความกตัญญูกตเวทีของไทยต่อบรรพบุรุษ ความเอื้ออาทรและความปรารถนาดีต่อผู้อื่น และจิตวิญญาณแห่งความสามัคคี 

 

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า กิจกรรมในช่วงประเพณีสงกรานต์ทั้งหมดถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ของมรดกทางวัฒนธรรม โดยประเพณีสงกรานต์ที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ บิณฑบาต สรงน้ำพระพุทธรูป รดน้ำดำหัวผู้อาวุโสที่เคารพนับถือ ตลอดจนการแสดงละครพื้นบ้านและการแสดงที่เกี่ยวเนื่องกับตำนานสงกรานต์ ดังนั้น สงกรานต์ในประเทศไทยจึงเป็นตัวแทนของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ สะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ และจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า รัฐบาลยินดีที่จะส่งเสริมความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับสงกรานต์ร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศ โดยหวังว่าการหารือและทำความเข้าใจร่วมกัน จะนำไปสู่การบรรลุสันติภาพและความมั่นคงสำหรับทุกฝ่าย ซึ่งรัฐบาลยินดีต้อนรับผู้มาเยือนจากทั่วทุกมุมโลกให้มาร่วมเทศกาลและสัมผัสประสบการณ์ของประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทย พร้อมด้วยรอยยิ้มและการต้อนรับที่อบอุ่น

อนึ่ง “สงกรานต์ในประเทศไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) ถือเป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้แก่ “โขน” (Khon, masked dance drama in Thailand) ในปี 2561, “นวดไทย” (Nuad Thai, Traditional Thai Massage) ในปี 2562 และ “โนรา” ของภาคใต้ (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) ในปี 2564 โดยการประชุมฯ ครั้งนี้ มีประเทศต่าง ๆ เสนอขึ้นทะเบียนรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมฯ ทั้งสิ้น 45 รายการ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 เพื่อสงวนรักษาแนวปฏิบัติการแสดงออกความรู้และทักษะที่ได้รับการยอมรับของชุมชนหรือกลุ่มคน โดยต้องการสร้างความเคารพและสร้างความตระหนักตั้งแต่ในระดับท้องถิ่นจนถึงสากล และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการสงวนรักษา ซึ่งมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมฯ สามารถอยู่ในรูปแบบการแสดงออกทางวาจาและภาษา การแสดงศิลปะ แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีทางศาสนา เทศกาลเฉลิมฉลอง และงานฝีมือ

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : UNESCO

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE WORLD PULSE

นับถอยหลัง Thailand Biennale 2023 พร้อมโชว์ผลงานสร้างสรรค์ ให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

 

 

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการแถลงข่าวเปิดตัว 20 ศิลปิน ชุดสุดท้ายของ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ และภัณฑารักษ์ พร้อมด้วยศิลปินและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ โรงแรมแสน จังหวัดเชียงราย

 

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผย การจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ได้คัดเลือกศิลปินจากทุกทวีปทั่วโลก 21 ประเทศ จำนวน 60 คน เข้าร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ในวันนี้เป็นการเปิดตัวศิลปิน 20 คนสุดท้าย ซึ่งจากการติดตามความก้าวหน้าของการเตรียมงาน และการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าการจัดงานมีความพร้อมอย่างมาก ทั้งในด้านสถานที่การจัดงาน และการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินที่เริ่มสร้างผลงานไปตามแผนงาน พร้อมที่จะอวดผลงานแก่ทุกคนตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567 นี้ 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อไปว่า จากแนวคิดหลักของ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ซึ่งเกิดมาจากการลงพื้นที่ศึกษา และค้นหาบริบทของเชียงรายมีข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธรูปปางเปิดโลก ที่ประดิษฐาน ณ วัดป่าสัก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพหุวัฒนธรรม ที่แสดงถึงอิทธิพลจากวัฒนธรรมหลากหลายในเอเชียจนเป็นที่มาของแนวคิด The Open World หรือ เปิดโลก ในครั้งนี้ เป็นจุดสำคัญที่เราจะนำเรื่องราวทางศิลปวัฒนธรรมของไทย สอดแทรกไปกับการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน ส่งเสริมให้จังหวัดเชียงรายกลายเป็น‘เมืองศิลปะระดับโลก’และเป็นจุดหมายที่นักเดินทางทั่วโลกอยากมาเยี่ยมชมสร้างการบูรณาการ  ระหว่างศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ในการพัฒนาสินค้าและท่องเที่ยวให้ชุมชนเกิดรายได้ผ่านการจัดกิจกรรมในรูปแบบของเทศกาลศิลปะนานาชาติ เป็นการตอบสนองนโยบายประเทศไทย ๔.๐ ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของวธ. และการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วย Soft power ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก ดังนั้นตลอดระยะเวลา 5 เดือนของการจัดงาน จังหวัดเชียงรายจะเต็มไปด้วยผลงานศิลปะจากผลงานหลักของ 60 ศิลปิน กิจกรรมคู่ขนาน อาทิ การแสดงดนตรีชาติพันธุ์ ศิลปะการแสดง การฉายภาพยนตร์ กิจกรรมการศึกษา พาวิลเลี่ยน 13 พาวิลเลี่ยน และการเปิดบ้านของศิลปินเชียงรายอีกกว่า 80 หลัง วันนี้จึงเป็นการนับถอยหลังเข้าสู่การจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023  ขอเชิญชวนชาวไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปิดโลกแห่งการรับรู้ทางศิลปะ เปิดประเทศ และเปิดเมืองเชียงราย เชื่อมโยงศิลปะสู่วิถีชีวิต ร่วมกันบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ครั้งนี้ และร่วมเป็นเจ้าภาพที่ดีไปพร้อม ๆ กับพี่น้องชาวเชียงราย 

 

 

ด้าน นายพุฒิพงศ์  ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ในฐานะเจ้าบ้าน จังหวัดเชียงราย  ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการจัดงานในครั้งนี้ทุก ๆ กิจกรรม โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อาทิ ศิลปินเชียงราย ขัวศิลปะ องค์การบริหารส่วนตำบล หอการค้า ห้างร้าน มูลนิธิ สมาคมต่าง ๆ จนทำให้ขณะนี้พร้อมต้อนรับคณะศิลปิน และนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาชมงานในครั้งนี้ ในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสถานที่จัดงานความพร้อมของผู้คนชุมชนโดยมั่นใจว่าหากได้มาเยือนจะหลงรักเชียงราย เพราะนอกจากความสวยงามของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น น้ำตก ป่าไม้ วัดวาอาราม แหล่งประวัติศาสตร์ รวมถึงวิถีชีวิต จังหวัดเชียงราย  เป็นเมืองสำคัญที่มีความอุดมสมบูรณ์มีศักยภาพด้านทุนทางวัฒนธรรม ที่มีประวัติศาสตร์ อันยาวนาน งดงามด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนา มีสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่และเป็นเอกลักษณ์ มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และที่น่าภูมิใจยิ่ง คือเป็นถิ่นของปราชญ์ของแผ่นดิน และศิลปินหลากสาขา เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ล้วนได้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีคุณค่าให้ปรากฏอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เชียงรายได้รับการยอมรับในฐานะ “เมืองศิลปะ” เมืองศิลปิน ถิ่นทองของศิลปะร่วมสมัยอย่างแท้จริง

 

 

ด้านผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ (Artistic Director) คุณกฤติยา กาวีวงศ์ และภัณฑารักษ์ (Curators)  คุณอังกฤษ อัจฉริยโสภณ และคุณมนุพร เหลืองอร่าม เน้นย้ำถึงที่มาของแนวคิด The Open World หรือ เปิดโลก ว่า เกิดขึ้นจากการลงพื้นที่และศึกษาข้อมูลของจังหวัดเชียงรายได้พบข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธรูปปางเปิดโลก   ซึ่งประดิษฐาน ณ วัดป่าสัก สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๓๘ ในสมัยพญาแสนภู ผู้สร้างเมืองเชียงแสนซึ่งเป็นหลานของพญามังราย โดยพุทธลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปปางเปิดโลก ประทับยืนอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ทั้งสองข้างห้อยลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองไปข้างหน้า เป็นกิริยาทรงเปิดโลกทั้ง 3 ได้แก่ เทวโลก ยมโลก และมนุษยโลก ให้มองเห็นถึงกันหมดด้วยพุทธานุภาพ แสดงให้เห็นถึงปัญญาและการตื่นรู้ จึงกล่าวได้ว่า “เปิดโลก” หรือ The Open world  มีความหมายที่ตรงไปตรงมา แต่สามารถตีความได้แบบปลายเปิด ที่สื่อถึงการเปิดโลกการรับรู้ทางศิลปะที่เชื่อมโยงความจริงในสังคมและนำไปสู่การตั้งคำถามด้วยผลงานศิลปะร่วมสมัยว่าเราจะสามารถจินตนาการถึงความเป็นไปได้ในอนาคตที่ดีกว่าอีกครั้งได้หรือไม่

 

นอกจากนี้“เปิดโลก” หรือ The Open World ยังหมายถึง ความสำคัญของการเรียนรู้จากอดีต ทั้งในแง่มุมทางประวัติศาสตร์อันซับซ้อนของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของประเพณีและมรดกทางวัฒนธรรมของล้านนา ด้านสถาปัตยกรรม วัฒนธรรมและศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องเล่าความเชื่อและมิติอันหลากหลายทางวัฒนธรรม ตลอดจนระบบนิเวศของเมืองในปัจจุบัน โดยเฉพาะชุมชนศิลปินเชียงรายซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี โดยมีอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี และอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติผู้มีชื่อเสียงระดับโลก เป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจที่สำคัญในการกลับมาสร้างสรรค์บ้านเกิดเมืองนอนให้เข้มแข็งและมีศักยภาพความพร้อมในมิติของการเป็นพื้นที่จัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 อีกด้วย

 

ส่วนพาวิลเลี่ยน ซึ่งถือว่าเป็นจุดสำคัญที่พัฒนาเพิ่มเติมจากการจัดงาน 2 ครั้งที่ผ่านมาThailand Biennale, Chiang Rai 2023 มีการแสดงผลงานของพาวิลเลี่ยนที่เข้าร่วม 13 พาวิลเลี่ยน 

1.กลุ่มศิลปินแม่ลาว 

2.กลุ่มศิลปินสีน้ำนานาชาติ (ขัวศิลปะ) 

3.กลุ่มสล่าเมืองพาน 

4.เดอะคาโนปี้ โปรเจกต์  

5.โปรดักชัน โซเมีย 

6.พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม 

7.พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่วอร์ซอร์ 

8.พุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 

9.แม่ญิงอาร์ตติสคอลเลคทีฟ 

10.รูบาน่า 

11.ศาลาสล่าขิ่น 

12.Korean pavilion 

และ13.PLUVIOPHILE  

 

สำหรับ 20 ศิลปินชุดสุดท้ายใน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ได้แก่ 1. อัลมากุล เมนลิบาเยวา (อัลมาตี/เบอร์ลิน) 2. อริญชย์ รุ่งแจ้ง (กรุงเทพฯ) 3. อัททา ความิ (อักกรา/ลัฟบะระ) 4. ชาไคอา บุคเคอร์ (นิวยอร์ก) 5. เฉิง ซินห้าว (คุนหมิง) 6. กรกฤต อรุณานนท์ชัย (กรุงเทพฯ/นิวยอร์ก) 7. วุธ ลีโน (พนมเปญ) 8. มาเรีย เทเรซา อัลเวซ (เบอร์ลิน/เนเปิลส์) 9. พาโบล บาร์โธโลมิว (นิวเดลี) 10. ปิแอร์ ฮุยจ์ (นิวยอร์ก/ซันดิเอโก) 11. ซาราห์ ซี (นิวยอร์ก) 12. ชิมาบุกุ (นาฮะ) 13. สมลักษณ์ ปันติบุญ (เชียงราย) 4 ทรงเดช ทิพย์ทอง (เชียงราย) 15. ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ (เชียงใหม่) 16. โทมัส ซาราเซโน (เบอร์ลิน) 17. เซอริน เชอร์ปา (แคลิฟอร์เนีย/กาฐมาณฑุ) 18. อุบัติสัตย์ (เชียงใหม่) 19. หวัง เหวิน จื้อ (เจียอี้) 20. ซิน หลิว (ลอนดอน)

 

ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thailandbiennale.org Facebook https://www.facebook.com/thailandbiennale/ และสายด่วนวัฒนธรรม 1765

 

Countdown to the Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 and reveal the final 20 artists who will showcase their creative works aiming to gain global recognition. The exhibition will be held on December 9, 2023 until April 30, 2024.

On November 19, 2023, H.E. Mr. Sermsak Pongpanit, Minister of Culture, presided over the press conference on the final 20 artists of the Thailand Biennale, Chiang Rai 2023. This event was attended by Mrs. Yupha Taweewattanakitborvon, Permanent Secretary for Culture, Mr. Puttipong Sirimart, the Governor of Chiang Rai Province, Mrs. Khunying Patama Leeswadtraku, the Chairperson of the Contemporary Art Promotion Fund, Mr. Prasop
Riang-ngoen, the Director-General of the Office of Contemporary Art and Culture, as well as executives from the Ministry of Culture, artistic directors, curators, artists and representatives from relevant agencies at Sann Hotel, Chiang Rai.

The Minister of Culture said that the 60 artists from 21countries were selected from around the world in order to create their own artworks. Following the on-site visits last week, the festival is making good progress and the venue is well-prepared.  The artists have been actively working on their creations according to the schedule. They are ready to showcase their works to the public from December 9, 2023, to April 30, 2024.

The Minister of Culture stated that the core concept of Thailand Biennale, Chiang Rai 2023, originated from on-site studies and exploration of Chiang Rai’s context, which reveals an information specifically about the Open World Posture Buddha image, located at Wat Pa Sak, which symbolizes the multicultural influence from various Asian cultures and serves as the inspiration for “The Open World” theme. In this edition, it is a crucial point to integrate the cultural narrative of Thailand with the artistic creations of the participating artists, promoting Chiang Rai Province to become a ‘world-class art city’ and a destination that global travelers would want to visit, fostering integration between art and local culture with innovative creativity. This initiative aims to develop products and tourism, generating income for the community through the organization of international art festivals, aligning with Thailand 4.0 policy to promote the creative industry of the Ministry and drive Thailand forward with soft power, making it a global focal point. Therefore, during the 5-month event period, Chiang Rai Province will be filled with artworks from the primary creations of 60 artists, along with collateral events and activities such as traditional music performances, performing arts, film screenings, educational activities, as well as 13 Pavilions, and more than 80 local artists’ open houses. Today marks the countdown to the international contemporary art festival, Thailand Biennale, Chiang Rai 2023. We would like to invite Thai citizens to be part of this event, opening the world to artistic perception, showcasing the country, and connecting Chiang Rai, while linking art to lifestyle. Together, let’s make this a historical event and be good hosts alongside the people of Chiang Rai.

Mr. Puttipong Sirimart, the Governor of Chiang Rai Province states that as the host province, Chiang Rai has prepared thoroughly for the event with the collaboration of various sectors. This includes local artists, cultural organizations, sub-district administrative organizations, chambers of commerce, foundations, and various associations. The community made all-round preparations and is currently ready to welcome artists and tourists in every aspect. The governor is confident that visitors will fall in love with Chiang Rai, which, aside from its nature’s beauty, historical sites and the local way of life, is a city with cultural richness and potential. Chiang Rai has a long history with a diverse Lanna cultural heritage unique architecture, various ethnic groups, and a reputation as a hub for wisdom and a diverse range of artists. Chiang Rai has actively contributed to the continuous creation of valuable artworks, gaining recognition worldwide. Chiang Rai has been recognized as the “City of Art,” a genuine city of contemporary artists, and a true artistic hub.

Miss Gridthiya Gaweewong, Artistic Director, Mr. Angkrit Ajchariyasophon, Curators and Miss Manuporn Luengaram emphasize the origin of the concept of “The Open World”, stating that it emerged from on-site exploration and the study of information about in Chiang Rai. It was discovered that the idea was inspired by the iconic Buddha statue at Wat Pa Sak, known as the Open World Posture Buddha image, which was established in the year 1838 during the reign of Phya Saen Phu, the founder of Chiang Saen city and the grandson of Phaya Mengrai. The Buddha Image stands on a lotus flower, with both hands hanging gracefully on both sides of the body, forming the gesture of opening the world. This symbolic gesture represents the three worlds: the divine world, the celestial world, and the human world. It serves as a visual representation of Buddhist wisdom and awareness, suggesting the opening of the world in all three aspects. The term “The Open World” is considered quite literal, but it can also be interpreted metaphorically to convey the idea of opening up perceptions through art that connects reality in society and leads to questioning through contemporary art. It raises the question of whether, through contemporary art, we can imagine a better future. 

In addition, “The Open World” also signifies the importance of learning from the past, particularly in the intricate historical aspects of Chiang Rai which serves as the birthplace of traditions and cultural heritage in the Lanna region. This encompasses various aspects, including architecture, cultural practices, and diverse art forms, as well as a multitude of cultural beliefs and perspectives. This rich cultural tapestry extends to the present-day urban systems, notably within the artistic communities of Chiang Rai. The artistic community in Chiang Rai, with a solid foundational structure led by renowned artists such as Ajarn Thawan Duchanee and Ajarn Chalermchai Kositpipat, who are globally acclaimed national artists, serves as a crucial model and inspiration. They play a significant role in revitalizing their hometown, making it robust and ready to participate in the multifaceted dimensions of hosting the international contemporary art festival, Thailand Biennale, Chiang Rai 2023.

The pavilions, considered pivotal developments from the past two editions. This edition Thailand Biennale, Chiang Rai 2023  plays a crucial role in the upcoming event. There will be exhibitions from 13 pavilions, featuring diverse and influential artistic groups: 1. **Laos Artists Group** 2. **International Watercolor Artists Group (Art Bridge) ** 3. **Sala Mueang Phan Group** 4. **The Khon Phej Project** 5. **Production S.O.M.A.** 6. **New Energetic Contemporary Art Museum** 7. **New Walsh Gallery Contemporary Art Museum** 8. **Buddhist Arts, Mae Fah Luang University** 9. **Mae Ying Artist Collective** 10. **Rubana** 11. **Sala Salla Kin** 12. **Korean Pavilion** 13. **PLUVIOPHILE**. Each pavilion represents a unique perspective and artistic contribution, making Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 a diverse and enriching cultural experience.

For the final 20 artists in Thailand Biennale, Chiang Rai 2023, namely: 1. Almagul Menlibayeva (Almaty/Berlin) 2. Arin Rungjang (Bangkok) 3. Atta Kwami (Accra/ Loughborough) 4. Chakaia Booker (New York) 5. Cheng Xinhao (Kunming) 6. Korakrit Arunanondchai (Bangkok/ New York) 7. Vuth Lyno (Phnom Penh) 8. Maria Theresa Alves (Berlin/ Naples) 9. Pablo Bartholomew (New Delhi) 10. Pierre Huyghe (New York / San Diego) 11. Sarah Sze (New York) 12. Shimabuku (Naha) 13. Somluk Pantiboon (Chiang Rai) 14. Songdej Thipthong (Chiang Rai) 15. Tawatchai Puntusawasdi (Chiang Mai) 16. Tomás Saraceno (Berlin) 17. Tsherin Sherpa (California/Kathmandu) 18. Ubatsat (Chiang Mai) 19. Wang Wen-Chih (Chiayi) 20. Xin Liu (London)

For more additional details and information at www.thailandbiennale.org Facebook https://www.facebook.com/thailandbiennale/  and  M-Culture Hotline 1765

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

เปิดตัวตลาดบกสืบสานวัฒนธรรมไทยถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน

 

 

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายอภิชาต กันธิยะเขียว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และนายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดตัวตลาดบกสืบสานวัฒนธรรมไทย และเสวนาวิชาการสืบทอด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

 

 

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดตัวตลาดบก ถนนคนเดินกาดช่วงเมืองน่าน หนึ่งในกิจกรรม “10 ตลาดบก 6 ตลาดน้ำ สืบสานวัฒนธรรมไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมี นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวรายงาน และนายกฤชเพชร เพชระบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวต้อนรับ นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน นายสุเมษ สายสูง ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน นายสรศักดิ์ พรหมจักร ประธานชุมชนบ้านภูมินทร์-ท่าลี่นายสุรัตน์ ผู้แทนชุมชนถนนคนเดินกาดช่วงเมืองน่าน วัฒนธรรมจังหวัด 11 หัวหน้าส่วนราชการ และเครือข่ายทางวัฒนธรรม ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้แทนชุมชน ประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ ช่วงเมืองน่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน

 

 

     กระทรวงวัฒนธรรม โดย จังหวัดน่าน ร่วมกับ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานน่าน สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดน่าน สำนักงานพื้นที่พิเศษ 6 เทศบาลเมืองน่าน ชุมชนบ้านภูมินทร์ – ท่าลี่ จัดโครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน 10 ตลาดบก โดยคัดเลือกตลาดบก และตลาดน้ำ ที่มีศักยภาพและมีความพร้อมในการพัฒนาเป็นตลาดสืบสานวัฒนธรรมไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนจากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม โดยถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 10 ตลาดบกสืบสานวัฒนธรรมไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในการจัดงานครั้งนี้มีการจำหน่ายสินค้า และการสาธิตภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากชุมชนพื้นที่ ช่วงเมืองน่าน และชุมชนโดยรอบถนนคนเดินกาดช่วงเมืองน่าน เพื่อสนับสนุนกระจายรายได้สู่ชุมชน สร้างรายได้จากการพัฒนาต่อยอดทุนวัฒนธรรมของชุมชน และเพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบทอด มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน ในครั้งนี้จึงได้กำหนดการจัดกิจกรรมเสวนาสืบทอดมรดกภูมิปัญญาจุมสล่าเรือจากจังหวัดนราธิวาส จังหวัดชุมพร จังหวัดหนองคาย จังหวัดสกลนคร วัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพิจิตร จังหวัดน่าน ประเทศสปป.ลาว และประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อฟื้นฟูงานช่างฝีมือพื้นบ้านของชุมชน ผ่านการแกะสลักหัวเรือ การต่อเรือ การขุดเรือ เพื่อการยกระดับงานเทศกาลประเพณีของจังหวัดน่านสู่สากล และกิจกรรมการสาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม WORK SHOP ร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อที่จะยกระดับให้พื้นที่ภายในถนนคนเดินกาดช่วงเมืองน่านเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ สร้างรายได้ให้ชุมชนจังหวัดเป็นพื้นที่ เชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคต่อไป

 

     ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

  1. การเสวนาวิชาการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาจุมสล่าเรือ เพื่อยกระดับงานประเพณีแข่งเรือสู่สากล
  2. การวงดนตรีวงล่องน่าน (กลุ่มศิลปินพื้นบ้านร่วมสมัย) บรรเลงเพลงต้อนรับ
  3. ชมนิทรรศการเรือยาวไทย 7 จังหวัด และเรือยาว 2 ประเทศ (สปป.ลาว , ราชอาณาจักรกัมพูชา)
  4. ชมการสาธิตแกงแคไก่เมือง โดยร้านอาหารเฮือนภูคาจังหวัดน่าน
  5. การแสดง ชุด “สาวน่านจ่ายกาดข่วงเมืองน่าน”
  6. พิธีมอบของที่ระลึก

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News