Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

แม่บ้านมหาดไทยเชียงรายติดตามพื้นที่ อ.ดอยหลวง

 
นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ติดตามการดำเนินงานการน้อมนำแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” สร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน บ้านใหม่พัฒนา หมูที่ 6 ตำบลหนองป่าก่อ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ติดตามการดำเนินงาน “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ณ กลุ่มสตรีทอเสื่อและทอผ้าบ้านทุ่งโป่ง หมู่ที่ 9 ตำบลหนองป่าก่อ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย และติดตามการดำเนินงานการประกวดผลงานเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO) จังหวัด ประจำปี พ.ศ. 2566 ณ กลุ่มกาแฟสดดอยหลวงดัชเชส ตำบลหนองป่าก่อ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย โดยมีนางสาวมินทิรา ภดาประสงค์ นายอำเภอดอยหลวง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอยหลวง ให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน
ในการนี้ นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย และทีมงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ร่วมติดตามสนับสนุนการดำเนินงานด้วย
นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย และคณะ ได้ปลูกต้นกาสะลองคำ ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหนองป่าก่อ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กลุ่​มงาน​ส่งเสริม​การพัฒนา​ชุมชน​ สำนักงาน​พัฒนา​ชุมชน​จังหวัด​เชียงราย​

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

อ.เฉลิมชัย รีเทิร์นช่วยงาน เบียนนาเล่ จ.เชียงราย

 
วันนี้ (4 ต.ค.) ที่ศาลาธรรม วัดร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย เป็นตัวแทนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดที่ จ.เชียงราย ระหว่างเดือน ธ.ค.2566-เม.ย.2567 ได้เข้าพบกับอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิติพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย อาจารย์สุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ จ.เชีงราย เพื่อขอให้อาจารย์เฉลิมชัยได้กลับมาร่วมเตรียมความพร้อมและจัดงานดังกล่าวให้สำเร็จ
 
 
นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แจ้งว่าทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และผู้ที่เกี่ยวข้องล้วนขอให้อาจารย์เฉลิมชัยกลับมาด้วย ซึ่งทางอาจารย์เฉลิมชัยได้ตอบรับด้วยดีและรับพวงมาลัยดอกไม้พร้อมระบุว่าเป็นความตั้งใจของตนที่จะกลับมาช่วยหลังจากที่มีเรื่องการเมืองจนทำให้มีการเปลี่ยนแปลง และเห็นว่าถึงเวลาที่จะกลับมา
 
 
อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวว่า ผู้คนอาจจะคิดว่าศิลปะก็เหมือนๆ กันทั่วไป แต่ตนอยากบอกว่าศิลปะก็เหมือนกับแฟชั่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแล้วแต่ยุคสมัยและมีระดับ เช่น แฟชั่นชั้นนำ ฯลฯ ซึ่งการจัดงานเบียนนาเล่คือการนำศิลปะแฟชั่นชั้นนำ และล่าสุด รวมทั้งคัดสรรที่สุดยอดที่สุดของโลกมาจัดแสดง โดยมีศิลปะชั้นยอดจากประเทศไทยจากศิลปินในประเทศมาจัดแสดง 20 คน และศิลปินชั้นนำจากทั่วโลกอีก 40 คน ซึ่งตนยืนยันแต่ละคนล้วนมีความสุดยอด ล้ำยุค และล้ำหน้า จึงขอเชิญชวนไปงานกันได้ตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค.2566-เม.ย.2567
 
 
“มาเชียงรายแล้วได้ความรู้สึกดีๆ บรรยากาศดีๆ ได้เสพงานศิลปะชั้นสูงสุดยอดระดับโลกที่นี่ โดยที่วัดร่องขุ่นจะมี 2 ชิ้น และที่หอศิลป์ที่ผมสร้างอย่างใหญ่โตจะมีงานศิลปะเยอะมากรวมทั้งยังมีตามอำเภอต่างๆ อีก ดังนั้นงานนี้หายห่วงแน่นอน ผมมาช่วยอย่างเต็มตัวแล้วอุตส่าห์มาเชิญกัน หลังจากผมเครียดจนผมไม่เอาด้วยแต่แท้ที่จริงอยู่เบื้องหลังตลอด พอผมดูแล้วว่าอยู่เบื้องหลังมันไปไม่รอดแน่ก็ขอมาอยู่เบื้องหน้าก็แล้วกัน 
 
ผมเป็นคนรักเชียงรายอยู่แล้ว ผมคิดว่ายังไม่สายเกินไป” อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวและว่าผู้ที่มีความรู้ของศิลปินในโลกจะคัดสรรศิลปินที่สุดยอดจากหลากหลายที่ในโลก เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อาร์เจนติน่า บังกาเลีย คาซัคสถาน สหรัฐอเมริกา บราซิล ฯลฯ แต่ละคนจะจัดแสดงผลงานศิลปะที่แปลกใหม่ทุกแนว เกิดจากความคิด งดงาม หลากหลาย ปรัชญา เนื้อหา แปลกใหม่ ฯลฯ อย่างที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน
 
อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวอีกว่า รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดงานครั้งนี้มากถึง 100 กว่าล้านบาท และจะมีผู้ชื่นชอบงานศิลปะทั่วโลกไปเยือนเพื่อดูผลงานศิลปินที่ตนชื่นชอบซึ่งจะทำให้เกิดเงินสะพัดอย่างมหาศาล แม่แต่ศิลปิน 40 คน ก็ล้วนมีผู้ติดตามที่ร่ำรวย การจัดงานจึงกลายเป็นซอร์ฟพาวเวอร์อย่างแท้จริง ส่วนคนไทยสามารถดูเพื่อภูมิรู้ การศึกษา ความสุนทรยภาพ ยกระดับความรู้สึก นำพาไปสู่การตื่นตัวทางศิลปะ ฯลฯ เพื่อให้ทัดเทียมกับอารยประเทศต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

“พิสันต์” นำทีมเชียงรายรับโล่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดีเด่น 2566

 

       เมื่อวันที่ 2 – 3 ตุลาคม 2566 กระทรวงวัฒนธรรมจัดโครงการถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม “21 ปี กระทรวงวัฒนธรรม นำคุณค่า พัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ” โดยกิจกรรมวันที่ 2 ตุลาคม 2566 ประกอบด้วย

       การประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมฯ ในหัวข้อ 1) การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมขององค์กรเครือข่าย 2) การนำทุนทางวัฒนธรรมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านการจัดงาน “วิถีถิ่น วิถีไทยและการยกระดับเทศกาลประเพณีสู่ระดับชาติและนานาชาติ 3) การขับเคลื่อนนโยบาล 1 ครอบครัว 1 Soft Power 4)เหลียวหลังแลหน้าในภารกิจพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน และ 5) ทุนทางวัฒนธรรมพลังขับเคลื่อนชุมชน สังคมและประเทศ

        การประชุมมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สู่ก้าวที่มั่นคงด้วยพลังสร้างสรรค์ และพิธีมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ โดยมี นายเสริมศักดิ์  พงษ์พานิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมและมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติรางวัลวัฒนธรรมคุณานุสรณ์, รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น, รางวัลสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดีเด่น, รางวัลกลุ่มอำนวยการศพที่ได้รับพระราชทานดีเด่น, รางวัลการประกวดสื่อ Infographic ภายใต้หัวข้อ “วธ. โปร่งใส รวมใจต้านโกง” นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม บรรยายหัวข้อแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงวัฒนธรรม “10 เปิดวัฒนธรรมสร้างพลังแห่งอนาคต” และการบรรยายของส่วนราชการและองค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม

     โดยมีผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด ประธานสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร วัฒนธรรมจังหวัด ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้ได้รับรางวัลวัฒนธรรมคุณานุสรณ์เข้าร่วมกิจกรรม

       ทั้งนี้  สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายได้รับโล่รางวัลสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566 โดย นายพิสันต์  จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นผู้รับมอบโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

       วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เวลา 07.00 น. จัดพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทำบุญบำเพ็ญกุศลทางศาสนา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงวัฒนธรรม ครบรอบ 21 ปี โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธี หร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารระดับสูง วธ. ผู้มีเกียรติ วัฒนธรรมจังหวัด/ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด 76 จังหวัด/ประธานสภาวัฒนธรรมเขต กทม. ข้าราชการ/บุคลากร วธ. ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหาร วัฒนธรรมจังหวัด และเครือข่ายทางวัฒนธรรมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมแสดงความยินดี

       วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เวลา 13.30 น. จัดพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม “วัฒนคุณาธร” ประจำปี พ.ศ. 2566 รางวัลวัฒนธรรมวินิต และรางวัลเด็กและเยาวชน Young Smart : Young ทำดี ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมี นายพลภูมิ  วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีมอบโล่รางวัลเชิดชูเกียรติฯ ดังกล่าว โดยจังหวัดเชียงรายมีผู้ได้รับโล่รางวัลวัฒนคุณาธร ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 3 ราย ได้แก่

          ประเภทเด็กหรือเยาวช

  • นายสงกรานต์ บุญทวี  นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชุมชนคุณธรรมวัดดอนจั่น ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

          ประเภทบุคคล

  • นางสาวจำเนียร พรหมบุตร  ครูโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

           ประเภทนิติบุคคลหรือคณะบุคคล ได้แก่

  • ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเมืองรวง ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ 10 สุดยอด เที่ยวชุมชนยลวิถี ประจำปี 2565 ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

       ในการนี้ นายพิสันต์  จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพัชรนันท์  แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางพรทิวา  ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นางสาวกฤษยา  จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ นายภัทรพงษ์  มะโนวัน หัวหน้ากลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน และข้าราชการผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ ดังกล่าว และร่วมแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลวัฒนคุณาธร ประจำปี 2566

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

พิธีรับ – ส่งหน้าที่ มอบการบังคับบัญชา ผบ.มทบ.37

 
เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 66 ที่ผ่านมา เวลา 14.09 น. พล.ต.ประพัฒน์ พบสุวรรณ ผบ.พล.ม.1 พร้อมด้วย คุณสุมาลี พบสุวรรณ และ พล.ต.บุญญฤทธิ์ เกษตรเวทิน ผบ.มทบ.37 ร่วมพิธีสักการะพระมหาจักรพรรดิธรรมราชา, พระพุทธมารวิชัยไตรรัตนาธิคุณ และพระบรมราชานุสาวรีย์พญามังรายมหาราช ณ หน้าพุทธสถานดอยเจดีย์ ค่ายเม็งรายมหาราช หลังจากนั้นได้เดินทางไปร่วมพิธีสักการะพ่อขุนเม็งรายมหาราช เพื่อความเป็นสิริมงคล ณ พระตำหนักพ่อขุนเม็งรายมหาราชและการสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระญามังรายมหาราช ณ ลานหน้า บก.มทบ.37 โดยมีกำลังพลและครอบครัว ของ มทบ.37 ร่วมกระทำพิธี ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
 
 
ต่อมาเวลา 15.29 น. พล.ต.ประพัฒน์ พบสุวรรณ และ พล.ต.บุญญฤทธิ์ เกษตรเวทิน กระทำพิธีลงนามเอกสาร รับ-ส่ง หน้าที่ ผบ.มทบ.37 ณ ห้องประชุมพญาเม็งราย บก.มทบ.37 และกระทำพิธีมอบการบังคับบัญชา ผบ.มทบ.37 ณ ลานหน้า บก.มทบ.37
 
โดยมีกำลังพลสังกัด มทบ.37, นขต.มทบ.37 และ ผศ.ช.ร. เข้าร่วมพิธีฯ ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI FEATURED NEWS

เชียงราย พบสัตว์ป่าคุ้มครองระดับโลก “เต่าปูลู” หลังพบเจอตัวที่ 2 ในรอบ 3 ปี นับเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่า

 

เชียงราย พบสัตว์ป่าคุ้มครองระดับโลก “เต่าปูลู” หลังพบเจอตัวที่ 2 ในรอบ 3 ปี นับเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่า

 
ปัจจุบัน “เต่าปูลู” จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546 IUCN (2011) โดยมีสถานภาพการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (EN – Endangered) การคุ้มครองตามอนุสัญญา CITES (2011) จัดอยู่ในบัญชี 2 (Appendix II)

เมื่อวันที่ 1 ตุลาตม 2566 ที่ผ่านมา  สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ร่วมกับทางอาจารย์ฉัตรพรรษ พงษ์เจริญ อาจารย์ภาควิชาวิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ลงพื้นที่ศึกษาแหล่งที่อยู่อาศัยเต่าปูลู หลังจากได้รับแจ้งจากผู้นำชุมชนบ้านงามเมือง หมู่ 11 ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ว่ามีคนในชุมชนพบเจอตัวเต่าปูลูในลำห้วยแดงเมือง บริเวณน้ำตกถ้ำบึ่ง ห่างจากชุมชนไปประมาณ 800 เมตร ชาวบ้านเจอตัวเต่าปูลูในลำห้วยแดนเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยยาว มีลักษณะเป็นน้ำตก โขดหิน เป็นการพบตัวของเต่าปูลูในรอบ 10 ปีของชุมชนบ้านงามเมือง

 
 
 
นายท่องเที่ยว กองฟู ผู้ใหญ่บ้านงามเมือง หมู่11 ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย กล่าวว่า เต่าปูลูเจอโดยบังเอิญ พอดีลูกบ้านผมได้ขึ้นไปหาหอย ส่องหอยเหล็กจานตอนกลางคืน และที่ตรงน้ำตกถ้ำบึ่ง ส่องเจออยู่บนก้อนหินกำลังจะไต่ลงน้ำ พอลูกบ้านเจอก็โทรศัพท์มาหาผม ผมดีใจมากที่เจอเต่าปูลูที่ไม่เจอนานในรอบ 10 ปีแล้ว นี่คือตัวแรก ภัยคกคามเต่าปูลูส่วนมากจะเป็นคนนอกพื้นที่เข้ามาล่า คนในหมู่บ้านเรามีการห้ามและเชื่อฟังกัน คนต่างบ้านไม่รู้บ้านไหนบ้าง เมื่อ2-3เดือนก่อนชุดชรบ.หมู่บ้านก็ได้ขึ้นมาไล่ จับได้มา5-6 คน ตอนนั้นเรายังไม่ได้ติดป้ายประกาศตัวนี้ก็ได้อะลุ่มอะหล่วย ปล่อยเขาไปเสีย อีกครั้งก็แอบมาหาใกล้กับจุดที่เราเจอเต่าพอดีแต่จับไม่ได้ ลำห้วยนี้เราใช้ร่วมกันระหว่างบ้านแดนเมืองกับบ้านงามเมือง ที่จริงทั้ง2ชุมชนได้อนุรักษ์มานานมากแล้วเป็นป่าชุมชน ผมก็พึ่งมาสานต่อมาเป็นพ่อหลวงบ้านได้2ปีที่ผ่านมาเอง ป่าเรามีเต่าผึ้งด้วย แต่เต่าปูลูเจอในรอบ 10 ปี
 
 
“เต่าปูลู” Platysternon megacephalum หรือเต่าปากนกแก้ว(Big-headed Turtle) เป็นสัตว์น้ำจืด วงศ์ Platysternidae มีลักษณะพิเศษคือมีหัวขนาดใหญ่ กินเนื้อ กินปลา กุ้ง หอย สัตว์น้ำอื่นๆ รวมถึงผลไม้ป่าเป็นอาหาร กินเหยื่อโดยการฉกงับ เต่าปูลูมีเล็บแหลมคมมีความสามารถปีนป่ายขอนไม้ หรือโขดหินได้เก่ง หากินในเวลาตอนเย็นหรือกลางคืน ส่วนกลางวันจะหลบซ่อนตามซอกหิน ในฤดูหนาวจะจำศีลซ่อนตัวอยู่ตามหลืบหินหรือโพรงน้ำในลำห้วย 
 
เต่าปูลูเมื่อยังเล็ก กระดองจะมีลายสีเหลืองและสีน้ำตาล ส่วนตัวเต็มวัยสีเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลเขียวมะกอก ผสมพันธุ์ในน้ำ วางไข่คราวละ 3–5 ฟอง ไข่เปลือกแข็งสีขาว รูปทรงกระบอกหัวท้ายรี ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร วางไข่ตามพงหญ้าริมฝั่งล้ำห้วยในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ไข่ฟักตัวออกลูกประมาณเดือนสิงหาคม
 
 
เต่าปูลูมีหัวขนาดใหญ่ ไม่สามารถหัวหดเข้ากระดองได้ เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว สามารถปีนต้นไม้และก้อนหินได้ ขาและเท้ามีขนาดใหญ่และแข็งแรงหดเข้ากระดองไม่ได้ ขาหน้าและขาหลังของเต่าปูลูมีเกล็ดหุ้มทั้งหมด ตั้งแต่โคนขามีเกล็ดขนาดใหญ่ ฝ่าเท้ามีเกล็ดขนาดเล็กลงมา นิ้วมีเกล็ดหุ้ม มีเล็บแหลมคม ขาหน้ามี 5 นิ้ว ขาหลังมี 4 นิ้ว มีเยื่อพังผืดเล็กน้อยยึดระหว่างนิ้วเกือบถึงโคนเล็บ หางมีขนาดใหญ่ บริเวณโคนหางและโคนขาหลังมีเดือยหนังแหลมยื่นออกมาจำนวนมาก
ทางสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตได้ทำการศึกษาแนวทางการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยเต่าปูลู
 
 
โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนลุ่มนิอิงตอนปลาย ช่วงปีพ.ศ. 2564-2565 ในพื้นที่ 6 ชุมชนในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนปลาย พบปัญหาภัยคุกคามคือการลักลอบจับเพื่อส่งออกไปยังประเทศเพื่อบ้าน และทางชุมชนได้มีแนวทางการอนุรักษ์เต่าปูลูโดยใช้มติประชาคมหมู่บ้าน ประกาศเขตพื้นที่ห้ามล่าเต่าปูลู ในชุมชนนำร่อง 3 ชุมชนได้แก่ ชุมชนบ้านร้องหัวฝาย หมู่ 12 บ้านพัฒนารุ่งเรือง หมู่ 18 ตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของและชุมชนบ้านงามเมือง หมูที่ 11 ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย
 
 
ด้านนายเกรียงไกร แจ้งสว่าง เจ้าหน้าที่ภาคสนาม สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตกล่าวว่า การเจอตัวเต่าปูลูที่บ้านงามเมือง เป็นการเจอตัวเต่าปูลูเป็นตัวที่ 2 ในช่วงเวลา 3ปี ตัวแรกเราเจอที่ลำห้วยป่าแดง ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ใช้เวลา 14 เดือนกว่าจะเจอตัวเต่าปูลูอีกครั้ง ที่ผ่านมาทางสมาคมได้ร่วมกับชุมชนหาแนวทางการอนุรักษ์โดยการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนแก้ปัญหาภัยคุกคามเรื่องการล่าเพื่อส่งออก รวมถึงการศึกษาองค์ความรู้ท้องถิ่นรวมถึงการศึกษาร่วมกับนักวิชาการ ทั้งการศึกษาระบบนิเวศน์แหล่งที่อยู่อาศัย การติดตามเต่าจากการเก็บตัวอย่างน้ำหาสารพันธุ์กรรมจากธรรมชาติ eDNA จากการตรวจหา eDNA ก็มีการตรวจพบการมีอยู่ของเต่าปูลู แต่การเจอตัวเต่าในครั้งนี้เป็นการยืนยันว่าในป่าต้นน้ำลุ่มน้ำอิงตอนปลายยังมีเต่าปูลูอยู่
 
 
ดร.ฉัตรพรรษ พงษ์เจริญ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ผมได้รับการติดต่อจากสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตเข้ามาศึกษาชีววิทยา habitat ของมันอยู่อย่างไร พื้นที่อาศัยเป็นแบบไหน วันนี้ก็โชคดีที่ชาวบ้านแจ้งมาว่าเจอเต่า ก็มาเก็บข้อมูลว่าพื้นที่ที่เจอเต่ามันเป็นอย่างไร เต่าปูลูมีความพิเศษคือมันเป็นเต่าน้ำ มีลักษณะพิเศษที่ต่างจากเต่าน้ำที่ทุกคนรู้จักคือกระดองค่อนข้างจะแบน ไม่เหมือนเต่าอื่นกระดองมันจะโค้งๆ ความแบนของมันเพื่อให้มันสามารถซ่อนตัวอยู่ใต้ซอกหินตามน้ำตกตามลำห้วย ลักษณะพิเศษอีกอย่างคือหัวใหญ่มากไม่สามารถหดหัวเข้ากระดอกได้ ปกติเราจะคุ้นชิ้นกับเต่าหดหัว หดขาเข้ากระดอง 
 
แต่เต่าปูลูทำไม่ได้สักอย่าง หัวใหญ่ขาใหญ่ หางยาว ดูน่ารัก หางที่ยาวมันช่วยในการปีนน้ำตกโดยเอาหางช่วยค้ำไว้ปีนน้ำตก เต่าปูลูกินสัตว์อื่นเป็นอาหารทั้งการล่าเองและกินซากตามลำห้วย เป็นดัชนีชี้วัด เป็นผู้รักษาสภาพลำน้ำไม่ให้เน่าเสียเพราะมันกินซากสัตว์ที่มันตายในน้ำ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศอย่างหนึ่ง แต่ตอนนี้สถานการณ์เต่าปูลูน่าเป็นห่วงสถานที่อยู่ของมันถูกทำลายไปเยอะลำห้วยต่างๆ มีมลพิษ การกั้นลำห้วยลำน้ำนิ่งๆ เต่าปูลูมันชอบน้ำไหล เป็นแอ่ง เป็นวังที่น้ำไหล การไปเปลี่ยนสภาพลำห้วยทำให้พื้นที่อาศัยมันเปลี่ยนไป อีกอย่างคือการล่า เป็นปัญหาสำคัญมาก การล่าที่เอาเต่าออกไปจากพื้นที่ 
 

จริงๆแล้วประชากรในธรรมชาติก็มีไม่เยอะ การเอาตัวเต็มวัยที่สามารถแพร่พันธุ์ได้ออกจากพื้นที่ ล่าออกไปสุดท้ายก็ไม่เหลือตัวที่จะสืบพันธุ์ต่อ สถานภาพของมันในปัจจุบันก็เลยกลายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของประเทศไทย ห้ามล่า ห้ามจับ ห้ามซื้อ ห้ามขาย ส่วนสถานภาพระดับโลก เป็นEN-endangered เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ทำให้เต่าปูลูมีความสำคัญในระดับประเทศและระดับโลกด้วย โดยส่วนตัวผมว่ามันน่ารักดี เลยชอบที่จะศึกษามัน

 
สำหรับ บ้านงามเมือง หมู่ 11 ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ได้ทำการประชาคมหมู่บ้าน กำหนดลำห้วยแดนเมืองทั้งสายเป็นเขตอนุรักษ์เต่าปูลู มีคณะกรรมการหมู่บ้านและชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านเป็นคณะทำงานในการสอดส่องดูแลตามลำห้วย หากมีการจับเต่าปูลูในลำห้วยจะมีการปรับ 20,000 บาท และส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย เป็นหมู่บ้านนำร่องประกาศเขตอนุรักษ์เต่าปูลู 1 ใน 3 ชุมชนลุ่มน้ำอิงตอนปลาย และทางสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตมีแนวทางการสร้างความร่วมมือขยายแนวทางการสร้างเขตอนุรักษ์เต่าปูลูไปยังชุมชนอื่นๆให้ครอบคลุมชุมชนในเขตป่าต้นน้ำที่สนใจในระยะต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน เป็นประธานพิธีถวายสลากภัต (ตานก๋วยสลาก)

 

วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ดังนี้ พระเดชพระคุณพระพุทธิญาณมุนี (ประเสริฐ ปญฺญาวชิโร) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นประธานพิธีถวายสลากภัต (ตานก๋วยสลาก) ในวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2566 ณ วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย (ส่วนแยกบ้านน้ำลัด) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

    จัดโดย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย งานถวายสลากภัต (ตานก๋วยสลาก) เป็นประเพณีที่จะเริ่มในเดือน 12 เหนือ หลังเข้าพรรษาได้ 2 เดือน ซึ่งเป็นโอกาสทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับ โดยการถวายสลากภัตนั้นเป็นการถวายที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงรูปใดรูปหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะเป็นการถวายที่มีอานิสงส์มาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและเป็นการส่งเสริมให้นิสิตตระหนักในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ คือ มีความรู้ คู่คุณธรรม นำสันติสุข โดยมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

  1. ขบวนแห่สลากที่วัดน้ำลัด แห่เข้ามาที่วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย
  2. การแสดงชุดพิเศษ “ฟ้อนเจิงสาวไหม – ตบมะผาบ” โดย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรม ฟ้อนเจิงสาวไหม

โดย คุณพิสันต์ จันทร์ศิลป์ นิสิตระดับมหาบัณฑิต พัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เชียงราย (มจร.เชียงราย)

ประกอบ “เพลงมวย”

บรรเลงโดย วงปี่พาทย์พื้นเมืองเชียงราย

วัดท่าไคร้ บ้านเมืองรวง ต.แม่กรณ์ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย

  1. การแสดงศิลปวัฒนธรรมฟ้อนต่าง ๆ ของนิสิต และพุทธศาสนิกชน
  2. ดนตรีปี่พาทย์พื้นเมืองเชียงราย คณะวัดท่าไคร้ ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ 10 สุดยอดเที่ยวชุมชนยลวิถี บ้านเมืองรวง ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย
  3. การถวายภัตตาหารเพล
  4. พิธีถวายทานสลากภัต (ตานก๋วยสลากภัต)
  5. การนำกัณฑ์สลากภัตที่เหลือบำรุงมหาวิทยาลัยเข้ามาถวาย
  6. การออกโรงทานเพื่อบริการอาหารและเครื่องดื่มให้แก่พุทธศาสนิกชน

   ในโอกาสนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางสาวสุพิชชา ชุ่มมะโน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นิสิต ป.โท พัฒนาสังคมรุ่นที่ 4 นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ผู้ประสานงานวัฒนธรรม อ.เมืองเชียงราย และนายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมงาน อำนวยความสะดวกให้แด่พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนที่เข้ามาร่วมง

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

อ.แม่สาย จัดงานเมาลิดนบี (ซ.ล) ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1445

วันที่ 1 ตุลาคม 2566 นายณรงค์พล คิดอ่าน นายอำเภอแม่สาย เป็นประธานในพิธีเปิดงานเมาลิดนบีมูฮัมหมัด ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1445 ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.00 – 15.30 น. ณ อาคารเอนกประสงค์มัสยิดอันนูร แม่สาย ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมี นายราชัน รุจิพรรณ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงานการจัดงาน นายสมจิต มุณีกร ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดอันนูร แม่สาย กล่าวต้อนรับ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวอวยพร และนายชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย กล่าวพบปะพี่น้องมุสลิมที่มาร่วมงาน และให้เกียรติมอบประกาศนียบัตรให้แก่นักเรียนผู้ผ่านการสอบอัลกุรอานขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน

      ความสำคัญของานเมาลิดดิลนบี หมายถึง วันคล้ายวันประสูติของท่านนบีมูฮัมหมัด (ซล.) ศาสดาของศาสนาอิสลาม ซึ่งตรงกับวันที่ 12 เดือนรอบีอุลเอาวัล ในห้วงเดือนดังกล่าว มุสลิมทั่วโลกจะมีการจัดงานเพื่อรำลึกถึงท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซล.) โดยการนำชีวประวัติของท่านศาสดาตั้งแต่วันประสูติจนถึงวันที่ท่านวากาฟ (ถึงแก่กรรม) มาเสนอหลากหลายรูปแบบ อาทิ การนำบทกวี (บัรซัญญี) การบรรยายธรรม เล่าชีวประวัติของท่านศาสดา เพื่อเป็นแนวทางของการดำเนินชีวิต การยกย่องวันเกิดของท่านศาสดามูฮัมหมัดทำได้โดยดำเนินการปฏิบัติในวันเกิดของท่าน คือ การถือศีลอดในวันจันทร์ การกล่าวซอลาวาตเป็นส่วนหนึ่งของการให้เกียรติยกย่อง รวมถึงปฏิบัติตามคำสั่ง ละเว้นการปฎิบัติตามคำสั่งห้ามของท่าน และดำเนินตามแบบอย่างของท่านศาสดามูฮัมหมัด การจัดงานเมาลิด เป็นประเพณีหนึ่งที่สามารถสร้างพลังขับเคลื่อนให้เกิดสันติสุขสู่พื้นที่ ถือเป็นการนำทุนทางศาสนา และวัฒนธรรม ตลอดจนทุนวิถีชีวิตของคนในชุมชนมุสลิมมาเป็นสื่อกลางในการสร้างจิตสำนึก และรำลึกถึงท่านศาสดามูฮัมหมัด รวมทั้งสร้างความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อทำสิ่งดีงามให้แกชุมชน สังคม และประเทศชาติสืบไป

     ดำเนินการจัดโดย คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดอันนูร แม่สาย เพื่อเฉลิมพระเกียรติศาสดานบีมูฮัมหมัด (ซ.ล) รำลึกถึงความดีงาม เผยแพร่จริยวัตรทางด้านศาสนาอิสลาม ให้ชาวมุสลิมนำไปปฏิบัติตามในชีวิตประจำวัน เป็นกิจกรรมวัฒนธรรมที่ทำให้ชาวมุสลิมในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียงได้มาพบปะกัน และสร้างความสามัคคีเป็นหมู่คณะ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กระทรวงวัฒนธรรม ได้เข้าร่วมงานเป็นประจำทุกปี ซึ่งการจัดงานดังกล่าวมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

  1. พิธีเปิดงานและร่วมอวยพร
  2. พิธีมอบประกาศนียบัตรให้แก่นักเรียนผู้ผ่านการสอบอัลกุรอานขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน
  3. พิธีมอบทุนให้แก่เด็กและเยาวชนมุสลิมในพื้นที่อำเภอแม่สาย จำนวน 50 ทุน
  4. งานเลี้ยงสังสรรค์รับประทานอาหารร่วมกัน
  5. การพบปะ พูดคุย ปรึกษาหารือระหว่างผู้นำมุสลิม ภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  6. การบันทึกภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก
  7. ตลาดฮาลาล จำหน่ายผลิตภัณฑ์วิถีชีวิตมุสลิม ถ่ายทอดผ่านวัฒนธรรมด้านอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เสื้อผ้า และประเพณีท้องถิ่นโดยบูรณาการเกี่ยวกับการยกระดับอำนาจละมุน (Soft Power) ตามนโยบาย 5F (Food, Fashion, Film, Festival and Fighting)

    ในโอกาสนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายวิชชากรณ์ กาศโอสถ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ (ผู้ประสานงานอำเภอแม่สาย) และนายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมเป็นเกียรติในงานฯ อวยพร แสดงความยินดี และมอบดอกไม้ประดับอันเป็นมงคลให้แก่ผู้นำศาสนาอิสลาม

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ยกระดับสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว

วันที่ 30 กันยายน 2566 ดังนี้ เวลา 09.30 น. นายเสริฐ ไชยยานันตา ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดโครงการประชุมสัมมนายกระดับสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว ณ ศูนย์แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน โอทอป ฝึกและพัฒนาอาชีพเพื่อการส่งออกภูมิภาคอาเซียนและเขตเศรษฐกิจพิเศษ หมู่ที่ 1 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมี นายประเสริฐ  แก้วขาว  ปลัดอาวุโส อำเภอเชียงแสน กล่าวต้อนรับ และมีนายธนญชัย  สมจิตต์ เกษตรอำเภอเชียงแสน เป็นผู้กล่าวรายงานโครงการฯ

 

       การดำเนินโครงการฯ ในครั้งนี้ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย ร่วมกับ สำนักงานเกษตรอำเภอเชียงแสน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเชียงแสน ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนเชียงราย เทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความสามารถในการแข่งขัน มีแนวทางในการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวและสามารถนำอัตลักษณ์เชิงพื้นที่มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว ภายในงานมีเวทีการเสวนาให้ความรู้ทางวิชาการ

 

ซึ่งในช่วงเช้า เป็นหัวข้อ กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดกับการสร้างภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยว เพื่อยกระดับการสร้างสรรค์สินค้าและบริการท่องเที่ยวให้มีคุณค่าและมูลค่าสูงตามเอกลักษณ์ของพื้นที่ ในช่วงบ่าย เป็นหัวข้อ การยกระดับและเพิ่มมูลค่าสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 250 คน ประกอบด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอเชียงแสน และพื้นที่ใกล้เคียง หน่วยงานองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในพื้นที่  อีกทั้งยังมีเครือข่ายร่วมออกบูธจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 36 บูธ ประกอบด้วย เครือข่ายจากสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย จำนวน 25 บูธ จากเครือข่ายพัฒนาชุมชน จำนวน 5 บูธ และฐานการเรียนรู้จากศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนเชียงราย จำนวน 6 ฐานการเรียนรู้

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

ปศุสัตว์เชียงราย ประกาศเขตโรคระบาด “บ้านดอยสะโง้” หลังหมูดำตายระนาว

 
วันที่ 30 กันยายน 2566 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย นำโดย นายพืชผล น้อยนาฝาย ปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายพร้อมด้วย ปศุสัตว์อำเภอเชียงแสน ด่านกักกันสัตว์เชียงราย สำนักงานปศุสัตว์เขต 5 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือตอนบน จ.ลำปาง
 
ลงพื้นที่จัดเวทีหารือร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำตำบล และชาวบ้านในพื้นที่บ้านดอยสะโง้ หมู่ที่ 7 ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยดำเนินการประชาสัมพันธ์ประกาศเขตโรคระบาดสัตว์ชั่วคราว ชนิดโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร ชนิดสุกร และหมูป่า ในพื้นที่บ้านดอยสะโง้ หมู่ที่ 7 ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และพื้นที่ในรัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุด เกิดโรค
 
โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 แห่งพรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ให้ประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่ทราบ และแจ้งมาตรการดำเนินการลดความเสี่ยงของการระบาดโดยการทำลายสุกรที่เหลือในพื้นที่ทั้งหมด โดยอาศัยอำนาจสัตวแพทย์ตามมาตรา 13 (4) แห่ง พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 
 
เนื่องจากสงสัยว่าสุกรอาจป่วยด้วยโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกรซึ่งเป็นโรคที่ไม่มียารักษาและไม่มีวัคซีนป้องกันโรค และจะดำเนินการชดใช้การทำลายสุกรตามระเบียบของกรมปศุสัตว์ นอกจากนี้ และด่านกักกันสัตว์เชียงราย ตั้งด่านสกัดกั้นการเคลื่อนย้าย เพื่อป้องปรามการลักลอบเคลื่อนย้ายในพื้นที่อีกด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ในหลวง โปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์เชิญเครื่องสังฆทาน ผ้าไตร และเครื่องไทยธรรมพระราชทานแด่พระสงฆ์ พระครูบาบุญชุ่ม

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทานไปถวายแด่เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ต.สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง(5) เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทาน และเครื่องเขียนพระราชทาน ไปถวายแด่ พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร ในวันศุกร์ ที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 10.30 น. ณ วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

   พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร เป็นประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ และเมตตากล่าวสัมโมทนียกถา

   นายคฑาสิทธิ์ เนื่องหล้า นายอำเภอเชียงแสน พร้อมด้วย นางมัทนา เนื่องหล้า ภริยา หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น ศิษยานุศิษย์ เข้าร่วมพิธีฯ ในครั้งนี้

   ในโอกาสมงคลนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายพิพัฒน์ สุ่มมาตย์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายวิชชากรณ์ กาศโอสถ นายสานุพงศ์ สันทราย นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมพิธี อำนวยความสะดวกแด่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมพิธีฯ ทั้งนี้ การดำเนินงานพิธีฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุผลสำเร็จทุกประการ

     ประวัติ พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร เกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2508 เวลา 09.00 น. ที่หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนโตของนายคำหล้าและนางแสงหล้า ทาแกง แม้ครอบครัวจะยากจนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่โยมมารดาก็ปลูกฝังท่านให้ทำบุญ สวดมนต์ ทำสมาธิอยู่เสมอ ทำให้ท่านสนใจออกบวช หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ขณะอายุได้ 11 ปี ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2526 ต่อมาได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เวลา 919 น. ณ อุโบสถวัดพระเจ้าเก้าตื้อ (ปัจจุบันรวมกับวัดสวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่) โดยมีพระราชพรหมาจารย์ (ดวงคำ ธมฺมทินฺโน) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเวฬุวันพิทักษ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระครูศรีปริยัตินุรักษ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ นับแต่ออกบวช ครูบาบุญชุ่มมุ่งเน้นเรียนกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายองค์ ได้จาริกไปหลายท้องที่ทั้งภาคเหนือของไทย พม่า เนปาล อินเดีย ภูฏาน ฯลฯ เมื่อพบเห็นวัดใดทรุดโทรมก็เป็นผู้นำในการบูรณะ และได้สร้างพระธาตุเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป ไว้หลายแห่งในภาคเหนือ รัฐชาน สิบสองปันนา และประเทศลาว

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News