Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

ลุย! ลงนามป้องกันไฟป่าสนับสนุน เครื่องจักรกลฯปรับปรุงแนวกันไฟป่า อ.พาน

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.30 น. นายก นก อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย พร้อมด้วย นายจิราวุฒิ แก้วเขื่อน ที่ปรึกษานายก อบจ.เชียงราย นายทัศพงษ์ สุวรรณมงคล เลขานุการนายก อบจ.เชียงราย นายสุรเชษฐ วงศ์น้อย สมาชิกสภา อบจ.เชียงราย อ.พาน เขต 2 ลงนาม MOU การสนับสนุนเครื่องจักรกลฯและ บุคลากร เพื่อดำเนินงานปรับปรุงแนวกันไฟป่า ร่วมกับนายอลงกรณ์ ดีน้อย นายก อบต.สันกลาง นายศรีวรรณ์ วงศ์จินา กำนัน ต.สันกลาง โดยมีว่าที่ ร.ต.ปภาวิน ปวงใจ สมาชิกสภา อบจ.เชียงราย อ.พาน เขต 1 นายสรายุธ ฟูวงศ์ สมาชิกสภา อบจ.เชียงราย อ.แม่สรวย เขต 1 สมาชิกสภา อบต.สันกลาง อ.พาน ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

 

โดยบันทึกข้อตกลงนี้เกิดขึ้นระหว่าง อบจ.เชียงราย โดยนายก อบจ.เชียงราย ร่วมกับ อบต.สันกลาง โดยนายก อบต. สันกลาง อ.พาน และ ผู้นำฝ่ายปกครอง โดย กำนัน ต.สันกลาง อ.พาน เป็นบันทึกข้อตกลง เพื่อสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนการสนับสนุนเครื่องจักรกลฯ เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่บ้านใหม่พัฒนา – บ้านปางอาณาเขต เชื่อมระหว่างหมู่ที่ 12 ต.สันกลาง อ.พาน – หมู่ที่ 6 ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
การดำเนินงานปรับปรุงแนวกันไฟป่า (จัดทำเอง) โดย อบจ.เชียงราย ยินดีสนับสนุนเครื่องจักรกลและยานพาหนะ พร้อมเจ้าหน้าที่ในการออกปฏิบัติงาน และ อบต.สันกลาง อ.พาน จะเป็นผู้สนับสนุนน้ำมันเชื้อเพลิงๆ ในการดำเนินการดังกล่าวทั้งหมด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานดังกล่าว ในพื้นที่ ต.สันกลาง อ.พาน จ.เชียงราย ขึ้นเพื่อบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันตาม นโยบาย สามพี่น้องท้องถิ่นร่วมใจชุมชนและการมีส่วนร่วมและกระจายเครื่องจักรและบุคลากรสู่ชุมชน
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

สืบสานประเพณีกินวอ ชาติพันธุ์ลาหู่ พร้อมดันนโยบายเสน่ห์ชาติพันธุ์ฯ

 

เมื่อวันที่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11.00 น.นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย พร้อมด้วยนายสมัคร กันจีนะ สมาชิกสภา อบจ.เชียงราย อ.แม่สรวย เขต 2 ร่วมสืบสานประเพณีกินวอ พี่น้องชาติพันธุ์ลาหู่ ต.ป่าแดด อ.แม่สรวย โดยมีนายสมพงษ์ อินต๊ะชัยวงค์ กำนัน ต.ป่าแดด นายคำใหม่ อินทรัตน์ ปลัด อ.แม่สรวย นายประภาส ชัยประเสริฐ ปลัด อ.แม่สรวย เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ป่าแดด หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ร่วมงานในครั้งนี้ด้วย

 
ประเพณีกินวอ หรืองานปีใหม่ของพี่น้องชาติพันธุ์ลาหู่ มีการจัดขึ้นทุกปี โดยจะจัดขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ประเพณีนี้จะเชิญแขกมาร่วมรับประทานอาหารซึ่งการจัดประเพณีกินวอ ในแต่ละครั้ง จะจัดประมาณ 9 วัน 9 คืน ภายในงานมีการทำข้าวปุก เป็นข้าวที่นึ่ง แล้วนำมาตำให้ละเอียด จากนั้นตากให้แห้ง และทุกครอบครัวจะมีการล้มหมู แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้น ๆ เพื่อเอาไว้ไปดำหัวผู้ที่เคารพนับถือ นอกจากนี้มีการจัดพิธีรดน้ำดำหัวขอขมานายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน ตามพิธีโบราณของลาหู่ ต่อจากนั้นมีการ “เต้นจะคึ” ซึ่งเป็นการละเล่นของพี่น้องลาหู่ การเต้นจะคึจะมีหลายจังหวะ มีผู้ตีกลองหรือเป่าแคน ดีดซึง (คล้ายกีตาร์) เป็นท่วงท่าและกำหนดจังหวะ จับมือเต้นเป็นวงกลม กลางลานที่จัดกิจกรรมงานประเพณีกินวอ หรือประเพณีปีใหม่ของชาวลาหู่ 
 
 
ทั้งนี้ นายก อบจ.เชียงราย ได้กล่าวพบปะ และร่วมอวยพรให้พี่น้องชาวลาหู่ พร้อมกล่าวว่า “งานประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ควรได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมให้จัดขึ้น เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม สร้างความสัมพันธ์อันดีในชุมชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของพี่น้องลาหู่ให้คงอยู่สืบไป” โดย อบจ.เชียงราย พร้อมผลักดันนโยบายเสน่ห์เชียงราย สถานที่ ชาติพันธุ์ วัฒนธรรมประเพณี อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของเชียงราย ให้นักท่องเที่ยวและคนต่างจังหวัดได้รู้จักชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมของพี่น้องชาติพันธุ์ได้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS UPDATE

“วราวุธ” เป็นพยาน พม. – ออมสิน แก้หนี้ ขรก.พม. เตรียมขยายแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย

 
เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 67 เวลา 09.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “โครงการส่งเสริมภูมิคุ้มกันทางการเงิน (MSO FinProtect)” ระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับธนาคารออมสิน โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนายวุฒิพงษ์ ภิรมยาภรณ์ รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลุ่มลูกค้าฐานรากและสนับสนุนนโยบายรัฐ ร่วมลงนาม ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สะพานขาว กรุงเทพฯ

นายวราวุธ กล่าวว่า ตามที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยถึงปัญหาหนี้สิ้นของประชาชน และได้สั่งการให้ทุกกระทรวงรวบรวมปัญหาหนี้สิ้นทั้งระบบ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินของบุคลากรกระทรวง พม. โดยความร่วมมือกับธนาคารออมสิน ภายใต้ “โครงการส่งเสริมภูมิคุ้มกันทางการเงิน (MSO FinProtect)” เป็นการประสานความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่บุคลากรกระทรวง พม. ตลอดจนสนับสนุนความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำ การวางแผน และการรักษาวินัยทางการเงิน 

นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า ความร่วมมือในวันนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของทั้งสองหน่วยงานในการช่วยเหลือสวัสดิการด้านการเงินให้แก่บุคลากรกระทรวง พม. ทุกคน ทุกระดับ โดยผู้บริหารทั้งสองหน่วยงานตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสวัสดิการด้านการเงินของบุคลากร เพื่อแบ่งเบา แก้ไขปัญหาภาระหนี้สิน ด้วยการสนับสนุนข้อมูล ความรู้ การให้คำปรึกษาแนะนำ การจัดการมาตรการผ่อนปรนทางด้านดอกเบี้ย การวางแผนและการรักษาวินัยทางการเงิน ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลากรที่พร้อมเข้าร่วมโครงการในวันนี้ จำนวน 3,233 คน มียอดหนี้สินรวมกัน 3,884,720,010 บาท ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้สินของบุคลากรกลุ่มนำร่อง จำนวน 150 คน วงเงินไม่เกิน 250,000 บาท โดยเบื้องต้นของเป้าหมายคือ ลูกหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และหนี้นอกระบบ มีจำนวนหนี้รวมทั้งหมด 16,118,109 บาท ในจำนวนเงินดังกล่าว มีภาระชำระดอกเบี้ย จำนวนเงิน 3,183,665 บาทต่อปี หากทำการปรับโครงสร้างหนี้สินกับธนาคารออมสินแล้ว จะสามารถลดภาระการชำระดอกเบี้ยได้ จำนวนเงิน 1,733,035 บาทต่อปี จะเห็นได้ว่าเบื้องต้น เป็นโครงการนำร่องจากจำนวนบุคลากร 150 เท่านั้น และหากดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้สินได้ทั้งหมด 3,233 คน จะส่งผลให้ภาระหนี้สินด้านดอกเบี้ยที่จ่ายได้ผ่อนคลายลง สำหรับบุคลากรที่ได้ปรับโครงสร้างหนี้สินในเรื่องการยืดระยะเวลาชำระ ยิ่งจะส่งผลให้ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือน ทำให้สามารถบริหารการเงินส่วนบุคคลให้เกิดสภาพคล่องในการดำรงชีพได้ดียิ่งขึ้น

นายวราวุธ กล่าวต่ออีกว่า ตั้งแต่ที่ตนได้เข้ามาทำงานที่กระทรวง พม. เมื่อเดือนกันยายน 2566 เห็นได้ว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ รวมถึงอาสาสมัครของกระทรวง พม. มีภารกิจมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องรับฟังปัญหาและเข้าไปแก้ปัญหาของพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านที่อยู่อาศัย สภาพความเป็นอยู่ของแต่ละครอบครัว ดังนั้น การที่กระทรวง พม. จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องดูแลคนของเรา ก่อนที่จะเข้าไปช่วยเหลือคนอื่น เพราะฉะนั้นแล้ว เราจะเป็นน้ำที่ไม่เคยเต็มแก้ว ดังนั้น วันนี้สิ่งที่สำคัญคือการแสดงให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวง พม. ได้เห็นว่าผู้บริหารของกระทรวง พม. ทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการ เข้าใจและให้ความสำคัญกับสถานการณ์และความเป็นอยู่ของเพื่อนข้าราชการทุกคน จึงเป็นเหตุผลให้เริ่มดำเนินโครงการในวันนี้ และต้องขอขอบคุณธนาคารออมสินที่เข้ามาเป็นผู้แก้โครงสร้างหนี้สินและดูแลการจัดระเบียบของหนี้สินทั้งหลายของข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวง พม. 

นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า เบื้องต้นของโครงการนี้ จะเข้ามาดูปริมาณหนี้สินทั้งหมดว่า มีจำนวนเท่าไหร่และจะมาปรับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเรารู้อยู่แล้วว่าอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตนั้นค่อนข้างสูง ดังนั้น การที่ธนาคารออมสินเข้ามาดูแลหนี้สิน ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เราจะสามารถปรับมูลค่าดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายลดลงไปได้กว่าครึ่ง ซึ่งคาดว่าจะช่วยแบ่งเบาภาระของข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวง พม. ไปได้มากพอสมควร นอกจากนี้ เรายังมีแผนเจรจากับสถาบันการเงิน เรื่องหนี้ที่อยู่อาศัย เพราะปัญหาที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญของพี่น้องประชาชนรวมถึงเพื่อนข้าราชการกระทรวง พม. ดังนั้น การที่เราจะสามารถเข้ามาแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินเรื่องบ้าน ตนเชื่อมั่นว่าการทำโครงการนี้และในอนาคตนั้น จะเพิ่มศักยภาพการทำงาน
ของเพื่อนข้าราชการกระทรวง พม. ได้เป็นอย่างดี
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

งานสืบสานวัฒนธรรมไทลื้อ ปี 67 บ้านสันบุญเรือง ครั้งที่ 6 อ.แม่สาย

 

เมื่อวันที่วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 19.00 น. นายก นก นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานวัฒนธรรมไทลื้อ บ้านสันบุญเรือง ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567 พร้อมด้วย นายจิราวุฒิ แก้วเขื่อน ที่ปรึกษานายก อบจ.เชียงราย นายชัยสิทธิ์ ชัยเนตร เลขานุการนายก อบจ.เชียงราย นายชาญชัย แสนรัตน์ สมาชิกสภา อบจ.เชียงราย อ.แม่สาย เขต 2 ณ ลานอเนกประสงค์ บ้านสันบุญเรือง ต.เกาะข้าง อ.แม่สาย โดยมี ร.ต.อ.เด่นวุฒิ จันต๊ะขัติ นายก อบต.เกาะช้าง เป็นผู้กล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจาก นายณรงค์พล คิดอ่าน นายอำเภอแม่สาย นายชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรี ต.แม่สาย นายเด่นชัย ลาวิชัย นายก อบต.ศรีเมืองชุม เข้าร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ด้วย

 

ในงานดังกล่าวมีกิจกรรมการประกวดหนูน้อยขวัญใจไทลื้อ 4 ไตยเฮือน การแสดงชุดสีสันไทลื้อ โดยกลุ่มพัฒนาสตรีบ้านสันบุญเรือง การประกวดขบวนไตยเฮือน และการแสดงของนักเรียนโรงเรียนบ้านสันบุญเรือง โดยทางบ้านสันบุญเรือง ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย ได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นทุกๆปี เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ นำเสนอวิถีชีวิต การแต่งกายที่สวยงาม เป็นเอกลักษณ์และมีคุณค่า แก่การอนุรักษ์ ส่งเสริมให้คงอยู่สืบไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

คณะทูต เยือนศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ โคก หนอง นา ชุมชนดอยอินทรีย์

 
เมื่อวันที่ 19ก.พ. 67 ที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบคนทุกช่วงวัย โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน พุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ต.ดอยฮาง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย นำหัวหน้าส่วนราชการให้การต้อนรับ คณะทูตและกงสุลต่างประเทศประจำประเทศไทยพร้อมคู่สมรสที่ลงพื้นที่ศึกษาดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเรียนรู้เกี่ยวกับศักยภาพและความสำเร็จของประเทศไทยด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำปี 2567
 
 
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบคนทุกช่วงวัย โคก หนองนา พัฒนาชุมชน พุทธอุทยานดอยอินทรีย์ บ้านห้วยกีด ตำบลดอยฮาง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย(พื้นที่ดอยอินทรีย์ขนาด 8,025 ไร่) เป็นพื้นที่ป่าไม้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งแต่เดิมประชาชนในพื้นที่ได้รุกล้ำพื้นที่ป่าไม้โดยการแผ้วถางเผาป่า ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำเข้าไปทำเกษตรเชิงเดียว ได้แก่ การปลูกข้าวโพด การปลูกสับปะรด การปลูกถั่วเหลือง อีกทั้งยังมีการใช้สารเคมีแหล่งพื้นที่สร้างอาหารถูกทำลาย สัตว์ป่าเสียชีวิต
 
 
พระอาจารย์วิบูลย์ ธัมเมเตโช ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดพุทธดอยอินทรีย์ จึงได้หาวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานราชการ ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ประชาชนจิตศรัทธา เพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำทำนุบำรุงรักษาผืนป่า จึงขอรับการสนับสนุนจากสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินองค์การมหาชน ในการจัดสรรที่ดินให้ครอบครัวที่ไม่มีที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัยครอบครัวละ 1 ไร่ แล้วเปลี่ยนแนวคิดของคนในชุมชน ให้เกิดการรักษาทรัพยากรที่ก่อเกิดแหล่งอาหารก่อเกิดสิ่งมีชีวิตโดยน้อมนำแนวทางศาสตร์พระราชา เกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สู่แนวคิด“เขียนตำราลงดิน”มาเป็นแนวทางปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
 
 
ผลการดำเนินงานในหลักทฤษฎีขั้นพื้นฐานโดยรูปแบบการพัฒนาพื้นที่แต่ละครัวเรือนได้นำรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ตามพระราชดำริ เกษตรทฤษฎีใหม่ โดยจัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 30-30-30-10 ให้มีการกักเก็บน้ำปลูกผักสวนครัวปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง สร้างความสมดุลย์ของระบบนิเวศหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2563 มีการขยายผลสู่การดำเนินงานตามหลักทฤษฎีขั้นกลางโดยการพัฒนาพื้นที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นาพัฒนาชุมชนจำนวน 15 ไร่ ได้รับงบประมาณจากงบกู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลผ่านกระทรวงมหาดไทยมาต่อ ยอดการพัฒนาขั้นพื้นฐานโดยมีการพัฒนาบุคลากรประสานภาคีการพัฒนามาร่วมบูรณาการพัฒนาพื้นที่พัฒนาฐานการเรียนรู้ต่างๆให้มีความพร้อมสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัย ซึ่งใช้ระยะเวลาดำเนินการเพียง 6 เดือน พื้นที่แห่งนี้สามารถกักเก็บน้ำฝนได้ 9,078 ลูกบาศก์เมตร ปลูกป่าปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 5,000 ต้น มีพืชผักสวนครัวพืชสมุนไพร และมีรายได้จากการศึกษาเรียนรู้ดูงาน และฝึกปฏิบัติ มีรายได้กว่า 3,600 บาทถึง 25,000 บาทต่อเดือน
 
 
ซึ่งส่งผลสำเร็จที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูดิน น้ำ ป่า และพื้นที่แห่งนี้กำลังจะได้รับการขยายผลไปในระดับจังหวัด คือ เป็นพื้นที่ขยายผลเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ตามนโยบายรัฐบาลซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมใน 3 มิติ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียวภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ซึ่งถือเป็นการพัฒนาตามหลักที่ใหม่ ขั้นก้าวหน้า จึงมั่นใจว่าการดำเนินงานในระยะต่อไปจะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ไม่น้อยกว่า 3 เท่า ภายใน 3 ปีซึ่งเพิ่มพื้นที่สีเขียวจากโครงการอื่นๆ เช่น ปลูกป่าในใจคน ป่านี้มีผลผู้คนรักกัน ดินโลกคนอยู่ร่วมกับป่า สร้างแหล่งน้ำได้อย่างยั่งยืนทั้งน้ำกิน น้ำใช้ และน้ำเพื่อการเกษตร
 
 
อีกทั้งยังสามารถสร้างความสามัคคีปรองดองให้แก่คนและชุมชนผ่านกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาและช่วยให้ชุมชนตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันสาธารณภัยผ่านกิจกรรมจิตอาสาภัยพิบัติผ่านการรวมกลุ่มชาวบ้านและภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีโดยมีภาครัฐสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานอีกด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
EDITORIAL

โอกาสและการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านอุตสาหกรรมบันเทิงไทย

ประเด็นสำคัญ

ที่ผ่านมา ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ถูกกล่าวถึงในฐานะของหนึ่งในเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย แต่กลไกสำคัญในกระบวนการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ ไม่ใช่แค่การกำหนดนโยบายที่เหมาะสมเท่านั้น แต่ต้องมีกลไกที่ผสานกันระหว่าง ‘ความคิดสร้างสรรค์’ และ ‘เทคโนโลยี’ จึงจะสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้พัฒนาทั้งรายได้และคุณภาพชีวิตของผู้คน ที่ทำให้ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยไปสู่ระดับโลกได้อย่างแท้จริง

ทำไมต้อง ‘Soft Power’ ?

ศาสตราจารย์โจเซฟ ไนย์ (Joseph S. Nye) อาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ได้อธิบายคำว่า ‘Soft Power’ ไว้ว่า ‘การทูตสาธารณะ (Public Diplomacy)’ คือเครื่องมือที่สำคัญในการส่งเสริมการใช้อำนาจการโน้มน้าวใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยเครื่องมือหลัก ได้แก่ ภาพยนตร์ สิ่งพิมพ์ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม วิทยุ และโทรทัศน์

คำนี้เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ในช่วงยุคสงครามเย็นและหลังสงครามเย็น ในฐานะกลยุทธ์ทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย โดยมีทั้งการใช้กำลังทหารหรือเรียกว่าฮาร์ดพาวเวอร์ (Hard Power) และมีการสร้างอิทธิพลเพื่อให้ประเทศอื่น ๆ ยอมทำในสิ่งที่ต้องการโดยยินยอมพร้อมใจ อย่างซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ควบคู่กันมานับตั้งแต่นั้น

ปัจจุบันซอฟต์พาวเวอร์ถูกนำมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ ในประเทศไทยซอฟต์พาวเวอร์ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในระดับประเทศ เช่นในช่วงที่ผ่านมาถูกกล่าวถึงในฐานะนโยบายสำคัญที่รัฐบาลจะผลักดัน ‘1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์’

โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางทางรวมเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ซอฟต์เพาเวอร์ของประเทศอีกด้วย

ซอฟต์พาวเวอร์ที่ขาดหายในประเทศไทย

แม้ประเทศไทยจะมีศักยภาพในด้านซอฟต์พาวเวอร์หลายด้านเป็นต้นทุนเดิม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่ควรจะเป็น ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายมิติ

1) สังคมไทยยังขาดความเข้าใจในเรื่องซอฟต์พาวเวอร์

2) การถูกนำไปผูกโยงกับการเมือง

และ 3) ขาดการบูรณาการและวางแผนระยะยาว

 

Soft Power ที่โซเชียลมีเดียกล่าวถึง
การจัดอันดับ Global Soft Power Index

จากการจัดอันดับ Global Soft Power Index ประจำปี 2566 ในด้านวัฒนธรรมและมรดก อันประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 

1) ผู้อิทธิพลในด้านศิลปะและความ บันเทิง 

2) อาหารที่ทั่วโลกชื่นชอบ 

3) สถานที่ที่ดีเยี่ยมใน การเยี่ยมชม 

4) มรดกอันยาวนาน 

5) วิถีชีวิตที่น่าดึงดูด ใจ 

และ 6) ผู้นำด้านกีฬา โดยได้มีการจัดอันดับและการ ให้คะแนนเต็มอยู่ที่ 10 คะแนน 

 

ผ่านการรวบรวมคำตอบ จากผู้คนกว่า 110,000 คน ในกว่า 100 ประเทศ ด้วยวิธี สำรวจการรับรู้ของแบรนด์ระดับประเทศจากทั่วโลก ผลการสำรวจ พบว่า ประเทศที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ในอุตสาหกรรมบันเทิง 5 อันดับ โดยอันดับแรก คือ ประเทศฝรั่งเศส 7 คะแนน รองลงมาจะเป็นประเทศ สหรัฐอเมริกาและประเทศอิตาลี 6.9 คะแนน ประเทศ สเปน 6.6 คะแนน และประเทศอังกฤษ 6.5 คะแนน โดย เรียงตามอันดับ สำหรับในเอเชียประเทศที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจใน อุตสาหกรรมบันเทิงสูงที่สุด ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น 6 คะแนน (อันดับที่ 6 ของโลก) สาธารณรัฐประชาชนจีน 5.3 คะแนน (อันดับที่ 10 ของโลก) ประเทศเกาหลีใต้ 5 คะแนน (อันดับที่ 17 ของโลก) และประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 32 ซึ่งมีคะแนนอยู่ที่ 4.4 คะแนน

 

ภาพรวมสื่อบันเทิงในไทยและระดับโลก

จากการสำรวจของ Intellias Global Technology Partner ในด้านสื่อและอุตสาหกรรมบันเทิงในปี 2567 พบว่าสื่อบันเทิงในรูปแบบสตรีมมิ่งมีการเติบโตและมีความ หลากหลายและจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น 

 

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาภาพรวมภูมิทัศน์สื่อไทยปี 2566 – 2567 พบว่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ที่ ดาหน้าเข้าสู่วงการสื่อมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ตลาด อินฟลูเอนเซอร์จึงยังได้คงรับความนิยมจากทั้งแบรนด์และ เอเจนซี่ต่าง ๆ ส่งผลให้ “แฟนด้อม มาร์เก็ตติ้ง” (Fandom Marketing) หรือกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ ผ่านทางแฟนคลับถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพราะความ เคลื่อนไหวของเหล่าด้อมได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วถึง “บทบาท และอำนาจการซื้อ” ในการสนับสนุนศิลปินหรืออินฟลูเอน เซอร์ในดวงใจจากหลายแคมเปญ สำหรับแพลตฟอร์ม สื่อต่าง ๆ นั้น โซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก ยูทูบ ติ๊กต๊อก สามารถครองใจผู้ใช้โซเชียลมีเดียในไทย แต่ยูทูบเป็น แพลตฟอร์มยอดนิยมในการสร้างรายได้ อย่างไรก็ดี การ ที่ติ๊กต๊อกเข้าสู่วงการอีคอมเมิร์ซและผลักดันให้กระแส Live-Commerce หรือการไลฟ์ขายของออนไลน์ถูกใจผู้ใช้ งานติ๊กต๊อกในไทยที่ชื่นชอบการชอปปิงออนไลน์อยู่เป็นทุน เดิมอยู่แล้ว ก็เป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่น่าติดตาม

ถอดบทเรียนซอฟต์พาวเวอร์ ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ทำอย่างไรให้สำเร็จ
การโปรโมตซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศญี่ปุ่น

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Global Asia ที่รายงานเกี่ยวกับ ความเคลื่อนไหวในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ระบุว่า ประเทศญี่ปุ่นได้ดำเนินนโยบายการโปรโมท ซอฟพาวเวอร์ของตัวเองผ่านแคมเปญที่มีชื่อว่า คูล เจแปน (Cool Japan) โดยที่ผ่านมาญี่ปุ่นจะใช้งบ ประมาณสาธารณะสนับสนุนในสิ่งที่ เรียกกันว่า ‘วัฒนธรรมชั้นสูง’ ของตัวเองมาโดยตลอด ต่อมา รัฐบาลญี่ปุ่นก็ต้องการทำแบบเดียวกันกับวัฒนธรรม ‘Pop culture’ ของตัวเองให้เป็นที่รู้จัก รัฐบาลญี่ปุ่น จึงได้มีการสนับสนุนกิจกรรมการแข่งขัน คอสเพล ย์จากทั่วโลกให้มาแข่งที่ญี่ปุ่น และยังได้มอบรางวัล นานาชาติประจำปีให้กับศิลปินวาดการ์ตูน มัง

การโปรโมตซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศเกาหลีใต้

ซอฟต์พาวเวอร์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยยกระดับจาก ประเทศเกาหลีใต้ จากที่เคยต้องกู้เงินกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (IMF) มาถึง 57 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 แต่ปัจจุบันเกาหลีใต้กลาย เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ เป็นอันดับที่ 12 ของโลก มีมูลค่ากว่า 1.63 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

เกาหลีใต้ผ่านวิกฤตินี้ไปได้จากการมุ่งพัฒนา อุตสาหกรรมบันเทิงอย่างจริงจัง จนเกิดเป็นกระแส Korean Wave หรือ ฮันรยู (Hallyu) โดยรัฐบาล เกาหลีใต้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการจัดการและส่ง เสริมอย่างเต็มที่ รวมถึงมีการก่อตั้ง ‘Korea Creative Content Agency (KOCCA)’ หรือสำนักงานส่งเสริม คอนเทนต์เกาหลี เมื่อปี 2009 ที่ส่งเสริมและช่วยเหลือ ด้านเงินทุนให้แก่ภาคเอกชนในการสร้างคอนเทนต์และ พัฒนากลยุทธ์และถ่ายทอดเนื้อหาสาระความเป็นเกาหลี ในคอนเทนต์ทุกรูปแบบสู่สายตาคนทั่วโลก

กรณีศึกษา มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจาก
Korean Wave หรือ ฮันรยู (Hallyu)

ซอฟต์พาวเวอร์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ GDP ของ เกาหลีใต้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ ด้านการ ท่องเที่ยว อิทธิพลของ Korean Wave ที่เกิดขึ้น จากภาพยนตร์ วงดนตรี ละคร ที่ทำให้คนมีโอกาส ได้เห็นหลายแง่มุมของประเทศผ่านสื่อบันเทิง เช่น ความปลอดภัย ระบบขนส่งสาธารณะ ความทัน สมัยของเทคโนโลยี เป็นต้น ยิ่งส่งเสริมการท่องเที่ยว ในของเกาหลีใต้หรือ K-Travel ให้มีชื่อเสียงในทางที่ดี ขึ้นอย่างชัดเจน

 

ขณะที่ ด้านภาษาและวัฒนธรรม ด้วยพลังของ ซอฟต์พาวเวอร์ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ปัจจุบันผู้คน ทั่วโลกจึงให้ความสนใจและเข้าใจในวัฒนธรรมและ ภาษาเกาหลีมากขึ้น จากรายงานของ Duolingo แอปพลิเคชันสอนภาษาพบว่าภาษาเกาหลีได้รับ ความนิยมมากเป็นอันดับที่ 7 ของโลกไปแล้ว

ซอฟต์พาวเวอร์ไทยอยู่ตรงไหนของโลก

ซอฟต์พาวเวอร์สามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมจุดยืน ของประเทศในเวทีโลกผ่านการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ของประเทศ จากการจัดอันดับ Global Soft Power Index 2023 โดย Brand Finance ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 41 ของโลก ซึ่งตกลงจาก เดิมซึ่งได้ที่ 35 ในปีก่อน 6 อันดับ

ด้าน ดร.ชาคริต พิชยางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่ง เสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ได้ อธิบายถึงประเด็น ที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัด Global Soft Power Index ที่ต้องมองแบบองค์รวม “ เมื่อพูดถึง Soft Power คนมักจะคิดว่าเป็นเรื่องทุนวัฒนธรรม แต่ ถ้าเราดูจากการจัดโครงสร้างดัชนีในการจัดอันดับ Global Soft Power Index จะมีการแบ่งนํ้าหนักคะแนน เป็น 5 ส่วน คือ Familiarity 10% หมายความว่า คุณต้องมีความคุ้นเคย Reputation 10% คือความ มีชื่อเสียงเชิงบวก Influence 30% คือคุณต้องรู้สึกว่า สินค้าและบริการสามารถชักจูงให้คุณเชื่อถือและชื่นชม ได้ และให้นํ้าหนัก 7 Soft Power Pillars อีก 40% ฉะนั้นต้องมองเป็น holistic view คือ มุมมองแบบองค์ รวมในการขับเคลื่อน Soft Power ”

ข้อเสนอแนะ
ด้านอุตสาหกรรมบันเทิง

หม่อมราชวงศ์ เฉลิมชาตรี ยุคล ตัวแทนผู้ขับเคลื่อน Soft Power สาขาภาพยนตร์ ได้กล่าวว่า “หาก ต้องการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์วงการบันเทิงไทยให้ไป สู่สายตาชาวโลกและเชื่อมั่นว่า ‘ของไทยดีจริง’ จะต้องมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) พัฒนาบุคลากรในประเทศให้มี ความสามารถ 2) การเปิดตลาดให้ใหญ่ขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และ 3) เพิ่มบทบาทของรัฐด้วยการเข้า มาเป็นตัวกลางเพื่อสนับสนุนการขายคอนเทนต์ และ สร้างพื้นฐานของทรัพยากรในประเทศไทยให้แข็งแรง”

 

ดร.ไพบูลย์ ปิตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “มองว่าการสร้าง ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยให้มีอิทธิพล ควรมีองค์ ประกอบ 3 อย่างที่ร่วมมือกัน 1) ภาคธุรกิจเอกชน B : Business จำเป็นต้องมีความเชื่อมต่อกัน ระหว่างทรัพยากร 2) ภาครัฐ G : Government มี ความสำคัญมากในบทบาทของการจัดองค์กร ภายในประเทศ เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบให้เป็น ระบบ เปลี่ยนโครงสร้างจัดตั้งกลไก และบูรณาการ ได้ทุกกระทรวง และ 3) พลเมือง C : Citizen เกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งตัวเองในการใช้การทูต สาธารณะ โดยใช้พลเมืองเกาหลีที่มีโอกาสออกไป อยู่ในต่างประเทศเป็นทูตในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ได้ด้วยตัวเอง นับเป็นการทำการทูตโดยอัตโนมัติ”

 

จากข้อเสนอแนะจากหลายฝ่ายในข้างต้นกำลัง สะท้อนว่าประเทศไทยเริ่มมองเห็นความสำคัญแต่ ยังไม่สามารถผลักดันให้ซอฟต์พาวเวอร์กลายเป็น พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เต็มที่ ดังนั้นจึงควรมี แนวทางในการขับเคลื่อนทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนี้

 

การขับเคลื่อนจากภาคเอกชน

ด้านสินค้าและบริการ ธุรกิจไทยหลายแห่งมุ่งเน้นการ พัฒนาสินค้าและบริการที่สอดแทรกเอกลักษณ์ของ ไทยเข้าไปผสมผสานกับนวัตกรรมใหม่ ๆ การสนับสนุนงานศิลปะและวัฒนธรรม เช่น แสดงงาน ศิลปะและวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งระดับประเทศและระดับ นานาชาติ การสื่อสารผ่านสื่อ ภาคเอกชนไทยใช้สื่อเป็นสื่อกลาง ที่มีพลังสำคัญในการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ของ ประเทศไปสู่สายตาชาวโลก การพัฒนาบุคลากร ภาคเอกชน โดยเฉพาะในภาค บริการให้มีคุณภาพตรงความต้องการของตลาด และ เพียงพอต่อความต้องการ

 

การขับเคลื่อนจากภาครัฐ

การขับเคลื่อนจากภาครัฐต้องมีบทบาทสำคัญใน การเป็น ‘Facilitator’ หรือผู้สนับสนุนการขับเคลื่อนของ ภาคเอกชน ผ่านนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ดังนี้ ปรับปรุงกฎเกณฑ์ เนื่องจากปัจจุบันยังมีกฎเกณฑ์ บางข้อในประเทศไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ซอฟต์พาวเวอร์ เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ใน ประเทศไทยไทยยังมีความซับซ้อน และควร สนับสนุนการระดมทุนสำหรับโครงการซอฟต์พาว เวอร์ผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น เงินอุดหนุน การยกเว้น ภาษี หรือการจัดตั้งกองทุนสนับสนุน เป็นต้น พัฒนาบุคลากร การพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการ ส่งเสริมการศึกษา พัฒนาหลักสูตร มีทุน สนับสนุนการพัฒนา นอกจากนี้รัฐยังสามารถ สนับสนุนในการสร้างเครือข่ายระหว่างภาครัฐและ ภาคเอกชนด้วย

 

เอกสารอ้างอิง

Brand Finance. GLOBAL SOFT POWER INDEX 2023. สืบค้นจาก https://brandirectory.com/softpower/nation

Intellias. 2024 Media & Entertainment Industry Qutlook + Key Trends. สืบค้นจาก https://intellias.com/media-entertainment-industry-trends/

dataxet infoquest. ภาพรวมภูมิทัศน์สื่อไทยปี 2566 – 2567. สืบค้นจาก https://www.dataxet.co/media-landscape/2024-th

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นซอฟท์พาวเวอร์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก https://nida.ac.th/economy-into-soft-power-for-sustainable-development/

 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

สืบสานวัฒนธรรมล้านนา เปิดโฮงเฮียนวัดดอนแก้ว

 

เมื่อวันที่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (ประธานฝ่ายฆราวาส) เป็นประธานเปิดโครงการโฮงเฮียนสืบสานวัฒนธรรมล้านนา วัดดอนแก้ว พร้อมด้วยพระครูรัตนธรรมนุสรณ์ เจ้าอาวาสวัดดอนแก้ว (ประธานฝ่ายสงฆ์) นายชัยสิทธ์ ชัยเนตร เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ โดยมี นายมานพ อุบลศิลป์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเทิง เป็นผู้กล่าวรายงาน

 

สำหรับโครงการจัดงานโฮงเฮียนสืบสานวัฒนธรรมล้านนา วัดดอนแก้ว มีวัตถุประสงค์ในการจัดงาน เพื่อส่งเสริม สืบสานภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมล้านนาให้เด็กเยาวชน และประชาชน ได้เรียนรู้และร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นสืบไป เพื่อส่งเสริมความสามัคคีของชุมชน ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจตระหนักในคุณค่าความเป็นเจ้าของภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นตนเอง เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน
 
 
โดยในการจัดงานประกอบด้วยกิจกรรม การแสดงด้านวัฒนธรรมล้านนาและดนตรีพื้นบ้าน อาทิ ปี่พาทย์ล้านนา กลองสะบัดชัย ฟ้อนดาบฟ้อนเจิง ฟ้อนสาวไหม รวมถึงการแสดงนิทรรศการส่งเสริมการเรียนรู้ การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมล้านนา อาทิ ต้มลานจ๋านธรรม ปั่นฝ้ายทอผ้า ดนตรีพื้นเมือง การจักสาน ขนมและอาหารล้านนา การทำดาบและอาวุธล้านนา อักษรล้านนา และวิถีตลาดย้อนยุค กาดหมั้วคัวแลง อีกด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เปิดกิจกรรมวันสามเณร เชียงรายสัมพันธ์ ครั้งที่ 20

 

เมื่อวันที่วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 08.30 น. นายเกรียงศักดิ์ วันไชยธนวงศ์ รองนายก อบจ.เชียงราย เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และมอบเกียรติบัตรขอบคุณแก่ผู้สนับสนุนกิจกรรม ในกิจกรรมวันสามเณรเชียงรายสัมพันธ์ ครั้งที่ 20 ประจำปีการศึกษา 2566 ตามโครงการพัฒนาการเรียนรู้สามเณรเพื่อบูรณาการสู่ชุมชน โดยมีพระเดชพระคุณ พระพุทธิญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีพระครูวิสิฐวรนารถ ประธานกลุ่มโรงเรียน ปส.ชร. ร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ด้วย

 

อบจ.เชียงราย เล็งเห็นความสำคัญของการเรียนรู้สามเณร จึงได้สนับสนุน ในหลายๆช่องทาง ไม่ว่าการสนับสนุนอุปกรณ์ สื่อการเรียนในหลายครั้งที่ผ่านๆมา การเปิดโอกาสให้เข้าศึกษาเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ของ อบจ.เชียงราย ตลอดจน การสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการสู่ชุมชนในครั้งนี้ มีการแสดงผลงานความสามารถด้านต่างๆ มีการแข่งขันทั้งด้านทักษะฝีมือและด้านวิชาการ เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนต่อไป ซึ่งกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จ.เชียงราย ได้จัดงานแข่งขันทักษะและวิชาการ ในกิจกรรมวันสามเณรเชียงรายสัมพันธ์ ครั้งที่ 20 ประจำปีการศึกษา 2566 ตามโครงการพัฒนาการเรียนรู้สามเณรเพื่อบูรณาการสู่ชุมชน มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จ.เชียงราย ทั้ง 21 โรงเรียนโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบจ.เชียงราย กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 15 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ณ โรงเรียนวัดเจดีย์หลวงวิทยา วัดเจดีย์หลวง ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
 
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

“ธรรมนัส” ผลักดัน Soft power ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ม.ราชภัฏเชียงราย

 

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม “Innovation for Sustainable Local Development : นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 2 Soft power กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : วิถีถิ่นเชียงราย ศิลปะ ดนตรี กวี วิจัย” โดยได้รับเกียรติจาก ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นโยบายการเพิ่มมูลค่าทางการเกษตร กับ Soft Power เพื่ออนาคตประเทศไทย” โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พร้อมทั้งผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมกิจกรรม ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

 

โดยการจัดงานครั้งนี้ เพื่อแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ในด้านต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะในด้านการเกษตร ซึ่งนับว่าภาคการเกษตรเป็นรากฐานสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งภายในงานมีการจัดแสดงและนำเสนอผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยด้านการเกษตรที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) รวมถึงสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก อาทิ 
 
 
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการตลาดข้าวจาปอนิกาหรือญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงราย นวัตกรรมการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวเหนียวเขี้ยวงูจังหวัดเชียงราย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไซรัปเพื่อสุขภาพจากเยื่อหุ้มเมล็ดโกโก้ เครื่องดื่มฟังก์ชันจากเปลือกเมล็ดโกโก้ เครื่องดื่มอัดแก๊สจากใบกัญชาและดอกฮ๊อพส์ การเพิ่มมูลค่าปลีกล้วยน้ำหว้าด้วยการแปรรูปเป็นเนื้อเทียมอรรถประโยชน์สูง ที่มีการดัดแปรเชิงหน้าที่โปรตีนด้วยเอนไซน์จากสัปปะรด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผงอาซาอิด้วยนวัตกรรมเอนแคปซูเลชัน รวมถึงการพัฒนาสแน็คจากเศษมะคาเดเมีย ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าของเสียจากกระบวนการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
 
 
กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่เชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และจะช่วยผลักดันผลงานวิจัยจากอัตลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของจังหวัดเชียงราย โดยมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนต่างๆ ในหัวข้อ “วิถีถิ่นเชียงราย ศิลปะ ดนตรี กวี วิจัย” ได้แก่ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เช่น การพัฒนาพาสต้าดัชนีน้ำตาลต่ำจากปลายข้าวหอมมะลิ 105 การสร้างมูลค่าใหม่กาแฟปางขอน การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเชียงรายแบรนด์ (Chiang Rai Brand) 
 
 
รวมถึงการออกแบบของที่ระลึกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผลงานนวัตกรรมกับการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวจาปอนิกา ผลิตภัณฑ์ต้นแบบไซรัปเพื่อสุขภาพจากเยื่อหุ้มเมล็ดโกโก้ การเพิ่มมูลค่าปลีกล้วยน้ำหว้าด้วยการแปรรูปเป็นเนื้อเทียม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผงอาซาอิด้วยนวัตกรรมเอนแคปซูเลชัน รวมถึงการพัฒนาสแน็คจากเศษมะคาเดเมียในพื้นที่ดอยช้าง ผลงานนวัตกรรมการขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในเรื่องผ้า และทุนทางวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่าจังหวัดเชียงราย และผลงานการวิจัยที่เกิดจากการร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดเชียงราย เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย และสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
All

ศูนย์กลางภารกิจช่วยเหลือ (ฝูงบิน 416) ภาคเหนือตอนบน สนามบินเชียงราย

 

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีเปิดงานแสดงขีดความสามารถสนามบินเชียงราย (ฝูงบิน 416) เพื่อเป็นการรองรับการเป็นศูนย์กลางภารกิจการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ณ ฝูงบิน 416 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 

 

โดยมี นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ หัวหน้าหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้แทนชุมชน ประชาชน และนักเรียนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เข้าร่วมกิจกรรม กว่า 500 คน

 

สำหรับกิจกรรม ประกอบด้วย การประชุมร่วมกับหน่วยงาน ส่วนราชการ ผู้แทนชุมชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงแนวทางการพัฒนาสนามบินเชียงราย (ฝูงบิน 416) การปฏิบัติการมวลชนสัมพันธ์ การสาธิตการบินควบคุมและดับไฟป่า การบินค้นหาและช่วยชีวิต การลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ การบรรยายสรุปการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือประชาชนของกองทัพอากาศ การจัดแสดงที่ใช้ในภารกิจการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ 
 
 
การตั้งแสดงอากาศยานและขีดความสามารถกองทัพอากาศในการช่วยเหลือประชาชน การบินทิ้งน้ำและสารควบคุมไฟป่า การบินค้นหาและช่วยชีวิต และการบินรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศ การจัดหน่วยมิตรประชากองทัพอากาศ ให้บริการประชาชน ได้แก่ การตรวจรักษาโรคและให้คำแนะนำด้านสุขภาพ การวัดสายตาพร้อมแจกแว่นตา การให้บริการตัดผม การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถจักรยานยนต์ การแสดงดนตรีจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ การมอบอุปกรณ์กีฬา และอุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นต้น
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News