Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ขานรับนโยบายผู้ว่าฯ เชียงราย ทุกหน่วยงานพร้อมรับมือ PM 2.5

 
จากสถานการณ์ไฟป่าหมอกควัน และ PM 2.5 ของจังหวัดเชียงราย ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปี นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการหมอกควันไฟป่า และ PM 2.5 
 
เพื่อเป็นศูนย์บูรณาการการทำงานร่วมกับทั้งคน งบประมาณ การบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งจังหวัดเชียงราย มีความห่วงใย 4 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดเชียงราย โดยการนำของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้เน้นย้ำให้ทุก 18 อำเภอ ของจังหวัดเชียงราย 
 
 
เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์หมอกควัน ไฟป่า และPM 2.5 โดยให้ดำเนินการจัดเตรัยมห้องปลอดฝุ่นให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งหมด 460 แห่ง ดำเนินการแล้ว 206 แห่ง อยู่รัหว่างดำเนินการ 51 แห่ง ยังไม่ดำเนินการ 149 แห่ง และกำชับและเร่งรัดให้ทุกอำเภอบูรณาการร่วมกับ อปท.ในพื้นที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อดำเนินการให้ครบทั้ง 18 อำเภอ 100% โดยเร็ว
 
 
โดยในวันนี้ 3 ธันวาคม 2566 นายอุดม ปกป้องบวรกุล นายอำเภอแม่สรวย ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมรับมือภายใต้ชื่อว่า “ ไฟป่า ฝุ่นควัน การป้องกันสุขภาพ” ร่วมกับ โรงพยาบาลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เตรียมความพร้อมในการป้องกัน PM 2.5 อันเนื่องมาจากปัญญาไฟป่า ฝุ่นควัน โดยการเตรียมห้องปลอดฝุ่น เครื่องฟอกอากาศ เติมอากาศ สำหรับเจ้าหน้าที่ และประชาชนที่มารับบริการ การรับรักษาพยาบาล ค่อนข้างจะเกือบ 100 % ตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

เชียงราย จัดพิธีเนื่องในวันคล้าย วันสถาปนา 52 ปี มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2566 ที่ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดเชียงราย ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตราภรณ์ บุญถนอม ผู้อำนวยการสำนักประกันคุณภาพการศึกษา ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประธานในพิธีถวายพานพุ่มดอกไม้ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พร้อมด้วยนายศรัญยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานชมรมรามคำแหงเชียงราย นายประจญ ปรัชญ์สกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานที่ปรึกษาชมรมรามคำแหงเชียงราย อาจารย์กุลทิตา ยุวะหงษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการ จังหวัดอุทัยธานี และหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธี จากนั้นร่วมประกอบพิธีทางศาสนา โดยมีพระครูขันติพลาธร รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดฝั่งหมิ่น เป็นประธานสงฆ์ นำพระสงฆ์รวม 5 รูปประกอบพิธีทางศาสนา

 
 
มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามรูปแบบ “ตลาดรายวิชา” โดยมีปรัชญาการดำเนินงานเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและความเท่าเทียมกันให้กับคนไทย มหาวิทยาลัยตั้งชื่อตามพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ทรงสร้างอักษรไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย สีสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยคือสีน้ำเงินและสีทอง และมีต้นไม้สัญลักษณ์คือไม้ดอกสุพรรณิการ์ (ฝ้ายคำ)
 
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเพื่อบรรเทาปัญหาที่สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยมีขีดความสามารถจำกัดในการตอบสนองความต้องการเข้าศึกษาในระดับที่สูงขึ้นของผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสถาบันการศึกษาในรูปแบบของ “ตลาดรายวิชา” ที่ทำให้นักศึกษาจำนวนมากสามารถเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรอุดมศึกษาที่ประสงค์จะเข้าศึกษาได้
 
 
วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 เป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง นับเป็น วันอันเป็นมงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปีดอนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก) พระองค์ยังทรงพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2514 มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้วันที่ 26 พฤศจิกายน เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง และในวันที่ 26พฤศจิกายน 2566 นี้ ถือเป็นวันครบรอบปีที่ 52 ของมหาวิทยาลัย นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2514
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

อสม.ดอยหลวง เวียงเชียงรุ้ง ยิ้มรับ อบจ.เชียงราย มอบกระเป๋าโฮงยาใกล้บ้าน

 

18 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นประธานมอบกระเป๋าโฮงยาใกล้บ้าน ในโครงการคัดกรอง เฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โดยมี นายชัยสิทธิ์ ชัยเนตร เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย นายสมเกียรติ กันธิพันธ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อำเภอดอยหลวง เขต 1 และเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข องค์การบริหารหารส่วนจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่ ณ หอประชุมอเนกประสงค์ที่ว่าการอำเภอดอยหลวง ตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

 

ต่อมา ในเวลา 13.30 น. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายชัยสิทธิ์ ชัยเนตร เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข องค์การบริหารหารส่วนจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่ ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลดงมหาวัน ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
จากการสำรวจและคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน พบว่าประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแลรักษาโรค โดยนโยบายระดับชาติเพื่อควบคุมโรคเหล่านี้ 
 
 
คือ การตรวจค้นหาคัดกรองสุขภาพของประชาชน และการควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดของโรคเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นกลุ่มองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด และเป็นผู้ที่รู้ปัญหาความต้องการของประชาชนในชุมชนได้เป็นอย่างดี สามารถให้บริการแก่ประชาชนขั้นพื้นฐานในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขภาพพร้อมทั้งกระจายข่าวสารด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในเขตที่ตัวเองรับผิดชอบได้รับทราบ เพื่อให้บริการที่ทั่วถึงและทันเวลา
 
 
สำหรับกิจกรรมในการลงพื้นที่ให้บริการด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับ อสม. ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ อาทิ กิจกรรมวัดความดันโลหิต เจาะเลือดตรวจน้ำตาลในเลือด การเยี่ยมบ้าน การนัดให้ไปรับบริการต่างๆ ที่ รพ.สต. ฯลฯ ซึ่งในแต่ละกิจกรรมต้องมีอุปกรณ์ในการให้บริการ เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด หรืออื่นๆ ที่สนับสนุนการให้บริการ ในขณะเดียวกันความพร้อมของอุปกรณ์ยังไม่เพียงพอในการให้บริการประชาชน
 
 
ดังกล่าว โครงการคัดกรอง เฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาและสนับสนุนครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ในการป้องกัน ควบคุม โรคไม่ติดต่อในการคัดกรองสุขภาพ ประกอบด้วย เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด และเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่ ได้อย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนมีความสะดวกในการรับบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการที่จะ
เข้าถึงบริการในกรณีที่จำเป็น รวมถึงการให้บริการในช่วงเวลาที่มีการรณรงค์ตรวจสุขภาพในพื้นที่อีกด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
TOP STORIES

ไม่กระทบโครงสร้าง ผู้ว่าฯ ลงตรวจอาคาร รพ.เชียงราย หลังพบรอยร้าว

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 จากกรณีเกิดแผ่นดินไหวเมื่อเวลา 08.37 น.ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมา ห่างจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย ไปทางทิศเหนือประมาณ 100 กิโลเมตร โดยมีความแรงตามมาตรการวัดริกเตอร์ได้ถึง 6.4 แม็กนิจูด ทำให้รับรู้แรงสั่นไหวได้ทั่วภาคเหนือนั้น นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย ได้เดินทางไปตรวจสอบอาคารเด็กภายในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ อ.เมืองเชียงราย ซึ่งมีอาคารส่วนต่อขยายตรงจุดเชื่อมระหว่างอาคารเก่าและใหม่สูง 5 ชั้น ได้รับความเสียหายแตกเป็นรอยแนวตั้งยาว ซึ่งสามารถเห็นได้อย่างขัดเจนจากภายนอก ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดได้สั่งการให้ฝ่ายโยธาธิการให้เร่งเข้าไปตรวจสอบโดยด่วน เนื่องจากภายในอาคารมีผู้ป่วย แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่ต้องใช้อาคารอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีสถานที่อื่นๆ เช่น โรงพยาบาลแม่สาย ฯลฯ ที่ด้านหน้าอาคารได้รับความเสียหายเล็กน้อย ฯลฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายในหลายพื้นที่อยู่ระหว่างสำรวจเพื่อซ่อมแซมต่อไป

 
นายณรงค์ น้ำผึ้ง โยธาธิการและผังเมือง จ.เชียงรายกล่าวว่ากรณีโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์นั้น ได้ตรวจสอบเบื้องต้นพบเป็นการกระเทาะออกมาของปูนฉาบที่เชื่อมระหว่างอาคารใหม่ และเก่ารวม 2 หลัง และอาคารสร้างเพื่อรองรับแผ่นดินไหวได้ตามมาตราวัดริกเตอร์ได้ถึงระดับ 6-8 เพราะฉะนั้นโครงสร้างจึงไม่ได้รับกระทบ และสามารถใช้งานได้ตามปกติ กระนั้นตนห่วงเรื่องบ้านเรือนของประชาชนที่ไม่สร้างเพื่อรองรับแผ่นดินไหวจึงได้ให้เจ้าหน้าที่ออกสำรวจแล้ว
 
สำหรับ อ.แม่สาย ซึ่งสั่นไหวมากเพราะอยู่ใกล้กับรัฐฉานมากที่สุดพบว่าช่วงเกิดเหตุได้มีคนงานก่อสร้างหลายคน เข้าไปทำงานเพื่อสร้างอาคารศูนย์บริการแบบที่เดียวเสร็จหรือ OSS ภายในที่ว่าการ อ.แม่สาย ตามปกติ แต่ขณะเกิดแผ่นดินไหวได้แรงงานคนหนึ่ง ทราบชื่อต่อมาว่านายยะหุ้ย อายุ 31 ปี ชาวสัญชาติเมียนมา กำลังอยู่บนนั่งร้านชั้น 3 ใกล้เคียงกับริเวณชั้น 2 ของอาคาร เมื่อเกิดแรงสันไหวทำให้นายยะหุ้ยพลัดตกลงมากระทบพื้นจนแขนซ้ายหักและได้รับบาดเจ็บสาหัส หลังเกิดเหตุหน่วยกู้ภัยและเจ้าหน้าที่ อ.แม่สาย ได้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลแม่สายอย่างเร่งด่วนเบื้องต้นพบว่าอาคารอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย
 
 
หลังจากสำหรับแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ในวันที่ 17 พ.ย.นี้แล้ว ยังมีการสั่นไหวตามมาหรืออาฟเตอร์ช็อคอย่างน้อย 3-4 ครั้ง คือในเวลา 08.42 น.ความแรงระดับ 4.1 เวลา 08.46 น.ความแรง 3.5 เวลา 08.48 น.ความแรง 3.4 และเวลา 09.06 น.ความแรง 3.4 ตามลำดับ

 

แพทย์หญิงบุญศิริ จันศิริมงคล รักษาการในตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 1 ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหว โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

 

 

ต่อมาเวลา 18.00 น. นายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายแพทย์ศุภเลิศ เนตรสุวรรณ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ ทีมผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมต้อนรับ แพทย์หญิงบุญศิริ จันศิริมงคล รักษาการในตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 1 พร้อมคณะ ในการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหว โดยได้เข้าเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย หอผู้ป่วยพิเศษสูติกรรม ชั้น 5 อาคาร 68 ปีอนุสรณ์ พร้อมร่วมรับฟังสรุปรายงานเหตุการณ์ของโรงพยาบาลเชียงรายฯ  และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพล  เกติยศ รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหารวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาภาคเหนือ 1 ได้ชี้แจงในส่วนของโครงสร้างอาคาร 68 ปีอนุสรณ์ เป็นอาคารที่ได้รับการออกแบบให้ต้านทานแผ่นดินไหว จากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งลักษณะด้านวิศวกรรมโครงสร้าง มีการแยกเป็น 2 อาคาร เป็นผลให้การสั่นไหวของอาคารต่างกัน และจากการสำรวจความเสียหายจากทีมวิศวกร ไม่พบความเสียหายกับโครงสร้างหลักของอาคาร พบเพียงแต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อ ในส่วนของกำแพงอิฐก่อที่ร่อน ซึ่งไม่ใช่ส่วนโครงสร้างอาคาร และความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่มีผลต่อความมั่นคงและเสถียรภาพของอาคาร ซึ่งที่ผ่านมา ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ร่วมกับ กลุ่มงานโครงสร้างและวิศวกรรมทางการแพทย์ โรงพยาบาลเชียงรายฯ ได้มีการนำนวัตกรรมวัดแรงสั่นสะเทือนอาคารสูง ติดตั้ง ณ อาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เพื่อเตือนให้ผู้ใช้อาคารสูงมั่นใจว่ามี การวัด Potential Damage Scale เท่าไรในขณะแผ่นดินไหว เช่นครั้งนี้ พบแรงสั่นสะเทือนที่ Sensor วัดได้อยู่ในช่วง 2.5-8 G ประเมินได้ว่า ไม่มีผลกระทบต่ออาคารแต่อย่างใด 

 

พร้อมกันนี้ แพทย์หญิงบุญศิริ จันศิริมงคล สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 1 ได้เน้นย้ำให้สร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน และความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ รวมถึงสภาพจิตใจที่ตามมาหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยให้ปฏิบัติตามแนวทาง “แผ่นดินไหว ใจไม่สั่นไหว” คือ ประเมินความเสี่ยงของพื้นที่และเตรียมความพร้อมในการรับมือ ประเมินปฏิกิริยาที่อาจจะเกิดขึ้น การเตรียมความพร้อมยอมรับอารมณ์ที่หวั่นไหว และหากมีผลกระทบต่ออารมณ์และการทำงาน มากกว่า 1 เดือน ให้ปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือ สถานพยาบาลใกล้บ้าน และได้สั่งการให้มีการประชุม ถอดบทเรียน ซ้อมแผนเผชิญเหตุ เพื่อรับสถานการณ์ในอนาคต 

 

ทั้งนี้ นายนฤดล อ่วมสุข ผู้อำนวยการศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 1 พร้อมสถาปนิก จะทำการสำรวจเพิ่มเติมในส่วนของโครงสร้างอาคารอื่น ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรของโรงพยาบาล และประชาชนผู้เข้ารับบริการต่อไป

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : THE STANDARD

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงราย หารือกฎหมายใช้ที่ดินพื้นที่อำเภอแม่สาย

 

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 10.00 น.นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนายญาณาฤทธิ์ หนสมสุข รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ประชุมข้อราชการและระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์และที่ดินอื่นๆ ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลแม่สาย

 

โดยมีผู้นำท้องถิ่น ท้องที่เข้าร่วมปรึกษาหารือข้อราชการ ระเบียบกฎหมาย เกี่ยวกับการเข้าดำเนินกิจกรรม หรือโครงการพื้นที่อุทยาน ป่าไม้ หรือป่าสงวน เช่น การดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และปัญหาอุทกภัยอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยมีส่วนร่วม กับประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย โดยพื้นที่ดำเนินการบางแห่งเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวและพื้นที่ในการดูแลของป่าไม้-อุทยาน ซึ่งต้องดำเนินการขออนุญาตก่อนเข้าดำเนินการ จากการดำเนินการที่ผ่านมามีการประสานเพื่อขออนุญาต แต่ไม่ได้รับการตอบรับหรือการตอบรับล่าช้า จากหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ ทำให้การดำเนินการกิจกรรม-โครงการไม่สามารถดำเนินตามกรอบเวลาหรือกำหนดการที่วางไว้
 
 
ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายจึงได้จัดการประชุมเพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำท้องที่ รวมถึงประชาชนที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ดิน (น.ส.ล.) ทั้งที่อยู่ในเขตป่า/ป่าสงวน ที่ราชพัสดุและที่ดินอื่นๆ ในพื้นที่อำเภอแม่สาย เพื่อบูรณาการและนำไปถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบและถือเป็นแนวทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและรองรับตามภารกิจอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมถึงขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายโดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 
1. ท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย 
2. ผู้อำนวยการ ปปช. ประจำจังหวัดเชียงราย 
3. ที่ดินจังหวัดเชียงราย 
4. สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ 2 (เชียงราย) 
5. ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย 
6. ธนารักษ์พื้นที่เชียงราย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SPORT

เชียงราย พร้อมเป็นเจ้าภาพ กีฬาเยาวชนและกีฬาอาวุโสแห่งชาติ ปี 2570

 
จังหวัดเชียงราย ประชุมคณะกรรมการกีฬาจังหวัด ร่วมกำหนดเป้าหมายการส่งเสริมกีฬาภายในจังหวัด สู่ระดับประเทศ
วันนี้ (1 พฤศจิกายน 2566) ที่ ห้องประชุมพญาพิภักดิ์ ชั้น2 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกีฬาจังหวัดเชียงราย ครั้งที่1 ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม
 
 
ในที่ประชุม ฝ่ายเลขานุการได้รายงานสรุป
 – ผลการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 38 “นครสวรรค์เกมส์” โดยจังหวัดเชียงรายได้รับ 1 เหรียญทอง 6 เหรียญเงิน 15 เหรียญทองแดง รวม 22 เหรียญ ได้อันดับ 64 
 
– ผลการแข่งขันกีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ 5 “ชอนตะวันเกมส์” จังหวัดเชียงรายได้รับ 17 เหรียญทอง 13 เหรียญเงิน 11 เหรียญทองแดง รวม 41 เหรียญ ได้อันดับ 11 
 
– ผลการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 48 “กาญจนบุรีเกมส์” จังหวัดเชียงรายได้รับ 7 เหรียญทอง 9 เหรียญเงิน 14 เหรียญทองแดง รวม 30 เหรียญ ได้อันดับ 30 และ
 
– ผลการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่38 “กาญจนิกาเกมส์” จังหวัดเชียงรายได้รับ 1 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน 6 เหรียญทองแดง รวม 12 เหรียญ ได้อันดับ 39 
 
พร้อมทั้งรายงานการขับเคลื่อนการส่งเสริมและพัฒนาการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อมวลชนให้เป็นวิถีชีวิตในระดับจังหวัด รวมถึงรายงานการจัดกิจกรรมกีฬาประจำปี 2566 ของสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงราย สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเชียงราย สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย และของสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงราย
 
 
ทั้งนี้ในที่ประชุมฝ่ายเลขานุการได้รายงานปฏิทิน และแผนงานกิจกรรมกีฬาในส่วนของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมทั้งได้พิจารณาการขอรับเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 42 (พ.ศ. 2570) และกีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่9 (พ.ศ. 2570) โดยในที่ประชุมได้เห็นชอบให้จังหวัดเชียงรายสมัครขอรับเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน ซึ่งจังหวัดเชียงรายมีความพร้อมในทุกด้าน รวมถึงสนองนโยบายในการเป็นเมืองแห่งกีฬาหรือสปอร์ตซิตี้ อีกด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE TRAVEL

‘งานกฐิน ปี 2566’ วัดดังทั่ว จ.เชียงราย สายบุญ-สายมู ห้ามพลาด!

 

งานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ของพระอารามหลวง และวัดราษฎร์ ในจังหวัดเชียงราย ประจาปี 2566 และงานถวายผ้ากฐินสามัคคี ของวัดราษฎร์สำคัญ ในจังหวัดเชียงราย ประจำปี 2566 โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 

– 2 พ.ย. 66 เวลา 10.09 น.  วัดห้วยปลากั้ง ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาส พระไพศาลประชาทร วิ. (พบโซค ติสฺสวํโส)
MAP : https://maps.app.goo.gl/cgYmDmW5WLtwookY8

 

 

– 4 พ.ย. 66 เวลา 09.39 น.  วัดฝั่งหมิ่น ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาส พระครูขันติพลาธร (บุญยวง ขนฺติพโล) รองเจ้าคณะ จ.ชร.

MAP : https://maps.app.goo.gl/zEwaZ8amhybLPUhf7

 

– 4 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดป่าบ้านเหล่า ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาส พระสิริวัฒโนดม วิ. (สุขเลิศ กนฺตธมฺโม) เจ้าคณะ จ.ชร.(ธ.)

MAP : https://maps.app.goo.gl/U58tKZiGqY4UhUPdA

 

– 5 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ต.ห้วยสัก อ.เมืองเชียงราย กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาส พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี ป.ธ.๙)

MAP : https://maps.app.goo.gl/Fx6x5oTvHmmwvWRk6

 

– 5 พ.ย. 66 เวลา 16.00 น.  วัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาส พระภาวนารัตนญาณ วิ. (อริยชาติ อริยจิตฺโต)

MAP : https://maps.app.goo.gl/deGWKz9K4sgg4Rgs5

 

– 9 พ.ย. 66 เวลา 10.09 น.  วัดพระธาตุดอยเวา ต.เวียงพางคา อ.แม่สาย กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาส พระครูประยุตเจติยานุการ

MAP : https://maps.app.goo.gl/o1rDzdWSAVwwkhEU6

 

 

– 11-12 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดหาดบ้าย ต.ริมโขง อ.เชียงของ จุลกฐิน โดยเจ้าอาวาส พระอธิการจตุรงค์ โชติโก

MAP : https://maps.app.goo.gl/CADByznLurSkELri6

 

– 12 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดพระแก้ว (พระอารามหลวง)  ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย กฐินพระราชทาน     โดยเจ้าอาวาสพระครูสุธีสุตสุนทร (สมพงษ์ สิริมงฺโล)

MAP : https://maps.app.goo.gl/ymZevdwwznwKfYqT7

 

– 12 พ.ย. 66 เวลา 15.00 น.  วัดน้าม้า ต.สถาน อ.เชียงของ กฐินพระราชทาน ๙๐๕    โดยเจ้าอาวาส พระมหาสวัตติ์ นนฺทธมฺมวโร

MAP : https://maps.app.goo.gl/Mvm6gtRygtyftB64A

 

– 17 พ.ย. 66 เวลา 09.00 น.  วัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง) ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย กฐินพระราชทาน โดยเจ้าอาวาสพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ (บุญมา มานิโต) ที่ปรึกษา จจ.ชร.

MAP : https://maps.app.goo.gl/XBaqDPzprXx2qcwZ9

 

– 19 พ.ย. 66 เวลา 09.30 น.  วัดมงคลธรรมกายาราม ต.โป่งงาม อ.แม่สาย กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาสพระภาวนาโกศลเถร วิ. (ชูวิทย์ อคฺควิชฺโช)

MAP : https://maps.app.goo.gl/cRijFM4Mhb39zTbBA

 

– 19 พ.ย. 66 เวลา 13.39 น.  วัดพระธาตุดอยตุง ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย กฐินพระราชทาน     โดยพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ (บุญมา มานิโต) รักษาการเจ้าอาวาส

MAP : https://maps.app.goo.gl/HVggRhkScoHBvWJs9

 

– 21 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดเจ็ดยอด (พระอารามหลวง)  ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย กฐินพระราชทาน     โดยพระพุทธิญาณมุนี (ประเสริฐ ปญฺญาวชิโร) รักษาการเจ้าอาวาส

MAP : https://maps.app.goo.gl/9NrSPQCVvvWTXY366

 

– 24 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดเชตุพน ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย กฐินพระราชทาน ๙๐๕     โดยเจ้าอาวาส พระครูวิจิตรธรรมาภิรักษ์

MAP : https://maps.app.goo.gl/kX1eGTHkscnEeXDbA

 

– 26 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดป่าอรัญญวิเวก ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง กฐินสามัคคี     โดยเจ้าอาวาส พระราชวชิราธิการ (หลวงพ่อทวี จิตฺตคุตโต)
MAP : https://maps.app.goo.gl/LW6nWGesuLKDj96v7

 

– 25-26 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดพระธาตุผาเงา ต.เวียง อ.เชียงแสน กฐินทันใจ โดยเจ้าอาวาส พระพุทธิญาณมุนี (ประเสริฐ ปญฺญาวชิโร) เจ้าคณะ จ.ชร. (ม.)

MAP : https://maps.app.goo.gl/99U8rdrrpXbr2U5FA

 

– 25-26 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดท่าข้ามศรีดอนชัย ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จุลกฐิน    โดยเจ้าอาวาสพระครูสุจิณวรคุณ

MAP : https://maps.app.goo.gl/4rKVBvNcXndhj8QG9

 

– 25-26 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น.  วัดมิ่งเมือง (ช้างมูบ) ต.เวียง  อ.เมืองเชียงราย จุลกฐิน โดยเจ้าอาวาสพระครูโสภณศิลปาคม

MAP : https://maps.app.goo.gl/c83QKFM5bio9rBW3A

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ขับเคลื่อน “เชียงรายเมืองสุขภาพ” (Chiang Rai Wellness City)

 
 วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566 เวลา 08.30 -12.00 น. ณ หอประชุมสมเด็จย่า อาคาร C4 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมงานเปิดโครงการขับเคลื่อน “เชียงรายเมืองสุขภาพ” Chiang Rai Wellness City 
 

โดยนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานประกาศเจตนารมณ์ “การขับเคลื่อน Chiang Rai Wellness City” หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐเอกชนร่วมลงนามปฏิญญา “ความร่วมมือขับเคลื่อนจังหวัดเชียงรายเมืองแห่งสุขภาพ” จากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานแถลงข่าวสื่อมวลชน
มีการบรรยาพิเศษ
 
 
– บทบาทของภาครัฐในการสนับสนุน Thialand Wellness Hub โดย นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
– โอกาสของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลาง Wellness ของโลก โดย คุณกรด โรจนเสถียร ที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่บริหาร ชีวาศรม อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์รีสอร์ต
– Thailand Wellness Tourism-Future Trends & Market. โดย คุณอุไร มุกประดับทอง หัวหน้างานสินค้าท่องเที่ยวภาคกลาง กองสร้างสรรค์สินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
– ทิศทางการขับเคลื่อน Wellness ของเชียงราย โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ นายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
 

ภายนอกหอประชุมสมเด็จย่า มีการออกบูทแสดงผลงาน/กิจกรรมของภาคีเครือข่าย Wellness โดยได้รับเกียรติจาก นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผศ.ดร.มัฌิมา นราดิศร อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหาร ผู้มีเกียรติผู้เกี่ยวข้อง นักศึกษา สื่อมวลชน ร่วมงาน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI WORLD PULSE

UNESCO ประกาศเชียงราย เป็นเมืองระดับโลกปี 2566

 

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ทางเพจเฟสบุ๊ค Dasta Thailand แสดงความยินดี โดยนาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท.ขอแสดงความยินดี กับจังหวัดเชียงราย และจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก ให้เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ในระดับโลก (UNESCO Creative Cities Network – UCCN) โดยเชียงรายเป็นเมืองสร้างสรรค์ ด้านการออกแบบ (City of Design) และจังหวัดสุพรรณบุรี ด้านดนตรี (City of Music) 

ซึ่งทางเว็บไซต์ UNESCO ประกาศ 55 เมืองใหม่ ที่เข้าร่วมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ถือเอาวันที่ 31 ตุลาคม เป็นวันเมืองโลก จากสหประชาชาติได้กำหนดวันเอาไว้ประกาศยืนยันว่าประเทศไทย ติด 2 จังหวัดคือ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดสุพรรณบุรี  เป็น 2 ใน 55 เมืองจากทั่วโลกที่เข้าร่วมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO (UCCN) ตามที่ได้รับการแต่งตั้งจากโอเดรย์ อาซูเลย์ (Audrey Azoulay) ผู้อำนวยการใหญ่ของ UNESCO เมืองใหม่ๆ ได้รับการยอมรับถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการควบคุมวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การพัฒนา และการแสดงแนวทางปฏิบัติที่เป็นนวัตกรรมในการวางผังเมืองที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ด้วยการเพิ่มล่าสุด ทำให้ปัจจุบันเครือข่ายครอบคลุม 350 เมืองในกว่า 100 ประเทศ 

ซึ่งองค์การยูเนสโกเปิดรับสมัครสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative City Network – UCCN) ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้เมืองต่างๆ มีความร่วมมือระหว่างกันทั้งในระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาค และระดับชุมชนท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีในแต่ละพื้นที่ รวมถึงเปิดโอกาสให้มีการเสนอความหลากหลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเมืองใน 7 สาขา ได้แก่ 1) หัตถกรรมพื้นบ้าน 2) การออกแบบ 3) ภาพยนตร์ 4) อาหาร 5) วรรณกรรม 6) สื่อศิลปะ และ 7) ดนตรี โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้านวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ ตามเป้าหมายวาระของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี ค.ศ. 2030 และปฏิญญา Mondiacult 2022

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. กล่าวว่า คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ได้มีมติเห็นชอบให้เสนอจังหวัดเชียงราย เป็นตัวแทนประเทศไทยยื่นเอกสารสมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ประจำปี 2566 โดยจังหวัดเชียงราย เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ (City of Design)  ซึ่งจะทำให้เมืองได้เป็นที่รู้จักของสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์จากประเทศทั่วโลก เกิดการเดินทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และก่อให้เกิดการเป็นที่รู้จักของกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ

จังหวัดเชียงราย จะดำเนินการต่อยอดจากแผนงานเดิมในปี 2564 ซึ่ง อพท. ได้ร่วมจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติตามแผนขับเคลื่อนเชียงรายเป็นเมืองแห่งการออกแบบ เพราะเป็นเมืองที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น มีศิลปินล้านนาจำนวนมาก มีการสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สืบทอดกันมาทั้งจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมทางท้องถิ่น และเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม มายาวนาน

เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก คืออะไร เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ หรือ Creative Cities Network เป็นอีกหนึ่งโครงการของยูเนสโก ที่ดำเนินงานควบคู่กับการประกาศแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เปิดรับคัดเลือกทุก ๆ 4 ปี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) สู่ความร่วมมือในระดับนานาชาติของภาคประชาคม ประชาชน เอกชนและสาธารณะ

และในวันที่ 31 ตุลาคม 2023 สมาชิกใหม่ของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก โดยเรียงตามตัวอักษรนำหน้าภาษาอังกฤษ ไม่ได้เป็นการให้ลำดับผู้ชนะ ได้แก่:

  1. Asaba – Film
  2. Ashgabat – Design
  3. Banja Luka – Music
  4. Battambang – Gastronomy
  5. Bissau – Music
  6. Bolzano – Music
  7. Bremen – Literature
  8. Buffalo City – Literature
  9. Bukhara – Crafts and Folk Art
  10. Bydgoszcz – Music
  11. Caen – Media Arts
  12. Caracas – Music
  13. Casablanca – Media Arts
  14. Castelo Branco – Crafts and Folk Art
  15. Cetinje – Design
  16. Chaozhou – Gastronomy
  17. Chiang Rai – Design

  18. Chongqing – Design
  19. Concepción – Music
  20. Da Lat – Music
  21. Fribourg – Gastronomy
  22. Gangneung – Gastronomy
  23. Granada[1] – Design
  24. Gwalior – Music
  25. Herakleion – Gastronomy
  26. Hobart – Literature
  27. Hoi An – Crafts and Folk Art
  28. Iasi – Literature
  29. Iloilo City – Gastronomy
  30. Ipoh – Music
  31. Kathmandu – Film
  32. Kozhikode – Literature
  33. Kutaisi – Literature
  34. Mexicali – Music
  35. Montecristi – Crafts and Folk Art
  36. Montreux – Music
  37. Nkongsamba – Gastronomy
  38. Novi Sad – Media Arts
  39. Okayama – Literature
  40. Ouarzazate – Film
  41. Oulu – Media Arts
  42. Penedo – Film
  43. Rio de Janeiro – Literature
  44. Şanlıurfa – Music
  45. Suphanburi – Music
  46. Surakarta – Crafts and Folk Art
  47. Taif – Literature
  48. Toulouse – Music
  49. Tukums – Literature
  50. Ulaanbaatar – Crafts and Folk Art
  51. Umngeni Howick – Crafts and Folk Art
  52. Valencia – Design
  53. Varaždin – Music
  54. Veliky Novgorod – Music
  55. Vicente Lopez – Film
  56.  

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

สาธารณสุขนิเทศ เปิดศูนย์ช่วยเหลือ ทางด้านจิตใจ แรงงานไทยในอิสราเอล

 

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2566 แพทย์หญิงบุญศิริ จันศิริมงคล รักษาการสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 1 เป็นประธานเปิดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข (ศูนย์ EOC) กรณีได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล โดยมีนายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย นำผู้เข้าร่วมพิธีเปิดประกอบด้วย คณะผู้บริหาร สาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลชุมชน และคณะทำงานกลุ่มภารกิจต่างๆ ร่วมพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ที่ภายในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ตำบลท่าสาย อำเภอเมืองเชียงราย

 

จากกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล ส่งผลให้แรงงานไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก และกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยสนับสนุนในการช่วยเหลือทางด้านจิตใจผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งหมายถึงแรงงานที่เดินทางกลับจากประเทศอิสราเอล ญาติ และครอบครัว จังหวัดเชียงรายมีแรงงานไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ความไม่สงบ จำนวน 2,174 คน มากเป็นอันดับสองของประเทศ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย จึงได้มีการเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขขึ้น
 
 
แพทย์หญิงบุญศิริ จันศิริมงคล รักษาการสาธารณสุขนิเทศเขตสุขภาพที่ 1 กล่าวว่า “ทีม MCATT” หรือ “ทีมสหวิชาชีพที่ให้การช่วยเหลือทางด้านจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต” ของจังหวัดเชียงราย ทั้ง 18 อำเภอ ได้จัดทีมลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน และดูแลจิตใจคนไทยที่กลับมาถึงภูมิลำเนาแล้วทุกครอบครัว ส่วนคนไทยในอิสราเอลที่ยังไม่กลับมานั้น ทางครอบครัวยังเฝ้ารอ และต้องติดตามข่าวความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งความเครียด ความกังวล ความกลัว ทั้งนี้ได้มอบให้ทีม MCATT จังหวัดเชียงราย ติดตามให้การดูแลอย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้แรงงานไทยได้เดินทางกลับบ้านอย่างต่อเนื่อง จึงอยากให้ประชาชนแสดงความห่วงใยถามไถ่อย่างเหมาะสม ” ในหลัก 3 ไม่ ” ได้แก่ ไม่ถามซ้ำ ถึงเหตุการณ์ความรุนแรง เพื่อไม่ให้สร้างรอยแผลอันจะนำไปสู่ความเสียใจ, ไม่ตอกย้ำ ถึงขั้นตอน สถานที่การดำเนินชีวิต หรือลำดับเหตุการณ์อันจะทำให้คิดถึงภาพความรุนแรงที่ยังติดอยู่ในความคิด และ ไม่รื้อพื้น ถึงการตัดสินใจไปทำงาน
 
 
ด้าน นายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ทีม MCATT จังหวัดเชียงราย ได้ลงพื้นที่เยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 3,473 ราย โดยจัดกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ 3 กลุ่ม แยกเป็นกลุ่ม A คือ ผู้บาดเจ็บ/ตัวประกัน/ผู้สูญหาย รวมถึงญาติของผู้เสียชีวิต และผู้ที่ได้รับผลกระทบข้างต้น จำนวน 33 คน (เสียชีวิต 1 ราย, บาดเจ็บ 1 ราย, สูญหาย 1 ราย และกลุ่มญาติ 30 ราย) กลุ่ม B คือ แรงานไทยในพื้นที่เสี่ยงสูงหรือปานกลาง รวมถึงญาติของกลุ่มดังกล่าวจำนวน 3,397 คน (หมายถึง กลุ่มผู้ไม่บาดเจ็บที่กลับมาแล้ว 164 ราย กลุ่มคนไทยที่ยังอยู่ในอิสราเอล 953 ราย กลุ่มญาติของคนไทยในอิสราเอลที่ยังไม่กลับมา และกลับมาแล้ว 2,280 ราย) กลุ่ม C คือ ประชาชนที่รับรู้เหตุการณ์ และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 43 คน ทีม MCATT ได้ ดำเนินการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต และเยียวยาจิตใจด้วยการให้ปฐมพยาบาลทางใจเบื้องต้น การจัดการความเครียด และภาวะวิกฤตทางใจ เพื่อลดความเจ็บป่วยด้านจิตใจในอนาคต ซึ่งจังหวัดเชียงรายได้กำหนดแนวทางการดูแลจิตใจแรงงานไทย ในสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอลใน แต่ละกลุ่มออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิกฤต (Impact Phase), ระยะปรับตัว ( Post-Impact Phase) และ ระยะฟื้นฟู (Recovery Phase)
 
 
จากนั้นได้ลงพื้นที่ ต.ห้วยสัก อ.เมือง จ.เชียงราย เยี่ยมให้กำลังใจญาติแรงงานไทยในประเทศอิสราเอล ร่วมกับนายวิรัตน์ วงศ์มา แรงงานจังหวัดเชียงราย นายโสภณ แก้วล้อมทรัพย์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย
ทั้งนี้ ด้านแรงงานจังหวัดเชียงรายและพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย ได้ให้ความมั่นใจว่า หากแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ประเทศอิสราเอลให้กลับมาตั้งหลักที่ประเทศไทยบ้านเกิดก่อน หากเหตุการณ์สงบรัฐบาลไทยพร้อมจะสนับสนุนให้กลับไปทำงานใหม่อีกครั้งอย่างสุดความสามารถ
 
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News